Search
Close this search box.

Multi-chain อาจเป็นคำตอบสำหรับอนาคตของ Blockchain

Share :
AW_Article Cover for CMG Website-01

Table of Contents

ในปัจจุบันโลกของ Blockchain นั้นมีหลาย Blockchain Layer 1 ด้วยกัน อย่างตัวหลักๆอย่างเช่น Ethereum, Solana, Binance Smart Chain, Near, Avalanche เป็นต้น หลายๆคนอาจจะเกิดคำถามว่า แล้วอนาคตของ Blockchain จะเป็นในรูปแบบไหน จะมีผู้ชนะหรือไม่ แล้วในปีนี้ผู้นำอย่าง Ethereum 2.0 ก็กำลังจะเปิดตัว และเหล่า Scaling solution อย่าง Ethereum Layer 2.0 ที่ทั้งเปิดตัวแล้วและกำลังจะเปิดตัว ก็คงจะเกิดคำถามต่อไปว่าจะสามารถแก้ไขปัญหาต่างๆของ Ethereum ได้หรือไม่ ซึ่งถึงจุดนี้ หลายๆคนอาจเคยได้ยินว่า “Multi-chain is future” คือไม่แน่ว่าอนาคตของ Blockchain อาจจะไม่ใช่การมีผู้ชนะเพียงผู้เดียวก็ได้ แต่เป็นการอยู่ร่วมกันของหลายๆ Blockchain ซึ่งแม้กระทั่งผู้ก่อตั้ง Ethereum อย่าง Vitalik Buterin ก็ยังเคยกล่าวใน Twitter ของเขาเมื่อวันที่ 8 มกราคม 2022 ว่าเขาเชื่อว่าอนาคตจะเป็น Multi-chain และไม่ใช่ Cross-chain (Fig.1) 

Figure 1. Twitter post ของ Vitalik เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2022

Cross-chain VS. Multi-chain

แล้ว Cross-chain กับ Multi-chain ต่างกันอย่างไรล่ะ? ก่อนหน้านี้เราจะพบเจอปัญหาที่ว่าในแต่ละ Blockchain ก็มี Ecosystem และ Liquidity เป็นของตัวเอง ไม่สามารถทำงานและถ่ายโอนมูลค่าระหว่างกันได้ ซึ่งหนึ่งในวิธีแก้ปัญหาที่ใช้การอย่างแพร่หลายก็เป็นการใช้ Cross-chain bridge ต่างๆเพื่อโอนเหรียญจาก Blockchain หนึ่งไปยังอีก Blockchain หนึ่งได้ แต่การใช้ Bridge ก็มีข้อจำกัดหลายๆอย่าง โดยเฉพาะปัญหาเรื่อง Security เพราะหลักการทำงานของ Bridge คือเราจะต้องนำเหรียญไปฝากไว้ที่ Bridge นั้นๆ ซึ่งอาจจะโดน Hack และถูกขโมยเหรียญไปทั้งหมดก็ได้ อย่างที่ Vitalik ได้เคยกล่าวว่าการใช้ Cross-chain bridge ต่างๆยังมีความเสี่ยงอยู่ว่ามีสิทธิ์เกิด 51% Attack ได้ ซึ่งถึงแม้จะยังไม่เกิดปัญหาในเวลานี้เพราะการทำ 51% Attack นั้นยากและมีค่าใช้จ่ายสูง แต่เมื่อใดที่มีการใช้งาน Cross-chain bridge มากขึ้น ก็จะทำให้คุ้มค่าต่อการโจมตีและมีโอกาสที่จะเกิดมากขึ้นและความเสียหายก็จะยิ่งมากขึ้นตามไปด้วย    

Figure 2. เปรียบเทียบ Cross-chain และ Multichain (Layer 0 และ Rollups) (ขอบคุณภาพจาก Connext)

