Search
Close this search box.

เจาะลึก Dencun upgrade (EIP-4844) อีกอัปเกรดครั้งใหญ่ของ Ethereum

Share :
ข้อความในย่อหน้าของคุณ (3)

Table of Contents

การอัปเกรดใหญ่ของ Ethereum ครั้งถัดไป หรือ ที่เรารู้จักกันดีในชื่อ EIP-4844 (Proto-Danksharding) คาดการณ์ว่าจะมาในช่วง Q1 ปี 2024 นี้ โดยใช้ชื่อเล่นของการอัปเกรดครั้งนี้ว่า Dencun ซึ่งมาจากการผสมผสานระหว่าง Cancun ที่เป็นชื่อของการอัปเกรด Consensus Layer และ Deneb ที่เป็นชื่อของการอัปเกรด Execution Layer 

โดยการอัปเกรดครั้งนี้จะช่วยลดค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมบน L2s ให้ถูกลงมากยิ่งขึ้น มากไปกว่านั้นยังมีอีกหลาย EIP ที่เข้ามาช่วยทำให้ Ethereum พัฒนามายิ่งขึ้นดังนี้เช่น

EIP-1153 : ที่เข้ามาช่วยปลดล็อคให้ค่าธรรมเนียมการ swap ถูกลงอีกด้วย

EIP-6780 : ทำการยกเลิกคำสั่งทำลาย smart contract หรือ ที่เรารู้จักกันในชื่อว่า “SelfDestruct” EIP-7514 : ช่วยลดความเสี่ยงที่มีต่อ Ethereum โดยการกำหนดจำนวนการ Staked ETH ต่อ Epoch ให้น้อยลง

EIP-5656 : ช่วยทำให้การ Copy memory บน EVM มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

EIP-4788 : ทำให้การทำงานของ Dapps ต่างๆ เช่น LSD มีความ Trustless มากขึ้น 

วันนี้ทางทีม Cryptomind Research จะพาผู้อ่านมาเจาะลึกรายละเอียดว่าการอัปเกรดครั้งนี้ส่งผลดีต่อ Ethereum และ L2s อย่างไรบ้าง

ขอบคุณภาพจาก https://wenmerge.com/ 

Dencun Upgrade Timeline

อ้างอิง Tim Beiko ที่เป็น Protocol support ของ Ethereum Foundation ได้มีการระบุไทม์ไลน์การอัปเกรดไว้ดังนี้

  • Goerli Testnet : 17 Jan 2024 เวลาไทยประมาณ 13:32 น.
  • Sepolia Testnet : 31 Jan 2024 เวลาไทยตี 5:51 น.
  • Holesky : 7 Feb 2024 เวลาไทย 18:34 น.
  • Mainnet : TBA  
  • หากไม่พบบัคร้ายแรงจะเป็นการอัปเกรดที่ Mainnet ในลำดับถัดไป

EIP-4844 : SHARD BLOB TRANSACTIONS

ขอบคุณภาพจาก https://eips.ethereum.org/EIPS/eip-4844 

โดยพระเอกของการอัปเกรดครั้งนี้แน่นอนว่าคงเป็น EIP-4844 นั้นเองที่จะเปลี่ยนแปลงการบันทึกข้อมูลจาก L2s ไปที่ L1 โดยจากเดิมที่จะบันทึกข้อมูลในรูปแบบ Calldata ลงไปที่ Execution Layer ทำให้เกิดเวลาค่าแก๊สของ L1 พุ่งขึ้นสูง จะทำให้ค่า Fee ของ L2s นั้นสูงขึ้นไปด้วย โดยการอัปเกรดครั้งที่จะเปลี่ยนรูปแบบการบันทึกเป็นแบบ “Blobs Data” ซึ่งจะถูกบันทึกลงไปที่ Data Layer (ในทางเทคนิคจะเป็นส่วนนึงของ Consensus Layer) ซึ่งโดยรวมแล้วจะเรียกพื้นที่ในการบันทึกแบบใหม่นี้ว่า “Blob Space”

