Search
Close this search box.

Starknet โปรเจกต์ Layer 2 นํ้าดี ที่ถูก Community ด่ามากที่สุด

Share :
Screenshot 2567-03-01 at 18.16.46

Table of Contents

“ E-baggers “  หนึ่งในคำด่าที่หลายๆคนคุ้นหู จากทีมพัฒนาโปรเจกต์ Starknet ที่ได้มีการด่ากับคนใน Community ท่านนึงได้มีการไปถามหา Airdrop ในวันที่อดีต CEO ของ Starkware อย่าง “Uri Kolodny” ได้ประกาศลงจากตำแหน่ง เนื่องจากปัญหาสุขภาพของครอบครัวของเขา ทำให้ Abdelhamid Bakhta ที่เป็น Head of Ecosystem ได้ทำการต่อว่าคนที่มาถามหา Airdrop นั้นว่าเป็น E-baggers จนทุกวันนี้คำนี้ได้มีการถูกใช้อย่างแพร่หลายกันในชาว Crypto Bros เป็นอย่างมาก

เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา โปรเจกต์ขวัญใจชาว E-baggers ก็ได้ประกาศแจก Airdrop ไป และก็เป็นที่น่าผิดหวังสำหรับคนส่วนใหญ่ที่บางคนใช้เวลาฟาร์มแอร์ดรอปอยู่ 1-2 ปี แต่ไม่ได้อะไรเลย แต่ก็มี Airdrop Hunter ที่ได้ไปกว่า 1,800 กระเป๋า ซึ่งก็มีการตั้งคำถามต่อไปว่าแบบนี้มันกรอง Sybil หรือ กรองผู้ใช้งานจริงออกกันแน่

วันนี้ทาง Cryptomind Research จะพาทุกท่านไปเจาะลึกเกี่ยวกับ Starknet ในทุกๆมุมว่าโปรเจกต์นี้มีความน่าสนใจหรือไม่ และจะยังมีอนาคตรึป่าว แต่ก่อนอื่นต้องอาจจะต้องอธิบายคร่าวๆเกี่ยวกับ Starkware ก่อนเนื่องจาก Starknet เป็น Product ของบริษัท Starkware

Starkware คืออะไร

ขอบคุณภาพจาก https://starkware.co/ 

Starkwareเป็น Startup ด้าน Blockchain ท่ีก่อต้ังขึ้นในปี 2018 จากประเทศอิสราเอลโดยเน้น พัฒนา Layer 2 บน Ethereum Blockchain โดยใช้เทคโนโลยี zk-STARKs สําหรับความปลอดภัยในการ คํานวณโดยเป็นเทคโนโลยีการเข้ารหัสท่ีโปร่งใสและสเกลธุรกรรมได้ดีในปัจจุบันกําลังพัฒนาอยู่ 2 Products คือ StarkNet และ StarkEx โดยภาษาที่ใช้พัฒนา Dapps คือ “Cairo”

Starknet คืออะไร

ขอบคุณภาพจาก https://www.starknet.io/en 

Starknet เป็น Layer 2 Scaling Solution ประเภท zk Rollups แบบ General-purpose โดย Dapps ต่างๆสามารถมา Deploy ได้เหมือนๆกับเชนอื่นๆ จุดเด่นคือ Starknet ใช้เทคโนโลยี ZK-STARKS ในการสร้าง zk proof เพื่อตรวจความถูกต้องของธุรกรรม ซึ่งภาษาที่ใช้พัฒนา Dapps บน Starknet คือ Cairo ซึ่งหมายความว่า Dapps ต่างๆที่เป็น EVM-compatible ไม่สามารถ Fork code มา Deploy บน Starknet ได้

**ภาษา Cairo คือ ภาษาเขียนโปรแกรมที่ถูกพัฒนาโดยทีม Starkware เพื่อใช้ในการสร้าง Dapps บน Starknet หรือ StarkEx

StarkEx คืออะไร

ขอบคุณภาพจาก https://starkware.co/resource/starkex-a-transparent-scalable-solution-for-exchanges/ 

StarkEx เป็น Layer 2 Scaling Solution ในการที่เป็นการสร้าง zk Rollups, Validium, Volition  แบบ Appchain โดย StarkEx จะเป็นเหมือนกับ Software as a service ที่ถูกพัฒนาโดยทีม Starkware นั้นเอง ซึ่งจะสามารถเลือกได้ว่าต้องการว่าต้องการจะสร้างเชนออกมาในรูปแบบใด โดยตัวอย่างการใช้งานต่างๆเช่น dYdX, ImmutableX, Sorare, rhinoFi, ApeX เป็นต้น

