Search
Close this search box.

Crypto Fear and Greed Index คืออะไร ? ทำไมหลายคนต้องกรี๊ด

Share :
Artboard 1

Table of Contents

ช่วงตลาดคริปโต Sideway แบบนี้คงทำให้นักลงทุนหลายคนเมาหมัดจากราคาที่ผันผวนและเดาทางไม่ได้ คาดว่าเป็นผลมาจากความไม่แน่นอนของตลาดว่าจะไปทางไหน ซึ่ง”ความไม่แน่นอน”นี้เอง จึงเป็นสิ่งที่นักลงทุนทั่วโลกเกลียดมากที่สุด และสุดท้ายไม่ว่าตลาดจะขยับไปทางไหน นักลงทุนส่วนใหญ่ก็มักจะก้าวช้ากว่าตลาดอยู่หนึ่งก้าวเสมอ

ดั่งทฤษฎีผลประโยชน์โดยคุณ พิชัย จาวลา ที่มักจะกล่าวว่า 

“มีเพียงคนส่วนน้อยเท่านั้นที่จะชนะและนำตลาดอยู่เสมอ” 

หรือคำพูดของนักลงทุนชื่อดังอย่าง Warren Buffet ที่มีประโยคเด็ดว่า 

“จงกลัวในวันที่คนอื่นกล้า และ จงกล้าในวันที่คนอื่นกลัว” 

โดยคำพูดทั้งสองล้วนตีความได้ว่า จงอยู่ตรงข้ามคนส่วนใหญ่ และทำตามคนส่วนน้อย แต่จากประโยคดังกล่าวอาจทำให้หลายคนตกผลึกแบบผิดๆได้ว่า 

  • ถ้างั้นเราก็ต้องเล่นสวนเทรนด์สิ ? 
  • หรือตลาดร่วงหนักเราควร All in เลยไหม ? 

ซึ่งจากประสบการณ์ส่วนตัวของผู้เขียนก็มองว่าไม่ถูกเสมอไปซะทีเดียว เพราะการทำจริงนั้นยากพอสมควร จึงทำให้เกิดเครื่องมือที่ใช้ดู Sentiment ของคนในตลาดว่ารู้สึกยังไง ณ ช่วงเวลานั้นๆ นั่นก็คือ Fear and Greed Index ที่ใช้กันอยู่บนโลก Traditional Finance อยู่แล้ว

จากนั้นจึงตามมาด้วยตลาดทุนโลกใหม่อย่าง Cryptocurrency และ DeFi จึงเกิดเป็น Crypto Fear and Greed Index ตามมา และผมเชื่อว่าทุกคนในตลาดคุ้นเคยกับเครื่องมือนี้อยู่แล้ว แต่อาจกังขากันบ้างว่ามันจะใช้ได้จริงไหม มันคำนวณมามั่วๆรึปล่าว ผมจึงไม่รีรอที่จะมาเจาะลึกกันเกี่ยวกับเครื่องมือนี้ เพื่อช่วยยืนยันว่ามันสามารถเป็นประโยชน์ต่อทุกคนได้ขนาดไหน 

Crypto Fear and Greed Index คืออะไร

ขอบคุณภาพจาก alternative.me/crypto/fear-and-greed-index/

ก่อนอื่นบทความนี้จะอิงจาก Crypto Fear and Greed Index เป็นหลัก ซึ่งเป็นเครื่องมือในการดูว่า ณ ช่วงเวลานั้นคนในตลาดรู้สึก Fear (กลัว) หรือ Greed ที่ไม่ใช่กรี๊ด แต่แปลว่า (โลภ) นั่นเอง และแน่นอนว่าเครื่องมือนี้จะช่วยให้เราย้อนกลับมามองตัวเองว่าเราหลงตามไปกับกระแสคนส่วนใหญ่(Hype)รึปล่าว 

บางทีการตามคนส่วนใหญ่ก็ไม่ใช่เรื่องที่ผิดนัก แต่ควรรู้ตัวเองเสมอว่าเรานั้นหลงไปกับกระแส(Hype) หรือตามกระแสอย่างมีสติ เพราะอุปสรรคใหญ่ในการลงทุนไม่ใช่กราฟ ไม่ใช่เจ้า แต่เป็นตัวเราเองที่หากสติหลุดเมื่อไหร่ ก็เท่ากับหายนะต่อตัวเอง

