เกริ่นนำ
ช่วงที่ผ่านมา ASTAR จาก Astar Network เป็นหนึ่งใน Spotlight ตามงานต่างๆตั้งแต่งาน WebX 2023 (ประเทศญี่ปุ่น) ที่มีการประกาศอัพเกรด Supernova และในงาน Token 2049 (ประเทศสิงค์โปร์) ซึ่งมีการประกาศการร่วมมือกับ SONY ในการร่วมกันสร้าง Sony Blockchain และการขยับขยายเข้ามาเป็น Layer 2 ของ Ethereum ด้วยการใช้ Polygon CDK
ในประเทศญี่ปุ่นที่มีบริษัทเอกชนทางด้านเทคโนโลยีที่มีอิทธิพลเป็นอันดับต้นๆของโลก ในช่วงที่ผ่านมามีการ Adoption มากขึ้นเรื่อยๆโดยเฉพาะกับการร่วมมือกับ ASTAR ได้แก่:
- การจับมือกับ Toyota
- การร่วมกันจัดงาน Hackathon กับ Mazda และ Mitsubishi
- การจับมือกับ SONY เพื่อสร้าง SONY Blockchain
- การออก NFT Collection ร่วมกับ JR Kyushu (บริษัทรถไฟเอกชนที่ใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่น)
ASTAR จึงอาจจะเป็นหนึ่งในตัวอย่างสำคัญในการจับมือกับบริษัทต่างๆและช่วยในการดึง Adoption เข้ามาจาก Web2.0 และในบทความนี้จะพาไปรู้จักกับ ASTAR
1. จาก PLASM Network สู่ ASTAR Network
กว่าจะมาเป็น Astar Network ในปัจจุบัน Astar Network เคยเป็น Plasm Network มาก่อน ก่อนที่จะเปลี่ยนชื่อและพัฒนามาจนปัจจุบัน
– 1.1 Sota Watanabe และ Startale Labs
Astar Network ถูกก่อตั้งในปี 2019 ด้วยชื่อ Plasm Network โดย Sota Watanabe ผู้เป็น CEO ของ Startale Labs และเป็นหนึ่งในกรรมการของสมาคมบล็อกเชนของญี่ปุ่น
Startale Labs เป็นบริษัทรีเสิร์ช พัฒนา และส่งเสริมเทคโนโลยีทาง Web3.0 ต่างๆ ซึ่งมีผลงานคือ Astar Network และ Swanky (Tools สำหรับนักพัฒนา WASM Smart Contract)
– 1.2 Parachain Auction อันดับ 3
ในช่วงปี 2021 Polkadot ได้ทำการเปิด Parachain Auction เป็นครั้งแรก ซึ่งเป็นการให้นำเหรียญ DOT ไป Lock ไว้เพื่อทำการโหวตให้กับโปรเจกต์ที่สนใจที่อยากจะให้เข้าร่วมใน Ecosystem ของ Polkadot โดยโปรเจกต์ที่จะเข้าร่วมได้มีจำกัด
ในวันที่ 3 ธันวาคม 2021 Astar Network ชนะการทำ Parachain Auction และได้เข้าเป็นส่วนหนึ่งใน Polkadot Ecosystem เป็นอันดับที่ 3 (รองจาก Acala และ Moonbeam) ด้วยจำนวน 10.3 ล้าน DOT จากผู้เข้าร่วมราว 27,100 คน
สิ่งนี้เป็นจุดเริ่มต้นของ Astar Network
2. พื้นฐานของ Astar Network
– 2.1 ASTAR Network คืออะไร? ทำอะไรได้บ้าง?
- Astar Network เป็น Public Blockchain ตัวแรกที่เกิดในประเทศญี่ปุ่น
- Astar Network เกิดมาเพื่อการพยายามเชื่อมต่อกับ Layer 1 ตัวอื่นๆ นับว่าเป็นหน้าที่ที่สำคัญตัวหนึ่งในการเชื่อมต่อระหว่างภายใน Polkadot Ecosystem และภายนอก
- Astar Network รองรับ Ethereum Virtual Machine (EVM) และ WebAssembly (Wasm)
- Astar Network รองรับ Cross-Virtual Machine (XVM) ซึ่งทำให้สามารถใช้งาน Smart Contract ระหว่างเชนได้ ทำให้เกิดพัฒนาระหว่างเชนเกิดขึ้นได้อย่างง่าย
- จากการที่ Astar Network เกิดที่ประเทศญี่ปุ่นและมีการ Partner ระหว่างบริษัทต่างๆมากมาย ทำให้มีโอกาสในการดึง Adoption จากญี่ปุ่นมาได้
– 2.2 Tokenomics ของ ASTAR


