Search
Close this search box.

NFTfi กับการนำ “NFT มารวมกับ DeFi” มีแพลทฟอร์มอะไรบ้างที่น่าจับตามอง

Reading time 5 Mins
  • Sun

    Researcher and Analyst at Cryptomind, 6th year Medical student at Chulalongkorn, Always busy finding that 100x Fantasy

  • Kuljira Ittiamornkul
Share :
NFTfi-800x450

Table of Contents

Technical analysis by: Thampon Sukhasem

ก่อนจะไปทำความรู้จักว่า NFTfi คืออะไร เราไปดูสภาวะตลาด NFT ในช่วงที่ผ่านมากันก่อน โดยในปี 2022 ที่ผ่านมาถือว่าเป็นปีที่ค่อนข้างท้าทายสำหรับ NFT อันเป็นผลกระทบจากตลาดคริปโตเคอเรนซี่ที่เป็นตลาดหมีทำให้ NFT ได้รับผลกระทบอย่างหนัก โดยราคา Floor Price ของ NFT คอลเลคชั่นส่วนมากปรับลงกว่า 80%-90% พร้อมกับ Volume การเทรดที่ลดลงอย่างมาก

ขอบคุณภาพจาก The Block

อย่างไรก็ตามถึงแม้ภาพรวมราคาและการเทรด NFT จะแย่ เราก็ได้เห็นการพัฒนาการต่างๆมากมาย รวมถึงการที่มีบริษัทและแบรนด์ขนาดใหญ่เข้ามาใช้ NFT ในการต่อยอดให้กับธุรกิจและเกิด Use case ใหม่ๆหลายอย่าง นอกจากนี้ในปี 2022 ที่ผ่านมา VCs ได้ลงทุนในกลุ่ม NFT/Gaming ในสัดส่วนที่สูงที่สุดเมื่อเทียบกับ Sector อื่นๆ เป็นสัญญาณว่า NFT ถือเป็นอีก Sector ในคริปโทฯที่น่าจับตามอง

ขอบคุณภาพจาก DappRadar twitter

ประกอบกับในปัจจุบัน จากการที่สภาวะตลาดคริปโตเคอเรนซี่โดยรวมดีขึ้น Macro ที่ดูเหมือนจะเริ่มมีสัญญาณผ่อนคลายลง และโดยเฉพาะอย่างยิ่งตั้งแต่ช่วงปลายปี 2022 และต้นปี 2023 เราเริ่มเห็นสัญญาณการฟื้นตัวของตลาด NFT ที่ Volume การเทรด NFT กลับมาคึกคักอีกครั้ง ซึ่งจากข้อมูลของ DappRadar จะเห็นว่า Trading volume ของ NFT ขึ้นไปแตะระดับ 946 ล้านดอลลาร์สหรัฐในเดือนมกราคม 2023 ถือเป็นการเพิ่มขึ้น 38% เทียบจากเดือนธันวาคม 2022 ซึ่งเป็นระดับที่สูงที่สุดตั้งแต่เดือนมิถุนายนปีที่แล้ว

จากสัญญาณและปัจจัยที่กล่าวมาทั้งหมด ทำให้เราเชื่อมั่นว่า NFT จะเป็นอีก Sector ที่น่าจับตามองในปีนี้ และใน Bull market ต่อไป ซึ่งการลงทุนใน NFT ก็สามารถทำได้หลายวิธีตามความชอบและความเสี่ยงที่แต่ละคนรับได้ ไม่ว่าจะเป็น Direct exposure แบบการเลือกเก็บ Bluechip NFT ที่ราคา Floor ลดลงมาต่ำ หรือ Indirect exposure เช่น ลงทุนใน Blockchain infrastructure ที่เน้นออกแบบมาสำหรับ NFT, Gaming หรือ Metaverse เป็นต้น 

นอกจากนี้ อีกหนึ่งเทรนด์ของ NFT ที่ไม่พูดถึงไม่ได้ คือ “NFTfi” ที่เพิ่งเกิดแบบสดๆร้อนๆในปี 2022 ที่ผ่านมา ซึ่ง NFTfi ก็คือการนำ NFT มารวมเข้ากับ Finance ที่เข้าช่วยปลดล็อค Use case ของ NFT และเข้ามาช่วยปลดล็อคปัญหาเรื่องสภาพคล่องสำหรับ NFT ได้ ซึ่งก็มีด้วยกันอยู่หลายโปรเจกต์และได้รับผลตอบรับค่อนข้างดีมากในช่วงที่ผ่านมา 