ส่วน Multi-chain ก็คือการที่มีหลายๆ Blockchain อยู่ร่วมกันและสามารถสื่อสารและส่งข้อมูลกันได้โดยตรง (Interoperability) ซึ่งวิธีนี้จะช่วยแก้ปัญหาเรื่อง Scalability ได้ด้วย เพราะสามารถออกแบบให้แต่ละ Blockchain เป็น DApps เดี่ยวๆได้เลย การทำ Multi-chain อาจทำในรูปแบบของ Rollups interoperability ซึ่งอีกหนึ่งในวิธีการทำ Multi-chain คือการสร้างบล็อกเชนบน Layer 0 ซึ่ง Layer 0 เปรียบเหมือนห้างสรรพสินค้าเปล่า โดยมีระบบสาธารณูปโภคพร้อมสรรพ ส่วน Blockchain Layer 1 ก็เปรียบเหมือนร้านค้าต่างๆ โดยร้านค้าต่างๆสามารถติดต่อสื่อสารแลกเปลี่ยนมูลค่ากันได้ (Fig.2)

ตัวอย่างของ Layer 0 เช่น Polkadot, Cosmos และ Octopus Network ซึ่งมีหลักการเหมือนกันคือเป็นโครงสร้างที่สามารถให้ Blockchain Layer 1 มาสร้างได้ โดย Polkadot และ Cosmos น่าจะเป็นชื่อคุ้นหูพอสมควรเพราะถูกใช้งานมานานแล้ว แต่ตอนหลังก็มีโปรเจ็กต์ใหม่ๆที่มี Concept คล้ายๆกัน เช่น Octopus Network ที่เพิ่งเปิดตัวไปเมื่อปลายปี 2021 ซึ่งวันนี้เราจะมาเล่าให้ฟังถึงแต่ละโปรเจ็กต์กัน โดยจะเล่าถึงโครงสร้างเบื้องต้นให้พอเห็นภาพ รวมถึงอธิบาย Use case ของเหรียญ และพัฒนาการของโปรเจ็กต์ ณ ปัจจุบัน

1. Cosmos

Cosmos ถูกก่อตั้งเมื่อปี 2015 โดยผู้ก่อตั้งชื่อ Jae Kwon และ Ethan Buchman โดยสร้างโปรโตคอล Tendermint ที่เป็น Proof of Stake โดยใช้ Consensus ที่ชื่อว่า Byzantine Fault Tolerance (BFT) ซึ่งเปิดให้ใครก็ได้มาสร้าง Blockchain ได้อย่างง่ายดายโดยใช้ Cosmos Software Development Kit หรือ Cosmos SDK

ซึ่ง Blockchain ต่างๆที่มาสร้างบน Cosmos จะเรียกว่า Zone ซึ่งนอกจาก Zone แล้วก็จะมี Cosmos Hub ซึ่งเป็นเหมือนบล็อกเชนศูนย์กลางที่ช่วยในการเชื่อมต่อสื่อสาร เช่น การส่ง Asset และข้อมูลระหว่าง Zone ต่างๆ โดยบน Cosmos Hub นี้มีการ Secure ระบบด้วยเหรียญ ATOM ผ่าน Proof of Stake

Figure 2. แผนภาพแสดงการเชื่อมต่อระหว่าง Cosmos Hub และ Zone ต่างๆ (ขอบคุณภาพจาก Ledgerinsights)

หัวใจการออกแบบ Cosmos Hub จะเน้นความเรียบง่ายและไม่ซับซ้อน (Hub Minimalism) โดยมี Smart contract บน Hub ให้น้อยที่สุด ทั้งนี้เพื่อเน้น Security ของ Hub, เพื่อเก็บ Capacity ไว้สำหรับการตรวจสอบธุรกรรม Cross-chain ซึ่งจะช่วยลดค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรม Cross-chain เป็นต้น

Cosmos ได้เปิดตัว Inter-Blockchain Communication (IBC) ไปในเดือนมีนาคม 2021 โดยทำให้แต่ละ Blockchain สามารถสื่อสาร, ส่งข้อมูลและ Assets หากันได้สะดวกมากขึ้น โดยในขณะนี้มี Zone ที่เชื่อมต่อกับ IBC จำนวน 47 Zones โดยมี Transaction volume ผ่าน IBC มากถึง $9.6B ต่อเดือน ณ วันที่ 2/6/2022 (Fig.3)