Tokenomics นี้เป็นสัดส่วนของเหรียญที่แบ่งแรกสุดในขณะที่ใช้ชื่อว่า Plasm Network (PLM) และมีส่วนหลักที่สุดคือ
- การแบ่งสัดส่วนไปให้ทีมในการพัฒนา ในการทำการตลาด
- การแบ่งส่วนไปให้กับนักลงทุนที่เป็นสถาบัน
- การแบ่งส่วนไปให้กับ Parachain Auctions
- การแบ่งส่วนในการแจกจ่ายเหรียญผ่าน Lockdrop จากการ Lock ETH
หลังจากที่มีการปล่อยเหรียญในช่วงแรกนี้ เหรียญจะถูกสร้างขึ้นมาแบบมีอัตราเฟ้อที่ 10% จากปริมาณต้น โดยจะมีการสร้างเหรียญขึ้นมาทุกบล็อก
หลังจากมกราคม 2023 อัตราเฟ้อของเหรียญ ASTAR ได้ถูกปรับลงเหลือ 5% ต่อปี ที่ ~665,000,000 ASTR ต่อปี
และหลังจากนั้นจะมีการปรับเปลี่ยนเป็น Tokenomics 2.0 อีกทีในช่วงการอัพเกรท Supernova
– 2.3 Utility ของเหรียญ ASTAR
- Governance
ผู้ถือเหรียญ ASTAR สามารถเข้าไปมีส่วนร่วมกับทิศทางของ ASTAR ได้ ไม่ว่าจะเป็นการเสนอ Proposal และการโหวต Proposal ต่างๆ - Staking and Rewards
ผู้ถือเหรียญ ASTAR สามารถนำเหรียญไป Stake ได้เพื่อเสริมความปลอดภัยให้กับระบบ รวมถึงสามารถรับเหรียญ ASTAR เป็นผลตอบแทนได้ด้วย - Transaction Fees
ใน Astar Network เหรียญ ASTAR จะถูกใช้งานในการจ่ายค่าธุรกรรมต่างๆ - Collatoral for dApps
ผู้ที่มาสร้าง dApps ใน Astar Network จำเป็นต้องใช้ ASTAR มาล็อกไว้ เพื่อแสดงความตั้งใจในการมาเสริมสร้างเครือข่ายอย่างแท้จริง
3. ASTAR 2.0 กับการอัพเกรทครั้งใหญ่

วันที่ 15 มิถุนายน Astar Network ได้มีการประกาศใน Blog ถึงการอัปเดตครั้งใหญ่ เป็น Astar 2.0 และค่อยๆประกาศแต่ละหัวข้อย่อยในแต่ละอาทิตย์ที่ผ่านมา
การอัปเดตครั้งนี้เป็นอัปเดตครั้งใหญ่ซึ่งเปลี่ยน Astar 2.0 ในทุกแง่มุม หลังจากที่ในช่วง 1.0 เป็นการวางรากฐานของระบบมากกว่า
Astar 2.0 มาด้วยกับความเปลี่ยนแปลง ดังนี้:
– 3.1 Astar Tokenomics 2.0

Astar 2.0 มากับการปรับ Tokenomics ครั้งสำคัญเพื่อเพิ่มความยั่งยืนให้กับ Astar Network โดยในตอนแรก Astar Network มีโมเดลของอัตราเฟ้อที่คงที่ที่ 5% ต่อปี

โมเดลที่มากับ Astar 2.0 คือการปรับอัตราเฟ้อที่มีความ Dynamic และขึ้นอยู่กับ Total Value Locked ภายในเชน Astar Network นอกจากนี้ยังมีการเพิ่มระบบในการเผาเหรียญจาก Fee และ Block Reward อีกด้วย เพื่อสร้างสมดุลระหว่าง ASTAR ที่ถูก Mint ขึ้นมาใหม่และ Burn (มีความคล้ายเคียงกับ Ethereum)

– 3.2 Staking 2.0 ของ Astar Network
ในช่วง Astar 1.0 การแจก Reward ให้กับ Builder ได้อย่างยั่งยืนถือว่าเป็นความสำเร็จมากสำหรับ Astar ใน Astar 2.0 นี้จะมุ่งพัฒนาสร้างการใช้งานและการ Stake ที่ง่ายขึ้นอีก
– 3.3 Astar zkEVM สู่การเป็น Layer 2 บน Ethereum ของ Astar Network

