Search
Close this search box.

บล็อกเชนและแพลทฟอร์มทุกวันนี้มีรายได้ขนาดไหนและประเมินอย่างไร

Share :
Image from iOS (1)

Table of Contents

ในช่วงไตรมาสที่ผ่านมาตลาด Cryptocurrency ได้เข้าสู่ภาวะตลาดหมีอย่างสมบูรณ์นั้นทำให้ราคาเหรียญหลักอย่าง Bitcoin ปรับตัวลดลงมากกว่า 70% นอกจากนี้เหรียญอื่นๆอย่าง Ethereum และ Alt Coins อื่นๆก็ปรับตัวลดลงมากกว่า 80% ซึ่งทำให้ภาพรวม Total Market Cap ของ Cryptocurrency ลดลงจากจุดสูงสุดที่ 2.1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐลงมาเหลือเพียง 860 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งท่ามกลางในช่วงสภาวะตลาดหมีแบบนี้ที่ราคาของคริปโทฯปรับตัวลดลงอย่างรุนแรงจากปัจจัยลบตั้งแต่ข่าวการล้มละลายของ CeFi ขนาดใหญ่ไปจนถึงปัจจัยจากภาวะเศรษฐกิจ เงินเฟ้อ และเศรษฐกิจถดถอย ทำให้ตลาด Cryptocurrency ขาดปัจจัยบวกที่อาจทำให้ Sideway อยู่แบบนี้สักระยะก็เป็นได้ อย่างไรก็ตามช่วงเวลาแบบนี้เหมาะมากที่จะมาศึกษา Blockchain และ Protocol ต่างๆว่ายังมีการใช้งานจริงอยู่ไหมและมีรายได้เปลี่ยนแปลงไปมากขนาดไหนเทียบกับในช่วงตลาดกระทิง

ขอบคุณภาพจาก Dan Held Twitter

เนื่องจากว่าในช่วงเวลาตลาดกระทิงที่ราคา Cryptocurrency ต่างพากันปรับตัวขึ้นอย่างร้อนแรง สำหรับนักลงทุนส่วนใหญ่แล้วนั้น เวลาจะเลือกลงทุนในโปรเจ็กต์ใดสักตัวคงไม่ค่อยมีใครสนใจดูเรื่องพื้นฐานหรือ Revenue มากนัก เพราะจะลงทุนเหรียญใดก็ราคาขึ้นได้ทั้งนั้น อย่างบางครั้งบางทีเหรียญ Meme บางตัวเมื่อมีคนดังมาปั่นราคา หรือเป็นเหรียญที่ Crypto Twitter เชียร์ ก็สามารถทำให้เหรียญนั้นราคาขึ้นได้มากกว่าเหรียญที่มี Revenue แข็งแกร่งเสียอีก อีกประเด็นคือ ต่อให้เราพิจารณา Revenue ของ Blockchain หรือ Protocol ต่างๆในช่วงตลาดกระทิง ข้อมูลตัวเลขในช่วงเวลานั้นอาจจะไม่ได้ยั่งยืน เพราะส่วนใหญ่ก็มาจาก Speculative Demand และนอกจากนี้ หลายๆครั้งมันก็เกิดจากการแจก Incentive หรือการ Subsidize เพียงชั่วคราวเพื่อดึงดูดให้คนเข้าไปใช้งาน

อย่างไรก็ตามในช่วงภาวะตลาดหมีนั้น อาจเป็นช่วงเวลาที่เราควรต้องมาพิจารณาหลักการที่ใช้ในการวิเคราะห์โปรเจ็กต์ที่เราจะลงทุนกันให้ดี ซึ่งการวิเคราะห์ Cryptocurrency นั้นก็มีหลากหลายวิธีที่แตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับประเภทของแต่ละเหรียญที่มีคุณสมบัติและจุดประสงค์ที่ไม่เหมือนกัน อย่างเช่น ถ้าเป็น Bitcoin ที่มีคุณสมบัติเป็น Digital Money หรือ Digital Gold ก็อาจไม่ได้มีรายได้อะไรที่ชัดเจนให้เห็นภาพ แต่หลายๆเหรียญนั้นก็มีความคล้ายกับธุรกิจที่มี Revenue และเราสามารถดู Business Model หรือดู Valuation ได้ โดยถ้าเราจะวิเคราะห์ Revenue ของโปรเจ็กต์นั้นช่วงแบบนี้เหมาะสมที่สุดเพราะเงินที่เป็น Speculative Demand หายไป เราจะได้เห็นในส่วนที่เป็น Real Demand ที่แท้จริง ทำให้การวิเคราะห์ Revenue เพื่อใช้เป็นหนึ่งในปัจจัยในการวิเคราะห์ถึงพื้นฐานของโปรเจ็กต์เป็นสิ่งที่สมเหตุสมผลในช่วงเวลาแบบนี้ นอกจากนี้การที่จะเลือกลงทุนในโปรเจ็กต์ใดในช่วงตลาดหมีแบบนี้อาจจะต้องมีความ Selective กันสักหน่อย อย่างเช่นถ้าโปรเจ็กต์ไดมี Revenue ที่แข็งแกร่งทนในทุกสภาวะตลาด ก็จะถือว่ามี Risk ที่ต่ำและทำให้โปรเจ็กต์นั้นมีความน่าสนใจในการถือเพื่อลงทุนอยู่ไม่น้อย ดังนั้นในบทความนี้เราจะมีเจาะลึกเกี่ยวกับ Revenue บน Blockchain และ Protocol ต่างๆกันว่ามีแหล่งที่มาจากไหนบ้างและในแต่ละส่วนมีความสำคัญต่างกันอย่างไร นอกจากนี้เราจะมาเปรียบเทียบรายได้ของ Blockchan และ Protocol  ต่างๆ เพื่อให้เห็นภาพชัดมากขึ้น

ก่อนอื่นเรามาดูกันก่อนกว่าเบื้องต้นนั้น Blockchain และ Protocol มีแหล่งรายได้ใดบ้างที่จะไปสร้าง Value ให้กับผู้ถือเหรียญ

รายได้ของเหรียญ Blockchain

สำหรับเหรียญ Blockchain ไม่ว่าจะเป็น Proof-of-Work หรือ Proof-of-Stake ตัวอย่างเช่น Bitcoin, Ethereum, Solana นั้นมีรายได้ทั้งจากฝั่ง Real Revenue ที่เกิดจากการใช้งานจริงซึ่งหลักๆแล้วประกอบด้วยรายได้จาก MEV และ Transaction fee นอกจากนี้ยังมีรายได้อีกส่วนที่มาจาก Inflation ซึ่งจะมีรายละเอียดที่แตกต่างกันออกไปสำหรับในแต่ละเหรียญ แต่ใน Part นี้เราจะมาอธิบายกันก่อนว่ารายได้ในแต่ละส่วนคืออะไรบ้าง

  1. Inflationary Block Rewards

Inflationary Block Rewards คือเหรียญที่ถูกสร้างขึ้นมาใหม่เพื่อแจกเป็น Reward ให้กับผู้ที่ Stake เหรียญใน POS Blockchain และให้กับ Miner ใน POW Blockchain ตัวอย่างเช่น ในกรณีของ BTC ในตอนเริ่มต้นที่มี Block Reward จำนวน 50 BTC แต่จำนวนดังกล่าวจะลดลงทุกๆสี่ปี ทำให้ในปัจจุบันจำนวน Reward ต่อ Block มีจำนวนอยู่ที่ 6.25 BTC จะเห็นว่า Inflationary Block Rewards ของ BTC จะลดลงเรื่อยๆ

