Synthetix คืออะไร
Synthetix ถูกสร้างขึ้นในปี 2017 โดย Mr. Kain Warwick อดีต CEO ของบริษัท Blueshyft ในตอนเริ่มต้น Mr. Kain ตั้งใจที่จะทำ Stablecoin ภายใต้ชื่อโปรเจคว่า Havven แต่ในปี 2018 ได้เกิดปัญหาด้านกฎหมายและการควบคุม จึงได้เปลี่ยนความสนใจมาทำ Synthetic asset แทนและเปลี่ยนชื่อเป็น “Synthetix”
Products and features ที่สำคัญ
Synthetix เป็นแพลตฟอร์มที่ใช้สร้าง “Synthetic assets หรือ Synths” ที่ทำงานอยู่บน Ethereum และ Optimism โดยผู้ที่ถือ $SNX จะสามารถนำเหรียญนี้มา stake เพื่อใช้เป็น Collateral ในการสร้าง Synths ออกมา นอกจากนั้นผู้ที่ Stake $SNX ยังสามารถมารับค่าธรรมเนียมและ Reward จาก Synthetix ได้อีกด้วย
Synthetic assets (Synths) คืออะไร
Synthetic assets หรือ Synths เป็น product หลักของ Synthetix ซึ่งเป็น Derivative ชนิดหนึ่งที่ถูกสร้างขึ้นผ่าน smart contract โดยมี $SNX เป็นสินทรัพย์คำ้ประกัน โดย Synths นั้นสามารถเป็นตัวแทนทางราคาของสินทรัพย์อะไรก็ได้ที่มี Oracle price feed ที่น่าเชื่อถือ ตั้งแต่ Cryptocurrency จนถึงสินทรัพย์บนโลกจริงไม่ว่าจะเป็นทอง ค่าเงิน หรือ หุ้น ซึ่ง Synthetix ใช้ Chainlink oracle ในการส่งข้อมูลราคาของสินทรัพย์ที่ต้องการ ผู้ที่ถือครอง Synths นั้นจะมี exposure ต่อราคาของสินทรัพย์โดยที่ไม่ได้เป็นเจ้าของสินทรัพย์นั้นจริงๆ หรืออธิบายอย่างง่ายคือถ้าเราถือ sETH ที่เป็น Synthetic ETH เราจะได้กำไรหรือขาดทุนตามการขึ้นลงของราคาเหรียญ ETH โดยที่เราไม่ได้เป็นเจ้าของ ETH นั้นจริงๆ
Synths ที่มีให้ใช้บน Synthetix ได้แก่
- Cryptocurrency เช่น sETH, sBTC, sAAVE, sUNI เป็นต้น
- Forex เช่น sUSD, sJPY, sEUR เป็นต้น
- Commodities เช่น ทองคำ แร่เงิน และนำ้มัน เป็นต้น
- Index เช่น sTesla, sAAPL, sNikkei เป็นต้น
แต่อย่างไรก็ตามหลายๆประเภทของสินทรัพย์ได้ถูกนำออกไปเนื่องจากยังไม่เป็นที่นิยมและไม่มีผู้ใช้งานที่มากพอและการนำสินทรัพย์อื่นๆมาใช้มีโอกาสเกิดประเด็นทางข้อกฎหมายและการควบคุม ทำให้ปัจจุบันมี Synths เพียง 2 ประเภทหลักคือ Cryptocurrency และ Forex เท่านั้น
ประโยชน์ของ Synths มีอะไรบ้าง
อย่างที่ได้กล่าวไป การถือ Synths นั้นคือการที่ให้นักลงทุนได้รับ Exposure ต่อราคาของสินทรัพย์นั้น โดยไม่ได้ถือครองสินทรัพย์นั้นจริงๆ ซึ่งประโยชน์ของสินทรัพย์ลักษณะนี้โดยทั่วไปคือ จะใช้เพื่อการเก็งกำไรและการประกันความเสี่ยง (Hedging) เป็นหลัก แต่ Synths นั้นมีจุดเด่นที่แตกต่างกับ DEX หรือ CEX อื่นๆ คือ
- ไม่มี Slippage ในการแลกเปลี่ยนผ่าน Synths : เนื่องจากการแลกเปลี่ยนระหว่าง Synths ไม่ได้เป็นการ swap ผ่าน AMM หรือ Order book แต่เป็นการ Mint หรือ Burn เหรียญผ่าน Smart contract โดยตรง ทำให้อัตราการแลกเปลี่ยนจะคำนวณจากราคาของ Oracle price feed เท่านั้น ไม่มีปัจจัยอื่นมาเกี่ยวข้อง จึงมี slippage เป็นศูนย์
- Infinite Liquidity : จากที่ได้กล่าวไปข้างต้นว่าการแลกเปลี่ยนเป็นการ Mint/burn เหรียญผ่าน Smart contract โดยตรงจึงไม่จำเป็นต้องมี Counterparty อย่างใน order book หรือ Liquidity provider อย่าง AMM ทำให้การเทรดผ่าน Synths ไม่มีข้อจำกัดด้านสภาพคล่องอย่างแพลตฟอร์มอื่นๆ
- Synths เป็น ERC-20 ทำให้สามารถนำไปใช้งานบน Defi ได้ เช่น นำไปฟาร์มบน Curve, ปล่อยกู้บน AAVE หรือไปใช้เทรดผ่าน DEX ต่างๆ ได้
- Permissionless and Decentralized : ด้วยความที่มันทำงานบน blockchain ทำให้นักลงทุน สามารถใช้งานได้อย่างอิสระและมีส่วนร่วมกับการเปลี่ยนแปลงของ Synthetix ได้อย่างเท่าเทียม
จากประโยชน์ทั้งหมดที่ยกมา เราจะเห็นว่าประเด็นหลักๆที่มีความสำคัญคือเรื่อง Slippage และ Infinite liquidity ซึ่งสองอย่างนี้จะทำให้การเทรดมีประสิทธิภาพสูงมากขึ้น โดยเฉพาะเมื่อทำการเทรดในปริมาณที่สูง และยิ่งปริมาณสูงขึ้น Slippage จะสูงขึ้นตามด้วยอัตราที่ทวีคูณ ยกตัวอย่างเป็นการ Swap ระหว่าง USDC และ ETH บน Uniswap
- ถ้าเราทำการ Swap ด้วยเงินไม่เกิน 100,000 USDC เราจะโดน Slippage ประมาณไม่เกิน 0.1%
- ถ้าเราทำการ Swap ด้วยเงิน 1,000,000 USDC เราจะโดน Slippage ประมาณ 0.15% – 0.2%
- ถ้าเราทำการ Swap ด้วยเงิน 10,000,000 USDC เราจะโดน Slippage ประมาณ 2% – 3% ซึ่งคิดเป็นเงิน 7-10 ล้านบาทไทยที่เสียไปจาก Slippage
