อ้างอิงจากโพส Twitter ของ @cyrilXBT ที่ได้พูดเกี่ยวกับ a16z ที่ใหญ่ที่สุดในวงการคริปโต
ซึ่ง @cyrilXBT ได้พูดถึง VC ดังอย่าง a16z และบอกว่าล่าสุดได้ลงทุนกับโปรเจคต่างๆอย่างคับคั่งกว่า $8B ซึ่งมีโอกาศที่โปรเจคเหล่านั้นจะสามารถเติบโตในแง่ของ Product และราคาเหรียญกว่า 100x โดยเราจะพาไปรู้จักกับ a16z กันว่ามีความเป็นมายังไง และลงทุนไปกับโปรเจคอะไรบ้าง เพื่อเป็นแนวทางให้ทุกคนนำโปรเจคเหล่านั้นไปศึกษาและพิจารณา
a16z คืออะไร
a16z หรือชื่อเต็มคือ Andreessen Horowitz เป็นกองทุนที่ก่อตั้งขึ้นในปี 2009 ที่ Silicon Valley โดยคุณ Marc Andreessen ภาพด้านซ้าย และคุณ Ben Horowitz ภาพด้านขวา โดยจะเห็นได้ว่าชื่อเต็มของกองทุนมาจากนามสกุลของทั้งสองท่านรวมกัน Andreessen + Horowitz
Andreessen Horowitz ที่รู้จักว่า “a16z” เป็นกองทุน Venture Capital (VC) ที่เน้นการลงทุนกับ โปรเจคด้านเทคโนโลยีต่างๆ ทั้งใน bio + healthcare, consumer, crypto, enterprise, fintech, games, และปัจจุบัน a16z มี assets under management (AUM) กว่า $35b รวมหลายๆกองทุนภายใต้ a16z
เคยลงทุนให้กับโปรเจคดังๆอย่าง Coinbase, Ripple และ MakerDAO ถือว่า a16z เป็นกลุ่มทุนแนวหน้าในการขับเคลื่อนเทคโนโลยีของโลกปัจจุบัน ซึ่งมี DNA ความเป็น Silicon Valley สูง
a16z Crypto VCs Ranking
ขอบคุณภาพจาก cryptorank.io
จากภาพเป็นการจัดอันดับ VCs โดยไล่จาก Market Cap หรือ AUM ของกองทุน VC นั้นๆ จะเห็นได้ว่า a16z เป็นอันดับ 1 ในวงการคริปโต รองลงมาคือ Pantera ที่มี Market Cap ไล่เรี่ยกันแต่ Volume ห่างกันเกือบครึ่ง โดยเว็บไซต์ของ Cryptorank ได้จัดให้ a16z เป็น VC ระดับ Tier 1 ถือว่ามีเครดิตสูงที่สุด
ประเภทในการลงทุน
ถ้าเราดูข้อมูลจากภาพ จะเห็นว่า a16z มีการลงทุนไปกว่า 202 รอบ ซึ่งส่วนใหญ่เน้นลงทุนใน
1.Blockchain Service 24.2%
2.Blockchain Infrastructure 15.4%
3.GameFi 14.8%
ทาง a16z น่าจะเห็นว่า ณ ปัจจุบัน สิ่งที่สำคัญต่ออุตสาหกรรมยังเป็นในแง่ของ Infrastucture และ Service ต่างๆที่ควรต้องพร้อมมากกว่านี้ ที่สำคัญยังเน้นไปที่กลุ่ม GameFi ซึ่งเคยบูมเมื่อช่วง Bull run ครั้งก่อน โดยสรุปจากหมวดหมู่เหล่านี้เองเป็นการลงทุนเพื่อวางเส้นทางสู่การเป็น Mass Adoption นั่นเอง
โปรเจคที่น่าสนใจ
จากต้นโพสต์ Twitter ของ @cyrilXBT ที่กล่าวไปนั้นว่า ไม่นานมานี้พึ่งมีความเคลื่อนไหวการลงทุนกว่า $8b โดยเราจะมาไล่กันทีละโปรเจคว่ามีอะไรบ้างที่ถูกพูดถึงและน่าสนใจยังไง
*มีบางโปรเจคที่ @cyrilXBT กล่าวถึงแต่ยังไม่มีแหล่งข่าวทางทีมจึงขอไม่นำมาพูดถึงในบทความนี้
LayerZero (Extended Series A/Series B $255m)