Figure 3. Transaction volume ผ่าน IBC ในแต่ละ Zone (ขอบคุณภาพจาก Mapofzones.com)

Figure 4. แผนภาพแสดงการเชื่อมต่อระหว่าง Zone ต่างๆ ผ่าน IBC (ขอบคุณภาพจาก Mapofzones.com)  

เหรียญ ATOM

เหรียญ ATOM สามารถนำไป Stake กับ Validator บน Cosmos Hub เพื่อรับ Block rewards และใช้เป็น Governance token ที่ใช้โหวต Proposal ต่างๆบน Cosmos Hub นอกจากนี้ยังใช้เป็นค่า Fee สำหรับธุรกรรมต่างๆบน Cosmos Hub เช่น การสื่อสารระหว่าง Zone โดย Inter-Blockchain Communication (IBC) ที่ส่งผ่าน Cosmos Hub (ทำหน้าที่เป็น IBC router) ก็จะต้องเสียค่า Fee เป็นเหรียญ Atom ซึ่งถ้า Zone ไหนที่เปิด IBC channel ต่อกับ Cosmos Hub ก็จะสามารถสื่อสารกับ Zone อื่นๆที่เปิด IBC กับ Cosmos Hub เหมือนกันได้อย่างสะดวก โดยไม่จำเป็นต้องลงทุนทรัพยากรเพิ่มเติมสำหรับเปิด Relayer channel เพื่อสื่อสารตรงกับ Zone อื่นๆ ดังนั้น Zone ส่วนใหญ่มักจะเปิด IBC กับ Cosmos Hub เป็น Default ไว้เสมอ

อย่างไรก็ตามอาจจะมีกรณีที่บาง Zone อาจจะไม่เปิด IBC channel ต่อกับ Cosmos Hub แต่เลือกที่จะลงทุนเปิด Relayer channel ต่อหากันโดยตรงระหว่าง Zone เลย ในกรณีนี้มักจะใช้สำหรับ Zone ที่ต้องเชื่อมหากันบ่อยๆ ซึ่งถ้าเป็นกรณีแบบนี้ก็ไม่จำเป็นต้องจ่ายค่า Fee เป็นเหรียญ Atom ยกตัวอย่างเช่น Osmosis Zone ที่เป็น Decentralized exchange (DEX) หลักของ Cosmos ecosystem ที่ Zones ส่วนใหญ่มาเปิด Relayer channel เพื่อเชื่อมต่อโดยตรงกับ Osmosis zone แบบไม่ต้องผ่าน Cosmos Hub โดยจะเห็นได้ว่ามีจำนวน IBC transaction บน Osmosis zone สูงเป็นอันดับหนึ่ง (Fig.3) จะเห็นได้ว่าถ้ามี Zone จำนวนมากทำการเปิด Relayer channel เพื่อเชื่อมกันโดยตรงแบบ Osmosis zone จะทำให้ไม่เกิด Value accrual ให้กับเหรียญ Atom เลย 

ประโยชน์อื่นๆที่อาจได้รับจากการ Stake ATOM คือ Airdrops จาก Zone ต่างๆที่มาเปิดใหม่ อย่างที่เห็นหลายๆ Zone ได้แจกไปแล้ว เช่น OSMO, JUNO ทั้งนี้ก็ไม่แน่นอนว่าทุก Zone ที่มาเปิดใหม่จะต้องแจกเสมอไป

และในอนาคต Cosmos จะเปิดตัว Interchain Security หมายความว่า Zone ที่มาเปิดใหม่ ไม่จำเป็นต้องมี Validator set เป็นของตัวเอง สามารถมาใช้ Validator set ร่วมกับ Cosmos Hub ได้ หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ Validator set บน Cosmos Hub จะช่วยตรวจสอบธุรกรรมให้กับ Zone ต่างๆด้วยนั่นเอง ซึ่งนอกจากจะเป็นการทำให้โปรเจ็กต์ขนาดเล็กที่ไม่ได้มีเงินทุนสามารถมาใช้ Shared security บน Cosmos Hub ได้แล้ว ยังมีการคาดการณ์ว่าอาจเป็นผลดีต่อผู้ Stake เหรียญ ATOM เพราะจะได้รับค่า Fee และ Reward จาก Zone ต่างๆด้วย

