Search
Close this search box.

เจาะลึก Injective: บล็อกเชนตัวแรกที่ออกแบบมาเพื่อ DeFi โดยเฉพาะ

Share :
AW_ปกบทความงานลูกค้า Injective-02

Table of Contents

ปฏิเสธไม่ได้ว่าบล็อกเชน Layer 1 ถือเป็น Narrative ที่น่าจับตามองไม่แพ้กับ Narrative อื่นๆ เพราะอย่างที่เราเห็นกันในช่วงปลายปี 2023 จนถึงปัจจุบันบล็อกเชน Layer 1 นั้นกลับมาเป็นกระแสร้อนแรงอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งตัวที่มี Technology ที่โดนเด่นและสามารถสร้าง Niche ของตัวเองได้อย่างชัดเจนนั้นดูจะแข็งแกร่งเป็นพิเศษ เมื่อเทียบกับตัวอื่นๆที่เป็นเพียง EVM ทั่วๆไป 

ขอบคุณภาพจาก Injective

ซึ่งเรามองว่ากลุ่ม Layer 1 ที่มีจุดแข็งจาก Technology โดดเด่น ซึ่งไม่ได้เกิดมาเป็นแค่ Ethereum Killer เหล่านี้นั้นมีโอกาสที่จะแข่งขันและเติบโตต่อไปได้ในตลาดที่เต็มไปด้วยบล็อกเชนจำนวนมาก (ไม่ว่าจะเป็น Layer 1 หรือ Layer 2) โดยบรรดา Layer 1 ที่เข้าข่ายดังกล่าวก็มีด้วยกันหลายตัว โดยในบทความนี้ เราจะมาพูดถึงโปรเจกต์หนึ่งที่ค่อนข้างเป็นที่สนใจอย่างมากตัวหนึ่งที่มีชื่อว่า Injective ซึ่งเป็นโปรเจกต์ Layer 1 ตัวแรกที่จับ Niche ในด้านของ Finance นั่นเอง ส่วนจะมีรายละเอียดและความน่าสนใจอย่างไรบ้าง เราจะไปหาคำตอบกันในบทถัดๆไป

Injective คืออะไร มีข้อดีอย่างไรบ้าง

Injective เป็นบล็อกเชนที่สร้างขึ้นโดยใช้ Cosmos SDK โดยถูกออกแบบมาเพื่อการใช้งานในด้าน DeFi โดยเฉพาะ เช่น การเทรดผ่าน Decentralized Exchange, Derivatives Exchange, Lending Protocol เป็นต้น ซึ่งการที่ Injective ออกแบบมาเพื่อรองรับการใช้งานเหล่านี้นั้นทำให้ช่วยแก้ปัญหามีหลายอย่างที่มักจะเป็น Pain Point เวลาไปใช้งานบนบล็อกเชนที่ไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อการนี้โดยเฉพาะ เช่น ความปลอดภัยและความเร็วในการทำธุรกรรมด้านการเงินที่ต้องสูงเป็นพิเศษ (Injective รองรับความเร็วสูงสุดถึง 25,000 TPS)  นอกจากนี้ยังสามารถทำธุรกรรมแบบไม่ต้องจ่ายแก๊ส, มี Liquidity หนา, รวมถึงการป้องกัน MEV ในระหว่างการทำธุรกรรม เป็นต้น  

Injective ถูกก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 2018 ทีมงานประกอบด้วยวิศวกรที่มากความสามารถ, นักเทรด และผู้ประกอบการที่มีประสบการณ์ที่หลากหลายในอุตสาหกรรมชั้นนำ โดยทีมมาจากบริษัทชั้นนำเช่น Goldman Sachs, Amazon, Two Sigma, Tesla และอื่นๆ สมาชิกในทีมยังมีประวัติการศึกษาที่โดดเด่น เช่น จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สแตนฟอร์ด และมหาวิทยาลัย Ivy League ชื่อดังอื่นๆ

นอกจากนี้ Injective ได้รับเงินลงทุนจากกลุ่มนักลงทุนที่มีชื่อเสียง เช่น Binance, Pantera Capital, Jump Crypto และ Mark Cuban และเป็นหนึ่งโปรเจกต์ที่ราคาสามารถทำ All Time High ได้ในปีนี้ 

ทำให้เหรียญ $INJ เป็นหนึ่งในเหรียญที่ถูกพูดถึงที่สุดในช่วงที่ผ่านมา เพราะสามารถสร้างผลตอบแทนได้มากกว่า 2,500% จากราคา $1.2 ในเดือน มกราคม 2023 ขึ้นไปสู่ $30 ในช่วงเดือน ธันวาคม 2023 จนสามารถเบรค ATH ของปี 2021 ที่ $25 และเป็นไม่กี่เหรียญในปีนี้ที่สามารถ Outperform ราคา Bitcoin ได้ 

ซึ่งนอกจากเรื่องราคาแล้ว แน่นอนว่า Injective ก็มีจุดเด่นหลายอย่างที่น่าสนใจ โดยสรุปจุดเด่นของ Injective ที่เป็น Highlight สำคัญทั้งต่อผู้ใช้งานและนักพัฒนานั้นมีเป็นข้อๆดังนี้