ฉะนั้นสำหรับคนทั่วไปที่ไม่ได้เทรดด้วยปริมาณเงินที่มากอาจจะไม่ได้รับประโยชน์ตรงนี้มากนัก แต่ในทางกลับกัน นักลงทุน นักเก็งกำไรรายใหญ่ กองทุน รวมถึงวาฬนั้นจะได้ประโยชน์อย่างชัดเจน คือถ้าทำการ Swap เงินปริมาณสูงผ่าน Synths จะไม่ต้องเสีย Slippage หลักล้านบาท และไม่จำเป็นต้องแบ่งเป็นหลายๆธุรกรรมเพื่อกระจายไปหลายๆที่เนื่องจากมีปัญหาด้านสภาพคล่อง ทำให้สะดวกมากขึ้นและไม่ต้องเสียค่า Gas Fee หลายรอบอีกด้วย
ตัวอย่างการ Mint/Burn Synths ผ่าน smart contract แบบ P2C (Peer to contract)
ส่วนนี้จะเป็นการยกตัวอย่างเพื่ออธิบายกระบวนการทำงานของการเทรดแบบ P2C ว่าทำงานอย่างไรถึงทำให้การเทรดผ่าน Synths นั้นไม่มี Slippage โดยในกรณีที่นักลงทุนต้องการเปลี่ยน 10,000 sUSD เป็น sBTC ที่ราคา BTC 20,000$
- Smart contract จะ Burn 10,000 sUSD ออกจากกระเป๋าของเราพร้อมกับไป update total supply ของ sUSD ใหม่
- คำนวณ Exchange rate ผ่าน oracle price feed
- เก็บค่าธรรมเนียม 0.3% ของมูลค่าการแลกเปลี่ยนและนำไปเก็บไว้ใน sUSD fee pool ที่ซึ่ง SNX staker สามารถมารับส่วนแบ่งนี้ได้ ในกรณีนี้คือ 30$
- sBTC จะถูกสร้างขึ้นมาใหม่โดยคิดจาก 99.7% ที่เหลือ และส่งเข้ากระเป๋าของเราพร้อมกับ update total supply ของ sBTC ใหม่ ในกรณีนี้คือกระเป๋าของเราจะมี 0.4985 sBTC
ซึ่งจากตรงนี้เราจะเห็นว่าการเทรดแบบ P2C เป็นเหตุผลที่การแลกเปลี่ยนระหว่าง Synths นั้นไม่มี Slippage เพราะใช้การคำนวณอัตราแลกเปลี่ยนจาก Oracle price เพียงอย่างเดียวและไม่มีปัจจัยอื่นๆ มาเกี่ยวของเหมือนการแลกเปลี่ยนบน DEX ทั่วๆไป
การใช้ $SNX เป็นหลักประกันในการสร้าง Synths
$SNX ค้ำประกันราคาของ Synths อย่างไร
Synths ถูกสร้างขึ้นด้วยหลักการ Over Collateralization คือเป็นการนำสินทรัพท์มาค้ำประกัน เพื่อสร้าง Synths ขึ้นมา โดยสินทรัพย์คำ้ประกันต้องมีมูลค่ามากกว่าเหรียญที่สร้างออกมา (หลักการคล้ายกับการสร้าง $DAI ของ Maker) เมื่อผู้ถือเหรียญ $SNX นำเหรียญมา Stake จะถือเป็นการวาง collateral เพื่อ สร้าง sUSD ออกมา และ Collateralization ratio (c-ratio) ขั้นต่ำที่ใช้ในการคำ้ประกัน Synths คือ 400% แต่ตัวเลขนี้จะสามารถเปลี่ยงแปลงได้ตามความเหมาะสม กล่าวคือถ้า Staker นำ $SNX มูลค่า 400$ มาล็อค จะสามารถสร้าง sUSD ออกมาได้ไม่เกิน 100$
ตอนที่ $SNX Staker สร้าง $sUSD ขึ้นมา $SNX ที่นำไป stake นั้นจะถูกล็อคไว้และหากต้องการถอนออกมาจะต้อง burn $sUSD ที่สร้างขึ้นมาคืนกลับไป ซึ่งในอีกแง่หนึ่งคือ Staker นั้นใช้ $SNX มาค้ำประกันเพื่อกู้ sUSD ออกไป แต่ข้อแตกต่างของ Synthetix ที่ไม่เหมือนแพลตฟอร์มกู้ยืมปกติ คือมูลค่าของหนี้จะสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามมูลค่าของหนี้รวมในระบบเนื่องจาก Synths ทั้งหมดจะถูกนำไปรวมกันไว้ใน “Debt Pool” ยกตัวอย่างเช่นถ้า Synths ทั้งหมดในระบบเป็น sETH และราคา $ETH เพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า มูลค่าของหนี้ก็จะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าเช่นกัน (จะมีการพูดถึงเรื่องหนี้ในส่วนต่อไป)
นอกจาก $SNX แล้ว นักลงทุนยังสามารถเลือกใช้ $ETH มาค้ำประกันและสร้าง sETH และ sUSD ออกมาได้ โดย c-ratio สำหรับการใช้ $ETH คือ 150% แต่คนที่ใช้ $ETH จะไม่ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของ Debt pool และจะไม่ได้ค่าธรรมเนียมและ reward ต่างๆเหมือน $SNX Staker
ความสำคัญและหลักการของ Debt pool
Debt pool คือ Pool ที่รวม Synths ทั้งหมดในระบบไว้รวมกันไม่ว่าจะเป็น sUSD, sBTC หรือ sETH เป็นต้น ซึ่งเวลากล่าวถึงมูลค่าของ Debt pool นั้นจะเป็นการพูดถึงมูลค่าทั้งหมดของ Synths ที่อยู่ใน Pool และจากการที่ใน Pool มี Synths หลายชนิดที่ราคามีความผันผวนจึงส่งผลให้มูลค่าของ Debt pool นี้เปลี่ยนแปลงได้
การที่ pool นี้ถูกเรียกว่า Debt pool เป็นเพราะการที่ $SNX Staker วาง collateral เพื่อสร้าง synths นั้นเปรียบเสมือนกับการนำ $SNX มาคำ้ประกันและกู้ sUSD ออกมา และ $SNX ที่คำ้ประกันไว้นั้นจะถูกล็อคเอาไว้ใน Smart contract จนกว่า Staker จะนำ Synths ไปคืน ทำให้ Model นี้สามารถพูดได้ว่า $SNX Staker เป็นหนี้กับระบบ นอกจากนั้นการที่หนี้หรือ Synths ทั้งหมดในระบบ ถูกนำไปรวมใน Debt Pool ทำให้ถ้ามูลค่าของ Debt pool รวมเปลี่ยนแปลงหนี้ของ $SNX Staker แต่ละคนจะเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย
จากตัวอย่างข้างล่างจะแสดงให้เห็นถึงตัวอย่างการเปลี่ยนแปลงมูลค่าของหนี้เมื่อราคาของหนี้ในระบบเปลี่ยนแปลงไป
- Step 1 : เริ่มจากวกตัวอย่างว่าทั้งระบบมี Staker สองคนและแต่ละคนล็อค $SNX และ Mint sUSD ออกมาคนละ 50,000$ หนี้ในระบบรวมจึงเป็น 100,000$ โดยมี Synths ใน Debt pool นี้เป็น sUSD ทั้งหมด ตรงนี้จะเห็นว่าในขั้นตอนนี้ Staker ทั้งคู่จะรับผิดชอบหนี้คนละ 50% เนื่องจาก Mint sUSD ออกมาเท่าๆกันในตอนแรก
- Step 2 : หลังจากนั้นคนนึงถือเป็น sUSD ไว้ทั้งหมด ส่วนอีกคนเปลี่ยน sUSD เป็น sBTC ทั้งหมด ทำให้หนี้ทั้งหมดใน Debt pool กลายเป็น sUSD มูลค่า 50,000$ และ sBTC มูลค่า 50,000$
- Step 3 : หลังจากนั้นราคาของ BTC เพิ่มขึ้น 50% ทำให้มูลค่าของ sBTC กลายเป็น 75,000$ และหนี้รวมในระบบกลายเป็น 125,000$ (มาจาก sUSD 50,000$ และ sBTC 75,000$)
- Step 4 : ขั้นตอนสุดท้ายเมื่อ Staker ทั้งสองต้องการจะนำ sUSD ไปคืนเพื่อ Unstake $SNX จะเห็นว่าตอนนี้มูลค่าของ Debt pool เพิ่มเป็น 125,000$ และทั้งคู่รับผิดชอบหนี้ส่วนนี้คนละ 50% ตามที่ได้กล่าวไปใน Step 1 แสดงว่ามูลค่าของหนี้ที่ทั้งคู่รับผิดชอบคือคนละ 62,500$ ซึ่งเพิ่มขึ้นจากตอนเริ่ม 25% จากการเพิ่มขึ้นของราคา BTC
จากตัวอย่างนี้เราจะเห็นว่ามูลค่าหนี้ของ Staker จะไม่คงที่และสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามมูลค่ารวมของ Debt pool รวม โดยจะคิดมูลค่าของหนี้ตามสัดส่วนของหนี้ที่สร้างขึ้นมาตอนที่ Stake $SNX
Debt pool นั้นถือว่าเป็นองค์ประกอบที่มีความซับซ้อนและสำคัญเนื่องจากการทำแบบนี้เป็นการวาง Position ให้ $SNX Staker เป็นเหมือนผู้ที่เป็นเจ้าของ Synthetix เพราะเป็นผู้ที่นำเงินของตัวเองมาวางเพื่อเพิ่มความมั่นคงและสร้างการเติบโตให้กับระบบ บนความเสี่ยงที่มีโอกาสต้องเสียเงินที่นำมาลงทุนทั้งจากการเพิ่มขึ้นของ Debt pool และการถูก Liquidation ซึ่งความเสี่ยงที่เกิดขึ้นมาพร้อมกับผลตอบแทนที่มีโอกาสได้โดยรายได้ทั้งหมดที่เกิดขึ้นจากการใช้งาน Synths จะถูกนำมาจ่ายให้กับ Staker ทุกคน
มากไปกว่านั้นด้วยกลไกของ Debt pool ทำให้ $SNX staker เป็น Counter party ของทุกๆ การเทรดผ่าน Synths กล่าวคือถ้า trader ได้กำไรจากการเทรดด้วย Synths จะทำให้มูลค่าของ Synths ในระบบทั้งหมดมีมูลค่าสูงขึ้น Debt pool จึงมีมูลค่าสูงขึ้นตามและหนี้ของ Staker จะเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน ในทางกลับกันถ้า trader ขาดทุนจากการเทรดด้วย Synths มูลค่าของ Debt pool จะลดลงตามไปด้วย ทำให้เกิดจุดแข็งของ Synthetix ขึ้นมาเพิ่มคือสามารถเทรดได้โดยไม่ต้องรอให้มี Counterparty และ Synthetix ไม่มีข้อจำกัดด้านสภาพคล่อง เหมือนการใช้งาน DEX หรือ Open book ทั่วไป
วิธีจัดการความเสี่ยงของ Debt pool โดยการ Hedging
จากที่ได้กล่าวไปในหัวข้อก่อนหน้าจะเห็นได้ว่าการเป็น $SNX Staker มีความเสี่ยงคือการเป็น Counter party ของระบบและหากไม่จัดการความเสี่ยงให้ดี จะมีโอกาสต้องใช้หนี้เพิ่มขึ้นจากการเพิ่มขึ้นของ Debt pool ได้ ทำให้ Staker ต้องหาวิธีมาช่วยลดความเสี่ยงของความผันผวนตรงนี้
หนึ่งในวิธีที่มีประสิทธิภาพที่สุดในการจัดการความเสี่ยงนี้คือการ hedging ซึ่งก็สามารถทำได้หลากหลายวิธีตามความถนัดของ Staker แต่ละคน
ยกตัวอย่างวิธีที่ Staker ส่วนมากนิยมทำคือการปรับสัดส่วนของหนี้ให้เหมือนกับสัดส่วนของ Synths ใน Debt Pool โดยตามหลักการของ Debt pool นั้นเมื่อเรา Mint sUSD ออกมามันจะถูกนำเอาไปใช้แลกเปลี่ยนเป็น Synths ตัวอื่นๆตามการใช้งานของตลาด เช่น sBTC, sETH หรือ sUNI เป็นต้น ฉะนั้นมูลค่าของ Debt pool โดยรวมนั้นจะเปลี่ยนแปลงตามการขึ้นลงของราคาของ Synths ทั้งหมด และการ Mirror Hedging จะเป็นการนำ sUSD ของเราไปเปลี่ยนเป็นเหรียญอื่นๆตามสัดส่วนที่อยู่ใน Debt pool นั้น และผลของการทำแบบนี้คือจะทำให้มูลค่าของหนี้ที่เราต้องไปคืนแพลตฟอร์มเมื่อเรา Unstake จะมีมูลค่าเป็นสัดส่วนเท่าเดิมกับ Debt pool รวมเสมอ โดยขั้นตอนการทำคือ
- ไปที่ https://grafana.synthetix.io/ และเลื่อนลงไปล่างสุดเพื่อดูสัดส่วนของ Synths Dominance
- จากตัวอย่างในรูปด้านบนจะพบว่า Synths ในระบบบน Optimism เป็น sUSD 81%, sETH 18%, sBTC 1% และอื่นๆเช่น sUNI, sLINK, sAAVE รวมกันอีกน้อยกว่า 1%
