Search
Close this search box.

Pendle Finance ประกันรายได้ด้วยแพลตฟอร์มการซื้อขาย Yield ล่วงหน้า

Reading time 20 Mins
  • Parit Boonluean

    A guy who loves crypto like Bitcoin and Ethereum. He's not the best writer, but his love for DeFi makes up for it. He's an easygoing guy who makes learning about crypto fun and easy.

Share :
pendle finance yield fixed

Table of Contents

Pendle finance fixed yield

https://www.pendle.finance/

จะเป็นอย่างไรถ้าเราสามารถ “ลดความเสี่ยงด้านผลตอบแทน (Yield) ที่คาดเดาในอนาคตไม่ได้ด้วยการตรึงผลตอบแทนไว้กับที่ (Fixed APY) เหมือนดอกเบี้ยคงที่ของธนาคาร” หรือในทางกลับกันที่เราคาดการณ์อนาคตว่าผลตอบแทน/อัตราดอกเบี้ยจะเพิ่มสูงขึ้น ก็มีแพลตฟอร์ม Pendle finance ที่ “สามารถเก็งกำไรในส่วนนี้ได้ (Long yield APY)”

Pendle Finance เป็น Yield trading protocol ในกลุ่มของ Liquid staking finance (LSDfi) ที่ใช้การ Tokenization แบ่งเงินต้นจากการฝาก (Princial token) กับดอกเบี้ยจากการฝาก (Yield token) ออกจากกัน หรือพูดแบบเข้าใจง่ายคือ การทำให้ส่วนของผลตอบแทนกลายเป็น Token ที่สามารถโอนสิทธิ์แลกเปลี่ยนกันได้ ช่วยให้นักลงทุนสามารถลดความเสี่ยงจากความผันผวนของผลตอบแทน หรือจะใช้มันในการ Leverage ผลตอบแทนให้สูงขึ้นก็ได้เช่นกัน 

บทความนี้จะพาผู้อ่านมาเจาะลึกถึงการทำงานของ Pendle Finance ที่มีความซับซ้อนให้เข้าใจ พร้อมกับกลยุทธ์ที่เหมาะในแต่ละสถานการณ์ให้ผู้อ่านนำไปประยุกต์ใช้กับการลงทุนของตัวเองได้ครับ

1. ความผันผวนของผลตอบแทน (Yield fluctuation) – ปัญหาที่ Pendle finance เข้ามาแก้ไข

Pendle finance fixed yield

https://dune.com/LidoAnalytical/lido-execution-layer-rewards

ใครก็ตามที่ลงทุนใน DEX, Liquid staking หรือ Lending protocol บนโลก DeFi คงจะทราบกันดีว่า ”ผลตอบแทนส่วนใหญ่นั้นเป็นแบบลอยตัว” ตามการใช้งานในตลาดเสมอ ยกตัวอย่าง Lido Finance ที่คน Stake ETH จะได้ Reward เยอะหรือน้อยตามการใช้งานและคน Stake ETH เยอะน้อยแค่ไหน ดังเช่นในรูปที่มีบางช่วง APR 11.3% หรือในปัจจุบัน APR 4.2%

หรือ Aave ที่มีดอกเบี้ยฝากและกู้ ผันผวนตามอัตราการใช้งาน เป็นต้น ความผันผวนเหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งที่นักลงทุนไม่ชอบเพราะ “ไม่สามารถคุมความเสี่ยงได้” ดังนั้นสิ่งนี้จึงเป็นปัญหาที่ Pendle ต้องการจะเข้ามาแก้ไขให้นักลงทุนสามารถ “ควบคุมและเก็งกำไรจากผลตอบแทนได้”

2. Pendle finance ช่วยป้องกันความผันผวนของ Yield

Pendle finance fixed yield

https://app.pendle.finance/pro/markets

Pendle finance เป็น Yield-trading แพลตฟอร์มที่เปิดให้นักลงทุนสามารถนำเหรียญที่เป็น Interest-bearing token (เช่น Liquid staking derivative, LP จากการฟาร์ม) นำมา Tokenization เป็นเหรียญ 2 ประเภทที่แบ่งคุณสมบัติกัน เรียกว่า Principal token (PT) และ Yield Token (YT)

ทำให้นักลงทุนสามารถออกแบบกลยุทธ์ในการลงทุนได้หลากหลายมากขึ้น เช่น ซื้อ PT ในราคา Discount, เก็งกำไรว่า Yield จะเพิ่ม/ลดในอนาคต และยังสามารถเพิ่มสภาพคล่องแบบ Zero impermanent loss ได้อีกด้วย สิ่งเหล่านี้เป็นการจัดการความเสี่ยงเรื่องผลตอบแทนในอนาคตที่นักลงทุนสถาบันต้องการอย่างมาก

Pendle finance fixed yield TVL

https://defillama.com/protocol/pendle

Pendle เปิดตัว V1 เดือนมิถุนายน 2021 และเริ่มใช้ V2 เมื่อไตรมาส 4 ปี 2022 ที่มี AMM เพิ่มขึ้นมา ปัจจุบันมี TVL $153m ซึ่งกำลังทำ All time high อย่างต่อเนื่อง ตั้งอยู่ 3 เชนคือ Ethereum, BSC และ Arbitrum 

TN lee founder pendle finance

https://twitter.com/pendle_fi/status/1649090496546095104

มี Co-founder ชื่อ TN Lee เคยมีประสบการณ์เป็น Head of Business development ที่ Kyber network

