Search
Close this search box.

Symbiotic โปรเจกต์ Restaking คู่แข่งสำคัญของ EigenLayer

Share :
symbiotic

Table of Contents

ขอบคุณภาพจาก Symbiotic

Symbiotic เป็นอีกหนึ่งโปรเจกต์ที่ทำเกี่ยวกับการ Restaking (อ่านเกี่ยวกับ Restaking ได้ที่นี่) ในลักษณะคล้ายกับ EigenLayer โดยอย่างกรณีของ EigenLayer นั้นเปิดให้เราสามารถนำ Liquid Staking Tokens (LSTs) ของเหรียญ Ethereum ไปฝากไว้กับ EigenLayer ได้อีกทอด เรียกว่า Restaking (อ่านเกี่ยวกับ EigenLayer เพิ่มเติมได้ที่นี่) จุดประสงค์หลักคือเพื่อให้ DApp นำ Economic Security ไปใช้ต่อได้ หรือที่เรียกว่า Actively Validated Service หรือ AVS นั่นเอง

ส่วน Symbiotic นั้นเพิ่งเปิดตัว Mainnet ไปในช่วงเดือนมิถุนายน 2024 ที่ผ่านมา โดยเปิดให้ฝาก Ethereum LST ก่อน โดยมี Cap การฝากอยู่ที่ 200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่ง Cap ดังกล่าวเต็มภายในเวลา 2 วันเท่านั้น แสดงถึงกระแสความร้อนแรงของกลุ่ม Restaking ที่ยังแข็งแกร่งในปี 2024 นี้

โดยถึงแม้จะมีหลักการที่คล้ายกับ EigenLayer ในแง่ของหลักการ แต่ก็มีความแตกต่างอยู่ในบางอย่าง โดยอาจเรียกให้เห็นภาพง่ายๆว่า Symbiotic เป็น EigenLayer ที่มีความยืดหยุ่นมากขึ้นก็ว่าได้ ซึ่งในบทความนี้เราจะไปดูกันว่า Symbiotic มีจุดเด่น ความน่าสนใจ และข้อแตกต่างอย่างไรบ้าง

ข้อแตกต่างของ Symbiotic

1. ความหลากหลายของ Restaked Asset

EigenLayer จะเน้นรับฝากเหรียญ Ethereum เท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นแบบ Native Restaking ผ่าน EigenPod รวมถึงรับฝากเหรียญ Ethereum LSTs เช่น  Binance Staked Ether (wBETH), Rocket Pool Ether (rETH), Mantle Staked Ether (mETH), Lido Staked Ether (stETH) เป็นต้น 

ขอบคุณภาพจาก Ethena

อย่างไรก็ตาม Symbiotic จะรองรับการฝากเหรียญอื่น (ที่เป็น ERC 20) ไม่ว่าจะเป็น LP, Stablecoin หรือจากบล็อคเชนอื่นๆที่ไม่ได้จำกัดแค่บน Ethereum มาเป็น Restaked Asset ด้วย ทำให้มีความยืดหยุ่นและมีข้อดีต่างๆตามมาหลายอย่าง โดยอย่างล่าสุดเพิ่งประกาศร่วมมือกับโปรเจกต์ Ethena ทำให้สามารถ Restake เหรียญ ENA บน Symbiotic เพื่อ Secure Ethena Chain ที่กำลังจะเปิดตัวในอนาคตได้ ซึ่งในช่วงเริ่มต้นการ Restake เหรียญ ENA จะใช้ในการ Secure การโอนเหรียญ USDe ระหว่างเชนต่างๆ และในอนาคตจึงต่อยอดไปที่การ Secure ฟังก์ชั่นต่างๆบน Ethena Chain

โดยนอกจากเหรียญ ENA แล้ว ยังสามารถ Restake เหรียญ Stablecoin ของ Ethena อย่าง USDe หรือ sUSDe ได้ ซึ่งหนึ่งในข้อดีการใช้ Stablecoin ในการ Restake คือมีความผันผวนน้อยกว่า นอกจากนี้การที่ใช้ sUSDe ที่เป็น Yield-Bearing Asset (Real-yield) มาใช้ในการ Restake ที่จะทำให้ได้ Yield สองต่อ ซึ่งจะช่วยให้ลดความจำเป็นในการแจก Incentive แบบ Inflation ได้ด้วย