ซึ่งตรงนี้จะช่วยปลดล็อกจำนวนการทำธุรกรรมที่ปัจจุบันเหมือนเป็นคอขวดที่ทำให้ไม่สามารถ Scale ได้ ให้สามารถรองรับธุรกรรมต่างๆได้มากยิ่งขึ้น

*Calldata หมายถึง รูปแบบธุรกรรมที่ปัจจุบัน L2 ใช้ในการบันทึกข้อมูลลงบน Ethereum

*Blobs Data หมายถึง การบันทึกข้อมูลรูปแบบใหม่ ยกมาจาก “Binary Large Object” ซึ่งจะเก็บเป็นรูปที่ผู้ที่ Run Node สามารถโหลดมาอ่านได้

ขอบคุณภาพจาก https://inevitableeth.com/en/home/ethereum/upgrades/scaling 

ชื่อ Proto-Danksharding มาจากที่ไหน

โดยการอัปเกรดครั้งนี้ได้ชื่อเรียกมาจากชื่อของ Proto Lamda หรือชื่อจริงของเขาก็คือ “Diederik Loerakker” ซึ่งเคยทำงานที่ Ethereum Foundation แต่ปัจจุบันทำงานที่ OP Labs  และ Dankrad Feist เป็น Researcher ของ Ethereum Foundation โดยได้ออกมาเป็น “Proto-Danksharding” ที่จะปูทางไปสู่การ Scale ในขั้นต่อไปเรียกว่า “Full-Danksharding”

ทำไมค่าแก๊สถึงถูกลงหลังจากการอัปเกรด EIP-4844

ในทุกวันนี้รูปแบบของการบันทึกข้อมูลรูปแบบ calldata กินสัดส่วนค่าใช้จ่ายในการบันทึกข้อมูลลง L1 ทั้งหมด 60-90% ซึ่งการบันทึกข้อมูลของ ลงบน L1 ของ Optimistic Rollups และ zk-rollups แตกต่างกันดังนี้

Optimistic Rollups : จะบันทึก Full Transaction Data กับ State Root (กรณีมีการ Dispute จะมี Fraud Proof เข้ามาด้วย)

zk-rollups : จะบันทึก Full transactions Data หรือ State Diff Data, State Root กับ Validity Proof

ซึ่ง EIP-4844 จะช่วยลดค่าใช้จ่ายส่วนของการบันทึก data ลงบน L1 และ Optimistic Rollups ค่าแก๊สจะถูกลงเยอะกว่า zk-rollups

และการเก็บข้อมูลรูปแบบใหม่ที่เรียกว่า “Blobs Data” นั้นถูกลงนั้นคือการที่ EVM (Ethereum Virtual Machine) นั้นไม่ต้องเป็นต้อง Execute คำสั่ง หรือ เรียกว่าเป็นรูปแบบ View Only (ดูได้อย่างเดียว) ซึ่งรูปแบบการบันทึกข้อมูลแบบใหม่ทำให้เกิดการแยก Fee Market (ตลาดค่าธรรมเนียม) จาก Execution Layer ผลลัพธ์คือทำให้หาก L1 มี Demand การใช้มากขึ้นจะไม่มีผลกระทบต่อค่าธรรมเนียมบน L2s โดย Data Blobs นั้นจะถูกลบออกหลังจากนั้นประมาณ 2 อาทิตย์ ทำให้ค่า Fee ถูกลงอย่างมีนัยยะสำคัญ 

ซึ่งกลไก Fee Market ของ Blobspace จะเป็น Concept เดียวกันกับ Blockspace โดยจะมี Target และ Max Size ซึ่งหากมีการใช้งาน Blob ถึง Target ค่า Fee จะค่อยๆปรับตัวสูงขึ้น และ ถ้าไม่ถึง Target ค่า Fee ก็จะลดลง โดยข้อมูลจาก eips.ethereum.org ตั้ง target ไว้ที่ 0.375 MB ต่อ Block และ Max อยู่ที่ 0.75 MB

