Search
Close this search box.

เจาะลึกโอกาสการเติบโตของ Osmosis DEX บน Cosmos Ecosystem

Share :
Osmo

Table of Contents

ในปี 2023 นี้เราจะเห็นได้ว่าหลายๆสำนักก็จะ Bullish กับ Appchain narrative พอสมควรและ Cosmos มักจะมีชื่อติดอยู่ในลิสต์เหรียญที่น่าจับตามองเพื่อ Bet กับการเติบโตของ Cosmos ecosystem เพราะจะว่าไปแล้วในปีนี้ก็มีแผนพัฒนาหลายอย่างที่น่าจับตามองอย่าง Interchain security ที่คาดว่าจะมาแน่นอนใน Q1 2023 นอกจากนี้ หลายโปรเจกต์ก็มีแผนมาเปิดตัว Appchain บน Cosmos เช่น USDC Chain ของ Circle หรือ Celestia ที่ถือว่าเป็นหนึ่งในโปรเจกต์ Modular blockchain ที่น่าจับตามองที่สุด เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม นอกจาก Interchain security แล้ว ส่วนอื่นๆของ Atom 2.0 เช่น การปรับ Tokenomics ก็ยังมีทิศทางที่ไม่ชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องประโยชน์ของการถือเหรียญ Atom นอกจากนี้จากสถิติการใช้งานต่างๆก็พบว่า Appchain อื่นๆมีการใช้งานที่มากกว่า มี IBC Volume มากกว่า ดังนั้นบางทีเหรียญ Atom อาจจะไม่ได้เป็นเหรียญที่ดีที่สุดเหรียญเดียวในการลงทุนใน Cosmos ecosystem ก็ได้ โดยอาจมีทางเลือกเป็นเหรียญ Appchain อื่นๆ อย่างเช่น Osmosis ที่ปัจจุบันเรียกได้ว่าเป็น DeFi และ Liquidity hub บน Cosmos ecosystem เลยก็ว่าได้

ในบทความนี้ เราจะไปเจาะลึก Osmosis ที่เป็นหนึ่งใน Appchain ตัวหลักบน Cosmos โดยเราจะไปดูว่าทำไมเราจึงมองว่า Osmosis เป็นอีกหนึ่งแพลทฟอร์มที่น่าจับตามองอีกตัวในการเกาะไปกับการเติบโตของ Cosmos ecosystem

Introduction

อย่างที่เกรื่นไปข้างต้น Osmosis คือหนึ่งใน Decentralized Exchange (DEX) Appchain บน Cosmos Ecosystem ซึ่งเปิดให้ใช้งานครั้งแรกเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2021 โดยผู้ก่อตั้งชื่อว่า Sunny Aggarwal, Josh Lee และ Dev Ojha โดยทีมมีเป้าหมายหลักเพื่อที่จะพัฒนานวัตกรรมให้เป็นมากกว่า DEX ทั่วไป ดังนั้นถึงแม้ว่าการทำงานของ Osmosis DEX จะมีความคล้ายกับ AMM DEX ทั่วไป แต่ทางทีมก็ได้มีการโฟกัสไปที่จุดเด่นก็คือ Asset pool customization ทำให้สามารถปรับเปลี่ยนพารามิเตอร์ต่างๆใน LP Pool ได้นั่นเอง นอกจากนี้ทางทีมยังมีแผนที่จะพัฒนาฟีเจอร์ต่างๆตามมา เช่น Stableswap, Concentrated liquidity (แบบ UniSwap V3) และฟีเจอร์ต่างๆที่ไม่ได้จำกัดแค่การเป็น DEX ตามมาอีก เช่น Mesh security, MEV Monetization, Outposts เป็นต้น

ขอบคุณภาพจาก Dexmos.app (ข้อมูล ณ วันที่ 25 มกราคม 2023)

นอกจากนี้ Osmosis ยังเป็น DEX ที่มียอดเทรดสูงป็นอันดับหนึ่งบน Cosmos Ecosystem โดยมี Volume การเทรดต่อวันอยู่ที่ 11.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และ Total Value Locked อยู่ที่ 180 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ข้อมูล ณ วันที่ 25 มกราคม 2023) โดยเคยขึ้นไปทำจุดสูงสุดมากถึง 1,300 ล้านดอลลาร์สหรัฐเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2022 ที่ผ่านมา

แนวโน้มของการใช้งานบน Osmosis

TVL ของ Zone บน Cosmos Ecosystem (ข้อมูล ณ วันที่ 25 มกราคม 2023) ขอบคุณข้อมูลจาก Defillama
Top Pool บน Osmosis เรียงโดย TVL (ข้อมูลวันที่ 25 มกราคม 2023)

ดังที่กล่าวไปข้างต้นว่า TVL ของ Osmosis เคยขึ้นไปทำจุดสูงสุดที่ระดับมากกว่า 1,300 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเหตุผลส่วนหนึ่งที่ทำให้จำนวนผู้ใช้งานและ TVL ของ Osmosis ลดลงอย่างมีนัยสำคัญซึ่ง TVL ลดลงมากกว่า 90% จากจุดสูงสุด เกิดจากเหตุการณ์การล่มสลายของ Terra ด้วยเพราะว่า Osmosis นั้นมี Asset จาก Terra Ecosystem หลายตัวด้วยกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเหรียญ Luna และ Ust โดย Ust เคยเป็น Stablecoin หลักที่ใช้งานกันบน Osmosis เลยก็ว่าได้ โดยคู่เหรียญ Luna-Ust นั้นเรียกได้ว่ากิน Trading Volume มากกว่า 50% และ คู่ Luna-Ust และ Luna-Osmo ที่เคยมี Liquidity สูงถึง 55 ล้านดอลลาร์สหรัฐและ 113 ล้านดอลลาร์สหรัฐตามลำดับในช่วงเดือนพฤษภาคม 2022 

จากปัจจัยดังกล่าวส่งผลให้จากที่เคยมี TVL สูงสุดเป็นอันดับหนึ่งบน Cosmos Ecosystem ได้ตกลงมาเป็นอันดับสามรองจาก Kava และ Cronos แล้ว และภายหลังจาก Ust ล่มสลาย ทาง Osmosis ก็ได้มีการพาร์ทเนอร์กับ Axelar เพื่อนำ Bridged ERC-20 Stablecoin อย่าง Usdc และ Dai มาใช้งานบน Osmosis แทน โดยในปัจจุบัน Pool ที่มี TVL สูงสุดคือ Atom-Osmo, Usdc-Osmo และ WEth-Osmo ตามลำดับ (ข้อมูล ณ วันที่ 25 มกราคม 2023) โดยนอกจาก Stablecoin แล้ว ยังมี ERC-20 Asset อื่นๆที่ Bridge มาผ่าน Axelar เช่น WBtc, WEth ซึ่งการพาร์ทเนอร์ครั้งนี้ทำให้มีการใช้งานบน Osmosis มากขึ้น 

Top 10 ของเหรียญที่มี Liquidity สูงสุดบน Osmosis ข้อมูล ณ วันที่ 1 กันยายน 2022 (ข้อมูลจาก info.osmosis.zone/tokens)

