เกริ่นนำ
Social Graph คือ ผังความสัมพันธ์ระหว่างคนหรือ Data ในเรื่องต่างๆ โดย Social Graph ถูกสร้างขึ้นมาให้เป็นกระดูกสันหลังให้กับ Social Network ในยุคปัจจุบันมากมาย จนมาถึงในยุค Web3.0 ที่แนวคิดในเรื่อง Social Graph ถูกนำมาออกแบบให้มีความ Decentralized ขึ้น และผู้ใช้งานมีสิทธิในการเป็นเจ้าของของข้อมูลตัวเองอย่างแท้จริงในรูปแบบของ Social Graph Protocol
บทความนี้จะพาทุกคนให้รู้จักกับ Social Graph Protocol บน Web3.0 ทั้งในเรื่องของนัยยะความสำคัญและการใช้งานในปัจจุบัน
1. จาก Web1.0-Web3.0 : อดีต-ปัจจุบัน-อนาคต
อินเทอร์เน็ต ผ่านวิวัฒนาการมาหลากหลายจนกว่าจะมาถึงในยุคปัจจุบัน ก่อนอื่น การทำความเข้าใจตั้งแต่ยุค Web1.0 ถึง Web2.0 เพื่อทำความเข้าใจถึงข้อสำคัญและข้อกังวลต่างๆที่เปิดทางให้มีการแก้ไขใน Web3.0 เป็นสิ่งที่สำคัญ
– 1.1 อดีต: Web1.0 – Read
เป็นยุคแรกของการเกิดของอินเทอร์เน็ตในช่วงปลาย 1900s-ต้น 2000s
- ลักษณะเฉพาะ:
- Read-Only: ไม่สามารถ Comment หรือโต้ตอบได้
- ไม่มี Social Network
- การปฏิสัมพันธ์ระหว่างคน: การรับส่งอีเมล
- เว็บไซต์เริ่มต้นด้วย HTML: การออกแบบเรียบง่าย
- การพัฒนาในแง่ User Experience น้อย
- ตัวอย่าง Product:
- Geocities: แพลตฟอร์มสร้างเว็บไซต์จาก Template
- AltaVista: Search Engine ก่อนยุค Yahoo และ Google
- Netscape Navigator: Web Browser ช่วงแรกๆ
– 1.2 ปัจจุบัน: Web2.0 – Read and Write
เป็นยุคถัดมาของอินเทอร์เน็ตที่คนมีปฏิสัมพันธ์กันได้มากขึ้นในช่วงกลาง 2000s-2010s
- ลักษณะเฉพาะ:
- ความ Interactive: เว็บไซต์สามารถ Update เองได้ตลอดเวลา
- Social Network: สร้าง, แชร์ content, comment และโต้ตอบกับคนอื่นได้แบบ Real-time
- Community: เข้ากลุ่มต่างๆตามความชอบ และสามารถแชร์และโต้ตอบกันได้
- เทคโนโลยี AJAX: เว็บไซท์ที่ interactive มากขึ้น
- API data: นักพัฒนาสามารถดึงข้อมูลจากที่ต่างๆเพื่อพัฒนา Application ที่หลากหลายได้
- อื่นๆ: ออกแบบเว็บไซท์หลากหลาย, ความเร็วการส่งข้อมูลไวขึ้น
- ตัวอย่าง Product:
- Social Media: Facebook, Twitter, Instagram
- Video/Streaming: Youtube, Twitch
- Blog: Medium
- Game: Club Penguin, Farmville
– 1.3 อนาคต(?): Web3.0 – Read, Write, Own
ปัจจุบันยังคงมีความคาบเกี่ยวกันระหว่างกันใช้งานระหว่าง Web2.0 และ Web3.0 โดยข้อสำคัญที่ส่งให้เกิด Web3.0 คือการมาของบล็อกเชนและ Smart Contract
