Search
Close this search box.

Polygon 2.0: เป้าหมายสูงสุดของการเป็น Value Layer

Reading time 7 Mins
  • Parit Boonluean

    A guy who loves crypto like Bitcoin and Ethereum. He's not the best writer, but his love for DeFi makes up for it. He's an easygoing guy who makes learning about crypto fun and easy.

Share :
polygon 2.0

Table of Contents

Polygon 2.0

หลังจากมีการสปอย “เลข 2” บน Twitter หลักของ Polygon Labs ในวันที่ 9 มิถุนายน ที่ผ่านมา ในที่สุด เมื่อคืนก็ได้ทราบแล้วว่าเป็นการเปิดตัว “Polygon 2.0” นั่นเอง โดยมีจุดประสงค์หลักในการวางตัวเองเป็น Value Layer ที่เปิดโอกาสให้คนทั่วโลกสามารถเชื่อม “ข้อมูล” “มูลค่า” และ “ระบบการเงิน” ถึงกันได้ทั่วโลก ซึ่งการเปิดตัวครั้งนี้จะเล่าเพียง Concept เท่านั้น รายละเอียดจากทาง Polygon Labs เช่น การออกแบบเชนใหม่, Tokenomics ใหม่ และระบบ Governance ใหม่จะเปิดเผยให้ทราบภายในเดือนกรกฎาคม

บทความนี้จะคาดการณ์ Polygon 2.0 กับ Use case ต่างๆที่เคยมีในอดีตว่ามีข้อดีและข้อเสียอย่างไร

Polygon 2.0 คืออะไร

Polygon 2.0

Polygon 2.0 จะเป็นเหมือน Base Layer ให้กับ Layer 2 ที่ใช้ Zero-Knowledge Proof โดยที่ทุกเชนบน Polygon 2.0 จะสามารถ Cross-chain กันได้โดย ​”ไร้รอยต่อ” จนเหมือนกับว่าทุกเชนที่อยู่บนนี้นั้นเป็น “เชนเดียวกัน (Single chain)” ทั้ง

Unified Liquidity

สภาพคล่องที่เชื่อมถึงกันได้ทั้งหมด ทำให้มี Deep Liquidity จนสามารถดึงดูดเม็ดเงินลงทุนของรายใหญ่ที่ต้องการสภาพคล่องสูงให้เข้ามาใช้งานได้สะดวกมากขึ้น

Unlimited Scability

การเพิ่มเชนเข้าไปใน Polygon 2.0 สามารถทำได้ไม่จำกัดและไม่จำเป็นต้องขอ Permission จากใคร ทำให้นักพัฒนาสามารถสร้าง แลกเปลี่ยน และเขียน Smart contract ได้อย่างอิสระโดยไม่มีตัวกลางใดคอยควบคุม

ตารางวันเปิดเผยข้อมูล

Polygon 2.0

การเปิด Blueprint Polygon 2.0 ในครั้งนี้เป็นเพียงการประกาศถึงทิศทางคร่าวๆ รายละเอียดส่วนต่างๆนั้นจะมีกำหนดการดังนี้

19 มิถุนายน: Future of the Polygon PoS chain

Polygon 2.0

Polygon นั้นใช้ระบบ Proof of Stake (PoS) มาตั้งแต่แรกแล้ว การประกาศครั้งนี้ที่เน้นย้ำคำว่า PoS ออกมาให้ทุกคนได้เห็นน่าจะสื่อถึงการอัปเกรดส่วนนี้อย่างแน่นอน โดยความเป็นไปได้ที่ผู้เขียนคิดนั้นน่าจะเป็นการเสริมเรื่อง Zero-Knowledge (ZK) เข้าไปบนเชนหลักนี้ เพราะจากแนวทางการพัฒนาที่ผ่านมา เราเห็นว่า Polygon เปิดตัว zkEVM ตัวล่าสุด และ Polygon Miden, Polygon Hermez, Polygon Nightfall, Polygon Zero ที่ล้วนแต่มีการนำ ZK ไปเสริมทั้งสิ้น จึงมีความเป็นไปได้ระดับหนึ่งว่า Polygon PoS จะเริ่มนำ ZK มาประยุกต์ใช้บ้าง