โดยถ้าดูจาก Asset ที่มี Liquidity สูงสุดบน Osmosis 10 อันดับแรกจะเห็นว่าเป็น Bridged Asset จำนวนมากถึง 4 ตัวด้วยกัน ประกอบด้วย Usdc, WEth, Dai และ WBtc จึงเป็นการยืนยันได้ในระดับหนึ่งว่าการเปิดนำ Bridged Asset ต่างๆเข้ามาจะเป็นการเพิ่ม Liquidity และการใช้งานบน Osmosis ได้มากขึ้น ซึ่งถ้าในอนาคตมีการนำ Asset อื่นๆเพิ่มเข้ามาอีกก็น่าจะเป็นปัจจัยที่ช่วยที่ผลักดันการเติบโตให้กับ Osmosis และเพิ่ม TVL ให้มากขึ้นได้

Liquidty และ Volume ต่อเดือน บน Osmosis (ข้อมูล ณวันที่ 25 มกราคม 2023) ข้อมูลจาก info.osmosis.zone

นอกจาก TVL ที่ลดลงแล้ว Liquidity และ Trading Volume ก็ลดลงอย่างมากโดยช่วง Q1 2022 มี Liquidity เฉลี่ยต่อเดือนสูงถึง 1.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และมี Trading Volume เฉลี่ยต่อเดือนสูงถึง 3.11 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่จากภาพด้านบนจะเห็นได้ว่า Liquidity และ Trading Volume ในเดือนมกราคม 2023 ลดลงเหลือเพียง 180 ล้านดอลลาร์สหรัฐและ 280 ล้านดอลลาร์สหรัฐตามลำดับ โดยทั้ง Liquidity และ Trading Volume ลดลงมากกว่า 85% ซึ่งปัจจัยที่ทำให้ Activity ดังกล่าวลดลงก็ล่วนเป็นผลพวงมาจากการล่มสลายของ Terra และสภาวะตลาด Cryptocurrrency โดยรวมที่เป็นภาวะตลาดหมีที่ไม่ใช่ส่งผลกระทบต่อ Osmosis เท่านั้น แต่ไม่ว่า DeFi Protocol ไหนๆก็ได้รับผลกระทบเหมือนกันหมด

ข้อมูลการทำธุรกรรมผ่าน IBC ณ วันที่ 25 มกราคม 2023 ข้อมูลจาก Mapofzones.com

อย่างไรก็ตาม แม้ว่า TVL, Liquidity และ Trading Volume จะลดลงจากเหตุการณ์ดังกล่าวและสภาวะตลาด เราจะเห็นได้ว่า Osmosis ยังคงมี ยอดการทำธุรกรรมผ่าน IBC สูงที่สุด โดยจากข้อมูลวันที่ 25 มกราคม 2023 มี IBC Volume ใน 30 วัน สูงถึง 255 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งด้วยความที่ Osmosis เป็น DEX ตัวแรกบน Cosmos Ecosystem ที่เปิดใช้ Inter-Blockchain Communication (IBC) จึงอาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้มียอดการทำธุรกรรมผ่าน IBC สูงที่สุด นอกจากนี้การที่มีจำนวนธุรกรรมผ่าน IBC สูงสุดยังหมายถึงว่า Osmosis เป็นศูนย์กลางของ Cosmos Ecosystem อยู่

จำนวนการ Stake เหรียญ $Osmo ขอบคุณข้อมูลจาก Osmosis Community Updates (ข้อมูล ณ วันที่ 25 สิงหาคม 2022)

อีกตัวเลขหนึ่งที่น่าสนใจคือจำนวนการ Stake เหรียญ $Osmo ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยจากข้อมูล ณ วันที่ 25 สิงหาคม 2022 พบว่ามีเหรียญ $Osmo จำนวนกว่า 160 ล้าน Token ที่ถูก Stake อยู่บน Osmosis Zone อย่างไรก็ตามจำนวนการ Stake แบบ Superfluid มีแนวโน้มว่าจะชะลอการเติบโตลงในช่วง Q2 2022 เป็นต้นมา ซึ่งสอดคล้องกับ TVL ที่ลดลง โดยทั้งการ Stake แบบปกติและ Superfluid Staking นั้นจะเห็นว่ามีการลดลงชั่วคราวในช่วงเดือนพฤษภาคม 2022 หลังการล่มสลายของ Terra นั่นเอง

โดยรวมจะเห็นได้ว่าภาพรวมของการใช้งานบน Osmosis เช่น TVL, Liquidity และ Trading Volume นั้นลดลงอย่างมากภายหลังจากการล่มสลายของ Terra และสภาวะของ Cryptocurrency ที่แรงเก็งกำไรหดหายไปในช่วงที่ตลาดไม่สู้ดีแบบนี้ แต่ยังจะเห็นได้ว่า Osmosis ยังมียอดการทำธุรกรรมผ่าน IBC สูงที่สุด และยังมีจำนวน Staked $Osmo เป็นแนวโน้มที่เพิ่มขึ้น และการพาร์ทเนอร์กับ Axelar ที่ทำให้เห็นแนวโน้มการใช้งานและ TVL ที่น่าจะเพิ่มขึ้นตามมาได้

การแฮ็คบน Osmosis เมื่อเดือนกรกฎาคม 2022

Osmosis เคยผ่านเหตุการณ์ถูกแฮ็คเมื่อช่วงต้นเดือนกรกฎาคม 2022 โดยการแฮ็คดังกล่าวมีสาเหตุมาจาก Bug ใน Liquidity Pools โดย Bug นั้นทำให้เวลาผู้ใช้งานถอน Liquidity ออกนั้น จะได้รับ Asset กลับมาในมูลค่า 50% มากกว่าจำนวนที่ทำการถอน ทำให้มีผู้ไม่หวังดีที่สังเกตเห็น Bug นี้ได้ถอนเงินออกไป

หนึ่งใน Official Announcement ของ Osmosis เกี่ยวกับการแฮ็คในเดือนกรกฎาคม 2022 ข้อมูลจาก Osmosis Twitter

เหตุการณ์ครั้งนั้นสร้างความเสียหายให้กับ Osmosis เป็นจำนวนกว่า 5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ อย่างไรก็ตามเมื่อทางทีมงาน Osmosis ทราบเรื่อง ก็ได้รีบทำการแจ้ง Validator เพื่อหยุดเชนชั่วคราวทันทีทำให้เกิดความเสียหายไม่บานปลาย ซึ่งหลังจากที่หยุดเชน ทางทีม Osmosis ก็ใช้เวลาประมาณ 2 วันเพื่อแก้ Bug จึงกลับมาเปิดให้ใช้งานตามปกติอีกครั้ง