1. Plug-and-Play Modules

Injective มี Infrastructure แบบ Plug-and-Play ไว้รองรับให้นักพัฒนาใช้ในการสร้าง DApps ได้แบบง่ายๆ โดยจะเป็นลักษณะ Module ที่ถูกกำหนดค่าล่วงหน้าไว้ แล้วให้นักพัฒนาสามารถที่จะใช้ Modules เหล่านี้ในการสร้าง DApps ได้ตามเหมาะสม โดย Module ที่มีให้นั้นมีตั้งแต่ฟีเจอร์การเงินขั้นพื้นฐานที่เป็นที่นิยมไปถึงระดับ Advanced ช่วยลดเวลาในการพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้กับโปรเจกต์

ยกตัวอย่างให้เห็นภาพมากขึ้น เมื่อนักพัฒนาต้องการสร้าง DApps นั้นจะมีความจำเป็นจะต้องมีหลายๆส่วนประกอบกัน ซึ่งแต่ละส่วนนั้นก็จะต้องใช้เวลาและความเชี่ยวชาญในแต่ละส่วนในการสร้าง ไม่ว่าจะเป็นส่วนประกอบพื้นฐาน อย่างเช่น Smart Contract Template, Oracle, User Interface, Bridge หรือจะเป็นส่วนประกอบเฉพาะทางขั้นสูงอย่าง Decentralized Exchange Framework ที่ประกอบไปด้วย Module เช่น Order Books, Liquidity Pools สำหรับการสร้างบริการพวก Spot DEX, Perp DEX, Options เป็นต้น ซึ่งทาง Injective มีรองรับไว้ให้ทั้งหมด โดยสำหรับตัว On-chain Derivatives Orderbook Module ถือว่าได้รับการพัฒนาขึ้นครั้งแรกบน Injective

2. RWA Modules

ขอบคุณภาพจาก Injective

ในเดือนมกราคม 2024 ที่ผ่านมา ทาง Injective ได้ทำการอัปเกรด Mainnet ครั้งใหญ่ชื่อว่า “Volan Upgrade” โดยเป็นการทำให้ Injective เป็นบล็อกเชนตัวแรกของโลกที่มี Real-world Asset (RWA) Module เพื่อรองรับการพัฒนา Application เกี่ยวกับด้าน RWA และการใช้งานระดับสถาบันโดยเฉพาะ  ซึ่ง Module นี้ช่วยให้สถาบันการเงินสามารถสร้างและ Laucnh ผลิตภัณฑ์ทางการเงินหรือสินทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตในรูปแบบต่างๆได้อย่างง่ายดาย ไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์ เช่น Treasury Bills, ผลิตภัณฑ์ด้านสินเชื่อ, ETF, Index, Tokenization เป็นต้น นอกจากนี้ ยังสามารถสร้างโทเค็นที่มีคุณสมบัติที่เรากำหนดเองได้ด้วย 

ข้อดีที่เห็นได้ชัดเจนคือ เป็นการช่วยปลดล็อคให้สถาบันเข้ามาสู่ On-chain ได้ง่ายขึ้น ซึ่งก่อนหน้านี้เป็นเรื่องที่ค่อนข้างยากเพราะการจะหา Infrastructure รองรับยังไม่ค่อยมี โดยสำหรับ Injective นั้นในปัจจุบันก็มีสถาบันการเงินที่สนับสนุน Injective อยู่ เช่น Breven Howard ที่เป็นบริษัทจัดการกองทุน Hedge Fund สัญชาติยุโรปที่อาจจะเข้ามา Onboard บน Injectve ได้ในอนาคต

ขอบคุณภาพจาก Injective

โดยล่าสุดทาง Injective เพิ่งประกาศ Integrate กับ Ondo Finance โดย Ondo เป็นผู้นำตลาดในการเชื่อมต่อสินทรัพย์ทางการเงินแบบดั้งเดิมกับเครือข่ายบล็อกเชน โดยในปัจจุบันมียอด Tokenized US Treasuries มูลค่ากว่า 200 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งการร่วมมือครั้งนี้ ทำให้ผู้ใช้งาน Injective สามารถเข้าถึง US Treasuries ในรูปแบบของโทเค็นชื่อ USD Yield token (“USDY”) จาก Ondo Finance ได้

3. MEV Resistant ด้วยระบบ Frequent Batch Auction

Infrastructure ของ Injective ถูกออกแบบมาเพื่อช่วยให้การทำธุรกรรมบนบล็อกเชนปลอดภัยจาก MEV ด้วยระบบการประมวลผลที่ใช้โมเดลแบบ On-chain Frequent Batch Auction (FBA) ที่ถือเป็นโมเดลที่ถูกยอมรับอย่างแพร่หลายจากบรรดา Economic Journal ซึ่งผู้เชี่ยวชาญทางด้านเศรษฐศาสตร์กล่าวว่า FBA เป็นทางเลือกที่ดีและมีประสิทธิภาพมากกว่า Continuous Double Auction (CDA) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการกำจัดการ Front-running ในระหว่างการทำธุรกรรม ซึ่งส่งผลประโยชน์ต่อผู้ใช้งานเพราะทำให้การเทรดได้ราคาที่ยุติธรรมใกล้กับราคา Market Price 