ซึ่ง NFTfi ยังถือว่าเป็นเรื่องที่ค่อนข้างใหม่ แต่ก็ถือว่าเป็นอีกหนึ่ง Narrative ที่น่าจับตามอง ส่วนหนึ่งเพราะคาดว่าจะได้เห็นการพัฒนาต่างๆออกมามากขึ้น มีการใช้งานที่ดูเป็นรูปเป็นร่างมากขึ้น รวมถึงการตรวจสอบด้านความปลอดภัยต่างๆทำให้ผู้ใช้งานมั่นใจมากขึ้น แต่ถ้าพูดถึงในแง่ราคาเหรียญในกลุ่มนี้ส่วนใหญ่ยังเน้นเป็น Incentive ในการดึงดูดให้นักลงทุนมาใช้งาน ราคาเหรียญส่วนมากจึงตกหนักจาก Diultion Effect ที่มากกว่ารายได้จากการเก็บเข้า Treasury อย่างไรก็ตาม เราเชื่อว่าถ้าตลาดคริปโทฯโดยรวมกลับมาคึกคัก น่าจะทำให้คนเข้ามาใช้งาน NFTfi มากขึ้น น่าจะได้เห็นแพลทฟอร์มต่างๆออกโมเดลการ Accrue มูลค่าให้กับเหรียญได้มากขึ้น
โดย NFTfi ในตอนนี้แบ่งออกเป็น 3 แบบคือ การซื้อขาย NFT แบบ AMM, NFT Lending แบบ Pool รวมและ NFT Lending แบบแยกรายตัว ซึ่งในบทความนี้เราจะไปเจาะลึกโปรเจกต์ที่น่าสนใจในกลุ่มนี้เพื่อดูว่าตัวไหนมีความน่าสนใจอย่างไรบ้าง

1. SudoSwap

Sudoswap เป็นแพลทฟอร์ม AMM สำหรับการซื้อขาย NFT เจ้าแรก หลักการทำงานก็คล้ายกับ AMM DEX เพียงแต่เปลี่ยนเป็นการซื้อขาย NFT แทนการซื้อขายเหรียญแบบปกติ เรียกได้ว่าเป็นการพลิกโฉมการซื้อขาย NFT ที่มีสภาพคล่องต่ำให้สามารถซื้อขายได้ทันทีไม่ต่างกับ Fungible Token ทั่วไป

ขอบคุณภาพจาก Sudoswap.xyz

ขอบคุณภาพจาก Sudoswap.xyz

โดยเราสามารถนำ NFT ไปวางเป็น Liquidity เพื่อรับ Trading fee ได้ ตัวอย่างเช่น ถ้าเรามี NFT จำนวน 10 ชิ้น แต่ละชิ้นมีมูลค่า 1 ETH เราก็สามารถนำ 10 NFT + 10 ETH ไปวางใน Liquidity pool ได้ โดยที่สามารถตั้งค่า Trading fee เองได้ (เสีย 0.5% เข้า Sudoswap treasury) และสามารถกำหนด Bonding curve ให้มีการเปลี่ยนแปลงของราคาตามปริมาณการซื้อขายให้เป็นไปในแบบที่เราต้องการได้ ซึ่งนอกจากการวาง Liquidity โดยวาง Asset ในทั้งสองฝั่ง เรายังสามารถเลือกวางเหรียญ ETH อย่างเดียวใน Pool เพื่อซื้อ NFT ในราคาที่เรากำหนด หรือจะวาง NFT อย่างเดียวเพื่อขาย NFT ในราคาที่เราต้องการก็ได้เช่นกัน

ซึ่งโมเดลของ AMM แบบนี้จะช่วยให้ราคาของ NFT มีความสเถียรมากขึ้น ลดความผันผวนของราคาที่เกิดขึ้นจากการ Bid/Ask แบบ NFT Marketplace ทั่วไป เหมาะมากกับการซื้อขาย NFT ที่ต้องการเสถียรภาพด้านราคา อย่างเช่น จำพวกไอเทมเกม หรือที่ดินใน Metaverse ดังนั้นในอนาคตถ้าเทรนด์ของ Metaverse/GameFi กลับมาได้รับความนิยม เราเชื่อว่า SudoSwap จะต้องได้รับประโยชน์อย่างแน่นอน 

ส่วนแนวโน้มการซื้อขายต่อวันสูงสุดเคยขึ้นไปอยู่ที่ 2.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อวัน ด้วยจำนวนผู้ใช้งาน 1,600 คนต่อวัน โดยตอนนี้ลดลงมาเหลือประมาณ 330,000 ดอลลาร์สหรัฐ และ 128 คนลดลง 85% และ 92% (ข้อมูล ณ วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2023) แต่ก็ถือว่าเป็นการลดลงตามสภาวะตลาด เพราะอย่างกรณีของ Opensea ก็ลดลงกว่า 95% เช่นกัน

การแจก Airdrop เหรียญ $SUDO

สิ่งที่เป็นประเด็นร้อนแรงที่ถูกพูดถึงกันอย่างมากบน Twitter ก็คือการแจก Airdrop เหรียญ $SUDO ที่จะเป็น Governance token ของแพลทฟอร์ม SudoSwap ที่เพิ่งทำการปลดเหรียญสำหรับผู้ที่เข้า Criteria ไปเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2023 ที่ผ่านมา โดยเกณฑ์การแจก Airdrop มีดังนี้

  • ผู้ที่ทำการ Lockdrop เหรียญ $XMON เป็นเวลาหนึ่งเดือน โดยมีอัตราการแจกอยู่ที่ 10,000 $SUDO ต่อ 1 $XMON (เป็น Utility token ที่ใช้บน Ecosystem  ของ 0xmons NFT) 
  • ผู้ถือ 0xmons NFT
  • ผู้วางสภาพคล่องใน sudoAMM

ขอบคุณภาพจาก Coingecko (ข้อมูล ณ วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2023)

