Celestia หนึ่งใน Modular blockchain ที่น่าจับตามองที่สุดในปี 2023 

Share :
AW Celestia-02

Table of Contents

หลายๆคนคงได้ยินคำว่า Ethereum killer มาจนเริ่มเบื่อกันแล้ว เนื่องด้วยมีบล็อกเชน Layer 1 มากมายเกิดขึ้นนับตั้งแต่ปี 2017 ที่เกิดมาเพื่อล้ม Ethereum ซึ่งหลายๆตัวก็ได้หายไปเป็นที่เรียบร้อย แล้วก็มีอีกหนึ่งผู้ท้าชิงที่เป็น Modular Blockchain ที่มีการออกแบบที่น่าสนใจเป็นอย่างมาก ซึ่งหากจะมีบล็อกเชนซักตัวนึงที่สามารถสู้กับ Ethereum ได้ Celestia น่าจะเป็นอีกหนึ่งบล็อกเชนที่มีศักยภาพเพียงพอจะแข่งขันได้ 

วันนี้ทาง Cryptomind Research จะพาทุกท่านเจาะลึกโปรเจกต์ Celestia ว่ามีข้อดี และ ข้อเสียอย่างไร ก่อนอื่นขอแนะนำให้อ่านบทความเกี่ยวกับ Monolithic vs Modular blockchain เพื่อให้เข้าใจมากยิ่งขึ้น 

Key takeaway

Scalability : Celestia สามารถที่จะ scale ได้ด้วยการทำงานแบบ Modular (แบ่งการทำงานออกเป็น layer) ช่วยให้ลดภาระในการประมวลผลไม่ให้ base layer หนักจนเกินไป

Simplicity : Celestia ต้องการที่สร้าง rollups แบบ app-specific chain ที่สามารถทำงานได้ง่ายเพียงไม่กี่คลิก

Shared Security : Celestia เป็นเหมือน shared security layer ให้กับ rollups และ solutions ต่างๆ อย่าง validium,optimistic chain ซึ่งจำเป็นที่จะต้องสร้าง data layer ขึ้นมา ซึ่ง Celestia สามารถเข้ามาช่วยให้ chain เหล่านี้สามารถใช้ data layer ของ Celestia ได้โดยที่ไม่ต้องไปทำการสร้าง data layer ใหม่

Sovereignty : rollups บน Celestia จะมีความเป็นอธิปไตยสูง สามารถเลือกใช้ executions environment อะไรก็ได้ ไม่ได้ถูกจำกัดว่าจะต้องใช้แค่ EVM

Celestia คืออะไร

Celestia เป็น L1 Proof of stake Modular blockchain ที่สร้างจาก Cosmos SDK และ ใช้ Tendermint เป็น consensus engine โดยจะทำหน้าที่เป็น Consensus และ Data availability layer ซึ่งที่จะไม่ต้องทำการ Execute Transactions และ สามารถสร้าง chain ที่เป็น rollups บน Celestia ได้ ซึ่ง Celestia จะเป็น Shared security layer ให้กับ rollups ที่สร้าง on top ทำให้การสื่อสารกันระหว่าง rollups บน Celestia มีความปลอดภัยสูง

The Data Availability Problem 

หากเราจะเข้าใจตัว Celestia ได้ เราจะต้องเข้าใจปัญหาเรื่อง Data availability ที่โลก Blockchain ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญเลยที่เดียว ว่า Block ได้ถูกบันทึกลงบน Network แล้วจริงๆ โดยหากไม่มี data ผู้ใช้งานก็ไม่สามารถที่จะตรวจสอบ invalid transactions ได้ 