ZK-STARKS คืออะไร

ZK-STARKS เป็นเทคโนโลยี Zero knowledge Proof รูปแบบหนึ่งที่ จะใช้ Publicly Verifiableในการสุ่มตรวจสอบซึ่งเช่ือถือได้มีความ Transparent และไม่ต้องมี Trusted Setup ซึ่งจุดเด่นที่เหนือกว่า SNARKS ที่ต้องมี Trusted Setup และซึ่งที่เหนือกว่า SNARKS อีกอย่างคือ สร้าง Proof ได้เร็วกว่า SNARKS แต่ขนาดในการบันทึกลงบน Ethereum จะใหญ่กว่า ทำให้มีค่าใช้จ่ายที่แพงกว่านั้นเอง

Starkware Teams

ขอบคุณภาพจาก https://starkware.co/about-us/ 

ทีมของ Starkware เป็นหนึ่งในทีมที่ได้รับการยกย่องในเรื่องความเก่งทีมหนึ่งในกลุ่มนักพัฒนาทั่วๆไปมักจะกล่าวเป็นเสียงเดียวกันว่าทีม Starkware ค่อนข้างเก่ง ซึ่งผมเคยได้ฟังสัมภาษณ์ของ Kain Warwick ที่เป็น Founder ของ Synthetix ก็เคยมีการพูดถึง Starknet ว่าเป็นหนึ่งใน Ecosystem ที่น่าสนใจ

Eli Ben-Sasson : ตำแหน่ง Co-founder, CEO ซึ่งจบปริญญาเอกจาก Hebrew University สาขา Theoretical Computer Science และเป็นหนึ่งในผู้คิดค้น ZK-STARKS ร่วมกับ Iddo Bentov, Yinon Horesh และ Michael Riabzev (Co-founder ของ Starkware)

Oren Katz : ตำแหน่ง COO มีประสบการณ์เกี่ยวกับการ Software Development และ Product Management ที่บริษัทที่อิสราเอลกว่า 25 ปี อย่างเช่น Fundbox (fintech) และ eXelate (big data)

Avihu Levy : ตำแหน่ง CPO เคยทำร่วมก่อตั้งบริษัท Startup เกี่ยวกับ cryptocurrencies algo-trading 

Abdelhamid Bakhta : ตำแหน่ง Head of Ecosystem หรือคนที่ด่าเราว่าเป็น E-baggers นั้นเอง ซึ่งเขาเคยทำงานอยู่ที่ Consensys และ เป็นหนึ่งใน Core Developer ของ EIP-1559 อีกด้วย

Fundraising

ขอบคุณภาพจาก https://twitter.com/Starknetics/status/1655619103304892416 

ถ้าเราพูดถึงเม็ดเงินที่ Starkware สามารถ Raised มาได้ ต้องบอกเลยว่าเป็นจำนวนที่เยอะมากๆ ซึ่งได้เป็นจำนวนเงินกว่า $ 282.50 M โดยแบ่งเป็นแต่ละรอบดังต่อไปนี้

  • Seed Round : 6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยมี Pantera Capital, Polychain Capital และ Vitalik Buterin  
  • Grant จาก Ethereum Foundation : 12 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
  • Series A : 30 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยมี Paradigm, Sequoia Capital ,Coinbase Ventures, ConsenSys
  • Series B : 75 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยมี Paradigm, Pantera Capital, Sequoia Capital, Founders Fund
  • Series C : 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยมี Sequoia Capital, Paradigm
  • Series D : 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยมี Greenoaks Capital, Coatue Management, Paradigm, Sequoia Capital
  • Funding Round : 9.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จาก Alameda Research**

Starknet Ecosystem

ขอบคุณภาพ https://twitter.com/Starknet_OG/status/1739583121195147637 

Starknet Ecosystem ณ ปัจจุบันอาจจะอยู่ในช่วงเริ่มต้น และยังถือว่าเล็กอยู่พอสมควร ถ้าหากเราเปรียบเทียบกับ Layer 2 ตัวอื่นๆอย่าง Arbitrum หรือ Optimism ซึ่งอาจจะด้วยความที่การพัฒนา Dapps บนอาจจะต้องพัฒนาด้วยภาษา Cairo ที่ Developer อาจจะไม่ได้คุ้นเคย 

ขอบคุณภาพจาก https://l2fees.info/ 

และจากข้อมูลของ L2fee จะแสดงให้เห็นเลยว่าค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรมของ Starknet ยังถือว่าแพงกว่า Layer 2 ตัวอื่นๆอยู่เล็กน้อย ไม่ว่าจะเป็น zksync, Arbitrum, Optimism เป็นต้น