ขอบคุณภาพจาก Ethereum.org

หรือตัวอย่างในกรณีของ ETH ที่ในขณะนี้ Validator Node จะได้รับ Block Rewards ที่ 4.6% APR แต่ถ้า Stake ETH ผ่าน Lido Finance จะได้รับ 3.9% APR (ณ วันที่ 9 สิงหาคม 2022) แต่ภายหลัง The Merge ที่จะเปลี่ยนจาก POW เป็น POS โดยสมบูรณ์ จะมีการปรับลดในส่วนของ Inflationary Block Rewards ลงประมาณ 60-90% 

ในส่วนของ Inflationary Block Rewards ไม่ได้เป็นส่วนที่เกิดจากการใช้งานจริงแต่อย่างใด เป็นเพียงการสร้าง Incentive ให้กับ Miner และ Validator ให้มาช่วยในการรักษาความปลอดภัยของBlockchain โดยไม่ได้ให้ประโยชน์ใดๆกับผู้ถือเหรียญไว้เฉยๆ อย่างไรก็ตาม Inflationary Block Rewards ยังถือว่าเป็นส่วนที่มีความสำคัญที่จะจูงใจให้กับเหล่า Miner และ Validator แต่ก็แลกมากับการที่ทำให้เหรียญมีการ Inflation ที่ถ้าอยู่ในระดับมากเกินไปก็อาจจะเป็นผลเสียจากแรงขายได้ ทำให้หลายๆคนมองว่าเป็นเรื่องบวกที่ Inflationary Block Rewards ของ BTC จะลดลงทุก 4 ปี ส่วนของ ETH จะลดลงหลัง The Merge เป็นต้น

2. MEV

ขอบคุณภาพจาก Blog.chain.link

MEV ย่อมาจาก Miner Extractable Value ที่ใช้เรียกสำหรับ POW หรือ Maximal Extractable Value สำหรับ POS คือการที่ Miner หรือ Staker สามารถทำรายได้เพิ่มนอกเหนือจาก Transaction fee ปกติ โดยจะมีการให้คิว Transaction ที่จ่าย Gas price เพิ่มมากกว่าจะได้เพิ่มลงใน Block ก่อน ซึ่งตัวอย่างของ MEV  ที่เห็นได้บ่อยๆคือ การที่มี Bot มาแข่งกันเพื่อทำ Arbitrage เพื่อกินส่วนต่างของราคาเหรียญ Cryptocurrency ระหว่าง DEX ต่างๆ ผลคือทำให้ Validator ได้กำไรเพิ่มเติมจากในส่วนนี้ด้วย

3. Transaction Fee

Transaction Fee เป็นรายได้ที่เก็บจากผู้ใช้งานในการทำ Transaction ต่างๆบนเชน โดยรายได้ในส่วนนี้จะนำไปจ่ายให้กับ Miner หรือ Staker หรือจะนำไป Burn เพื่อลด Supply ของเหรียญก็ได้ โดยการ Burn นั้นที่จะเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับเหรียญได้ในทางหนึ่ง โดยจะให้ประโยชน์กับทั้ง Miner, Staker และรวมถึงผู้ที่ถือเหรียญไว้เฉยๆ ในบางกรณี Transaction Fee ก็จะถูก Burn ส่วนหนึ่ง และอีกส่วนหนึ่งจะนำไปจ่ายให้กับ Validator ตัวอย่างเช่น Solana ที่ 50% ของ Fee จะนำไป Burn และอีก 50% จะนำไปจ่ายให้กับ Validator เป็นต้น ข้อดีของการนำไป Burn คือถ้ามีการใช้งานมากๆจะสามารถ Offset กับในส่วน Inflation และทำให้เหรียญกลายเป็น Deflationary ได้

สรุปเกี่ยวกับรายได้ของ Blockchain

จะเห็นได้ว่าสำหรับในกรณีของ Blockchain นั้น Real Revenue จะมาจากในส่วนของ MEV และ Transaction Fee โดยสำหรับนักลงทุนทั่วไปนั้น การจะได้รับผลประโยชน์ในรายได้ส่วนนี้จะมาจากการ Stake เหรียญใน POS Blockchain ส่วนการที่จะได้รับประโยชน์จาก MEV และ Transaction Fee ในกรณีของ POW Blockchain นั้นจะไปตกกับ Miner เท่านั้น อย่างไรก็ตามเราสามารถศึกษา Revenue ของทั้ง POW และ POS เพื่อเป็นข้อมูลในการประเมินมูลค่าเหรียญเบื้องต้นได้

รายได้ของเหรียญ Protocol

เช่นเดียวกับเหรียญ Blockchain รายได้ของโปรโตคอลต่างๆ มีรายได้ทั้งจากฝั่ง Real Revenue ที่เกิดจากการใช้งานจริงและรายได้อีกส่วนที่มาจาก Inflation แต่รายได้ในส่วนที่เกิดจากการใช้งานจริงนั้นมีความหลากหลายมากกว่าเพราะจะขึ้นอยู่กับว่าโปรโตคอลนั้นๆให้บริการทางด้านไหน ตัวอย่างเช่น Decentralized Exchanges (DEX) ก็จะมีรายได้ที่แตกต่างไปจาก Lending Protocol เป็นต้น โดยใน Part นี้เราจะมาพิจารณารายได้ในแต่ละส่วนของโปรโตคอลต่างๆ

  1. Trading Fee

บน Decentralized Exchange (DEX) ที่ประกอบไปด้วย AMM DEX ทั่วไป และรวมไปถึง DEX ที่เปิดให้เทรด Perpetual, Options ผู้ที่เป็น Liquidity Provider ที่เป็นผู้วางสินทรัพย์ไว้ใน Liquidity Pool จะได้รับรายได้เป็น Trading Fee ที่เกิดจากการที่ผู้ใช้งานมาซื้อขายแลกเปลี่ยน ซึ่ง Trading Fee โดยทั่วไปจะอยู่ที่ 0.02%-0.3% ของจำนวนที่ทำการ Swap ซึ่งรายได้เหล่านี้ถือว่าเป็นรายได้ที่เกิดขึ้นจากการใช้งานจริง ที่ถ้าจะให้เทียบกับธุรกิจทั่วไปรายได้ส่วนนี้ก็เปรียบเสมือนกับยอดขายนั่นเอง

โดย Trading Fee ที่นอกจากว่าจะนำไปจ่ายให้กับ Liquidity Provider แล้ว บางโปรโตคอลอาจแบ่งบางส่วนไปจ่ายให้กับผู้ Stake เหรียญ Governance Token หรือนำไป Burn ก็ได้ ตัวอย่างเช่น แพลทฟอร์ม GMX ที่เป็น Decentralized Perpetual Exchange จะนำ 70% ของ Trading Fee ไปจ่ายให้กับผู้ถือเหรียญ GLP (Liquidity Provider Token) ส่วนอีก 30% จะนำไปจ่ายให้กับผู้ Stake เหรียญ GMX เป็นต้น

  1. Inflationary Incentive
ขอบคุณภาพจาก PancakeSwap

Inflationary Incentive จะเป็นการแจกเหรียญที่ถูกสร้างขึ้นมาใหม่สำหรับใช้ในการสร้างแรงจูงใจให้คนเข้ามาใช้งาน ดังตัวอย่างของ PancakeSwap ที่แสดงในภาพด้านบน จะเห็นว่านอกจาก Liquidity Provider จะได้รับ Real Revenue จาก Trading Fee แล้ว อีกส่วนหนึ่งของ %APR จะมาจากเหรียญ CAKE ที่จัดเป็น Inflationary Incentive