ข้อมูลจาก Sunnya97 Twitter

สำหรับความเสียหายที่เกิดขึ้นนั้น ภายหลัง Attacker บางส่วนก็ได้ออกมาแสดงความจำนงที่จะนำเงินมาคืน โดยหนึ่งใน Attacker นั้นก็คือ FireStake Validator ที่ออกมายอมรับและนำเงินทั้งหมดมาคืนให้กับ Osmosis และสำหรับเงินในส่วนที่เหลือที่ไม่ได้คืนนั้น ทางทีม Osmosis ก็ได้ไปนำเงินจากใน Osmosis Developer Fund เพื่อมาทำการคืนให้กับผู้เสียหายครบทั้งหมด โดยได้ทำการคืนให้ผู้เสียหายทั้งหมดแล้วในช่วงกลางเดือนสิงหาคม 2022 ที่ผ่านมา เหตุการณ์ครั้งนี้แสดงถึงความมืออาชีพในการแก้ปัญหาของทีมในการแก้ปัญหาได้อย่างท่วงที

การทำงานและฟังก์ชั่นพิเศษของ Osmosis

อย่างที่เกริ่นไปในช่วงเริ่มต้นว่า Osmosis มีหลักการทำงานคล้ายกับ Automated Market Maket (AMM) DEX อื่นๆทั่วไป ที่สภาพคล่องของการซื้อขายแลกเปลี่ยนจะมาจากการวางสภาพคล่องจาก Liquidity Providers (LPs) โดย Osmosis เป็น DEX ที่เปิด Inter-Blockchain Communication ที่ให้ Zone ต่างๆสามารถเชื่อมต่อกับ Osmosis ได้โดยง่าย นอกจากนี้ยังสามารถเปิดให้เชื่อมกับเชนอื่นๆที่เป็น non-IBC ได้ด้วย ทำให้ Osmosis นั้นเป็น Interchain AMM อย่างแท้จริง 

สำหรับผู้ที่วาง LP บน Osmosis จะได้รับรายได้ดังต่อไปนี้

  • Trading Fee ในอัตราประมาณ 0.1-0.5% (ขึ้นอยู่กับแต่ละ Pool) 
  • Osmo Incentive ต้องนำ LP ไปล็อคจึงจะได้รับส่วนนี้เพิ่มเติม โดยถ้ายิ่งล็อคนานก็จะได้รับ Incentive มากขึ้น โดยเราสามารถเลือกล็อค 1 วัน, 7 วัน หรือ 14 วันก็ได้ อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ทุก Pool จะได้รับ $Osmo Incentive ซึ่ง Pool ไหนจะได้รับหรือไม่จะต้องผ่านการโหวตจาก Governance ก่อน

External Incentive คือเป็น Reward ที่แต่ละโปรเจ็กต์จะแจกเพิ่มเติมเพื่อสร้างแรงจูงใจให้คนมาเพิ่มสภาพคล่องให้ เช่น โปรเจ็กต์ Evmos ก็มีแจกเหรียญ $Evmos เพิ่มเติมให้กับ Evmos-Osmo Pool เป็นต้น

Liquidity pools customization

นอกจากฟังก์ชั่นทั่วไปแล้ว Osmosis ยังมีความพิเศษคือ Liquidity pools customization คือมีฟังก์ชั่น AMM แบบยืดหยุ่น แตกต่างจาก DEX อื่นๆทั่วไป เช่น UniSwap, Curve ที่มักจะจำกัดพารามิเตอร์ต่างๆเอาไว้โดยไม่ให้เปลี่ยนแปลงได้หรือเปลี่ยนแปลงได้แค่บางพารามิเตอร์เท่านั้น ตัวอย่างเช่น UniSwap V3 ที่ให้เราปรับได้แค่ค่า Trading Fee ในแต่ละ Pool ได้ เป็นต้น 

แต่ว่า Osmosis เปิดให้นักพัฒนาและผู้ใช้งานสามารถ Customize ทุกพารามิเตอร์ของ AMM ในแต่ละ Liquidity Pool เพื่อให้เหมาะกับวัตถุประสงค์ของตัวเองและช่วงเวลาในแต่ละสภาพตลาดได้ โดยผู้ใช้งานสามารถโหวต Governance เพื่อปรับ Pool Parameters ต่างๆ เช่น Swap Fee, %Incentive, AMM Model, Curve Algorithm, Pool Ratio, จำนวน Asset ใน Pool เป็นต้น ซึ่งค่อนข้างน่าสนใจเพราะว่าจริงๆแล้วค่าพารามิเตอร์ต่างๆนั้นไม่จำเป็นว่าจะต้องตายตัวเสมอไป และในแต่ละช่วงตลาดอาจมี Demand ที่แตกต่างกันและอาจต้องมีการปรับเปลี่ยนบางพารามิเตอร์ นอกจากนี้ในแต่ละ Pool ก็ไม่จำเป็นต้องมีพารามิเตอร์ที่เหมือนกันก็ได้ เพราะแต่ละคู่เหรียญก็มี Tokenomics, Demand และสภาวะการซื้อขายที่แตกต่างกันออกไปนั่นเอง

ตัวอย่าง Liquidity Pool Customization โดยปรับ Pair Composition แบบ 60-40 ขอบคุณภาพจาก Consensys.net

ตัวอย่างของ Liquidity Pool Customization เช่น บางครั้ง Pair composition ก็ไม่จำเป็นต้องเป็น 50-50 เสมอไป โดย Osmosis เปิดให้สามารถปรับเป็นค่าอื่นๆได้คล้ายกับแพลทฟอร์ม Balancer เช่น สามารถปรับให้เป็น 60-40 แบบตัวอย่างคู่เหรียญ Ngm-Atom ด้านบน เป็นต้น ซึ่งการปรับ Pair Composition จะช่วยลดปัญหาเรื่อง Impermanent loss ได้ เนื่องจากโดยทั่วไปแต่ละ Pool นั้นจะมีความเสี่ยงต่อ Impermanent loss ที่แตกต่างกัน ทำให้การที่เราสามารถปรับ Pair composition ได้ซึ่งถือเป็นเรื่องที่มีประโยชน์มาก 

Superfluid staking

Superfluid Staking ของ Atom-Osmo Pool ขอบคุณภาพจาก Deebs_DeFi twitter
ตัวอย่างของ Superfluid Pools ขอบคุณภาพจาก App.osmosis.zone

อีกหนึ่งจุดเด่นของ Osmosis ก็คือ Feature ที่เรียกว่า Superfluid Staking คือการที่เราสามารถ Stake เหรียญที่เรานำไปวางสภาพคล่องใน Liquidity Pool เพื่อรับผลตอบแทนจากการ Stake อีกต่อหนึ่งได้ ทำให้ได้รับผลตอบแทนสองต่อทั้งจาก Trading fee และ Staking rewards และยังเป็นการช่วย Secure ระบบของ POS Chain ไปในตัวด้วย 

ตัวอย่างเช่น Atom-Osmo Pool จะได้รับ APR จากการวางสภาพคล่องที่ 24.49% (ล็อค 14 วัน) และจะได้รับ APR เพิ่มอีก 6% จากการ Stake Osmo ผ่าน Superfluid Staking เป็นต้น โดยในขณะนี้ทาง Osmosis เปิด Superfluid Staking ให้กับเหรียญ Osmo ที่เป็น Natve asset เพียงเหรียญเดียวและสำหรับ Pool ที่ผ่านการ Whitelist เท่านั้น เช่น Usdc-Osmo, Dai-Osmo, Weth-Osmo โดยในอนาคตคาดว่าน่าจะมีเหรียญอื่นๆที่เป็น Non-native asset จะเปิด Superfluid Staking ตามมาอีก ในกรณีนี้จะเรียกว่า Interfluid staking