Fraud proof 

Fraud proof นั้นเกิดขึ้นเมื่อปี 2018 โดยได้มีการเขียน white papers โดยผู้เขียนคือ Mustafa Al-Bassam (CEO ของ Celestia) ร่วมกับ Vitalik buterin (Co-founder ของ Ethereum) และ Alberto Sonnino (Research Scientist ของ Mysten lab) ซึ่งเป็นการกล่าวถึงกุญแจสำคัญในการ Scaling ของ Modular blockchain ให้มีความปลอดภัยมากขึ้น ซึ่งจะอาศัย full node ที่ honest ในการส่ง fraud proof ไปให้ light clients หากมีการตรวจพบ invalid transactions ซึ่งทำให้ fraud proof จะประกอบไปด้วย pre-state root, post state root, witnesses ของ transaction นั้นๆ (Merkle proofs) ทำให้ light client สามารถที่จะประมวลผลเพื่อตรวจสอบความถูกต้องได้

Data Availability Sampling (DAS) 

ขอบคุณภาพจาก https://docs.celestia.org/concepts/how-celestia-works/data-availability-layer/ 

หัวใจหลักในการ scaling ของ Celestia คือการใช้ DAS หรือ Data availability sampling นั้นเอง ซึ่งหากในเครือข่ายของ Celestia ยิ่งมี light clients เยอะ ก็จะยิ่งสามารถ scale ได้มากขึ้น (โดยการเพิ่ม Block size) โดยหลักการของ DAS คือ light clients จะไม่จำเป็นต้อง download ข้อมูลทั้งหมดของ Block แต่เลือกที่จะ Sampling แค่ข้อมูลบางส่วนจาก block เท่านั้น (Erasure coding) และ ทำการ Extend data ซึ่งเป็นแบบ 2D (Reed-solomon encoding) ตรงนี้จะช่วยให้หากมีข้อมูลบางส่วนหายไปจะสามารถ reconstruct data (กู้คืนข้อมูล) กลับมาได้ หาก row (แถวแนวตั้งของ Block) และ column (แถวแนวนอนของ Block) มี Data available เกิน 50% และ หากจะ reconstruct block ขึ้นมาใหม่จะต้องมี Data 75% จากทั้งหมด โดยจะใช้สมการคณิตศาสตร์ขั้นสูงเรียกว่า “Polynomial”  

ซึ่งแน่นอนว่าวิธีการ DAS ที่ Celestia ใช้นั้นมันเหมือนกับ Roadmap ของ Ethereum มากๆ (Full danksharding) แต่จะมีความแตกต่างกันอย่างนึงคือ Ethereum จะใช้ KZG commitment scheme ซึ่งแตกต่างจาก Celestia ที่ใช้ Fraud proof

*Erasure coding คือ การที่แบ่งข้อมูลออกเป็นส่วนย่อยๆ ทำให้ node ไม่จำเป็นต้อง download ข้อมูลทั้งหมดจาก block 

*Reed-solomon encoding คือ การที่ขยายชุดข้อมูลดั้งเดิมออกไป ซึ่งป้องกันการสูญหายของข้อมูล

*KZG commitment scheme คือ เป็นการ commit ข้อมูลด้วยสมการทางคณิตสาตร์ชนิดหนึ่ง (Polynomial) ที่ช่วยให้สามารถตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลได้

Celestia ดีอย่างไร 

อย่างที่กล่าวไว้ในข้างต้นว่า Celestia จะทำหน้าที่เป็นเพียงแค่ Consensus และ Data availability layer เท่านั้นแล้วมันดียังไง รายละเอียดตามภาพด้านบนจะเป็นการเปรียบเทียบในแง่มุมต่างๆระหว่าง Celestia vs Ethereum vs Cosmos