ในงาน Token 2049 Astar Network ได้มีการประกาศร่วมมือกับ Polygon เพื่อสร้าง Astar zkEVM ขึ้นมาเพื่อเป็น Layer 2 ของ Ethreum ด้วยเทคโนโลยี Polygon CDK
Astar Network ยังคงให้ความเชื่อมั่นกับฐานผู้ใช้งานบน Polkadot ว่าการเข้าไปสร้างบน Ethereum ครั้งนี้ไม่ใช้การย้ายแบบถาวร แต่เป็นการขยายฐานเพื่อเชื่อมต่อระหว่าง Ethereum และ Polkadot นั่นเอง
นอกจากนี้ Astar Network ยังเพิ่ม Function ในการ Burn เหรียญจากการเข้าไปอยู่บน Layer 2 ของ Ethereum อีกด้วย
Astar zkEVM จะใช้ค่าธรรมเนียมเป็น ETH และเมื่อมีรายได้จาก Sequencer แล้ว จะนำรายได้นั้นมา Buyback ASTAR และทำการ Burn ASTAR อีกด้วย
4. Adoption ของ ASTAR ในประเทศญี่ปุ่น
ในช่วงที่ผ่านมา มีการจับมือกันระหว่างบริษัทเอกชนต่างๆในประเทศญี่ปุ่นและ Astar Network (หรือ Startale Labs) มากขึ้นเรื่อยๆ สื่อให้เห็นถึงทั้งความสนใจที่มากขึ้นของบริษัทเอกชนต่างๆ และความน่าสนใจของ Astar Network ที่บริษัทเหล่านั้นเล็งเห็น
การจับมือที่สำคัญต่างๆที่ผ่านมา มีดังนี้:
– 4.1 JR Kyushu เข้ามาสร้าง NFT บน Astar Network

ในวันที่ 11 พฤษภาคม 2023 JR Kyushu ได้ประกาศความร่วมมือกับ ASTAR และ P.R.O. Co., Ltd. ในการเข้ามาสร้าง NFT บนเชน Astar Network
JR (Japan Railway) คือบริษัทรถไฟเอกชนในญี่ปุ่นที่ใหญ่ที่สุดโดยมีทั้งร้านอาหาร โรงแรม และร้านขายยาในพื้นที่ต่างๆในเครือ ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งในวงจรการใช้งานที่ค่อนข้างใหญ่มากในประเทศญี่ปุ่น
ในการสร้าง NFT ในครั้งนี้เอง JR Kyushu ต้องการจะใช้เทคโนโลยี Blockchain ในการค้นหาความเป็นไปได้ใหม่ๆ ไม่ว่าจะเป็นการขาย NFT ที่ระลึกตามโอกาสสำคัญต่างๆ หรือแจก NFT ที่ระลึกในการท่องเที่ยวตามแต่ละพื้นที่ (คิดในเรื่อง value ของการเป็นที่ระลึกจากการท่องเที่ยว มากกว่าการให้ value ในการเทรดเพื่อเพิ่มมูลค่า)
JR Kyushu ให้เหตุผลในการเข้ามาใช้ Astar Network คือ
- ค่าธรรมเนียมถูก
- Scalability รองรับได้เยอะมาก
- ทีม Astar ฐานอยู่ในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมีความเข้าใจในเรื่องญี่ปุ่นดีอยู่แล้ว
ข้อ 3. อาจจะเป็นหนึ่งในข้อสำคัญในการดึง Adoption มาจากองค์กรต่างๆต่อจากนี้ หากประเทศนั้นๆมีเชนที่เข้าใจประเทศนั้นๆเป็นอย่างดี จะทำให้ดึง Adoption เข้ามาได้ง่ายขึ้น
– 4.2 การร่วมมือในการสร้าง SONY Blockchain