Web3.0 มาด้วย Concept หลักเรื่อง Ownership หรือก็คือสิทธิในการถือครอง ซึ่งแก้ปัญหาจาก Web2.0 ที่ข้อมูล รูป Assetในเกม และอื่นๆต่างถูกเก็บอยู่บน Server ของแต่ละบริษัทเอง ทำให้เราไม่เคยเป็นเจ้าของสิ่งเหล่านั้นอย่างแท้จริง และมีความเสี่ยงที่หากบริษัทนั้นๆปิดไป ข้อมูลก็หายไปด้วยเช่นกัน
- Decentralization คืออีก Key Word หลักของ Web3.0 และด้วยเทคโนโลยีบล็อกเชนที่ก่อให้เกิด Smart Contract และมีการบันทึกข้อมูลการถือครองต่างๆได้โดยไม่ต้องยึดถือการฝากข้อมูลให้กับบางบริษัทอย่างเดียวอีกต่อไป
- Assets และข้อมูลต่างๆของเรา เมื่อถูกบันทึกในระบบกลางแล้ว เราสามารถในไปใช้ในหลากหลายแพลตฟอร์มได้อย่างอิสระ
- แม้เกมที่เราเล่นจะปิดตัวลง แต่ของในเกมที่เราได้มายังเป็นของเราอยู่และสามารถเก็บไว้ดู ส่งให้คนอื่น หรือขายต่อได้
- รูปที่เราโพสลงบน Web3.0 Social Network แม้ว่าแพลตฟอร์มนั้นๆจะปิดตัวไป แต่ข้อมูลก็จะตามไปแม้เราเข้าไปใช้ในแพลตฟอร์มใหม่ก็ตาม
- ตัวอย่างของ Product ที่เกิดขึ้นมาในยุคนี้ได้แก่:
- NFT Exchange: Opensea, Fountation – แพลตฟอร์มในการสร้าง ซื้อขาย แลกเปลี่ยน ประมูล NFT ต่างๆที่แต่ละแพลตฟอร์มรองรับได้ ไม่ว่าจะเป็นรูปวาด ภาพถ่าย อุปกรณ์ในเกมหรือ Metaverse
- NFT Lending: Blur – แพลตฟอร์มนี้ นอกจากการรับรองการซื้อขาย NFT แล้ว ยังมีฟังชั่นที่สามารถให้เรานำ NFT Asset ของเราไปค้ำเพื่อกู้ออกมาได้อีกด้วย
- Decentralized Exchange: แพลตฟอร์มในการแลกเปลี่ยนเหรียญต่างๆอย่างอิสระ
- Web3.0 Applications: Brave Browser – Browser ที่เน้นการรองรับความ Privacy และรองรับการใช้งานต่างๆบน Web3.0
- นอกจากนี้ เทคโนโลยีบล็อกเชนยังเปิดโอกาสให้เกิดนวัตกรรมอีกหลากหลายที่จะตามมาในอนาคตด้วย เช่น Tokenization of Asset หรือ การแปลงสินทรัพย์จากโลกจริงให้มาอยู่ในรูปแบบดิจิตอล ทำให้เราสามารถนำมาต่อยอดและใช้งานร่วมกันได้อย่างอิสระ
2. Social Graph: แผนผังโครงข่ายความสัมพันธ์ใน Social Network
Social Graph หรือ Sociograms คือผังโครงข่ายของความสัมพันธ์และปฏิสัมพันธ์ต่างๆระหว่างคนหรือภายในระหว่างกลุ่มหนึ่ง จากรูปด้านบนบุคคลต่างๆจะถูกใช้เป็น Node และความสัมพันธ์จะถูกเชื่อมต่อกันด้วยเส้น Link ต่างๆ
Concept ของ Social Graph ถูกคิดค้นและใช้งานมาตั้งแต่ก่อนยุคดิจิตอล จนกระทั่งถูกนำมาใช้บน Social Media ต่างๆในยุค Web2.0
– 2.1 Social Graph เป็นมายังไง?