Pendle finance fixed yield VC

Pendle ได้เงินระดมทุน $3.7m ในรอบ Seed round เดือนเมษายน 2021 จาก Mechanism Capital ที่เป็น Lead ตามด้วย Crypto.com Capital, Hashkey Capital, Spartan Group, CMS, imToken, DeFi Alliance, Lemniscap, LedgerPrime, Parataxis Capital, Strategic Round Capital, Signum Capital, Harvest Finance, Youbi Capital, Sora Ventures, D1 Ventures, Fisher8, Origin Capital, BitLink, Bitscale Capital, Hongbo (co-founder & CEO of DeBank), and Taiyang Zhang (co-founder & CEO of Ren Protocol)

3. Yield tokenization 3 เหรียญที่ต้องเข้าใจก่อนลงทุน

ก่อนที่จะอธิบายถึงการใช้งานและจุดเด่นของ Pendle แบบละเอียด Cryptomind research จะขออธิบายการทำงานของ 4 เหรียญที่ใช้งานหลักคือ Underlying asset , Standardized yield (SY), Principal token (PT) และ Yield token (YT)

3.1 Underlying asset

Pendle finance sy standardized yield

เป็นเหรียญตัวแทนที่ได้จากการ Stake ในแพลตฟอร์มต่างๆ ที่ใช้งาน เช่น Stake ETH บน Lido ได้ stETH, rETH บน Rocket Pool, sUSDT บน Stargate, GRAIL-ARB LP บน Camelot เป็นต้น 

โดย 1 Underlying asset สามารถ Mint 1 PT และ 1 YT ในจำนวนเหรียญที่เท่ากัน และในทางกลับกัน ถ้ามี PT และ YT สามารถ Redeem เป็น 1 Underlying asset ได้

นอกจากนี้ ราคา Underlying asset = ราคา PT + ราคา YT เสมอ

3.2 Standardized yield (SY)

Standardized yield (SY)

https://docs.pendle.finance/ProtocolMechanics/YieldTokenization/Minting

เป็นการ Wrapped Underlying asset ให้เป็นเหรียญใหม่ที่ทำให้ผลตอบแทนจะทำเข้าไปในตัวเหรียญ (ยกตัวอย่างเช่นการถือ 1 Wrapped stETH (wstETH) ใน Lido ที่ให้ดอกเบี้ยฝาก 5% เมื่อผ่านไป 1 ปีนำ 1 wstETH มาแลกคืนจะได้กลับมา 1.05 stETH) เราเรียกเหรียญกลุ่มนี้ว่า Interest-bearing token หรือการที่มูลค่าจะ “ทบต้นเข้าไปในเหรียญ” 

โดยจะใช้ SY- นำหน้า เช่น stETH → SY-stETH (ซึ่งเทียบเท่ากับ wstETH ที่ Lido มี), rETH → SY-rETH เป็นต้น ซึ่งเป็นเหรียญหลักที่จะใช้เป็นเริ่มต้นในการทำ Tokenization 

3.3 Principal token (PT)

Principal token (PT) pendle finance

เป็นเหรียญที่สะสมเฉพาะเงินต้นเท่านั้นโดยที่ตัดเรื่อง Yield ที่จะต้องได้ทุกวันออกไป ทำให้มูลค่าของเหรียญนั้นจะไม่สามารถแลกเป็น SY เต็มๆได้ทันที แต่เมื่อเวลาผ่านไปจน “ครบระยะเวลาที่กำหนด” มูลค่าของ PT จะค่อยๆวิ่งเข้าใกล้ 1:1 กับ Underlying asset ในรูปของ SY (เช่นถือ 1 PT-stETH จะได้ 1 ETH ในรูปของ SY-stETH เมื่อครบระยะเวลาที่กำหนด) ซึ่งนักลงทุนสามารถซื้อขายระหว่างนั้นได้ในตลาดรองเช่นกัน

ยกตัวอย่าง นาย Pepe ซื้อ 1 PT-cDAI ซึ่งเป็นเหรียญสะสมเงินต้นของการฝาก DAI ใน Compound (Lending protocol) ที่ราคา 0.9 DAI หากในระหว่าง 1 ปีที่จะครบกำหนด Maturity ราคา PT-cDAI จะสูงขึ้นเรื่อยๆจนเท่ากับ 1 DAI ในสิ้นปี 

ในโลกของ Traditional finance เหรียญ PT จะมีลักษณะเหมือน “Zero-coupon bond” ที่ซื้อพันธบัตรในราคาส่วนลด และสามารถไถ่ถอนคืนในราคาเต็มตามเวลาที่กำหนด

3.4 Yield token (YT)

yield token pendle finance

https://app.pendle.finance/trade/education/learn?level=3

เป็นเหรียญที่ถูกแยกออกมาจาก SY เช่นเดียวกับ PT โดยเมื่อถือ YT ไปเรื่อยๆ จะมี Yield ส่งมาให้ทุกวันเหมือนกับการถูก SY (สามารถ Claim reward ได้ในหน้า Dashboard) โดยผลตอบแทนนี้จะผันผวนตามรายได้จริงที่แพลตฟอร์มต้นทางนั้นทำได้ในทุกวัน ยกตัวอย่างเช่น ถือ 1 YT-stETH ที่ให้ Yield เฉลี่ยที่ 5% ต่อปี เมื่อถือครบ 1 ปี จะมีรายได้ให้ Claim 0.05 ETH ส่วนราคา YT-stETH จะมูลค่าเหลือศูนย์เมื่อครบระยะเวลา Maturity