Interfluid staking

ขอบคุณภาพจาก Deebs_DeFi twitter

ซึ่งนอกจาก Superfluid Staking แล้ว ทาง Osmosis ยังมีแผนจะเปิด Interfluid Staking ใน Roadmap อนาคต ซึ่ง Interfluid Staking ก็คือการรวมกันระหว่าง Cross staking และ Superfluid staking หรืออธิบายง่ายๆก็คือสามารถนำ Asset จากทั้งสองฝั่งของ LP ไป Stake ต่อได้นั่นเอง ทำให้ผู้ใช้งานสามารถ Optimize yield ได้สูงสุด เพราะจะได้ Yield ทั้งจาก Trading fee และ Staking reward จากทั้ง Native และ Non-native assetในส่วนของ Cross staking ก็คือการที่เชน Osmosis สามารถโหวตเพื่อทำให้ Asset นอกเชน (Non native assets) สามารถนำไป Stake ผ่าน Osmosis validators เพิ่มเติมได้ เช่น Atom, Axl ซึ่งในส่วนนี้จะเกี่ยวข้องกับ Mesh security ที่ทางทีมงาน Osmosis กำลังพัฒนาอยู่

Mesh security

อีกหนึ่ง Roadmap ที่น่าจับตามองอย่างมากของ Osmosis ก็คือ Mesh security ที่ทางทีมได้ประกาศไปในงาน Cosmoverse ช่วงเดือนพฤศจิกายน 2022 ที่ผ่านมา ซึ่ง Mesh security เป็น Concept ใหม่เกี่ยวกับการ Share security ใน Cosmos ecosystem ซึ่งแต่เดิมโมเดลการ Share security ใน Cosmos ที่รู้จักกันดีนั้นก็มีแค่ Interchain security ที่มีศูนย์กลางเป็น Cosmos hub เท่านั้น เรียกได้ว่าถ้า Mesh security ทำสำเร็จได้ น่าจะทำให้ความเป็น Cosmos hub มีบทบาทที่สำคัญน้อยลงได้เลย

ขอบคุณภาพจาก Frens validator

ก่อนที่จะเข้าใจได้ว่า Mesh security คืออะไร ต้องเข้าใจก่อนว่า Interchain security คืออะไร ซึ่ง Interchain security ก็คือการที่เชนเปิดใหม่ที่ไม่ได้มี Resource มากนักมาขอยืมใช้ Security บน Cosmos hub โดยการใช้ Validator set ร่วมกัน ซึ่งทาง Validator บน Cosmos hub (Provider chain) ก็จะทำหน้าที่สร้างบล็อคให้กับเชนเล็กๆเหล่านั้น (Consumer chain) และรับผลตอบแทนเป็นส่วนแบ่งจากค่าทำธุรกรรมบน Consumer chain ทำให้ถ้า Interchain security สำเร็จก็จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ Stake เหรียญ Atom โดยตรง

ขอบคุณภาพจาก Frens validator

โดย Mesh security นั้นก็จะมี Concept ที่ใกล้เคียงกับ Interchain security มาก แต่ว่าเพิ่มเติมขึ้นมาคือ Provider chain สามารถเป็น Consumer chain และในทางกลับกัน Consumer chain ก็สามารถเป็น Provider chain ได้ เป็นการช่วยเพิ่มทั้ง Security และ Decentralization ให้กับทั้ง Cosmos ecosystem ซึ่ง Mesh security ใช้หลักการของ Cross staking ที่กล่าวไปในบทก่อนหน้า เช่น ถ้าเราถือเหรียญ Osmo เราก็สามารถเลือกที่จะ Cross stake ไปเพื่อ Secure cosmos hub ได้ เป็นต้น

ถึงแม้ว่า Mesh security นั้นเรียกได้ว่าเป็นเทคโนโลยีเดียวกับ Interchain security และสามารถอยู่ร่วมกันได้ โดยทั้งคู่ช่วยเสริมกันในการเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับ Cosmos ecosystem แต่สิ่งที่ Mesh security อาจจะเข้ามาเปลี่ยนคืออาจจะลดบทบาทของ Cosmos hub และเหรียญ Atom ลงไปบ้าง เพราะว่า Cosmos hub จะไม่ได้เป็น Provider chain เพียงหนึ่งเดียวอีกต่อไป ซึ่งก็พอจะคาดหวังได้ว่าทีมงาน Osmosis ก็น่าจะพยายามผลักดันให้เหรียญ Osmo และ Osmosis zone เข้ามามีบทบาทและความสำคัญมากขึ้น ทำให้ถ้ามองในมุมนี้ก็ Bullish ต่อเหรียญ Osmo

Osmosis liquidity outpost (Cross-chain swap)

Osmosis liquidity outpost คือการที่เชนต่างๆที่เปิด IBC สามารถมาใช้ Liquidity สำหรับการซื้อขายแลกเปลี่ยนบนเชน Osmosis ได้ ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาที่ทุก L1 จะต้องทำ DEX ของตัวเองทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับ Liquidity fragmentation และความยุ่งยากในการใช้งานตามมา

หลักการทำงานคือเชนที่ต้องการใช้งานจะต้องทำการเปิด Outpost เพื่ออนุญาตให้ Smart contract ของ Osmosis ไปทำงานบนเชนเหล่านั้นได้ ทำให้เวลาผู้ใช้งานจะ Swap เหรียญก็ทำได้เลยโดยไม่ต้องย้ายเงินมาที่ Osmosis ก่อน 

ซึ่ง Outpost กำลังจะเปิดใช้งานเป็นครั้งแรกโดย Mars protocol ในช่วงประมาณเดือนกุมภาพันธ์ 2023 นี้ ถ้าทำได้สำเร็จ ก็จะช่วยเสริมความแข็งแกร่งในฐานะ Liquidty hub ให้กับ Osmosis ไปอีกขั้น