- Graph Theory: พื้นฐานจากทฤษฎีเรื่อง Graph
- 1736: จุดเริ่มต้นของทฤษฎีการใช้กราฟ คือในปี 1736 ที่นักคณิตศาสตร์ชื่อ Leohard Euler ใช้ concept ของกราฟในการตอบปัญหา ‘The Seven Bridges of Königsberg problem’ ในตอนนั้นเองคือจุดเริ่มต้นในการหาคำตอบด้วยการแสดงภาพความสัมพันธ์ด้วยกราฟ
- Sociograms ในยุคก่อนการเกิดดิจิตอล
- 1930s: นักสังคมศาสตร์ชื่อ Jacob Moreno ได้ทำการศึกษาความสัมพันธ์ภายในกลุ่มคน โดย Job Moreno ได้ใช้กราฟในการเชื่อมความสัมพันธ์ต่างๆเพื่อศึกษา Dynamic ต่างๆในกลุ่ม สิ่งนี้ทำให้การใช้กราฟเริ่มเห็นการใช้งานจริงมากขึ้น
- จุดเริ่มต้นของ Community ออนไลน์
- 1970s-1980s: ในช่วงต้นของยุคอินเทอร์เน็ต แม้ว่าอุปกรณ์ต่างๆยังไม่ได้เอื้อให้เกิด Social Network ที่ใช้งานและโต้ตอบกันได้ ยุคนั้นเริ่มเกิด Community ออนไลน์และ Bulletin Board Systems (BSS)
- กำเนิด Social Networks
- 1997: SixDegrees.com เป็นแพลตฟอร์มแรกที่มีความเป็น Social Network โดยผู้ใช้งานสามารถสร้างโปรไฟล์ เชื่อมต่อกับเพื่อน ร่วมถึงมองเห็นเพื่อนร่วมกันได้ ถือว่าเป็นแพลตฟอร์มแรกที่เริ่มนำ Social Graph มาใช่งานออนไลน์
- 2002-2003: Friendster เปิดตัวภายใต้ concept ของการสร้าง Network ของเพื่อน และ Linkedin เปิดตัวภายใต้ concept ของการสร้าง Network สำหรับการทำงาน
- การขยายเข้าสู่จุด Mainstream
- 2004: Facebook เปิดตัวครั้งแรกโดยผู้ใช้งานเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัย แต่หลังจากนั้นก็ได้ขยายจนกลายเป็น Social Network ที่ใหญ่ที่สุดในโลก
- 2006: Twitter เปิดตัวครั้งแรก โดยสร้างการใช้งาน Social Graph จากความสัมพันธ์ในการ Follow และการ Tweet (โพส)
- การเผยแพร่คำว่า “Social Graph”
- 2007: Mark Zuckerberg หรือ CEO ของ Meta (อดีต Facebook) นำคำว่า ‘Social Graph’ มาใช้ในการอธิบายหลักการทำงานของการเชื่อมความสัมพันธ์ใน Social Network ทำให้คำๆนี้เป็นที่รู้จักมากขึ้น
- ความต้องการในการสร้าง Decentralization และ Privacy
- 2010s: คนเริ่มมาให้ความสำคัญกับ Privacy และ Data ของตัวเอง จึงเริ่มเกิดแพลตฟอร์ม Social Network ทางเลือกอื่นๆที่ช่วยในทั้งสองเรื่องขึ้นมา เช่น Mastrodon
- 2010s-2020s: หลังจากการเกิดของบล็อกเชนและ Smart Contract ทำให้เริ่มเกิดแนวคิดในการนำ Social Graph มาใช้บนบล็อกเชนเพื่อให้เกิดความ Decentralized และเก็บ Data ต่างๆในระบบกลาง เป็นจุดเข้าสู่การใช้งาน Social Graph Protocol บน Web3.0 และมีการ OWN ข้อมูลต่างๆของตัวเองอย่างแท้จริง
สรุปประวัติศาสตร์ของ Social Graph:
ในตอนแรก Social Graph ไม่ได้ถูกใช้งานในแง่ดิจิตอล จนกระทั่งการเกิดของ Web2.0 ที่สามารถให้คนมาทำปฏิสัมพันธ์กันได้โดยนำ Social Graph มาใช้เป็นข้อมูลความสัมพันธ์ด้านหลัง หลังจากนั้นคนเริ่มตระหนักถึง Privacy และความ Decentralized ของข้อมูลต่างๆ ส่งผลมาให้เกิดการคิดการใช้งานบน Web3.0 ที่เกิดจากบล็อกเชน
