Search
Close this search box.

SOCIAL GRAPH PROTOCOL: รากฐาน Social Network บน Web3.0

  • Watcharawich

    Researcher ・NFT Creator・PhD Student・Architect

Share :
2

Table of Contents

เกริ่นนำ

Social Graph คือ ผังความสัมพันธ์ระหว่างคนหรือ Data ในเรื่องต่างๆ โดย Social Graph ถูกสร้างขึ้นมาให้เป็นกระดูกสันหลังให้กับ Social Network ในยุคปัจจุบันมากมาย จนมาถึงในยุค Web3.0 ที่แนวคิดในเรื่อง Social Graph ถูกนำมาออกแบบให้มีความ Decentralized ขึ้น และผู้ใช้งานมีสิทธิในการเป็นเจ้าของของข้อมูลตัวเองอย่างแท้จริงในรูปแบบของ Social Graph Protocol

บทความนี้จะพาทุกคนให้รู้จักกับ Social Graph Protocol บน Web3.0 ทั้งในเรื่องของนัยยะความสำคัญและการใช้งานในปัจจุบัน


1. จาก Web1.0-Web3.0 : อดีต-ปัจจุบัน-อนาคต

อินเทอร์เน็ต ผ่านวิวัฒนาการมาหลากหลายจนกว่าจะมาถึงในยุคปัจจุบัน ก่อนอื่น การทำความเข้าใจตั้งแต่ยุค Web1.0 ถึง Web2.0 เพื่อทำความเข้าใจถึงข้อสำคัญและข้อกังวลต่างๆที่เปิดทางให้มีการแก้ไขใน Web3.0 เป็นสิ่งที่สำคัญ

– 1.1 อดีต: Web1.0 – Read

เป็นยุคแรกของการเกิดของอินเทอร์เน็ตในช่วงปลาย 1900s-ต้น 2000s

  • ลักษณะเฉพาะ:
    • Read-Only: ไม่สามารถ Comment หรือโต้ตอบได้
    • ไม่มี Social Network
    • การปฏิสัมพันธ์ระหว่างคน: การรับส่งอีเมล
    • เว็บไซต์เริ่มต้นด้วย HTML: การออกแบบเรียบง่าย
    • การพัฒนาในแง่ User Experience น้อย
  • ตัวอย่าง Product:
    • Geocities: แพลตฟอร์มสร้างเว็บไซต์จาก Template
    • AltaVista: Search Engine ก่อนยุค Yahoo และ Google
    • Netscape Navigator: Web Browser ช่วงแรกๆ

– 1.2 ปัจจุบัน: Web2.0 – Read and Write

เป็นยุคถัดมาของอินเทอร์เน็ตที่คนมีปฏิสัมพันธ์กันได้มากขึ้นในช่วงกลาง 2000s-2010s

  • ลักษณะเฉพาะ:
    • ความ Interactive: เว็บไซต์สามารถ Update เองได้ตลอดเวลา
    • Social Network: สร้าง, แชร์ content, comment และโต้ตอบกับคนอื่นได้แบบ Real-time
    • Community: เข้ากลุ่มต่างๆตามความชอบ และสามารถแชร์และโต้ตอบกันได้
    • เทคโนโลยี AJAX: เว็บไซท์ที่ interactive มากขึ้น
    • API data: นักพัฒนาสามารถดึงข้อมูลจากที่ต่างๆเพื่อพัฒนา Application ที่หลากหลายได้
    • อื่นๆ: ออกแบบเว็บไซท์หลากหลาย, ความเร็วการส่งข้อมูลไวขึ้น
  • ตัวอย่าง Product:
    • Social Media: Facebook, Twitter, Instagram
    • Video/Streaming: Youtube, Twitch
    • Blog: Medium
    • Game: Club Penguin, Farmville

– 1.3 อนาคต(?): Web3.0 – Read, Write, Own

ปัจจุบันยังคงมีความคาบเกี่ยวกันระหว่างกันใช้งานระหว่าง Web2.0 และ Web3.0 โดยข้อสำคัญที่ส่งให้เกิด Web3.0 คือการมาของบล็อกเชนและ Smart Contract

หลายคนอาจจะมีคำถามว่า ในเมื่อ Web2.0 มีอะไรที่ค่อนข้างครบครันแล้ว ทำไมถึงต้องมี Web3.0 และ Web3.0 จะเข้ามาช่วยในเรื่องอะไร?