อีกตัวอย่างที่ทำให้ Injective สามารถให้บริการในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสำหรับสถาบันการเงินขนาดใหญ่โดยไม่มีปัญหา ก็คือการที่ Injective ใช้การสุ่มลำดับการทำธุรกรรมแทนการจัดลำดับโดยใช้ค่าธรรมเนียมที่จ่าย เหมือนในกรณีของบล็อกเชนใหญ่อื่นๆที่มักใช้กัน

ขอบคุณภาพจาก Injective

นอกจากนี้ทาง Injective ยังร่วมมือกับ Skip Protocol เพื่อยกระดับความสามารถของ MEV Resistant ให้ดีขึ้นอีกด้วยการนำ MEV กลับมาสู่ผู้ใช้ที่ใช้งานผ่านโอกาสในการทำ Arbitrage และ Liquidation โดยผลประโยชน์เหล่านี้จะถูกนำกลับไปแจกจ่ายให้กับผู้ Stake เหรียญ INJ ซึ่งเป็นการสร้าง Value ให้กับเหรียญ INJ ได้อีกทางหนึ่ง

4. Multi VM Environment

ขอบคุณภาพจาก Injective

Injective เป็นเครือข่ายบล็อกเชนเดียวที่สามารถรองรับ Virtual Machine หลายรูปแบบ รวมถึง WASM, EVM (Ethereum Virtual Machine) และ SVM (Solana Virtual Machine) ข้อดีคือทำให้นักพัฒนาจากฝั่ง Ethereum และ Solana สามารถมาพัฒนา DApps บน Injective ได้ด้วย 

ในช่วงเดือนมีนาคม 2024 ที่ผ่านมาทาง Injective ได้ประกาศเปิดตัว inEVM Mainnet ที่เป็น Ethereum-based Rollup จากการร่วมมือกับโปรเจกต์ขนาดใหญ่อย่าง Caldera, Hyperlane, Celestia, Pyth และ LayerZero ซึ่ง inEVM นั้นจัดเป็น Ethereum Virtual Machine Rollup ตัวแรกที่ทำให้นักพัฒนาสามารถสร้าง Ominichain DApps ที่ใช้งานเชื่อมต่อ (Interoperability) กันได้แบบเต็มรูปแบบจากหลาย Ecosystem ทั้ง Injective, Cosmos, Ethereum และ Solana Ecosystem 

ขอบคุณภาพจาก Bitcoin Addict

ขอบคุณภาพจาก Injective

ซึ่ง inEVM จะใช้ LayerZero และ Hyperlane ช่วยการการเชื่อมต่อระหว่างเชนทั้งภายใน Cosmos/Injective และ EVM/SVM ส่วนในด้าน Data Availability Layer และ Oracle จะใช้บริการของ Celestia และ Pyth ตามลำดับ นอกจากนี้ทาง Injective ยังได้ร่วมมือกับโปรเจกต์ AltLayer ในการทำ Restaked Security ซึ่งหมายถึงว่า DApps ที่สร้างบน inEVM จะสามารถใช้ Security จากฝั่ง Ethereum ได้

แม้ว่าเพิ่งเริ่มต้นใช้งานได้ไม่นาน inEVM ก็ได้รับความสนใจจากโปรเจกต์หลายๆ โปรเจกต์โดยเฉพาะ โปรเจกต์อย่าง TimeSwap และ Thetanauts โดยโปรเจกต์เหล่านี้ได้ระดมทุนรวมกว่า 200 ล้านดอลลาร์สหรัฐจาก VCs อย่าง Polychain Capital, Delphi Digital และ Bain Capital Crypto ซึ่งจำนวน dApps ที่สร้างขึ้นบน inEVM ที่กำลังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องนั้นเป็นการแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของ Infrastructure นี้ในการพัฒนาแพลตฟอร์ม Multi-VM หลายรูปแบบได้เร็วขึ้น

5. Near Zero Fees

ขอบคุณภาพจาก Injective

ทาง Injective เพิ่งเปิดตัวมีเทคโนโลยีที่เรียกว่า “Gas Compression” ในช่วงเดือนมกราคม 2024 ที่ผ่านมา ทำให้เชน Injective เป็นหนึ่งในเชนที่มีค่าแก๊สในการทำธุรกรรมต่ำมากที่สุด โดยไม่ว่าจะเป็นการทำธุรกรรมประเภทใดก็ตาม เช่น การ Stake, ซื้อขายบน DApp, การกู้ยืม, การ Mint NFT, การโหวต Governance และอื่นๆ จะเสียค่าแก๊สแทบเป็นศูนย์ (ประมาณ 0.00001 INJ หรือ $0.0003 USD เท่านั้น) ทำให้เป็นเปิดโอกาสในการสร้างนวัตกรรม Web3 ทั้งจากนักพัฒนาและสถาบัน รวมถึงเปิดประตูให้กับผู้ใช้ทั่วไปมาเข้าถึงได้ง่ายขึ้นและอาจผลักดันให้เกิด Mass Adoption ได้ด้วย