ตั้งแต่ต้นปี 2023 ที่ผ่านมา Startale Labs หรือบริษัทที่พัฒนา Astar Network ได้มีการร่วมมือกับ Sony Network Communications ในหลากหลายงานเพื่อพัฒนาและส่งเสริมการใช้งาน Web3.0 ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของ NFT, DAOs, DeFi และอื่นๆ
จนกระทั่งวันที่ 28 มิถุนายนที่ผ่านมา มีการประกาศการจับมือกันครั้งสำคัญระหว่าง Sony Network Communications และ Startale Labs พร้อมด้วยเงินลงทุนถึง 3.5 ล้าน$ !
นัยยะสำคัญที่สุดในการจับมือในครั้งนี้ คือการผสมผสานระหว่างความชำนาญในการพัฒนาในโลก Web3.0 ของ Startale Labs กับประสบการณ์และความสามารถทางธุรกิจของ Sony Network Communications เพื่อสร้างรากฐากสำหรับการ Adoption ต่อไป
Joint Venture ในครั้งนี้เป็นการจับมือในการพัฒนา Sony Chain ขึ้นมาอีกด้วยที่มีความเป็นไปได้ที่จะพัฒนาและใช้ศักยภาพต่างๆที่ Sony มีอยู่แล้วเพื่อก่อให้เกิด Use Case ภายใน Web3.0 เช่น เกม, เพลง, ภาพ, บริการทางการเงิน และบริการอื่นๆ
หากพิจารณาถึงฐานทางเทคโนโลยี ประสบการณ์ และฐานลูกค้าที่ Sony มีอยู่แล้วเป็นสิ่งที่แข็งแกร่งมาก หรือว่า Adoption ให้กับคนทั่วไป จะเริ่มจากการจับมือในครั้งนี้?
– 4.3 Web3.0 Global Hackathon ร่วมกับ Mazda และ Mitsubishi Estate

เมื่อวันที่ 4 กันยายนที่ผ่านมา Hakuhodo Key3 มีการประกาศ Global Hackathon 2023 ร่วมกับ Mazda Motor Corporation และ Mitsubishi Estate Co., Ltd. (Hakuhodo Key3 เป็น Production Venture ร่วมมือระหว่าง Hakuhodo Inc. และ Sota Watanabe ผู้เป็น CEO ของ Startale Labs ญี่ปุ่น เพื่อเป็นบริการในการเสริมสร้างและพํฒนา Web3.0)
ธีมสำหรับงานในครั้งนี้คือ “Drive to Earn, Use for Fun” หรือก็คือ การใช้บริการจาก Web3.0 เพื่อส่งเสริมให้การขับรถมีความสนุกยิ่งขึ้น
การจับมือในการสร้าง Hackathon ในครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงอีกสองบริษัทใหญ่ที่มีความสนใจในการเข้ามาใช้งานในโลก Web3.0 และถ้าหากมองกลับไปที่ Sony ที่ตอนแรกมีการร่วมงานกันบ้างก่อนจะมาจับมือสร้าง Sony Blockchain อย่างจริงจัง ก็อาจจะมองภาพถึงโอกาสที่บริษัทใหญ่ๆในครั้งนี้ เข้ามาร่วมทำงานกันอย่างจริงจังกันอีกในอนาคต
– 4.4 MIZUHO Bank กับการเข้ามาพัฒนาส่งเสริมท้องถิ่น

วันที่ 28 กันยายนที่ผ่านมา มีการประกาศการร่วมมือสำคัญอีกครั้งระหว่างธนาคาร Mizuho (ธนาคารยักใหญ่ในญี่ปุ่น), Startale Labs Japan, COZMIZE (โปรเจกต์ Metaverse ภายใน Astar Network), Blue Lab (บริษัทในประเทศญี่ปุ่นที่พยายามส่งเสริมท้องถิ่นผ่านเทคโนโลยี)
การร่วมมือในครั้งนี้เป็นโครงการในการโปรโมทแบรนด์โซจูจากจังหวัด Kumamoto ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นสินค้าที่ผลิตติดต่อกันมายาวนานกว่า 500 ปีแล้ว
จุดมุ่งหมายของโครงการนี้คือการนำบล็อกเชนและ NFT เข้ามาเพื่อส่งเสริมและเพิ่ม Use-case การใช้งานต่างๆ รวมไปถึงการดึงดูดผู้ใช้งานวัยรุ่นให้มารู้จักกับสินค้านี้
การนำบล็อกเชนเข้ามาเพื่อส่งเสริมสินค้าท้องถิ่นเป็น Use-case ที่น่าสนใจเช่นกัน
สรุป
ASTAR Network มีความน่าสนใจในหลายๆด้าน ทั้งในด้าน Vision ของการทำ Cross-Chain, Vision ในการโฟกัสกับการพัฒนาและร่วมมือกับบริษัทเอกชนต่างๆในประเทศญี่ปุ่นเพื่อดึง Adoption เข้ามา, Vision ในการขยายฐานไปยัง Ethereum Layer 2
โดยเฉพาะในเรื่องของ Adoption ที่เป็นโจทย์ในโลกคริปโตอยู่เสมอ โมเดลในการร่วมมือของ ASTAR อาจจะเป็นตัวจุดประกายหลักในการดึง Adoption ใน Bull-run รอบถัดไป