Search
Close this search box.

Hyperliquid: DEX ที่อาจเปลี่ยนอนาคต DeFi ไปตลอดกาล

Share :
hyperliquid

Table of Contents

ขอบคุณภาพจาก Kaito (16 ธันวาคม 2024)

Hyperliquid เปิดตัว TGE อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2024 ท่ามกลางกระแสความสนใจอย่างล้นหลาม โดยข้อมูลจาก Kaito ระบุว่า Mindshare ของ Hyperliquid พุ่งสูงถึง 39% ปัจจัยสำคัญมาจากการเป็นหนึ่งใน Airdrop ที่ใหญ่ที่สุดในวงการคริปโตฯ คิดเป็นมูลค่ารวมกว่า 3,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (อ้างอิงจากราคาเหรียญวันที่ 12 ธันวาคม ที่ 12 ดอลลาร์)

นอกจากนี้ Hyperliquid ยังแสดงจุดยืนที่แตกต่าง ด้วยการมุ่งเน้นไปที่ Community เป็นหลัก ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ได้เห็นบ่อยนักในวงการคริปโตฯ โปรเจกต์นี้ได้จัดสรรเหรียญให้กับ Community กว่า 70% โดยไม่มีการระดมทุนจาก VC และไม่มีการจัดสรรเหรียญให้กับ Market Maker แต่อย่างใด

ขอบคุณภาพจาก DeFillama (ข้อมูลวันที่ 12 ธันวาคม 2024)

อีกหนึ่งในสิ่งที่น่าสนใจคือ หลังจากการแจก Airdrop หลายคนคาดว่าการใช้งานบนแพลตฟอร์มจะลดลง แต่กลับตรงกันข้าม เพราะ Trading Volume ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยไม่มีสัญญาณของการชะลอตัว ยิ่งไปกว่านั้น ปริมาณการซื้อขายรายวัน (Daily Trading Volume) ได้พุ่งขึ้นทำ All-time High ที่ 10,000 ล้านดอลลาร์ ในวันที่ 4 ธันวาคม 2024 นอกจากนี้ ในวันที่ 29 พฤศจิกายน (วันแจก Airdrop) จำนวนผู้ใช้งานอยู่ที่ 182,000 คน และภายในสองสัปดาห์หลังจากนั้น ตัวเลขนี้เพิ่มขึ้นเป็น 227,000 คน 

ในบทความนี้เราจะไปดูกันว่า Hyperliquid คืออะไร น่าสนใจอย่างไร รวมถึงมี Roadmap อะไรบ้างที่น่าจับตา ไปหาคำตอบกันว่ากระแสความนิยมจะเป็นเพียง Hype ระยะสั้น หรือว่ามีศักยภาพในการเติบโตต่อในระยะยาว

Team และที่มาของ Hyperliquid

ทีม Hyperliquid ประกอบด้วยวิศวกร 5 คน และพนักงานรวมทั้งหมด 10 คน โดยมี Jeff Yan และ Iliensinc เป็นผู้นำทีมภายใต้ Hyperliquid Labs

Jeff Yan เคยได้รับ เหรียญทองและเหรียญเงินจากการแข่งขันฟิสิกส์โอลิมปิกระหว่างประเทศ ก่อนจะพบกับ Iliensinc ที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด หลังจากนั้น Jeff ได้ทำงานที่ Google และ Hudson River Trading

สมาชิกในทีมคนอื่น ๆ มาจากสถาบันที่มีชื่อเสียงระดับโลก เช่น Caltech, MIT พร้อมด้วย ประสบการณ์การทำงานระดับมืออาชีพ จากบริษัทชั้นนำ เช่น Airtable, Citadel, Hudson River Trading, Nuro ทำให้ทีมงานมีความเชี่ยวชาญในทั้ง Quantitative Trading, Blockchain Techonolgy และการออกแบบ UX 