ตัวอย่างเช่น การ Mint NFT จำนวน 1,000 ชิ้นบน Injective จะจ่ายค่าแก๊สเพียง $0.30 เท่านั้นซึ่งถือว่าต่ำกว่า Ethereum มากถึง 100 เท่า หรือมากกว่า 500% เมื่อเทียบกับการทำธุรกรรมแบบเดียวกันบนเชน Polygon และต่ำกว่า Solana ถึง 50%

6. Interoperability

ขอบคุณภาพจาก Injective

Interoperability หมายถึงความสามารถในการทำงานร่วมกันของบล็อกเชนผ่านการใช้ Multi-chain Bridges ซึ่ง Injective ถือเป็นตัวอย่างของบล็อกเชนที่มีความสามารถในการร่วมทำงานกับเครือข่ายอื่นๆ อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงยังเป็นหนึ่งในบล็อกเชนที่สามารถเชื่อมต่อกับบล็อกเชนจำนวนมากที่สุดในวงการคริปโตฯ

ด้วยความที่ Injective ถูกสร้างด้วย Cosmos SDK ทำให้สามารถใช้ IBC (Inter-blockchain Communication) ได้ตั้งแต่ต้น และมีความสามารถในการทำงานร่วมกับหลายๆบล็อกเชน Layer 1 อย่างเช่น Ethereum, Solana, Polygon, Avalanche, Polkadot นอกจากนี้ยังรองรับการเชื่อมต่อไปยังเชนอื่นๆได้อีกหลากหลายผ่าน Bridge และ Messaging Protocol อื่นๆด้วย อย่าง Wormhole, Celer, Axelar 

ข้อดีของการที่ Injective รองรับการทำงานระหว่างเชนก็คือช่วยแก้ปัญหาในด้านสภาพคล่องกระจัดกระจาย (Liquidity Fragmentation) เพราะสามารถแชร์ Liquidity จากเชนอื่นๆได้ด้วย นอกจากนี้ ด้วยความที่ Injective รองรับ General Messaging Protocol ด้วย ทำให้สามารถทำได้มากกว่าการส่ง Asset ข้ามเชน แต่ว่าสามารถรองรับ Cross-chain Application อื่นๆ อย่างเช่น Cross-chain Swap, Multi-chain Lending/Trading ได้

Ecosystem ที่เติบโตอย่างรวดเร็วของ Injective

1. Chain Data

ขอบคุณภาพจาก Injective Explorer (ข้อมูล ณ วันที่ 7 เมษายน 2024)

หลังจากที่ Injective ได้เปิดตัว Mainnet มาเป็นระยะเวลากว่า 2 ปี ในตอนนี้ก็ถือว่าได้มี Ecosystem และสถิติการใช้งานที่เติบโตอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงปลายปี 2023 ถึงช่วงต้นปี 2024 นั้นมีการเติบโตของโวลุ่มและการใช้งานอย่างก้าวกระโดด โดยปัจจุบันมีจำนวนธุรกรรมสะสมมากกว่า 550 ล้านธุรกรรม จำนวนผู้ใช้งานมากกว่า 490,000 คน (Active User) และจำนวนเหรียญ INJ ที่ถูก Stake มากกว่า 50% แล้ว (ข้อมูล ณ วันที่ 6 เมษายน 2024)

2. DApps บน Injective

ขอบคุณภาพจาก Injective (ข้อมูลเดือนมีนาคม 2024)

ภายใน Injective Ecosystem นั้นมีผู้เล่นจากหลากหลาย Sector ไม่ว่าจะเป็นกลุ่ม Infrastructure, Wallet, DApps และ Tools ซึ่งโดยรวมมีมากกว่า 200 โปรเจกต์

สำหรับในส่วนของ DApps นั้นตอนนี้ก็มีมากกว่า 30 DApps ที่สร้างบน Injective เรียบร้อยแล้ว โดย DApps ส่วนมากเน้นไปในกลุ่ม DeFi ไม่ว่าจะเป็น DApps สำหรับการเทรด Spot/Derivatives, Lending/Borrowing, Yield Farming, Prediction Market ซึ่งยอดเทรดรวมสะสมของ DApps ทั้งหมดบน Injective มียอดรวมสะสมอยู่ที่ 27,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ขอบคุณภาพจาก info.injective.exchange (ข้อมูลเดือนเมษายน 2024)