Web3.0 มาด้วย Concept หลักเรื่อง Ownership หรือก็คือสิทธิในการถือครอง ซึ่งแก้ปัญหาจาก Web2.0 ที่ข้อมูล รูป Assetในเกม และอื่นๆต่างถูกเก็บอยู่บน Server ของแต่ละบริษัทเอง ทำให้เราไม่เคยเป็นเจ้าของสิ่งเหล่านั้นอย่างแท้จริง และมีความเสี่ยงที่หากบริษัทนั้นๆปิดไป ข้อมูลก็หายไปด้วยเช่นกัน

  • Decentralization คืออีก Key Word หลักของ Web3.0 และด้วยเทคโนโลยีบล็อกเชนที่ก่อให้เกิด Smart Contract และมีการบันทึกข้อมูลการถือครองต่างๆได้โดยไม่ต้องยึดถือการฝากข้อมูลให้กับบางบริษัทอย่างเดียวอีกต่อไป
  • Assets และข้อมูลต่างๆของเรา เมื่อถูกบันทึกในระบบกลางแล้ว เราสามารถในไปใช้ในหลากหลายแพลตฟอร์มได้อย่างอิสระ
  • แม้เกมที่เราเล่นจะปิดตัวลง แต่ของในเกมที่เราได้มายังเป็นของเราอยู่และสามารถเก็บไว้ดู ส่งให้คนอื่น หรือขายต่อได้
  • รูปที่เราโพสลงบน Web3.0 Social Network แม้ว่าแพลตฟอร์มนั้นๆจะปิดตัวไป แต่ข้อมูลก็จะตามไปแม้เราเข้าไปใช้ในแพลตฟอร์มใหม่ก็ตาม
  • ตัวอย่างของ Product ที่เกิดขึ้นมาในยุคนี้ได้แก่:
    • NFT Exchange: Opensea, Fountation – แพลตฟอร์มในการสร้าง ซื้อขาย แลกเปลี่ยน ประมูล NFT ต่างๆที่แต่ละแพลตฟอร์มรองรับได้ ไม่ว่าจะเป็นรูปวาด ภาพถ่าย อุปกรณ์ในเกมหรือ Metaverse
    • NFT Lending: Blur – แพลตฟอร์มนี้ นอกจากการรับรองการซื้อขาย NFT แล้ว ยังมีฟังชั่นที่สามารถให้เรานำ NFT Asset ของเราไปค้ำเพื่อกู้ออกมาได้อีกด้วย
    • Decentralized Exchange: แพลตฟอร์มในการแลกเปลี่ยนเหรียญต่างๆอย่างอิสระ
    • Web3.0 Applications: Brave Browser – Browser ที่เน้นการรองรับความ Privacy และรองรับการใช้งานต่างๆบน Web3.0
    • นอกจากนี้ เทคโนโลยีบล็อกเชนยังเปิดโอกาสให้เกิดนวัตกรรมอีกหลากหลายที่จะตามมาในอนาคตด้วย เช่น Tokenization of Asset หรือ การแปลงสินทรัพย์จากโลกจริงให้มาอยู่ในรูปแบบดิจิตอล ทำให้เราสามารถนำมาต่อยอดและใช้งานร่วมกันได้อย่างอิสระ

2. Social Graph: แผนผังโครงข่ายความสัมพันธ์ใน Social Network

ที่มา: Business Insiders

Social Graph หรือ Sociograms คือผังโครงข่ายของความสัมพันธ์และปฏิสัมพันธ์ต่างๆระหว่างคนหรือภายในระหว่างกลุ่มหนึ่ง จากรูปด้านบนบุคคลต่างๆจะถูกใช้เป็น Node และความสัมพันธ์จะถูกเชื่อมต่อกันด้วยเส้น Link ต่างๆ
Concept ของ Social Graph ถูกคิดค้นและใช้งานมาตั้งแต่ก่อนยุคดิจิตอล จนกระทั่งถูกนำมาใช้บน Social Media ต่างๆในยุค Web2.0

– 2.1 Social Graph เป็นมายังไง?