Total Value Locked และ Zone ต่างๆบน Cosmos

ณ วันที่ 1/6/2022 Cosmos ecosystem มี Total value locked อยู่ที่ประมาณ $990M โดยประกอบด้วยมากกว่า 260 DApps บน 47 Zones ซึ่งก่อนหน้านี้เคยขึ้นไปสูงสุดที่ประมาณ $30B แต่เนื่องจาก Terra chain เกิดปัญหาช่วงเดือนพฤษภาคม 2022 ทำให้ TVL ลดลงค่อนข้างมาก ต้องรอดูต่อไปว่าจะมี Zone ใหม่ๆมาเปิดตัวเรียก TVL กลับมาได้หรือไม่

Figure 5. TVL ของ Zone Top 5 บน Cosmos (ขอบคุณภาพจาก DeFillama.com)

Figure 6. Zone ต่างๆบน IBC แยกตามประเภท (ขอบคุณภาพจาก SparkIBC Twitter) 

2. Polkadot

Polkadot ถูกก่อตั้งขึ้นโดย Dr. Gavin Wood (Dr. Gavin Wood เป็นอดีตผู้ร่วมก่อตั้ง Ethereum), Robert Habermeier และ Peter Czaban ในปี 2016  ซึ่ง Network ของ Polkadot แบ่งเป็นสองส่วนหลัก คือ Relay chain และ Parachain ซึ่งใช้ Substrate SDK เป็น framework สำหรับการสร้าง Blockchain

ในส่วนของ Relay chain จะเปรียบคล้ายๆกับ Cosmos Hub คือเป็นศูนย์กลางการผลแบบ Proof of Stake โดย Validator nodes ซึ่งจะได้รับ Block reward เป็นเหรียญ DOT อีกสิ่งที่มีความคล้ายกับ Cosmos คือ Relay chain ใช้หลักการ Hub Minimalism โดยจะไม่มี Smart contract ใดๆอยู่บน Relay chain แต่ความแตกต่างคือ Polkadot มี Shared security แล้ว แต่ของ Cosmos ยังไม่เปิดตัว

โดย Blockchain ต่างๆที่สร้างบน Polkadot ecosystem มีชื่อเรียกว่า Parachain โดยในแต่ละ Parachain จะมี Collator nodes ของตัวเองที่จะคอยรวบรวมข้อมูลธุรกรรมเพื่อส่งไปที่ Relay chain อีกครั้งเพื่อใช้ Validator nodes กลางบน Relay chain ในการตรวจสอบผลธุรกรรมต่างๆ (Fig.7-8) ซึ่ง Relay chain สามารถรองรับได้ประมาณ 100-250 Parachain นอกจาก Parachain แล้วยังมี Parathread ที่เป็นทางเลือกสำหรับโปรเจ็กต์ที่ไม่ได้มีความถี่ในการตรวจสอบผลธุรกรรมที่เยอะหรือถี่มาก

Figure 7. แผนภาพแสดงการเชื่อมต่อระหว่าง Parachain และ Relay chain (ขอบคุณภาพจาก Messari)

Figure 8. แผนภาพแสดงการเชื่อมต่อระหว่าง Parachain และ Relay chain (ขอบคุณภาพจาก Wiki.polkadot.network)

ถ้า Cosmos มี IBC ไว้ให้แต่ละ Zone สื่อสารกันได้โดยตรง Polkadot ก็มี Cross-chain message-passing protocol (XCMP) ไว้ให้แต่ละ Parachain สื่อสารผ่านกันได้เช่นกัน โดยแต่ละ Parachain จะสามารถสื่อสารกันผ่าน Collator nodes

เหรียญ DOT

เราสามารถนำเหรียญ DOT ไป Stake บน Relay chain เพื่อรับสิทธิการโหวต Proposal ต่างๆบน Polkadot (Governance) และรับ Block rewards จากการ Stake