ขอบคุณภาพจาก https://defillama.com/chain/Starknet 

หลังจากที่ได้มีการเปิดตัวเหรียญ $STRK ไปแล้วตัว TVL ของ Starknet ของเพิ่มขึ้นจาก $ 55.73M เป็น $ 171.05M ซึ่งเหตุผลที่ทำให้ TVL เพิ่มขึ้นมาจากเหรียญ $STRK ที่สามารถนำไปใช้ใน Dapps ต่างๆบน Ecosystem ของ Starknet ได้ ไม่ว่าจะเป็นการวาง Liquidity บน DEX หรือ ไปวางเป็นหลักคำ้ประกันบน Lending Protocol เป็นต้น

ซึ่งน่าสนใจว่าจะมี Dapps ต่างๆมา Deploy บน Starknet มากน้อยแค่ไหน และ จะสามารถดึงผู้ใช้งานจากเชนอื่นๆให้เข้าไปใช้งานบน Starknet ได้หรือไม่ แน่นอนว่าคนส่วนใหญ่ ณ ตอนนี้อาจจะไม่ค่อยชอบ Starknet มากนัก ไม่ใช่เรื่องค่าแก๊ส แต่เป็นเรื่องของการที่ Head of Ecosystem ด่า Community เป็น E-baggers บวกกับ Criteria การแจกแอร์ดรอปที่อาจจะทำได้ไม่ค่อยดีซักเท่าไหร่ และบางเกณฑ์อาจจะไม่ได้สมเหตุสมผลมากเท่าไหร่ ทำให้ในด้าน Ecosystem อาจจะเติบโตค่อนข้างยาก เมื่อเทียบกับเชนอื่นๆ

Airdrop & Tokenomics

ขอบคุณภาพจาก https://docs.starknet.io/documentation/architecture_and_concepts/Economics-of-Starknet/ 

ต่อไปเราจะมาเจาะรายละเอียด Tokenomics ของ Starknet กันบ้าง ซึ่ง Total supply ของเหรียญ Starknet จะมีทั้งหมด 10,000,000,000 $STRK ซึ่งจะแบ่งเป็นสัดส่วนตามนี้

Early Contributor : 20.04%

Investors : 18.17%

Grants : 12.93%

Starkware : 10.76%

Strategic Reserve : 10%

Rebates : 9%

Provisions : 9%

Foundation Treasury : 8.1%

Donations : 2% 

ซึ่งจากข้อมูลด้านบนจะเห็นได้ว่าสัดส่วนที่ทาง Starknet จะเอามาแจกแอร์ดรอปจะมีทั้งหมด 9% นั้นเอง และ สัดส่วนของเหรียญส่วนใหญ่ที่มีการแบ่งจะอยู่กับ Early Contributor, Investors และ Starkware ที่จะนำไปใช้จ่ายค่าดำเนินการต่างๆของบริษัท เป็นหลัก  

ขอบคุณภาพจาก https://www.starknet.io/en/content/starknet-provisions-program 

ถึงเวลาที่เราจะมาลงรายละเอียดเกี่ยวกับแอร์ดรอปที่มีคำด่ามากที่สุดตัวนึงในวงการคริปโตแล้ว ซึ่งทาง Starknet ได้ทำการ Snapshot ไปเมื่อวันที่ 15/11/2023 เบื้องต้นจะมี Criteria ดังนี้

  • ใช้งานมากกว่า 5 transactions
  • ใช้งานติดต่อกันเกิน 3 เดือน
  • Volume ทั้งหมดมากกว่า 100$
  • ถือ 0.005 ETH ในวันที่ Snapshot

ถ้าหากเราลองไปดูสัดส่วนการแจกครั้งจะเห็นได้ว่าส่วนใหญ่แล้วทางทีม Starknet จะแบ่งให้กับผู้ใช้งานเป็นหลัก แต่แน่นอนว่าด้วยเกณฑ์การแจกที่ค่อนข้างโหด ทำให้คนที่ได้ส่วนใหญ่ก็จะได้กันคนละ 500 – 800 $STRK ต่อกระเป๋าเท่านั้น 

จากการวัดการแจกทั้งหมดที่ 700m $STRK นำมาคำนวณตามสัดส่วนและหารกับจำนวนผู้ได้รับทั้งหมดจะเห็นว่าเกณฑ์ที่ได้แอรดรอปจำนวนเยอะจะอยู่ที่ 