  • Graph Theory: พื้นฐานจากทฤษฎีเรื่อง Graph
    • 1736: จุดเริ่มต้นของทฤษฎีการใช้กราฟ คือในปี 1736 ที่นักคณิตศาสตร์ชื่อ Leohard Euler ใช้ concept ของกราฟในการตอบปัญหา ‘The Seven Bridges of Königsberg problem’ ในตอนนั้นเองคือจุดเริ่มต้นในการหาคำตอบด้วยการแสดงภาพความสัมพันธ์ด้วยกราฟ
  • Sociograms ในยุคก่อนการเกิดดิจิตอล
    • 1930s: นักสังคมศาสตร์ชื่อ Jacob Moreno ได้ทำการศึกษาความสัมพันธ์ภายในกลุ่มคน โดย Job Moreno ได้ใช้กราฟในการเชื่อมความสัมพันธ์ต่างๆเพื่อศึกษา Dynamic ต่างๆในกลุ่ม สิ่งนี้ทำให้การใช้กราฟเริ่มเห็นการใช้งานจริงมากขึ้น
ที่มา: ResearchGate
  • จุดเริ่มต้นของ Community ออนไลน์
    • 1970s-1980s: ในช่วงต้นของยุคอินเทอร์เน็ต แม้ว่าอุปกรณ์ต่างๆยังไม่ได้เอื้อให้เกิด Social Network ที่ใช้งานและโต้ตอบกันได้ ยุคนั้นเริ่มเกิด Community ออนไลน์และ Bulletin Board Systems (BSS)
  • กำเนิด Social Networks
    • 1997: SixDegrees.com เป็นแพลตฟอร์มแรกที่มีความเป็น Social Network โดยผู้ใช้งานสามารถสร้างโปรไฟล์ เชื่อมต่อกับเพื่อน ร่วมถึงมองเห็นเพื่อนร่วมกันได้ ถือว่าเป็นแพลตฟอร์มแรกที่เริ่มนำ Social Graph มาใช่งานออนไลน์
    • 2002-2003: Friendster เปิดตัวภายใต้ concept ของการสร้าง Network ของเพื่อน และ Linkedin เปิดตัวภายใต้ concept ของการสร้าง Network สำหรับการทำงาน
  • การขยายเข้าสู่จุด Mainstream
    • 2004: Facebook เปิดตัวครั้งแรกโดยผู้ใช้งานเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัย แต่หลังจากนั้นก็ได้ขยายจนกลายเป็น Social Network ที่ใหญ่ที่สุดในโลก
    • 2006: Twitter เปิดตัวครั้งแรก โดยสร้างการใช้งาน Social Graph จากความสัมพันธ์ในการ Follow และการ Tweet (โพส)
  • การเผยแพร่คำว่า “Social Graph”
    • 2007: Mark Zuckerberg หรือ CEO ของ Meta (อดีต Facebook) นำคำว่า ‘Social Graph’ มาใช้ในการอธิบายหลักการทำงานของการเชื่อมความสัมพันธ์ใน Social Network ทำให้คำๆนี้เป็นที่รู้จักมากขึ้น
  • ความต้องการในการสร้าง Decentralization และ Privacy
    • 2010s: คนเริ่มมาให้ความสำคัญกับ Privacy และ Data ของตัวเอง จึงเริ่มเกิดแพลตฟอร์ม Social Network ทางเลือกอื่นๆที่ช่วยในทั้งสองเรื่องขึ้นมา เช่น Mastrodon
    • 2010s-2020s: หลังจากการเกิดของบล็อกเชนและ Smart Contract ทำให้เริ่มเกิดแนวคิดในการนำ Social Graph มาใช้บนบล็อกเชนเพื่อให้เกิดความ Decentralized และเก็บ Data ต่างๆในระบบกลาง เป็นจุดเข้าสู่การใช้งาน Social Graph Protocol บน Web3.0 และมีการ OWN ข้อมูลต่างๆของตัวเองอย่างแท้จริง

สรุปประวัติศาสตร์ของ Social Graph:

ในตอนแรก Social Graph ไม่ได้ถูกใช้งานในแง่ดิจิตอล จนกระทั่งการเกิดของ Web2.0 ที่สามารถให้คนมาทำปฏิสัมพันธ์กันได้โดยนำ Social Graph มาใช้เป็นข้อมูลความสัมพันธ์ด้านหลัง หลังจากนั้นคนเริ่มตระหนักถึง Privacy และความ Decentralized ของข้อมูลต่างๆ ส่งผลมาให้เกิดการคิดการใช้งานบน Web3.0 ที่เกิดจากบล็อกเชน

ที่มา: Medium

– 2.2 จุดเด่นของ Social Graph ใน Web2.0

  1. Centralized: เจ้าของแพลตฟอร์มจะเป็นเจ้าของและสามารถที่จะควบคุม Social Graph ของที่นั้นๆได้ รวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงและการนำไปใช้
  2. Data Usage: จากการที่มีการเชื่อมโยงกันทั้งในเรื่องความชอบและคอนเนคชั่นต่างๆ แพลตฟอร์มสามารถใช้ข้อมูลเหล่านี้ในการนำโฆษณาเข้าถึงความชอบเราได้ตรงๆ
  3. Privacy: เจ้าของแพลตฟอร์มเป็นเจ้าของในการถือข้อมูลทุกอย่าง ทำให้คนเกิดความกังวลได้ ว่าข้อมูลจะถูกนำไปใช้อย่างไร และข้อมูลปลอดภัยจากการรั่วไหลแค่ไหน
  4. Data Portability: เมื่อใช้งานบนแพลตฟอร์มหนึ่งแล้ว หากข้อมูลที่ใช้งานบนนั้นไม่ได้เชื่อมโยงกับอีกแพลตฟอร์ม การย้ายการใช้งานเป็นเรื่องที่ยาก เพราะข้อมูลนั้นติดอยู่กับแพลตฟอร์มและฐานข้อมูลนั้นๆไปแล้ว
  5. Algorithmic Feeds: แพลตฟอร์มต่างๆสามารถปรับ Algorithm ในการแสดงข้อมูลต่างๆบนหน้า Feed เราตามความชอบของเรา หรือปฏิสัมพันธ์กับบางคนได้ เช่น การโชว์หน้าเพจที่เรากดไลค์บ่อยๆ

จุดเด่นต่างๆบ้างอาจจะถูกมองว่าเป็นข้อดีก็ได้ เช่นในเรื่องของ Privacy ที่บางคนอาจจะยอมสละให้แพลตฟอร์มรับผิดชอบแทนเพื่อจะไม่จำเป็นต้องรับผิดชอบเองในระบบที่ Decentralized กว่านี้

แต่ในอีกทางหนึ่งก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าก็มีคนที่กังวลในเรื่องเหล่านี้เช่นกัน ซึ่งก็อาจจะเป็นสิ่งที่ดีหากมีทางเลือกอื่นๆที่สามารถแก้ไขข้อกังวลเหล่านี้ได้

– 2.3 การนำ Social Graph มาใช้งานใน Web2.0

การมี Social Graph เป็นผังการเชื่อมโยงกันของข้อมูลทำให้หลากหลายฟังก์ชันใช้งานได้ง่ายขึ้นและมีประสิทธิภาพขึ้น เราสามารถมองเห็นการนำ Social Graph มาใช้งานตามแพลตฟอร์มต่างๆได้ดังนี้:

  1. การแนะนำเพื่อน: Facebook ใช้ Social Graph ในการหาคนที่มี Mutual Friend หรือเพื่อนร่วมกันเยอะ เพื่อแนะนำว่าอาจจะเป็นเพื่อนที่รู้จักกับเรา และสามารถเชื่อมต่อกันได้
  2. การแนะนำ Content: Twitter และ Intagram ใช้ Social Graph ในการโยงหัวข้อที่เราสนใจเพื่อที่จะแนะนำ Content ที่ใกล้เคียงกับเรื่องนั้นๆให้เรา
  3. การสร้าง Networking ธุรกิจ: Linkedin ใช้ Social Graph ในการช่วยเสริมสร้าง Connection ทางธุรกิจและโอกาสในการหางานต่างๆ
  4. การแนะนำกลุ่มหรือ Community: Social Graph สามารถใช้บ่งบอกได้ว่าเราสนใจเรื่องไหนเป็นพิเศษน์ ซึ่งสิ่งนี้สามารถทำให้ Social Network แนะนำกลุ่มที่เราอาจจะสนใจเข้าไปร่วมได้
  5. การทำโฆษณาบน Social Network: ในการทำธุรกิจและการทำโฆษณาให้เจอกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการ Social Graph เป็นหนึ่งในสิ่งที่ช่วยให้สามารถนำเสนอเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้นไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของกลุ่มอายุ หรือความสนใจต่างๆ