การจัดการเกี่ยวกับ MEV ของ Osmosis และ MEV monetization

นอกจากนี้ Osmosis ยังเป็น DEX ที่ได้มีการป้องกันเกี่ยวกับ MEV หรือ Maximal Extractable Value ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นหนึ่งในปัญหาใหญ่ที่บรรดา DEX ต่างๆจะต้องเจอเลยก็ว่าได้ โดย MEV คือการที่ Validator นั้นมีความได้เปรียบกว่าผู้ใช้งานปกติจากความสามารถในการเลือกว่าจะ Approve ธุรกรรมไหนก่อนเพื่อให้ตนเองได้ผลประโยชน์สูงสุด เช่น Validator สามารถเลือกแซงคิวให้กับธุรกรรมที่จ่าย Gas price เพิ่มมากกว่าไปลงใน Block ของตนก่อน เพื่อการ Frontrun การเทรดต่างๆ เป็นต้น ซึ่งทั้งหมดนี้ส่งผลเสียกับผู้ใช้งานโดยตรง เช่น ทำให้ธุรกรรมไม่ผ่าน, ทำให้ Slippage เพิ่มสูงขึ้น, หรือทำให้ Gas Fee เพิ่มสูงขึ้นได้ เป็นต้น โดย Osmosis แก้ปัญหา MEV เหล่านี้ด้วยการ “Encryption” เพื่อปิดบังรายละเอียดของธุรกรรมต่างๆ (ยกเว้นรายละเอียดเกี่ยวกับค่า Fee) ใน Mempool ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้ Validator สามารถใช้รายละเอียดของธุรกรรมเหล่านั้นให้การหาประโยชน์ให้ตนเองได้ โดย Validator จะเห็นรายละเอียดของธุรกรรมหลังจากที่ธุรกรรมเสร็จสิ้นไปแล้วเท่านั้น ผลคือทำให้ Validator เรียงลำดับการบันทึกธุรกรรมลงใน Block ตามคิวและจำนวนค่า Fee ตามปกติ

ขอบคุณข้อมูลจาก Nebular Summit Paris 2022

อย่างไรก็ตามตอนนี้ทาง Osmosis ก็ได้มีการทบทวนเกี่ยวกับปัญหาของ MEV อีกครั้งและมีการจำแนก MEV ออกเป็น “Good MEV” และ “Bad MEV” โดย Bad MEV จะส่งผลเสียต่อผู้ใช้งานและโปรโตคอล ตัวอย่างเช่น Sandwich Attack, การ Frontrun เป็นต้น ในทางตรงกันข้าม Good MEV จะส่งผลดีต่อผู้ใช้งานและโปรโตคอล เช่น การ Liquidation และ การ Arbitrage เป็นต้น ยกตัวอย่างในกรณีของการ Arbitrage ระหว่าง DEX ที่อาจจะมีหลายๆคนรวมถึง Bot เข้ามาแย่งกันในการทำ Arbitrage ส่วนต่างของราคาโดยการจ่าย Fee เพิ่มให้กับ Validator ให้บันทึกธุรกรรมของตัวเองก่อน ผลคือนอกจาก Validator จะมีรายได้เพิ่มแล้ว ยังส่งผลดีคือทำให้ส่วนต่างของราคาเหรียญระหว่าง DEX ลดลงและกลับเข้าราคาจริง ดังนั้นการแข่งขันเพื่อการ Arbitrage จึงจัดเป็น Good MEV 

และเนื่องจากว่าทาง Osmosis เห็นว่า Good MEV นั้นเป็นประโยชน์กับโปรโตคอลและทำให้เกิดรายได้เข้ามาได้ โดยตั้งแต่ Osmosis เปิดตัวมา มูลค่าที่เกิดจาก MEV ก็สูงถึง 6.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ดังนั้นทางทีมงานจึงเห็นโอกาสที่จะเข้ามาทำประโยชน์ในส่วนนี้ 

โดยในงาน Nebular Summit Paris 2022 ที่ผ่านมาทาง Sunny Aggarwal ซึ่งเป็น Co-Founder ของ Osmosis ก็ได้ประกาศแผนว่าทาง Osmosis จะเข้ามาทำ MEV ในส่วนของการ Arbitrage ส่วนต่างของราคาเหรียญใน Liquidity Pools เอง (Protocol-run MEV) นอกจากนี้ยังมีแผนที่จะจัดการ Liquidation บน Mars Protocol ซึ่งเป็นโปรโตคอลกู้ยืม (Lending) ที่กำลังจะเปิดตัวบน Osmosis โดยทาง Sunny ได้เผยว่ารายได้ที่ได้จาก Arbitrage และ Liquidation จะนำไปแจกจ่ายให้กับคนที่ Stake เหรียญ $Osmo

ซึ่งถึงแม้ว่าการทำรายได้จาก Good MEV ของ Osmosis จะเป็นเพียงแค่แผนการที่จะเปิดตัวในภายหลัง แต่ก็ถือว่าเป็นพัฒนาการที่น่าสนใจอยู่ไม่น้อยและยังเป็นการเพิ่ม Utility ให้กับเหรียญ $Osmo ด้วย ทำให้คนที่ Stake เหรียญมีรายได้ที่เกิดจากการใช้งานจริงเพิ่มเข้ามาด้วย

Stableswap AMM, Concentrated liquidity และ Incentive distribution optimization

ตาม Roadmap ทางทีม Osmosis ยังมีแผนจะทำ Stableswap AMM เพิ่มเติมสำหรับคู่เหรียญ Stablecoin และ Liquid staking pair เป็นต้น นอกจากนี้จะมีการเปลี่ยนโมเดลจาก AMM DEX ไปเป็น Concentrated liquidity แบบที่ UniSwap V3 ทำด้วย ซึ่งจะช่วยเพิ่ม Capital efficiency ให้กับคนวางสภาพคล่อง ส่วนนักเทรดก็จะมีประสบการณ์การใช้งานที่ดีขึ้น และช่วยลด Slippage 

ซึ่ง Cencentrated liquidity จะทำให้สามารถลด Inflation ของเหรียญ Osmo ที่จะต้องนำไปจ่าย Incentive ให้กับคนวางสภาพคล่องได้ เพราะคนวางสภาพคล่องจะได้รับ Trading fee ที่เป็น Real yield โดยตรงได้มากขึ้นนั่นเอง

ขอบคุณภาพจาก Emperor Osmo twitter

นอกจากนี้ทาง Osmosis ยังเพิ่งประกาศพาร์ทเนอร์กับแพลทฟอร์ม Chaos labs ที่จะเข้ามาช่วยจัดการการแจก Osmo incentive สำหรับคนวางสภาพคล่องให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นโดย Algorithm จะคำนวณพารามิเตอร์และข้อมูล Historical swap ต่างๆเพื่อตั้ง Target TVL ของแต่ละ Pool ให้มี Slippage ต่ำที่สุด หลังจากนั้นจะทำการ Optimize จำนวนการแจก Osmo incentive ของแต่ละ Pool ทำให้ช่วยตัดการแจกเหรียญ Osmo ที่ไม่จำเป็นออกไปได้ จึงเป็นการลดแรงขายเหรียญ Osmo ในระยะยาว

เหรียญ $Osmo

เหรียญ $Osmo ทำหน้าที่เป็น Governance Token ของ Osmosis Zone โดยในปัจจุบันเหรียญ $Osmo มีฟังก์ชั่นดังนี้ 

จำนวนผู้โหวต Proposal ต่างๆบน Osmosis Govenance ขอบคุณภาพจาก Flipsidecrypto.com (ข้อมูลอัพเดทวันที่ 22 มิถุนายน 2022)
  • Stake เพื่อโหวต Proposal ต่างๆ ซึ่งจากกราฟด้านบนจะเห็นว่ามีผู้ที่เข้าร่วมการโหวตใน Proposal หลังๆมีจำนวนสูงมากกว่า Proposal แรกๆ โดยแม้จะมีช่วงที่ลดลงไปบ้าง แต่จำนวนผู้โหวตก็มีแนวโน้มจะเพิ่มกลับมาได้ ซึ่งโดยรวมถือว่าเป็นแนวโน้มที่ดีที่ได้เห็นความ Active ในการเข้าร่วมโหวตจาก Community 
  • จ่ายค่าทำธุรกรรมบน Osmosis Zone ซึ่งจะกล่าวถึงรายละเอียดในภายหลัง
  • เป็น Incentive สำหรับ Liquidity Provider และ Staker