ยกตัวอย่างโปรเจกต์เด่นๆที่สร้างบน Injective ตามตารางด้านล่าง

ชื่อโปรเจกต์สถานะSector รายละเอียด สถานะการออกเหรียญ 
Helix MainnetDeFiDEXยังไม่มีข้อมูล
Black PantherMainnetDeFiYieldจะออกเหรียญภายหลัง
Talis ProtocolMainnetNFTFiNFT marketplace$TALIS
AstroportMainnetDeFiAMM$ASTRO
White WhaleMainnetDeFiInterchain liquidity$WHALE
Ninji WalletMainnetWalletNative Injective walletยังไม่มีข้อมูล
DagoraMainnetNFTFiNFT marketplaceยังไม่มีข้อมูล
Levana Protocol MainnetDeFiDEX$LVN
GryphonMainnetDeFiLSD$nINJ
DojoSwapMainnetDeFiAMM + Launchpad$DOJO
Ninja GardenMainnetDeFiLSD + SocialFi$gINJ
Moon AppMainnetLaunchpadLaunchpad$APP
NeptuneMainnetDeFiLending / borrowingจะออกเหรียญภายหลัง
OutMainnetSocialFi SocialFiจะออกเหรียญภายหลัง
Hydro ProtocolMainnetDeFiLSD$HDRO
MitoMainnetDeFiYield vaults + Launchpad ยังไม่มีข้อมูล
Exotic MarketsMainnetDeFiOptions จะออกเหรียญภายหลัง
AeroscraperMainnetDeFiLending / borrowingจะออกเหรียญภายหลัง
Ninja BlazeMainnetGameFi Gaming platformจะออกเหรียญภายหลัง
NouriTestnetDeFiProductivity & Learningยังไม่มีข้อมูล
NexBit TestnetDeFiPrediction ยังไม่มีข้อมูล
TemporalTestnetDeFiYieldจะออกเหรียญภายหลัง
ขอบคุณข้อมูลจาก Injective

ปัจจุบัน Injective มี Total Value Locked (TVL) อยู่ที่ประมาณ 74 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ข้อมูลวันที่ 7 เมษายน 2024) โดย DApps ที่มี TVL อันดับหนึ่งบน Injective คือ Hydro Protocol ซึ่งเป็น DApps ที่ให้บริการ Liquid Staking ส่วนอันดับที่สองคือ DojoSwap ที่เป็น AMM DEX และ Launchpad
ส่วนอันดับที่สามคือ Helix ซึ่งถือเป็นหนึ่งใน DApps ที่เรียกได้ว่าเป็นหนึ่งใน Highlight ของ Injective Ecosystem เพราะมีบริการ Helix Insitutional ซึ่งเป็นโซลูชันที่ถูกออกแบบมารองรับการซื้อขายคริปโตฯและ DeFi ในระดับนักลงทุนสถาบันโดยเฉพาะ โดยให้บริการการเทรดสินทรัพย์หลากหลายรูปแบบ ทั้งคริปโตฯ, Forex, Perpetual, Real-world Assets พร้อมกับ Trading Tools ในระดับ Advanced สำหรับความต้องการที่หลากหลายของนักลงทุนสถาบัน นอกจากด้านสถาบันแล้ว Helix ยังน่าสนใจสำหรับนักเทรดรายบุคคลด้วย เนื่องจากมีฟีเจอร์การ Swap ที่ใช้งานง่าย, มี Grid Trading Bots และ LP Rewards โดยผู้วางสภาพคล่องผ่าน Grid Trading Bots ทุกคนจะได้รับ Reward ด้วย

ขอบคุณภาพจาก Helix

Mito เป็น DApp อีกตัวหนึ่งบน Injective ที่น่าจับตามอง โดย DApp มีประกอบด้วยสองส่วนสำคัญคือ Automated Trading Vaults และ Launchpad โดยสำหรับตัว Automated Trading Vault นั้นมีการใช้ Trading Algorithm และกลยุทธ์ต่างๆที่ถูกออกแบบมาเพื่อสร้างผลตอบแทนสูงสุดรวมถึงจำกัดความเสี่ยงให้ต่ำที่สุด นอกจากนี้ยังทำให้โปรเจกต์ที่มาใช้งานสามารถแจก Reward จาก Vault ให้กับ Community ของโปรเจกต์ได้ โดยผู้ใช้งานที่วาง Liquidity ให้กับ Vault ยังถือเป็นการเพิ่ม Liquidity ให้กับผู้ใช้งานบน Injective ทุกคนด้วย

ขอบคุณภาพจาก Mito

Injective Venture Group มูลค่า 150 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ขอบคุณภาพจาก Injective

นอกจาก Ecosystem ที่มีอยู่เดิมแล้ว ทาง Injective Venture Group ยังมีการอัดฉีดเม็ดเงินสำหรับโปรเจกต์ต่างๆที่จะมาเปิดตัวบน Injective จึงได้มีการตั้งกองทุน Ecosystem Fund โดยการสนับสนุนจาก VCs ชื่อดังเช่น Pantera, Jump Crypto, IDG Capital, Kucoin Ventures, Kraken Ventures, Delphi Labs, Gate Labs and Flow Traders รวมมูลค่ากว่า 150 ล้านดอลลาร์เพื่อจุดประสงค์ดังกล่าว