3. Social Graph Protocol บน Web3.0

ที่มา: Arianee

Social Graph Protocol เป็น Solution ของ Social Graph บน Web3.0 ที่จะแก้ปัญหาจากหลายๆข้อกังวลจาก Web2.0 ในเรื่อง Decentralization, ความเป็นส่วนตัว, ความอิสระในการเลือกย้ายแพลตฟอร์ม

– 3.1 Social Graph Protocol คือ?

ที่มา: Medium

Social Graph คือ แผนผังแสดงความเชื่อมโยงระหว่างความสัมพันธ์ระหว่างคนกับคน หรือคนกับข้อมูลในเรื่องต่างๆ ซึ่งจะเป็นกระดูกสันหลังในการสร้าง Social Network

หมายความว่า Social Graph ไม่ใช่ Facebook ทั้งหมด และไม่ใช่ Instagram ทั้งหมด แต่เป็นกระดูกสันหลังให้กับระบบต่างๆบนแพลตฟอร์มนั้นๆ

  • Social Graph Protocol ถูกออกแบบภายใต้ concept หลักคือเรื่องของ Decentralization และ Ownership ซึ่งแก้ปัญหาจากข้อกังวลต่างๆจากการใช้ Social Graph บน Web2.0 และเปิดอิสระในการเลือกใช้แพลตฟอร์มมากขึ้น
  • เมื่อมี Social Graph ที่ Decentralized แล้ว นักพัฒนาสามารถออกแบบ Social Network Application แบบไหนก็ได้เพื่อมาเกาะกับ Social Graph ตัวนั้นๆได้ทันที โดยไม่มีความจำเป็นให้ผู้ใช้งานต้องมาเริ่มใช้งานใหม่ตั้งแต่เริ่มต้นโดยไม่มี Connection กับใครบนแพลตฟอร์มนั้นๆเลย
  • โปรไฟล์ของ Social Graph Protocol จะถูกใช้เป็นรูปแบบ NFT ซึ่งเราสามารถเอามาใช้ ส่งต่อ หรือขายต่อได้ตามที่เราต้องการ เช่นเดียวกันกับ FollowerNFT และ Content ต่างๆที่เรา Upload ลงบน Social Graph Protocol

– 3.2 จุดเด่นของ Social Graph Protocol บน Web3.0

  1. Decentralization
    Social Graph Protocol ซึ่งอยู่บนรากฐานของ Public บล็อกเชนเป็นการช่วยให้ฐานข้อมูลของเราไม่ถูกเปลี่ยนแปลงไปหรือถูกยึดไปโดยแพลตฟอร์มใดแพลตฟอร์มหนึ่งได้เหมือนกับระบบแบบ Centralized ใน Web2.0
  2. Interoperability
    การเชื่อมต่อกับระบบและ dapps อื่นๆบนบล็อกเชนได้ ไม่ว่าจะเป็น Social Network, การเงิน, สิ่งบันเทิงต่างๆ, การศึกษา, การหางาน อิสระในการเลือกการเชื่อมต่อกับทุกอย่างเป็นข้อดีของ Social Graph Protocol
  3. Privacy and Data Ownership
    Social Graph Protocol ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้เกิดความ Privacy และความสามารถในการกำหนด เปิดเผย และใช้งานข้อมูลต่างๆเองได้หมด ซึ่งเป็นจุดเด่นที่ต่างจาก Web2.0 ที่ข้อมูลทุกอย่างจะอยู่ในมือของเจ้าของแพลตฟอร์ม
  4. Community Governance
    แทนที่ระบบของข้อมูลต่างๆจะถูกกำหนดได้โดยเจ้าของแพลตฟอร์ม การที่ Social Graph Protocol อยู่บน Web3.0 จะทำให้ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมได้ในการแสดงความต้องการความเปลี่ยนแปลงหรือการพัฒนาในระบบ

– 3.3 Social Graph Protocol และ SocialFi คือสิ่งเดียวกันหรือไม่?