การคำนวณค่า Crypto Fear and Greed Index

โดยการทำงานเบื้องหลังนั้นจะคอย Monitor ข้อมูลอยู่ 5 ส่วนหลักๆในการทำ Index ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะอิงกับ Bitcoin เท่านั้น 

*หากใครอยากใช้เพื่อดู Sentiment ของ Ethereum และ Altcoin สามารถติดตาม Twitter (X) นี้เลย

องค์ประกอบของข้อมูลประกอบด้วย

1.Volatility (25%) วัดจากความผันผวนของราคา Bitcoin โดยอิงจากค่าเฉลี่ย 30 และ 90 วัน ซึ่งหากมีความผันผวนเพิ่มขึ้นจะอนุมานว่าคนเกิดความกลัว (Fear)

2.Market Momentum/Volume (25%) อิงจากการวิเคราะห์ Volume และ Momentum ด้วยค่าเฉลี่ย 30 และ 90 วัน หากมี Volumes ซื้อที่สูง จะอนุมานว่าคนกำลังเกิดความโลภ (Greed)

3.Social Media (15%) ใช้การดูบน Twitter เป็นหลักโดนมีเกณฑ์คือหากมีการ Mentions และ Hashtags ถึงเหรียญต่างๆเยอะ และโพสต์นั้นๆมี Engagement ที่สูง จะถือว่าผู้คนกำลังโลภ (Greed)

4.Surveys (15%) *currently paused เป็นการทำแบบสำรวจผ่าน Partner ด้วย Strawpoll.com เก็บข้อมูลรายสัปดาห์ ซึ่งข้อมูลนี้จะได้ Insights ที่เร็วและสะดวก แต่ปัจจุบันหยุดใช้ข้อมูลนี้ไปชั่วคราว

5.Dominance (10%) วิเคราะห์จาก Dominance ในแต่ละเหรียญ หาก Bitcoin มี Dominance ทีเพิ่มขึ้นสื่อได้ว่าคนหันมาเลือกตัวที่ปลอดภัยเป็น Safe Haven จะอนุมานว่าตลาดเกิดความกลัว (Fear) หาก Dominance ลดลงจะถือว่าคนกล้าเสี่ยงไปซื้อ alt-coins มากขึ้น เท่ากับคนกำลังเกิดความโลภ (Greed)

6.Trends (10%) ใช้ Google Trends ในการดูจำนวนการ Search เกี่ยวกับ Bitcoin และหากมีค้นหาเกี่ยวกับ “การปั่นราคา Bitcoin” ถือว่าคนในตลาดกำลังเกิดความกลัว (Fear)

ระดับความโลภ และ ความกลัว (Level Score)

ปกติแล้วตัว Fear and Greed Index นั้นจะเป็นค่าตัวเลข 0 – 100 โดยไล่ตั้งแต่ 0 คือ กลัวมาก (Extreme Fear) และ 100 คือ โลภมาก (Extreme Greed) ซึ่งตัวเครื่องมือนี้จะมีการแบ่งอยู่ 5 ระดับหลักๆดังนี้ในการวิเคราะห์อารมณ์ของคนในตลาด

1.Extreme Fear : กลัวมาก (0 – 24) โดยในระดับนี้ความหมายจะตรงตัวเลยคือ คนส่วนใหญ่เกิดความกลัวระดับสูง ซึ่งคนที่กลัวก็มักจะเทขายและไม่กล้าซื้อเหรียญ โดยอาจจะมีเหตุการณ์กราฟทุบแรงๆ – 20% – 50% จนคนกลัวและเทขายหนีตาย

2.Fear : กลัว (25 – 49) ในระดับนี้ก็คือคนส่วนใหญ่เกิดความกลัวในระดับปกติ เริ่มมีแรงเทขายบ้างแต่ก็ยังมีแรงซื้อประปรายเป็นทรง Sideway Down 

3.Neutral : เฉยๆ (50) ในระดับนี้คือคนส่วนใหญ่อาจจะยังงงๆกับตลาดว่ายังไงต่อดี ตลาดก็จะมีผลลัพธ์เป็นการ Sideway ในกรอบไปเรื่อยๆ และอาจมีเหวี่ยงขึ้นลงแรงๆบ้างประปราย

4.Greed : โลภ (51-74) ปกติแล้วในระดับนี้ก็มักจะอยู่สภาวะตลาดที่เป็นตลาดขาขึ้น เช่นการค่อยๆ Sideway Up ไปเรื่อยๆ