Osmo Release Schedule ข้อมูลจาก Medium.com/Osmosis

เหรียญ $Osmo มี Maximum Supply อยู่ที่ 1000 ล้าน Token โดยมี Supply เริ่มต้นที่ 100 ล้าน Token ที่แบ่ง 50% แจกเป็น Airdrop ให้กับผู้ที่ Stake เหรียญ Atom และอีก 50% แบ่งเข้า Strategic Reserve ซึ่งในปัจจุบันมี Circulating Supply อยู่ที่ 435 ล้าน Token ซึ่ง Token ที่ถูกสร้างขึ้นมาใหม่ (Inflation) จะลดลงในอัตราส่วนหนึ่งต่อสามในทุกปี (Thirdening) โดยในปีแรกเหรียญ $Osmo จะปลดออกมา 300 ล้าน Token และหลังจากปีแรกจะลดลงหนึ่งในสามจึงปลด 200 ล้าน Token ในปีต่อมา และปีที่สามเหลือ 133 ล้านโทเคน และลดลงไปเรื่อยๆในแต่ละปี ซึ่งเหรียญที่ปลดมาใหม่จะนำไปจัดสรรเป็น Staking Reward, LP Incentive, Developer Vesting และ Community Pool โดยมีรายละเอียดตามภาพด้านบน

Osmosis Zone Financial ข้อมูล ณ วันที่ 25 มกราคม 2023 (ข้อมูลจาก chain-monitor.cros-nest.com)

โดยอ้างอิงข้อมูลวันที่ 25 มกราคม 2023 จะเห็นว่า %APR ที่ได้จากการ Stake เหรียญ $Osmo จะอยู่ที่ 23.4% อย่างไรก็ตามเหรียญ $Osmo นั้นยังมี Inflation ในระดับค่อนข้างสูงอยู่ที่ประมาณ 50% แม้ว่าจะผ่านการ Thirdening ครั้งแรกไปแล้วก็ตาม การถือ OSMO ในระยะยาวจึงมีความเสี่ยงด้าน dilution effect อย่างมาก

$Osmo Technical analysis

ขอบคุณภาพจาก Binance ข้อมูลวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2023

ภาพรวมจากกราฟจากวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2566 เหรียญ $Osmo ยังมีแนวโน้มเป็นขาขึ้นอยู่  หากยังไม่หลุดแนวรับที่ $0.95 ก็ยังถือว่ายังไม่หลุดแนวโน้มขาขึ้นในระยะสั้น อย่างไรก็ตามถ้าหลุดแนวรับนี้จะเป็นการจบขาขึ้นและเข้าสู่การพักตัว โดยถ้าหลุดแนวรับที่เส้นสีชมพูที่ราคา $0.779 ก็มีโอกาสลงต่อได้สูง แต่ถ้าขึ้นต่อก็มีเป้าราคาที่ $1.268, $1.308 และ $1.365 ตามลำดับ

ค่า Fee บน Osmosis Zone

ในปัจจุบันบน Osmosis Zone มีค่า Fee แบ่งออกเป็น 3 ประเภท แต่ว่าในอนาคตนั้นทาง Governance สามารถโหวตเพื่อเพิ่มหรือลดประเภทของ Fee ได้ โดยตอนนี้ประกอบด้วย 3 ประเภทด้วยกันคือ

ค่าทำธุรกรรมบน Osmosis Zone ที่สามารถเลือกเป็น $0 ได้
  1. Transaction Fee คือค่าการทำธุรกรรมบน Osmosis Zone ซึ่งค่าทำธุรกรรมจะเป็นเท่าไหร่นั้นขึ้นอยู่กับประเภทของธุรกรรม เช่น การโหวต, การ Stake, การเคลม Reward เป็นต้น โดยในตอนนี้ผู้ใช้งานสามารถเลือกค่าทำธุรกรรมเป็น $0 ได้สำหรับทุกธุรกรรม (เลือก Low) ทำให้ Osmosis ยังไม่ได้มีรายได้เกิดขึ้นจากในส่วนนี้ แต่ในอนาคตทาง Osmosis ก็มีแผนว่าจะเปลี่ยนแปลงโดยบังคับเก็บค่าทำธุรกรรมอย่างแน่นอน และจะเปิดให้เป็น Multi-Denom Gas Fee หรือการที่สามารถจ่ายค่าทำธุรกรรมด้วยเหรียญอื่นๆได้ ซึ่งถ้ามีการปลดล็อคตรงส่วนนี้ก็จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ Stake เหรียญ $Osmo โดยค่าทำธุรกรรมที่เกิดขึ้นอาจนำไป Burn หรือนำไปจ่ายให้กับผู้ Stake ได้

ปริมาณ Trading Fee เทียบกับ DEX อื่นๆ ข้อมูล ณ วันที่ 25 มกราคม 2023 (ข้อมูลจาก Cryptofees.com)

2. Trading Fee คือค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการซื้อขายแลกเปลี่ยนเหรียญต่างๆบน Osmosis โดยคำนวณจากปริมาณที่ทำการ Swap โดยที่แต่ละ Pool ก็จะมีการเก็บค่าธรรมเนียมการเทรดไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับคนสร้าง Pool จะกำหนดขึ้นมาเพราะว่า Osmosis เปิดให้มีการ Liquidity Pool Customization ตามที่กล่าวถึงไปข้างต้น (โดยมากอยู่ที่ 0.1-0.5%) ซึ่งค่า Swap Fee จะถูกนำไปจ่ายให้กับ Liquidity Provider ตามสัดส่วนใน Pool โดยจากข้อมูล ณ วันที่ 25 มกราคม 2023 นั้นจะเห็นได้ว่า Osmosis สามารถเก็บ Trading Fee เฉลี่ยต่อวันอยู่ที่ประมาณ 28,000 ดอลลาร์สหรัฐ จัดอยู่ในอันดับ 9 เทียบกับ DEX อื่นๆ 

3. Exit Fee คือค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บเวลาผู้ใช้งานมาถอน LP ออกโดยคำนวณเป็นเปอร์เซ็นต์จากจำนวน LP ที่ต้องการถอน ซึ่ง Exit Fee จะมีหรือไม่และคิดเป็นเปอร์เซ้นต์เท่าไหร่นั้นถูกกำหนดโดยคนสร้าง Pool เช่นเดียวกับ Swap Fee โดยที่ Exit Fee จะถูกนำไปเผา ทำให้เป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับ LP ที่คงเหลืออยู่ใน Pool