ช่วงที่ผ่านมาจะเห็นได้ถึง SocialFi ต่างๆที่เป็น Social Network บน Web3.0 เช่น Friend.tech, Torum, และอื่นๆ สิ่งนี้คือสิ่งเดียวกับ Social Graph Protocol รึเปล่า?

SocialFi คือ Social Network Dapps แต่ Social Graph Protocol คือโครงสร้างของ Social Network

Social Graph Protocol เป็นเพียงผังความสัมพันธ์ด้านหลัง ซึ่งเป็นรากฐานในการต่อยอดไปสร้าง dapps อื่นๆที่หลากหลายตามต้องการ โดยการสร้างจะเน้นไปที่ความสัมพันธ์ของเครือข่ายมากกว่า

SocialFi คือ Dapps ที่เชื่อมต่อระหว่างความเป็น Social Media และ Finance ซึ่งจะเน้นไปที่การสร้าง incentives ต่างๆตามการใช้งานของคน ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบของการสร้าง content การให้ stake token เพื่อสนับสนุน Creator ที่ชอบ

ถึงแม้ว่าคำที่ใช้จะใกล้เคียงกัน แต่สองอย่างนี้ไม่ใช่สิ่งเดียวกัน

– 3.4 ในอนาคตระบบ Social Network จะเปลี่ยนเป็น Web3.0 ทั้งหมด?

ถึงแม้ว่าในปัจจุบันบล็อกเชนจะช่วยส่งเสริมให้ Social Graph Protocol ทำสำเร็จในเรื่องของการสร้าง Decentralized Network ขึ้นมาและช่วยในเรื่องของ Ownership ต่างๆ แต่ความยากในการเรียนรู้ในการเข้ามาใช้งานยังคงเป็นเรื่องยากมากเมื่อเทียบกับการใช้งานบนแพลตฟอร์มบน Web2.0

  • ในช่วงต้น Web3.0 อาจจะเป็นทางเลือกในการเข้ามาใช้งานสำหรับคนที่ต้องการเป็นเจ้าของและกำกับดูแล content และข้อมูลของตัวเองจริงๆ
  • ถ้าหากการพัฒนาทำให้ทุกอย่างใช้งานง่าย ตั้งแต่การทำ Account Abstraction, Chain Abstraction และอื่นๆ ก็มีโอกาสไม่น้อยที่ Social Network จะถูกใช้เป็น Web3.0 ในอนาคตเช่นกัน

4. Social Graph Protocol ต่างๆในปัจจุบัน

– 4.1 Lens Protocol

ที่มา: Polygon Daily

Lens Protocol คือ Social Graph Protocol ที่ถูกสร้างบน Polygon โดยทีมเดียวกับที่สร้าง AAVE และ GHO โดยปัจจุบันมี Social Network Dapp มากมายที่ถูกสร้างต่อยอดขึ้นมาจาก Lens ได้แก่:

  • แพลตฟอร์มวีดีโอ: Lenstube
  • แพลตฟอร์ม Social Media บนโทรศัพท์: Orb, Phaver, Buttrfly
  • แพลตฟอร์มเพลง: Riff
  • แพลตฟอร์ม Streaming: Dumpling