โดยทีมงานเริ่มต้นด้วยการ ทำ Market Making ในตลาดคริปโต ตั้งแต่ปี 2020 และขยายเข้าสู่ DeFi ในช่วงปี 2022 Jeff ยังได้เขียนบทความที่เจาะลึกเกี่ยวกับกลยุทธ์นวัตกรรมที่ทีมใช้เพื่อสร้าง Alpha ในตลาดต่างๆ อย่างไรก็ตามทีมพบว่า DeFi ยังขาดประสิทธิภาพหลายอย่างเมื่อเทียบกับ CEX ดังนั้นจึงมีวิสัยทัศน์ที่จะลดช่องว่างระหว่าง DeFi และ CEX โดยการผ่านการพัฒนาบล็อกเชน Layer 1 ประสิทธิภาพสูงเพื่อรองรับ 100% Decentralized Perp DEX โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายหลังจากการล่มสลายของ FTX

ในขณะที่กำลังพัฒนา Hyperliquid พวกเขายังคงทำ Market Making ซึ่งช่วยให้พวกเขาสามาถสร้างรายได้ได้อย่างต่อเนื่อง และแนวทางนี้ทำให้ Hyperliquid Labs สามารถเป็นโปรเจกต์ที่ Self-funded แบบ 100% โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งพาเงินลงทุนจาก VCs เพราะทีมงานต้องการการหลีกเลี่ยงแรงกดดันจากนักลงทุนภายนอกทำให้ทีมงานสามารถโฟกัสไปที่การพัฒนาโปรดักท์ได้อย่างเต็มที่

Hyperliquid คืออะไร

Hyperliquid เป็นบล็อคเชน Layer 1 ที่มี Lead Product เป็น Perp DEX โดยนอกจากการเทรด Perpetual แล้ว ภายหลังได้เพิ่ม Spot Trading เข้ามาด้วย ถึงแม้จำนวนเหรียญที่สามารถซื้อขายได้จะยังจำกัดอยู่ (ส่วนมากเป็นเหรียญ Meme ของ Ecosystem เช่น PURR, CATBAL, ATEHUN, etc)

ขอบคุณภาพจาก DeFillama (ข้อมูลวันที่ 12 ธันวาคม 2024)

ขอบคุณภาพจาก The Block (ข้อมูลวันที่ 13 ธันวาคม 2024)

Hyperliquid เปิดตัวในช่วงต้นปี 2023 และเติบโตอย่างมีนัยสำคัญในปี 2024 โดยมูลค่ารวมที่ถูกล็อก (TVL) เพิ่มขึ้นกว่า 2,600% เมื่อเปรียบเทียบระหว่างเดือนธันวาคม 2024 กับต้นปีเดียวกัน ส่งผลให้ Hyperliquid ก้าวขึ้นเป็น Perp DEX อันดับหนึ่ง ด้วยสัดส่วนปริมาณการซื้อขาย (Volume Share) กว่า 50% เมื่อเทียบกับคู่แข่งรายอื่น

ซึ่งจุดเด่นของ Hyperliquid ที่เป็นหนึ่งในปัจจัยทำให้เติบโตได้ขนาดนี้ อิงจากหลายเสียงของผู้ใช้งานคือ User Experience ดีมาก ในระดับเดียวกับ CEX, Gasless Trading, ค่า Fee ต่ำ, ความเร็วในการใช้งานสูง เป็นต้น 

โดยนอกจากการเป็น Perp DEX แล้ว Hyperliquid ยังมีวิสัยทัศน์อื่นๆ อีกหลายอย่าง ซึ่งจะพูดถึงในบทถัดไป

หลักการของ Hyperliquid ที่ควรรู้

HyperBFT

ในตอนเริ่มต้น Hyperliquid ใช้ Tendermint ของ Cosmos ในการพัฒนาบล็อคเชน แต่ว่า Tendermint ยังไม่ใช่ตัวเลือกที่เหมาะสมที่สุดสำหรับ High-throughput Performance เพราะเมื่อใช้ Tendermint Hyperliquid ถูกจำกัดให้ประมวลผลได้เพียง 20,000 คำสั่งต่อวินาที ซึ่งต่ำกว่าความสามารถของ Binance ที่สามารถจัดการธุรกรรมได้สูงถึง 1.4 ล้านรายการต่อวินาที ค่อนข้างมาก