หลังจากที่ทางทีม 0xmons ประกาศในช่วงเดือนกรกฎาคม 2022 เกี่ยวกับการเปิดตัว SudoSwap และมีข่าวลือว่าผู้ถือเหรียญ $XMON จะได้รับส่วนแบ่งด้วยก้ทำให้ราคาเหรียญ $XMON พุ่งขึ้นอย่างรวดเร็วจากระดับ 5,000 ดอลลาร์สหรัฐไปสู่ระดับ 40,000 ดอลลาร์สหรัฐภายในเวลาประมาณหนึ่งเดือนเท่านั้น ถึงแม้ว่าหลังจากนั้นไม่นานราคาจะปรับตัวลงอย่างรวดเร็วมาอยู่ที่ระดับประมาณ 15,000-$20,000 ดอลลาร์ในช่วงปลายปี 2022

อย่างไรก็ตาม เมื่อเหรียญ $SUDO ถูกปลดและให้เทรดได้เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา แต่ว่าในขณะนี้เรายังสามารถ Lock เหรียญ $XMON เพื่อรับ $SUDO airdrop ได้จนถึงวันที่ 2 มีนาคม 2023 ทำให้ราคาเหรียญ $XMON ก็ได้พุ่งกลับไปที่ระดับ 40,000 ดอลลาร์อย่างรวดเร็ว เป็นเพราะว่าราคาเปิดของ $SUDO นั้นพุ่งไปที่จุดสูงสุดระดับ 4 ดอลลาร์ในวันดังกล่าว 

ตอนนี้ราคาเหรียญ $XMON อยู่ที่ 37,512 ดอลลาร์สหรัฐ (ข้อมูลวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2023) ส่วนราคาเหรียญ $SUDO อยู่ที่ 3.26 ดอลลาร์ ทำให้การซื้อ $XMON ไป Lock ตอนนี้ไม่คุ้มแล้ว อย่างไรก็ตามในช่วงนี้จนถึงวันที่ 2 มีนาคม หากราคา $XMON ปรับลดลงมาต่ำกว่า $SUDO *10,000 ก็ถือเป็นโอกาสในการซื้อ $XMON ไป Lock และนำ $SUDO ออกมาขายทำกำไรส่วนต่างได้  อย่างไรก็ตามใครที่อยากซื้อ $XMON ไป Lockdrop ตอนนี้ จะต้องตระหนักไว้ว่าหลังจากวันที่ 2 มีนาคมที่เหรียญ $XMON จะถูกปลดล็อคแล้วน่าจะมีการเทขายเพราะก่อนหน้านี้ราคาของ $XMON ที่ปรับตัวขึ้นมานั้นมาจากความที่คนเก็งกำไรจาก $XMON เพื่อเอามา Lockdrop รับเหรียญ $SUDO ส่วนเหรียญ $XMON เองนั้นไม่ได้มี Utility อะไรพิเศษแล้ว เพราะทีมได้มีการย้ายมาทำ Sudoswap 100% จึงทำให้ Real Value ของ $XMON จริงๆคือ 0

เหรียญ $SUDO

ขอบคุณภาพจาก sudoswap twitter

สำหรับเหรียญ $SUDO ในปัจจุบันนั้นทำหน้าที่เป็นเพียง Goverance token ที่ใช้โหวต Proposal เพื่อปรับเปลี่ยนทิศทางของ sudoAMM ได้ อย่างเช่น การเพิ่ม Bonding curve, การเพิ่ม NFT Pool หรือโหวตเพื่อเปิด Fee switch เป็นต้น 

ขอบคุณภาพจาก Dune

ส่วนราคาของ $SUDO ตอนนี้ทำให้ Market cap สูงถึง 196 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ($SUDO initial supply = 60,000,000) ถ้าเปรียบเทียบกับ Market cap ของ Looksrare ซึ่งเป็นอีกหนึ่ง NFT Marketplace ที่มียอด Trading volume ใกล้เคียงกับ SudoSwap โดยในบางช่วง SudoSwap มียอดเทรดพุ่งขึ้นไปเป็น 75% ของ Looksrare ซึ่งตอนนี้ Market cap ของ Looksrare อยู่ที่ 125 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ข้อมูลวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2023) ดังนั้น Market cap ของ SudoSwap ควรจะอยู่ที่ไม่เกินประมาณ 94 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 

หรือจะใช้การประเมินมูลค่าเทียบกับค่าเฉลี่ย FDV/Volume ที่คิดจาก Trading volume 90 วันเทียบกับของ Looksrare และ X2Y2 ที่มีอัตราส่วนเฉลี่ยอยู่ที่ 1.28 จะได้ Market cap ตอนเปิดตัวของ SudoSwap ออกมาที่ประมาณ 22 ล้านดอลลาร์สหรัฐเท่านั้น (ยอด Volume บน SudoSwap 90 วันในเดือนมกราคม 2023 อยู่ที่ประมาณ 17 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ดังนั้น ราคาของ $SUDO ตอนนี้อาจจะดู Overvalue อยู่สักหน่อย

ดังนั้นเรายังมองว่าระยะสั้นราคาเหรียญ $SUDO ในตอนนี้ดูมีความเสี่ยงในแง่ Valuation อย่างไรก็ตามในระยะยาวเราเชื่อว่า SudoSwap จะยังเติบโตต่อไปได้อีกมาก เพราะตอนนี้ Trading volume ส่วนใหญ่มาจาก PFPs ซึ่งในอนาคตถ้ามีการเติบโตของ Metaverse, GameFi เราเชื่อว่า SudoSwap จะได้ส่วนแบ่ง Market share การเทรดในส่วนนี้มากขึ้น ทำให้ถือว่าเป็นอีกแพลทฟอร์มที่น่าจับตาอย่างมาก