การพัฒนาต่างๆที่สำคัญของ Lens

  • การใช้ Profile ในรูปแบบ NFT ประกอบด้วย ชื่อ.lens เช่น Stani.lens
  • การเข้าไปซื้อ Startup แบบ Sonar ซึ่งอาจจะถูกนำมาผนวกกับ Lens ในอนาคต
  • สร้าง Momoka Scaling Solution ซึ่งเป็น Optimistic Roll-ups Layer 3 เพื่อให้สามารถรองรับข้อมูลได้เยอะขึ้นและค่าใช้จ่ายถูกลงเหมาะกับการใช้งานในรูปแบบ Social Network
  • สร้าง Lens SDK 1.0ซึ่งเป็นอุปกรณ์ในการสร้าง Social Media ได้อย่างง่าย ทำให้สามารถต่อยอดในการสร้างแพลตฟอร์มและขยาย Ecosystem ได้อย่างรวดเร็ว
  • ได้รับเงินทุน 15 ล้าน$
  • การพัฒนาเป็น Lens V2 โดยปรับโครงสร้างหลายอย่าง
ที่มา: Dune

ปัจจุบัน Lens Protocol ยังคงมีการใช้งานอย่างต่อเนื่องที่ราว 5000 โพสต่อวัน และมียอด Profile รวม 19,600 Profiles

– 4.2 CyberConnect

ที่มา: BSCDaily on X

CyberConnect ในตอนแรกสุดเป็น Social Graph Protocol ที่อยู่บน Binance Smart Chain โดยมีเป้าหมายที่จะเป็น Social Graph Protocol แบบ Multichain
CyberConnect มี 3 สิ่งหลักที่ชูโรงคือ:

  1. CyberAccount: ฐานข้อมูลของ Account ที่รองรับ ERC-4337
  2. CyberGraph: ฐานข้อมูลที่เก็บข้อมูล Content และ Connection ต่างๆของผู้ใช้งานที่เป็น Censorshop-resistant
  3. CyberNetwork: Network ที่สามารถรองรับ Scalability ได้สูง และสามารถใช้ค่า gas ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

แพลตฟอร์มต่างๆที่ทำการต่อยอดมาจาก CyberConnect ได้แก่

  1. แพลตฟอร์มการอ่านข่าวต่างๆ: ReadOn
  2. แพลตฟอร์ม Social Media: Phaver
  3. แพลตฟอร์มเก็บ W3ST: Link3

การพัฒนาต่างๆที่สำคัญของ CyberConnect

  1. 3 Core หลักในการพัฒนา CyberAccount, CyberGraph, CyberNetwork
  2. W3ST (Web3 Status) Token ซึ่งเป็น Soulbound Token ให้กับคนที่เข้าไปร่วมกิจกรรมต่างๆ โดยสิ่งนี้สามารถเก็บเป็นที่ระลึกหรือสามารถโชว์ถึงการเข้าร่วมของเราได้
  3. การรองรับแบบ Multichain โดยเป้าหมายคือการรองรับ EVM-chain ถึง 6 เชน
  4. $CYBER ซึ่งเป็น Governance Token ที่มีการ airdrop ให้กับผู้ใช้งานในช่วงที่ผ่านมา

CyberProfile มีการเติบโตอยู่เรื่อยๆอย่างเห็นได้ชัด

การพัฒนาของฝั่ง CyberConnect เองที่เน้นในการพัฒนาไปเป็น Multichain ก็อาจจะเป็น Approach ที่ทำให้เกิดการใช้งานที่ง่ายขึ้นได้ และการพัฒนาต่อยอด dapp ต่างๆจะไม่มีข้อจำกัดที่ต้องอยู่บนเชนเดียว


สรุป

Social Graph Protocol เป็น move ที่สำคัญและแสดงถึง Use case ที่สำคัญของบล็อกเชนที่สามารถสร้างเครือข่ายที่มีความ Decentralized และก่อให้เกิด Ownership ให้กับคนที่มาใช้งานได้

ไม่ว่าจะเป็น Lens หรือ CyberConnect ต่างก็มีแนวทางในการพัฒนาและทดลอง Social Graph Protocol ในรูปแบบที่ต่างกันออกไป นวัตกรรมที่สามารถเกิดได้จากการพัฒนาสิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องที่น่าติดตามเป้นอย่างมาก

Author

Share :
Related
CoinTalk (26/4/2024):
เข้าสู่ยุคใหม่ของ Bitcoin ? พาส่อง Bitcoin Ecosystem ปี 2024 
Cryptomind Monthly Outlook (April 2024)
Technical Analysis $PENDLE, $BNB โดย Cryptomind Advisory (22 Apr 24)