5.Extreme Greed : โลภมาก (75-100) และสุดท้ายจุดนี้ก็ตรงตัวเลยคือคนในตลาดเกิดความโลภมากจากสภาวะตลาดที่เป็น Bull Market อย่างเห็นได้ชัดอาจจะเป็นช่วงที่ตลาดกำลังจะทำ All Time High

เทียบสถิติกับกราฟจริง (Backtest)

Crypto Fear and Greed Index นั้นมีข้อมูลเริ่มตั้งแต่ 1 กุมภาพันธ์ 2018 เป็นช่วงตลาดเข้าสู่ Bear ครั้งก่อนพอดี เลยสามารถเทียบข้อมูลได้นานสุดเพียง 1 Cycle รอบก่อนนั่นก็คือช่วง Bear ก่อนเข้า Bull ตอนปี 2021

Timeframe (Week)

Cycle (2017 – 2020)

Bear Zone

เมื่อเราลองมาทำการ Backtest แล้วลองใช้เป็นเครื่องมือในการหาจุดเข้าในช่วง Bear Cycle 2018 โดยสร้างเงื่อนไขในการหาจุดเข้าเฉพาะโซน Extreme Fear นั้นจะมีจุดเข้าหลักอยู่ 5 จุด ภายในระยะเวลา 385 วันหรือ 1 ปี 20 วัน 

ซึ่งถ้าเข้าตาม Indicator ทุกครั้งจะมีจังหวะเข้า Dip อยู่ 4 ครั้ง และเข้าที่ยอด 1 ครั้ง คิดเป็นโอกาศเข้า Dip อยู่ที่ 80% ถือว่าไม่แย่เลย แต่ถ้าเอามาคำนวณหาต้นทุน Average Price จะมี Drawdown สูงสุดอยู่ที่ -45% ก็ถือว่าติดลบหนักพอสมควร แต่อีกนัยก็ยังได้เข้าซื้อในต้นทุนที่ดีพอสมควร

Accumulate Zone

จากนั้นพอพ้นช่วง Bear Zone จะเข้าสู่ช่วงสะสม Accumulate Zone ที่จะเปลี่ยนจาก Sideway Down เป็น Sideway ออกข้างเป็นวงกว้าง และหากเรารอสุดเข้าที่ Extreme Fear จะได้จุดเข้าอยู่ 3 จุด ในรอบประมาณ 1 ปี 9 เดือน และซึ่งมีการเข้าที่จุด Dip อยู่ 2 จุดและจุดยอดอยู่ 1 จุด โดยคิดเป็นอัตราการเข้า Dip อยู่ที่ 66% และมี Drawdown สูงสุดจาก Average Price อยู่ที่ -47% ใน Accumulate Zone ของ Cycle (2017 – 2020)

Cycle (2021 – ปัจจุบัน)

Bear Zone

ต่อมาเป็นการนำมาใช้กับ Cycle ปัจจุบัน เพื่อดูว่าประสิทธิภาพจะดีเท่ากับ Cycle (2017-2020) หรือไม่

โดยในช่วง Bear Zone ของ Cycle นี้จะมีจุดเข้าซื้ออยู่ 5 จุด ในระยะเวลา 1 ปี 13 วัน และมี Drawdown สูงสุดอยู่ที่ -55.25% และใน Zone นี้มีการเข้าสู่ที่จุด Dip อยู่ 3 จุด และเข้าที่ยอดอยู่ 2 จุด โดยมีอัตราการเข้า Dip อยู่ที่ 60% 

จะเห็นได้ว่าใน Bear Cycle นี้มีประสิทธิภาพในการเข้า Dip ด้วย Indicator ต่ำกว่ารอบ Bear Cycle ก่อน โดยผู้เขียนมองว่า เพราะการลงครั้งนี้เป็นการลงแบบ Panic Sell ซึ่งต่างจาก Cycle ก่อนที่ลงแบบ Sideway Down 

Accumulate Zone

หลังจากเข้าสู่ช่วงนี้จะมีจุดเข้าอยู่ 1 จุดที่ Dip พอดีตอนช่วงต้นปี 2023 และก็เข้าสู่ Mini Bull ภายใน Accumulate Zone และปัจจุบันยังไม่มีสัญญานให้เข้าเพิ่ม ซึ่งสิ่งที่รอดได้คือการรอเข้าสู่ Extreme Fear อีกครั้งและรอดูว่าจุดเข้าต่อไปจะเป็น Dip จริงหรือไม่