ขอบคุณภาพจาก Justlend.org
ขอบคุณภาพจาก Compound.finance

อีกตัวอย่างของ Inflationary Incentive คือการแจกเพื่อเป็นการสร้างแรงจูงใจให้คนมาทำการกู้และยืมสินทรัพย์บน Lending Protocol ตัวอย่างเช่น แพลทฟอร์ม Justlend.org ที่แจก Incentive เป็นเหรียญ JST อยู่ที่ 1.4% ในการปล่อยกู้เหรียญ USDT (นอกเหนือจาก Base APY ที่แจกเป็นเหรียญ USDT ที่ 0.77%) และ Compound Finance ที่แจก Incentive ให้คนที่มากู้เพิ่มเติมเป็นเหรียญ COMP ด้วย ดังตัวอย่างที่จะเห็นว่าในการกู้เหรียญ DAI เราจะต้องจ่าย Borrow APY ที่ 2.32% แต่ว่าจะได้รับเหรียญ COMP ที่อัตรา 1.7%

ในส่วนของ Inflationary Incentive ของ Protocol ต่างๆนั้น อย่างที่กล่าวไปคือเป็นการสร้างแรงจูงใจให้คนเข้ามาใช้งาน Protocol อย่างไรก็ตามในอดีตก็มีการพิสูจน์มาแล้วว่าในส่วนนี้ไม่ได้เป็นการสร้างประโยชน์ให้กับ Protocol ได้แบบยั่งยืน เพราะโดยมากแล้วเมื่อช่วงการแจก Incentive หมด จำนวนผู้ใช้งานก็มักจะลดลงตามไปด้วย ซึ่งเป็นโจทย์ที่ Protocol ต่างๆยังคงต้องทำการแก้ไข

3. Borrowing Interest

ขอบคุณภาพจาก Compound.finance

สำหรับ Lending Protocol ต่างๆอย่างเช่น Aave, Maker, Compound เป็นต้น จะมีรายได้จาก Borrowing Interest ที่จะปรับเปลี่ยนไปตามความต้องการการกู้ยืมของตลาดที่ ณ เวลานั้นๆ สำหรับรายได้จะนำไปทำอะไรนั้นขึ้นอยู่กับนโยบายโปรโตคอลต่างๆที่ถูกโหวตผ่าน Governance ตัวอย่างเช่น ในกรณีของ Compound รายได้ส่วนหนึ่งจะถูกนำไปจ่ายให้กับคนที่มาปล่อยกู้เหรียญ สำหรับรายได้ส่วนที่เหลือจะถูกเก็บเข้า Reserve Fund ที่จะเป็นส่วนที่สำรองเอาไว้สำหรับความเสี่ยงของหนี้เสีย โดยจะเห็นว่ารายได้ยังไม่ได้ส่งผลประโยชน์ให้กับผู้ถือเหรียญ COMP โดยตรง

ขอบคุณภาพจาก TokenAnalyst

ส่วนกรณีของ Maker จะมีรายได้หลักๆจาก Stability Fee ที่เป็นรายได้จากการปล่อยกู้เหรียญ DAI (ซึ่งเก็บที่อัตรา 0.5-2.5%) และรายได้จากค่า Fee ที่เก็บจากผู้กู้ DAI ที่ถูก Liquidate โดยจะแบ่งรายได้ส่วนหนึ่งเก็บเข้า Treasury และอีกส่วนหนึ่งแบ่งไปทำการซื้อเหรียญ MKR เพื่อ Burn ทิ้งจากระบบ จะเห็นว่าในกรณีของ Maker นั้น ผู้ถือเหรียญ MKR จะได้ประโยชน์จากการ Burn เหรียญ เพราะถือเป็นการลด Supply และเพิ่มมูลค่าให้กับเหรียญ MKR แบบทางอ้อม และสำหรับ Aave นั้นจะนำรายได้ส่วนที่เหลือจากการจ่ายให้คนที่มาปล่อยกู้ไปจ่ายให้กับผู้ Stake เหรียญ Aave ซึ่งในกรณีนี้ผู้ Stake เหรียญ จะได้รับประโยชน์จาก Revenue โดยตรง

ดังจะเห็นได้จากตัวอย่างที่กล่าวไป Lending Protocol มีวิธีการและรายละเอียดที่แตกต่างกันออกไปให้การส่งต่อ Value ที่เกิดจาก Revenue ให้กับผู้ถือเหรียญ โดยที่บาง Protocol ก็ยังไม่ได้มีการให้ผลประโยชน์ใดๆกับผู้ถือเหรียญเลย แต่อย่างไรก็ตามในอนาคตอาจมีการเปลี่ยนแปลง Revenue Model ผ่าน Governance ได้เช่นกัน

เปรียบเทียบ Revenue ของ Blockchain และ Protocol ต่างๆ

หลังจากที่ได้อธิบายถึง Revenue ประเภทต่างๆของทั้งเหรียญ Protocol และเหรียญ Blockchain ใน Part ก่อนหน้าไปแล้ว โดยเราจะเห็นว่ารายได้ของทั้ง Blockchain และ Protocol มาจากทั้งในส่วนของ Inflation และส่วนที่เกิดจากการใช้งานจริงที่มาจากผู้ใข้งาน ในส่วนต่อไปเราจะมาเจาะลึกถึงรายได้โดยเน้นในส่วนที่เกิดจากการใช้งานจริงของ Blockchain และ Protocol ต่างๆที่น่าสนใจและพิจารณารายละเอียดว่ามีรายได้มาจากทางไหนบ้าง เพื่อดูว่าในภาวะตลาดหมีแบบนี้ มีโปรเจ็กต์ไหนบ้างที่ยังคงมี Revenue ที่แข็งแกร่ง นอกจากนี้อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญที่เราควรพิจารณาคือแต่ละโปรเจ็กต์มีการ Capture Value ในส่วนของ Revenue อย่างไรบ้าง

Fee ของโปรโตคอลและ Blockchain ต่างๆ (ข้อมูล ณ วันที่ 18 กรกฎาคม 2022 เทียบกับวันที่ 1 พฤศจิกายน 2021) ขอบคุณข้อมูลจาก Cryptofees.com

จากตารางด้านบนที่แสดงถึง Revenue ของโปรโตคอลและ Blockchain ต่างๆ ซึ่งแสดงเป็นรายได้ย้อนหลัง 1 วัน และค่าเฉลี่ยต่อวันย้อนหลัง 7 วัน ที่เกิดจากการใช้งานจริงสูงสุด 10 อันดับแรก โดยเปรียบเทียบข้อมูลวันที่ 18 กรกฎาคม 2022 กับวันที่ 1 พฤศจิกายน 2021 จะเห็นได้ว่าภาพรวมนั้นมี Revenue ที่ลดลงทั้งหมดเนื่องจากการเข้าสู่ภาวะตลาดหมีทำให้ธุรกรรมต่างๆลดลงตามแรงเก็งกำไรที่ลดลง โดยภาพรวม Revenue ของ Blockchain และ Protocol ต่างๆลดลงมากถึง 80-90% อย่างไรก็ตาม Protocol อย่าง UniSwap มี Revenue ลดลงเพียง 34% และ Bitcoin ที่ลดลงเพียง 40% เป็นที่น่าสนใจว่า UniSwap ยังสามารถคง Revenue ในระดับสูงได้แม้ในภาวะตลาดซึมๆแบบนี้ก็ตาม