– 2.2 จุดเด่นของ Social Graph ใน Web2.0
- Centralized: เจ้าของแพลตฟอร์มจะเป็นเจ้าของและสามารถที่จะควบคุม Social Graph ของที่นั้นๆได้ รวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงและการนำไปใช้
- Data Usage: จากการที่มีการเชื่อมโยงกันทั้งในเรื่องความชอบและคอนเนคชั่นต่างๆ แพลตฟอร์มสามารถใช้ข้อมูลเหล่านี้ในการนำโฆษณาเข้าถึงความชอบเราได้ตรงๆ
- Privacy: เจ้าของแพลตฟอร์มเป็นเจ้าของในการถือข้อมูลทุกอย่าง ทำให้คนเกิดความกังวลได้ ว่าข้อมูลจะถูกนำไปใช้อย่างไร และข้อมูลปลอดภัยจากการรั่วไหลแค่ไหน
- Data Portability: เมื่อใช้งานบนแพลตฟอร์มหนึ่งแล้ว หากข้อมูลที่ใช้งานบนนั้นไม่ได้เชื่อมโยงกับอีกแพลตฟอร์ม การย้ายการใช้งานเป็นเรื่องที่ยาก เพราะข้อมูลนั้นติดอยู่กับแพลตฟอร์มและฐานข้อมูลนั้นๆไปแล้ว
- Algorithmic Feeds: แพลตฟอร์มต่างๆสามารถปรับ Algorithm ในการแสดงข้อมูลต่างๆบนหน้า Feed เราตามความชอบของเรา หรือปฏิสัมพันธ์กับบางคนได้ เช่น การโชว์หน้าเพจที่เรากดไลค์บ่อยๆ
จุดเด่นต่างๆบ้างอาจจะถูกมองว่าเป็นข้อดีก็ได้ เช่นในเรื่องของ Privacy ที่บางคนอาจจะยอมสละให้แพลตฟอร์มรับผิดชอบแทนเพื่อจะไม่จำเป็นต้องรับผิดชอบเองในระบบที่ Decentralized กว่านี้
แต่ในอีกทางหนึ่งก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าก็มีคนที่กังวลในเรื่องเหล่านี้เช่นกัน ซึ่งก็อาจจะเป็นสิ่งที่ดีหากมีทางเลือกอื่นๆที่สามารถแก้ไขข้อกังวลเหล่านี้ได้
– 2.3 การนำ Social Graph มาใช้งานใน Web2.0
การมี Social Graph เป็นผังการเชื่อมโยงกันของข้อมูลทำให้หลากหลายฟังก์ชันใช้งานได้ง่ายขึ้นและมีประสิทธิภาพขึ้น เราสามารถมองเห็นการนำ Social Graph มาใช้งานตามแพลตฟอร์มต่างๆได้ดังนี้:
- การแนะนำเพื่อน: Facebook ใช้ Social Graph ในการหาคนที่มี Mutual Friend หรือเพื่อนร่วมกันเยอะ เพื่อแนะนำว่าอาจจะเป็นเพื่อนที่รู้จักกับเรา และสามารถเชื่อมต่อกันได้
- การแนะนำ Content: Twitter และ Intagram ใช้ Social Graph ในการโยงหัวข้อที่เราสนใจเพื่อที่จะแนะนำ Content ที่ใกล้เคียงกับเรื่องนั้นๆให้เรา
- การสร้าง Networking ธุรกิจ: Linkedin ใช้ Social Graph ในการช่วยเสริมสร้าง Connection ทางธุรกิจและโอกาสในการหางานต่างๆ
- การแนะนำกลุ่มหรือ Community: Social Graph สามารถใช้บ่งบอกได้ว่าเราสนใจเรื่องไหนเป็นพิเศษน์ ซึ่งสิ่งนี้สามารถทำให้ Social Network แนะนำกลุ่มที่เราอาจจะสนใจเข้าไปร่วมได้
- การทำโฆษณาบน Social Network: ในการทำธุรกิจและการทำโฆษณาให้เจอกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการ Social Graph เป็นหนึ่งในสิ่งที่ช่วยให้สามารถนำเสนอเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้นไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของกลุ่มอายุ หรือความสนใจต่างๆ