  1. Security (ความปลอดภัย) : celestia มีความ security อยู่ในระดับกลางถึงสูง โดยจะใช้ fraud proof ในการป้องกันความผิดพลาดที่จะเกิดขึ้น ซึ่งการรัน light clients อาจจะใช้สเปคไม่สูงมาก โดยอาจจะไม่ได้ปลอดภัยเท่า ethereum ที่มีจำนวน validator เยอะที่สุด แต่คิดว่าความปลอดภัยสูงกว่า cosmos 
  2. Scalability (การเพิ่มความสามารถในการรองรับธุรกรรม) : ความสามารถในการ scale ในส่วนของ base layer ก็ดูเหนือกว่าตัวอื่นๆ ซึ่งกุญแจสำคัญคือการใช้ Data availability sampling 
  3. Sovereignty (ความเป็นอธิปไตย) : การสร้าง rollups บน Celestia จะมีความอิสระในการปรับแต่งในส่วนต่างๆมาก ซึ่งตรงนี้จะคล้ายกับ chain บน cosmos ส่วนของ Ethereum หากพูดถึงในปัจจุบัน rollups อย่าง optimism หรือ Arbitrum จะมีความเป็นอิสระน้อยกว่า 
  4. Shared security (มีการแชร์ปลอดภัยร่วมกันกับ rollups อื่นๆ) : ด้วยความ Celestia เป็น data และ consensus layer ทำให้ rollups ต่างๆที่ใช้ Celestia นั้นจะมีความปลอดภัยสูง ซึ่ง ecosystem ของ cosmos จะไม่มีการ shared security ทำให้ความปลอดภัยตํ่ากว่า
  5. Trust minimized bridge (การโอนเหรียญข้ามเชนแบบความปลอดภัยสูง) : การโอนเหรียญข้าม chain แบบ trust minimized นั้น Celestia จะทำได้ไวกว่า chain อื่นๆ โดย Ethereum ก็มีแต่จะทำได้ช้ากว่าเนื่องจากมีข้อจำกัดเรื่อง withdraw window 7 วัน กรณี fraud proof และ zk proof จะต้องรอ validity proof ให้ submit ลงบน L1 ซึ่งทำให้เกิดความล่าช้าได้
  6. Time to finality (ระยะเวลาที่บล็อกนั้นๆจะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้) : เนื่องจาก Celestia ใช้ tendermint เป็น consensus algorithm ทำให้เป็นเวลา finalized ของ block นั้นๆรวดเร็ว แตกต่างจาก Ethereum ที่ใช้ Ghost & casper ซึ่งระยะเวลาในการ finalized จะนานกว่า  

Security Assumptions

ความปลอดภัยก็เป็นเรื่องที่สำคัญมากอย่างที่กล่าวไว้ข้างต้น light clients จะไม่สามารถตรวจสอบความถูกต้องได้ และ จึงจำเป็นที่จะต้องพึ่งพา full node ซึ่งหากเกิดมี invalid transactions เกิดขึ้นมา security assumptions จะแบ่งออกเป็น 3 แบบคือ

  1. Full Nodes : ปลอดภัยไม่สามารถที่จะทำการหลอก full node ได้ กรณีมี invalid transactions จะต้องทำการสร้าง Fraud proof ส่งไปให้ light clients
  2. Standard light clients : ไม่สามารถตรวจสอบความถูกต้องได้ จะทำการเชื่อฉันทามติ 
  3. Light clients + Fraud proof : กรณีมี invalid transactions เกิดขึ้น full node จะทำการสร้าง Fraud proof จากนั้นจะส่งไปให้ light clients และ จะมีการเรียก data sampling จาก light clients เพื่อทำการ reconstruct block ที่ถูกต้องขึ้นมาใหม่

วิธีการ scaling ของ Celestia

ขอบคุณภาพจาก https://blog.celestia.org/abundant-blockchains/ 

การที่ Celestia ใช้เทคนิค DAS (Data availability sampling) นั้นช่วยเรื่อง scaling ได้อย่างมหาศาล โดยหากถามว่า Celestia จะสามารถ scale ได้มากแค่ไหน คงต้องตอบว่ามีปัจจัยอยู่หลักๆก็คือ

  1. Target block header size ของ light node คือเท่าไหร่
  2. จะต้องสุ่มเก็บ Data sampling มากแค่ไหน
  3. มีจำนวน light node เท่าไหร่