โดยถ้าเรามาพิจารณาข้อมูลปัจจุบันในวันที่ 18 กรกฎาคม 2022 จะเห็นได้ว่า UniSwap มีรายได้สูงสุดเป็นอันดับหนึ่งโดยมีรายได้เฉลี่ยต่อวันมากถึง 5.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ตามมาด้วยอันดับที่สองอย่าง Ethereum ที่มีรายได้เฉลี่ยต่อวันอยู่ที่ 4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งถ้าพิจารณาจากใน 10 อันดับจะเห็นได้ว่าเป็น Blockchain Layer 1 ทั้งหมด 3 รายการ ประกอบไปด้วย Ethereum, Bitcoin และ Binance Smart Chain ซึ่งอยู่ที่อันดับ 2, 3 และ 4 ตามลำดับ โดยมี Revenue รวมเฉลี่ยต่อวันอยู่ที่ 5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 

ส่วนที่เหลืออีก 7 รายการนั้นจะเป็น Protocol ต่างๆ นำโดย Decentralized Exchanges ที่มีมากที่สุด ประกอบไปด้วย UniSwap, Synthetix, GMX, SushiSwap และ Trader Joe โดยมี Revenue เฉลี่ยรวมกันอยู่ที่ 6 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อวัน รองลงมาเป็น Lending Protocol ประกอบด้วย Aave โดยมี Fee เฉลี่ยอยู่ที่ 2.8 แสนดอลลาร์สหรัฐต่อวัน นอกจากนี้น่าสนใจว่า Ethereum Name Service ที่ให้บริการจดชื่อ Domain Name บน Ethereum มาติดอยู่ใน Top 10 ด้วย โดยมี Fee เฉลี่ยอยู่ที่ 1.4 แสนดอลลาร์สหรัฐต่อวัน 

จากข้อมูลเบื้องต้นดังกล่าวจะเห็นได้ว่าจากข้อมูลของวันที่ 18 กรกฎาคม 2022 ใน 10 อันดับประเภทของโปรเจ็กต์ที่มี Revenue รวมกันสูงสุดเป็นอันดับ 1 นั้นคือ Decentralized Exchanges ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นว่าการใช้งานของ DEX นั้นยังคงแข็งแกร่ง ส่วนอันดับสองนั้นเป็น Blockchain ที่ได้รับผลประโยชน์จากธุรกรรมต่างๆจาก Protocol ที่อยู่บนเชน

ใน Part ต่อไปเราจะมาวิเคราะห์ Blockchain และ Protocol ต่างๆที่น่าสนใจในแง่ของ Revenue และ Valuation

Blockchain

P/S Ratio = Circulating Market Cap/(7 Day Avg.Fees x 365)

ข้อมูล ณ วันที่ 18/7/2022 ขอบคุณข้อมูลจาก Cryptofees.info และ Coingecko

จากตารางข้างต้นที่แสดงค่า P/S Ratio (Price to Sales Ratio = Market Cap/Revenue) ของแต่ละ Blockchain ที่มี Revenue สูงสุด 7 อันดับแรก ซึ่ง P/S Ratio ถือเป็น Indicator ที่น่าจะเหมาะสมที่สุดในการแสดง Real Demand เทียบกับมูลค่า ซึ่งคำนวณจากสัดส่วนระหว่าง Circulating Market Cap เทียบกับ Revenue ดังนั้นหมายความว่าถ้ายิ่ง P/S Ratio ต่ำก็หมายถึงความ Undervalue ที่มากขึ้นนั่นเอง โดยค่า P/S Ratio นั้นมีความคล้ายกับ P/E Ratio (Price to Earnings Ratio = Market Cap/Net Profit) ที่หลายๆคนอาจคุ้นเคยกันดี แต่ความแตกต่างก็คือ

  • P/E Ratio จะคำนวณจากกำไรสุทธิที่จะจ่ายเข้า Platform หรือจ่ายให้กับผู้ถือเหรียญ 
  • P/S Ratio จะคำนวณจากยอดขายรวมทั้งหมด (ที่จะแบ่งเข้า Platform หรือแจกจ่ายให้กับผู้ถือเหรียญหรือไม่ก็ได้) และเนื่องจากว่าส่วนใหญ่แล้วโปรเจ็กต์ใน Cryptocurrency ยังไม่มีกำไรสุทธิและบางส่วนยังไม่มีการแบ่งรายได้เข้า Platform หรือจ่ายให้กับผู้ถือเหรียญ ดังนั้น ในกรณีนี้ P/S Ratio จึงมีความเหมาะสมที่จะใช้ประเมินมูลค่ามากกว่า

Optimism

โดยจากตารางจะเห็นได้ว่า Optimism มีความ Undervalue มากที่สุด โดยมีค่า P/S Ratio ที่ 22.33 เท่านั้น และเนื่องจากว่า Optimism เป็น Ethereum Layer 2 ที่ต้องพึ่งพา Security จากเชน Ethereum ดังนั้น Revenue Model ของ Optimism นั้นจะแบ่งเป็นสองส่วนหลัก ประกอบด้วย L2 Execution Fee ซึ่งเป็นค่า Fee ในการทำธุรกรรมที่ขึ้นกับความซับซ้อนของธุรกรรมและความหนาแน่นของการใช้งาน และอีกส่วนก็คือ L1 Security Fee ซึ่งเป็นค่า Fee สำหรับการ Publish บันทึกธุรกรรมไปไว้ที่ Ethereum Layer 1 ซึ่งนอกจากรายได้จากสองส่วนหลักนี้แล้ว Optimism ยังมีรายได้จาก MEV อีกด้วย โดยรายได้ทั้งหมดของ Optimism จะถูกรวบรวมไว้ที่ Sequencer ที่ควบคุมโดย Optimism Foundation

ข้อมูลจำนวนผู้ใช้งานบน Optimism ณ วันที่ 20/7/2022 ขอบคุณภาพจาก Dune Analytics

ซึ่งสาเหตุส่วนหนึ่งที่อาจทำให้ Optimism ดูมีการใช้งานที่มากขึ้นในช่วงนี้อาจเป็นเพราะว่ามีกิจกรรมแจก Airdrop เหรียญ $OP รอบที่สองที่กำลังจะแจกให้กับผู้ใช้งาน DApps ต่างๆบนเชน Optimism โดย Airdrop ที่จะแจกรอบนี้จะเป็นสัดส่วนที่เยอะมากกว่าในรอบแรก ซึ่งรอบแรกเพิ่งทำการแจกไปเพียง 5% ของ 14% ที่จะแจกทั้งหมด ทำให้เป็นสาเหตุหนึ่งในการดึงดูดผู้ใช้งานที่เข้ามาเก็ง Airdrop โดยถ้าดูจากกราฟด้านบนจะเห็นว่าจำนวนผู้ใช้งานบนเชน Optimism มีการเติบโตขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในช่วงเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม 2022 สอดคล้องกับ Revenue ที่เติบโตขึ้นในช่วงเวลานี้

การแบ่ง Governance Right ระหว่าง Token House และ Citizen House ขอบคุณภาพจาก Community.optimism.io

อย่างไรก็ตาม อีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ P/S Ratio ของ Optimism ต่ำ ก็เป็นเพราะว่า Market Cap ที่ต่ำเพียง 156 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งการที่ Market Cap ต่ำนั้น อาจเป็นเพราะว่าเหรียญ $OP ยังไม่ได้มีการ Capture Value ในส่วนของ Revenue ที่เกิดจากการใช้งาน ดังจะเห็นได้จากภาพด้านบนที่แสดงว่า Token House สามารถมีส่วนร่วมในการโหวตเท่านั้น โดยไม่สามารถมีสิทธิมีเสียงในการ Allocate Revenue Fund นอกจากนี้เหรียญ $OP ก็ไม่ได้นำไปใช้ในการจ่ายค่า Fee ได้เหมือนเหรียญของ Blockchain อื่นๆ ดังนั้นเนื่องจากว่าเหรียญ $OP มี Tokenomics ที่แตกต่างจากเหรียญ Blockchain อื่นๆ อาจเป็นอีกสาเหตุที่ทำให้มี P/S Ratio ที่ต่ำ ซึ่งเราควรพิจารณาในส่วนนี้ประกอบด้วย