ขอบคุณภาพจาก https://twitter.com/100y_eth/status/1684222534923821058/photo/1 

KZG Commitment สิ่งที่ช่วย Blobs Data มีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น

ขอบคุณภาพจาก : https://ceremony.ethereum.org/ 

หนึ่งในส่วนประกอบที่จะทำให้ Blobs Data สมบูรณ์มากยิ่งขึ้นคือการทำให้ EVM สามารถตรวจสอบข้อมูลของ Blobs Data ได้นั้นเอง ซึ่งวิธีการที่ Ethereum ใช้จะเรียกว่า “KZG Commitment” ซึ่งเป็นการ commit ข้อมูล กับ Polynomial (สมการคณิตศาสตร์ชนิดหนึ่ง) โดยการใช้ KZG Commitment นั้นมี Trusted Setup โดยทาง Ethereum ได้มีการปิดช่องโหว่นี้ โดยมีการเปิดให้คนมาร่วม Contribute ผ่าน KZG SUMMONING CEREMONY ที่ทำให้คนมาสร้าง Secret Input ข้อมูลเพื่อใช้เป็น Underlying Data ในการ Prove ตัว Blobs Data โดยหากต้องการจะโจมตี Hacker จะต้องรู้ Secret ของทุกๆคนที่มาร่วม Contribute ทำให้การที่ Hacker จะได้ Secret ของทุกคน และ โจมตีโดยการ Reverse Engineer เป็นไปได้ยากมากๆ ทำให้ลด Trust Assumptions ลงไปได้

EIP-1153 : Transient Storage Opcodes

EIP-1153 ได้มีการ proposed เมื่อวันที่ 15/06/2018 โดย Alexey Akhunov และ Moody Salem (เคยเป็น Uniswap Leading Engineer) และ เมื่อช่วงปีที่แล้วกลับมาได้รับการผลักดันจากทีม Uniswap และได้รับการตอบรับอย่างดีจาก Developer Community ของ Ethereum ซึ่งการอัปเกรด Dencun จะรวม EIP-1153 ด้วย 

โดยจะเป็นการเพิ่ม Opcode เข้ามา 2 ตัว ชื่อว่า “TSTORE” และ “TLOAD” ซึ่งจะช่วยเรื่องการ Optimize ค่า Gas ในบาง Use Case  โดย Transient Storage นี้จะเหมือนเป็นสร้างพื้นที่ชั่วคราวขึ้นมา เพื่อใช้ในการจดบันทึกบางอย่างและทำการเคลียร์ภายใน Transaction เดียว โดยตัวอย่าง Use Case จะเป็น Uniswap V4 จะมี Functions ชื่อว่า “Flash Accounting System” จะช่วยทำการรายงานยอด Balance ของ Pool สามารถรายงานเป็นยอด net ได้เลย ซึ่งจะช่วยลดความซับซ้อนของการเรียกใช้ Smart Contract ให้น้อยลง ส่งผลให้ค่า Gas ถูกลงยิ่งขึ้น สามารถอ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Uniswap V4 ได้ที่นี้ 

EIP-7514: Add Max Epoch Churn Limit

ขอบคุณภาพจาก https://eips.ethereum.org/EIPS/eip-7514 

EIP-7514 จะทำการจำกัดจำนวนการ Staked ETH ในแต่ละ Epoch ให้น้อยลง เพื่อลดความเสี่ยงของเครือข่าย (หากมีการ Attestion ของ Block ไม่ถึง ⅔ Ethereum จะไม่สามารถเข้าสู่สถานะ Finalized ได้) โดยจะ Max Churn Limit ที่ 8 ซึ่งการที่มี Validator บนเครือข่ายเป็นจำนวนมาก ก็เพิ่มความซับซ้อนในการทำงานมากขึ้นไปด้วยเช่นกัน 

