Search
Close this search box.

ทำความรู้จักกับ DeFi บน Sui Network

Share :
Screenshot 2567-07-30 at 14.21.37

Table of Contents

ฟาร์มไหนดี? ช่วงตลาดที่เหมือนจะไป แต่ก็ไม่ยอมไปสักทีแบบนี้ ถือ Stable Coin เยอะ ไม่รู้เอาไปลงไหนดีที่ได้ผลตอบแทนสูงๆ ซึ่งตอนนี้ ใน Sui Network โปรเจกต์ DeFi ต่างๆ ได้มีการแจก Incentive เพื่อดึงนักลงทุนให้เข้าไปลองใช้งานแอปต่างๆ อยู่ ซึ่งช่วงตลาดพีคๆ ผลตอบแทนสูงสุดเคยพุ่งไปสูงถึง 27% ต่อปี เรามาลองทำความรู้จัก Sui Network ในตอนนี้กับ DeFi ต่างๆ บน Sui กันดีกว่า (อัพเดท วันที่ 16 กรกฎาคม 2024)

ที่มาจาก defillama 

Sui Network เป็น Alternative Layer 1 ที่ไม่ได้รองรับ EVM (Ethereum Virtual Machine) ใช้ภาษาของตัวเองที่เรียกว่า Move ซึ่งด้วยตัว Move และเทคโนโลยีอยู่ปัจจุบันก็ทำให้ความเร็วในการทำธุรกรรมสูงมากๆ แต่การมาของ Mysticeti ที่กำลังจะมาถึงจะเพิ่มความเร็วในการทำธุรกรรมขึ้นไปอีกจนเหลือเพียง 400 Milliseccond หรือถ้าเป็นความรู้สึกคือกดแล้วเสร็จเลย รองรับได้สูงถึง 297,000 ธุรกรรมต่อวินาที และค่าธรรมเนียมตํ่าและคงที่ อยากให้ทุกคนไปลองใช้งาน Swap หรือทำธุรกรรมอะไรก็ได้บน Sui Network ดู จะได้สัมผัสกับความเร็วการทำธุรกรรมที่ไม่ถึง 1 วินาที ไม่ต้องรอนานกดแล้วเสร็จเลย

ปัจจุบัน Sui ครองอันดับ TVL อยู่ที่อันดับ 4 สำหรับ Non-EVM บล็อกเชน และอันดับ 15 เมื่อรวมทุนบล็อกเชนเข้าด้วยกัน ซึ่งที่ TVL อยู่ที่ 644 ล้านเหรียญดอลลาร์ ซึ่งมี DeFi โปรเจกต์มากมายถูกสร้างขึ้นมาบน Sui network ทั้ง Lending, Decentralize Exchange (DEX), Liquid Staking, Perpetual DEX, Derivative และอื่นๆ ซึ่งวันนี้เราจะพาไปทำความรู้จักกับ DeFi Ecosystem บน Sui Network

ก่อนไปไกลกว่านี้เราต้องพูดถึง Token หลักที่รองรับและใช้งานกันบน DeFi อย่างแพร่หลายก่อน ซึ่งยังมีไม่เยอะมากนัก โดยหลักๆ แล้วมี Stable Coin หลักอย่าง USDT, USDC และ Collateralized Stablecoin อย่าง BUCK หลักๆ อย่างอื่นคือ SUI และ Liquid Staking อย่าง haSUI, vSui, afSUI ซึ่งบน Sui Network มีเหรียญหลักของบล็อกเชนอื่นเพียงแค่ WETH ตัวเดียวเท่านั้น

เพื่อให้ง่ายในการตัดสินใจและความปลอดภัยในการลงทุน เราจะบอกข้อดีข้อเสียของแต่ละโปรเจกต์ และโปรเจกต์ที่ยังไม่มี Token มีโอกาสที่จะ Airdrop โดยเลือกจากอันดับจำนวน TVL และผู้สนับสนุนที่น่าเชื่อถือ

Lending Protocol

NAVI Protocol

NAVI Protocol เป็น Lending Protocol ที่ใหญ่ที่สุดบน Sui Network โดยมี TVL อยู่ที่ $131,208,007 ได้รับการสนับสนุกจาก OKX Venture, Hashofficial, DAOfive และอื่นๆ ตัว NAVI Protocol ได้แจกผลตอบแทนอยู่ที่ราวๆ 9.7% ใน Pool Stable Coin โดยจ่ายเป็น $vSui (Liquid Staking Sui) และมีการแจกผลตอบแทนการกู้ด้วยอยู่ราวๆ 3.7% โดยจ่ายเป็น $vSui

ซึ่ง NAVI Protocol ยังทำ Liquid Staking Defi ด้วยผ่านโปรเจกต์ที่เป็นเจ้าของอยู่อย่าง Volo Sui ซึ่งเป็น LST ลำดับที่ 1 และโปรเจกต์ลำดับที่ 4 ที่มี TVL สูงสุด โดย $vSui ให้ผลตอบแทนเฉลี่ยอยู่ที่ 3 % ซึ่งทั้งตัว NAVI Protocol และ Volo เป็น Platform ที่ยังไม่ได้แจก Airdrop ซึ่งมีโอกาสที่แจก Airdrop ให้ในอนาคต