Ethereum

ข้อมูล Average Transaction Cost ณ วันที่ 19/7/2022 ขอบคุณข้อมูลจาก Gassss.xyz, l2fees.info และ ycharts.com
เปรียบเทียบ Revenue ก่อนและหลัง The Merge ขอบคุณข้อมูลจาก Delphi Digital
Ethereum Daily Transactions Chart ข้อมูล ณ วันที่ 20/7/2022 ขอบคุณภาพจาก Etherscan

รองลงมาจาก Optimism จะเห็นได้ว่า Ethereum มีค่า P/S Ratio ที่ต่ำรองลงมาโดยมีค่าเท่ากับ 125.66 ซึ่งอย่างที่ทราบกันดีว่าเชน Ethereum มีค่า Fee ที่แพงกว่าเชนอื่นๆทั้งหมด ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งทำให้ Ethereum มี Revenue ต่อวันที่สูงมากกว่า Blockchain อื่นๆ นอกจากนี้ถึงแม้จะเป็นช่วงที่ตลาดหมี จำนวนการทำธุรกรรมบน Ethereum ก็ยังมีอยู่ต่อเนื่อง โดยในวันที่ 19 กรกฎาคม 2022 มีจำนวนการทำธุรกรรมอยู่ที่ 1,175,526 ธุรกรรม ถ้าเทียบกับจำนวนธุรกรรมในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2021 ที่ประมาณ 1,500,000 ธุรกรรม ถือว่าจำนวนการทำธุรกรรมลดลงเพียงแค่ 21% เท่านั้น 

ในส่วนของรายได้ของ Ethereum นั้นเกิดจากการทำธุรกรรมต่างๆบนเชน ซึ่งสำหรับ Revenue Model ของ Ethereum นั้นประกอบด้วย Base Fee, Tip, MEV และ  Block Rewards โดยในขณะนี้ที่ Ethereum ยังคงเป็น Proof-of-Work (ETH 1.0) รายได้จาก MEV, Block Rewards และ Tip จะถูกนำไปจ่ายให้กับ Miner ส่วน Base Fee จะถูกนำไปเผาทิ้ง และเนื่องจากว่ามีการ Burn เหรียญในส่วนของ Base Fee ดังนั้นผู้ถือเหรียญ Ethereum (ไม่ได้เป็น Miner) ได้รับประโยชน์ในส่วนนี้ด้วย

Cumulative Extracted MEV บน Ethereum ข้อมูล ณ วันที่ 20/7/2022 ขอบคุณภาพจาก Explore.flashbots.net

ดังที่กล่าวไปข้างต้นว่า Revenue Model ของ Ethereum นั้นประกอบด้วย Base Fee, Tip, MEV และ Block Rewards หนึ่งในรายได้ที่เป็นส่วนที่ค่อนข้างมีความสำคัญคือรายได้จาก MEV ซึ่งถึงแม้ว่า MEV จะเป็นรายได้ที่มีสัดส่วนไม่มาก แต่เนื่องจากว่าเชน Ethereum เป็นศูนย์รวม DApps ต่างๆจำนวนมากที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาที่ DeFi ต่างๆได้รับความนิยม ทำให้เกิดการนำไปสู่ Gas War และการ Front Run การทำธุรกรรมเกิดขึ้นมากมาย ทำให้ MEV อาจเป็นสัดส่วนของ Revenue ที่มากขึ้นในอนาคตได้ โดยจากตัวเลขสถิติ จนถึงปัจจุบันเชน Ethereum มีรายได้จาก MEV สะสมมากถึง 434,000 ETH (ณ วันที่ 20 กรกฎาคม 2022) 

ตามที่กล่าวไปข้างต้นว่าในปัจจุบัน Ethereum ยังเป็น POW Blockchain อย่างไรก็ตาม Ethereum กำลังจะมีการอัพเกรดครั้งสำคัญ โดยที่เมื่อ ETH 2.0 เปิดตัว Ethereum จะถูกเปลี่ยนจาก Proof-of-Work ไปเป็น Proof-of-Stake และนอกจากการเปลี่ยนจาก POW ไปเป็น POS แล้ว จะมีการเปลี่ยนแปลง Revenue Model ไปอย่างมีนัยสำคัญ โดยรายได้จาก MEV, Block Rewards และ Tip จะถูกนำไปจ่ายให้กับ Validator และ Staker แทนการจ่ายให้กับ Miner ซึ่งในประเด็นนี้เองที่เป็นการเปลี่ยนแปลงในด้านของ Value Accrual ที่มีนัยสำคัญเพราะจากเดิมผู้ที่เป็น Miner เท่านั้นที่สามารถจะได้รับรายได้จากในส่วน MEV, Block Rewards และ Tip แต่หลังจาก ETH 2.0 นั้นทำให้คนทั่วไปสามารถได้รับส่วนแบ่งรายได้จากส่วนนี้ได้เพียงแต่นำเหรียญไป Delegate ให้กับ Validator หรือจะนำไป Stake ผ่านแพลทฟอร์ม Liquid Staking ต่างๆ เช่น Lido Finance, Rocketpool, Stakehound เป็นต้น 

อีกหนึ่งความน่าสนใจในการอัพเกรด ETH 2.0 คือจะมีการลด Block Rewards ลงจากเดิมที่มีการผลิตประมาณ 12,000 ETH ต่อวัน เหลือเพียงแค่วันละ 1,280 ETH ต่อวัน ทำให้เหรียญ ETH มี Inflation ที่ลดลง เมื่อร่วมกับการที่นำ Base Fee ไปเผา จะยิ่งเป็นตัวช่วยเพิ่ม Value ให้กับเหรียญ ETH ได้มากยิ่งขึ้น

จำนวน Staked Ethereum ณ วันที่ 20/7/2022 ขอบคุณข้อมูลจาก Glassnode
Block Rewards เทียบกับจำนวน Staked ETH ขอบคุณภาพจาก EthHub.io

ในตอนนี้มีจำนวน ETH ที่ Stake อยู่บน Beacon Chain จำนวน 12.9 ล้าน ETH (ณ วันที่ 20 กรกฎาคม 2022) ถ้าเราตั้งสมมติฐานว่าจำนวน Staked ETH มีจำนวนเท่าเดิมเมื่อ ETH 2.0 เปิดตัวในอนาคต จะทำให้มี Block Rewards ที่ประมาณ 4.6-5% ซึ่งถ้ารวมกับค่าประมาณการจาก Tip และ MEV ด้วยแล้วทาง Delphi Digital ก็ได้ Project ไว้ว่าน่าจะทำให้ %APY สำหรับการ Stake ETH หลัง The Merge นั้นสูงถึง 8.7-10.3% ดังนั้นจากข้อมูลที่นำเสนอไปทั้งหมด ทำให้เหรียญ ETH มีความน่าสนใจทั้งในแง่ Revenue และ Valuation และนอกจากนี้ยังการปรับปรุง Revenue Model ในการอัพเกรด ETH 2.0 ที่กำลังจะมาถึง ทำให้ Staker ทั่วไปสามารถได้รับประโยชน์จาก Revenue ได้

