Search
Close this search box.

Mantle Network: หนึ่งผู้ท้าชิงที่มีศักยภาพในศึกการแข่งขัน Rollup

Share :
mantle

Table of Contents

1. Mantle Network: Layer 2 Scaling Solution จาก BitDAO

Mantle Network เป็น Layer 2 ที่ใช้เทคโนโลยี Optimistic rollup ซึ่งมี Bybit (ผู้เป็นหนึ่งใน Contributor สำคัญใน BitDAO Treasury) เป็นผู้สนับสนุนหลักของโปรเจกต์ นอกจากนี้ BitDAO ยังได้รับเงินสนับสนุนจาก Bybit เพื่อใช้ในการพัฒนาและเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินการของ Mantle Network โดยในช่วงเริ่มต้น Bybit จะแบ่งเงินเข้า BitDAO Treasury ในอัตราส่วน 0.025% ของปริมาณการซื้อขายสัญญาฟิวเจอร์บนแพลตฟอร์มจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2023 อย่างไรก็ตาม เมื่อมี Proposal BIP-20: Adjustments to Bybit Contributions to the BitDAO Treasury จึงได้มีการปรับเปลี่ยนแนวทางการสนับสนุน BitDAO คือทาง Bybit จะให้เป็นเหรียญ $BIT จำนวน 2,700 ล้าน $BIT แทน (มูลค่า 1,050 ล้านดอลลาร์ตามข้อมูลในวันที่ 28 มิถุนายน 2023) โดยจะทยอยจ่ายในระยะเวลา 48 เดือน ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้มีจุดประสงค์เพื่อลดการพึ่งพา Bybit 

โดย BitDAO ในปัจจุบัน BitDAO Treasury มีมูลค่ารวม 3,200 ล้านดอลลาร์ ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งใน Treasury ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ดังนั้น Mantle Network จึงเป็นโปรเจกต์ที่มี Back ที่มีเงินสนับสนุนที่จะช่วยสร้างการเติบโตของ Ecosystem มูลค่าสูงมาก โดยทาง Mantle Network ได้เปิดตัว Testnet ไปในเดือนมกราคม 2023 ที่ผ่านมาและมีแผนที่จะเปิดตัว Mainnet ในภายหลังปีนี้

ในปัจจุบัน Bybit, BitDAO, และ Mantle Network มีความเชื่อมโยงกันผ่านการใช้งานเหรียญ $BIT ซึ่งทั้ง BitDAO และ Mantle Network ใช้เหรียญ $BIT เป็น Governance และ Native token ตามลำดับ ส่วนการรักษาเสถียรภาพในด้านราคาของเหรียญนั้น ทาง Bybit ก็ได้มีนโยบายการป้องกันเอาไว้แล้ว อย่างเช่น การ Burn เหรียญก่อน BIP-20 และการลด Circulating supply ของเหรียญ $BIT ภายหลังการปรับใช้ BIP-20 อย่างไรก็ตาม คาดว่าโครงสร้างนี้จะเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญหลัง Proposal ล่าสุดที่ชื่อว่า BIP-21: Optimization of Brand, Token, and Tokenomics ที่มีการนำเสนอให้มีการรวม Bybit, BitDAO และ Mantle Network เข้าด้วยกันให้เป็น “Mantle Ecosystem” โดยรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับแผนการรวมนี้จะถูกประกาศในอนาคต

2. Modular Rollup ตัวแรกที่ใช้ EigenDA เป็น Data Availability Layer

2.1 ข้อจำกัดของ Rollups ที่มีในปัจจุบัน: ต้นทุนในการทำ Transaction Data Publication สูง

ข้อดีของเทคโนโลยี Rollups คือข้อมูลการทำธุรกรรมจะถูกบันทึกลงบนเชน Ethereum ซึ่งทำหน้าที่เป็น Data Availability (DA) layer และยังได้รับ Security จากเชน Ethereum ด้วย อย่างไรก็ตามเทคโนโลยี Rollups ยังมีข้อจำกัดบางอย่างอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในส่วนของการ Publish ข้อมูลธุรกรรมลงไปบนเชน Ethereum ยังมีต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูงอยู่ ซึ่งค่าใช้จ่ายเหล่านี้สามารถแบ่งออกเป็นส่วนประกอบหลักๆ 2 ส่วนคือ  

1) ค่าใช้จ่ายในการทำธุรกรรม (L2 gas fee) 