Injective Tokenomics

Injective นั้นถูกดูแลและจัดการโดย DAO ผ่านเหรียญประจำบล็อกเชนนั่นก็คือ INJ โดย INJ นั้นเรียกได้ว่ามีประโยชน์และเป็นส่วนสำคัญของระบบ Injective อย่างมาก โดยการใช้งานของ INJ นั้นประกอบไปด้วย

  • Protocol Governance: INJ นั้นเป็นส่วนสำคัญในการกำหนดทิศทางของ Injective รวมถึงการพัฒนาระบบของบล็อกเชน Injective ซึ่งตั้งแต่มีการเปิดใช้งาน Mainnet มา ชุมชนของ Injective ก็ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการโหวต Proposal ต่างๆ อย่างต่อเนื่อง
  • Protocol Fee Value Capture: บล็อกเชน Injective นั้นได้มีระบบ On-Chain Buy-Back-and-Burn ที่เป็นระบบในการเพิ่มมูลค่าให้เหรียญ INJ ผ่านการลดปริมาณ INJ อยู่ทุกสัปดาห์ โดยรายละเอียดเพิ่มเติมจะอยู่ในส่วน INJ 2.0
  • Tendermint-based Proof-of-Stake (PoS) Security: เหรียญ INJ นั้นมีส่วนในการรักษาความปลอดภัยให้กับบล็อกเชน Injective ผ่านระบบ Proof-of-Stake โดยการฝาก (Staking) เปิดให้กับทุกคนไม่ว่าจะทั้ง Validator และ Delegator โดยคนที่ฝากจะได้รางวัล (Rewards) เป็นผลตอบแทนอีกด้วย
  • Developer Incentives: 40% ของค่าธรรมเนียมที่เก็บได้จาก dApps บน Injective นั้นจะนำไปใช้เป็นรางวัลหรือผลตอบแทนให้กับผู้พัฒนาหน้าใหม่ๆ ที่เข้ามาสร้าง dApps บน Injective ซึ่งจะสร้างรากฐานที่ดีให้กับบล็อกเชน Injective ในระยะยาว

INJ 2.0: Injective Token Upgrade
ทำความรู้จักกับ Token Burn

ระบบ Token Burn ส่วนมากจะดำเนินการผ่านกระบวนการที่เรียกว่า “Proof of Burn” ซึ่งในกระบวนการนี้ เหรียญจะถูกส่งไปยังกระเป๋าเฉพาะเรียกว่า Burn Address หรือ Black Hole (หลุมดำ) โดยทุกเหรียญที่ถูกส่งไปยังกระเป๋าเหล่านี้จะไม่สามารถถูกนำกลับมาได้ และเป็นการลดปริมาณเหรียญของโปรเจกต์ลงอย่างถาวร และเพื่อเป็นการพิสูจน์ความโปร่งใสว่ามีการลดปริมาณเหรียญลงจริงๆ ก็จะมีการเปิดเผยรายละเอียดธุรกรรมที่เหรียญนั้นๆ ถูกส่งไปทำลายเป็นสาธารณะอีกด้วย  

สำหรับการตัดสินใจที่จะทำ Token Burn นั้นจะมาจากทีมงานของโปรเจกต์เองที่ตัดสินใจลดปริมาณเหรียญลงด้วยเหตุผลต่างๆ และจำนวนที่จะทำลายนั้นก็อาจจะถูกประเมินจาก Transaction Volume (ปริมาณธุรกรรม) Project Milestone (ความสำเร็จของโปรเจกต์) หรือจากการที่ในชุมชนเป็นผู้โหวตปริมาณก็ได้เช่นกัน

ข้อดีของ Token Burn ในคริปโตเคอร์เรนซี

  1. เพิ่มมูลค่าเหรียญ: การทำลายเหรียญนั้นเป็นการลดปริมาณเหรียญลงในระบบอย่างถาวร ซึ่งพอเหรียญขาดแคลนมากขึ้นแต่ความต้องการยังมีเท่าเดิม ก็จะทำให้มูลค่าเหรียญสูงขึ้นได้
  2. สร้างความมั่นใจให้นักลงทุน: การลดปริมาณเหรียญช่วยให้เหรียญมีมูลค่าเพิ่มขึ้นเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้นักลงทุนว่าโปรเจกต์ยังคงใส่ใจในการพัฒนาต่อไป และไม่ได้ละเลยโปรเจกต์
  3. สร้างเสถียรภาพให้ตลาด: การลดปริมาณเหรียญยังช่วยให้การเทขายเกิดขึ้นได้น้อย เนื่องจากปริมาณเหรียญที่น้อยทำให้รายใหญ่สะสมเหรียญได้ยากขึ้น
  4. การเติบโตระยะยาว: การเพิ่มมูลค่าให้เหรียญผ่านการทำลายเหรียญอย่างรอบคอบนั้นจะช่วยเพิ่มมูลค่าให้เหรียญในระยะยาว เป็นประโยชน์แก่นักลงทุนอีกด้วย