ยกตัวอย่าง นาย Pepe ซื้อ 1 YT-stETH ในราคา 0.04 ETH ซึ่งเป็นเหรียญสะสมเงินผลตอบแทนของการฝาก ETH ใน Lido finance (Liquid staking) ที่ให้ผลตอบแทน 4% ต่อปี ระหว่างที่นาย Pepe ถือ 1YT-stETH จะมี Reward ในรูป ETH ให้เคลมตลอดทาง จนครบ 1 ปีหรือครบอายุ Maturity Reward ทั้งหมดจะได้เท่ากับ 0.04 ETH หรือ 4% นั่นเอง

*อย่างไรก็ตาม หากระหว่างที่ถือผลตอบแทนจาก Lido ปรับเป็น 5% โดยเฉลี่ย นาย Pepe จะได้ 0.05 ETH (0.05 ETH – 0.04 ETH = กำไร 0.01 ETH หรือ 25% หาก Fiexed yield) 

ในทางกลับกัน หากระหว่างที่ถือ ผลตอบแทนจาก Lido เหลือ 3% โดยเฉลี่ย นาย Pepe จะได้ 0.03 ETH (0.03 ETH – 0.04 ETH = -0.01 ETH หรือกำไรลดลงจากปกติ 25% หาก Fiexed yield) เป็นต้น

การถือ YT-Token จึงมีความเสี่ยงเรื่องความผันผวนของ Yield เช่นเดียวกับการถือ Underlying asset แบบปกติ

เมื่อเข้าใจการทำงานของแต่ละเหรียญแล้ว ในหัวข้อถัดไปเราจะสอนใช้งาน Pendle finance แบบโหมดที่เข้าใจง่ายและโหมดที่ละเอียดครับ

4. สอนใช้งาน Pendle finance บนเว็บไซต์จริง

4.1 โหมด Earn

earn mode pendle finance

ทีมพัฒนาของ Pendle Finance เข้าใจถึงความซับซ้อนในการใช้งานจึงมีการพัฒนา User interface ให้ใช้งานแบบง่ายๆโดยที่ไม่ต้องเข้าใจการทำงานทั้งหมด โดยสามารถเข้าไปที่ “โหมด Earn” ด้านขวาบนจะมีรายละเอียดดังนี้

  • Fixed yield: ผู้ใช้งานจะสามารถ “กำหนดผลตอบแทนให้คงที่” ตามสินทรัพย์ที่แสดงในหน้าเว็บ โดยหากถือครบอายุ (maturity) จะได้รับผลตอบแทนตามนั้น แต่ก็สามารถขายก่อนในระหว่างทางได้ซึ่งมีความผันผวนได้ชั่วคราว
  • Liquidty: เป็นการเพิ่มสภาพใน Pool PT และ SY ซึ่งหากถือครบ Maturity ราคา PT จะวิ่งเข้าใกล้ SY ทำให้ “ไม่มี Impermanent loss (Zero IL)” ส่วนผลตอบแทนที่ได้จะมี 3 อย่างคือ 1) Swap fee 2) $PENDLE incentive 3) Native yield ของเหรียญนั้นๆ 

จะเห็นว่าโหมด Earn หมาะสำหรับคนที่ต้องการ HODL ระยะยาวเพราะมี Maturity ที่กำหนด แต่ผลตอบแทนที่ได้จะต่างกันคือแบบ Fixed yield จะผลตอบแทนคงที่ไปตลอด แต่ Liquidity เป็นการเพิ่มสภาพคล่องทำให้ผลตอบแทนลอยตัวตาม Fee ที่เก็บได้, ราคา $PENDLE และจำนวนผู้ฟาร์ม เป็นต้น

4.2 โหมด Trade

trade mode pendle finance

https://app.pendle.finance/trade/markets

“โหมด trade” เหมาะสำหรับคนที่ต้องการใช้ Pendle ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยต้องมีพื้นฐานความเข้าใจการทำงานของ PT, YT, SY, Yield ปัจจุบันและที่เทรดบนตลาด เพื่อให้สามารถรีดประสิทธิภาพได้สูงสุด โดยสามารถปรับจาก Earn เป็น Trade ได้ที่มุมขวาบน

Market

สถานะ

  • Name: ชื่อเหรียญที่จะลงทุนโดยมีตั้งแต่ LP บน Dex, หรือ LSD จาก Liquid staking
  • Maturity: เป็นระยะเวลาของดีลที่จะได้รับ โดยหากถือครบอายุจะได้รับ Yield ตามที่ตกลง
  • Underlying APY: เป็น Yield ในปัจจุบันที่แพลตฟอร์มนั้นๆให้โดยสามารถผันผวนได้ตาม Performance ของแพลตฟอร์มนั้นๆ เช่น การฟาร์ม ETHx-bbaWETH pool บน Aura จะได้ผลตอบแทนจาก Fee+$AURA+$BAL ในวันนี้คิดเฉลี่ยที่ 1.66% ต่อปีหากทบต้น เป็นต้น
  • Implied APY: เป็น “Yield ที่เทรดกันบนตลาด” ของ Pendle Finance สาเหตุที่ Implied yield ต่างจาก Underlying APY เพราะนักลงทุน “คาดการณ์ Yield ที่จะได้ในอนาคตต่างจาก Yield ในปัจจุบัน” เช่น ETHx-bbaWETH มี Underlying > Implied แปลว่านักลงทุนคิดว่า Yield ในอนาคตจะสูงกว่าปัจจุบัน ส่วน sfrxETH มี Underlying < Implied แปลว่านักลงทุนคิดว่าอนาคต Yield จะน้อยกว่าปัจจุบัน เป็นต้น