ข้อเสียที่ต้องคำนึงถึงคือ

  • NAVI Protocol เปิด Leader Board มานานมากๆ ไม่รู้ว่า เราฟาร์ม Airdrop หรือ NAVI กำลังฟาร์มเรา
  • ค่าธรรมเนียมในการกู้ ( Borrow ) และการเก็บผลตอบแทน ( Claim ) อย่างค่อนข้างแพงเมื่อเทียบกับตัวอื่นๆ

Scallop

Scallop เป็น Lending Protocol ที่มีคนสนับสนุนอย่าง Mysten Labs, DWF Labs, Kicoin Labs และอื่นๆ ซึ่งตัว Scallop มี Token แล้วหรือ $SCA และแจก Airdrop ไปแล้ว แต่ยังมีการใช้ SCA แจกเป็นผลตอบแทนอยู่ โดยการจ่ายผลตอบแทนของ Scallop จะมีแบ่งเป็น 2 แบบ Lender และ Borrower

  • Borrower หรือคนที่ยืมเงินที่อยู่ใน Pool โดยทาง Scallop ได้แจก Incentives เป็นแรงจูงใจให้คนเข้ามากู้โดยจะแจกเป็น $SUI และ $SCA รวมๆ ราว 25% – 30% ซึ่งสามารถเพิ่มผลตอบแทนได้ด้วยการ Stake $SCA กับทาง Scallop เป็น $veSCA จะคูณ 4 (x4) ในผลตอบแทนของ $SCA ทำให้ผลตอบแทนโดยรวมสูงถึง 67%
  • Lender หรือคนที่วางเงินไว้ให้คนอื่นกู้จะไม่มี Incentives แต่จะได้ผลตอบแทนจากดอกเบี้ยเงินกู้ที่ทางฝั่ง Borrower เขาจ่ายมาเข้า Pool อยู่ราวๆ 12% เป็น Based APY หรือก็คือจ่ายตรงไปที่ Position เลย ว่าง่ายๆ คือ Auto-Compound 

ข้อแตกต่างหลักๆ ของ Scallop ต่อ Lending ทั่วไปคือ จะต้องฝากเพื่อกู้ออกมา ซึ่ง Pool สำหรับฝากเพื่อกู้จะแยกกับ Pool ที่ฝากแล้วรับผลตอบแทน ซึ่ง Pool ที่ฝากเพื่อกู้จะไม่ได้ APY ฝาก

ข้อเสียที่ต้องคำนึงถึงคือ 

  • Pool สำหรับฝากเพื่อที่จะกู้ไม่ได้ผลตอบแทน หากเงินไม่ใหญ่พอการฝากเฉยๆ หรือใช้ Lending เจ้าอื่นๆ อาจจะดีกว่า
  • หากอยากได้ผลตอบแทนแบบเต็มที่ ต้องฝาก $SCA อย่างน้อย 177.22 เป็นเวลา 4 ปี ซึ่งเป็นต้นทุนจำนวน ~80$ นับได้ว่าเป็นต้นทุนที่ต้องจ่ายเพื่อให้ได้ผลตอบแทนในระยะยาว 
  • แจก Airdrop ไปแล้ว ไม่มีโอกาสที่จะได้รับ $SCA ในรูปของ Airdrop อีกต่อไป

Suilend

Suilend เป็น Lending Protocol ซึ่งเป็นโปรเจกต์แยกออกมาจาก Developer เจ้าเดียวกันกับ Lending Protocol ชื่อดังใน Solana ชื่อว่า Solend ซึ่ง Suilend ในมี TVL มากถึง $64,177,410 ซึ่งเป็นลำดับที่ 4 จุดเด่นของ Suilend คือมี UX-UI ที่ค่อนข้างดี และสวยงามและค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรมต่างๆ ค่อนข้างตำ่ และที่มากไปกว่านั้น Suilend ในตอนนี้ยังมีระบบ Leader Board ที่จะแจก Airdrop ตัวเหรียญประจำ Suilend แน่นอนเพราะ Solend เองก็ได้แจก Airdrop ไปแล้ว

ผลตอบแทนที่น่าสนใจคือ

  • USDT ผลตอบแทนเฉลี่ยอยู่ที่ 6.46%
  • USDC ผลตอบแทนเฉลี่ยอยู่ที่ 4.89%
  • SOL ผลตอบแทนอยู่ที่ 38%

ที่น่าสนใจคือ ถ้ามี Sol อยู่แล้วอยากหาผลตอบแทนเพิ่มเติม ได้ฟาร์มแอร์ดรอปไปด้วย และได้ทดลองใช้งาน Sui Network ไปด้วย Suilend ก็เป็น Lending เจ้าหนึ่งและเจ้าเดียวที่ทำได้