โปรเจกต์ที่พัฒนาร่วมกับ Celestia มีอะไรบ้าง 

โปรเจกต์ที่มีจับมือกับ Celestia มีอะไรบ้างมาดูกัน

  1. Celestium : เป็น chain แบบ validium (ใช้ zero knowledge proof) จะเก็บ Transactions data ไว้บน Celestia และ state root กับ validity proof บน Ethereum ซึ่ง Celestium จะใช้เทคนิคที่เรียกว่า “Quantum Gravity Bridge” ส่งข้อมูล Data attestation ไปยัง Contract บน Ethereum เพื่อเป็นการยืนยันว่า Data นั้น available บน Celestia

ขอบคุณภาพจาก https://blog.celestia.org/celestiums/ 

  1. Manta Pacific : เป็น chain ที่ใช้ Opstack ในการทำ chain แบบ validium โดยใช้ Celestia เป็น data availability layer เช่นกัน
  2. Optimism : Celestia ได้มีการร่วมมือกับทาง OP labs เพื่อสร้าง Modular data availability ขึ้นมา โดยใช้ Opstack
  3. Sovereign Labs : สามารถใช้ SDK จากทีม sovereign labs เพื่อสร้าง sovereign rollups บน Celestia ได้ ซึ่งขณะนี้ยังอยู่ในช่วงกำลังพัฒนา product อยู่
  4. Eclipse : โปรเจกต์ L2 ที่ใช้ SVM (Solana virtual machine) เป็น Execution layer, Data availability layer เป็น Celestia และ Ethereum เป็น Settlement layer ซึ่งเป็นการรวมความสุดยอดของแต่ละ chain เข้าด้วยกัน

Trusted bridges กับ Trust minimized bridges ต่างกันอย่างไร

การส่ง asset ข้ามเชนนั้นเป็นเรื่องที่มีความเสี่ยงสูงมากจะเห็นได้ว่าความเสี่ยงหายที่เกิดขึ้นที่สร้างความเสียหายมูลค่ามหาศาลนั้น ส่วนใหญ่แล้วจะมาเจอการโจมตี Bridges ทั้งนั้นไม่ว่าจะเป็น

  1. Ronin Network : เกิดความเสียหายมูลค่า $ 624 million
  2. Poly Network : เกิดความเสียหายมูลค่า $ 611 million
  3. Binance Bridge : เกิดความเสียหายมูลค่า $ 570 million
  4. Wormhole Network : เกิดความเสียหายมูลค่า $ 326 million
  5. Nomad :  เกิดความเสียหายมูลค่า $ 190 million
  6. Multichain : เกิดความเสียหายมูลค่า $ 126 million
  7. Harmony Bridge :  เกิดความเสียหายมูลค่า $ 100 million

จากข้อมูลด้านบนนั้นการที่สถาปัตยกรรมของ Bridges นั้นไม่ปลอดภัยก็ถือเป็นความเสี่ยงของผู้ใช้งานอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็น liquidity provider (ผู้ให้สภาพคล่อง) หรือ ผู้ใช้งานทั่วไปที่ส่ง asset จาก chain A ไปยัง chain B ก็ตาม ต่อไปเรามาเปรียบเทียบ trusted กับ trusted minimized โดยรายละเอียดดังนี้

  1. Trusted bridge : คือจะ verified โดยการใช้ state validation technique (ถ้าเข้าใจไม่ผิดคือ การ verified state ของ chain นั้นๆ โดยใช้ light client) ซึ่งจะขึ้นอยู่กับ Committee ⅔ ว่าจะยอมรับ Block นั้นหรือไม่ ตัวอย่างคือ การ bridge หากันใน Cosmos ecosystem
  1. Trust minimized bridges : คือการที่แต่ละ chain ใน cluster นั้นๆ สามารถที่จะ Validate state machine ของแต่ละ chain ใน cluster ได้ ตัวอย่างคือ Ethereum rollups เป็น EVM compatible (บางอันอาจจะเป็น Equivalent) ซึ่งทำให้แต่ละ chain สามารถที่จะตรวจสอบ fraud proof หรือ validity proof ได้ เนื่องจากเป็น EVM chain โดยมี Ethereum เป็นศูนย์กลางในการตรวจสอบ แต่ถ้าหากเรา bridge ออกจาก cluster เช่น bridge ออกไปที่ solana จะไม่สามารถมี trust minimized bridges ได้เนื่องจาก EVM ไม่สามารถ validate state machine ของ solana ได้