Airdrop สำหรับผู้ Stake เหรียญ $Osmo

หนึ่งใน Incentive ที่ทำให้ผู้ใช้งานมา Stake เหรียญ $Osmo คือโอกาสที่จะได้รับแจก Airdrop เป็นผลพลอยได้ โดยทั่วไป Criteria ที่จะทำให้ได้รับแจก Airdrop นั้นมักจะเป็นการ Stake เหรียญ $Osmo หรือการเป็น Liquidity Provider ในจำนวนขั้นต่ำที่แต่ละโปรเจ็กต์อาจกำหนดมาไม่เท่ากัน นอกจากนี้บางโปรเจ็กต์ยังมีการเพิ่ม Criteria อย่างเช่น Governance Vote เข้ามาด้วย ดังนั้นถ้าใครที่สนใจล่า Airdrop ก็ควรเข้าไปโหวต Proposal ต่างๆเป็นประจำ

ซึ่งหนึ่งในสาเหตุที่โปรเจ็กต์ต่างๆมาแจก Airdrop ให้กับผู้ Stake เหรียญ $Osmo นั้นเพราะด้วยความที่ว่าผู้ที่ Stake เหรียญ $Osmo สามารถโหวตได้ว่าจะแจก Incentive ให้กับ Pool ใดบ้าง และเป็นจำนวนมากน้อยเท่าไหร่ และการที่ Osmosis เป็นเสมือน DEX ศูนย์กลางด้าน Liquidity ของ Cosmos Ecosystem ทำให้โปรเจ็กต์ที่เกิดใหม่ๆต่างก็ต้องการมา List เหรียญของตนบน Osmosis ทำให้การแจก Airdrop นั้นก็เปรียบเสมือนการที่โปรเจ็กต์ใหม่ๆเหล่านี้สร้าง Incentive ให้ผู้ Stake เหรียญ $Osmo ให้มาโหวตให้กับ Pool ของตนในทางหนึ่งนั่นเอง

โปรเจ็กต์ที่แจก Airdrop ให้กับผู้ Stake เหรียญ $Osmo ไปแล้ว ขอบคุณข้อมูลจาก cosmospug.com
ตารางแสดงถึงรายละเอียดและมูลค่าของ Airdrop จากการ Stake หรือ LP จากบางโปรเจ็กต์ (ข้อมูลจาก Cosmospug.com และ Twitter)

โดยถ้าอ้างอิงข้อมูลจาก Cosmospug.com จะพบว่าโปรเจ็กต์ที่แจก Airdrop ให้กับผู้ Stake เหรียญ $Osmo และ Liquidity Provider บน Osmosis นั้นมีรวมกันประมาณ 15 โปรเจ็กต์ โดยทางเราได้พยายามรวบรวมข้อมูลเพื่อคำนวณมูลค่าของ Airdrop ทั้งหมดที่ผ่านมา ซึ่งได้ตัดบางโปรเจ็กต์ที่ไม่สามารถหาข้อมูลได้ออกไป และคิดเฉพาะโปรเจ็กต์ที่แจก Staker โดยไม่รวม Liquidity Provider โดยมูลค่าของ Airdrop นั้นคำนวณมาจากจำนวนเหรียญที่แจกโดยประมาณจึงอาจจะมีคาดเคลื่อนได้บ้าง คูณกับราคาของเหรียญ ณ วันที่สามารถเคลมเหรียญมาขายได้ จากข้อมูลดังกล่าวจะพบว่าถ้าเรา Stake เหรียญ $Osmo ตั้งแต่ก่อนวันที่ 6 สิงหาคม 2021 จำนวน 50 โทเคน (มูลค่าประมาณ $85 ที่ราคาเหรียญ $Osmo ที่ $1.71 ณ วันที่ 6 สิงหาคม 2021) เราจะได้รับ Airdrop มูลค่ารวมประมาณ 1700 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งถึงแม้จะเป็นเพียงการประมาณการตัวเลข เราจะเห็นว่าการ Stake เหรียญ Osmo ให้ผลตอบแทนร่วม 1900%

โปรเจ็กต์ที่คอนเฟิร์มแล้วว่าจะแจก Airdrop ให้กับ Osmo Staker และ Osmosis Liquidity Provider ขอบคุณข้อมูลจาก Cosmospug.com

นอกจาก Airdrop ที่แจกผ่านไปแล้ว ในอนาคตก็ยังมีโปรเจ็กต์อีกมากมายที่ได้ประกาศจะแจก Airdrop ให้กับผู้ Stake และ Liquidity Provider ดังที่แสดงในภาพด้านบนที่เป็นข้อมูลจาก Cosmospug.com อย่างไรก็ตามโปรเจ็กต์ในช่วงหลังมีกำหนดจำนวนในการ Stake ขั้นต่ำที่สูงขึ้นจากแต่ก่อนค่อนข้างมาก อาจเป็นเพราะราคาของเหรียญ $Osmo ที่ลดลงอย่างมาก โดยหลายๆโปรเจ็กต์ในช่วงนี้ที่ประกาศ Airdrop Criteria กำหนดขึ้นต่ำไว้ที่ 100 $Osmo 

ประโยชน์อื่นของเหรียญ Osmo

ขอบคุณภาพจาก Emperor Osmo twitter ข้อมูลวันที่ 24 มกราคม 2023

ประโยชน์ทางตรงของเหรียญ Osmo ตอนนี้ถึงแม้จะมีแค่ใช้โหวต และอาจจะได้รับ Airdrop เป็นผลประโยชน์ทางอ้อมแล้ว เหรียญ Osmo ยังมีความสำคัญต่อ Liquidity pools บน Osmosis เพราะจากสถิติแล้ว Pool ส่วนมากกว่า 46% จะเป็น Pool คู่เหรียญ Osmo ทำให้ในอนาคตถ้า Osmosis เติบโตต่อเนื่องก็จะเกิด Demand ของเหรียญ Osmo ที่มากขึ้น

Roadmap อื่นๆของ Osmosis

นอกเหนือจาก Roadmap เช่น Monetize MEV, Interfluid staking และ Mesh security ที่กล่าวไปก่อนหน้านี้ ทางทีม Osmosis ยังมีแผนการที่จะขยายการใช้งานในรูปแบบต่างๆ อีกหลายอย่างที่จะเข้ามาเพิ่มขอบเขตของ Osmosis และจะเป็นการช่วยเพิ่มผู้ใช้งานและมูลค่าของเหรียญ Osmo ให้มากขึ้น อย่างเช่น NFT, Lending, Perpetual trading, Leverage farming เป็นต้น

Gamified NFT

ขอบคุณภาพจาก Wosmos NFTs Twitter

ทางทีมมีแผนการนำ Gamified NFT มาเป็นส่วนหนึ่งของแพลทฟอร์ม โดยอ้างอิงจากทวิตเตอร์ของ Wosmos NFTs ระบุว่าจะมี Quest ให้ผู้ใช้งานมาเข้าร่วมอาจเป็นแบบรายวันหรือรายสัปดาห์ผ่านการใช้งาน Osmosis ในรูปแบบต่างๆเช่น การเทรด การโหวต หรือการ Stake แล้วเก็บสะสมแต้มเพื่อนำไปแลก NFT, Mystery Box หรือ Items ต่างๆเพื่อนำไป Craft Avatar ของตัวเองให้มีรูปแบบไม่ซ้ำใครและเพิ่ม Rarity ได้ เป็นต้น ส่วนรายละเอียดอื่นๆว่า NFT จะสามารถนำไปใช้ทำอะไรได้ต่อนั้นยังไม่มีประกาศออกมา