- จากนั้นให้เรานำ sUSD ของเราไปซื้อเหรียญตามสัดส่วนของ Synths Dominance ในระบบซึ่งอาจจะไม่จำเป็นต้องซื้อตามทั้งหมดอาจจะซื้อแค่ตัวที่เป็นสัดส่วนที่สำคัญเช่นในกรณีนี้ ให้นำ 18% ไปซื้อ ETH และอีก 1% ไปซื้อ BTC
- เมื่อซื้อเสร็จมูลค่าหนี้ของเราจะมีความผันผวนใกล้เคียงกับ Debt pool รวมแต่ Staker จะต้องมาคอยติดตาม Synths Dominance เป็นระยะเนื่องจากมันสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา
ซึ่งวิธีข้างต้นนั้นสามารถทำได้จริงแต่ยังมีข้อเสียอยู่คือมีความลำบากที่ต้องมาตรวจสอบ Synths Dominance เป็นประจำ และต้องเสียค่าธรรมเนียมบ่อยๆในการปรับ position จึงเกิด protocol ชื่อ DHedge ได้สร้าง product ชื่อ Debt mirror index ขึ้นมาในรูปแบบของ index token ชื่อ “dSNX” ที่จะติดตามสัดส่วนของ Synths ในระบบและปรับสัดส่วนให้ตรงกันเสมอ นักลงทุนสามารถซื้อ dSNX ได้ผ่านหน้า staking ของ Synthetix.io เลย ทำให้สะดวกต่อการ Hedging มากขึ้น แต่ก็ต้องรับความเสี่ยงของ Smart contract risk ที่จะตามมาจากการใช้ DeFi ด้วยเช่นกัน
Liquidation อีกความเสี่ยงของ Staker
สำหรับการเป็น $SNX Staker นอกจากความเสี่ยงของความผันผวนของมูลค่าหนี้แล้ว ยังมีความเสี่ยงในการถูก liquidate ด้วยซึ่ง liquidation เกิดจาก $SNX ที่เป็น Collateral มีมูลค่าไม่มากพอที่จะประกันราคาของ Synths ในระบบได้อย่างปลอดภัย $SNX จึงจะถูกยึดเพื่อนำไปใช้ Burn sUSD ออกจากระบบ โดยจะเกิดขึ้นเมื่อ C-ratio ตำ่กว่า 150% เมื่อโดย Liquidate $SNX จะถูกนำไปและเป็น sUSD และนำส่วนที่เป็นหนี้ไปคืนให้ระบบและส่วนต่างจะนำมาจ่ายเป็นค่าตอบแทนให้กับ Liquidator
Liquidation V2
กระบวนการ Liquidation ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันได้มีการเปลี่ยนแปลงในเดือนพฤษภาคม 2022 ที่ผ่านมา ในตอนแรกนั้นการ liquidate position ที่ C-ratio ตำ่กว่า 150% นั้นจะต้องการ Liquidator ที่มี sUSD และนำ sUSD นั้นไปใช้หนี้แทนเจ้าของ position โดย Liquidator จะได้รับ penalty fee เป็นผลตอบแทน ซึ่งกระบวนการนี้ได้ถูกใช้งานมาเป็นระยะเวลาหนึ่งโดยไม่เกิดปัญหา แต่ในช่วงที่ผ่านมาตลาดโดยรวมมีความผันผวนที่สูงขึ้น ทำให้เกิดความกลัวขึ้นในหมู่นักลงทุนต่อการเกิด Cascade liquidation ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของ protocol เป็นอย่างมาก Community จึงได้ออกมาเสนอ Liquidation model V2 เพื่อเพิ่มความมั่นคงและเพิ่มแรงจูงใจให้ $SNX staker รักษาระดับ C-ratio ให้สูงอยู่เสมอ
สำหรับ Liquidation model V2 ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนั้นจะทำงานเมื่อ C-ratio ตำ่กว่า 150% จะทำให้ address นั้นถูก Flag(เหมือนการถูกเตือน) และเมื่อถูก Flag แล้ว staker จะมีเวลา 12 ชั่วโมงในการจัดการให้ C-ratio ขึ้นไปมากกว่า 400% อีกครั้ง โดยสิ่งที่จะเกิดขึ้นได้หลัง address ถูก flag คือ
- เมื่อ C-ratio น้อยกว่า 150% และ address ถูก flag แต่เจ้าของ address ไม่ทำอะไรกับ C-ratio ภายใน 12 ชั่วโมง $SNX ที่ stake ไว้จะถูก liquidate พร้อมกับ penalty fee 30% ซึ่งจะถูกนำไปรวมใน pool reward ของ $SNX staker
- เมื่อ C-ratio น้อยกว่า 150% และ address ถูก flag แต่เจ้าของ address ทำการ Self-liquidate ภายใน 12 ชั่วโมง $SNX ที่ stake ไว้จะถูก liquidate พร้อมกับ penalty fee 20% ซึ่งจะถูกนำไปรวมใน pool reward ของ $SNX staker
- เมื่อ C-ratio น้อยกว่า 150% และ address ถูก flag แต่เจ้าของ address จัดการกับ C-ratio ให้ขึ้นไปมากกว่า 400% ภายใน 12 ชั่วโมง โดยการ burn sUSD ทิ้งหรือเพิ่ม Collateral จะไม่มีอะไรเกิดขึ้นคือ ไม่ถูก liquidate
โดยการทำแบบนี้ข้อดีนอกจากที่กล่าวมาข้างต้น ยังสามารถคัดกรอง Staker ที่ไม่มีประสิทธิภาพออกไปทางอ้อม ทำให้มีหนี้ชั้นดีในระบบมากขึ้น และยังลดการเกิด Forced liquidation ได้เนื่องจาก Staker สามารถเลือกที่จะ Self-liquidate ได้ด้วย Penalty fee ที่น้อยกว่าอีกด้วย
Incentive ของ $SNX staker มีอะไรบ้าง
จากที่ได้กล่าวไปจะเห็นว่า $SNX staker ถือเป็นคนที่สำคัญที่สุดในระบบเนื่องจากเป็นคนสร้าง Synths ขึ้นมาและยังเป็น Counter party สำหรับการเทรดอีกด้วย ฉะนั้นแล้วระบบจึงมีการให้แรงจูงใจกับนักลงทุนในกลุ่มนี้มากเพื่อเป็นแรงจูงใจให้ยังอยู่เพิ่มสภาพคล่อง ให้กับระบบต่อไป โดยตอนนี้ Incentive ที่ให้กับ $SNX staker คือ