คุณสมบัติของ Celestia นั้นสามารถที่จะ Shared security กับ rollups ที่สร้างบน Celestia ได้กรณีนี้จะต้องใช้ Data availability layer เท่านั้น หมายความว่า rollups จะสามารถส่ง asset หากันได้แบบ trust minimized โดยมี settlement layer ที่จะต้องรัน light clients ของทั้งหลายๆ chain จากนั้นเช็ค validity proof ว่าถูกต้องรึป่าว

ขอบคุณภาพจาก https://blog.celestia.org/clusters/ 

$TIA Tokenomics

ขอบคุณภาพจาก https://docs.celestia.org/learn/staking-governance-supply/ 


Supply ทั้งของเหรียญ TIA มีจำนวน 1 พันล้าน TIA โดยแบ่งสัดส่วนดังนี้

  • Public Allocation : 20%
  • R&D & Ecosystem : 26.8%  
  • Early Backers: Series A&B : 19.7%
  • Early Backers: Seed : 15.9%
  • Initial Core Contributors : 17.6%

ในปีแรกเหรียญ TIA จะอัตราการเฟ้อของเหรียญที่ 8% และค่อยๆลดลง 10% ทุกๆปีจนเหลือ 1.5% ต่อปี

ขอบคุณภาพจาก https://docs.celestia.org/learn/staking-governance-supply/ 

เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2023 ทาง Celestia ก็ได้ประกาศ Airdrop เหรียญ TIA ทั้งหมด 60 ล้าน TIA ให้กับทั้ง Research และ Public good, ผู้ใช้งาน Ethereum rollups รวมไปถึงผู้ที่ Stake เหรียญ ATOM ซึ่งทั้ง 3 หมวดหมู่นี้จะได้กลุ่มละ 20 ล้าน TIA  

ซึ่งจากข้อมูลเหรียญ TIA จะสามารถใช้ใน use case ต่างๆได้เช่นนำไป Stake เพื่อเป็น validator (Full node), ใช้เป็นค่าธรรมบนเครือข่าย และ มีกลไกการ Burn เหรียญเหมือนกับ EIP-1559 ของ Ethereum จะช่วยสร้างเสถียรภาพให้กับราคาเหรียญ TIA มากยิ่งขึ้น, ใช้ในการ Vote Proposal ต่างๆได้

ในมุมมองของ Cryptomind research มองว่าสัดส่วนของกลุ่ม Early backer และฝั่งนักพัฒนาได้เหรียญในสัดส่วนที่ค่อนข้างสูง ซึ่งรวมๆแล้วถึง 62.4% เลยทีเดียว ซึ่งส่วนของ Early backer ก็ติด Cliff 1 ปีทำให้ในช่วงแรกแรงเทขายอาจจะไม่ได้สูงมากนัก แต่หลังจากที่ปลดล็อกเหรียญแล้วบวกกับ inflation rate ที่สูงอยู่ ณ ตอนนั้นจะอยู่ที่ 7.2% อาจจะส่งผลกระทบต่อราคาเหรียญได้ แต่ก็จะมีปัญหาเรื่องความ Centralized

ถึงแม้ Emission rate จะลดลงเรื่อยๆจนเหลือ 1.5% ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่ดี และทำให้เหรียญไม่เฟ้อจนเกินไป แต่กว่าจะไปถึงจุดนั้นก็ใช้เวลานานเป็นอย่างมาก ซึ่งหาก Emission rate มากกว่า Burn rate อาจส่งผลในเหรียญมีความเสถียรภาพน้อยลง และส่งผลเสียต่อราคาเหรียญได้ แต่หาก Burn rate เยอะจะทำให้มีความเหรียญน่าสนใจมากขึ้น