สถิติก่อน Bull Run

คราวนี้จะมาลองดูกันว่าปกติแล้วในช่วงตลาด Bear นั้นใน 1 Cycle จะเข้าสู่ Extreme Fear กี่ครั้งก่อนจะเข้า Bull Run โดยจะนับจากตั้งเงื่อนไขว่าค่า Fear จะต้องต่ำกว่า 20 แต่ปัจจุบันนั้นเรายังมีข้อมูลถึงแค่ปี 2018 ซึ่งข้อมูลอาจยังน้อยไปที่จะฟันธงว่ามันจะเกิดซ้ำๆตามสถิติในอดีต

ในตลาด Bear ผมจะแบ่งเป็น 2 Phases คือ 

  • Bear Zone (ตลาดขาลง)
  • Accumulate Zone (ตลาดสะสม)

เพื่อง่ายต่อการจำแนก เพราะในแต่ละช่วงมีปัจจัยที่ต่างกัน

ซึ่งถ้าดูจาก Cycle ครั้งก่อนช่วงปี 2018 นั้น ทุกๆ Phase จะต้องมี Extreme Fear (<20) 1 ครั้งเพื่อเปลี่ยนเข้าสู่ Phase ถัดไป โดยเราจะสังเกตุตรง Bear Zone เกิด Extreme Fear 1 ครั้ง แล้วเข้าสู่ Accumulate Zone จากนั้นก็เกิด Extreme Fear 1 ครั้งเพื่อเข้าสู่ Bull Run ซึ่งทุก Bear Cycle จะมี Extreme Fear ประมาณ 2 ครั้งหรือมากกว่านั้นได้

แต่ถ้าเรามองภาพ Bear ใน Cycle ปัจจุบันเรานั้นได้ผ่าน Extreme Fear มาแล้ว 1 ครั้งช่วงปี 2022 และเข้าสู่ Accumulate Zone เรียบร้อยแล้ว เมื่อต้นปี 2023 แต่ถ้าหากเราอิงจากข้อมูลใน Cycle ก่อน เพื่อใช้ในการคาดคะเนการเกิด Bull Run หน้า ก็จำเป็นจะต้องเกิด Extreme Fear อีก 1 รอบสุดท้ายใน Bear Cycle นี้เพื่อเปลี่ยน Phase เข้าสู่ Bull Run

กลยุทธ์การใช้ Crypto Fear and greed ในการเทรดและลงทุน

จริงๆแล้วตัวเครื่อง Fear and Greed Index นั้นสามารถใช้ได้หลายรูปแบบบางคนอาจใช้เป็นตัวหาจุดเข้าและออก หรือบางคนอาจใช้เป็นตัวเสริมในการช่วยตัดสินใจได้ดียิ่งขึ้นในแต่ละสภาวะตลาด โดยมีกลยุทธ์คร่าวๆที่สามารถนำไปปรับใช้ได้ดังนี้

  • ใช้เพื่อหาจุดเข้าสำหรับเช่นการเข้าที่จุด Extreme Fear และออกที่จุด Extreme Greed เมื่อเกิดความกลัวมากเท่ากับ Undervalued และเมื่อเกิดความโลภมากเท่ากับ Overvalued
  • ใช้ในการ DCA เมื่อเข้าสู่โซน Fear ไปจนถึง Extreme Fear
  • นำไปใช้ร่วมกับ Technical Analysis อื่นๆเพื่อช่วยตัดสินใจ เช่น Moving Average สำหรับสาย Trend Following หรือหา Divergence
  • สามารถนำไป Backtest เพื่อหา Insights ต่างๆ
  • สามารถใช้ประเมินภาพรวมตลาดเพื่อพิจารณาการ DCA Out ในขณะที่คนเกิดความโลภมากขึ้น
  • ใช้เพื่อวัดว่าเรานั้น Bias หรือไม่

ข้อมูลบางส่วนมีแหล่งที่มาจาก Capital.com และ Seekingalpha.com

ข้อควรระวังในการดู Crypto Fear and Greed

แน่นอนว่าการลงทุนไม่มีเครื่องมืออะไรที่จะสำเร็จ 100% เพราะฉะนั้นจึงอยากจะมาเตือนหากใครอยากนำเครื่องมือนี้ไปชี้คือ