2) ค่าใช้จ่ายในการ Publish ธุรกรรมไปยัง Ethereum (L1 data publication fee) 

ซึ่งค่าใช้จ่ายในข้อ 2 เป็นปัจจัยที่สำคัญมากอย่างที่เห็นจากตัวอย่างที่เกิดขึ้นกับเชน Arbitrum และ Optimism โดยเฉลี่ยค่าใช้จ่ายในการ Publish ข้อมูลธุรกรรมไปยัง Ethereum นั้นคิดเป็นประมาณ 73% และ 79% ของค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมทั้งหมดของ Arbitrum และ Optimism ตามลำดับ โดยตัวเลขที่ว่านี้อาจพุ่งขึ้นเกิน 90% ในเวลาที่เชน Ethereum ที่กำลังมีการใช้งานอย่างหนาแน่น (เช่นแสดงในภาพด้านล่าง) ดังนั้น โดยสรุปแล้วจะเห็นว่า Rollups ยังมีปัญหาเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการ Publish ข้อมูลธุรกรรมที่สูงอยู่ ซึ่งเป็นผลมาจากการ Trade-off ระหว่าง Security และ Cost นั่นเอง

2.2 Mantle Network: ใช้ EigenDA เป็น Data Availability Layer ในการแก้ปัญหาด้าน Security และ Cost

ดังนั้นเพื่อแก้ไขข้อจำกัดของเทคโนโลยี Rollups ที่มีอยู่ในปัจจุบัน Mantle Network ได้ตัดสินใจใช้ EidenDA เป็น DA layer แทนที่ Ethereum mainnet ซึ่งวิธีการนี้จะทำให้ Mantle Network เป็น Execution layer ในขณะที่ Ethereum จะเป็น Settlement และ Consensus layer ส่วน EigenLayer จะเป็น DA layer อันเป็นแนวคิดแบบ Modular Blockchain นั่นเอง

การใช้ EigenDA ทำให้ Mantle Network ได้รับประโยชน์จาก Security ของ Ethereum Network โดยสามารถประหยัดต้นทุนแบบมีนัยสำคัญไปด้วยในเวลาเดียวกัน ซึ่ง EigenLayer ทำหน้าที่เป็น Smart contract ที่ทำให้สามารถแชร์ Security ของ Ethereum ให้กับ Infrastructure หรือ DApps อื่นๆได้ โดยหลักการคือ ทาง EigenLayer จะรวบรวม Security จาก Staked ETH ของบรรดา Validator node เพื่อนำมาเพิ่มความแข็งแกร่งให้ DApps หรือ Infrastructure ต่างๆที่ต้องการใช้ Security จาก Ethereum นอกจากนี้จะส่งผลทำให้ Validator nodes ไม่ถูกจำกัดการรับผลตอบแทนจาก Ethereum Proof-of-Stake เพียงอย่างเดียว แต่ว่าสามารถมีรายได้เพิ่มเติมจากการเป็น Node ให้กับ DApps ต่างๆได้ด้วย (อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ EigenLayer ได้ที่นี่) และด้วยกลไกของ EigenLayer นี้เองที่ทำให้ EigenDA ช่วยให้ Mantle Network ได้ใช้บริการ Validator nodes ของ Ethereum ซึ่งส่งผลทำให้ Mantle Network ได้รับ Security ที่แข็งแกร่งจาก Ethereum Network ไปด้วยนั่นเอง

นอกจากนี้ EigenDA ยังมีช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายเมื่อเปรียบเทียบกับ Ethereum Network เพราะว่า Operator nodes บน EigenDA จะเก็บข้อมูลการทำธุรกรรมเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น จึงไม่ต้องมี Ledger (บัญชีแยกประเภท) แยกออกมาต่างหาก โดยจะใช้การบันทึกการยืนยันธุรกรรมลงใน Ethereum เพื่อเป็นการยืนยันว่าได้บันทึกข้อมูลลงบน DA layer เรียบร้อยแล้ว ซึ่งการทำแบบนี้ทำให้ Mantle Network สามารถลดค่าใช้จ่ายได้อย่างมากเมื่อเทียบกับเทคโนโลยี Rollups แบบปกติทั่วไป โดยทาง Mantle Network ตั้งเป้าว่าจะลดค่าใช้จ่ายในการทำธุรกรรมลงได้ถึง 80% และถึงแม้ว่า Operators จะสามารถเข้าถึงข้อมูลได้แค่บางส่วนเท่านั้น แต่ Data Availability จะถูกทำให้ดีขึ้นเนื่องจากว่าสามารถสร้าง Complete dataset ขึ้นมาใหม่จากการรวบรวม Data จาก Operators หลายๆราย ดังนั้นการที่ Mantle Network นำ EigenDA มาใช้จึงช่วยแก้ปัญหาทั้งด้าน Security และ Cost ของ Rollups ได้ในเวลาเดียวกัน โดยที่ยังมี Data Availability ที่แข็งแกร่งไปด้วย