Liquid Staking Derivative เป็น Narrative ที่น่าจับตามองเป็นอย่างมากในช่วงต้นปี 2023 และ ตลอดระยะเวลาที่ผ่าน ETH มียอดการ Staked เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ช่วงต้นปี 2023 ซึ่งแน่นอนว่าเหรียญกลุ่มนี้ก็เติบโตขึ้นเป็นอย่างมากในช่วงที่ผ่านมา และ แพลตฟอร์มที่เป็นผู้นำด้านนี้คือ Lido ที่กินส่วนแบ่ง 31.5% จากสัดส่วนการ Staking ทั้งหมด โดยมี ETH ที่ Staked กับ Lido เกือบ 1 ใน 3 ของทั้งเครือข่ายเลยทีเดียว ซึ่งตรงนี้อาจส่งผลเสียกับ Ethereum ได้ ทำให้เหรียญกลุ่ม LSD อาจจะเติบโตได้ช้าลง

*Max Churn Limit คือ เป็น Parameter ในการใช้คำนวณจำนวนที่คนสามารถ Staked หรือ Unstaked คำนวณตามสูตร (Epoch Churn Limit = max(4, Active_Validators/65,536) 

ขอบคุณภาพจาก https://dune.com/hildobby/eth2-staking

EIP-5656: MCOPY – Memory Copying Instruction

EIP-5656 จะเพิ่ม Opcode ตัวใหม่ชื่อว่า MCOPY ซึ่งจะช่วยให้การ Copying Memory บน EVM มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และ ทำให้ค่า Gas ถูกลง ซึ่งปัจจุบันการใช้ Memory บน EVM มีค่าใช้จ่ายในการใช้งาน ค่อนข้างสูง ซึ่งทำให้สามารถประมวลผลสิ่งที่ซ้บซ้อนได้มากขึ้น และ ประหยัดค่า Gas ลงได้เยอะมาก

 *Memory บน EVM เป็นเหมือนพื้นที่ในการจัดเก็บข้อมูลและจะถูกเคลียร์หลังจากคำสั่งนั้นๆถูก Execute ซึ่งแตกต่างกับ Storage ที่จะเก็บไว้บนทุกๆ Node บนเครือข่าย Ethereum แบบถาวร  

EIP-4788: Beacon Block Root in the EVM

EIP-4788 จะช่วยให้การทำงานของ Liquid Staking, Smart Contract-based Bridges และ Restaking Solution มีความ Trustless มากยิ่งขึ้นโดยการที่ Consensus layer จะทำการ Commit Hash Tree Roots ให้กับ Execution Layer 

ซึ่งทุกวันนี้การที่จะ Execute ข้อมูลจาก Consensus Layer จำเป็นต้องเชื่อใจการ Feed ข้อมูลของ Oracle ว่า Feed ข้อมูลมาถูกต้อง แต่หลังจากการอัปเกรด EIP-4788 จะทำให้ Execution Layer สามารถเข้าถึง Hash Tree Roots ได้โดยไม่ต้องใช้ Oracle ช่วยลด Trust Assumption ของเครือข่ายได้

EIP-6780: SELFDESTRUCT 

EIP-6780 หรือ Functions “SELFDESTRUCT” จะเอาไว้ใช้ทำลาย Smart Contract ต่างๆ เพื่อลดการเก็บข้อมูลของ node และจะทำการคืนเงินใน Smart Contract นั้นๆไปที่ Address ของผู้ที่คนเขียน Code ระบุ โดยการอัปเกรดครั้งนี้จะนำ Functions นี้ออกไป เนื่องจาก Functions นี้ไม่ได้ถูกใช้งานมากหนัก และ ก่อให้เกิดผลเสียหลายอย่างตามมา และอีกหนึ่งเหตุผลคือ Functions นี้ไม่สามารถทำงานร่วมกับ Data Structure ในอนาคตของ Ethereum ได้ ซึ่งหมายถึง Verkle Tree ที่อยู่ใน Roadmap ของ Ethereum ในส่วนของ The Verge