  • ไม่ควรใช้เป็นเครื่องมือหลักในการเก็งกำไรระยะสั้นเช่น Futures เพราะ Drawdown สูงมาก
  • ไม่สามารถคาดการณ์ตลาดและการเกิด Black Swan ได้ 100%
  • ควรใช้ร่วมกับ Technical Analysis หรือ Fundamental Analysis ต่างๆ
  • ใช้เพื่อดูอารมณ์ของคนต่อ Bitcoin Ethereum และภาพรวมของตลาดคริปโตเท่านั้น
  • ตลาดไม่มีอะไรสมเหตุสมผลไปตลอดเช่น การปั่นราคา หรือการปล่อยข่าว Fake News

แนวทางอื่นในการวิเคราะห์ Bitcoin

นอกจาก Fear and Greed ที่มีไว้วิเคราะห์ Sentiment ตลาดทั้งราคาและอารมณ์คนแต่ก็ยังแนะนำว่ามันไม่มีเครื่องมืออะไรที่จะทำให้เราชนะ 100% และอาจยิ่งทำให้เรา Bias มากขึ้นจึงแนะนำแนวทางอื่นๆในการวิเคราะห์ เพื่อช่วยเปิดมุมมองนักลงทุนให้กว้างขึ้นเช่น

สรุปเนื้อหาและมุมมอง

ขอบคุณภาพจาก https://www.miraeassetmf.co.in/knowledge-center/importance-of-investor-behaviour-in-market-correction-greed-and-fear-cycle

สุดท้ายแล้ว Fear and Greed เป็นเครื่องมือที่หลายคนรู้จักดีอยู่แล้วและเหมาะกับการใช้ประกอบกับการตัดสินใจ เพื่อให้เรารู้ว่าเรากำลัง Bias และเป็นคนส่วนใหญ่ตามอารมณ์คนในตลาดอยู่หรือปล่าวตามทฤษฎีผลประโยชน์ของคุณ พิชัย จาวลา ที่มักจะบอกว่ามีแค่คนส่วนน้อยเท่านั้นที่ชนะตลาดในระยะยาว

ซึ่งองค์ประกอบตลาดนั้นมักจะขับเคลื่อนด้วยอารมณ์ เพราะอารมณ์ทำให้เกิดการกระทำและนำมาซึ่งผลลัพธ์

  • คนเกิดความโลภ (อารมณ์) → แห่ซื้อ (การกระทำ) → ราคาขึ้น (ผลลัพธ์)
  • คนเกิดความกลัว (อารมณ์) → แห่ขาย (การกระทำ) → ราคาลง (ผลลัพธ์)
  • คนเริ่มลังเล (อารมณ์) → ซื้อ / ขาย / ถือ (การกระทำ) → ราคานิ่ง (ผลลัพธ์)

และปัจจัยที่จะคอยกำหนดอารมณ์คนก็ประกอบด้วย

  • เทรนด์ของตลาด ตลาดขาขึ้นสะท้อนถึงความโลภ ตลาดลงสะท้อนถึงความกลัว
  • เศรษฐกิจ ข้อมูลออกมาดีเพื่อก่อให้คนเกิดความโลภ ส่วนข้อมูลด้านลบนำไปสู่ความกลัว
  • การเมืองระหว่างประเทศ ความมั่นคงและแน่นอนทำให้คนเกิดความโลภ ส่วนความไม่แน่นอนนำไปสู่ความกลัว
  • Sentiment ตลาด เกิดข่าวดีเพื่อกระตุ้นความโลภ และข่าวลบนำไปสู่ความกลัว 

Fear and Greed Index นั้นจะช่วยทำให้คนเข้าใจถึงเบื้องหลังของการขับเคลื่อนตลาดด้วยอารมณ์ ซึ่งขอย้ำเสมอว่าควรใช้เป็นตัวเสริมในการตัดสินใจลงทุนเท่านั้น เหมาะกับการใช้ประยุกต์กับ Technical และ Fundamental Analysis เพื่อช่วยให้ติดสินใจได้ดีขึ้นลด Bias ว่าเรากำลังรักเหรียญและความโลภบังตาหรือไม่ และจึงตั้งสติอยู่เสมอว่าเรากำลังตกเป็นทาสของอารมณ์ตลาดหรือไม่ เพราะสุดท้ายอาจทำให้เราต้องเจ็บหนักกับตลาดแบบที่คนส่วนใหญ่เป็น

Author

Share :
Related
Ethena และ USDe กับยุคใหม่ของ Stablecoin
Cryptomind Research Investment Outlook 2025
Crypto AI Agent ตั้งแต่จุดเริ่มต้นจนถึงปัจจุบัน
NFT กลับมาแล้ว ?