2.3 เพิ่มความเร็วในการถอนด้วยการนำ MPC มาใช้ เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่สร้างความแตกต่างให้ Mantle Network

Mantle Network มีความโดดเด่นแตกต่างจาก Rollups อื่นๆจากฟีเจอร์พิเศษหลายๆอย่างที่ไม่ใช่แค่การเป็นผู้บุกเบิกการนำ Data Availability แยกไปอยู่บน DA layer ตามแนวคิดของ Modular Rollup นอกจากนี้ยังมีการนำเอา Multi-Party Computation (MPC) เข้ามาเพื่อลดเวลาในการถอน โดยในปัจจุบันกระบวนการถอนใน Optimistic Bridge ใช้เวลา Challenge period ทั้งหมด 7 หลังจากการทำธุรกรรม ซึ่งระยะเวลาดังกล่าวอาจเป็นอุปสรรคต่อผู้ใช้เมื่อพยายามเรียกคืนสินทรัพย์กลับสู่ Ethereum Network ดังนั้นเพื่อแก้ปัญหานี้ ทาง Mantle Network โดยมีเป้าหมายจะลด Challenge period ลงโดยการใช้ MPC

ทาง Mantle ได้นำคอนเซปต์ TSS (Threshold Signatue Scheme) ซึ่งใช้ในการ Validate บล็อกใน Rollups มาใช้ในการ Validate ธุรกรรมบน Mantle Network โดยการที่จะเป็น Node บน Mantle Netowrk จะต้องทำตามเงื่อนไขดังนี้

1) Stake เหรียญ $MNT ตามจำนวนที่กำหนด บน Ethereum 

2) ผ่านการประเมินจากทีมงาน Mantle Network เพื่อ Validate บล็อกที่ถูกสร้างขึ้นโดย Sequencer

TSS จะคำนวณ State roots จากข้อมูลการทำธุรกรรมและทำการอนุมัติการเปลี่ยนสถานะสำหรับธุรกรรมที่ถูกต้อง โดยเมื่อ Node อนุมัติบล็อกจำนวนมากขึ้น ความมั่นใจในความถูกต้องของบล็อกจะเพิ่มขึ้นตามไปด้วย โดยการทำ Pre-validate ข้อมูลการทำธุรกรรมในระดับ Rollups จะเป็นแนวทางที่มีศักยภาพในการลดระยะเวลาของ Challenge period เหลือเพียง 1-2 วันได้ตามที่ทาง Mantle Network ได้กล่าวไว้ตาม Document ของโปรเจกต์

เพื่อให้รักษาความปลอดภัยของระบบ จะมีการ Slashing เหรียญ $MNT ที่ Stake อยู่ในกรณีที่พบพฤติกรรมที่เป็นอันตรายต่อระบบ โดยเหรียญ $MNT ที่ถูก Slash จะถูกนำไปแจกจ่ายให้กับ TSS Node ที่ทำงานถูกต้องตามปกติ ซึ่งเป็นระบบที่ช่วยสร้างแรงจูงใจให้ Node ทำงานอย่างถูกต้อง และลดความเสี่ยงที่จะเกิดความผิดพลาดในการทำงานของเครือข่ายได้ โดยถึงแม้ว่าในขณะนี้ทีมงานของ Mantle Network จะเป็นผู้คัดเลือก TSS Node อยู่ แต่ในอนาคต TSS Node จะถูกเลือกผ่าน Governance ในอนาคตเพื่อลดความ Centralization 