ดังนั้น ภายหลังทางทีม Hyperliquid จึงออกแบบ Layer 1 ของตัวเองขึ้นมาในช่วงเดือนพฤษภาคม 2024 โดยเป็นบล็อคเชน Proof-of-Stake ร่วมกับ Consensus Algorithm ของตัวเองที่เรียกว่า “HyperBFT” โดยที่ทางทีมเลือกสร้าง L1 ขึ้นมาเองเพราะต้องการ Optimize L1 ให้มีประสิทธิภาพสูง เหมาะกับการเทรดที่ต้องการความหน่วงต่ำ (Low Latency) และปริมาณธุรกรรมที่สูง (High Throughput) แบบ High Frequency Trading (HFT) ซึ่ง HyperBFT ทำให้มีความเร็วได้มากถึง 200,000 คำสั่งต่อวินาที

Onchain Orderbook

Hyperliquid ใช้หลักการ Orderbook แบบ Onchain 100% ซึ่งโดยทั่วไป คนส่วนใหญ่ยอมรับว่าการซื้อขายแบบ Orderbook เต็มรูปแบบเป็นโซลูชันที่เหมาะสมที่สุดสำหรับทั้งการซื้อขายแบบ Perpetual และ Spot Trading (แบบบน CEX) เพราะว่าสามารถเลือกราคาซื้อขายตามที่ต้องการได้ ต่างจากโมเดลแบบ AMM, vAMM ที่ไม่สามารถล็อคราคาได้ตามต้องการ 

นอกจากนี้ยังมีประโยชน์ด้านความปลอดภัย เช่น จากการป้องกัน Frontrun และ ความเสี่ยงจาก MEV มากกว่านั้น ด้วยความที่เป็น Onchain จึงเพิ่มความโปร่งใสให้กับผู้ใช้งาน และลดโอกาสการ Manipulation ของราคาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Hyperliquid Liquidity Provider (HLP) & User Vault

ขอบคุณภาพจาก University of Crypto

หนึ่งในไฮไลท์สำคัญที่ทำให้ Hyperliquid แตกต่างจากโปรเจกต์อื่น ๆ คือระบบ HLP* (Hyperliquid Liquidity Provider) ซึ่งเป็น Community-owned Vault ที่เปิดโอกาสให้ผู้ใช้งานทุกคนสามารถเข้ามาวาง Liquidity เพื่อสนับสนุนโปรเจกต์ผ่านกลยุทธ์ Market Making และ Liquidation ได้ โดยปกติแล้ว สิทธิประโยชน์จากส่วนนี้มักจำกัดอยู่เฉพาะในกลุ่มสถาบันหรือนักลงทุนรายใหญ่เท่านั้น แต่ Hyperliquid ได้ทำให้กลายเป็นโอกาสที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้

โดย HLP จะได้รับส่วนแบ่งจาก Trading Fees (อีกส่วนแบ่งเข้า Insurance Fund) จะเห็นว่า Hyperliquid จัดสรรค่าธรรมเนียมทั้งหมดให้กับ Community ผ่านทาง HLP และ Insurance Fund แตกต่างจากโปรโตคอลและ CEXs ส่วนใหญ่ ที่มักจะจัดสรรค่าธรรมเนียมให้กับทีมงานหรือบุคคลภายในที่ถือโทเค็นจำนวนมาก

ขอบคุณภาพจาก jeff.hl Twitter

นอกจากนี้ ผลกำไรและขาดทุน (PnL) จะถูกแจกจ่ายตามสัดส่วนของเงินฝากของผู้ฝากบน HLP แต่ละราย โดยไม่มีการหักค่าธรรมเนียมใดๆทั้งสิ้น ถือว่า HLP เป็นการเปิดโอกาสให้คนทั่วไปสามารถเข้าถึงโอกาสทางการเงินที่เคยสงวนไว้ให้สำหรับคนเฉพาะกลุ่ม กลายเป็นสิ่งที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้  

*หมายเหตุ:  HLP มีระยะเวลาการล็อกเงินฝาก (Deposit Lock-up Period) อยู่ที่ 4 วัน
จึงจะสามารถถอนเงินออกได้

นอกจาก HLP แล้ว ไม่ว่าใครก็ตามสามารถสร้าง Vault ของตัวเองขึ้นมาได้ (Vault Owner จะต้อง ถือครองไม่น้อยกว่า 5% ของ TVL ตลอดเวลา) ไม่ว่าจะเป็น Vault สำหรับ Market Making, Liquidation หรือสำหรับการเทรดตามกลยุทธ์ต่างๆ โดย Vault Owner จะได้รับส่วนแบ่ง 10% จากกำไรทั้งหมด