26 มิถุนายน: Architecture and Stack

คาดว่าเป็นรายละเอียดหลักของ Polygon 2.0 ที่จะเปิดเผยให้เห็นในการประกาศนี้ โดย Architecture & Stack จะค่อนข้างเกี่ยวข้องกับการพัฒนา Blockchain โดยเราอาจจะได้เห็นได้ชัดมากขึ้นว่าการ “สภาพคล่องที่เชื่อมถึงกัน” และ “การขยายได้อย่างไม่จำกัด” นั้นจะออกมาในรูปลักษณะแบบไหน

โดย Blockchain ที่พอจะเทียบเคียงกับ Polygon 2.0 มีด้วยกันหลายตัว เช่น

Polygon 2.0
  • Interchain Security ของ Cosmos (ATOM): ที่ออกแบบตัวเองเป็น Internet of Blockchain โดยจะมี Cosmos เป็นฐานและเชนอื่นๆสามารถสร้าง On-top ได้และยังมี SDK ที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการเขียน Smart Contract อีกด้วย หลังจากมีข้อเสนอ Cosmos 2.0 ก็มี Interchain Security ที่เอา $ATOM มาช่วยดูแลความแข็งแกร่งของ Appchain ที่ตัวเองสร้างขึ้นได้เช่นกัน

    หาก Polygon 2.0 จะมาทางนี้ก็ถือว่าไม่แปลกเพราะจะโยงกับ $MATIC Tokenomics ใหม่อีกด้วย
Polygon 2.0
  • Relaychain ของ Polkadot (DOT): โดย Polkadot จะมีลักษณะเป็น Sharded Blockchain ที่มี Relaychain หลักเป็น Polkadot ที่เป็นเชนหลักไว้เชื่อมต่อกับ ” Parachain หรือเชนย่อย” อื่นๆ ซึ่งเชนย่อยเหล่านี้จะมี Slot จำกัดที่ 100 Slot และต้องใช้ $DOT ในการค้ำประกัน (Bonding) เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการผสานเครือข่ายเข้าไป

    เรามองว่าวิธีการนี้มีความเป็นไปได้น้อยที่สุดเพราะแม้วิธีนี้จะสร้าง Use case ให้ $DOT ได้ดีมากแต่ก็เห็นได้ชัดแล้วว่ามีการใช้งานที่น้อยมาก
Polygon 2.0
  • Superchain ของ Optimism: ช่วงต้นปีที่ผ่านมา Optimism ได้ประกาศเปิดตัว Op stack วึ่งเป็นเหมือน SDK Tool ที่ช่วยให้นักพัฒนาสามารถสร้าง “Superchain” หรือ Layer 2 แบบเดียวกันกับ Optimism ได้ โดยตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ Base จาก Coinbase เป็น Superchain ที่สร้างโดย OP Stack

    หาก Polygon 2.0 เลือกทางนี้ ก็ดูเป็นการตัดสินใจที่ดีและตรงกับที่สปอยมามากเช่นกัน เพราะจะทำให้การ Onboard ผู้คนหลังจากนี้จะทำได้ง่ายดายไม่ต่างกันกันกับของ Optimism แต่อย่างไรก็ตาม $MATIC จะไม่ได้มี Use case มากขึ้นเท่าไหร่นัก
Polygon 2.0
  • Arbitrum Nova ของ Arbitrum: แม้ว่าทางนี้จะไม่ตรงกับที่ Polygon 2.0 สปอยมามากนักแต่ก็จะใช่ว่าจะเป็นไปไม่ได้ โดย Arbitrum Nova มีลักษณะเหมือน Arbitrum One Layer 2 เพียงแต่มีจำนวน Validator Node ที่น้อยกว่าเพื่อทำให้เหมาะกับการใช้งานอีกรูปแบบที่ไม่ต้องการ Decentralization มากนัก และต้องขออนุญาตจากทาง Arbitrum Foundation ถึงเปิดได้ (Permissioned) และถ้าจะเป็น Arbitrum Orbit ก็ดูจะห่างไกลไปเพราะมันเป็น Layer 3 บน Layer 2 อีกที