3. Social Graph Protocol บน Web3.0
Social Graph Protocol เป็น Solution ของ Social Graph บน Web3.0 ที่จะแก้ปัญหาจากหลายๆข้อกังวลจาก Web2.0 ในเรื่อง Decentralization, ความเป็นส่วนตัว, ความอิสระในการเลือกย้ายแพลตฟอร์ม
– 3.1 Social Graph Protocol คือ?
Social Graph คือ แผนผังแสดงความเชื่อมโยงระหว่างความสัมพันธ์ระหว่างคนกับคน หรือคนกับข้อมูลในเรื่องต่างๆ ซึ่งจะเป็นกระดูกสันหลังในการสร้าง Social Network
หมายความว่า Social Graph ไม่ใช่ Facebook ทั้งหมด และไม่ใช่ Instagram ทั้งหมด แต่เป็นกระดูกสันหลังให้กับระบบต่างๆบนแพลตฟอร์มนั้นๆ
- Social Graph Protocol ถูกออกแบบภายใต้ concept หลักคือเรื่องของ Decentralization และ Ownership ซึ่งแก้ปัญหาจากข้อกังวลต่างๆจากการใช้ Social Graph บน Web2.0 และเปิดอิสระในการเลือกใช้แพลตฟอร์มมากขึ้น
- เมื่อมี Social Graph ที่ Decentralized แล้ว นักพัฒนาสามารถออกแบบ Social Network Application แบบไหนก็ได้เพื่อมาเกาะกับ Social Graph ตัวนั้นๆได้ทันที โดยไม่มีความจำเป็นให้ผู้ใช้งานต้องมาเริ่มใช้งานใหม่ตั้งแต่เริ่มต้นโดยไม่มี Connection กับใครบนแพลตฟอร์มนั้นๆเลย
- โปรไฟล์ของ Social Graph Protocol จะถูกใช้เป็นรูปแบบ NFT ซึ่งเราสามารถเอามาใช้ ส่งต่อ หรือขายต่อได้ตามที่เราต้องการ เช่นเดียวกันกับ FollowerNFT และ Content ต่างๆที่เรา Upload ลงบน Social Graph Protocol
– 3.2 จุดเด่นของ Social Graph Protocol บน Web3.0
- Decentralization
Social Graph Protocol ซึ่งอยู่บนรากฐานของ Public บล็อกเชนเป็นการช่วยให้ฐานข้อมูลของเราไม่ถูกเปลี่ยนแปลงไปหรือถูกยึดไปโดยแพลตฟอร์มใดแพลตฟอร์มหนึ่งได้เหมือนกับระบบแบบ Centralized ใน Web2.0 - Interoperability
การเชื่อมต่อกับระบบและ dapps อื่นๆบนบล็อกเชนได้ ไม่ว่าจะเป็น Social Network, การเงิน, สิ่งบันเทิงต่างๆ, การศึกษา, การหางาน อิสระในการเลือกการเชื่อมต่อกับทุกอย่างเป็นข้อดีของ Social Graph Protocol - Privacy and Data Ownership
Social Graph Protocol ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้เกิดความ Privacy และความสามารถในการกำหนด เปิดเผย และใช้งานข้อมูลต่างๆเองได้หมด ซึ่งเป็นจุดเด่นที่ต่างจาก Web2.0 ที่ข้อมูลทุกอย่างจะอยู่ในมือของเจ้าของแพลตฟอร์ม - Community Governance
แทนที่ระบบของข้อมูลต่างๆจะถูกกำหนดได้โดยเจ้าของแพลตฟอร์ม การที่ Social Graph Protocol อยู่บน Web3.0 จะทำให้ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมได้ในการแสดงความต้องการความเปลี่ยนแปลงหรือการพัฒนาในระบบ
– 3.3 Social Graph Protocol และ SocialFi คือสิ่งเดียวกันหรือไม่?