- ค่าธรรมเนียมจากการเทรดระหว่าง Synths ทั้งหมด 100% จะนำมาแจกให้ Staker ทั้งหมด และจะสามารถมากด Claim ได้ทุกอาทิตย์ โดย C-ratio จะต้องมากกว่า 400% โดยค่าธรรมเนียมนี้จะแจกเป็นเหรียญ sUSD โดยเราสามารถดูค่าธรรมเนียมของแต่ละคู่เทรดได้จาก Synthetix.io/Synths
- Inflationary $SNX token โดย protocol จะทำการ Distribute $SNX token ให้กับ staker ทุกอาทิตย์เช่นกัน และจำนวนเหรียญที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อแจกจ่ายจะมีการเพิ่มลดตามจำนวน $SNX ที่ถูก stake ไว้โดยถ้ามีจำนวนน้อยจะแจกเหรียญมากขึ้นเพื่อเป็นแรงจูงใจให้คนมา Stake มากขึ้นนั้นเอง
- รายได้และส่วนแบ่งจาก Ecosystem และ Dapps อื่นๆที่มาการนำ Synths มาใช้งานเช่น Kwenta, Lyra หรือ 1inch เป็นต้น
ปัจจุบันผลตอบแทนจากการ Stake $SNX อยู่ที่ประมาณ 95.8% APY ซึ่งมาจากการแจก $SNX 92.9% และจาก trading fee ในรูป sUSD 2.89%
SNX tokenomics
เหรียญ SNX นั้นเป็นหัวใจของ Synthetix ecosystem ฉะนั้นการออกแบบ tokenomics ที่มีประสิทธิภาพถือเป็นปัจจัยที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ทำให้ตั้งแต่มีการเปิดตัวเหรียญนี้ในปี 2018 ได้เกิดการเปลี่ยนแปลง tokenomics หลายต่อหลายครั้ง ไม่ว่าจะมาจากความต้องการของเจ้าของหรือจะเป็นของ Community ก็ตาม ทั้งในด้าน Utility, Value accrual และ Inflation rate
ในปี 2019 ได้มีการเสนอการใช้การสร้างเหรียญ SNX เพิ่มเพื่อใช้เป็นแรงจูงใจให้คนนำ SNX มาวางเป็น Collateral มากขึ้น โดยในตอนนั้น $SNX ถูกตั้งให้มีการสร้างเหรียญเพิ่มขึ้นมาในระบบ (inflation) เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ นาน 4 ปีจนครบ Max Supply ที่ 250 ล้านเหรียญในปี 2023 แต่อย่างไรก็ตามได้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นหลายครั้งเนื่องด้วยปัจจัยหลายอย่างจนทำให้ในปัจจุบัน SNX ไม่มี Maximum Supply และมี Circulating Supply ประมาณ 293 ล้านเหรียญในปัจจุบัน และอัตราการเพิ่มขึ้นของจำนวนเหรียญจะมีการเปลี่ยนแปลงตาม Staking ratio กล่าวคือ
- ถ้า Staking ratio < 80% จะเพิ่ม inflation 10%
- ถ้า Staking ratio > 90% จะลด inflation 10%
- ถ้า Staking ratio อยู่ระหว่าง 80-90% จะลด inflation 5%
โดยจะมีการคำนวณ Inflation rate ทุกอาทิตย์ ทั้งนี้เพื่อเป็นการคง Staking ratio ให้คงที่ประมาณ 85% โดยในปัจจุบันStaking ratio ของ SNX อยู่ที่ 40-50% จึงส่งผลให้มีการเพิ่มเหรียญ SNX ในระบบมากขึ้นเรื่อยๆ
โดยในวันที่ 25 สิงหาคม 2022 ที่ผ่านมาคุณ Kain ผู้ก่อตั้ง Synthetix ได้เสนอ proposal ใหม่ต่อ Synthetix community ทำให้ราคาของ SNX ปรับตัวขึ้น 12% ใน 1 วัน ขณะที่ Bitcoin ปรับตัวลง 2.5% ในเวลาเดียวกัน
คุณ Kain เสนอว่าให้มีการกำหนด Max Supply ของ SNX ไว้ที่ 300 ล้านเหรียญโดยจะมีการสร้างเหรียญเพิ่มอีกเพียงแค่ 10 อาทิตย์ อาทิตย์ละ 674,873.92 เหรียญจนครบ 300 ล้านเหรียญ และหลังจากนั้นจะไม่มีการเพิ่มจำนวนเหรียญอีก โดยให้เหตุผลว่าการ Inflation ของ SNX นั้นถูกสร้างมาเพื่อเป็นแรงจูงใจให้คนมาใช้งานในช่วงแรกเท่านั้น และเค้ามองว่ามันได้บรรลุวัตถุประสงค์แล้ว ฉะนั้นการสร้างเหรียญที่มากขึ้นจึงไม่จำเป็นอีก และจะเป็นการสร้างแรงขายที่มากขึ้นเท่านั้น ในอนาคตรายได้ของ SNX staker จะมาจากค่าธรรมเนียมจากการใช้งานเท่านั้น
โดยในตอนนี้ Proposal นี้ยังเป็นแค่ร่างเท่านั้น และกำลังรอการคุยกันภายใน Community และรอการผ่านการโหวตอีกครั้ง โดยประเด็นหลักที่กำลังถูกถกเถียงกันอยู่คือการนำ Inflation ออกนั้นจะทำให้ APR จากค่าธรรมเนียมเพียงอย่างเดียวอาจไม่จูงใจพอสำหรับ Staker และส่งผลเชิงลบได้ ซึ่งเป็นเรื่องที่ติดตามอย่างใกล้ชิด
ในเรื่องของ Tokenomics นอกจากด้าน Supply ที่กำลังจะเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นแล้ว ในด้านของ Utilty ของเหรียญ SNX เป็นอีกเรื่องที่มีความสำคัญ โดยในตอนนี้ Use case หลักคือการนำ SNX มา Stake เป็น Collateral เพื่อสร้าง Synthetic assets และรับค่าธรรมเนียม ร่วมกับ SNX reward ทุกอาทิตย์ อย่างไรก็ตาม Use case ของ SNX สามารถเปลี่ยนแปลงได้เสมอตามข้อเสนอที่อาจเพิ่มขึ้นมาในอนาคต