2. X2Y2

ขอบคุณภาพจาก Cryptorank.io

X2Y2 เป็นแพลทฟอร์มที่เป็นทั้ง NFT Marketplace และ NFT Lending โดยในส่วนของ Trading volume ในฝั่ง Marketplace ของเดือนมกราคม 2023 ที่ผ่านมานั้น X2Y2 ติดอยู่ใน Top 3 ด้วยมูลค่าการเทรดทั้งหมด 92 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเป็นแนวโน้มเติบโตต่อเนื่องมาตั้้งแแต่เดือนพฤศจิกายน 2022 

ขอบคุณภาพจาก Dune

อย่างไรก็ตามในส่วนของ NFT Marketplace X2Y2 จะต้องเจอกับความท้าทายจากการแข่งขันกันอย่างรุนแรง โดยเฉพาะเมื่อ Blur คิดค่าธรรมเนียมการซื้อขายเป็น 0% ทำให้ทั้ง Opensea และ X2Y2 เองก็ได้ประกาศแผนจะปรับลดค่าธรรมเนียมการซื้อขายเป็น 0% ชั่วคราวเช่นกันเพื่อรักษา Market share เอาไว้ อย่างไรก็ตามในระยะสั้นถึงกลางนั้น Blur มีกิจกรรมแจก Airdrop season 2 ต่อเนื่อง ทำให้ X2Y2 (รวมถึง NFT Marketplace อื่น) มีโอกาสค่อนข้างสูงที่จะสูญเสีย Market share เพิ่มเติมให้กับ Blur ได้ แต่ในระยะยาวการจะตัดสินถึงผู้ชนะ จะต้องดูเรื่องฟีเจอร์และนวัตกรรมต่างๆประกอบด้วย ซึ่งการแข่งขันของ NFT Marketplace ต่างๆนั้นก็ถือว่าน่าสนใจ แต่จะไม่ได้เป็น Scope ของบทความนี้

ขอบคุณภาพจาก X2Y2 

ถึงแม้ในส่วนของ Marketplace จะมีการแข่งขันที่ดุเดือด แต่ X2Y2 ก็ยังมีอีก Product ที่เป็น NFT Lending โดยสำหรับในส่วนของ NFT Lending ทาง X2Y2 ก็ได้เปิดให้นักลงทุนสามารถกู้ยืมเหรียญ ETH ด้วยการนำ NFT ที่ผ่านการ Whitelist มาวางค้ำประกัน โดยการกู้ยืมจะทำเป็นดีลไป ซึ่งผู้ปล่อยกู้จะสามารถกำหนดระยะเวลากู้และดอกเบี้ยเองตาม Collection และ Item ได้ หากราคา NFT ตกต่ำกว่าขั้นต่ำที่รับได้หรือว่าเลยระยะเวลากู้ ระบบจะยึด NFT ให้กับคนที่ปล่อยกู้ทันที 

ขอบคุณภาพจาก Dune

ซึ่งในเดือนมกราคม 2023 ที่ผ่านมา เราก็ได้เห็นว่าภาพรวมจำนวนการนำ NFT ไปวางเป็นสินทรัพย์ค้ำประกันเพื่อกู้ยืมนั้นได้ทำ All-time high ไปด้วยจำนวนสูงถึง 4,399 สัญญา ซึ่งเติบโตเกือบสองเท่าเมื่อเทียบกับ High เดิมที่ 2,481 สัญญาในเดือนมีนาคม 2022 แสดงให้เห็นถึงการที่คนให้ความสนใจใน NFT Lending มากขึ้น โดยเฉพาะในช่วงที่สภาวะตลาดคริปโตฯเริ่มกลับมาคึกคัก NFT Lending น่าจะเติบโตได้อีก

ขอบคุณภาพจาก Dune

โดย Borrow volume ของ X2Y2 ในเดือนกุมภาพันธ์ 2023 มี Market share อยู่ที่ประมาณ 21% และจัดอยู่อันดับที่ 3 รองจาก BendDAO และ NFTfi ซึ่งเป็นอีกสองแพลทฟอร์มที่ทำ NFT Lending เช่นกัน แต่ความน่าสนใจของ X2Y2 ก็คือ Borrow volume ที่มีแนวโน้มเติบโตมาโดยตลอดนับตั้งแต่การเปิดตัวในเดือนกันยายน 2022 

เหรียญ $X2Y2

ขอบคุณภาพจาก X2Y2.io (ข้อมูลวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2023)

ความพิเศษอีกอย่างของ X2Y2 ก็คือ Utility ของเหรียญ $X2Y2 ที่ผู้ใช้งานสามารถนำเหรียญไป Stake เพื่อรับส่วนแบ่งรายได้ทั้งหมด 100% ของค่า Fee ที่เกิดจากการซื้อขาย NFT บนแพลทฟอร์ม โดยจากข้อมูลวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2023 X2Y2 staking APR จะอยู่ที่ 34% (ข้อมูลวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2023) โดยประกอบไปด้วยค่า Fee ที่เป็น Real yield สูงถึง 30.9% และ X2Y2 incentive อีก 3.1%