HIP-1

Hyperliquid มีมาตรฐานโทเคนของตัวเอง คล้ายกับ ERC-20 โดยทุกคนสามารถสร้างเหรียญใหม่บน Network ได้ แต่เพื่อให้เหรียญเหล่านั้นถูกเพิ่มเข้าไปบน Hyperliquid Orderbook จะต้องชนะการประมูลก่อน การประมูลแต่ละครั้งใช้เวลาทั้งหมด 31 ชั่วโมง โดยราคาเริ่มต้นจะอยู่ที่ 2 เท่าของราคาสุดท้ายจากการประมูลครั้งก่อน ตัวอย่างเช่น หากการประมูลครั้งล่าสุดจบที่ 50,000 ดอลลาร์ การประมูลครั้งถัดไปจะเริ่มต้นที่ 100,000 ดอลลาร์ และราคาจะค่อย ๆ ลดลงจนถึง 10,000 ดอลลาร์ภายในระยะเวลา 31 ชั่วโมง

ด้วยการเปิดตัวเหรียญในรูปแบบนี้ ทำให้มีเพียง 282 เหรียญเท่านั้นที่สามารถเปิดตัวบน HyperLiquid ภายในหนึ่งปี ทำให้มั่นใจได้ว่าจำนวนเหรียญใน Hyperliquid จะไม่มากเกินไป โดยให้ความสำคัญกับโปรเจกต์คุณภาพสูงสำหรับการลิสต์

ยกตัวอย่างการ Auction ล่าสุดคือเหรียญ GOD ซึ่งเปิดตัวด้วยต้นทุนที่ 975,746.79 ดอลลาร์ นั่นหมายความว่าการประมูลครั้งถัดไปจะเริ่มต้นที่ 1,951,493.59 ดอลลาร์

ขอบคุณภาพจาก ASXN (ข้อมูลวันที่ 16 ธันวาคม 2024)

ซึ่งจากแนวโนมจะเห็นว่ามูลค่าการประมูลสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยเงินประมูลทั้งหมดถูกนำกลับไปใช้สำหรับการ Buybacks ใน HLP และ HYPE

เหรียญ HYPE

หัวใจหลักของ Hyperliquid Ecosystem คือเหรียญ HYPE ซึ่งเป็นเหรียญประจำแพลตฟอร์ม โดย HYPE ทำหน้าหลายอย่างไม่ว่าจะเป็น Governance, Community Rewards รวมถึง Liquidity Incentives เป็นต้น

ขอบคุณภาพจาก Tokenomist

เหรียญ HYPE มี Total Supply อยู่ที่ 1,000,000,000 และ Circulating Supply อยู่ที่ 31% โดยมีการจัดสรรดังนี้

  • 31%: Genesis Airdrop สำหรับผู้ใช้งาน
  • 38.888%: Emission (อาจจะเป็นส่วนสำหรับ Validator) และ Community Rewards ในอนาคต
  • 23.8%: สำหรับ Core Contributor ซึ่งในส่วนนี้จะถูกล็อค 1 ปี และปลดจนครบในปี 2027-2028
  • 6%: สำหรับ Hyper Foundation Budget
  • 0.3%: สำหรับ Community Grants
  • 0.012% สำหรับ HIP-2

Fee & Burn

ขอบคุณภาพจาก Syncracy (ข้อมูลวันที่ 16 ธันวาคม 2024)

จากข้อมูลในช่วง 30 วันย้อนหลัง (ประมาณกลางเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม 2024) Hyperliquid เก็บค่า Fee ได้เป็นอันดับ 4 ในบรรดา Layer 1 ทั้งหมด

ขอบคุณภาพจาก Hypeburn.fun (ข้อมูลวันที่ 17 ธันวาคม 2024)

โดย Hyperliquid จะจัดการกับค่าธรรมเนียมที่เกิดบนแพลตฟอร์มทั้งหมดไม่ว่าจะเป็น Spot Fee, Perp Fee, Auction Fee กลับไปสู่ Community ทั้งหมดในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง เช่น  Buy Back & Burn เหรียญ HYPE, HLP และ Assistant Fund* 