สุดท้ายคือประเด็นการกักเก็บมูลค่าของ SNX ซึ่งในปัจจุบันมูลค่าของเหรียญนี้หลักๆมาจากการรับค่าธรรมเนียมทั้งหมดที่เกิดขึ้นจากการเทรดระหว่าง Synths ซึ่งในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมารายได้ส่วนนี้คิดเป็นประมาณ 9.5% ของ APR รวมจากการ Stake SNX เท่านั้นและรายได้ส่วนที่เหลือล้วนมาจาก SNX inflation ทั้งสิ้น
โดยสรุป Tokenomics ของ SNX นั้นมีประเด็นที่น่าติดตามหลายประเด็นทั้งการเปลี่ยนเเปลงของ Max Supply การยกเลิก Inflation และการเพิ่มมูลค่าของเหรียญจากการนำรายได้ทั้งหมดไปสู่ SNX Staker แต่อย่างไรก็ตามการที่ Synthetix จะเติบโตได้อย่างยั่งยืนนั้น การเพิ่มการใช้งานของ Synthetic assets เป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดที่จะทำให้เกิดการเติบโตเป็นแพลตฟอร์มที่มีรายได้อย่างยั่งยืนหรือ “Sustainable Real Yield”
Synthetix Ecosystem
จากที่ได้กล่าวไปการเติบโตของ platform Synthetix นั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยหลักสองอย่าง ปัจจัยแรกคือการที่มีคนนำ $SNX มา Stake เป็น Collateral เพื่อที่จะสร้าง Synths ออกมามากขึ้น และอันที่สองคือการที่มีคนมาใช้งาน Synths มากขึ้นไม่ว่าจะเป็นการแลกเปลี่ยนระหว่าง Synths หรือจะเป็นการใช้งาน Platform อื่นที่นำ Synths ไปใช้ก็ได้
ด้วยปัจจัยที่กล่าวมานี้ Synthetix จึงมีความพยายามจะจับมือกับหลายๆ Platform เพื่อทำให้ Synths มีการนำไปใช้ที่เยอะขึ้น โดยมี Platform ชื่อดังหลายอันที่ใช้ Synths ไม่ว่าจะเป็น DEX, Aggregator, Option, Binary option หรือ Perpetual future ยกตัวอย่างเช่น
- Kwenta คือ Perpetual DEX ที่พัฒนาขึ้นโดย Synthetix บน Optimism ซึ่งสร้างโดยใช้ Liquidity pool ของ Synthetix ทำให้ผู้ใช้งานสามารถมา Swaps ระหว่าง Synths ได้ด้วย Slippage ตำ่ และสามารถมาเทรด Derivatives ต่างๆได้อีกด้วยไม่ว่าเป็น Crypto Currency, Forex หรือ Commodities ซึ่งจะใช้ sUSD ในการเทรดเป็นหลัก ทำให้ปริมาณการเทรดใน 1 เดือนที่ผ่านมามากกว่า 700 ล้านดอลล่าสหรัฐ ซึ่งถือว่าเป็นปริมาณการเทรด Synths ที่มากที่สุดในทุกๆ Platform และทุกครั้งที่มีคนมา Swap ระหว่าง Synths หรือเทรด Futures ค่าธรรมเนียม 0.3% จะถูกส่งให้ $SNX Staker
- Lyra คือ Decentralized Exchange ที่ใช้ซื้อและขาย Option และ Lyra ยังเป็นหนึ่งใน Platform ที่มีการใช้งานมากที่สุดบน Optimism โดย Lyra ใช้งาน Synths เพื่อที่จะให้ระบบ AMM สามารถทำงานได้โดยมี Slippage ที่ตำ่และป้องกันการถูก Front Running ได้ โดยมีการใช้ sUSD เป็นตัวกลางในการเทรดหลัก และสภาพคล่องหลักจะอยู่ในคู่เหรียญ sBTC/sUSD และ sETH/sUSD
- Curve เป็นหนึ่งใน DEX ที่ใหญ่ที่สุดในโลกที่มีการนำ Stable swap มาใช้ ซึ่งจะทำให้การแลกเปลี่ยนเหรียญที่มีราคาใกล้เคียงกันมีประสิทธิภาพมากขึ้น และ Synthetix ได้นำ Synths ไปสร้าง pool บน Curve พร้อมกับแจก incentives ให้คนมาวางสภาพคล่อง โดยคู่ที่มีการสร้างบน Curve คือ sETH/ETH และ sUSD/DAI/USDC/USDT ซึ่ง pool นี้มีสภาพคล่องมากเป็นอันดับ 2 บน Curve
- Thales เป็น Platform ที่ทำ Binary option ซึ่งจะให้ผู้ใช้งานมาทำนายราคาของ Cryptocurrency ได้ เช่นตามรูปด้านล่างถ้าเราลงเดิมพันว่าราคาของ $SNX จะอยู่ในช่วง 3.70 – 4.10 ในอีก 6 ชั่วโมงข้างหน้า และมันเป็นจริงเราจะได้เงินจากคนที่ลงเดิมพันตรงข้ามกับเราทั้งหมด โดย Platform นี้ใช้ sUSD เป็นตัวกลางหลังในการวางเดิมพัน
- 1inch เป็น Aggregator ที่มี features หลักคือ Best rate swap ซึ่งจะเป็นการหาเส้นทางการเเลกเปลี่ยนเหรียญที่ slippage และค่าธรรมเนียมตำ่ที่สุด โดย feature ใหม่ของ 1Inch ชื่อ “Atomic swap” ได้มีการใช้ Synths เป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยนเหรียญเนื่องจากมี Slippage ที่ตำ่ทำให้การแลกเปลี่ยนเหรียญในปริมาณสูงมีประสิทธิภาพมากขึ้น จะเห็นได้ว่าจากรูปการใช้ atomic swap มี slippage เพียงแค่ 0.85% ในขณะที่ การแลกผ่าน Uniswap V3 จะมี slippage ถึง 2.47%
นอกจากนี้ยังมี Platform อื่นๆที่มีการนำ Synths มาใช้งานภายใต้ Synthetix ecosystem เช่น Dhedge, Polynomial protocol, Aelin และ Warden swap เป็นต้น การที่มีหลาย Platform ที่นำ Synths ไปใช้จะทำให้เกิด Activity ที่มากขึ้นนำไปสู่รายได้ที่เพิ่มขึ้นและความมั่นคงของ Synthetix ที่เพิ่มขึ้นในอนาคต