ช่วงที่ผ่านมาจะเห็นได้ถึง SocialFi ต่างๆที่เป็น Social Network บน Web3.0 เช่น Friend.tech, Torum, และอื่นๆ สิ่งนี้คือสิ่งเดียวกับ Social Graph Protocol รึเปล่า?
Social Graph Protocol เป็นเพียงผังความสัมพันธ์ด้านหลัง ซึ่งเป็นรากฐานในการต่อยอดไปสร้าง dapps อื่นๆที่หลากหลายตามต้องการ โดยการสร้างจะเน้นไปที่ความสัมพันธ์ของเครือข่ายมากกว่า
SocialFi คือ Dapps ที่เชื่อมต่อระหว่างความเป็น Social Media และ Finance ซึ่งจะเน้นไปที่การสร้าง incentives ต่างๆตามการใช้งานของคน ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบของการสร้าง content การให้ stake token เพื่อสนับสนุน Creator ที่ชอบ
ถึงแม้ว่าคำที่ใช้จะใกล้เคียงกัน แต่สองอย่างนี้ไม่ใช่สิ่งเดียวกัน
– 3.4 ในอนาคตระบบ Social Network จะเปลี่ยนเป็น Web3.0 ทั้งหมด?
ถึงแม้ว่าในปัจจุบันบล็อกเชนจะช่วยส่งเสริมให้ Social Graph Protocol ทำสำเร็จในเรื่องของการสร้าง Decentralized Network ขึ้นมาและช่วยในเรื่องของ Ownership ต่างๆ แต่ความยากในการเรียนรู้ในการเข้ามาใช้งานยังคงเป็นเรื่องยากมากเมื่อเทียบกับการใช้งานบนแพลตฟอร์มบน Web2.0
- ในช่วงต้น Web3.0 อาจจะเป็นทางเลือกในการเข้ามาใช้งานสำหรับคนที่ต้องการเป็นเจ้าของและกำกับดูแล content และข้อมูลของตัวเองจริงๆ
- ถ้าหากการพัฒนาทำให้ทุกอย่างใช้งานง่าย ตั้งแต่การทำ Account Abstraction, Chain Abstraction และอื่นๆ ก็มีโอกาสไม่น้อยที่ Social Network จะถูกใช้เป็น Web3.0 ในอนาคตเช่นกัน
4. Social Graph Protocol ต่างๆในปัจจุบัน
– 4.1 Lens Protocol
Lens Protocol คือ Social Graph Protocol ที่ถูกสร้างบน Polygon โดยทีมเดียวกับที่สร้าง AAVE และ GHO โดยปัจจุบันมี Social Network Dapp มากมายที่ถูกสร้างต่อยอดขึ้นมาจาก Lens ได้แก่:
- แพลตฟอร์มวีดีโอ: Lenstube
- แพลตฟอร์ม Social Media บนโทรศัพท์: Orb, Phaver, Buttrfly
- แพลตฟอร์มเพลง: Riff
- แพลตฟอร์ม Streaming: Dumpling
การพัฒนาต่างๆที่สำคัญของ Lens
- การใช้ Profile ในรูปแบบ NFT ประกอบด้วย ชื่อ.lens เช่น Stani.lens
- การเข้าไปซื้อ Startup แบบ Sonar ซึ่งอาจจะถูกนำมาผนวกกับ Lens ในอนาคต
- สร้าง Momoka Scaling Solution ซึ่งเป็น Optimistic Roll-ups Layer 3 เพื่อให้สามารถรองรับข้อมูลได้เยอะขึ้นและค่าใช้จ่ายถูกลงเหมาะกับการใช้งานในรูปแบบ Social Network