ขอบคุณภาพจาก x2y2 twitter

อย่างไรก็ตาม อย่างที่กล่าวไปข้างต้น ตอนนี้ทาง X2Y2 มีแผนจะประกาศลดค่าธรรมเนียมซื้อขายเหลือ 0% เพื่อรักษา Market share ในส่วนของ Marketplace ดังนั้นใครที่กำลังจะ Stake เหรียญ X2Y2 ในช่วงนี้อาจจะไม่ได้รับ Reward ชั่วคราวเป็นเวลาอย่างน้อย 180 วัน 

ขอบคุณข้อมูลจาก Coingecko (วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2023)

ส่วนราคาเหรียญ $X2Y2 ยังถือว่าค่อนข้าง Undervalue โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับโปรเจกต์ใกล้เคียงอย่าง Looksrare ซึ่งเป็นอีกหนึ่ง NFT Marketplace ที่เหรียญ $LOOKS เองก็สามารถนำไป Stake เพื่อรับส่วนแบ่งค่าธรรมเนียมซื้อขายได้เช่นกัน โดยถ้าเทียบ Fully diluted market cap ของ X2Y2 ตอนนี้ยังต่ำกว่า Looksrare อยู่ 2.3 เท่า แต่ว่ามีผู้ใช้งานที่มากกว่าและ Trading volume มากกว่าถึง 70% นอกจากนี้เมื่อเทียบจาก FDV/Revenue และ FDV/Volume แล้ว $X2Y2 ก็ยังดูมี Valuation ที่คุ้มค่ากว่า $LOOKS

ขอบคุณข้อมูลจาก Coingecko (วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2023)

ซึ่งถ้าเปรียบเทียบกับแพลทฟอร์ม NFT Lending อื่นๆ อย่างเช่น JPEG’d และ BendDAO จะเห็นได้ว่า X2Y2 นั้นดูจะมีความ Undervalue รองลงมาจาก BendDAO เมื่อเปรียบเทียบจาก FDV/Borrow volume ratio โดยเมื่อพิจารณาควบคู่กับความที่ X2Y2 เป็นทั้ง Marketplace และ NFT lending ก็ถือว่าเป็นอีกหนึ่งโปรเจกต์ที่มีศักยภาพและน่าจับตาอยู่ไม่น้อยเลย

$X2Y2 Technical analysis

ส่วนในด้านของกราฟเหรียญ $X2Y2 จะเห็นว่าราคาได้มีการปรับตัวลงจากจุดสูงสุดอย่างยาวนาน แม้ว่าจะมีการเห็นความพยายามในการปรับตัวขึ้นแต่ก็ไม่สามารถทำจุดสูงสุดใหม่ได้ทำให้ราคายังคงอยู่ในแนวโน้มขาลงต่อเนื่อง โดยแนวรับถัดมาที่ต้องจับตามองคือที่บริเวณราคา 0.000047 ETH ซึ่งเป็นโซนแนวรับเก่าและถ้าหลุดจะมีโอกาสลงไปทดสอบ 0.000022 ETH ตามลำดับ อย่างไรก็ตามหากราคาลงมาทดสอบแนวรับและสามารถยืนเหนือแนวรับได้ราคาจะมีโอกาส ขึ้นไปทดสอบแนวต้านที่โซนราคา 0.000088 ETH – 0.000096 ETH ได้

3. BendDAO

ขอบคุณภาพจาก Benddao (ข้อมูลวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2023)

BendDAO เป็นอีกหนึ่งแพลทฟอร์ม NFT Lending รุ่นบุกเบิก ที่การทำงานแตกต่างจาก X2Y2 คือจะเป็นรูปแบบ Pool รวม โดยจะมีฝั่งที่เพิ่มสภาพคล่อง ETH ไว้รวมกัน แล้วให้นักลงทุนที่อยากกู้ ETH เอา NFT มาวางค้ำประกัน โดยดอกเบี้ยจะขึ้นอยู่กับ Demand-Supply และไม่มีระยะเวลากำหนดในการคืน หากราคา NFT ต่ำกว่า LTV ที่ประมาณ 40% ก็จะทำการขาย NFT ทอดตลาดเพื่อป้องกันการเสียหายจากผู้ปล่อยกู้

ซึ่งตอนนี้การปล่อยกู้เหรียญ ETH บน BendDAO จะได้รับ %APR สูงถึง 7.64% โดยเป็นรายได้ที่มาจากการปล่อยกู้ 4.72% และ Incentive จากการแจก $BEND อีก 2.92% นอกจากนี้ทาง BendDAO ยังมีการแจก Incentive เพื่อดึงดูดผู้ใช้งานมาทำการวาง NFT เพื่อทำการกู้ โดยแจกเหรียญ $BEND สูงถึง 34.21% สำหรับผู้กู้ เท่ากับว่ากู้แล้วได้ Net APR สูงถึง 7.9% (ข้อมูลวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2023)

ขอบคุณภาพจาก Benddao 

นอกจากนี้ BendDAO ยังมีฟีเจอร์หลายๆอย่างที่น่าสนใจ เช่น การให้บริการซื้อ NFT ด้วยการจ่ายเพียง Down payment และกู้ส่วนที่เหลือผ่าน BendDAO ด้วยค่าธรรมเนียม 1%, การให้บริการ MAYC, BAYC staking หรือการให้บริการ Flash claim สำหรับ NFT ที่ถูกใช้เป็น Collateral อยู่ให้สามารถนำไปใช้ในการเคลม Airdrop ที่อื่นได้โดยไม่ต้องทำการจ่ายหนี้คืนเพื่อถอน NFT ออกมา เป็นต้น

