บทความเรื่อง Redacted Cartel จะแบ่งออกเป็น 2 EP. โดย EP. แรกจะเป็นการพูดถึงภาพรวมของ Redacted Cartel ในช่วงเริ่มต้นก่อนที่จะเปลี่ยน Business Model ใหม่ ส่วน EP. ต่อไปจะเป็นการเล่าให้ฟังถึง Product ต่างๆของ Redacted Cartel รวมไปถึงการวิเคราะห์เชิงลึกต่างๆไม่ว่าจะเป็น Tokenomics, คู่แข่งของแพลตฟอร์ม รวมไปถึงโอกาสในการเติบโตและความเสี่ยงที่มีโอกาสเกิดขึ้น
1) Redacted Cartel คืออะไร?
Redacted Cartel นิยามตัวเองว่าเป็นแพลตฟอร์มสำหรับ “Empowering on-chain liquidity, governance, and cash flow for DeFi protocols” หรือแปลเป็นไทยคือ แพลตฟอร์มสำหรับเพิ่มขีดความสามารถด้านสภาพคล่อง การกำกับดูแล และกระแสเงินสดสำหรับแพลตฟอร์ม DeFi ดังนั้น ถ้าพูดสรุปภาพรวมของ Redacted Cartel สั้นๆก็คือ แพลตฟอร์มที่สามารถสร้างรายได้และกระแสเงินสดจาก Treasury และนำรายได้เหล่านั้นกลับไปให้กับผู้ถือเหรียญ เราจึงสามารถนิยามได้ว่า Redacted Cartel เป็นหนึ่งแพลตฟอร์มที่เรียกว่า “Real Yield”
ซึ่งแพลตฟอร์ม Real Yield อีกสองเจ้าที่ถูกเป็นที่พูดถึงอย่างมาก นั่นก็คือ GMX และ Synthetix หากใครสนใจอยากศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมของแพลตฟอร์มเหล่านี้ สามารถกดเข้าไปอ่านต่อได้เลย
ซึ่งคำนิยามของ Redacted Cartel ในเชิงลึกนั้นอาจจะอธิบายยากและมีกระบวนการมากมายกว่าจะทำให้ Redacted Cartel กลายเป็นแพลตฟอร์ม Real Yield ได้ ยังไงเราไปเล่าประวัติของมันให้เห็นภาพกันก่อนดีกว่า
2) ความล้มเหลวของ Redacted Cartel ในช่วงที่มี APR หลักแสนเปอร์เซ็นต์
Redacted Cartel เปิดตัวขึ้นในช่วงเดือนธันวาคมปี 2021 โดยในช่วงแรกนั้น มันเป็นแพลตฟอร์มที่ Forked มาจาก OlympusDAO ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มประเภท Protocol Own Liquidity (POL) หรือพวกเราอาจจะคุ้นกับ OlympusDAO ในฐานะ “DeFi 2.0” ตัวแรกของโลก DeFi
OlympusDAO สร้างความ Hype แก่นักลงทุนเป็นอย่างมากจาก Concept ที่ไม่เหมือนใคร จึงทำให้เกิดแพลตฟอร์ม OlympusDAO Forked ขึ้นมามากมายหลากหลายเชน ไม่ว่าจะเป็น Wonderland จาก Avalanche หรือจะเป็น KlimaDAO จาก Polygon
จึงทำให้เทรนด์ของ DeFi 2.0 เกิดความ Hype เป็นอย่างมาก ดันราคาของเหรียญ OHM พุ่งขึ้นไปสูงกว่า 1,400 ดอลลาร์ ก่อนจะตกลงมาเหลือเพียงราวๆ 9 ดอลลาร์ในปัจจุบันจากการที่ที่มามีแต่คนเข้ามา Stake OHM แต่กลับไม่มีคนเทขายเลย
ดังนั้นพอเกิดคนเทขายมากขึ้น ก็เกิดเป็น Panic Sell เป็นทอดต่อๆกันมา รวมไปถึงนักลงทุนสามารถนำเหรียญ OHM ไป Leverage ตามแพลตฟอร์มต่างๆได้ ในช่วงที่เกิด Panic Sell เหรียญ OHM จึงเกิดการ Liqidation ต่อกันเป็นโดมิโน่ (Cascading Liquidation) เหตุผลต่างๆเหล่านี้จึงทำให้ราคา OHM ร่วงอย่างรุนแรงในที่สุด