โดย Code ตัวนี้เคยก่อปัญหาใหญ่ให้กับ Optimism อยู่ครั้งนึงที่เกิดเป็น Super Critical Bug เลยก็ว่าได้ ซึ่งช่องโหว่นี้สามารถ Mint ETH ได้ไม่จำกัด โดยผู้ที่พบช่องโหว่นี้เป็น White Hat Hacker ชื่อว่า Jay Freeman เนื่องด้วยการอัปเกรดของ Optimism ที่เปลี่ยนจาก EVM Compatible เป็น EVM Equivalent ทำให้เกิดช่องว่างส่วนของ SELFDESTRUCT Functions แต่ก็ได้มีการแจ้งทีม Optimism จากนั้นทำการอุดช่องโหว่ในทันที และทาง Jay Freeman ก็ได้รับเงินรางวัลจากการพบช่องโหว่ครั้งนี้ไปถึง $ 2,000,042 เรียกได้ว่าเต็ม Max เลยทีเดียว

วิเคราะห์โปรเจกต์ที่ได้รับผลดีจากการอัปเกรดครั้งนี้

หัวใจสำคัญของการอัปเกรดครั้งนี้จริงๆแล้วคือ EIP-4844 ที่หลายๆคนรอคอยที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ และ ลดค่า Gas ลง จากการคาดการณ์อยู่ที่ 10-100 เท่า แน่นอนด้วยเหตุผลนี้โปรเจกต์ที่ได้รับผลดีก็จะเป็นกลุ่มของเหรียญ L2s ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มของ Optimistic Rollups หรือ zk-rollups ทั้งหลาย โดยหลังจากการอัปเกรดครั้งนี้จะช่วยให้เหรียญกลุ่มนี้มีกำไรในการดำเนินการมากยิ่งขึ้นซึ่ง ณ ปัจจุบันกำไรโดยเฉลี่ยของ L2s ต่างๆจะอยู่ที่ประมาณ 10-30% ขึ้นอยู่กับค่า gas ของ L1 ที่มีการขึ้นลงในแต่ละช่วงเวลา และ ด้วยต้นทุนที่ถูกลงในการอัปเกรดครั้งนี้ทำให้ Sequencers มีโอกาสทำกำไรมากยิ่งขึ้นมากเลยทีเดียว

ต่อไปเป็นตารางการเปลี่ยนเทียบ Metrics ของ Arbitrum กับ Optimism จะเป็นอย่างไรลองไปดูกัน โดยรายละเอียดตามด้านล่างได้เลย

Arbitrum vs Optimism

ในกลุ่ม Layer 2 แบบ Optimistic Rollups จะไม่พูดถึง Arbitrum และ Optimism ไม่ได้เลย เนื่องจากเป็น 2 ผู้นำในด้านการ Scaling ของ Ethereum ที่มี TVL สูงสุดในบรรดา Layer 2 ทั้งหมด ณ ปัจจุบัน 

ซึ่งจากข้อมูลทั้งหมดที่นำมาเป็นตัวชี้วัดจะทำให้รู้เลยว่า Arbitrum มีภาษีดีกว่า Optimism อยู่พอสมควร โดยรายละเอียดคือ

  • Revenue (annualized) ที่ Arbitrum ทำได้มากกว่า Optimism ถึง 92.32%
  • Daily Active User ของ Arbitrum มากกว่า Optimism ถึง 32.85%
  • จำนวน TVL ทั้งหมด ของ Arbitrum มากกว่า Optimism 104.65%
  • Market share ของ Layer 2 ทั้งหมด Arbitrum อยู่ที่ 50.14% ส่วน Optimism อยู่ที่ 24.50%
  • TVL Utilized Percentage ของ Arbitrum อยู่ที่ 24.76% ส่วนของ Optimism อยู่ที่ 14,94%

ส่วน zk-rollups ตัวชี้วัดอาจจะยังไม่ครบถ้วนมากนัก และ บาง Chain ยังไม่มีเหรียญเป็นของตัวเองทำให้การวัด แต่ก็เป็นกลุ่มที่ได้ประโยชน์จากการอัปเกรดครั้งนี้เหมือนกัน โดยอาจจะทำให้มีคนไปใช้งานมากขึ้นเนื่องจาก ณ ปัจจุบัน ราคาค่า Gas แพงกว่า Optimistic rollups อยู่พอสมควร และ เทคโนโลยียังไม่โตเต็มที่ทำให้ยังมีความกังวลเรื่อง Bug ที่อาจจะเกิดขึ้นจากความซับซ้อนของระบบได้