* เหรียญถูกเปลี่ยนชื่อจาก $BIT จากส่วนหนึ่งของ Proposal BIP-21

แผนผังของ TSS data flow ที่มา: Mantle Network

3. ก้าวต่อไปของ Mantle Network

3.1 การวางแบรนด์ Mantle Network เพื่อเป็นศูนย์รวมของ Ecosystem

Mantle Network มีการวาง Roadmap สำหรับในปี 2023 นี้ โดยมีแผนจะเปิดตัว Mainnet ในช่วงปลายไตรมาสที่ 2 หรือช่วงต้นไตรมาสที่ 3 หลังจากการอัปเกรด BIP-21 ที่ประกอบไปด้วยการ Optimize ในส่วนต่างๆโดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของ Brand และ Tokenomics ซึ่งจุดประสงค์หลักของการอัปเกรด BIP-21 คือทำให้ Ecosystem มีความ User-friendly มากขึ้นและรวม Ecosystem ที่มีอยู่ตอนนี้ที่ยังแยกกันอยู่ ซึ่งประกอบด้วย Mantle Network, BitDAO และ BIT Ecosystem เข้าด้วยกันเป็นแบรนด์เดียวกันภายใต่ชื่อว่า “Mantle” โดยในอนาคตการออก Product ภายใต้แบรนด์จะมีชื่อนำหน้าด้วยคำว่า “Mantle” เป็น Default เสมอนั่นเอง (เช่น Mantle Network, Mantle LSD เป็นต้น) สำหรับในส่วน Governance และ Treasury จะถูกเรียกว่า Mantle Governance และ Mantle Treasury ตามลำดับ และเพื่อเป็นการทำให้ Mantle เป็นแบรนด์ที่เป็นที่รู้จักในนาม Layer 2 โดยสมบูรณ์ ก่อนการเปิดตัว Mainnet เหรียญ $BIT จะถูกแปลงเป็น $MNT ด้วย นอกจากนี้ กิจกรรมทั้งหมดในอนาคต เช่น การลงทุน การ Bootstrap และการหา Partner จะดำเนินการภายใต้แบรนด์ “Mantle” ทั้งหมด

3.2 การเปิดตัวเหรียญ $MNT เพื่อเป็นโทเค็น Layer 2 ก่อนการเปิดตัว Mainnet

เนื่องจากในตอนแรกเหรียญ $BIT ถูกออกแบบมาเพื่อเป็น Governance token ของ BitDAO เท่านั้น โดยไม่ได้มีการออกแบบมารองรับการใช้งานบนเครือข่าย Layer 2 แต่อย่างใด ดังนั้นเหรียญ $BIT ทั้งหมดจะถูกแปลงเป็น $MNT ก่อนการเปิดตัว Mainnet โดยจะมีการเพิ่มฟังก์ชันการใช้งานสำคัญในการเป็นเหรียญ Layer 2 ทั้งหมด โดยในวันที่ 9 มิถุนายน ทางทีมงาน Mantle Network จะทำการ Deploy contract สำหรับเหรียญ $MNT บนเครือข่าย Goerli testnet และผู้ใช้งานสามารถแปลง $BIT เป็น $MNT ในอัตราส่วน 1:1 ได้

การแปลงจาก $BIT เป็น $MNT จะไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญต่อกระบวนการ Governance ที่มีอยู่ในปัจจุบัน แต่ว่า $MNT จะถูกใช้เพิ่มเติมสำหรับการจ่ายค่าแก๊สและการ Stake บน Mantle L2 Network นอกจากนี้เหรียญ $MNT จะมีฟังก์ชั่นที่รองรับการอัปเกรดและ “Mint and Burn” ด้วย ในลักษณะที่คล้ายกับเหรียญ Layer 2 อื่นอย่างเช่น $ARN และ $OP เป็นต้น โดยการเพิ่มฟังก์ชั่นของเหรียญ $MNT ดังกล่าวจะเป็นการทำให้เหรียญ $MNT รองรับการพัฒนา Product อื่นๆที่จะต่อยอดตามมาในอนาคตได้โดยที่ไม่ต้องทำการ Migrate เหรียญ เช่น การมีฟังก์ชั่นอย่าง “Mint and burn” จะช่วยสนับสนุนการเติบโตของ Ecosystem ในระยะยาวได้ เป็นต้น หากผู้อ่านต้องการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับการออกแบบเหรียญ $MNT และพารามิเตอร์ในการแปลงเหรียญ สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ MIP-22: Mantle Token Design, Conversion Parameters, and Asset Handling

3.3 “Ringwood” Testnet เฟส 2

หลังจากเปิดตัว Testnet เฟสแรกที่ชื่อว่า “Wadsley” ไปเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2023 โครงการทดสอบ Testnet ก็ได้เข้าสู่เฟสที่ 2 ที่เรียกว่า “Ringwood” เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2023 ที่ผ่านมา โดยในช่วงเฟส 1 นั้นก็ได้มีจำนวนการทำธุรกรรมรวมทั้งหมด 7.5 ล้านครั้ง ประกอบไปด้วยจำนวน Monthly Active Wallet ทั้งหมด 207,000 Wallet และมีการเรียกใช้ Smart contract จำนวน 67,000 ครั้ง