Binance Smart Chain

BNB Quarterly Auto-Burn ข้อมูล ณ วันที่ 20/7/2022 ขอบคุณข้อมูลจาก Bnbburn.info (B = จำนวนที่จะ Burn, N = จำนวน Block ที่ผลิตในไตรมาสนั้น, P = ราคา BNB เฉลี่ย, K = ค่า Constant)

รองจาก Ethereum แล้ว จะเห็นว่า Binance Smart Chain ที่มี P/S Ratio อยู่ที่ 176.15 ซึ่งถือว่ามีความ Undervalue พอสมควรเมื่อพิจารณาจากทั้ง Revenue และ Market Cap โดยรายได้ของ Binance Smart Chain นั้นเกิดจากการทำธุรกรรมต่างๆภายในเชนที่ค่าทำธุรกรรมต่างๆจะถูกจ่ายเป็นเหรียญ BNB ซึ่ง Revenue ดังกล่าวจะถูกนำไปจ่ายให้กับ Validator โดยแบ่ง 10% (10% เป็นตัวเลข Default เริ่มต้นเท่านั้น อัตราส่วนการ Burn สามารถเปลี่ยนแปลงได้ผ่าน Governance) เพื่อนำไป Burn เหรียญ BNB ทิ้งออกจากระบบ (Real-time burn) ซึ่งนอกจากการ Burn ที่เกิดจากการทำธุรกรรมภายในเชนแล้ว ทาง Binance ยังมีการ Burn เหรียญ BNB เพิ่มเติมโดยการคำนวณจากราคาเหรียญ BNB และจำนวน Block ที่ผลิตในไตรมาสนั้นๆ (Quarterly Auto Burn) โดยการ Burn เหรียญถือเป็นการเพิ่ม Value ให้กับผู้ถือเหรียญ BNB ได้

BNB Daily Transactions Chart ข้อมูล ณ วันที่ 20/7/2022 ขอบคุณภาพจาก BSCscan
Average Daily Transaction บน Binance Smart Chain, Ethereum, Avalanche, Polygon และ Fantom ณ วันที่ 20 กรกฎาคม 2022 ขอบคุณข้อมูลจาก BSCscan, Etherscan, Snowtrace, Polygonscan, Ftmscan

ซึ่งถ้าดูจากตัวเลขจำนวนการทำธุรกรรมในอดีต ในช่วงเดือนพฤศจิกายนที่มีจำนวนการทำธุรกรรมประมาณ 15 ล้านธุรกรรมต่อวัน เมื่อเทียบกับจำนวนการทำธุรกรรมในวันที่ 19 กรกฎาคม 2022 ที่มีจำนวน 4 ล้านธุรกรรมต่อวัน จะเห็นว่าจำนวนการทำธุรกรรมลดลงมากถึง 70% อย่างไรก็ตาม ถ้าเราดูจำนวนธุรกรรมบน Binance Smart Chain เทียบกับเชนอื่นๆในปัจจุบัน จะพบว่า Binance Smart Chain มีจำนวนธุรกรรมต่อวันที่สูงกว่าเชนหลักอื่นๆ เช่น Ethereum, Avalanche, Polygon และ Fantom ดังที่แสดงตามตารางด้านบน ซึ่งจากข้อมูลในปัจจุบันทำให้เห็นว่าเชน Binance Smart Chain ยังคงมีความแข็งแกร่งทั้งในเรื่องของ Revenue และ Valuation และจำนวนธุรกรรมที่แสดงให้เห็นว่ายังคงมีจำนวนการใช้งานเกิดขึ้นบนเชนในจำนวนมากต่อเนื่อง

Protocol

P/S Ratio = Circulating Market Cap/(7 Day Avg.Fees x 365)

ข้อมูล ณ วันที่ 18/7/2022 ขอบคุณข้อมูลจาก Cryptofees.info และ Coingecko

UniSwap

UniSwap Weekly Volume ข้อมูล ณ วันที่ 20/7/2022 ขอบคุณข้อมูลจาก Dune Analytics

จากตารางข้างต้นที่แสดงค่า P/S Ratio ของแต่ละ Protocol จะเห็นได้ว่า UniSwap นั้นมีความ Undervalue มากที่สุดโดยมี P/S Ratio ที่ 1.58 เท่านั้น โดย UniSwap มี Trading Volume ลดลงเพียงแค่ประมาณ 8% เมื่อเทียบกับในไตรมาส 1 แม้ว่าเราจะอยู่ท่ามกลางตลาดหมีที่ Market Cap ของตลาด Cryptocurrrency โดยรวมปรับลดลงมากกว่า 50% ก็ตาม

Active Trader บน UniSwap V2 และ V3 ข้อมูล ณ วันที่ 21/7/2022 ขอบคุณข้อมูลจาก Dune Analytics

โดยหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้ UniSwap มีความแข็งแกร่ง เหตุผลแรกเนื่องมาจากว่าการเทรดเหรียญต่างๆเพื่อการเก็งกำไรยังคงเป็นกระแสหลักในโลกคริปโทฯ ดังนั้น DEX ยังคงเป็นตัวหลักที่จะ Capture value ในส่วนนี้อยู่เสมอ และนอกจากนี้ UniSwap ยังได้รับประโยชน์เพิ่มเติมจากการเป็นผู้นำ DEX ตัวแรกๆ ที่เปิดตัวมาเป็นเวลานาน มีฐานผู้ใช้งานจำนวนมาก ดังจะเห็นได้จาก Chart ด้านบนที่แสดงจำนวน Active Trader ใน UniSwap V3 นั้นแทบไม่ลดลงเลยเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า 

นอกจากนี้ใน UniSwap V.3 ที่ได้มีการพัฒนา Feature ต่างๆ ตัวอย่างเช่น การช่วยเพิ่ม Capital Efficiency ให้กับ Liquidity Provider โดย Concept ที่เรียกว่า Concentrated Liquidity และมีการเก็บค่า Trading Fee แบบ Tier เช่น 0.05%, 0.3% และ 1% โดยที่คู่เทรดไหนจะอยู่ ier ไหนนั้นขึ้นกับความผันผวนของ Asset ที่อยู่ในแต่ละ Liquidity Pool โดยนอกเหนือจากการให้บริการบน Ethereum แล้ว ทาง UniSwap มีการขยายไปเปิดบนเชนต่างๆ เช่น Polygon, Arbitrum และ Optimism เหตุผลต่างๆเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยที่ทำให้ UniSwap เป็นหนึ่งใน DEX ที่มีความแข็งแกร่งมากที่สุด

Fee Tier ของ UniSwap V3 ขอบคุณภาพจาก Coinmonks

สำหรับ Revenue ของ UniSwap นั้นมาจาก Trading Fee ดังที่กล่าวไปข้างต้นว่าในปัจจุบันนี้มีแบ่ง Trading Fee เป็น Tier ทั้งหมด 3 ระดับ โดยสำหรับ 0.05% นั้นจะเป็น Pool ที่มีความผันผวนต่ำ เช่น DAI-USDT และ 1% นั้นจะเป็น Pool ที่มีความผันผวนค่อนข้างสูง เช่น ETH-GTC ส่วน Pool ส่วนมากจะเก็บ Fee ที่ 0.3% เป็นต้น โดยในปัจจุบัน Trading Fee ทั้งหมดจะถูกนำไปจ่ายให้กับ Liquidity Provider อย่างไรก็ตามในอนาคตทาง Governance สามารถโหวตเปิด Protocol Fee Switch เพื่อทำการแบ่ง 10-25% ของ Trading Fee เพื่อนำเข้า Protocol ทั้งนี้อัตราส่วนอาจแตกต่างกันออกไปในแต่ละ Pool และอัตราส่วนนี้สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตาม Governance Vote โดยผู้ถือเหรียญ UNI