วิเคราะห์รายได้ของ Celestia และ Price prediction ตอน Airdrop

จากการคาดการณ์ราคาเหรียญ TIA โดยเริ่มต้น Supply ของเหรียญจะถูกปล่อยมาในช่วงแรกทั้งหมด 141 ล้าน TIA โดยเทียบจากราคาเหรียญอื่นๆเช่น Optimism, Arbitrum, Aptos และ Sei บวกกับ Sentiment ในช่วงนี้ตลาดยังอยู่ในช่วงขาลงอยู่ จึงคาดการณ์ว่า Circulating marketcap จะใกล้เคียงกับ Optimism และ Sei ที่มีการแจก Airdrop ในช่วงตลาดขาลงเหมือนกันที่ราคา $2.2 

อย่างไรก็ตามหาก ณ​ วันที่แจก Airdrop ตลาดมีทิศทางที่ดีอาจจะส่งผลต่อราคาเหรียญให้สูงมากยิ่งขึ้นก็เป็นได้ 

แต่หากพูดถึงมุมมองการสร้างรายได้แล้ว Celestia เป็น Data layer ที่ราคาไม่ได้สูงมาก หมายความว่าจะต้องมี rollups จำนวนมหาศาล มาสร้างบน Celestia จึงจะสามารถสร้างรายได้เทียบเท่ากับ Arbitrum ซึ่งเฉลี่ยอยู่ประมาณ $ 2-4M ต่อเดือนโดยคาดการณ์ว่าจะต้องมี rollups กว่า 100-200 chain เลยทีเดียวถึงจะเทียบเท่ากับรายได้ของ Arbitrum ซึ่งหากมองในมุมอาจจะค่อนข้าง Bearish กับเหรียญ TIA ในช่วงนี้พอสมควร เนื่องจากการที่จะมี นักพัฒนาไปสร้าง chain จำนวนมากขนาดนี้ ในช่วงตลาดขาลงไม่ใช่เรื่องง่าย 

Teams

ทีมงานของ Celestia นั้นมีความน่าสนใจอยู่เนื่องจากระดับ C-level บางคนนั้นเคยทำงานกับทาง Cosmos และ Consensys ดังนี้

Mustafa Al-Bassam : ตำแหน่ง CEO ของ Celestia Labs อดีตผู้ร่วมก่อตั้งกลุ่ม LulzSec ซึ่งเป็นกลุ่ม hacker ที่เคย hack ระบบของ Sony, Fox, Nintendo และอื่นๆ ซึ่งขณะนั้น Mustafa มีอายุเพียงแค่ 16 ปีเท่านั้น

Ismail Khoffi : ตำแหน่ง CTO ของ Celestia Labs ซึ่งอดีตเคยทำงานเป็น senior engineer ที่ Tendermint และ interchain foundation

John Adler : ตำแหน่ง CRO (Chief Research officer) ของ Celestia Labs และ ยังเป็น Co-founder ของ Fuel Labs ที่ทำเกี่ยวกับ L2 โดยตำแหน่ง ณ ปัจจุบันคือ Chief Scientist

Nick White : ตำแหน่ง COO ของ Celestia Labs ซึ่งก่อนที่จะมาร่วมทีมกับทาง Celestia ได้เคยเป็น Co-founder ของ Harmony

ซึ่งเป็นทีมของผู้ที่เคยมีประสบการณ์กี่ยวกับทางฝั่งของ Ethereum และ Cosmos มารวมกัน ทำให้ทีมอาจจะนำข้อเสียของแต่ละ chain มาพัฒนาต่อยอดให้กับทาง Celestia ได้

ขอบคุณภาพจาก https://celestia.org/team/ 

Fundraising

จากแหล่งข้อมูลบน Crunchbase พบว่า Celestia ได้มีการระดมทุนได้ทั้งหมด $ 56.5M โดยจะแบ่งเป็น 2 รอบดังนี้