จากข้อมูลวันที่ 17 ธันวาคม มีเหรียญ HYPE ได้ถูก Burn ไปแล้วกว่า 84,000 HYPE ส่วน Assistant Fund ถือเหรียญ HYPE กว่า 10,000,000 HYPE

*Assistant Fund เป็นกองที่ได้รับส่วนแบ่งจากค่า Fee โดยในกองจะทำการ Buy Back เหรียญ HYPE เก็บไว้สำหรับคาดว่าสำหรับเหตุการณ์ที่จำเป็นในอนาคต

จุดเด่นและ Roadmap ที่น่าสนใจของ Hyperliquid

Liquidity Infrastructure

หนึ่งในจุดเด่นของ Hyperliquid คือเรื่องของ Liquidity ดังนั้นทางผู้ก่อตั้งมีวิสัยทัศน์ให้ Hyperliquid ก้าวขึ้นเป็น “AWS of Liquidity” หรือเป็น Liquidity Infrastructure ให้กับ Application อื่นๆ ที่ช่วยสนับสนุนการพัฒนาแอปพลิเคชันอื่น ๆ บน Hyperliquid Layer 1

นักพัฒนาสามารถใช้เครื่องมือที่เรียกว่า “Builder Codes” เพื่อสร้างและต่อยอด Application ต่างๆ ตัวอย่างเช่น Mobile Wallet, Lending, Option Trading และอื่นๆอีกมากมาย

HyperEVM

ทีมมีแผนจะเปิดตัว HyperEVM ในช่วง Q1 2025 ซึ่ง HyperEVM คือ Layer 1 ที่พัฒนาต่อยอดเพิ่มกลายเป็น General-purpose EVM แต่ยังคงใช้ HyperBFT Consensus เหมือนเดิม ซึ่งโดยหลักการแล้วสามารถเทียบเคียงได้กับ Parallelized EVM เช่น Monad, Sei, โดยการมาของ HyperEVM จะทำให้

  • Asset Bridging: ทำให้สามารถ Bridge Asset อื่นๆมาบน Hyperliquid ได้ง่ายขึ้น ดังนั้นในอนาคตอาจมีเหรียญที่เปิดให้เทรด Spot มากขึ้น รวมถึง Liquidity เพิ่มขึ้น
  • EVM Compatibility: ทำให้นักพัฒนาที่ใช้ EVM สามารถขยายมาเปิดตัวบน Hyperliquid ได้ ดังนั้น เราอาจได้เห็น DeFi อื่นๆมาเปิดตัวเพิ่ม. 
  • HYPE Staking & Gas Fee: คาดว่าเหรียญ HYPE จะถูกใช้ในการ Secure Network ผ่านการ Staking นอกจากนี้เหรียญ HYPE จะถูกใช้เป็นค่า Gas บน Ecosystem

ซึ่งความแตกต่างที่เป็นไฮไลท์สำคัญที่ทำให้ Hyperliquid โดดเด่นกว่า Layer 1 ตัวอื่นๆก็คือ การที่สามารถทำงานร่วมกับ Onchain Orderbook ได้ ซึ่งจะทำให้เป็น Lego ชิ้นสำคัญที่ทำให้เกิด DeFi Application แบบ Advanced อื่นๆ ที่ทำได้ยากถ้าไม่มี Onchain Orderbook ที่แข็งแกร่ง ตัวอย่างเช่น

  • โปรโตคอลที่คล้ายกับ Ethena: โดยสามารถใช้ Native Perp DEX ในการ Hedging ซึ่งแตกต่างจาก Ethena ที่ต้องพึ่งพา CEXs จึงทำให้กระบวนการทั้งหมดเป็นแบบ Onchain โปร่งใส และลดความเสี่ยงจาก Third-party
  • Options: แพลตฟอร์ม Options ที่สร้างบน Hyperliquid สามารถใช้ Native Perp Assets เพื่อสร้าง Advanced Trading Strategies ได้
  • Lending: สามารถใช้ Native Oracle ของ Hyperliquid เพื่อประเมินมูลค่า Collateral และทำการ Liquidate บน Spot Market ได้โดยตรง ช่วยลดความจำเป็นในการใช้ Cross-platform Oracles และ Liquidation Markets ซึ่งช่วยลดความซับซ้อน เพิ่มความแม่นยำ และธุรกรรมรวดเร็วยิ่งขึ้น
  • แพลตฟอร์มซื้อขายอื่น ๆ เช่น Prediction Markets หรือ Synthetics Platforms สามารถ เชื่อมต่อกับ Order Book ของ Hyperliquid เพื่อหา Price Discovery นอกจากนี้ ยังสามารถใช้ HyperBFT Consensus ในการทำ Settlement ได้อย่างรวดเร็ว