เหรียญ BTRFLY ซึ่งเป็น Governance Token ของ Redacted Cartel ถูกขายแก่นักลงทุนรายย่อยผ่านการประมูลแบบ Dutch Auction โดยนักลงทุนที่ต้องการจะซื้อเหรียญ BTRFLY จะต้องนำเหรียญ Governance Token ของ DeFi จากที่ต่างๆมาทำการซื้อ เช่น CRV (Curve Finance), CVX (Convex Finance) และ FXS (Frax Finance) ซึ่งหลังจากประมูลได้แล้ว เหรียญ DeFi เหล่านี้ก็จะถูกนำไปเก็บไว้ใน Treasury ของ Redacted Cartel เพื่อให้แพลตฟอร์มสามารถนำไปหาผลตอบแทนต่อได้ และนักลงทุนก็จะได้รับเหรียญ BTRFLY ไป
คำถามคือทำไมต้องเป็นเหรียญ Governance Token จากแพลตฟอร์มเหล่านี้ (CRV, CVX, FXS) ? ก็เพราะว่าเหรียญเหล่านี้สามารถที่จะให้ Redacted Cartel นั้นนำไปหาผลตอบแทนเข้าสู่แพลตฟอร์มตัวเองต่อได้ โดยการนำไป Stake หรือ Lock เอาไว้กับแพลตฟอร์มเจ้าของเหรียญ Governance Token นั้นๆ เพื่อรับ Revenue Sharing จากทางแพลตฟอร์มเหล่านั้นนั่นเอง
รวมไปถึงนักลงทุนที่ต้องการจะซื้อเหรียญ BTRFLY ที่ตลาดรอง ทาง Redacted Cartel ก็มีตัวเลือกให้นักลงทุนสามารถที่จะซื้อ BTRFLY แบบลดราคาได้ (เรียกวิธีนี้ว่า Bonding) โดยการใช้ CRV, CVX หรือคู่ LP ของเหรียญ BTRFLY/OHM ในการซื้อ Bonding และนักลงทุนจะได้รับเหรียญ BTRFLY แบบทยอยปลดล็อคเหรียญทุกวันภายในระยะเวลา 7 วัน เพื่อลดโอกาสการเกิด Dilution ของเหรียญ BTRFLY ให้ได้มากที่สุด
ซึ่งในช่วงเริ่มแรก ทาง Redacted Cartel นั้นเปิดให้นักลงทุนซื้อเหรียญ BTRFLY ผ่านการ Bonding ได้เพียง 3 เหรียญเท่านั้น (CRV, CVX, BTYFLY/OHM LP) แต่หลังจากนั้นก็เปิดให้นำเหรียญอื่นๆมาซื้อ Bonding ได้ด้วย ไม่ว่าจะเป็น TOKE (Tokemak) และ WETH เป็นต้น
Use Case ของเหรียญ BTRFLY นอกจากจะสามารถนำไปใช้เป็นสิทธิ์ในการโหวตทิศทางของแพลตฟอร์มได้แล้ว นักลงทุนยังสามารถนำเหรียญ BTRFLY มา Stake เป็น xBTRFLY เพื่อรับ Emission Yield ในรูปแบบเหรียญ BTRFLY จากทางแพลตฟอร์มได้อีกด้วย ซึ่งเป็นโมเดลเดียวกับทาง OlympusDAO เลย นอกจากนี้ xBTRFLY ก็ยังสามารถไป Wrapped เป็น wxBTRFLY เพื่อนำไปเป็น Collateral ในการกู้เงินจากแพลตฟอร์ม Lending อย่าง Abracadabra หรือ Yearn Finance ในช่วงเวลานั้นได้อีกด้วย
หากสังเกตจากรูปภาพ จะเห็นได้เลยว่า Redacted Cartel นั้นให้ Yield หลักหนึ่งแสนเปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว ซึ่งการที่แพลตฟอร์มประเภท DeFi 2.0 ทั้งหมดจะสามารถให้ Yield แก่นักลงทุนที่สูงมากและมั่นคงได้ จะต้องอยู่ภายใต้สมมุติฐานว่าแพลตฟอร์มนั้นจะต้องมีการเก็บเงินเข้า Treasury ได้เรื่อยๆ มูลค่าตลาดของแพลตฟอร์มโตขึ้นเรื่อยๆ, การขายเหรียญ BTRFLY ผ่านการ Bonding จะต้องเติบโตขึ้น รวมไปถึงจะต้องมีคนเข้ามา Stake BTRFLY เพิ่มขึ้นเรื่อยๆตามทฤษฎีเกม (3,3) ซึ่งจากการที่เหรียญประเภท DeFi 2.0 มีการแจกผลตอบแทนที่มหาศาล ประกอบกับมีคนเข้ามาซื้อเหรียญเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จึงทำให้ราคาของเหรียญตระกูล DeFi 2.0 นั้นสูงขึ้นและเติบโตเร็วมากๆ