- สร้าง Lens SDK 1.0ซึ่งเป็นอุปกรณ์ในการสร้าง Social Media ได้อย่างง่าย ทำให้สามารถต่อยอดในการสร้างแพลตฟอร์มและขยาย Ecosystem ได้อย่างรวดเร็ว
- ได้รับเงินทุน 15 ล้าน$
- การพัฒนาเป็น Lens V2 โดยปรับโครงสร้างหลายอย่าง
ปัจจุบัน Lens Protocol ยังคงมีการใช้งานอย่างต่อเนื่องที่ราว 5000 โพสต่อวัน และมียอด Profile รวม 19,600 Profiles
– 4.2 CyberConnect
CyberConnect ในตอนแรกสุดเป็น Social Graph Protocol ที่อยู่บน Binance Smart Chain โดยมีเป้าหมายที่จะเป็น Social Graph Protocol แบบ Multichain
CyberConnect มี 3 สิ่งหลักที่ชูโรงคือ:
- CyberAccount: ฐานข้อมูลของ Account ที่รองรับ ERC-4337
- CyberGraph: ฐานข้อมูลที่เก็บข้อมูล Content และ Connection ต่างๆของผู้ใช้งานที่เป็น Censorshop-resistant
- CyberNetwork: Network ที่สามารถรองรับ Scalability ได้สูง และสามารถใช้ค่า gas ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
แพลตฟอร์มต่างๆที่ทำการต่อยอดมาจาก CyberConnect ได้แก่
- แพลตฟอร์มการอ่านข่าวต่างๆ: ReadOn
- แพลตฟอร์ม Social Media: Phaver
- แพลตฟอร์มเก็บ W3ST: Link3
การพัฒนาต่างๆที่สำคัญของ CyberConnect
- 3 Core หลักในการพัฒนา CyberAccount, CyberGraph, CyberNetwork
- W3ST (Web3 Status) Token ซึ่งเป็น Soulbound Token ให้กับคนที่เข้าไปร่วมกิจกรรมต่างๆ โดยสิ่งนี้สามารถเก็บเป็นที่ระลึกหรือสามารถโชว์ถึงการเข้าร่วมของเราได้
- การรองรับแบบ Multichain โดยเป้าหมายคือการรองรับ EVM-chain ถึง 6 เชน
- $CYBER ซึ่งเป็น Governance Token ที่มีการ airdrop ให้กับผู้ใช้งานในช่วงที่ผ่านมา
CyberProfile มีการเติบโตอยู่เรื่อยๆอย่างเห็นได้ชัด
การพัฒนาของฝั่ง CyberConnect เองที่เน้นในการพัฒนาไปเป็น Multichain ก็อาจจะเป็น Approach ที่ทำให้เกิดการใช้งานที่ง่ายขึ้นได้ และการพัฒนาต่อยอด dapp ต่างๆจะไม่มีข้อจำกัดที่ต้องอยู่บนเชนเดียว
สรุป
Social Graph Protocol เป็น move ที่สำคัญและแสดงถึง Use case ที่สำคัญของบล็อกเชนที่สามารถสร้างเครือข่ายที่มีความ Decentralized และก่อให้เกิด Ownership ให้กับคนที่มาใช้งานได้
ไม่ว่าจะเป็น Lens หรือ CyberConnect ต่างก็มีแนวทางในการพัฒนาและทดลอง Social Graph Protocol ในรูปแบบที่ต่างกันออกไป นวัตกรรมที่สามารถเกิดได้จากการพัฒนาสิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องที่น่าติดตามเป้นอย่างมาก