Community-focused

จุดเด่นสำคัญอีกอย่างที่ไม่พูดถึงไม่ได้ของ Hyperliquid ก็คือการที่ตัวโปรเจกต์ไม่มีการระดมทุนจาก VCs ใดๆ รวมถึงไม่มีการจัดสรรงบสำหรับการ Marketing เพราะว่าต้องการสร้างโปรเจกต์ที่เป็น Fair-launched อย่างแท้จริง โดยจัดสรรเหรียญกว่า 75% ให้กับผู้ใช้งาน (Genesis Airdrop 31%) ผลที่ได้รับคือทำให้ได้รับการสนับสนุนจาก Community อย่างมาก แนว Cult-like คล้ายกับที่เราเห็นใน Berachain Community

ซึ่งสิ่งนี้เป็นอะไรที่เราไม่ได้เห็นกันมานานแล้วในโลกคริปโตฯ ที่มักจะจัดสรรเหรียญจำนวนมากให้กับนักลงทุนรายใหญ่ ทีมงานเอง รวมถึง Insider ต่างๆ ก่อนเสมอ จึงเป็นตัวอย่างที่ดูดีที่สุดที่เราเคยเห็นในวงการคริปโตฯเลยก็ว่าได้ถ้าเราไปเปรียบเทียบกับ Blockchain Layer 1 หรือ Layer 2 ตัวอื่นๆที่ผ่านมา

Hyperliquid Ecosystem

ขอบคุณภาพจาก HC Capital

ปัจจุบัน Ecosystem หลักของ Hyperliquid นอกจาก DEX แล้ว ส่วนใหญ่ยังเน้นไปที่เหรียญ Meme เป็นหลัก ส่วนพวก Infrastructure และโปรเจกต์ DeFi อื่นๆส่วนมาก ยังอยู่ในช่วง Testnet พร้อมเปิดตัวกับ HyperEVM ที่กำลังจะมาถึง

ในบทนี้เราจะไปดูเหรียญ DeFi/MemeFi/Memecoin ภายใน Ecosystem บางตัวที่น่าสนใจกัน

  • PURR: คือเหรียญมีมตัวแรกและใหญ่ที่สุดที่เปิดตัวบนแพลตฟอร์มโดยทีม HyperLiquid โดยแจกให้กับผู้ใช้งานของโปรเจกต์

นับจนถึงปัจจุบัน มีการเผาเหรียญไปแล้ว 1.9 ล้าน PURR (มูลค่า 475,000 ดอลลาร์) ผ่านค่าธรรมเนียมการซื้อขาย*

*ทุกเหรียญบน HyperLiquid มีลักษณะเป็น Deflationary โดยค่าธรรมเนียมการซื้อขายจะถูกนำมาใช้ในการ Buy Back & Burn

  • PIP: เหรียญมีมที่มีมูลค่าตลาดเป็นอันดับสอง แตกต่างจาก PURR ตรงที่ไม่ได้ถูกสร้างขึ้นโดยทีม HyperLiquid เอง 

จุดเด่นของ PIP เทียบกับ PURR คือ PURR ถูกสร้างขึ้นเพื่อแจกให้กับผู้ใช้งาน แต่ว่าทีม HyperLiquid ไม่ได้พัฒนา PURR ต่อแล้ว แต่ PIP มี X Account ที่ยัง Active อยู่