แต่สุดท้ายแล้วข้อเสียที่ตามมา นั่นก็คือ Supply ที่ถูกปล่อยออกมาอย่างมหาศาล ซึ่งเป็นความล้มเหลวที่คล้ายคลึงกับ OlympusDAO ประกอบกับการที่เหรียญ BTRFLY นั้นเป็น Unlimited Supply นักลงทุนที่เริ่มเข้าซื้อเหรียญ BTRFLY ตั้งแต่ราคาต่ำๆก็เทขายทำกำไรออกมา ในขณะเดียวกัน ช่วงปลายปี 2021 เป็นช่วงเริ่มต้นของการที่สถาบันการเงินต่างๆทั่วโลก ต่างพูดถึงเศรษฐกิจถดถอยที่มีโอกาสเกิดขึ้นทั่วโลก และโอกาสในการขึ้นดอกเบี้ยที่สูงของ FED ตลาดสินทรัพย์เสี่ยงทั่วโลกรวมถึงตลาดคริปโตเองก็ได้รับผลกระทบไปด้วย จึงเกิดการเทขายสินทรัพย์เสี่ยงกันอย่างมหาศาล
จึงทำให้เหรียญที่เติบโตขึ้นมาเร็วมากๆอย่างเหรียญตระกูล DeFi 2.0 นั้นได้รับผลกระทบไปเต็มๆ จนในที่สุดฟองสบู่ของ DeFi 2.0 ก็แตกออกมานั่นเอง
3) จาก Redacted Cartel V.1 เป็น V.2 พร้อมเปลี่ยน Business Model ใหม่ทั้งหมด
จากในช่วงแรกของ Redacted Cartel ที่ทำตัวเป็นแพลตฟอร์ม Protocol Own Liquidity และเกิดปัญหาอย่าง Supply ที่ผลิตออกมามหาศาล รวมถึงยุคล่มสลายของแพลตฟอร์ม DeFi 2.0 จึงทำให้ Redacted Cartel เห็นถึง Pain Point ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น การ Dilution ของเหรียญที่มากเกิน และ Yield Emission ที่สูงเกินจนไม่มั่นคงในระยะกลาง-ยาว สิ่งเหล่านี้ทำให้ Redacted Cartel ตัดสินใจเปลี่ยน Business Model ใหม่ทั้งหมด และพัฒนา Redacted Cartel ให้กลายเป็น v.2 นั่นเอง
โดยสิ่งที่มีการเปลี่ยนแปลง ได้แก่
2.1) ใช้เงินจาก Treasury ที่เก็บมาได้จากการขายเหรียญ BTRFLY แบบ Dutch Auction และการขายเหรียญแบบ Bonding ในการสร้างผลตอบแทนให้แก่ผู้ถือเหรียญ
2.2) เปลี่ยน Tokenomics จาก Infinited Supply เป็น Limit Supply รวมไปถึงนำเงินจาก Treasury ไปหาผลตอบแทน Real Yield เพิ่มเติม
2.3) สร้าง DeFi Product ที่ช่วยสร้างรายได้เพิ่มเติมให้แก่ Redacted Cartel
3.1) ใช้เงินจาก Treasury ที่เก็บมาได้จากการขายเหรียญแบบ Dutch Auction และการขายเหรียญแบบ Bonding ในการสร้างผลตอบแทนให้แก่ผู้ถือเหรียญ
อย่างที่ได้กล่าวไปด้านบนว่า ในช่วงเริ่มต้นนั้น Redacted Cartel มีการขายเหรียญ BTRFLY โดยผู้ใช้งานสามารถนำเหรียญ CVX, CRV, FXS และ WETH มาแลกเป็น BTRFLY ได้ผ่านวิธีการ Dutch Auction