2. Modular Design เพิ่มความยืดหยุ่นสำหรับ DApps ในการปรับ Security Model ของตัวเอง

นอกจาก Symbiotic จะรองรับการ Restaking ของ Asset ที่หลากหลายแบบที่พูดถึงไปในข้อก่อนหน้าแล้ว DApps หรือโปรเจกต์ต่างๆที่จะมาใช้งานยังสามารถเลือกปรับ Security Model ให้เหมาะกับจุดประสงค์การใช้งานของตัวเองได้ (ใน Vault ของตัวเอง) เช่น การเลือก Asset มากกว่าหนึ่งอย่างในสัดส่วนที่กำหนดเอง, การเลือก Slashing, Incentive Criteria, Operator Set เป็นต้น 

นอกจากนี้ ด้วยความที่แต่ละ Restaked Asset สามารถแยก Vault ของตัวเองได้ (ต่างจาก EigenLayer ที่ฝากรวมกันทั้งหมด) ทำให้เวลาเกิดปัญหาจะได้สามารถ Contain ไว้ใน Vault นั้นๆได้ โดยไม่เกิดความเสียหายหมดทั้งระบบ

3. Permissionless & Immutable

Core Contracts ของ Symbiotic ไม่สามารถอัปเกรดได้ (คล้ายกับ UniSwap) จึงเป็นการช่วยลดความเสี่ยงเกี่ยวกับ Governance และ Point of Failure โดยถึงแม้ว่าทีมเกิดหายหรือล้มเลิกไป ตัวแพลตฟอร์ม Symbiotic ก็ยังสามารถทำงานต่อไปได้ นอกจากนี้ ความ Permissionless ทำให้ DApps สามารถมาใช้งาน Symbiotic ได้โดยไม่ต้องขออนุญาตก่อน

4. ยังไม่รองรับ Native Restaking

ตอนนี้ Symbiotic ยังไม่รองรับการฝากเหรียญ ETH โดยตรง หรือที่เรียกว่า Native Restaking แบบ EigenLayer ที่ทำผ่าน EigenPod ซึ่งข้อดีของการมี Native Restaking คือจะทำให้ไม่มีการจำกัด Cap การรับฝาก อย่างไรก็ตาม ไม่แน่ว่าในอนาคตทาง Symbiotic อาจมีการขยายการรองรับ Native Restaking เพิ่มเติมได้

Partnership ที่แข็งแกร่ง ของ Symbiotic

ขอบคุณภาพจาก Symbiotic

หนึ่งจุดแข็งที่ปฏิเสธไม่ได้ของ Symbiotic คือการมี Partner ที่แข็งแกร่งมากที่ประกาศมาตั้งแต่วันเปิดตัว ไม่ว่าจะเป็นในแง่ของผู้ร่วมลงทุนและแพลตฟอร์มระดับ Top ต่างๆ อย่างที่กล่าวไปในพาร์ทที่ผ่านมาก็มี Ethena, Layerzero รวมไปถึงโปรเจกต์ที่เป็น Partner AVS ของ EigenLayer อยู่แล้ว อย่างเช่น Blockless, Hyperlane ส่วนรายละเอียด Partnership อื่นๆที่น่าสนใจมีดังนี้

Backer & VC

Symbiotic เปิดตัวมาพร้อมกับการประกาศการระดมทุนในรอบ Seed Round มูลค่ากว่า 5.8 ล้านดอลลาร์นำโดย VCs ชื่อดังอย่าง Paradigm และ Cyber Fund ที่เป็นกองทุนที่นำโดย Co-Founder ของ Lido Finance ซึ่งการที่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับ Lido นั้นก็ถือเป็นหนึ่งในจุดแข็งของ Symbiotic ด้วย ซึ่งตั้งแต่เริ่มเปิดตัวก็มีการ Partner การพัฒนา Ecosystem ร่วมกับกับ Lido โดยจะกล่าวถึงในพาร์ทถัดไป