จะเห็นได้ว่าในปัจจุบัน Revenue ทั้งหมดของ Protocol จะนำไปจ่ายให้กับ Liquidity Provider และเหรียญ UNI ยังทำหน้าที่เป็นเพียงแค่ Governance Token ที่สามารถนำไปใช้โหวตได้เท่านั้น ดังนั้นการถือเหรียญ UNI นั้นยังไม่ได้ Capture Value ในส่วนของ Revenue ที่เกิดจาก Protocol โดยตรง อย่างไรก็ตามเป็นที่น่าจับตามองในอนาคตว่าถ้าทาง Governance ได้อนุมัติ Protocol Fee Switch แล้วผู้ถือเหรียญ UNI อาจจะได้รับ Cash Flow จากส่วนนี้ก็เป็นได้ ดังที่กำลังมีการคุยกันอยู่ใน Proposal Discussion ในเดือนกรกฎาคม 2022

GMX

Trading Volume บน GMX ข้อมูล ณ วันที่ 22/7/2022 ขอบคุณข้อมูลจาก Stats.gmx.io

รองจาก UniSwap จะเห็นว่า GMX ก็เป็นอีกหนึ่งโปรเจ็กต์ที่มีความน่าสนใจจากตัวเลข Market Cap และ Revenue โดย GMX เป็น DEX ที่เน้นให้บริการเทรด Perpetual Futures บนเชน Arbitrum และ Avalanche ซึ่งผู้ใช้งานสามารถเทรดเหรียญอย่าง BTC, ETH, LINK, UNI, USDC, USDT แบบ Leverage ได้สูงสุดถึง 30x โดยเป็นที่น่าสนใจว่าในช่วง Q2 ที่ผ่านมา GMX มี Trading Volume ลดลงเพียง 18% เท่านั้น และนอกจากนี้จะเห็นได้ว่า Volume การเทรดส่วนใหญ่ยังอยู่ที่ Margin Trading แสดงให้เห็นว่ามีความสนใจของผู้ใช้งานมาใช้การกู้ยืม Leverage ผ่านทาง Perpetual มากขึ้น ซึ่งถือเป็นเทรนด์การเติบโตที่น่าจับตามอง

ความน่าสนใจของ GMX คือการที่ทาง Protocol ชูจุดขายว่าเป็น Low Fee และ Zero Slippage โดยการใช้ GLP Liquidity Model ที่มีความคล้ายคลึงกับ Protocol Owned Liquidity (POL) ซึ่ง GLP Basket จะทำหน้าที่เป็นศูนย์รวมของ Liquidity การเทรดทั้งหมดบน Protocol ทั้งใน Spot และ Perpetual และยังทำหน้าที่เป็น Counterparty ใน Margin Trade ซึ่งหมายความว่าถ้ามีนักเทรดขาดทุน GLP ก็จะได้กำไรในส่วนนี้ แต่ในทางตรงกันข้าม ถ้านักเทรกได้กำไรทาง GLP ก็จะขาดทุนนั่นเอง โดยใน GLP Basket จะประกอบไปด้วยเหรียญ BTC, ETH, LINK, UNI, USDC, USDT ตามสัดส่วนที่ทาง Protocol กำหนด ผู้ใช้งานสามารถมาวาง Liquidity ได้เพื่อแลกกับ GLP Token ซึ่งผู้ถือ GLP Token จะได้รับรายได้ส่วนแบ่ง 70% จาก Leverage Trading Fee, Swap Fee และ Funding Rate ส่วนอีก 30% จะนำไปจ่ายให้กับผู้ Stake เหรียญ GMX 

Trader Profit vs. Loss และ Cumulative Fee บน GMX ข้อมูลวันที่ 22/7/2022 ขอบคุณภาพจาก Stats.gmx.io

จะเห็นได้ว่าเนื่องจากว่า GMX เป็น Protocol ที่เน้นให้บริการเทรดแบบ Perpetual ดังนั้น Liquidity Provider ใน GLP ก็มีความเสี่ยงที่จะขาดทุนได้เช่นกัน ซึ่งจะเกิดขึ้นในกรณีที่มีนักเทรดได้กำไรจากการเทรดมากกว่านักเทรดที่ขาดทุน อย่างไรก็ตามถ้าเราดูจากสถิติที่ผ่านมาจะเห็นว่านักเทรด Net Profit ทั้งหมด 33 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (Net loss to GLP) ในขณะที่ GLP เก็บ Cumulative Fee ได้ 34 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (70% ของ Fee ทั้งหมด) ดังนั้นจะเห็นได้ว่า GLP ยังคงมี Net Profit อยู่ที่ 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ดังนั้นจากสถิติดังกล่าวก็พอจะสรุปได้ว่าผู้ถือเหรียญ GLP Token มีโอกาสที่จะได้กำไรมากกว่าที่จะขาดทุน เพราะมีค่าส่วนของ Trading Fee มาช่วย Offset นั่นเอง และนอกจากนี้ผู้ถือเหรียญ GLP Token ยังจะได้รับ Escrowed GMX (ในส่วนนี้จะติด Vesting 1 ปี) ที่เป็น Inflationary Incentive เพิ่มเติมอีกด้วย โดย Escrowed GMX สามารถนำไป Stake ต่อเพื่อรับ Reward ได้อีกต่อหนึ่ง (Reward ประกอบด้วย Escrowed GMX และ 30% Trading Fee)

ขอบคุณภาพจาก GMX Intern Twitter

นอกจากนี้ GMX ยังมีพัฒนาการที่น่าสนใจที่คาดว่าน่าจะเป็นส่วนที่เพิ่ม Revenue ให้กับ Protocol คือการ Partner กับ Rook ในเดือนมิถุนายน 2022 ที่ผ่านมา โดยจะเปิดให้ Rook เข้ามา Arbitrage ระหว่าง GLP และ DEX อื่นๆ โดยที่ 80% ของกำไรจากการ Arbitrage จะนำไปจ่ายให้กับผู้ถือเหรียญ GLP Token และผู้ Stake เหรียญ GMX นอกจากนี้ทาง Protocol ยังมีแผนที่จะเพิ่ม Asset อื่นๆ เช่น AAVE, CRV, YFI และ DAI ทำให้ในอนาคตมีโอกาสที่ทาง Protocol จะมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการมี Asset ที่เป็นตัวเลือกมากขึ้นสำหรับผู้ใช้งาน จึงถือเป็นอีก Protocol ที่น่าจับตามอง

ENS และอื่นๆ

นอกจาก UniSwap และ GMX แล้ว ยังมี DEX อย่าง SushiSwap และ Trader Joe ที่มีตัวเลข Valuation ที่น่าสนใจ ซึ่งเป็นการเน้นย้ำว่าโดยภาพรวมแล้วนั้น DEX ถือเป็น Protocol ที่มีความแข็งแกร่งในด้าน Revenue แม้จะเป็นช่วงตลาดหมีก็ตาม โดย UniSwap และ Trader Joe นั้นก็มี Revenue Model ที่คล้ายกับ DEX อื่นๆ ดังที่กล่าวไปข้างต้น โดยหลักมีรายได้จาก Trading Fee ที่จะนำไปจ่ายให้กับ Liquidity Provider และแบ่งบางส่วนไปจ่ายให้กับผู้ Stake เหรียญ Sushi และ JOE