ดังนั้น รูปแบบที่เรามองเห็นว่าการเชื่อมต่อของ Polygon 2.0 เป็นไปได้มากที่สุดจะมาในแนวทางของ Interchain (Cosmos) ผสมกับ Superchain (Optimism) ซึ่งจะ Onboard Polygon Hermes, Zero, Miden และอื่นๆที่เป็น ZK-Proof มาก่อนเป็นกลุ่มแรกเพื่อทำให้ Ecosystem ของ Polygon เชื่อมต่อกันได้โดยไร้รอยต่อมากที่สุด ในขณะเดียวกันก็จะเปิดให้ ZK-Proof Blockchain อื่นๆสามารถมาเปิดตัวในนี้ได้โดยจะมี SDK Tool ช่วยในการเริ่มต้น

10 กรกฎาคม: the utility and evolution of the Polygon token

ทาง Polygon 2.0 ยังไม่มีสปอยในตอนนี้ แต่จากการคาดการณ์ของเราในหัวข้อก่อนหน้านี้ เรามองว่า $MATIC มีความเป็นไปได้ที่จะมี Use case มากขึ้นได้ดังนี้:

  • Sequencer Fee: ทั้ง Arbitrum และ Optimism ในตอนนี้ยังโดนโจมตีเรื่องความ Centralized ของ Sequencer อยู่ ซึ่งมีแผนในอนาคตที่จะทำ Decentralized Sequencer และให้ $ARB / $OP สามารถนำมา Stake เพื่อรับรายได้จาก Sequencer Fee ได้ ดังนั้นจึงมีโอกาสเช่นกันที่ Polygon จะนำท่านี้มาประยุกต์ใช้ในอนาคต
  • Accrued Value: ปัจจุบัน MATIC ถูก Stake ไว้ใน Validator Node เพื่อรักษาความแข็งแกร่งให้กับเชน แต่ในอนาคตที่มีเชนอื่นๆมาเปิดบนนี้ แล้ว “ขอยืม” ความแข็งแกร่งจาก $MATIC ไป ก็อาจจะมีรายได้เข้าคนที่ Stake มากขึ้น โดยไอเดียนี้จะคล้ายกับ Interchain Security ของ Cosmos หรือ Restaking ของ Eigenlayer
  • MEV-Burn: ต่อยอดจาก EIP-1559 ที่ค่าธรรมเนียมส่วนหนึ่งจะถูกนำไปเผาออกจากระบบ Polygon ก็ได้นำ EIP1559 ไปใช้เช่นกัน ซึ่งในตอนนี้มีการพูดถึง MEV-Burn คือการนำรายได้ส่วนที่ Node ได้มาจากการทำ Frontrun หรือวิธีการอื่นๆในการเอาความได้เปรียบในการเป็นคนลำดับธุรกรรมมา “เผาทิ้ง” ปัจจุบันยังเป็นเพียงการถกเถียงเท่านั้น แต่หากทำได้ก็จะช่วยลด Supply ของ $MATIC ไปได้อีกมากในระยะยาว
  • Tail-emission: ปัจจุบัน $MATIC ปลดมา 92.89% จาก Max Supply แล้วเมื่อครบ 100% ก็จะไม่มีการเฟ้อเพิ่มอีกต่อไป เรามองว่าหลังจากนี้จะมี Proposal ในการแก้ไขให้มีการเฟ้อไปตลอด (Tail emission) หรือไม่ เพื่อที่จะได้เป็น Incentive ในการ Staking หรือการดึงดูดเม็ดเงินเข้ามาใช้งานเพิ่ม

17 กรกฎาคม: The transition to greater community Governance of the Protocol and Treasury