SNX V3 การอัพเดทครั้งสำคัญ
อีกประเด็นที่น่าจับตามองคือ Synthetix V3 ซึ่งเป็น proposals ที่ถูกเสนอเพื่อเปลี่ยนแปลงการทำงานของ Platform ในหลายๆด้านทั้ง การทำงาน การ Liquidate หรือ Features ใหม่ๆที่จะเพิ่มเข้ามา ด้วยวิสัยทัศน์ที่ต้องการทำให้ Synthetix เข้าถึงผู้ใช้ได้มากขึ้น มีประสิทธิภาพและความมั่นคงมากขึ้น
NFT Account
ใน V3 ทุกๆ Staking position จะกลายเป็น NFT ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้งานสามารถเปิด Staking position หลายๆอันพร้อมกันได้ ทั้งยังสามารถโอนแต่ละ position ไปที่ Wallet อื่นๆได้โดยสะดวกเช่นเดียวกับการโอน NFT ระหว่าง Wallet เลย
Differentiated Debt Pool
ใน V3 ผู้ใช้งานจะสามารถเลือกได้ว่าจะทำการวาง Collateral กับสินทรัพย์อะไร และรับค่าธรรมเนียมแค่จาก Pool ที่วาง Collateral ไว้เท่านั้น ทำให้ไม่จำเป็นต้องรับความเสี่ยงจากสินทรัพย์ทั้งหมดในระบบเหมือนปัจจุบัน โดยประเด็นนี้ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่กำลังเกิดการถกเถียงกันอยู่เนื่องจากการแยก Pool ออกจากกันจะทำให้เกิดปัญหาทางสภาพคล่องได้
Liquidity as a Service
คือการที่ให้ผู้ใช้งานไม่ว่าจะเป็นบุคคลหรือ Protocol ต่างๆมาสร้าง Synths ของตัวเองให้และสามารถใช้วิธีสร้างแรงจูงใจต่างๆให้ SNX holders นำเหรียญมาวางเป็น Colateral ให้
eSNX
สุดท้ายคือการเสนอรูปแบบ Tokenomics ใหม่ที่จะมีระบบ Escrow token ที่ยิ่งล้อค SNX ไว้นานจะได้ reward กลับมามากขึ้น แต่อย่างไรก็ตามประเด็นนี้มีความเกี่ยวข้องกับข้อเสนอการกำหนด Max Supply และการยกเลิก Inflation ทำให้ประเด็นนี้ยังมีความไม่แน่นอนและยังคงอยู่ในการหาข้อสรุปภายใน Community
Synthetix V3 ประกอบต้องการเปลี่ยนแปลงที่ถือว่าใหญ่และสำคัญมากๆในเกือบทุกด้านของ Protocol แต่อย่างไรก็ตามทั้งหมดนี้ยังเป็นแค่ Proposal เท่านั้น การที่จะเกิดขึ้นจริงได้จะต้องผ่านการวิเคราะห์ และช่วยกันหาข้อสรุปที่มีประสิทธิภาพสูงสุดจาก Community ทั้งหมด เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อ Ecosystem นี้ และเป็นประเด็นที่เราต้องติดตามอย่างใกล้ชิด
ทำไม $SNX token ถึงน่าสนใจ
ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาเหรียญ SNX ได้รับความสนใจมากขึ้นอย่างมากทั้งในด้านการถูกพูดถึงใน Crypto Twitter และด้านราคาที่เพิ่มข้ึนมามากว่า 200% โดยเหตุผลที่มันถูกพูดถึงมากขึ้นอย่างมากเนื่องจาก SNX เป็นเหรียญที่เข้าได้กับกระแส “Real yield” ที่กำลังเป็นธีมการลงทุนที่ร้อนแรงมากในขณะนี้ ทำให้มีผู้ที่สนใจเข้าไปซื้อเพื่อไป Stake หรือเพื่อเก็งกำไรเป็นจำนวนมาก แต่เหตุผลทางด้านพื้นฐานที่ทำให้ผู้เล่นรายใหญ่จำนวนมากให้ความสนใจ Synthetix คือการที่มันสามารถสร้างรายได้ถึง 1 ล้านดอลล่าห์สหรัฐต่อวัน ในช่วงเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา โดยสาเหตุของรายได้ที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญคือ “Atomic swap” บน 1Inch
Atomic swap เป็น feature ใหม่ที่เป็นการใช้ Synthetix assets อย่าง sETH และ sUSD เป็นตัวกลางในการ swap ซึ่งการทำแบบนี้จะทำให้สามารถเทรดด้วย Slippage ที่ตำ่โดยเฉพาะเมื่อเทรดด้วย Volume ที่สูง โดยถ้า Swap ระหว่าง 1 ล้าน USDC ไปเป็น ETH ผ่าน Uniswap โดยตรงจะโดน Slippage ถึง 0.22% แต่ถ้าใช้ Atomic swap จะเป็นการแลกผ่าน Synths คือ
USDC → sUSD → sETH → ETH ซึ่งจะเกิด Slippage เพียงแค่ 0.03% เท่านั้น
และการ Swap ระหว่าง sUSD และ sETH ทำให้เกิดรายได้ ที่เคยมากถึง 1 ล้านดอลล่าห์สหรัฐต่อวันให้กับ SNX Staker เลยทีเดียว
แต่ถ้าหากเราจะใช้งาน Atomic swap เองเราต้องมากดมือทีละขั้นตอนจะทำให้เสีย gas fee ในทุกๆขั้นตอน แต่ด้วย Aggregator Platform อย่าง 1inch ทำให้ทั้งหมดนี้เกิดใน 1 transaction และเกิดประสิทธิภาพสูงสุดทั้งความสะดวกและประหยัดค่า gas อีกด้วย
นอกจาก Real yield narrative และ Atomic swap แล้วยังมีประเด็นอื่นๆอีกที่ทำให้ SNX ได้รับความสนใจและน่าจับตามองไม่ว่าจะเป็นการเสนอ Max supply เพื่อยกเลิก Inflation รวมถึง Synthetix V3 ที่มีโอกาสสร้างการใช้งานของ Synths ที่มากขึ้นและเพิ่มความมั่นคงของ Ecosystem Backbone ของโลก Defi ได้เลย
ความเสี่ยงของ Synthetix : sUSD จะล่มเหมือน USTหรือไม่ ?