อีกหนึ่ง Use case ของเหรียญ DOT คือนำไปใช้ใน Parachain slot auction เนื่องด้วย Polkadot รองรับจำนวน Parachain slot ได้จำกัด ทำให้หลายๆโปรเจ็กต์ต้องมาแข่งกันเพื่อประมูล Parachain slot ซึ่งทำได้โดยการนำเหรียญ DOT ไปล็อคไว้เป็นเวลา 2 ปี เนื่องจากการแข่งขันที่ค่อนข้างสูง ซึ่งในการที่จะชนะ Parachain slot auction ได้นั้น โปรเจ็กต์ต้องใช้เงินทุนที่มากพอสมควร จากสาเหตุนี้ ทำให้มีการ Crowdloan ซึ่งคือการที่แต่ละโปรเจ็กต์ต้องดึงดูดบุคคลภายนอกมาร่วม Lock เหรียญ DOT ให้กับโปรเจ็กต์ตัวเอง แลกกับการแจกเหรียญของโปรเจ็กต์นั้นๆ โปรเจ็กต์ใดที่ชนะจะได้สร้างบน Parachain เป็นเวลาสองปี และหลังจากนั้นจะได้เหรียญ DOT ที่ Lock ไว้คืนมา และจะต้องทำการ Auction ใหม่อีกครั้งหากต้องการใช้งาน Parachain ต่อ

สำหรับ Parathread จะเป็นทางเลือกให้กับโปรเจ็กต์ที่ไม่สามารถสร้างบน Parachain ได้ อาจะเนื่องมาจากว่าไม่สามารถระดม DOT มา Lock ได้มากพอที่จะชนะ Parachain slot auction เพราะสำหรับโปรเจ็กต์ที่จะมาสร้างบน Parathread จะใช้จำนวน DOT เพียงประมาณ 50-100 DOT มา Lock ไว้เท่านั้น 

Project บน Polkadot

ขณะนี้มี 11 โปรเจ็กต์ที่ชนะ Parachain slot auction โดยได้มีการนำเหรียญ DOT มา Lock ไว้จำนวนทั้งหมดรวม 126 ล้าน ซึ่งโปรเจ็กต์ที่ชนะประมูลชุดแรก (auction 1-5) ได้เปิดตัวบน Polkadot ไปเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2021 และโปรเจ็กต์ที่ชนะประมูลชุดสอง (auction 6-11) ได้เปิดตัวบน Polkadot ไปเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2022 (Fig 9-10) ขณะนี้ TVL รวมบน Polkadot และ Kusama* มีประมาณ $1B (Fig.11)

Figure 9. ผู้ชนะการประมูล Polkadot parachain slot auction 11 โปรเจ็กต์แรก (ขอบคุณภาพจาก Messari)

Figure 10. ผู้ชนะการประมูล Polkadot parachain slot auction 11 โปรเจ็กต์แรกแยกตามประเภท (ขอบคุณภาพจาก Messari)

Figure 11. TVL ของ Parachain บน Polkadot/Kusama* ณ วันที่ 26/5/2022 (ขอบคุณภาพจาก DeFi Llama)

*หมายเหตุ:  Polkadot มี Sister chain ที่ชื่อว่า Kusama ที่หลักการทำงานเหมือนกับ Polkadot เลย ซึ่งโปรเจ็กต์มักจะไปทดลองสร้างบน Kusama ก่อนที่จะมาสร้างบน Polkadot นั่นเอง 

3. Octopus Network

Octopus Network ถูกก่อตั้งขึ้นโดย Louis Lou, Julian Sun และ Mike Tang เมื่อปี 2021 และเพิ่งจะเปิดตัว Mainnet ไปเมื่อเดือนตุลาคม 2021 ที่ผ่านมา โดย Octopus ประกอบด้วยส่วนสำคัญสองส่วนคือ Octopus relay และ Appchain ซึ่ง Octopus relay ก็จะคล้ายกับ Cosmos Hub ของ Cosmos และ Relay chain ของ Polkadot ที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางตรวจสอบธุรกรรมด้วย Proof of Stake โดย Octopus relay จะตั้งอยู่บน Near protocol  โดย Octopus Network ใช้เทคโนโลยี Substrate เช่นเดียวกับ Polkadot