  • LiquinaHL: เป็นเหรียญมีมอีกตัวหนึ่งที่มาพร้อมกับ AI Agent ซึ่งนอกจากเหรียญแล้ว ทีมงานยังกำลังเปิดตัวคอลเลกชัน NFT บน HyperLiquid โดยราคา Mint จะถูกกำหนดผ่าน Dutch Auction ซึ่งจะเริ่มต้นที่ 1,000 ดอลลาร์ และค่อย ๆ ลดลงจนถึง 100 ดอลลาร์ 
  • HyperLend: HyperLend เป็น Money Market ที่สามารถนำ Stablecoins, HYPE และ HLP/Perps Position จาก HyperLiquid มาใช้เป็น Collateral ได้ 
  • Felix Protocol: คือโปรโตคอล Synthetic Dollar ที่ให้ผู้ใช้นำ Staked HYPE, PURR และเหรียญ Big Cap อื่นๆ เช่น BTC และ ETH มาใช้เป็น Collateral เพื่อสร้างเหรียญ feUSD โดย feUSD สามารถนำไปฝากใน Felix Vaults เพื่อรับผลตอบแทน
  • TheFarmDotFun: เกม AI Agent แบบ Generative AI ที่ผู้ใช้งานสามารถสร้าง AI Agent ประเภทสัตว์เลี้ยงที่หลากหลายผ่านโมเดล GenAI โดยเมื่อ AI สัตว์เลี้ยงเหล่านี้ถูกมิ้นท์หรือซื้อขาย จะมีการใช้โทเคน FARM เป็นค่าธรรมเนียม
  • PvpDotTrade: คือ Telegram Bot ที่ผู้ใช้งานสามารถเพิ่มเข้าไปในแชทกับเพื่อนๆสาย degen เพื่อรวมกลุ่มและทำการเทรด Perps/Spot ร่วมกันได้

PvpDotTrade ยังมีระบบแต้มที่สามารถสะสมได้จากการใช้งานแพลตฟอร์ม

  • HypurrFun: เป็นแพลตฟอร์ม Lauchpad เหรียญใหม่ๆ ในลักษณะคล้ายกับ Pumpdotfun บน Solana คือทุกคนสามารถเปิดตัวเหรียญได้ผ่าน Telegram Bit โดยเหรียญจะมีทั้ง Bonding Curve Stage และ Deployment Stage และหลังจากนั้นเหรียญจะถูก Lauch บน Hyperliquid Orderbook (เทียบกับ Raydium บน Solana)

หลังจากเปิดตัวแล้ว USDC ที่ใช้ซื้อเหรียญจะถูกนำไปใช้ดังนี้

  • ชำระค่า Auction สำหรับ Ticker → เพื่อนำเหรียญไปลิสต์บน Hyperliquid
  • วางคำสั่งซื้อใน Order Book เพื่อรักษา Liquidity เริ่มต้น

อย่างไรก็ตาม ต่างจากแอปพลิเคชันส่วนใหญ่ การซื้อขายเหรียญใหม่จะทำได้เฉพาะบน Telegram เท่านั้น ไม่สามารถทำผ่านเว็บไซต์ได้ และหากต้องการเริ่มซื้อขาย ผู้ใช้งานต้องโอน USDC บน Arbitrum หรือ USDC บน Hyperliquid เข้าสู่กระเป๋าเงินของตนก่อน

นอกจากนี้ยังมีเหรียญและโปรเจกต์อื่นๆที่น่าจับตามองอีกหลายตัวที่ไม่ได้อธิบายในที่นี้ ตัวอย่างเหรียญมีมอื่นๆ เช่น CATBAL, SCHIZO, JEFF เป็นต้น ส่วน DeFi ที่น่าสนใจอื่นๆ เช่น HypurrFi (Lending), StakedHype (Liquid Staking), Keiko Finance (CDP) เป็นต้น 

ความเสี่ยง

แน่นอนว่า Hyperliquid ยังมีความเสี่ยงและความไม่ชัดเจนบางอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้วยความที่เป็น Decentralized Exchanges ที่ทำให้มีความเสี่ยงเชิง Operation เฉพาะตัวที่เกี่ยวข้องกับโมเดลธุรกิจนี้อีกด้วย ยกตัวอย่างความเสี่ยงที่นักลงทุนควรทราบ