Action ที่ทำได้ (อธิบายแบบละเอียดในหัวข้อถัดไป)

  • Long yield APY: เป็นคำสั่งในการ “เก็งว่า Implied yield (Yield ที่เทรดกันบนตลาด) จะปรับตัวสูงขึ้น” โดยใช้การซื้อ YT ที่ราคา YT Price ทำให้เราจะ Leverage ผลตอบแทนได้มากขึ้นขึ้น Implied APY หรือ APY ที่เทรดในตลาดปรับตัวขึ้นตาม และในทางตรงกันข้าม หาก Implied APY ลดลงกว่าตอนที่ซื้อ เราก็จะได้กำไรลดลงหรืออาจขาดทุนได้เช่นกัน
  • Fixed APY: เป็นคำสั่งในการ “Lock ผลตอบแทนให้คงที่” โดยใช้การซื้อ PT ที่ราคา PT price กลยุทธ์นี้จะทำให้เราไม่สนใจว่า Yield จะขึ้นหรือลงในอนาคต เพราะเรา Lock ผลตอบแทนไว้แล้ว ทำให้ท่านี้จะมีประโยชน์มากสำหรับคนที่พอใจกับ Implied APY ในปัจจุบัน หรือคิดว่า Implied APY จะลดลงในอนาคตก็ได้เช่นกัน (หาก Implied APY ปรับตัวสูงขึ้น ก็จะขาดทุนกำไรที่ควรได้เยอะกว่านี้เท่านั้น)

ดังนั้น สิ่งสำคัญที่ควรรู้คือ 1) ปัจจุบัน Implied APY ที่เทรดในตลาดราคาเท่าไหร่ และ 2) เราคาดการณ์ APY ในวันที่หมดอายุ Maturity ไว้เท่าไหร่ → จะทำให้เข้าใจว่าจะ Long APY หรือ Fixed APY ได้ประสิทธิภาพสูงที่สุด ซึ่งรายละเอียดผลตอบแทนนั้นมีความซับซ้อน สามารถกด Caluculator ด้านขวามล่างเพื่อสร้างสมมติฐานได้

Pools

เป็นการเพิ่มสภาพคล่องให้กับ Pendle finance ด้วยการนำ SY-token คู่กับ PT-token ตามระยะเวลา Maturity ที่กำหนด ข้อดีพิเศษจาก PT ที่อายุครบสัญญาจะมีราคาวิ่งเข้า 1:1 กับ SY-token เสมอ ทำให้นักลงทุนไม่ต้องกังวล Impermanent loss (Zero IL) แม้แต่น้อย ซึ่งเป็นข้อดีอย่างมากว่าราคาจะไม่มีทางหลุด Peg

ผลตอบแทนจะได้ 3 อย่างคือ 

  • $PENDLE: เป็น Governance token ของแพลตฟอร์ม โดยสัดส่วนที่ได้ของแต่ละ Pool นั้นแตกต่างกันขึ้นอยู่กับการโหวต (ต้อง Lock $PENDLE เพื่อรับ vePENDLE ไปโหวต) โดยการถือ $vePENDLE จะได้รับ 80% ของ Swap Fee และสามารถนำมา Boost yield ในการฟาร์มได้สูงสุด 2.5 เท่า
  • 20% ของ Swap fee: เป็นค่าธรรมเนียมจากการเทรดซึ่งเก็บที่ประมาณ 0.2%-0.3% ของยอด Swap ดังนั้นถ้าอยากได้ Fee 100% ควรถือ $vePENDLE
  • Native yield: เป็นผลตอบแทนปกติที่ได้จากเหรียญนั้นๆ เช่น คู่เหรียญ stETH จะได้ ETH เป็นต้น 

การใช้การเพิ่มสภาพคล่องใน Liquidity pool จึงเหมาะสำหรับนักลงทุนที่ไม่ทราบหรือพอใจกับ APY ในปัจจุบันที่สามารถผันผวนได้ในระยะเวลาที่เพิ่มสภาพคล่อง อย่างไรก็ตาม APY จะขึ้นอยู่กับ Fee และราคา/จำนวน $PENDLE ที่ได้รับด้วย ดังนั้นก่อนฟาร์มควรดู Pool หลัก, TVL และแนวโน้ม Yield ในอนาคตด้วย

Dashboard

dashbaord pendlfe finance

https://app.pendle.finance/trade/dashboard/overview

เป็นหน้าเว็บสรุปการลงทุนของเราโดยข้างในจะแบ่งชัดเจนว่าเราลงทุนใน PT, YT และ LP position (Pools) อะไรบ้าง ซึ่ง

  • PT position: จะเป็นหน้าเว็บ countdown ถอยหลังว่าเราจะไถ่ถอน PT กลับเป็น SY ได้วันไหน
  • YT position: จะเป็นหน้าเว็บให้ Claim reward จากการถือ YT ในระยะเวลา Maturity
  • LP position: จะแสดง Pool ที่เราฟาร์มและสามารถ Claim $PENDLE

*สามารถ Claim reward ทุกอย่างได้จากการคลิ๊กเพียงครั้งเดียว

vePENDLE

vependle finance lock voting escrowed

นักลงทุนที่มี $PENDLE สามารถนำมา Lock 1 สัปดาห์ – 2 ปี ได้ในหน้านี้ โดยจะได้รับสิทธิพิเศษหลายอย่างซึ่งจะกล่าวในหัวข้อ $PENDLE Tokenomics ซึ่งหน้า Tab นี้จะอธิบายรายละเอียดของการ Lock $PENDLE ว่าจะได้ APY เท่าไหร่, ปลดล็อควันไหน, รายละเอียดการโหวตรอบปัจจุบันและรอบถัดไปว่ามีสัดส่วนเป็นอย่างไร  