ขอบคุณภาพจาก Symbiotic

Partnership กับ Lido และ Mellow Finance

ขอบคุณภาพจาก Lido

Mellow Finance เป็นโปรเจกต์และพาร์ทเนอร์และ Alliance Member ของ Lido โดยเป็นแพลตฟอร์มที่อนุญาตให้ใครก็ได้มา Launch Customized LRTs (ที่ Backed โดย stETH) เพื่อสร้างกลยุทธ์และจุดประสงค์ที่แตกต่างกันได้ โดยเป้าหมายของ Mellow Finance คือการสร้าง Value และต่อยอดการใช้งาน stETH ของ Lido ให้สามารถมีการใช้งานเพิ่มขึ้นผ่าน DeFi Restaking Strategies ในรูปแบบต่างๆ ที่เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงและเป้าหมายการลงทุนที่แตกต่างกัน

โดยถ้าเทียบ Mellow กับแพลตฟอร์ม Liquid Restaking อย่าง EtherFi หรือ Renzo ความแตกต่างคือ Mellow เปิดให้ LRTs ที่มาเปิดตัวบน Mellow สามารถ Customize ระดับความเสี่ยงที่ต้องการได้ใน Vault ของตัวเอง ในทางตรงข้าม เราจะทำแบบเดียวกันไม่ได้บนแพลตฟอร์มอย่าง EtherFi และ Renzo เป็นต้น

โดยในช่วงเริ่มต้น Mellow จะมี 4 Vault โดย Curator 4 เจ้า ให้ผู้ถือ stETH ได้เลือกฝากได้ 

1. Restaking Vault โดย Steakhouse Financial: ผู้ฝากจะได้รับ stETH APR + Symbiotic Points + Mellow Points + Restaking APR 

2. Restaking Vault โดย P2P Validator: ผู้ฝากจะได้รับ stETH APR + Symbiotic Points + Mellow Points + Restaking APR

3. Restaking Vault โดย MEV Capital: ผู้ฝากจะได้รับ stETH APR + Symbiotic Points + Mellow Points + Restaking APR

4. Restaking Vault โดย Re7 Labs: ผู้ฝากจะได้รับ stETH APR + Symbiotic Points + Mellow Points + Restaking APR

หมายเหตุ: เนื่องจากตอนนี้ Cap การฝาก stETH บน Symbiotic ได้เต็มไปแล้ว ดังนั้นถ้าเราไปฝากบน Mellow ตอนนี้จะไม่ได้แต้ม Symbiotic แต้ว่าจะได้แต้ม Mellow Points 1.5x 

ซึ่งในปัจจุบัน Mellow ได้พาร์ทเนอร์กับ Symbiotic เพียงเจ้าเดียวในการเปิดตัว LRT ซึ่งถึงแม้ว่า Mellow จะสามารถทำแบบเดียวกันกับ EigenLayer หรือ Karak ได้ แต่น่าจะเกิดขึ้นได้ยากเพราะว่าความเกี่ยวข้องกันโดยตรงระหว่าง Lido และ Symbiotic นั่นเอง ซึ่งถือเป็นจุดแข็งอย่างหนึ่งของ Symbiotic เลยก็ว่าได้ 

Symbiotic และ Mellow Partnership กับแพลตฟอร์ม LRT

ขอบคุณภาพจาก EtherFi 

อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าเราอาจจะไม่ได้เห็นการพาร์ทเนอร์ระหว่าง Mellow กับ EigenLayer โดยตรง แต่ว่าเราน่าจะได้เห็นการพาร์ทเนอร์ระหว่าง Symbiotic กับแพลตฟอร์ม LRT ได้ เช่น ตอนนี้ Symbiotic ได้เป็นพาร์ทเนอร์กับ EtherFi ไปแล้ว โดยให้ผู้ใช้งานสามารถฝาก LST ผ่าน EtherFi เพื่อรับ weETH (Super Symbiotic LRT) และรับแต้มสามต่อจาก EtherFi, Symbiotic และ Veda* 

ขอบคถณภาพจาก Swell

โดยในอนาคตเราน่าจะได้เห็นการพาร์ทเนอร์กับ LRT เจ้าอื่นๆเพิ่มเติมอีกก็เป็นได้ เช่น Renzo, Puffer, Swell และน่าจะได้เห็นพัฒนาการอื่นๆ ในรูปแบบที่เราได้เห็นจากตัวอย่างของ EigenLayer มาแล้ว อย่างเช่นการที่ Mellow LRT สามารถนำไปใช้กับ DeFi อื่นๆต่อได้ เช่น Lending Protocol, Yield Farming, Leveraged Farming เป็นต้น 