สิ่งที่คาดหวังจากการทดสอบ Ringwood testnet คือ: 

1) การ Integrate เข้ากับ EigenDA อย่างสมบูรณ์

2) การ Onboard ของ TSS nodes และ DA nodes*

3) การ Integrate ระบบ Fraud proofs 

โดยเมื่อ Integrate เข้ากับ EigenDA เรียบร้อยแล้ว จะทำให้การรวบรวมข้อมูลการทำธุรกรรมจากเดิมที่ส่งไปยัง CTC ถูกย้ายไปที่ EigenDA แทน ซึ่งทางทีมงาน Mantle เน้นย้ำว่าการที่ปริมาณข้อมูลที่ส่งไปยัง L1 ได้ลดลง จะช่วยทำให้ค่า Gas สำหรับการทำธุรกรรม L2 ลดลงอย่างมีนัยสำคัญมากถึง 70% นอกจากนี้ทาง Mantle ได้เริ่มการ Onboard TSS และ DA nodes เรียบร้อยแล้ว ซึ่งผลคือทำให้เครือข่ายมีความปลอดภัยและ Decentralized มากขึ้น สำหรับในส่วนของกระบวนการ Fraud proof ทาง Mantle ได้ร่วมมือกับบริษัท “Specular” ซึ่งเป็นบริษัทที่เน้นการพัฒนา Fraud proofs สำหรับ Optimistic Rollups แบบ EVM-Native โดยกระบวนการดังกล่าวได้รวบรวมและทำการ Fraud proof ในระดับ EVM ซึ่งหมายถึงว่า Ethereum clients อย่างเช่น Geth, Besu, และ Eragon สามารถ Intereact กับระบบ Fraud proof ของ Mantle Network ได้โดยตรง ซึ่งเป็นการช่วยลด Trust assumption ระหว่าง Validators, Clients และ Compilers เมื่อเทียบกับ Optimistic rollups แบบดั้งเดิมที่ยังต้องพึ่งพา EVM ที่แยกออกมา สำหรับผู้อ่านที่ต้องการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Fraud proofs ของ Mantle Network สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่ และอย่างที่กล่าวไปก่อนหน้านี้ ทาง Mantle กำลังจะเปิดตัว Mainnet ในช่วงปลายไตรมาสที่ 2 หรือช่วงเริ่มไตรมาสที่ 3 ภายหลังจากการทดสอบ Testnet เฟส 2

*Node ที่เก็บข้อมูล Calldata

4. Technical Specifications และ Mantle Governance: ความได้เปรียบในอนาคต

หลังจากเปิดตัว Mainnet ทาง Mantle Network มีแผนสร้าง Adoption ให้เกิดขึ้นเป็นวงกว้างโดยการสร้าง Partner กับผู้เล่นจากทั้งในอุตสาหกรรม Web2 และ Web3 โดยมี 2 ปัจจัยหลักที่สร้างความโดดเด่นให้กับ Mantle Network ที่จะสามารถดึงดูดผู้นำจากทั้ง Web2 และ Web3 มาได้คือ Technical Specifications ที่แข็งแกร่งและเงินทุนจาก Mantle Governance

Technical Specifications ของ Mantle Network คือหนึ่งในปัจจัยสำคัญทำให้ Mantle เป็นทางเลือกที่น่าสนใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายในอุตสาหกรรม Web3 เพราะช่วยลดค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมได้มากถึง 70-80% โดยที่ยังได้ Security จากเชน Ethereum ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาของ Rollups ที่มีอยู่ในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันที่การแข่งขันของ Rollups ถือว่าสูงมาก ทาง Mantle จะต้องแสดงให้เห็นว่าสามารถให้ความปลอดภัยระดับสูงด้วยค่า Fee ที่ต่ำบน Mainnet ให้ได้