เริ่มที่โปรเจคขวัญใจชาว Airdrop Hunter นั่นก็คือเจ้า LayerZero ซึ่งทาง a16z ได้ร่วมลงทุนไปกว่า $255m ในรอบ Extended Series A และ Series B ส่วนยอดระดมทุนสะสมอยู่ที่ $263m โดยตี Valuation ไว้ที่ $3b เลยทีเดียว
โดย LayerZero นั้นจัดอยู่ในหมวดของ Blockchain Infrastructure ที่ทำเกี่ยวกับการ Cross-chain ด้วยเทคโนโลยีที่กำลังพัฒนาทำให้สามารถส่ง Message และ Native Assets ระหว่างเชนได้ ด้วยโครงสร้างที่มีความ Decentralized และ Extendsible สามารถที่จะสร้าง Dapps ต่อยอดบน LayerZero ได้โดยปัจจุบันมี Dapps เช่น Stargate, Sushiswap, Radiant และ Holograph
ปัจจุบันรองรับเชนมากมาย อย่างเช่น Optimism, Arbitrum, Zksync, BNB Chain, Tron, Ethereum และอีกมายมาย ซึ่งใครสนใจอยากศึกษาสามารถเข้าไปอ่านข้อมูลเชิงลึกได้ที่
CCP Games (Seed $40m)
ต่อมาเป็นโปรเจค CCP Games ที่ได้ให้ทุนไปในรอบ Seed กว่า $40m โปรเจคนี้จัดอยู่ในหมวดหมู่ของ GameFi เป็นบริษัททำกำลังพัฒนาอยู่หลายเกมอย่างเช่น
1.Project M5 เป็นเกมบนมือถือแบบ Free-to-play โดยเล่นเป็นทีมด้วยการวางกลยุทธ์ต่างๆ พัฒนาโดย CCP Game’s Shanghai Studio
2.FPS Project โดน CCP London ซึ่งเป็นเกม FPS แนว Tactical ที่เล่นแบบ Multiplayer
3.EVE online เป็นเกม Sci-fi ที่สามารถเลือกอาชีพต่างๆ คาดว่าเป็นแนว MMORPG
โดยทุกโปรเจคล้วนใช้ Blockchain เข้ามาเป็น Infrastructure หลักให้กับเกมซึ่งอนาคตก็อาจจะมีการปล่อยเหรียญเพื่อใช้ในการซื้อขายไอเท็มอย่างเช่น $GALA
Towns (Series A $25m)
ต่อมาเป็นโปรเจค Towns โดยจัดอยู่ในหมวดของ Blockchain Service, DAO และ Social Network โดยอธิบายง่ายๆคือ เป็น Group Chat แบบ Decentralized ซึ่งลักษณะ UX/UI คล้ายๆกับ Slack ที่หลายๆคนใช้คุยงานกันแล้วก็ Discord ที่หลายๆคนใช้ในการพูดคุยกัน
Portfolio
อ้างอิงจากข้อมูลของวันที่ 28 June 2023 จะเห็นได้ว่า MarketCap/AUM ของ a16z นั้นอยู่ที่ $278B และตลอดช่วง 30วันมานี้ ไม่ค่อยจะมีความเคลื่อนไหวมากนักโดยมี AUM ติดลบประมาณ -2.27% และในรอบ 30 วัน มีเหรียญที่กำไรอยู่เพียง 4:41 หรือคิดเป็นเพียง 9% เท่านั้น
ซึ่งยังถือว่ายังเป็นช่วง Bear สำหรับ a16z แต่ก็ถือว่าเป็นช่วง Build สำหรับโปรเจคต่างๆ ซึ่งได้หว่านเมล็ดลง เพื่อรอวันออกผลในอนาคตซึ่งต้องใช้เวลาพอสมควร
On-chain Portfolio
อ้างอิงข้อมูลจาก Arkham
จากภาพ a16z นั้นมี On-chain AUM อยู่ที่ $98m ซึ่งถ้าเทียบตั้งแต่ปี 2020 จนถึง 2023 ยังถือว่า Net Change ขาดทุนอยู่ -$13.14M โดยมีความเป็นไปได้ทั้งจากการขาดทุน หรือการโอนออกไปยัง Exchange ต่างๆได้ Assets ส่วนใหญ่อยู่บน Ethereum Mainnet โดยสัดส่วนเหรียญที่ถือจากมากไปน้อยคือ