  • Closed Source: ปัจจุบันที่ HyperEVM ยังไม่เปิดตัว ดังนั้นหมายความว่า Validator ยังถูกจัดการโดยทีมภายในเท่านั้น อย่างไรก็ตาม หลังจากเปิดตัว HyperEVM จะกลายเป็น POS แบบเต็มตัว
  • Regulation: Crypto Regulation โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับ Trading Platform กำลังเข้มงวดขึ้นทั่วโลก โดย SEC ดำเนินคดีกับ CEX ใหญ่หลายราย เช่น Coinbase และ Binance ขณะที่ CFTC ก็เข้มงวดกับ DeFi หลายแห่ง ดังนั้น Hyperliquid อาจถูกมองว่าเป็นหลักทรัพย์ในมุมมองของ SEC ได้
  • Adoption: ต้องยอมรับว่าราคาของ HYPE ตอนนี้เป็นการ Priced-in Adoption ภายหลังการเปิดตัว HyperEVM ไปบางส่วนแล้ว ดังนั้น ถ้า Adoption ที่เกิดขึ้นจริงไม่ตรงตามที่คาด อาจมีการเทขายหนักๆได้
  • ความเสี่ยงด้าน Security & Smart Contract อื่นๆ; Hyperliquid ทำงานบน Layer 1 ของตัวเอง และระบบ Consensus ของตัวเอง ซึ่งยังไม่ได้ผ่านการทดสอบความแข็งแกร่มาอย่างยาวนานเหมือนกับ L1 อื่นๆ เช่น Ethereum นอกจากนี้ ยังมีความเสี่ยงอื่นๆ เช่น Oracle Manipulation และความเสี่ยงจาก Arbitrum Bridge เป็นต้น

สรุป Hyperliquid

Hyperliquid เป็นตัวอย่างโปรเจกต์ที่มีการหา Go-to-market strategy ได้ดีมากๆ เห็นได้จาก Real Users ที่ใช้งานต่ออย่างยั่งยืนถึงแม้จะแจก Airdrop ไปแล้วก็ตาม นอกจากนี้ยังเป็นโปรเจกต์ที่ให้ความสำคัญกับ Community อย่างมาก แบบที่เราไม่ได้เห็นกันมานานแล้ว

ในแง่ของโปรดักท์เองก็ถือว่าทำได้ดีมาก ทั้งในแง่ของการเป็น Perp DEX แบบ Fully Onchain บน Layer 1 ที่มีประสิทธิภาพสูง นอกจากนี้ สิ่งที่น่าจับตามองต่อไปคือการเปิดตัว HyperEVM ในช่วงต้นปี 2025 ที่จะยกระดับโปรเจกต์ขึ้นไปอีกขั้น ทำให้มีจุดเด่นเฉพาะตัวต่างจาก Appchain หรือ High-performance Layer 1 อื่นๆ โดยเราเชื่อว่าการเปิดตัว HyperEVM จะส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อการเติบโตของ Ecosystem 

ข้อดีก็คือถือว่ายัง Early มากๆสำหรับการ Adoption ของ Hyperliquid แต่ความเสี่ยงก็คือเมื่อ HyperEVM เปิดตัว และแพลตฟอร์มต่างๆทยอยเปิดตัว ถ้ามีอะไรไม่เป็นไปตามที่ตลาดคาดการณ์ก็อาจจะพลิกสถานการณ์ไปในทางตรงข้ามได้เช่นกัน

สำหรับในแง่มูลค่า Hyperliquid นั้นเรามองว่าไม่สามารถประเมินมูลค่าในฐานะ General-purpose L1 เพราะว่ามีความโดดเด่นเฉพาะตัวในด้าน Onchain Orderbook ที่มีศักยภาพทำให้เกิด DeFi ใหม่ๆที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นแบบไม่เคยมีมาก่อนได้ ดังนั้นหลายๆคนจึงมองว่า Hyperliquid อาจจะเทียบได้ว่าเป็น “Onchain Binance”

Author

Share :
Related
Hyperliquid: DEX ที่อาจเปลี่ยนอนาคต DeFi ไปตลอดกาล
DeSci: เมื่อ Web3 ปฏิวัติวงการวิทยาศาสตร์และการวิจัย
Cryptomind Monthly Outlook (November 2024)
Cryptomind Monthly Outlook (October 2024)