และเหรียญทั้งหมดที่แพลตฟอร์มเก็บได้จากการขายเหรียญ BTRFLY ก็จะถูกส่งเข้า Treasury เพื่อนำไปหารายได้ต่อ ไม่ว่าจะเป็น การนำไป Lock Staking หรือเป็นการนำไปฝากคู่เหรียญ LP ตามแพลตฟอร์มต่างๆ และรายได้เหล่านี้ก็จะถูกส่งกลับเข้า Treasury ของ Redacted Cartel เพื่อนำไปแจกให้กับคนที่นำ BTRFLY มา Stake เอาไว้นั่นเอง
ปัจจุบัน หากอ้างอิงตาม Document นั้น Treasury Wallet จะมีทั้งหมด 2 Address ได้แก่ 0xa52fd396891e7a74b641a2cb1a6999fcf56b077e และ 0x086c98855df3c78c6b481b6e1d47bef42e9ac36b ซึ่งรวมมูลค่ามากกว่า 30 ล้านดอลลาร์ (ข้อมูลในวันที่ 7 กุมภาพันธ์) โดยทั้ง 2 Wallet จะมีการนำเหรียญไป Stake/Lock และ Liquidity Mining ไว้ตามแพลตฟอร์ม DeFi ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Convex Finance, Curve Finance, Frax Finance, Uniswap V3 และ OlympusDAO ตามรูปภาพด้านบน
ซึ่งหาก Breakdown ออกมาแล้ว เราจะพบว่า CVX ซึ่งเป็น Governance Token ของ Convex Finance นั้นมีสัดส่วนที่มากที่สุดเมื่อเทียบกับเหรียญอื่นๆ โดยมีสัดส่วนคิดเป็นประมาณ 28% ของ Treasury คำถามต่อไปก็คือ ทำไม Redacted Cartel ถึงเลือกที่จะถือเหรียญ CVX มากที่สุดใน Treasury และนำ CVX ไปล็อคไว้กับ Convex Finance? ก็เพราะว่าทางแพลตฟอร์มจะได้นำไปโหวต Pool ต่างๆใน Curve Finance และรับเงินสินบนจาก Pool ของแพลตฟอร์มนั้นๆทุกสองอาทิตย์ และนำรายได้จากเงินสินบน เอากลับมาแจกให้กับผู้ถือ BTRFLY นั่นเอง
โดยสำหรับใครที่ไม่รู้จัก Curve War ทาง Cryptomind Research จะมีการเปิดตัวบทความเร็วๆนี้ หากเปิดตัวเรียบร้อยแล้วจะนำลิ้งค์มาแปะให้ในบทความนี้
3.2) เปลี่ยน Tokenomics จาก Infinited Supply เป็น Limit Supply รวมไปถึงนำเงินจาก Treasury ไปหาผลตอบแทน Real Yield เพิ่มเติม
อย่างที่ได้กล่าวไปข้างบนว่า BTRFLY v.1 นั้นมีปัญหาเชิงโครงสร้างหลายประเด็น ซึ่งสำหรับ Model v.1 อย่างโทเค็น xBTRFLY ที่สามารถให้ผู้ Stake ได้รับ Yield อันมหาศาล และโทเค็น wxBTRFLY ที่สามารถให้ผู้ได้รับ Yield มหาศาลนั้นได้รับผลตอบแทนต่ออีกทอดนึงสำหรับการนำไปค้ำประกันเพื่อกู้สินทรัพย์ได้นั้น จะถูกนำออกไปทั้งหมด และเปลี่ยนวิธีการ Stake จาก xBTRFLY ให้กลายเป็น “rlBTRFLY” นั่นเอง
โดยหากพูดถึงเหรียญใหม่ที่ชื่อ rlBTRFLY นั้น มีโมเดลที่คล้ายเดิมกับ xBTRFLY เลย แต่ต่างกันตรงที่มีการเปลี่ยนจาก Stake เป็น Lock แทน โดยผู้ใช้งานสามารถนำเหรียญ BTRFLY มาล็อคไว้กับแพลตฟอร์มเป็นเวลา 16-17 อาทิตย์ เพื่อรับ Reward จากแพลตฟอร์มที่นำเงินใน Treasury ไปหาผลตอบแทนมาได้ โดย Reward ที่ได้รับ จะได้รับในรูปแบบเหรียญ BTRFLY และ ETH นั่นเอง