ข้อเสียที่ต้องคำนึงถึงคือ

  • Suilend ให้ผลตอบแทนที่ค่อนข้างตำ่เมื่อเทียบกับ Lending Protocol เจ้าอื่นๆ

จุดโกงของ Lending คือสามารถ Loop ได้หรือการกู้แล้วก็ฝากวนไป ทำให้เราได้รับผลตอบแทนเยอะกว่าการฝากด้วยเงินต้นแรกเพียงอย่างเดียว แต่อย่างไรก็ตามต้องพึงระวังความเสี่ยงการบังคับขาย (Liquidation) ต้องคอยเข้ามาดูแลระดับความเสี่ยงอยู่เสมอ

Decentralize Exchange

Cetus Protocol

Cetus Protocol เป็น Decentralize Exchange ที่มี TVL มากที่สุดใน Sui Network อยู่ที่ $116,440,027 และเป็นอันดับ 2 ในของโปรเจกต์ที่มียอด TVL สูงสุด มีผู้สนับสนุนใหญ่ๆ อย่าง OKX Venture, Sui Network, Animoca Venture, Kucoin Venture และอื่นๆ 

Cetus Protocol เหมือนกับ DEX ทั่วไปที่ให้ผู้ใช้งานเข้าไปใส่สภาพคล่อง (Liquidity) ซึ่ง Pool ที่น่าสนใจมีคือ

  • USDC/USDT Pool ได้รับผลตอบแทนราว 10.17% ได้รับในรูปของ $SUI และ $CETUS
  • USDY/USDC Pool  ได้รับผลตอบแทนราว 9.61% ได้รับในรูปของ $SUI (USDY ของ Ondo Finance)
  • WETH/USDC Poo สำหรับคนที่อยากถือ ETH ซึ่งได้รับผลตอบแทนราว 103.34% ได้รับในรูปของ $SUI
  • SUI/USDC Pool ได้รับผลตอบแทนราว 117.27% ได้รับในรูปของ $SUI และ $CETUS

ข้อเสียที่ต้องคำนึงถึงคือ

  • Cetus Protocol ได้แจก Airdrop ไปแล้ว ไม่มีโอกาสที่จะได้รับ $CETUS ในรูปของ Airdrop อีกต่อไป

Aftermath Finance

Aftermath Finance เป็น OG Platform บน Sui Network ที่คอมมูนิตี้ใช้และรู้จักกันดี และมีผู้สนับสนุนใหญ่อย่าง Mysten Labs ทำหลายอย่าง โดย Aftermath  เป็น Decentralize Exchange (DEX), DEX Aggregator และ Liquid Staking มี TVL ลำดับที่ 6 ของยอดโปรเจกต์ที่มี TVL สูงสุด $36,983,721 ที่มากไปกว่านั้น Aftermath Finance ยังไม่ได้มี Token ของตัวเอง จึงมีโอกาสที่ได้รับ Airdrop ในอนาคต

Aftermath Finance มี Pool ที่น่าสนใจคือ

  • Stable Liquidity Pool ผลตอบแทนอยู่ที่ 7.34% – 14.68% ขึ้นอยู่กับระยะเวลา Lock ซึ่งผลตอบแทนจะจ่ายเป็น afSui
  • SUI/BUCK (BUCK เป็น Decentralize Stable Coin) ผลตอบแทนอยู่ที่ 16.84% – 33.69% ซึ่งผลตอบแทนจะจ่ายเป็น afSui
  • SUI/USDC ผลตอบแทนอยู่ที่ 9.29% – 18.58% ซึ่งผลตอบแทนจะจ่ายเป็น afSui

ข้อเสียที่ต้องคำนึงถึงคือ

  • มี Lock Period ที่ต้องคำนึงถึง
  • UX/UI ที่ค่อนข้างช้า

สรุป

ในตลาดออกข้างกำลังจะขึ้นแบบนี้ ต้องการหาผลตอบแทนสูง พร้อมกับถือเหรียญดีๆ สักตัว การลงทุนใน DeFi โปรเจกต์บน Sui Network ถือว่าเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ จากผลตอบแทนค่อนข้างสูง ควรพิจารณาโปรเจกต์ที่มีคนใช้งานเยอะ และโปรเจกต์ที่มีผู้สนับสนุนที่น่าเชื่อถือเพื่อความปลอดภัยในการลงทุน บทความนี้เราคัดโปรเจกต์ที่น่าสนใจพร้อมข้อดีและข้อเสียมาให้ตัดสินใจโดยมี Lending Platform อย่าง Scallop, NAVI Protocol หรือ Suilend และ Decentralize Exchange อย่าง Cetus Protocol หรือ Aftermath Finance

Author

Tags : DEFI | sui
Share :
Related
Ethena และ USDe กับยุคใหม่ของ Stablecoin
Cryptomind Research Investment Outlook 2025
Crypto AI Agent ตั้งแต่จุดเริ่มต้นจนถึงปัจจุบัน
NFT กลับมาแล้ว ?