ขอบคุณภาพจาก Dune

โดย BendDAO นั้นก็ถือว่าเป็นเจ้าตลาดเรื่อง NFT Lending เพราะในแง่ Lending volume นั้นเป็นอันดับ 1 ด้วย Marketshare กว่า 44% ในเดือนมกราคม 2023 อย่างไรก็ตามในปี 2022 ที่ผ่านมานั้น ถึงแม้ Lending volume ของ BendDAO นั้นมีบางช่วงที่ถูก NFTfi แซงหน้า แต่ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2022 เป็นต้นมา BendDAO ก็ได้กลับมาครองอันดับหนึ่งมาโดยตลอด ส่วนอันดับสองอย่าง NFTfi นั้นมี Market share ที่ประมาณ 29%

ส่วนหนึ่งที่ทำให้ Market share ของ BendDAO กลับมาเติบโตอาจเป็นเพราะความเชื่อมั่นที่มากขึ้นจากการที่เคยผ่านเหตุการณ์ Stress test ครั้งใหญ่มาแล้ว โดยเคยเกิดเหตุการณ์ที่ระบบออกแบบมาให้มี Delay ในการรอให้เจ้าของ NFT เอาสินทรัพย์มาเติมจำนวน 48 ชั่วโมง ทำให้ช่วงตลาด Panic จนราคา NFT ร่วงลงไปเรื่อยๆ อาจขายไม่ทันจนเกิด “หนี้เสีย” คนเลยแห่ถอน ETH กันหมดจนดอกเบี้ยปล่อยกู้ ETH สูงเกิน 100% สุดท้ายแล้วมีการทำ Proposal BIP#9 เป็นแผนปรับปรุงด้านจุดบังคับการขายทอดตลาด, ระยะเวลาการประมูล, ดอกเบี้ยขั้นต้น และการยกเลิกข้อจำกัดด้านการเสนอประมูลครั้งแรกทำให้สถานการณ์กลับมาเป็นปกติแล้วในปัจจุบัน

เหรียญ $BEND

ขอบคุณภาพจาก Benddao.xyz

ผู้ใข้งานสามารถนำเหรียญ $BEND ไป Stake เพื่อรับส่วนแบ่งรายได้ (เลือกเป็น ETH หรือ WETH ก็ได้) ของแพลทฟอร์มได้ที่มาจากส่วนแบ่ง 30% จากดอกเบี้ยกู้, Trading fee 2% จากผู้ขาย NFT และ 1% Down payment fee จากผู้ซื้อ NFT โดยผู้ Stake สามารถเลือกระยะเวลาล็อคเหรียญซึ่ง %APR ที่จะได้รับก็จะแตกต่างกันออกไปตามตารางที่แสดงด้านบน

ขอบคุณข้อมูลจาก Coingecko (วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2023)

ส่วนมูลค่าของเหรียญ $BEND นั้นถือว่ามีความน่าสนใจในแง่ Valuation เพราะถ้าเทียบจาก FDV/Vol ratio จะเห็นว่าต่ำที่สุดเมื่อเทียบกับ X2Y2 และ JPEG’d ประกอบกับการที่ BendDAO เป็นเจ้าตลาดด้าน NFT Lending ที่ครอง Market share กว่า 44% นั้นจึงทำให้เป็นอีกหนึ่งโปรเจกต์ที่น่าจับตามอง

ขอบคุณภาพจาก Dune (ข้อมูลวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2023)

โดยถึงแม้ว่าเหรียญ $BEND นั้นน่าจะเจอกับแรงเทขายอยู่เรื่อยๆจากการแจก Incentive ให้กับ Lender และ Borrower ใปริมาณที่ค่อนข้างสูง แต่ก็พอจะ Compensate ได้จากการ Stake เพื่อรับส่วนแบ่งรายได้ของแพลทฟอร์ม ซึ่งจากสถิติตอนนี้ปริมาณ $BEND ที่ถูก Lock stake นั้นสูงถึง 70.62%

$BEND Technical analysis

ส่วนในด้านของ Technical ปัจจุบันราคาได้ขึ้นไปทดสอบจุดสูงสุดก่อนหน้าแต่ไม่สามารถยืนเหนือแนวต้านได้ ราคาจึงมีการพักตัวลงมาที่แนวรับสำคัญบริเวณ $0.023 ส่วนใน Timeframe ย่อยนั้นจะพบว่ามี Trendline สีขาวรองรับอยู่ซึ่งหากราคาปรับตัวหลุดจาก Trendline นี้อาจเป็นสัญญานการพักตัวได้โดยจะมีแนวรับสำคัญคือบริเวณราคา $0.0178 และ $0.011-$0.012 ตามลำดับ ในกรณีที่ราคาไม่ปรับตัวหลุด Trendline จะทำให้คงแนวโน้มขาขึ้นในระยะสั้นถึงกลางเเละมีโอกาสขึ้นไปทดสอบแนวต้านถัดไปที่บริเวณราคา $0.033-$0.04 ได้

4. JPEG’d

JPEG’d ถือเป็นอีกหนึ่งแพลทฟอร์ม NFT lending ที่น่าจับตามอง ส่วนหนึ่งเป็นเพราะเป็นโปรเจกต์ที่ได้รับการสนับสนุนจากหลากทีมที่ปรึกษาชื่อดังในวงการอย่างเช่น Tetranode, Dopex, Tokemak, DeFiGod, DCInvestor, Santiago Santos, The LAO เป็นต้น