ENS Monthly Registration ข้อมูล ณ วันที่ 22/7/2022 ขอบคุณข้อมูลจาก Dune Analytics

อย่างไรก็ตามเรามาลองดู Protocol ประเภทอื่นบ้าง เช่น Ethereum Name Service ที่มี Revenue ที่ค่อนข้างสูงโดดเด่นในช่วงนี้ โดยถ้าดูจาก Chart ด้านบนจะเห็นว่าจำนวนผู้จดทะเบียนรายเดือนมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง

ENS นั้นเป็น Protocol บนเชน Ethereum โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปลี่ยน Address ของเราที่ยาวๆให้เป็นชื่อที่เราสามารถจำได้ง่ายๆผ่านการ “จด Domain” ตัวอย่างเช่น Address Wallet ของเราคือ 0x2d….a563 เมื่อเรามาใช้บริการจด Domain ของ ENS แล้วเราจะสามารถใช้ชื่อ Bird.eth แทนได้ โดยหากมึใครต้องการส่งเงินมาที่ Address เรา ก็สามารถใช้ชื่อ Bird.eth แทนได้เลย ซึ่งเมื่อเราทำการจด Domain ผ่าน ENS แล้วเราจะได้ NFT กลับมา ซึ่ง NFT นี้ก็เหมือนกับ NFT ทั่วๆไปที่สามารถเทรดกันได้บน Opensea ดังนั้นจึงทำให้กระแสการเก็งกำไรบนชื่อ Domain ได้เกิดขึ้น เพราะว่าแต่ละชื่อที่จด Domain ไปจะไม่สามารถซ้ำกันได้ ประกอบกับในช่วงที่ผ่านมานั้นค่าทำธุรกรรมบนเชน Ethereum นั้นมีราคาถูก จึงอาจเป็นสาเหตุทำให้มีผู้ใช้งานจำนวนมากนิยมไปจด Domain ทำให้ทาง ENS มี Revenue ที่สูงขึ้นดังกล่าว

ENS Monthly Revenue เดือนมิถุนายน 2022 ขอบคุณภาพจาก ENS Twitter
ENS Treasury ข้อมูล ณ วันที่ 22/7/2022 ขอบคุณข้อมูลจาก Open-Orgs.info

ENS มี Revenue จาก Registration Fee รายปี (จ่ายเป็น ETH) โดยมีราคา $5 ต่อปีสำหรับชื่อที่มีความยาว 5 ตัวอักษรขึ้นไป, $160 ต่อปี สำหรับชื่อความยาว 4 ตัวอักษร และ $640 ต่อปีสำหรับชื่อที่มีความยาว 3 ตัวอักษร โดย Fee ทั้งหมดจะนำเข้า ENS Dao Treasury โดย ณ วันที่ 22 กรกฎาคม 2022 ใน ENS Dao Treasury มีสินทรัพย์ทั้งหมดมากถึง 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประกอบด้วย 62,573,622 Unvested ENS, 144,912 ETH, 10,120,034 ENS, และอื่นๆอีกมูลค่า 6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) 

อย่างไรก็ตามเหรียญ ENS ยังคงเป็นแค่เหรียญ Governance ที่ใช้สำหรับโหวต ซึ่งจะยังไม่ได้ Capture Value จากในส่วนของ Revenue ในตอนนี้ อย่างไรก็ตามในอนาคตผู้ถือเหรียญอาจมีการโหวตเปลี่ยนแปลงและทำให้ Revenue ถูกแจกจ่ายให้กับผู้ถือเหรียญก็เป็นได้ นอกจากนี้ เนื่องจากว่า ENS Domain นั้นเป็น NFT ที่สามารถซื้อขายกันผ่าน Secondary Market ได้ ในอนาคตก็มีความเป็นไปได้เช่นกันว่าจะมีการเก็บ Royalty Fee จากการเทรด NFT ทำให้ ENS ถือว่าเป็น Protocol ที่น่าสนใจในแง่ของ Revenue อีกตัวหนึ่ง โดยเฉพาะถ้าเรามองว่า Domain Name จะใช้กันอย่างแพร่หลายในอนาคตของ Web3 สำหรับ Mass Adoption เพราะ Domain Name จะทำให้การใช้งานง่ายขึ้นสำหรับคนทั่วไป

Summary

ในภาวะตลาดหมีแบบนี้เชื่อว่าหลายๆคนก็หันมาสนใจที่จะเข้าไปดู Revenue ของ Blockchain หรือ Protocol ต่างๆมากขึ้น เพื่อดูว่าตัวไหนบ้างที่มีความแข็งแกร่ง เพราะปฏิเสธไม่ได้ว่า Revenue เป็นปัจจัยสำคัญที่จะดูได้ถึง Real Demand ที่แสดงถึงความยั่งยืนของ Blockchain และ Protocol ต่างๆได้เป็นอย่างดี โดยใน Article ฉบับนี้เราได้อธิบายถึง Revenue ประเภทต่างๆทั้งในส่วนของ Inflation และในส่วนที่มาจากการใช้งาน ซึ่งในแต่ละส่วนก็มีรายละเอียดที่แตกต่างกันออกไปในแตะละโปรเจ็กต์ โดยที่ Revenue ที่เราวิเคราะห์ในรายละเอียดนั้นจะเน้นไปในส่วนที่มาจากการใช้งานจริง ควบคู่ไปกับ Circulating Market Cap ผ่าน P/S Ratio ที่เป็น Indicator ที่ดีในการดู Valuation 

สำหรับ Blockchain เราจะเห็นได้ว่า Optimism, Ethereum และ Binance Smart Chain มีความน่าสนใจในแง่ Revenue และ Valuation โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Ethereum และ Binance Smart Chain ที่เป็นเชนที่มีความแข็งแกร่งมาอย่างสม่ำเสมอ  ส่วน Optimism ที่มี Revenue เพิ่มขึ้นในช่วงนี้ก็เป็นอะไรที่น่าติดตามเช่นกัน 

ในส่วนของ Protocol เราก็ได้เห็นภาพที่ชัดเจนว่า DEX นั้นเป็น Protocol ที่มีความแข็งแกร่งในด้าน Revenue แม้ในภาวะตลาดหมีแบบนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง DEX หลักอย่าง UniSwap มี Trading Volume ลดลงเพียงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า และเรายังได้เห็นการเติบโตของ Revenue ที่น่าสนใจจาก GMX ที่เป็น Perpetual DEX อีกด้วย นอกจากนี้ยังมีผู้ให้บริการจด Domain Name อย่าง Ethereum Name Service ที่มี Revenue ที่เติบโตอย่างน่าสนใจและน่าจับตามองในอนาคต

นอกจากเรื่องของ Revenue และ Valuation แล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่ควรพิจารณาที่เป็นประเด็นแยกกันคือการ Capture Value เพราะจากใน Report นี้จะเห็นว่าในปัจจุบันนั้นบาง Blockchain และ Protocol ก็ยังไม่ได้ส่งต่อมูลค่าที่ได้จาก Revenue ให้กับผู้ถือเหรียญโดยตรง ถึงแม้ว่าในอนาคตอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ เราก็ควรเผื่อประเด็นความเสี่ยงตรงนี้ไว้ด้วย

Author

Share :
Related
CoinTalk (26/4/2024): ได้เวลากลับไปทำงานประจำ
เข้าสู่ยุคใหม่ของ Bitcoin ? พาส่อง Bitcoin Ecosystem ปี 2024 
Cryptomind Monthly Outlook (April 2024)
Technical Analysis $PENDLE, $BNB โดย Cryptomind Advisory (22 Apr 24)