โดย Blockchain ต่างๆที่สร้างบน Octopus Network จะเรียกว่า Appchain ซึ่ง Validator จะสามารถเลือกได้ว่าจะตรวจสอบธุรกรรมให้กับ Appchain ใดบ้างและได้รับ Staking reward เป็น Native token ของ Appchain นั้นๆ ซึ่งกระบวนการนี้เรียกว่า Leased security (LPoS) (Fig.12)

Figure 12. แผนภาพแสดง Leased security (ขอบคุณภาพจาก Decentralizedclub.medium)

ความแตกต่างระหว่าง Octopus Network และ Cosmos กับ Polkadot คือ Octopus relay ไม่ได้เป็น Blockchain Layer 1 อิสระด้วยหลักการ Hub minimalism เหมือนกับของ Cosmos และ Polkadot แต่ Octopus relay เป็นเพียง Smart contract ที่อยู่บน Near protocol ซึ่งบน Near protocol นั้นก็มี DApps ต่างๆอยู่มากมายเรียกว่าเป็น “Fat Hub” ซึ่งทำให้ Appchain บน Octopus Network สามารถเชื่อมต่อกับ DApps ต่างๆที่อยู่บน Near protocol และยังสามารถเชื่อมต่อไปที่ Blockchain อื่นๆผ่าน Bridge ของ Near protocol ได้ด้วย (Fig.13)

อ้างอิงจากบทความที่เขียนโดย Louis Lou เขาให้เหตุผลของการเลือกเป็น Fat Hub โดยการเปรียบเทียบกับ Ethereum ว่าสาเหตุที่ Blockchain ต่างๆก็พากันต้องการอยากจะเชื่อมต่อกับ Ethereum เป็นเพราะว่า Ethereum เป็น Fat Hub ที่มี DApps ขนาดใหญ่จำนวนมากและมีสินทรัพย์และ Liquidity สูงที่สุด

สำหรับการสื่อสารระหว่างเชน Octopus network ใช้ Substrate IBC pallet ซึ่งทำให้ Substrate-based blockchain สามารถสื่อสารหากันได้ด้วย IBC ได้

Figure 13. แผนภาพแสดงการเชื่อมต่อระหว่าง Octopus relay และ Appchain (ขอบคุณภาพจาก Octopus Network)

เหรียญ OCT

เหรียญ OCT สามารถนำไป Stake ผ่าน Validator เพื่อเลือกที่จะนำไปใช้ Secure appchain ต่างๆโดยจะได้รับ Reward เป็นเหรียญ Native token ของ Appchain นั้นๆ  โดยจะมีหลักการคล้ายกับ Parachain slot auction ของ Polkadot ที่ Appchain ต่างๆจะพยายามดึงดูดให้คนมา Secure appchain โดยการแจก Reward เป็น Native token

นอกจากนี้เรายังสามารถใช้เหรียญ OCT ในการโหวต Proposal ต่างๆ เช่น สามารถ Upvote หรือ Downvote เพื่อเลือก Appchain เข้ามาใน Network และสิทธิใน Governance ผ่าน Octopus DAO 

Project บน Octopus Network

เนื่องจาก Octopus Network ยังเป็นโปรเจ็กต์ที่ค่อนข้างใหม่ ตอนนี้มีเพียง 3 Appchains บน Network เท่านั้น เช่น DEIP ที่เป็น Appchain ให้บริการ Tokenization สำหรับทรัพย์สินทางปัญญา, Myriad ที่ทำ Social Media และ DeBio ที่ให้บริการทางการแพทย์แบบไม่เปิดเผยตัวตน (Fig.14) แต่ก็มีอีกประมาณ 10 โปรเจ็กต์ที่ยังคงเป็น Candidate อยู่ (Fig.15) คงต้องจับตาดูพัฒนาการของโปรเจ็กต์นี้ต่อไปว่าจะมีการเติบโตไปในทิศทางแบบไหน