ขอบคุณภาพจาก JPEGd.io

ด้วยความที่เป็นแพลทฟอร์ม NFT Lending จึงมีความคล้ายกับ X2Y2 แต่มีความแตกต่างในแง่รายละเอียดการใช้งาน ลักษณะการทำงานของ JPEG’d คือผู้ใช้งานที่นำ NFT ที่ผ่านการ Whitelist มาค้ำ จะสามารถกู้เหรียญ $PUSd หรือ $pETH ที่เป็น Asset ของแพลทฟอร์มเท่านั้น โดยสามารถกู้ได้สูงสุดที่ 70 % (Base LTV = 35%, JPEG card cig boost = 10%, $JEPG lock boost =25%) ของมูลค่า NFT ที่นำไปวางค้ำ และผู้กู้จะต้องเสียดอกเบี้ยกู้ที่อัตรา 2% ต่อปีในการกู้ $pUSD และ 5% ต่อปีในการกู้ $pETH

ขอบคุณภาพจาก JPEGd.io

ผู้ใช้งานยังสามารถซื้อ Insurance สำหรับ NFT ที่นำไปค้ำประกันได้ด้วย โดยการจ่าย 5% ของมูลค่าสินทรัพย์ที่กู้ยืม ซึ่งการซื้อ Insurance ทำให้ NFT ไม่ถูกยึดเข้า DAO ถ้าเกิดการ Liquidate ขึ้น ผู้ใช้งานก็สามารถจ่ายคืนเงินกู้ ดอกเบี้ย และ Liquidation fee เพื่อเคลม NFT กลับคืนมาได้

นอกจากนี้ JPEG’d ยังมีฟีเจอร์หลายอย่างที่น่าสนใจ เช่น ถ้า NFT มี Rare trait สามารถเพิ่มมูลค่าจาก Floor price ได้ โดยผู้ใช้งานจะต้อง Lock เหรียญ $JPEG ในมูลค่า 25% ของมูลค่าเงินกู้เป็นระยะเวลาหนึ่งปี เป็นการเพิ่ม Utility ให้กับเหรียญ $JPEG หรือถ้าใครที่นำ MAYC, BAYC มาวางค้ำ ทาง JPEG’d ก็มีบริการนำไป Stake ต่อให้เพื่อรับเหรียญ $APE ได้อีกต่อหนึ่งด้วย

ขอบคุณภาพจาก Curve

ส่วนเหรียญ $PUSd และ $pETH ที่ผู้ใช้งานกู้มาก็สามารถนำไปแลกเปลี่ยนเป็นเหรียญอื่นๆหรือวาง Liquidity เพื่อรับผลตอบแทนได้ที่ Curve finance ก็ได้ โดย JPEG’d DAO นั้นเป็นผู้ถือเหรียญ $CVX ที่ติดอันดับ Top 10 เพื่อเป็นการ Incentivise และ สร้าง Liquidity ที่เพียงพอให้กับ Native asset อย่าง $PUSd และ $pETH นั่นเอง ยกตัวอย่างเช่น pETH pool บน Curve ตอนนี้มี Liquidity สูงถึง 20 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จัดเป็น Top 5 ของ ETH Pool บน Curve 

อย่างไรก็ตาม ในแง่ของ Borrow volume นั้น JPEG’d ยังถือว่าตามหลัง X2Y2 อยู่ค่อนข้างมาก โดยในเดือนมกราคม 2023 มี Market share อยู่เพียงประมาณ 0.2% เท่านั้น จากที่เคยมี Marketshare สูงสุดกว่า 4% ในเดือนเมษายน 2022 ทำให้ในส่วนนี้แนวโน้มอาจจะดูไม่ค่อยดีเท่าไหร่ เพราะเหมือนว่า JPEG’d จะสูญเสีย Market share ไปเรื่อยๆ

แต่ทางทีมงานก็มี Roadmap ที่น่าสนใจหลายอย่าง เช่น เพื่อเพิ่ม Utility ให้กับเหรียญ $PUSd และ $pETH โดยมีแผนการร่วมมือกับโปรเจกต์ Metaverse ต่างๆในอนาคต หรือจะเป็นการร่วมมือกับ Dopex เพื่อเปิดตัว Single staking option vault (SSOV) ให้ผู้ใช้งานสามารถซื้อ Call option บน JPEG’d ผ่าน Liquidity pool ที่จัดการโดย Dopex ได้ นอกจากนี้ผู้ใช้งานยังสามารถใช้  $PUSd และ $pETH ซื้อ Option บน Dopex ซึ่งถือว่าเป็นการต่อยอดการใช้งาน NFT+DeFi ไปได้อีกขั้น ซึ่งเรามองว่าถ้าแผนดังกล่าวมีการเปิดใช้งานจริงเมื่อไหร่ น่าจะเป็นการทำให้มูลค่าของแพลทฟอร์มเติบโตไปได้อีกมาก

เหรียญ $JPEG

ปัจจุบันเหรียญ $JPEG เป็น Governance token ที่ใช้โหวต Proposal ต่างๆของแพลทฟอร์ม เช่น การเพิ่มหรือลด Borrow limit ของ NFT collection ต่างๆ นอกจากนี้ ตามที่เกริ่นไปข้างต้นเหรียญ $JPEG ยังสามารถใช้ล็อคคู่กับ NFT เพื่อเพิ่มวงเงินการกู้สำหรับ Rare trait ต่างๆ โดยใช้ $JPEG มูลค่า 25% ของเงินกู้ โดยต้องล็อคไว้เป็นระยะเวลา 1 ปี