Polygon Labs ต้องการให้ Polygon มีความ Decentralization มากขึ้นในระยะยาว โดยมาจากฝั่งนักพัฒนา, Researcher, Node Operator, Validator และชุมชน Polygon & Ethereum ดังนั้นจึงมี Community Forum ให้พูดคุยกัน ซึ่งจากที่เราเข้าไปอ่าน Forum แล้วพบว่า การประกาศครั้งต่อไปน่าจะเน้น 3 เรื่องหลักด้วยกันคือ Protocol Governance, System Smart Contracts Governance และ Public Goods Funding

ซึ่งรายละเอียดจริงจะเป็นอย่างไร ให้ติดตามในวันที่ 17 เดือนหน้าครับ

Polygon ปฏิเสธการเป็น Security

แม้ว่ามรสุมจะรุมเร้าจาก ก.ล.ต.สหรัฐที่ฟ้องร้อง Coinbase และ Binance US โดยมีหัวข้อหนึ่งเกี่ยวกับเรื่องการให้บริการ “หลักทรัพย์ที่ไม่ได้ลงทะเบียน” ซึ่งหนึ่งในเหรียญนั้นก็มี $MATIC อยู่ด้วย

ทาง Polygon Labs ปฏิเสธเรื่องนี้เพราะ “ไม่ได้พัฒนาในสหรัฐ” ดังนั้นข้อกฎหมายต่างๆจึงไม่ควรรวม Polygon เข้าไปด้วย อย่างไรก็ตาม ในช่วง ICO ของ Polygon ตอนปี 2019 และการระดมทุนรอบอื่นๆถัดมานั้น มี Kevin O’Leary, Galaxy Digital และ  Alexis Ohanian’s Seven Seven Six ซึ่งอยู่ในสหรัฐด้วย อย่างไรก็ตาม Polygon ได้แก้ว่าเป็นการระดุมทุนกับคนทั้งโลก ไม่ได้เจาะจงไปที่สหรัฐเพียงแห่งเดียว

เรื่องนี้จึงยังเป็นประเด็นที่ทำให้นักลงทุนหลายรายยังหลีกหนีจาก $MATIC อยู่ ถึงขั้นที่ Robinhood ได้ Delist $MATIC ออกไปเพื่อไม่อยากมีปัญหากับ ก.ล.ต.สหรัฐ

สรุป

Polygon 2.0

Polygon 2.0 ถือเป็นอีกก้าวสำคัญมากของ Polygon ที่ยังคง Keep BUIDLING แม้ว่าตลาดจะเป็นอย่างไรก็ตาม ทั้งการประกาศ Partner กับบริษัทในโลกจริงอย่าง Starbucks และอื่นๆในปีนี้ การพัฒนา zkEVM เป็นรายแรกๆและสามารถใช้งานได้จริง ในตอนนี้ Polygon 2.0 ก็ได้แสดงให้เห็นถึงการพยายามเชื่อม Ecosystem ทั้งหมดของ Polygon เข้ามาด้วยกัน เรามองว่า Move นี้ของ Polygon เป็นการตัดสินใจที่รัดกุมและคิดมาดีอย่างมาก ซึ่งรายละเอียดของจริงจะเป็นอย่างไร ให้ติดตามในทั้ง 4 วันที่ Polygon Labs ได้ประกาศ และ Cryptomind Research จะนำมาอัปเดตให้ผู้อ่านได้ทราบครับ

อ่านรายละเอีดเพิ่มเติม: Introducing Polygon 2.0: The Value Layer of the Internet

Author

  • Parit Boonluean

    A guy who loves crypto like Bitcoin and Ethereum. He's not the best writer, but his love for DeFi makes up for it. He's an easygoing guy who makes learning about crypto fun and easy.

    View all posts
Tags : Polygon | Matic
Share :
Related
Anzen และ USDz: รูปแบบใหม่ของ Stablecoin ที่ Backed ด้วย Real-World Assets
Cryptomind Monthly Outlook - January 2025
Trump ไม่เซ็นต์ Executive Order เกี่ยวกับคริปโตฯ ในวันแรก! ตลาดจะเดินหน้าอย่างไรต่อ?
Ethena และ USDe กับยุคใหม่ของ Stablecoin