ระบบ Token Burn ในช่วงแรกของ INJ

ใน Injective ระบบ Token Burn นั้นมีความเป็นเอกลักษณ์และมีระบบการทำงานดังนี้

  1. ทุกๆ สัปดาห์ 60% ของค่าธรรมเนียมที่เกิดขึ้นจาก DEX บน Injective จะถูกนำมารวมกัน (Auction Basket)
  2. ค่าธรรมเนียมตรงนี้จะถูกเสนอขายผ่านการประมูลให้คนในชุมชนสามารถลงเงินแข่งขันกันเพื่อแย่งชิงรางวัลค่าธรรมเนียมตรงนี้ได้ โดยผู้ที่ประมูลราคาสูงที่สุด (Highest Bid) ก็จะได้รางวัลไป
  3. ปริมาณเหรียญที่ถูกทำลายก็คือปริมาณเงินที่ชนะการประมูลนั่นเอง

ระบบนี้นั้นนำส่วนหนึ่งของค่าธรรมเนียมที่สะสมได้มาสร้างเป็นกิจกรรมให้กับชุมชน มีส่วนช่วยให้ชุมชนนั้นมีความ Active อยู่ตลอดอีกทั้งยังเป็นการช่วยเพิ่มมูลค่าให้เหรียญ INJ ในระยะยาวอีกด้วย จนถึงตอนนี้ได้มีเหรียญ INJ ถูกทำลายไปแล้วกว่า 5.7 ล้านเหรียญด้วยกันด้วยกระบวนการนี้

การพัฒนาไปอีกขั้นกับ INJ 2.0

ขอบคุณภาพจาก Injective

ใน INJ 2.0 นั้นระบบ Token Burn จะถูกพัฒนาไปอีกหนึ่งขั้น โดยแต่เดิมที่จะมีแค่ dApps อย่าง DEX ที่มีส่วนร่วมในการโอนค่าธรรมเนียมไปลงในตะกร้าประมูล ในระบบใหม่จะไม่จำกัดแค่ DEX อีกต่อไป แต่จะเปิดให้ dApps ทุกประเภทไม่ว่าจะเป็น DeFi หรือ NFT Marketplace ที่อยู่บน INJ ก็สามารถมามีส่วนร่วมกับระบบ Token Burn ได้

นอกจากนี้หากแพลตฟอร์มนั้นๆ ต้องการก็สามารถเพิ่มค่าธรรมเนียมที่จะโอนเข้ามามีส่วนร่วมกับระบบประมูลได้สูงสุดเป็น 100% ของค่าธรรมเนียมที่เก็บได้เลยทีเดียว ซึ่งการเพิ่มความหลากหลายของแพลตฟอร์มที่เข้ามามีส่วนร่วมอีกทั้งยังให้อิสระในปริมาณค่าธรรมเนียมที่เพิ่มขึ้นมา ก็เรียกว่าเป็นการกระจายอำนาจให้แต่ละแพลตฟอร์มให้ได้มีส่วนร่วมกันในการเพิ่มมูลค่าให้กับเหรียญ INJ (สร้างภาวะเงินฝืด) และสร้างคุณค่าในระยะยาวให้กับโปรเจกต์ Injective ทั้งหมดอีกด้วย

ขอบคุณภาพจาก Injective

การระดมทุน, Roadmap และอนาคตที่น่าจับตามองของ Injective

การระดมทุน

Injective ถือเป็นอีกหนึ่งโปรเจกต์ที่ระดุมทุนได้จาก VCs ชั้นนำหลายเจ้า เช่น Binance Labs, Jump Crypto, Pantera, Hashed Fund, Blocktower Capital และ Mark Cuban รวมถึงเป็นโปรเจกต์ที่ได้รับการ Incubate จากทาง Binance Labs ด้วย โดยจากข้อมูลในปัจจุบัน ทาง Injective ได้รับเงินระดมทุนไปมากกว่า 57 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 

ด้วยเม็ดเงินสนับสนุนจาก Backer ชื่อดัง และ Ecosystem ที่เติบโตอย่างรวดเร็วทำให้ปี 2024 เป็นปีที่น่าจับตามองพัฒนาการของทางโปรเจกต์

ขอบคุณภาพจาก Mark Cuban Twitter

Tokenization & AI

ขอบคุณภาพจาก Forbes

โดยนอกจากจะมี DApps เริ่มมาเปิดตัวมากขึ้นเรื่อยๆแล้ว ทางโปรเจกต์ยังมีการพัฒนา Infrstructure เพื่อให้นักพัฒนาและผู้ใช้งานมีประสบการณ์การใช้งานที่ดีขึ้น รวมถึงรองรับเทรนด์ในอนาคต ไม่ว่าจะเป็น RWA Tokenization ที่กล่าวไปแล้วในช่วงต้นของบทความ ซึ่งทาง Injective ก็ไม่ได้มีเพียง RWA Module ที่รองรับการทำ Tokenization เท่านั้น แต่ยังจะทำให้มี Ecosystem รองรับการใช้งานต่อยอด Tokenized Asset ได้ด้วย