5. สรุปกลยุทธ์การลงทุนใน Pendle finance

streatgy pendle finance

การใช้งาน Pendle finance ให้มีประสิทธิภาพสูงสุดนั้นต้องเปรียบเทียบ “Yield ปัจจุบันที่ Asset นั้นๆให้ กับ Yield ที่ตลาดกำลังเทรดอยู่ (Implied Yield)” แบบที่ได้อธิบายละเอียดไปในหัวข้อ “โหมด Trade” แล้ว ในหัวข้อนี้จะสรุปแนวคิดการลงทุนที่สามารถทำได้ให้เข้าใจครับ

5.1 ต้องการ Yield คงที่

กลยุทธ์: All in PT ทั้งหมด แล้วถือจนครบอายุ Maturity

ข้อดี: ไม่ต้องกังวลเรื่องความผันผวนของ Yield

ข้อควรระวัง: Yield ที่ได้จะเป็น Implied yield ที่เทรดกันในตลาด ดังนั้นถ้ามีคนต้องการเหมือนกัน Fixed yield อาจจะไม่ได้เรทที่ดีมากนัก

5.2 Leverage Yield

กลยุทธ์: All in YT ทั้งหมด แล้วถือจนครบอายุ Maturity

ข้อดี: ใช้ในการ Leverage Yield ให้ได้รับผลตอบแทนมากขึ้นกว่าปกติหาก Yield ในอนาคตมีค่ามากกว่า Implied yield ในปัจจุบัน 

ข้อควรระวัง: มีโอกาสได้กำไรน้อยลงจนถึงขั้นขาดทุนได้หาก Implied yield ในอนาคตลดต่ำลงกว่าจุดที่เราซื้อ

5.3 คาดการณ์ว่า Implied yield จะ “ลดลง” ในอีกไม่นาน 

กลยุทธ์: ซื้อ PT แล้วขายในราคาที่สูงขึ้น

ข้อดี: PT จะมีราคาสูงขึ้นหาก Yield ลดลง ทำให้สามารถเก็งกำไรราคาได้

ข้อควรระวัง: สามารถขาดทุนได้หากการคาดการณ์ผิดพลาด

5.4 คาดการณ์ว่า Implied yield จะ “สูงขึ้น” ในอีกไม่นาน

กลยุทธ์: ซื้อ YT แล้วขายในราคาที่สูงขึ้น

ข้อดี: YT จะมีราคาสูงขึ้นหาก Yield สูงขึ้น ทำให้สามารถเก็งกำไรราคาได้

ข้อควรระวัง: สามารถขาดทุนได้หากการคาดการณ์ผิดพลาด

5.5 พอใจกับ Yield ลอยตัวแต่อยากได้มากขึ้น

กลยุทธ์: เพิ่มสภาพคล่องใน Liquidity pool

ข้อดี: ได้ Swap fee + $PENDLE + Native yield (จากการถือ Interest-bearing token)

ข้อควรระวัง: มีโอกาสได้ Yield ต่ำกว่าการถือ Interest-bearing token เพียงอย่างเดยีวจากหลายสาเหตุ เช่น ราคา $PENDLE ลดลง, คนมาฟาร์มเยอะขึ้น, เก็บ Fee ได้น้อย เป็นต้น

5.6 Panic Buy PT/YT 

กลยุทธ์: ซื้อเก็งกำไร PT/YT ในช่วงที่เกิดวิกฤต Black swan ที่ทำให้ราคาผิดจากความเป็นจริงชั่วคราว

ข้อดี: ทำกำไรระยะสั้นจากการคาดการณ์ Yield ได้

ข้อควรระวัง: ระวังเรื่องสภาพคล่องและโอกาสขาดทุนจากการคาดการณ์ผิดพลาด

6. $PENDLE Tokenomics

pendle tokenomics

https://docs.pendle.finance/ProtocolMechanics/Mechanisms/vePENDLE

แม้ว่าแพลตฟอร์มจะดีมากแค่ไหน แต่ถ้า Tokenomics ของแพลตฟอร์มนั้นทำได้ไม่ดีก็อาจจะทำให้ราคาวิ่งสวนทางกับการเติบโตของแพลตฟอร์มได้ ดังนั้นหัวข้อนี้ Cryptomind research จะมาเจาะลึกถึง Tokenomics ของ $PENDLE ให้นักลงทุนเข้าใจมากยิ่งขึ้น

6.1 Allocation

pendle token supply allocation

ข้อมูลที่ Token unlock และ Pendle finance Doc

  • 27 เมษายน 2021 เริ่มต้น 50m $PENDLE แบ่งเป็น
    • Ecosystem fund: 23m (ปลดลอคอีก 23m หลังจากผ่านไป 1 ปี)
    • Liquidity bootstrapping: 16.58m (คงที่ไปตลอด)
    • Investors: 9.3m (ปลดอีก 3 ครั้งในจำนวนท่ากันภายใน 1 ปี)
    • Advisors: 0.6m (ปลดอีก 3 ครั้งในจำนวนท่ากันภายใน 1 ปี)
    • Liquidity incentives: 0.5m (เดือนตุลาคม 2022 มีอัตราการเฟ้อ 667,705 $PENDLE ต่อสัปดาห์ โดยจะลดทีละ 1.1% ไปจนถึงเดือนเมษายน 2026 หลังจากนั้นจะคงที่ 2% ไปตลอด)
  • Teams จะได้ 55m $PENDLE ภายใน 2 ปีโดยมี Cliff 1 ปีแรก