แต่เราก็จะดูแต่ข้อมูล On-chain เปรียบเทียบอย่างเดียวไม่ได้ โดยอาจจะมีการเปรียบเทียบ Business Model ของเหรียญ และ Adoptions เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย 

ตารางเปรียบเทียบ Business model ของ chain ต่างๆ

หากดูจากตารางเปรียบเทียบ Business Model จะเห็นได้ว่า Superchain ของ Optimism จะค่อนข้างมีความคล้ายคลึงกับ zksync เป็นอย่างมาก โดยคนที่นำ Code-based ไปใช้ไม่จำเป็นที่ต้องสร้าง Chain on top ก็ได้ จะแตกต่างจาก Starknet และ Arbitrum ที่จะต้องสร้าง Chain L3s on top ข้างบน ตรงนี้จะทำให้มี Value Capture ดีกว่า 2 chain ก่อนหน้า แต่พูดถึงการที่มีคนนำ Code-based ไปใช้ทีมที่ทำ Open-source และให้คนสามารถนำไปใช้ได้จะมี Adoptions ที่ดีกว่า ตัวอย่างคือ Optimism ที่มีหลายๆทีมที่ใช้ Opstack เช่น

  • Base : เป็น chain ของ Coinbase ที่เป็น CEX ที่ใหญ่ที่สุดใน US โดยมีผู้ใช้งานกว่า 100 ล้านคน 
  • Mantle Network : เป็นของ BitDAO ก่อตั้งโดย Bybit ที่เป็นหนึ่งใน CEX อีกทั้งยังเป็น 1 ใน DAO ที่ใหญ่ที่สุด ซึ่งถูก Backed โดยนักลงทุนชื่อดังอย่าง Peter Thiel (อดีต Co-founder Paypal) และ VCs เจ้าอื่นๆ ซึ่งมี Treasury ประมาณ $ 2.1 B และ มีเงิน Ecosystem fund $ 200 M ให้กับ chain สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่นี้ 
  • Zora Network : zora เป็น platform ที่ทำเกี่ยวกับ NFT Marketplace โดยต้องการจะสร้าง chain โดยใช้ Opstack  
  • World Coin : จะทำเกี่ยวกับ Digital identities ที่เรียกว่า World ID โดยใช้เทคโลยี สแกนม่านตา ในการยืนยันตัวตน และ ยังคงความ privacy อีกด้วย (น่าจะต้องใช้เทคโลยี zk เข้ามาช่วย) ซึ่ง project นี้ raise fund ได้ทั้งหมด $ 240 M ซึ่งเป็นเม็ดเงินมหาศาล และ founder คือ Sam Altman ที่เป็น CEO บริษัท OpenAI คนปัจจุบัน (บริษัทที่ทำ Chatgpt) สามารถอ่านบทความวิเคราะห์เพิ่มเติมได้ที่นี้
  • OpBNB : ซึ่งจะเป็น Optimistic rollups ที่อยู่บน BNB chain โดยใช้ code-based ของ Opstack ซึ่งเจ้าของคือ Binance
  • Lyra : เป็น Option Trading Protocol ที่อยู่บน Optimism ซึ่งได้มีการประกาศว่าจะทำ L2 ของตัวเองโดยใช้ Opstack
  • Debank : เป็น Portfolio Tracker ที่ช่วยให้ User สามารถจะ Track Asset ของตัวเอง หรือ ของผู้อื่นได้ ช่วยให้สะดวกแก่การดูว่าเรามี asset อยู่ที่ Platform ไหนบ้างจำนวนเท่าไหร่ ซึ่งพึ่งเปิดตัว L2 ที่ใช้ Opstack เมื่อวันที่ 11/08/2023