  • Starknet ECMP ที่ได้เฉลี่ย 30,195 $STRK ต่อกระเป๋า 
  • Starknet Developers ที่เฉลี่ย 9,727 $STRK ต่อกระเป๋า แต่ Starknet Users และ StarkEx Users ได้กันอยู่เฉลี่ยเพียง 108 – 709 $STRK

หากเรานำข้อมูลของ Token Allocation เพื่อให้เห็นภาพใหญ่มากยิ่งขึ้นโดยจะสามารถแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มหลักๆได้ตามนี้ 

End Users : 61%

Ethereum Contributor : 22.4%

Starknet Contributor : 9.1%

Developer 7.6%

ซึ่งถึงแน่นอนว่าสัดส่วนในการแจกจะอยู่ในกลุ่ม End Users เป็นหลักถึงกว่า 61% แต่แน่นอนว่าคนส่วนใหญ่ที่ไปใช้งานบน Starknet ก็อาจจะไม่ได้ โดยอาจจะเป็นเพราะการที่เขาจับ Sybil และ มีการตั้งเกณฑ์การแจกที่ยากเกินไป เพราะถ้าคนที่นำเงินไปฝาก LP แล้วเงินเหลือน้อยกว่า 0.005 ETH ในวันที่ Snapshot ก็จะไม่เข้าเกณฑ์

แต่ในอีกแง่คึอการที่เขาแจกให้กับฝั่ง Developer ในสัดส่วนที่เยอะ ทาง Starknet อาจจะต้องการที่จะกระตุ้นเพื่อให้เกิด Dapps ต่างๆ เพราะถ้าหากเราไปดู ณ ตอนนี้ Dapps บน Starknet ที่ใช้งานได้จริงๆอาจจะไม่ได้มากเท่าที่ควร 

ข้อดีของ Starknet

  • ระบบ ZK-STARKS เป็น Quantum resistance ที่ระบบสามารถป้องกันการโจมตีของ Quantum Computer ได้
  • การสร้าง ZK proof ของ ZK-STARKS จะ Scale ได้มากกว่า ZK-SNARKS เนื่องจากการสร้าง proof ของ ZK-SNARKS จะใช้กำลังการประมวลผลเยอะกว่า ZK-STARKS
  • StarkNet มี General Computation ในการประมวลผลท่ีทําให้นักพัฒนาสามารถคิดสร้าง Logic ท่ี หลากหลายแปลกใหมจ่นเกิดเป็นDAppsใหมๆ่และสร้างUseCaseใหมที่แตกต่างจากเดิมง่ายกว่าตัว อื่นๆ 
  • ภาษา Cairo สามารถเข้ากับระบบ Zero Knowledge Proof ได้ดีกว่า Solidity

ข้อเสียของ Starknet

  • Developer ที่สามารถเขียนภาษา Solidity ได้ยังมีไม่มากเท่ากับภาษา Solidity
  • Dapps บน Starknet ยังมีไม่มาก และ ยังไม่มีตัวที่สามารถดึงดูดให้คนไปใช้งานได้
  • Developer ต้องเรียนรู้ภาษา Cairo ใหม่ ซึ่งอาจจะต้องใช้ความพยายามในการเรียนรู้

สรุป

Starknet เป็นหนึ่งใน zk Rollups ที่ถือว่ามีศักยภาพสูงที่สุดตัวหนึ่งในที่มีการทำเทคโนโลยี zero knowledge proof ของตนเอง แต่การพัฒนา Dapps ต่างๆยังถือว่ายากอยู่เนื่องด้วยภาษา Cairo ไม่ได้เป็นภาษาเขียนโปรแกรมที่เหล่า Developer คุ้นเคย ซึ่งอาจจะต้องจับตาว่า Starknet จะสามารถทำให้ Ecosystem ของตนเอง เติบโตได้หรือไม่ 

เนื่องจาก Starknet มีกรณีกับที่ทาง Head of Ecosystem ด่า Community ก็เป็นอีกหนึ่งประเด็นว่าทาง Starknet จะสามารถดึง Users กลับไปใช้งานได้หรือไม่ แต่แน่นอนว่าในสัดส่วนของ Airdrop ก็มีเหลืออยู่อีก 2% ซึ่งการที่เราไปใช้งานเพื่อลุ้นรับ Airdrop ในรอบถัดไปอาจจะเป็นตัวเลือกที่ดีก็เป็นได้

Author

Share :
Related
เข้าสู่ยุคใหม่ของ Bitcoin ? พาส่อง Bitcoin Ecosystem ปี 2024 
Cryptomind Monthly Outlook (April 2024)
Technical Analysis $PENDLE, $BNB โดย Cryptomind Advisory (22 Apr 24)
CoinTalk (19/4/24):