- 15M $UNI ($75.30M)
- 18.15K $MKR ($12.38M)
- 255K $COMP ($10.53M)
On-chain Activity (7 Days)
ความเคลื่อนไหวในช่วง 7 วันของ a16z นั้นยังไม่มีอะไรมาก ส่วนใหญ่จะเป็นการ VoteDelegate บน MakerDAO ซึ่งยังไม่มีการซื้อขายเหรียญเพิ่มเติมใดๆในช่วงนี้
อัตรา Gainers/Losers Number
ต่อมาจะเป็นการดูอัตราการกำไรต่อการเลือกลงทุน โดยอย่างที่กล่าวไปคือ a16z มีอัตรา Gainers/Losers อยู่ที่ 10:36 ซึ่งคิดเป็น 22% ที่เลือกลงทุนแล้วกำไร โดยถือว่ายังน้อยกว่า VCs เจ้าอื่นๆ เช่น
- Pantera (23%)
- DCG (30%)
- Multicoin Capital (27%)
- Hashed Fund (24%)
สรุป
จากเนื้อหาทั้งหมดก็สรุปได้ว่า a16z นั้น เน้นในการลงทุนในส่วนของ Infrastructure, GameFi และ Blockchain Service ซึ่งมองเห็นได้ว่าทางกองทุนเห็นโอกาศที่จะ On-board กลุ่ม Mass เข้ามาได้ เมื่อทุกอย่างพร้อมมากกว่านี้จึงลงเงินให้โปรเจคต่างๆเช่น
- LayerZero ที่จะช่วยแก้ปัญหากำแพงในการเชื่อมกันระหว่างเชน
- CCP Games สร้างเกมเพื่อ On-board users เข้าสู่โลก Blockchain
- Towns ดึง Users ให้ใช้ชีวิตและทำงานอยู่บนโลก Web3.0 ทั้งการทำงานและพูดคุย
ทุกโปรเจคล้วนเป็นปัจจัยในการดึงดูดกลุ่ม Mass ทั้งสิ้น
ปัจจุบันกองทุนมีอัตรากำไรในโปรเจคเป็น 10 : 36 หรือมีอัตราลงทุนถูกตัวที่ 22% และถึงแม้ว่า a16z นั้นจะมีอัตรา Gainers ในตัวที่ลงทุนที่น้อยกว่า VCs เจ้าอื่น แต่ก็มี AUM ที่เยอะที่สุดอาจจะมาด้วยการบริหารเงินทุนที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นเรื่องปกติในการลงทุนกับโปรเจคคริปโตและ Start Up ต่างๆ มีโอกาศขาดทุนสูงแต่ถ้าตัวไหนสำเร็จกำไรนั้นจะสามารถ Cover ความเสียหายได้ทั้งหมด
วิเคราะห์เทรนด์จากการลงทุนของ a16z
จากการดูโปรเจคที่ลงทุนไปนั้นส่วนตัวเทรนด์ที่น่าจะมาได้คือ
1.GameFi เป็นประเภทที่ดึง Users Web2.0 ได้ง่ายและมากที่สุด เมื่อ Infrastructure ที่พร้อมมากขึ้นจะทำให้มี UX/UI ที่ดีและ Simple ทำให้สามารถ On-board Users ได้อย่างลื่นไหล
2.Web3.0 จากการ On-board Users เข้ามาจาก GameFi ก็มีโอกาศที่จะดึงคนกลุ่มนั้นไปใช้งาน Web3.0 ต่อเช่น Towns หรือ Lens Protocol ที่เป็น Social Media Web3.0
3.Defi ส่วนนี้จะได้ประโยชน์ตามการขยายตัวของ Users ใหม่ที่เข้ามาจาก GameFi และ Web3.0 โดยมีผลตอบแทนกำไรเป็นแรงดึงดูด .
4.Layer 2 และ Protocol ทุกอย่างที่พูดมาย่อมต้องอยู่บน Blockchain Infrastructure ที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพต่อการขยายตัวของ Network ซึ่งไม่พ้น Layer 2 ที่สามารถที่จะทำ Super Chain ต่อยอดเป็น Layer 3 ได้ซึ่งเป็น App-chain