*Veda คือ Native Yield Layer ที่เป็น Vault ที่คอยบริหารจัดการ Automated DeFi Strategies ต่างๆคล้ายกับ EtherFi Liquid

ขอบคุณภาพจาก Pendle

โดยตอนนี้เราก็ได้เห็นการ Integrate เข้ากับ Pendle Finance แล้ว ทำให้ผู้ใช้งานสามารถซื้อ YT เพื่อซื้อแต้ม Mellow Points, Symbiotic Points* และ Veda Point หรือจะซื้อ PT เพื่อรับ Yield คงที่ (อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Pendle ได้ที่นี่) สำหรับ weETH หรือ Mellow LRT 

*ถ้าเป็นในช่วงที่ Cap การฝาก stETH บน Symbiotic เต็มอยู่การฝากบน Pendle จะไม่ได้แต้ม Symbiotic แต่ตอนนี้ Symbiotic ได้ขยาย Cap เพิ่มแล้ว ดังนั้นจะได้รับแต้มตามปกติ

ความเสี่ยง

ด้วยข้อดีที่เด่นชัดของ Symbiotic คือการที่มีความยืดหยุ่นกว่า EigenLayer และสามารถเลือกใช้ Asset อื่นๆนอกจาก Ethereum Derivative ได้ ซึ่งทำให้มีความเป็นไปได้ว่าจะมีความเสี่ยงที่มากขึ้นตามมาด้วย โดยเฉพาะความเสี่ยงจาก Cascade Slashing จาก Asset ที่นำมาใช้ Restaking

นอกจากนี้ ตัว Symbiotic เองยังมีความเสี่ยงจากความที่เป็นแพลตฟอร์ม Restaking เองที่มักจะทำให้เกิดการ Leverage ของ Asset ต่อกันหลายทอด และ Yield ที่จะเกิดจาก AVS ต่างๆที่ยังไม่แน่นอนว่าจะมากน้อยขนาดไหน

สรุป

Symbiotic ถือเป็นอีกหนึ่งแพลตฟอร์ม Restaking ที่น่าจับตามองอย่างมาก โดยถึงแม้วจะเป็นคู่แข่งของ EigenLayer ที่เปิดตัวมาก่อน แต่ทาง Symbiotic เองก็มีจุดเด่นของตัวเองที่แตกต่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องของเทคโนโลยีที่มีความยืดหยุ่นมากกว่า และด้านพาร์ทเนอร์ที่แข็งแกร่งอย่างมากอย่างความเกี่ยวโยงกับ Lido อย่างชัดเจน ซึ่งเราสามารถมอง Symbiotic ว่าจะช่วยเข้ามาต่อยอดวิสัยทัศน์ของ Lido ผู้ซึ่งเป็นแพลตฟอร์ม Liquid Staking อันดับหนึ่ง ทำให้ Symbiotic มีศักยภาพอย่างมากในอนาคต

ซึ่งแน่นอนว่าข้อดีด้านเทคโนโลยีย่อมตามมาด้วยความเสี่ยง ยกตัวอย่างเช่น ความที่ Symbiotic รองรับ Asset สำหรับการ Restaking ที่หลากหลายนั่นหมายถึงความเสี่ยงของแต่ละ Asset ที่พ่วงมาด้วยนั่นเอง ส่วนในด้านของโอกาสนั้นก็ถือว่ายังมีโอกาสอีกมาก เพราะ Symbiotic นั้นถือว่ายังเป็นแพลตฟอร์มใหม่และยัง Early อยู่ นั่นหมายถึงโอกาสที่จะได้รับ Reward สำหรับผู้ที่เข้าร่วมในช่วงต้น

Author

Share :
Related
Crypto AI Agent ตั้งแต่จุดเริ่มต้นจนถึงปัจจุบัน
NFT กลับมาแล้ว ?
Bitcoin ไม่ได้การันตีว่าจะมี 21 ร้านเหรียญเสมอไป !!??
DeSci จะกลับมาอีกครั้ง เร็วๆนี้!!??