แม้ว่า Synthetix จะเป็น Protocol ที่มี concept ที่น่าสนใจและมีจุดเด่นหลายจุด แต่อย่างไรก็ตามการพิจารณาความเสี่ยงและจุดอ่อนของ Protocol เป็นประเด็นสำคัญที่นักลงทุนทุกคนต้องคำนึงถึง
- Cascade liquidation เป็นความเสี่ยงหลักที่สามารถเกิดขึ้นได้กับ Platfrom ที่ใช้ Collateral ซึ่งมีโอกาสเกิดขึ้นได้ในช่วงที่ตลาดมีความผันผวนสูงจนส่งผลให้ราคาของ SNX ตกลงมากจนมี Staker ที่โดน Liquidate ไป และส่งผลให้ราคาตกลงมากขึ้นและมีคนที่โดน liquidate เพิ่มขึ้น หากไม่สามารถจัดการหรือมีวิธีป้องกันที่มีประสิทธิภาพ Cascade liquidation อาจส่งผลต่อความมั่นคงของ Synthetix โดยรวมก็เป็นได้
- Inflation เป็นอีกประเด็นหนึ่งที่มีผลต่อความมั่นคงของระบบ กล่าวคือหากมีการสร้างเหรียญเพิ่มขึ้นในระบบเรื่อยๆ มันจะเป็นการสร้างแรงขายต่อ SNX ที่มากขึ้นทำให้ราคาอยู่ในแนวโน้มขาลง และส่งผลต่อ Collateral โดยรวมของระบบได้เช่นกัน
- Limited Growth เป็นความเสี่ยงในด้านการเติบโตของ Synthetix เนื่องจากการเติบโตนั้นจะขึ้นอยู่กับ Market cap. ของ SNX เท่านั้น เนื่องจากเป็นการใช้ระบบ Over Collateralization ซึ่งจะทำให้มีจุดอิ่มตัวของการเติบโตของการสร้าง Synths
- Regulator เรื่องกฎหมายเป็นปัญหาที่อยู่คู่กับการเติบโตของ Defi มาโดยตลอดและ Synthetix เองก็ได้เคยประสบปัญหาด้านกฏหมายจนต้องนำ Synths บางชนิดออกเช่น ทองคำ นำ้มันและหุ้น จนเหลือเพียงกลุ่ม Cryptocurrency และค่าเงินเท่านั้น ซึ่งในอนาคตถ้าจะมีการผลักดันให้นำ Synths กลุ่มนี้กลับมาอาจจะต้องระวังเรื่องข้อกฏหมายเช่นกัน
สรุป
“Synthetix” เป็นอีกหนึ่ง Defi protocol ที่มีความน่าสนใจและมีจุดเด่นเฉพาะตัวคือการสร้าง Synthetic Assets เพื่อในคนหรือ Platform อื่นๆนำไปใช้ในรูปแบบต่างๆ โดยการสร้าง Synths จะต้องใช้เหรียญ SNX เป็น Collateral และผู้ที่นำ SNX มา Stake นั้นถือเป็นส่วนสำคัญมากของระบบ จึงทำให้รายได้ที่เกิดขึ้นจากค่าธรรมเนียมของการใช้งาน Synths เข้าสู่ Staker ทั้งหมด แต่อย่างไรก็ตามการเป็น Staker ก็มีความเสี่ยงเช่นกันไม่ว่าจะเป็น Debt pool ที่มูลค่าผันผวนได้ การถูก Liquidation และการที่ต้องเป็น Counter party ของระบบทั้งหมด จากที่กล่าวมาทำให้เห็นว่า SNX เป็นเหรียญที่น่าสนใจเนื่องจากผู้ที่นำไป Staker จะได้รับค่าธรรมเนียมทั้งหมดซึ่งเข้าได้กับธีมการลงทุน “Real Yield” ที่กำลังได้รับความสนใจมากในปัจจุบัน นอกจากนี้ยังมีโอกาสในการเติบโตสูงในอนาคต เนื่องจากการเติบโตของ Ecosystem ทั้งที่มีอยู่ในปัจจุบันเช่น Kwenta, 1inch : Atomic swap, Curve เป็นต้น และอีกหลาย Platform ที่จะเข้ามาในอนาคต สุดท้ายยังมีเรื่องของการเสนอ Proposals อีกมากที่กำลังเกิดขึ้นในตอนนี้ทั้งการเปลี่ยนแปลง Tokenomics และ Synthetix V3 ซึ่งถือเป็นการพัฒนาที่น่าสนใจและอาจเป็นการกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของโลก DeFi เลยก็เป็นได้
อย่างไรก็ตามแม้ว่ากระแสการพูดถึงหรือตัวเลขต่างๆอาจบ่งชี้ว่า Synthetix มีความน่าสนใจและอาจเป็นโอกาสในการลงทุน แต่การลงทุนใน Cryptocurrency โดยเฉพาะ DeFi มีความเสี่ยงและความผันผวนสูงมาก การเพิ่มความรู้ความเข้าใจนั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งซึ่งถือเป็นจุดประสงค์หลักของบทความนี้ และต้องคำนึงว่า “คริปโทเคอร์เรนซี และโทเคนดิจิทัลมีความเสี่ยงสูง โปรดศึกษาและลงทุนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้”
Author
-
Researcher and Analyst at Cryptomind, 6th year Medical student at Chulalongkorn, Always busy finding that 100x Fantasy
View all posts