ปัจจุบันมี

  • Circulating supply: 96,950,723 PENDLE (หัก Ecosystem fund, Liquidity bootstrapping ออก)
  • Total supply: 231,725,335 PENDLE
  • Market cap: $70,576,733.33
  • Fully-diluted marketcap: $168,344,868
  • Max supply: ไม่มี
pendle finance allocation in 7 years

โดยสรุปแล้วในวันที่ 2 สิงหาคม 2023 ทุกฝ่ายยกเว้น Liquidity incentive จะได้รับ $PENDLE ครบทั้งหมดแล้วโดยมีสัดส่วนดังรูป แต่เมื่อเวลาผ่านไปสัดส่วน Liquidity incentive จะค่อยๆกินส่วนแบ่งเรื่อยๆ เช่น ในวันที่ 31 ธันวาคม 2030 ในรูปด้านขวา

6.2 $PENDLE Utility

การ Lock Governance token ของ Pendle finance เป็น $vePENDLE ได้รับสิทธิประโยชน์ดังนี้

  • รับรายได้ 80% ของ Swap fee
  • รับรายได้ 3% จาก Yield จาก YT
  • รับรายได้จาก Yield ของ YT และ PT ที่ครบกำหนดอายุแล้วยังไม่ไถ่ถอนคืน
  • ได้รับ Voting power ในการกำหนดว่าจะแจก $PENDLE ให้ Pool ใดบ้างในแต่ละสัปดาห์ (Snaptshot ทุกวันพฤหัสบดี เวลา 07:00)
  • Boost yield ของการฟาร์ม Liquidity pool ได้สูงสุด 2.5 เท่า
  • ได้รับสิทธิ์ในการทิศทางของแพลตฟอร์ม

ปัจจุบันมี $PENDLE ที่ Lock เป็น vePENDLE ประมาณ 25.7% โดยเฉลี่ยระยะเวลาประมาณ 429 วัน (ระยะเวลาจะลดลงเรื่อยๆในทุกวัน) ให้ APY ที่ 0.0782% – 5.41% ตามสัดส่วยระยะเวลา แม้จะมีสัดส่วนการ Lock ไม่เยอะมากเท่าไหร่ แต่ระยะเวลาการ Lock ที่ค่อนข้างนานก็ให้ความรู้สึกถึงความ Bullish ระดับหนึ่ง

7. Investor ขาดทุนหรือกำไร?

pendle finance price vc unlock period

สถานการณ์ในตอนนี้คือ Investors ที่ระดมทุนรวมกัน $3.7m ได้รับ 37.422m $PENDLE ครบทุกเหรียญตั้งแต่ 1 กุมภาพันธ์ 2022 แล้ว กลุ่มคนเหล่านี้กำไรมากน้อยเพียงใด เราลองจำลองสถานการณ์มาได้ดังนี้

  • ขายทันทีที่ปลดเหรียญทั้ง 4 ครั้ง >> รายได้ $36,767,413.68 คิดเป็นกำไร 893%
  • ขายที่ราคาสูงสุดหลังปลดครบ >> รายได้ 36,471,777.48 คิดเป็นกำไร 885%
  • ยังไม่ขาย: ปัจจุบัน $PENDLE ราคา $0.726 >> รายได้ $27,168,592.704 คิดไปกำไร 634%
  • ขายวันสุดท้ายที่ปลดเหรียญ >> รายได้ $9,355,576 คิดเป็นกำไร 153%
  • ขายที่ราคาต่ำสุดหลังปลดครบ >> รายได้ 1,331,111.353 คิดเป็นขาดทุน 64%

จะเห็นว่า Investor มีโอกาสที่จะขายได้กำไรมากถึง 893% หากขายทันทีที่ได้รับเหรียญจากการปลดลอคมา ซึ่งดูจากกราฟแล้วมีแนวโน้มสูงที่ Investor จะขายทันทีที่ปลด เนื่องจากราคาถูก Dump ทุกครั้งที่มีการปลดเหรียญ ดังนั้น เราจึงมองว่าความเสี่ยงที่จะถูก Investor ที่ได้กำไรสูงจะทยอยเทขายนั้นไม่มีอีกแล้ว

8. พันธมิตรและคู่แข่งของ Pendle Finance

Pendle finance เป็น On-top protocol ที่ประสานการใช้งานเข้ากับแพลตฟอร์มอื่นๆด้วย ดังนั้นยิ่งมีแพลตฟอร์มพันธมิตรมากเท่าไหร่ การใช้งานก็จะต่อยอดส่งเสริมกันไปเรื่อยๆ ปัจจุบันมีพันธมิตรที่ใช้งานบน Pendle finance ดังนี้

ในส่วนของคู่แข่ง Pendle finance ที่เป็น Yield trading platform แบบเดียวกันนั้นยังไม่มีให้เห็นแบบทางตรงมากนักแต่ก็มีลักษณะคล้ายกัน ดังนี้

Ribbon Finance

ribbon finance

https://www.ribbon.finance/

Ribbon Finance เป็นแพลตฟอร์มที่เปิดให้นักลงทุนสามารถใช้  structured product เช่น Derivative, Option เพื่อควบคุมความเสีย่งเงินต้น หรือผลตอบแทนในช่วงระยะเวลาหนึ่ง 