ขอบคุณภาพจาก JPEGd.io

นอกจากนี้สำหรับผู้ที่ไม่ได้ถือ JPEG Card เหรียญ $JPEG ยังสามารถนำไปล็อคเพื่อทำการประมูล NFT ที่ถูก Liquidate มาได้ด้วย โดยต้องใช้เหรียญจำนวน 5,000,000 $JPEG ที่ล็อคเป็นระยะเวลา 7 วัน

ขอบคุณข้อมูลจาก Coingecko (วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2023)

สำหรับในแง่ของมูลค่าเหรียญ $JPEG ในปัจจุบันดูเหมือนว่าจะดูค่อนข้าง Overvalue สักหน่อยเมื่อเทียบกับแพลทฟอร์มผู้นำตลาดอย่าง BendDAO และ X2Y2 เพราะว่า Borrow volume บน JPEG’d นั้นยังน้อยมากและยังไม่มีแนวโน้มจะกลับมาเติบโตได้ อย่างไรก็ตามถ้าดูจาก Roadmap ที่ยังไม่ได้เปิดตัว แถมยังมีทีมงานที่ปรึกษาระดับแนวหน้า เราเชื่อว่าน่าจะได้เห็น Catalyst ที่จะมาผลักดันให้เกิดการใช้งานที่มากขึ้นได้ในอนาคต

$JPEG Technical analysis

ในเชิง Technical $JPEG ได้กลับตัวเป็นขาขึ้นเรียบร้อยหลังจากขึ้นผ่านจุดสูงสุดก่อนหน้าไปได้ ปัจจุบันราคาพุ่งขึ้นไปทนสอบแนวต้านถัดมาซึ่งเป็นบริเวณราคา 0.00000097 ETH แต่ไม่สามารถผ่านไปได้จึงเกิดการย่อตัว ทางเรามองว่าตอนนี้ราคาอยู่ในสถานะพักตัวระยะสั้น และมีการเคลื่อนที่แบบ Sideway ที่ Demand zone สำคัญเป็นที่เรียบร้อยที่บริเวณราคา 0.00000074 ETH- 0.00000076 ETH หากราคาเคลื่อนที่หลุดโซนนี้จะลงไปทดสอบแนวรับถัดมาที่ราคา 0.00000062 ETH ได้ และหากราคาสามารถยืนเหนือแนวต้านนี้ได้ราคามีโอกาสขึ้นไปทดสอบจุดสูงสุดเดิมและมีโอกาสที่จุดสูงสุดใหม่หากผ่านแนวต้านเดิมไปได้โดยแนวต้านที่ต้องจับตามองคือโซนราคา 0.00000097 ETH และ 0.0000012 ETH ตามลำดับ

สรุป NFTfi

ถึงแม้ในปี 2022 ที่ผ่านมาภาพรวมราคา Floor price และ Volume การเทรด NFT จะดูไม่ค่อยดี แต่ก็ยังมีการพัฒนาการต่างๆต่อเนื่อง รวมถึงภาพที่เราได้เห็นการเข้ามาของบริษัทขนาดใหญ่รวมถึง VCs ที่ได้เข้ามาลงทุนในกลุ่ม NFT/Gaming ในสัดส่วนที่สูงที่สุดเมื่อเทียบกับ Sector อื่นๆ ทำให้เป็นสัญญาณที่ปฏิเสธไม่ได้ว่า NFT เป็นอีกหนึ่ง Sector ที่น่าจับตาอย่างมากถ้าตลาดคริปโทฯกลับมาคึกคัก

โดยหนึ่งในเทรนด์ของ NFT ที่น่าสนใจคือ NFTfi ที่ยังถือเป็นสิ่งที่ยังใหม่เพราะเพิ่งเกิดขึ้นมาในปี 2022 แต่เราเชื่อว่ามีศักยภาพในการเติบโตสูง โดยตอนนี้ NFTfi แบ่งออกเป็นกลุ่มหลักๆสามประเภทคือ NFT แบบ AMM, NFT Lending แบบ Pool รวมและ NFT Lending แบบแยกรายตัว ซึ่งในบทความฉบับนี้เราได้พูดถึงรายละเอียดของแพลทฟอร์มผู้นำเพียงส่วนหนึ่งอย่าง SudoSwap, X2Y2, BendDAO และ JPEG’d ซึ่งแต่ละตัวก็มีจุดเด่นที่แตกต่างกันออกไป 

.

❗️คำเตือนความเสี่ยง :

คริปโทเคอร์เรนซี่มีความเสี่ยงสูง ท่านอาจสูญเสียเงินลงทุนได้ทั้งจำนวนและสินทรัพย์ดิจิทัลมีความเสี่ยง โปรดศึกษาและลงทุนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ ผลตอบแทนของสินทรัพย์ดิจิทัลในอดีต มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลตอบแทนของสินทรัพย์ดิจิทัลในอนาคต

Authors

Share :
Related
Ethena และ USDe กับยุคใหม่ของ Stablecoin
Cryptomind Research Investment Outlook 2025
Crypto AI Agent ตั้งแต่จุดเริ่มต้นจนถึงปัจจุบัน
NFT กลับมาแล้ว ?