อย่างไรก็ตามในช่วงที่ผ่านมา Ecosystem ของ Arbitrum Orbit ของเติบโตมากยิ่งขึ้น โดยมี Xai เป็นบล็อกเชน L3 ที่ทำเกี่ยวกับเกมที่มีการ Co-developed กับทาง Offchain Lab หรือ Winr ที่จะทำเป็น Liquidity Layer ให้กับแพลตฟอร์มพนันต่างๆสามารถมาสร้างโปรเจกต์ On Top ได้ แต่ถ้าเทียบกับฝั่ง Opstack ที่มี CEX เจ้าใหญ่ไปใช้ถึง 2 เจ้า ก็ยังถือว่าสู้ไม่ได้อยู่ดี

ขอบคุณภาพจาก https://twitter.com/ArbHubETH/status/1752731863490396346/photo/1 

การอัพเกรดครั้งนี้จะทำมีผลกระทบกับรายได้บน Ethereum หรือไม่

จากการรวบรวมข้อมูลค่า fee ของ Ethereum และ L2s ต่างๆจาก cryptofee และ artemis ต่อ 1 วัน และ เฉลี่ย 7 วัน จะพบว่าค่าธรรมเนียมของ Ethereum ต่อวันอยู่ที่ประมาณ $ 6,367,752.81 และ ค่าธรรมเนียมของ L2s ต่างๆรวมกันอยู่ที่ $ 738,500 เป็นสัดส่วนเพียงแค่ 11.60% จากค่า Fee ที่ Ethereum เก็บได้เท่านั้น ซึ่งจากข้อมูลตามตารางด้านล่างการอัปเกรดครั้งนี้อาจจะไม่ได้กระทบกับเรื่องค่า fee ของ Ethereum มากนัก 

สรุป

การอัปเกรด Cancun-Deneb (Dencun) จะทำให้ค่า fee บน L2s ถูกลงอย่างมากด้วยการบันทึกข้อมูลรูปแบบใหม่ชื่อ “Blobs Data” ซึ่งจะช่วยให้ค่า fee ในกลุ่ม Optimistic Rollups ถูกลงอย่างมีนัยยะสำคัญ เนื่องจากปัจจุบัน L2s กลุ่มนี้มีค่าใช้จ่ายในการบันทึกข้อมูลรูปแบบ Calldata ถึง 60-90% ส่วน zk-rollups ก็จะถูกลงเหมือนกัน แต่อาจจะสู้กลุ่ม Optimistic Rollups ไม่ได้ เนื่องจาก zk-rollups จำเป็นต้อง submit proof ลงบน L1 (zk proof) ซึ่งส่วนนี้ค่อนข้างจะใช้ทรัพยากรของ L1 จำนวนนึงเลยทีเดียว มากไปกว่านั้น L2s ต่างๆยังสามารถเพิ่มโอกาสการทำกำไรได้มากขึ้นไปอีก

และการอัพเกรดครั้งนี้ยังรวมไปถึง EIP-1153 ที่จะช่วยเพิ่มศักยภาพของ DEX ช่วยทำให้การ Swap ค่า Fee ถูกลงอีกด้วย

ส่วนผลกระทบเรื่องรายได้บน Ethereum ที่อาจจะมีคนกังวลอยู่บ้างเนื่องจากค่า Fee ถูกลงทำให้รายได้อาจจะลดลงตามไปด้วย แน่นอนว่ารายได้ของ Ethereum นั้นลดลงแน่นอน แต่ค่า Fee บน Ethereum ส่วนใหญ่แล้วเกิดจาก Activites บน L1 เป็นหลัก ทำให้ผลกระทบอาจจะไม่ได้สูงมากอย่างที่หลายๆคนกังวล

Author

Share :
Related
Cryptomind Monthly Outlook (November 2024)
Cryptomind Monthly Outlook (October 2024)
Thailand Blockchain Landscape 2024
Technical Analysis $SUI $FTM by Cryptomind Advisory (15 Oct 24)