Opyn

opyn

https://www.opyn.co/

Opyn เป็น Decentralized options แพลตฟอร์มที่เปิดให้นักลงทุนสามารถซื้อ-ขาย Option เพื่อทำการ Hedging หรือ Leverage Yield ได้เช่นกัน 

โดยรวมแล้วพันธมิตรของ Pendle finance นั้นจะเป็น DEX, Liquid staking หรือ Lending protocol ก็ได้ทั้งหมด จึงมีโอกาสที่ Pendle จะเติบโตไปได้ไกลมากกว่านี้ และยิ่งมีมากเท่าไหร่ Fee ที่เก็บเข้า vePENDLE ก็จะมากขึ้นเท่านั้น

นอกจากนี้คู่แข่งอย่าง Ribbon finance และ Opyn และอื่นๆ เช่น Lyra ที่ใช้ Option เป็นหลัก ไม่ได้ตรงกับ Target group ของ Pendle มากเท่าไหร่ ซึ่งแม้ว่าตลาด Derivative ใน Traditional finance จะใหญ่มากถึง $400T แต่ในโลก DeFi ยังมีการใช้งานที่ค่อนข้างน้อยมาก เราจึงมองว่า Pendle ยังมีจุดแข็งในตัวเองที่หลายแพลตฟอร์มยากที่จะต่อสู้ได้

9. PENDLE War

pendle war

https://www.defiwars.xyz/wars/pendle

ด้วยความที่การแจก $PENDLE ในแต่ละสะปดาห์นั้นอาศัยการโหวตจากผู้ถือ $vePENDLE เป็นหลักและการจะมีได้นั้นต้อง Lock $PENDLE ในช่วงระยะเวลาหนึ่งทำให้การใช้งานไม่สะดวกมากนั้น ดังนั้นจึงมีแพลตฟอร์มที่ 

  1. ต้องการเพิ่มสภาพคล่องให้กับการถือเหรียญ โดยสามารถขาย vePENDLE ได้
  2. ช่วย Boost APY ให้คนฟาร์มแม้ไม่ได้ Lock $PENDLE
  3. รวบรวม Voting power ไว้กับตัวเอง เพื่อให้แพลตฟอร์มอื่นๆสามารถติดสินบน (Bribe) ในการว่าจ้างให้ไปโหวตให้ Pool ไหนได้รับ $PENDLE เยอะที่สุดได้

รายละเอียดสามารถอ่านได้ใน “Curve Wars” สงครามการแย่งชิงสภาพคล่องที่ดุเดือดที่สุดในโลก DeFi หรือ Podcast ที่ Curve Wars สงครามการแย่งชิงสภาพในโลก DeFi | DeFi Recap Podcast EP.7 ซึ่งกลุ่มนี้เปรียบได้กับ Convex finance ที่ On-top Curve นั่นเอง 

ปัจจุบันใน Pendle war มีผู้เล่นหลัก 2 แพลตฟอร์มคือ 

9.1 Penpie (mPENDLE) 

penpie

https://www.pendle.magpiexyz.io/stake

Penpie เป็นหนึ่งใน Ecosystem ของ Magpie ที่ทำเรื่อง On-top protocol เป็นหลัก ปัจจุบันมี TVL 45m อยู่ทั้ง Arbitrum, BSC และ ETH chain เป็น Yield optimizer on-top Pendle finance โดยสามารถนำ $PENDLE หรือ LP มาฟาร์มที่นี่ได้โดยที่สิทธิ์ประโยชน์ต่างๆเหมือนฟาร์มที่ Pendle finance ทุกอย่าง และจะ Boost LP ให้แม้ไม่ได้ Lock $PENDLE 

9.2 Equilibria (ePENDLE)

Equilibria

https://equilibria.fi/stake

Equilibria เป็น Yield optimizer on-top ให้ Pendle finance โดยเฉพาะ โดยสามารถนำ $PENDLE และ LP ไปฟาร์มได้เช่นเดียวกับ Penpie ปัจจุบันมี TVL 39.94m อยู่ทั้ง Arbitrum, BSC และ ETH chain เช่นกัน

magpie xyz ecosystem

https://www.magpiexyz.io/

ทั้งสองแพลตฟอร์มนี้มีรูปแบบการทำงานที่คล้ายกันมาก แต่ Penpie ดูจะมีประสบการณ์มากกว่าเนื่องจากเคยทำของ On-top protocol ให้ Wombat และ Radiant protocol แล้ว เพราะทั้งคู่นั้นมีการ Lock เหรียญแล้วใช้ Voting power เช่นเดียวกัน

10. Roadmap

จากที่ตามอ่านใน Doc ของ Pendle ยังไม่พบ Roadmap หลังจากนี้ว่าจะทำอะไรต่อ แต่ล่าสุดมีการจัด Pendle Campaigns โดยรายละเอียดกิจกรรมจะเป็นการใช้งาน Pendle เป็นหลัก ส่วนรางวัลที่ได้รับนั้นจะเป็น NFT เช่น Thematic Peepo (SR / SSR),  Thematic Peepo Frame

เรายังไม่มั่นใจว่า Roadmap หลังจากนี้ Pendle จะทำอะไรต่อ แต่ความเป็นไปได้ที่เราคาดว่าจะทำนั้นมีคือ ขยายไปเชนอื่นๆ เช่น Optimism หรือ Polygon เนื่องจากยังมีการใช้งานสูง, ร่วมใช้งานกับ Liquid staking หรือแพลตฟอร์มอื่นๆเพิ่มมากขึ้นหรือเปิดให้แพลตฟอร์มทั่วไปสามารถนำเหรียญของตัวเองมา List ขายบน Pendle ได้อย่างอิสระ รายละเอียดเหล่านี้ต้องติดตามจากทาง Official หลักต่อไป