ซึ่ง Redacted Cartel ก็มีวิธีการหารายได้หลากหลายวิธี ไม่ว่าจะเป็น การนำเหรียญ CVX ไปล็อคเป็น vlCVX เพื่อโหวต Pool ต่างๆและรับเงินสินบนจากแพลตฟอร์มอื่นๆ, การนำเงินที่ได้จากสินบน รวมไปถึงการที่แพลตฟอร์มนำเงินที่เคยรวบรวมได้จากการขาย BTRFLTY แบบ Dutch Auction นำมาผูกคู่ LP ทำ Yield Farming, รวมไปถึงรายได้จากการเก็บค่าธรรมเนียมใน Products ต่างๆของแพลตฟอร์มที่สร้างขึ้นมาอีกด้วย ซึ่ง Product ต่างๆของ Redacted Cartel จะนำไปเล่าให้ฟังอีกครั้งใน EP.2
นอกจากผู้ถือ rlBTRFLY จะได้รับ Reward จากส่วนแบ่งรายได้ที่แพลตฟอร์มไปหามาแล้วนั้น ผู้ถือ rlBTRFLY ยังสามารถโหวต Proposal ต่างๆของ Redacted Cartel ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้อีกด้วย ไม่ว่าจะเป็น การ Integated Product ของ Redacted กับแพลตฟอร์มอื่นๆ รวมไปถึงกำหนดสัดส่วนการแจก Reward ระหว่าง BTRFLY และ ETH นั่นเอง
Redacted Cartel จะมีการจ่ายผลตอบแทนให้แก่ผู้ถือ rlBTRFLY ทุกๆสองอาทิตย์ ซึ่งหลักๆจะอ้างอิงมาจากการที่ทาง Redacted Cartel นำเหรียญ CVX ไปโหวตใน Pool ต่างๆเพื่อรับสินบนจากแพลตฟอร์มเจ้าของ Pool นั้นๆ โดยการ Lock เหรียญ BTRFLY (rlBTRFLY) เพื่อให้ได้ส่วนแบ่งรายได้จากแพลตฟอร์มนั้น จะต้องทำการ Lock ก่อนเริ่มต้น Epoch ถัดไป และต้องล็อคเป็นอย่างต่ำ 2 อาทิตย์ จึงจะสามารถรับ Reward จาก Epoch นั้นได้ ยกตัวอย่างเช่น หาก Epoch ถัดไป เริ่มในวันที่ 4 ธันวาคม – 18 ธันวาคม เราจะต้องเริ่ม Lock เหรียญตั้งแต่วันที่ 20 พฤศจิกายน (ก่อนหน้า Epoch ถัดไป 14 วัน) เป็นต้น
โดยสัดส่วนการแจกผลตอบแทนให้กับผู้ถือ rlBTRFLY จะขึ้นอยู่กับมูลค่าใน Treasury ของ Redacted Cartel ในปัจจุบัน (ตามรูปภาพด้านบน) ซึ่งหากอ้างอิงข้อมูลจากวันที่ 7 กุมภาพันธ์ มูลค่าของ Treasury ทั้งสองกระเป๋ารวมกันแล้วประมาณ 30 ล้านดอลลาร์ รายได้ทั้งหมดที่แพลตฟอร์มหามาได้ ส่วนนึงจะกลับเข้าสู่ Treasury 70% อีก 15% จะเข้า DAO Reserve สำหรับใช้เป็นค่าใช้จ่ายในอนาคต และอีก 15% จะถูกส่งไปให้กับผู้ถือ rlBTRFLY นั่นเอง
โดยนอกจากผู้ที่ถือ rlBTRFLY จะได้รายได้จากเงินสินบนที่ทาง Redacted Cartel ไปโหวตทุกสองอาทิตย์ใน Convex Finance แล้วนั้น ทาง Redacted ก็ยังมีรายได้เพิ่มเติมอีกสองช่องทาง ก็คือ Hidden Hand และ Pirex ซึ่งเป็น 2 Product หลักของทาง Redacted ซึ่งรายได้ 50% จาก Hidden Hand และรายได้ 42.5% จาก Pirex จะถูกส่งไปยังผู้ถือ rlBTRFLY โดยตรง และรายได้ส่วนที่เหลือจาก Pirex และ Hidden Hand จะมีการเก็บค่า Fee บางส่วน และส่วนที่เหลือจะถูกส่งกลับ Treasury เป็นต้น
ซึ่งรายละเอียดรายได้ของ Hidden Hand และ Pirex จะเอาไปเล่าให้ฟังอีกครั้งใน EP.2