สำหรับในเรื่องของการ Onboard ผู้เล่นจาก Web2 แล้ว การมีเพียงแค่ฟีเจอร์แบบ Advance ก็คงไม่เพียงพอ เพราะว่าบริษัท Web2 ให้ความสำคัญกับการลดความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการเข้าสู่ตลาดใหม่ โดยอย่างยิ่งการพิจารณาถึงความเสี่ยงต่างๆที่ผู้เล่นในวงการ Web3 บางรายได้เจอไปแล้ว อย่างเช่น Luna, 3AC และ FTX ดังนั้นเพื่อลดความเสี่ยงเหล่านี้ บริษัท Web2 ให้ความสำคัญกับการร่วมงานกับหน่วยงานที่เชื่อถือได้ที่มีผลงานความสำเร็จมาแล้ว, ผู้เชี่ยวชาญในวงการ, และมีเงินทุนที่เพียงพอ ซึ่งเป็นสิ่งที่บริษัท Web2 มักพิจารณาควบคู่ไปกับ Technical Specifications

ซึ่งสิ่งนี้คือสิ่งที่ทำให้ Mantle Governance เข้ามามีบทบาทสำคัญ เพราะโปรเจกต์ Web3 มักเจอปัญหาเรื่องการดำเนินงานในระยะยาว ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเรื่องการจ้างแรงงานที่มีความสามารถ, ค่าใช้จ่ายด้าน Marketing, การจัดหาเงินทุนเป็นต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาเหล่านี้จะรุนแรงมากขึ้นในกรณีที่โปรเจกต์ไม่มี Business model ที่ชัดเจน ซึ่งปัญหาด้านค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานดังกล่าวจะเป็นสิ่งที่มักกลับมาทำลาย Blockchain infrastructure เองได้ในที่สุด ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสียหายให้กับบริษัท Web2 ที่พึ่งพาบริการของโปรเจกต์นั้น อย่างไรก็ตาม ด้วย Mantle Governance ทำให้ช่วยลดความเสี่ยงจากปัญหานี้ได้อย่างมาก เนื่องจาก Mantle มีเงินทุนอยู่เป็นจำนวนทั้งหมด 3,200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ พร้อมกับการสนับสนุนเพิ่มเติมจากทาง Bybit อีกจำนวน 1.05 พันล้านเหรียญในอีก 48 เดือนข้างหน้า (อ้างอิงราคา ณ วันที่ 28 มิถุายน 2023) และด้วยเงินทุนสนับสนุนที่แข็งแกร่ง จะเป็น Runway ทำให้ Mantle สามารถดำเนินงานต่อไป และยังสามารถดึงดูดผู้เชี่ยวชาญที่มีความสามารถสูง และรักษาความสัมพันธ์กับ Partner อย่างมั่นคงได้

5. สรุป Mantle Network

Mantle Network เป็น Rollup แบบ Modular ที่ใช้ EigenDA เป็น Data Availability ตัวแรก อย่างไรก็ตามตอนนี้ Mantle Network อยู่ในระหว่างการทดสอบ Testnet ทำให้การประเมินความสามารถในการแข่งขันของ Mantle Network ยังทำได้ยากในตอนนี้ อย่างไรก็ตาม เราคาดว่า Mantle Network จะสร้าง Impact สำคัญให้กับตลาดภายหลังการเปิดตัว Mainnet เพราะว่ามีการแก้ไขปัญหาที่ Rollups ที่มีอยู่เดิมเจออยู่ อย่างเช่นการลดค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมและเวลาในการ Withdraw ที่เร็วขึ้น นอกจากนี้ เงินทุนสนับสนุนโปรเจกต์ของ Mantle Network แข็งแกร่งมาก ซึ่งเป็นสิ่งที่ช่วยสร้างพื้นฐานที่สำคัญในการดึงดูด Partner ที่เป็นผู้เล่นหลักในอุตสาหกรรม ทำให้เครือข่ายมีความสามารถในการแข่งขันที่สูงขึ้น ด้วยความแข็งแกร่งทางการเงิน ร่วมกับความได้เปรียบด้าน Technical นี้เองที่ทำให้ Mantle Network มีศักยภาพในการเข้ามา Disrupt เทคโนโลยี Rollup แบบดั้งเดิมที่มีอยู่

Reference

บทความนี้เป็นบทความแปลจาก Xangle ซึ่งเป็น Partner กับ Cryptomind โดยผู้เขียน Hyewon Jeong et al ณ วันที่ 4 กรกฎาคม 2023 (Link)

Author

Share :
Related
Cryptomind Monthly Outlook (May 2024)
CoinTalk (17/5/2024):
Injective Airdrop Guide
Solana Mobile ซื้อโทรศัพท์แล้วได้เงินมีอยู่จริง !!