  1. Seed round : ได้รับเงินทั้งหมด $ 1.5M มีจำนวนผู้ลงทุนทั้งหมด 14 เจ้า นำทีมโดย Interchain Foundation, Binance Labs, Maven 11 Capital, KR1 และอื่นๆ
  2. Series A & B : ได้รับเงินทั้งหมด $ 55M มีจำนวนผู้ลงทุน 19 เจ้า นำทีมโดย Bain Capital Crypto, Polychain Capital, Delphi Digital, Blockchain Capital, NFX, Protocol Labs, Figment, Maven 11, Spartan Group, Jump Crypto และ ยังมี Angel investor ชื่อดังอย่าง Balaji Srinivasan (ผู้ทำนายว่าบิทคอยน์จะราคาทะลุ $ 1M ภายใน 3 เดือน)

จะเห็นได้ว่า Celestia ก็เป็น 1 ในโปรเจกต์ที่ได้รับเงินทุนประมาณนึงเลยทีเดียว และ ยังเป็นนักลงทุนเจ้าดังๆทั้งนั้นที่มาร่วมลงทุนกับ Celestia

สรุปข้อดีของ Celestia

  1. การสร้าง rollups บน Celestia มีความยืดหยุ่นสูง (สามารถใช้ VM อะไรก็ได้)
  2. ด้วยการออกแบบที่เป็น Modular blockchain ทำให้ Base layer สามารถ scale ได้ดีมาก
  3. มี trust minimized bridge ระหว่าง rollups ที่ใช้ Celestia เป็น Data layer
  4. ในอนาคตสามารถที่จะเปลี่ยนจาก fraud proof เป็น zk proof ได้เพื่อลด Trust assumptions
  5. มีการ Shared security กันระหว่าง rollups ทำให้การ bridge ปลอดภัยมากขึ้น
  6. Time to finality รวดเร็ว
  7. Cost ในการบันทึกข้อมูลลง Celestia จะถูกมาก
  8. ต้นทุนในการสร้าง rollups ของตัวเองตำ่กว่าการสร้างบล็อกเชนแบบ Monolithic

สรุปข้อเสียของ Celestia

  1. การจะ bridge เหรียญจาก L1 ไป L2 ไม่สามารถทำแบบ Trust minimized ได้
  2. หากเกิด invalid transactions จำเป็นต้องพึ่งพา full node เพื่อสร้าง fraud proof ส่งให้กับ light clients
  3. ถ้า scale ไปถึงจุดนึง Block builder (ผู้ที่สร้างบล็อก) จะมีความ Centralized
  4. สัดส่วนการถือเหรียญของนักลงทุน และ นักพัฒนารวมกันเกินกว่า 50% 
  5. การที่ Cost ในการบันทึกถูกก็หมายความว่าหากต้องการสร้างรายได้เทียบเท่ากับ Arbitrum หรือ Optimism จะต้องมีจำนวน rollups ที่ใช้ Celestia เป็น Data layer จำนวนมหาศาล

สรุปภาพรวมของ Celestia

Celestia เป็นหนึ่งใน Modular blockchain ที่น่าจับตามองมากที่สุดเลยก็ว่าได้ ด้วยการออกแบบของ Chain นั้นมีความอิสระสูงมาก เป็นอย่างที่ถูกนิยามจริงๆคือเป็น Ethereum รวมร่างกับ Cosmos ซึ่งด้วยความเป็น Modular ก็ช่วยให้สามารถที่จะ Scale ได้อย่างมาก และ มากไปกว่านั้นยังมีการร่วมมือกับ Chain ต่างๆ ซึ่งค่อนข้างจะดูเป็นมิตรกับทุก chain ไม่ได้ออกมาโจมตี chain อื่น หรือ ใช้ TPS เป็นตัววัดประสิทธิภาพ และด้วยการออกแบบที่ค่อนข้างมีความปลอดภัยสูง จึงทำให้เป็นที่หน้าจับตามองเป็นอย่างมาก

Author

Share :
Related
สรุป CoinTalk (1/12/2023):
Memeland โปรเจกต์ NFT สุด Meme จากทีม 9GAG
Blast จะเป็น Scam ตัวต่อไปหรือไม่ ? | Roundup Podcast EP.10
CoinTalk (24/11/2023): ปัจจัยต่างๆยังบวก ไม่มีอะไรมาหยุดพี่ได้