อ้างอิงจากเปอร์เซ็นต์ผลตอบแทนในปัจจุบัน (ข้อมูลในวันที่ 8 กุมภาพันธ์) APR เฉลี่ยจากการถือเหรียญ rlBTRFLY อยู่ที่ราวๆ 34.18% ซึ่งถ้า Breakdown ไปดู APR ที่ได้จาก Epoch แต่ละรอบนั้น (Epoch ละ 2 อาทิตย์) ผู้ถือ rlBTRFLY จะได้ Reward เหรียญ BTRFLY เฉลี่ยประมาณ 80% และเหรียญ ETH เฉลี่ยประมาณ 20% ซึ่งหาก Assume ผู้ถือ rlBTRFLY จะได้รับ APR เฉลี่ยเท่ากันทั้งปี สัดส่วน ETH Reward ที่เรานับว่าเป็น Real Yield นั้น จะได้รับประมาณ 6.8% ต่อปี (20% ของ 34.18%) ซึ่งถือเป็นสัดส่วนที่ไม่มากและไม่น้อยจนเกินไป
โดยตัวเลข APR อาจจะมีเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา เนื่องจากเปลี่ยน Tokenomics เหรียญ BTRFLY เป็น v.2 นั้นเพิ่งเกิดขึ้นในช่วงต้นเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา และเริ่มมีการแจก Reward ส่วนแบ่งรายได้ของแพลตฟอร์มให้กับผู้ถือ rlBTRFLY เมื่อปลายเดือนสิงหาคม จึงทำให้สถิติต่างๆไม่ว่าจะเป็น Total Bribe Volumn หรือจะเป็นตัวเลข Reward APR จะมีความผันผวนสูง ทำให้ข้อมูลในปัจจุบันไม่สามารถทำนายอนาคตของ APR หรือการเติบโตของ Redacted Cartel ได้แม่นยำเท่าที่ควรนั่นเอง
3.3) สร้าง DeFi Product ที่ช่วยสร้างรายได้เพิ่มเติมให้แก่ Redacted Cartel
อย่างที่ได้กล่าวไว้ด้านบนว่า วิธีการสร้างรายได้หลักๆของ Redacted Cartel นั่นก็คือ การนำเหรียญ CVX ที่แพลตฟอร์มนำไปล็อคไว้เป็น vlCVX ใน Convex Finance เพื่อนำไปโหวต Pool ต่างๆเพื่อที่จะได้รับเงินสินบนส่งกลับเข้าสู่ Treasury ของแพลตฟอร์ม และแบ่งรายได้บางส่วนให้กับผู้ถือ rlBTRFLY นอกจากนี้ทาง Redacted Cartel ยังมีแหล่งรายได้หลักๆอีกสองทาง ซึ่งเป็น Products หลักๆในปัจจุบันของ Redacted Cartel นั่นก็คือ Hidden Hand และ Pirex
นอกจากนี้ก็ยังมีอีก 2 Product ที่ทาง Redacted Cartel จะเปิดตัวในอนาคตแต่ยังไม่ได้ประกาศอย่างเป็นทางการ นั่นก็คือการทำ Liquid Staking Derivatives (LSD) และเหรียญ Stablecoin อย่าง DINERO ซึ่งเป็น Overcollateralized Stablecoin ที่ทางแพลตฟอร์มได้พูดเกริ่นเอาไว้ว่า ผู้ใช้งานสามารถนำเหรียญ ETH ที่ตัวเองนำมา Staking ใน Liquid Staking Product ที่จะเปิดตัวในอนาคต นำมาใช้เป็นสินทรัพย์ค้ำประกันสำหรับ Mint DINERO ได้
โดยรายละเอียดเกี่ยวกับ Product ของ Redacted Cartel ทั้งหมดและการวิเคราะห์เชิงลึกในเรื่องต่างๆจะนำไปเล่าให้ฟังอีกครั้งใน EP.2
❗️คำเตือนความเสี่ยง :
คริปโทเคอร์เรนซี่มีความเสี่ยงสูง ท่านอาจสูญเสียเงินลงทุนได้ทั้งจำนวนและสินทรัพย์ดิจิทัลมีความเสี่ยง โปรดศึกษาและลงทุนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ ผลตอบแทนของสินทรัพย์ดิจิทัลในอดีต มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลตอบแทนของสินทรัพย์ดิจิทัลในอนาคต