Lending & Leverage farming

Mars Protocol ที่เป็นโปรเจกต์ที่ก่อตั้งโดย Delphi Labs และเคยเป็นหนึ่งใน Money Market ตัวหลักบน Terra Blockchain โดยให้บริการเกี่ยวกับ Lending, Borrowing, Leverage Yield Farming โดยภายหลังที่ Terra ล่มสลายไป ก็ได้มีการประกาศว่าจะย้ายมาเปิดตัวบน Osmosis ซึ่งตามแผน Mainnet จะเปิดตัวอย่างเป็นทางการในวันที่ 31 มกราคม 2023

ขอบคุณภาพจาก Mars protocol

โดย Mars Protocol นั้นต้องการที่จะเป็น Native Lending Platform บน Osmosis ทำให้สามารถนำกู้และยืม Assets ต่างๆบน Cosmos Ecosystem ได้อย่างง่ายดาย และอาจยังใช้ LP ต่างๆมาใช้เป็น Collateral เพื่อกู้ยืมได้ เป็นต้น ซึ่งจะเห็นได้ว่า Mars Protocol จะเข้ามาเติมเต็มในส่วนที่ Osmosis ยังไม่มีนั่นก็คือ Credit Market ทำให้การร่วมมือในครั้งนี้จะเป็นการสร้างรากฐานที่แข็งแกร่งเพื่อให้ Osmosis เป็นศูนย์กลางของ Cosmos Ecosystem ได้อย่างแท้จริง

โปรเจกต์อื่นๆที่มีแผนจะเปิดตัวบน Osmosis

ปัจจุบันมีโปรเจกต์จำนวนทั้งหมด 66 โปรเจกต์ที่สร้างบน Osmosis zone ซึ่งนอกเหนือแล้วยังมีโปรเจกต์อีกจำนวนมากที่กำลังรอจะเปิดตัว

DApp ที่รอเปิดตัวบน Osmosis ขอบคุณข้อมูลจาก Osmosis.zone

โดยจากข้อมูลวันที่ 25 มกราคม 2023 พบว่ามี 17 DApps ที่ขึ้นสถานะว่า “Coming Soon” บนเว็บไซต์ของ Osmosis ซึ่งก็มีหลายๆตัวที่น่าสนใจ เช่น  ApolloDao ที่เป็น Yield Aggregator และ Liquid Staking, Void Protocol ที่ให้บริการเกี่ยวกับ Financial Privacy เป็นต้น

Osmosis grant program

ทาง Osmosis มีโครงการ Osmosis Grants Program การแจกเงินทุนให้กับโปรเจ็กต์ต่างๆเพื่อสนับสนุนการพัฒนาและเพื่อจุดประสงค์คือนำพาการเติบโตมาสู่ Osmosis zone

ขอบคุณภาพจาก grants.osmosis.zone

โดยตอนนี้ทาง Osmosis Grants ได้ทำการแจกเงินทุนไปทั้งหมด 9 รุ่นแล้ว โดยมีโปรเจกต์ได้รับเงินทุนไปทั้งหมด 48 โปรเจกต์ รวมมูลค่าเงินสนับสนุนทั้งหมด 2.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งที่ผ่านมาก็มีหลายๆโปรเจกต์น่าสนใจอย่างเช่น Kado Money และ Transak ที่จะเป็น Fiat Onramp มาสู่ Osmosis ผ่านบัตรเครดิต การโอนเงินธนาคาร และ Margined Protocol ที่จะมาให้บริการ Perpetual Trading บน Osmosis เป็นต้น

สรุป

Osmosis นับเป็นหนึ่งในผู้เล่นสำคัญบน Cosmos Ecosystem โดยทำหน้าที่เป็น Decentralized Exchange ที่มี Liquidity, Trading Volume และ TVL สูงสุดที่สุด แต่จากเหตุการณ์ที่เกิดกับ Terra และสภาพตลาดที่ไม่สู้ดีในช่วงที่ผ่านมาทำให้ตัวเลขการใช้งานต่างๆลดลงไปอย่างมีนัยสำคัญ อย่างไรก็ตามด้วยความที่เป็น First Mover นั้นทำให้ Osmosis ยังคงมียอดการทำธุรกรรมผ่าน IBC สูงที่สุด ทำให้ยังคงตำแหน่งความเป็นศูนย์กลางในด้าน Liquidity ของ Cosmos Ecosystem อยู่ 

และสิ่งที่ทำให้เราเชื่อว่า Osmosis จะยังคงเป็นผู้เล่นสำคัญที่จะรองรับการเติบโตของ Cosmos ต่อไปก็คือการที่มีการพัฒนาและ Roadmap ที่น่าจะทำให้ Osmosis อยู่ใน Position ที่จะได้ประโยชน์จากการขยายของ Cosmos ecosystem ในอนาคตได้ โดยไม่ได้จำกัดแค่การเป็น DEX เช่น Interfluid Staking, Mesh security, Outposts, MEV monetization เป็นต้น 

เราจึงมองว่า Osmosis ถือเป็นหนึ่งการลงทุนที่มีศักยภาพในการ Bet กับอนาคตของ Cosmos และ Appchain narrative ที่หลายๆคนมองว่าอาจจะเป็นอีกหนึ่งเทรนด์สำคัญในปี 2023 นี้

สำหรับเหรียญ $Osmo ในปัจจุบันยังคงทำหน้าที่เป็น Governance Token ที่ยังมี Inflation ค่อนข้างสูงและยังไม่ได้มีการแบ่งรายได้เข้าผู้ถือเหรียญ แต่เราก็เห็นแล้วว่าทีมกำลังพยายามลดอัตราเฟ้อของเหรียญ Osmo โดยการ Optimize การแจก Incentive และวิธีการอื่นๆ นอกจากนี้ยังมีข่าวแว่วๆมาว่าอาจมีการนำส่วนแบ่งรายได้เข้าผู้ถือเหรียญได้ในอนาคต

.

คำเตือนความเสี่ยง : คริปโทเคอร์เรนซี่มีความเสี่ยงสูง ท่านอาจสูญเสียเงินลงทุนได้ทั้งจำนวนและสินทรัพย์ดิจิทัลมีความเสี่ยง โปรดศึกษาและลงทุนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ ผลตอบแทนของสินทรัพย์ดิจิทัลในอดีต มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลตอบแทนของสินทรัพย์ดิจิทัลในอนาคต

Author

Share :
Related
DeSci: เมื่อ Web3 ปฏิวัติวงการวิทยาศาสตร์และการวิจัย
Cryptomind Monthly Outlook (November 2024)
Cryptomind Monthly Outlook (October 2024)
Thailand Blockchain Landscape 2024