11. ความปลอดภัย (Audit)

audit pendle finance

https://www.treehouse.finance/treehouse-academy/the-truth-about-audits-in-defi

Pendle finance ใส่ใจเรื่องความปลอดภัยมาก โดยจะเห็นว่ามีการตรวจสอบจาก Audit อย่างน้อย 6 แห่งคือ Ackee Blockchain, Dedaub, Dingbats, cmichel, WatchPug, lleastwood สามารถเข้าไปดูรายละเอียดการตรวจสอบได้ในชื่อของแต่ละ Audit firm 

12. ความเสี่ยงของ Pendle finance

risk pendle finance

https://blog.cryptostars.is/assessing-risks-in-defi-f84853c94766

การใช้งาน Pendle finance มีความเสี่ยงที่ต้องระวังคือ

  • Smart contract risk: Pendle อาจมีช่องโหว่ให้โดน Exploit ได้ เนื่องจากเป็นแพลตฟอร์มที่การใช้งานยังไม่แพร่หลาย
  • Oracle risk: การส่งราคา Yield หรือเหรียญนั้นอาจเกิดปัญหาทั้งเรื่องความผิดพลาด หรือการใช้ เส้นค่าเฉลี่ยนย้อนหลัง 7 วัน เป็นต้น
  • Liquidity risk: การซื้อขาย SY, PT, YT ต้องดูสภาพคล่องแต่ละเหรียญให้ดีว่าเพียงพอหรือไม่ เพราะอาจเกิด Price impact ได้
  • User Error: Pendle เป็นแพลตฟอร์มที่ซับซ้อนระดับหนึ่ง แม้ว่าทีมพัฒนาจะพยายามทำให้ใช้งานง่ายขึ้นแล้ว แต่ถ้าต้องการใช้ให้ครบ อาจจะต้องเข้าใจระดับหนึ่งซึ่งมีโอกาสกดผิดพลาดได้

13. สรุป

https://www.pendle.finance/

Cryptomind research มองว่า Pendle finance เป็นแพลตฟอร์มที่ไม่เหมือนใครและแก้ Pain point ของนักลงทุนรายย่อยและสถาบันที่ต้องการลดความผันผวนของผลตอบแทนได้ดีมาก โดยสามารถ Fixed Yield หรือ Leverage Yield ได้อิสระตามแผนการลงทุน โดยการใช้งานมีการปรับให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นกว่า Version 1 และแพลตฟอร์มคู่แข่งมาก นอกจากนี้ $PENDLE ยังเป็นเหรียญที่มี Utility ในตัวเองเยอะมาก ทั้งการสะสมรายได้จาก Fee ต่างๆ รวมถึงการได้สิทธิ์ในการโหวตอีกด้วย ซึ่งถ้าตลาด Derivative บนโลก DeFi เกิดขึ้นจริง Pendle จะอยู่อันดับต้นๆในขบวนรถนี้อย่างแน่นอน

อย่างไรก็ตาม Pendle จำเป็นต้องอาศัยตลาด DeFi ในภาพรวมในการเติบโต ซึ่ง Liquid staking ในปัจจุบันนี้ถูกจำกัดการเติบโตตามระบบที่ Ethereum ออกแบบให้มีการสร้าง/ถอน Validator node ได้จำกัด 2,025 Node ต่อวัน และในส่วนของ Supply $PENDLE ที่มีการเฟ้อขึ้นเรื่อยๆโดยที่ไม่มี Max supply จะทำให้การถือเหรียญในระยะยาวอาจโดน Dilution effect ได้

โดยสรุปแล้ว Pendle finance เป็นอีกหนึ่งแพลตฟอร์มที่มีความคิดสร้างสรรค์ดีมาก แม้จะมีความซับซ้อนในการใช้งานระดับหนึ่งแต่หากเข้าใจแล้ว เรามองว่า Pendle finance จะเป็น Protocol ที่ตอบโจทย์การใช้งานสำหรับทุกคนที่อยากลดความเสี่ยงในการลงทุนอย่างแน่นอน

ศึกษาเพิ่มเติม

Doc: https://docs.pendle.finance/ 

Learn in-app: https://app.pendle.finance/trade/education/learn 

Discord: https://discord.com/invite/EAujvncY2R 

Twitter: https://twitter.com/pendle_fi 

Telegram: https://t.me/pendlefinance 

⚠️ คำเตือนความเสี่ยง ⚠️ 

คริปโทเคอร์เรนซี่และโทเคนดิจิทัลมีความเสี่ยงสูง ท่านอาจสูญเสียเงินลงทุนได้ทั้งจำนวนและสินทรัพย์ดิจิทัลมีความเสี่ยง โปรดศึกษาและลงทุนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้

ผลตอบแทนของสินทรัพย์ดิจิทัลในอดีต มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลตอบแทนในอนาคต

Author

  • Parit Boonluean

    A guy who loves crypto like Bitcoin and Ethereum. He's not the best writer, but his love for DeFi makes up for it. He's an easygoing guy who makes learning about crypto fun and easy.

    View all posts
Share :
Related
Ethena และ USDe กับยุคใหม่ของ Stablecoin
Cryptomind Research Investment Outlook 2025
Crypto AI Agent ตั้งแต่จุดเริ่มต้นจนถึงปัจจุบัน
NFT กลับมาแล้ว ?