ซึ่งนอกจากเทรนด์ RWAs แล้ว ทาง Injective ยังได้นำเสนอ Injective AI Search เพื่อให้นักพัฒนาสามารถใช้ Open AI Stack ใช้เป็นตัวช่วยในการค้นหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องอย่างรวดเร็วในระหว่างการพัฒนาโปรเจกต์บน Injective

ขอบคุณภาพจาก Injective

นอกจากนี้ทาง Injective ยังมีแผนที่จะ Integrate AI สำหรับโปรเจกต์ที่จะมาพัฒนา DeFi DApps โดยอาจรองรับฟีเจอร์อื่นๆเพิ่มเติมอย่าง AI-Powered Trading ที่จะช่วย Optimize การเทรดบน DEX และอื่นๆ จึงน่าจับตาดู Injective ต่อไปในปี 2024 ว่าจะมีพัฒนาการเกี่ยวกับ AI อะไรใหม่ๆอีกบ้างเพื่อมาสร้างนวัตกรรมให้กับ DeFi ตามวิสัยทัศน์ของโปรเจกต์ 

Token Launcher

ทาง Community ของ Injective ได้เปิดตัว TokenStation ซึ่งเป็นเครื่องมือในการสร้างเหรียญได้โดยที่ไม่ต้องมีความรู้ในด้านการเขียนโค้ด โดยนอกจากจะสามารถใช้ TokenStation ในการสร้างเหรียญแล้ว ยังมีฟังก์ชั่นอื่นๆให้ด้วย เช่น การ Burn เหรียญตามเกณฑ์ที่กำหนด เป็นต้น

ขอบคุณภาพจาก Injective

บทสรุป

Injective ถือเป็นอีกหนึ่งในบล็อกเชน Layer 1 ที่น่าจับตามองในปี 2024 โดยถูกออกแบบมาเพื่อการใช้งานในด้าน DeFi โดยเฉพาะ โดย Injective จัดว่ามี Technology เฉพาะตัวที่ค่อนข้างโดดเด่น โดยโฟกัสไปที่การ Optimize ฟังก์ชั่นต่างๆให้เหมาะกับการเทรดและการใช้งานเกี่ยวกับ Finance และ RWAs ในด้านต่างๆ ตั้งแต่แบบขั้น Basic ไปถึงขั้น Advance รวมถึงรองรับการใช้งานระหว่างเชนได้แบบสมบูรณ์

นอกจากนี้ Injective Ecosystem, สถิติการใช้งาน และ TVL ยังเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในช่วงปลายปี 2023 ภึงต้นปี 2024 และยังมีโอกาสเติบโตได้ต่อเนื่องจากการอัดฉีดเม็ดเงินผ่าน Venture Group สำหรับโปรเจกต์ต่างๆที่จะมาเปิดตัวบน Injective อีกด้วย

ส่วนในแง่ของพัฒนาการของโปรเจกต์ก็จะเห็นได้ว่ามีอะไรใหม่ๆออกมาต่อเนื่องไม่ว่าจะเป็นช่วงตลาดหมีหรือตลาดกระทิง ไม่ว่าจะเป็น inEVM, RWA Modules, AI-Powered Trading ทำให้เห็นว่าทางโปรเจกต์มีวิสัยทัศน์ในการเป็นมากไปกว่าการเป็นแค่ Layer 1 ทั่วไป นอกจากนี้ เหรียญ INJ ยังมี Tokenomics ที่น่าสนใจ และยังมีกระบวนการการสร้างมูลค่าของเหรียญได้ตามแนวทางของตัวเองที่ถือว่าค่อนข้างน่าจับตามอง 

ดังนั้น เราเชื่อว่าโปรเจกต์ Injective มีศักยภาพในการเติบโตได้สูงในอนาคต เนื่องจากโปรเจกต์ได้รับการพิสูจน์มาค่อนข้างยาวนาน รวมถึงมีประวัติที่เห็นได้ชัดว่ามีการพัฒนาโปรเจกต์ออกมาอย่างต่อเนื่องในทุกสภาวะตลาด ทำให้ Injective ถือเป็นอีกโปรเจกต์ที่ควรค่าแก่การศึกษาและติดตามเพื่อค้นหาโอกาสการลงทุนภายใน Ecosystem 

.

สามารถติดตามข่าว Injective ได้ที่: https://twitter.com/injective

ร่วมพูดคุยเกี่ยวกับ Injective ได้ที่กลุ่ม TG ประเทศไทย: https://t.me/injectivethai

Authors

Tags : DEFI | RWA | ONDO | cosmos | SVM | EVM | injective | helix
Share :
Related
CoinTalk (27 September 2024) – เตรียมตัวเข้าสู่ Uptober
CoinTalk (20 September 2024) – FED ลดดอกแรง เตรียมเจอ mini-Bull Run
Cryptomind Monthly Outlook (September 2024)
CoinTalk (6 September 2024) – จับตา FED เตรียมลดดอกครั้งแรก