Figure 14. Appchain ที่ Live บน Octopus Network ณ วันที่ 27/5/2022 (ขอบคุณภาพจาก Octopus Network)

Figure 15. Appchain candidates บน Octopus Network ณ วันที่ 27/5/2022 (ขอบคุณภาพจาก Octopus Network)

4. สรุป

Multi-chain ก็เป็นอีกหนึ่งเทรนด์ที่น่าจับตามองสำหรับการพัฒนาของโลก Blockchain ซึ่งในบทความนี้ก็ได้เล่าให้ฟังถึงโปรเจ็กต์ที่กำลังสร้าง Multi-chain อย่าง Cosmos, Polkadot และ Octopus Network ซึ่งแต่ละโปรเจ็กต์ก็มีหลักการในรายละเอียดที่แตกต่างกันออกไป โดยสรุปความแตกต่างของแต่ละโปรเจ็กต์ใน Table 1 อย่างไรก็ตามแต่ละโปรเจ็กต์ก็มีเป้าหมายเดียวกันคือ Interoperability ระหว่าง Blockchain

Table 1. ตารางเปรียบเทียบข้อมูลต่างๆของ Cosmos, Polkadot และ Octopus

สำหรับโปรเจ็กต์อย่าง Cosmos และ Polkadot ก็ถือได้ว่าเป็นรุ่นพี่ที่ได้เกิดมาก่อน ทำให้มีพัฒนาการที่มากกว่าโปรเจ็กต์น้องใหม่อย่าง Octopus Network ซึ่งก็ต้องจับตามองกันต่อไปว่าจะเติบโตอย่างไรต่อไป และท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วในโลก Blockchain เราอาจจะได้เห็นโปรเจ็กต์ใหม่ๆมาอีกก็เป็นไปได้

เป็นที่น่าสนใจสำหรับอนาคตของ Blockchain ว่าจะเป็นแบบไหนในวันที่เราปฏิเสธไม่ได้ว่าในโลกของความเป็นจริง Ecosystem ที่มีเงินทุนและทรัพยากรสูงสุดก็ยังคงมีความได้เปรียบในการดึงดูดนักพัฒนาและผู้ใช้งานไปได้ก่อน และใครที่ทำได้ก่อนก็จะสามารถสร้าง Network effect ที่แข็งแกร่งได้ก่อน ซึ่งเป็นหนึ่งในสิ่งสำคัญที่สุดในการผลักดัน Ecosystem ให้เติบโตต่อไปอย่างยั่งยืน 

อย่างไรก็ตามในวันนี้เราก็ได้เห็นแล้วว่าแม้ Ethereum จะเป็น Blockchain ที่ได้เปรียบในเรื่องของ First mover advantage ที่สามารถสร้าง Network effect ที่แข็งแกร่งที่สุดไปก่อนหลายย่างก้าว เราก็ยังได้เห็นการเกิดของ Blockchain ใหม่ๆจำนวนมากเพื่อจะมาแข่งขันเพื่อพยายามชิงส่วนแบ่งบางส่วนไปจาก Ethereum ทำให้เราเห็นอีกหนึ่งในความเป็นไปได้คือการที่แต่ละ Blockchain สามารถอยู่ร่วมกันได้หรือที่เรียกว่า Multi-chain ดังนั้น Multi-chain อาจจะเป็นคำตอบสำหรับอนาคตที่มี Blockchain อยู่ร่วมกันมากมาย 

.

คำเตือนความเสี่ยง : คริปโทเคอร์เรนซี่มีความเสี่ยงสูง ท่านอาจสูญเสียเงินลงทุนได้ทั้งจำนวนและสินทรัพย์ดิจิทัลมีความเสี่ยง โปรดศึกษาและลงทุนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ ผลตอบแทนของสินทรัพย์ดิจิทัลในอดีต มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลตอบแทนของสินทรัพย์ดิจิทัลในอนาคต

Author

Share :
Related
CoinTalk (22/3/2024):
Aethir Decentralized GPU
Technical Analysis $ONDO, $RNDR โดย Cryptomind Advisory (18 Mar 24)
Cryptomind Monthly Outlook (March 2024)