Search
Close this search box.

“Curve Wars” สงครามการแย่งชิงสภาพคล่องที่ดุเดือดที่สุดในโลก DeFi

  • Siwakorn Samutthong

    Analyst/Researcher at Cryptomind. Founder at Jolden Crypto. Ethereum/L2 Enthusiast.

Share :
CurveWar (Wide)

Table of Contents

ขอบคุณภาพจาก : https://theknower.substack.com/p/the-curve-wars-rage-on

1) Curve Wars คืออะไร? ทำไมต้องเป็น Curve Finance? 

ต้องเกริ่นก่อนว่า ในช่วงยุครุ่งเรืองของ DeFi “Curve Finance” เป็นแพลตฟอร์ม Decentralized Exchange ที่มียอด Total Value Locked (TVL) มากที่สุดในโลก DeFi อยู่ระยะเวลาหนึ่ง ยอด TVL เคยอยู่ที่จุดสูงสุดเกือบ 24,300 ล้านดอลลาร์ ก่อนจะตกลงมาเหลือเพียง 5,020 ล้านดอลลาร์ในปัจจุบันเนื่องจากตลาดหมีและความนิยมที่ลดลงของ DeFi

ซึ่งสาเหตุที่ทำให้ Curve Finance เป็นแพลตฟอร์ม DEX ที่มียอด TVL สูงสุด ก็เพราะว่า Curve เป็นเสมือนแหล่งรวมสภาพคล่องของ Stablecoin ขนาดใหญ่ที่สุดใน Ethereum Blockchain และด้วยสมการทางคณิตศาสตร์ Stableswap ที่ออกแบบมาเพื่อการแลกเปลี่ยน Stablecoin โดยเฉพาะ รวมไปถึงสภาพคล่อง Stablecoin ของ Curve ที่มีมหาศาล จึงทำให้ผู้ใช้งานสามารถเข้ามา Swap เหรียญ Stablecoin ต่างๆโดยแทบไม่เสียค่า Slippage เลยเนื่องจากสภาพคล่องที่ลึก (Deep Liquidity) และผู้ใช้งานจะได้รับ Stablecoin ในเหรียญที่ต่างๆที่ไปแลกเปลี่ยนได้ใกล้เคียงกับมูลค่า $1 มากที่สุด

ขอบคุณภาพจาก : https://serenityfund.medium.com/company-watch-curves-formula-for-stablecoins-swap-and-the-magic-amplification-coefficient-d998ed1e184b

สิ่งนี้ทำให้แพลตฟอร์ม DeFi Blue Chip ต่างๆที่มี Stablecoin เป็นของตัวเอง ต่างพากันเข้ามาฝากเพิ่มสภาพคล่องใน Curve Finance กันส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะเป็น DAI ของ MakerDAO, FRAX ของ Frax Finance, MIM ของ Abracadabra รวมไปถึง UST ของ Terra ก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์ล่มสลายของ LUNA และ Stablecoin จากแพลตฟอร์มอื่นๆรวมกันมากกว่า 20 ประเภทเลยทีเดียว

รวมไปถึง Model ของ Curve Finance ที่ผู้ใช้งานสามารถที่จะล็อคเหรียญ CRV ให้เป็น veCRV เป็นระยะเวลาตั้งแต่ 1 อาทิตย์ จนถึง 4 ปี เพื่อแลกมากับ Voting Power ภายในแพลตฟอร์ม, ได้รับส่วนแบ่งรายได้ของแพลตฟอร์ม (Admin Fee) และเพื่อ Boost Yield ให้กับ Pool เหรียญที่เราฝากสภาพคล่องเอาไว้ใน Curve Finance ยิ่งเราล็อคเหรียญ CRV ไว้นานเท่าไร เรายิ่งได้รับ Voting Power ที่มากขึ้น รวมไปถึงได้รับตัวคูณ (Multiplier) Boost Yield ที่มากขึ้นอีกด้วย (หากล็อคไว้ 4 ปี จะได้รับ Multiplier สูงสุด 2.5x)

ยิ่งล็อค CRV ไว้นานเท่าไร เรายิ่งได้รับ veCRV (Voting Power) ที่มากขึ้นเท่านั้น
(ขอบคุณภาพจาก : https://bytetree.com/research/2022/05/curve-finance-specialising-in-stablecoins/)

จริงๆแล้ว ชนวนที่จุดประเด็นสงครามของ Curve War นั่นก็คือ Voting Power นี่แหละครับ เพราะว่าผู้ที่ล็อคเหรียญ CRV (ผู้ถือ veCRV) จะสามารถเข้าไปโหวตในแพลตฟอร์มได้ทุก 2 อาทิตย์ว่า พวกเขาจะให้ Pool ไหนในแพลตฟอร์ม “ได้รับผลตอบแทนเหรียญ CRV จากการฝากสภาพคล่องที่มากที่สุด”

แน่นอนอยู่แล้วว่าแพลตฟอร์มต่างๆที่เข้ามาฝากสภาพคล่อง Stablecoin ใน Curve Finance ต่างก็ต้องการให้ Pool ของตัวเองนั้นได้รับ Yield ที่มากที่สุด เพื่อดึงดูดผู้ใช้งานให้เข้ามาฝากสภาพคล่องใน Pool ของแพลตฟอร์มเหล่านี้ ผู้ใช้งานก็ได้ Yield ที่ดีที่สุด รวมไปถึงแพลตฟอร์มเหล่านี้ก็จะได้สภาพคล่อง Stablecoin ของตัวเองที่ลึกมากขึ้นอีกเช่นกัน ซึ่งถือว่าได้ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย Curve จึงถือเป็นสถานที่อันล้ำค่าของแพลตฟอร์มต่างๆที่มี Stablecoin ของตัวเอง

*** เพราะฉะนั้น Strategy ที่ดีที่สุดสำหรับแพลตฟอร์มที่มี Pool ของตัวเองใน Curve Finance ก็จะเจียดเงินใน Treasury ของแพลตฟอร์มส่วนหนึ่งเพื่อมาซื้อเหรียญ CRV และนำไปล็อคไว้ เพื่อที่ทุก 2 อาทิตย์ พวกเขาจะได้โหวตให้ Pool ของตัวเองให้ได้รับผลตอบแทนเหรียญ CRV ที่มากที่สุดนั่นเอง ***

ผลโหวตทุก 2 อาทิตย์ว่า Pool ไหนจะได้รับผลตอบแทนที่มากที่สุด
(ขอบคุณภาพจาก : https://dao.curve.fi/gaugeweight)
ข้อมูลในวันที่ 20 กุมภาพันธ์
2023
สัดส่วนการเปลี่ยนแปลงของ Pool ต่างๆหลังจากการโหวต
(ขอบคุณภาพจาก : https://dao.curve.fi/gaugeweight)
ข้อมูลในวันที่ 20 กุมภาพันธ์
2023

ซึ่งถึงแม้ว่าการนำ CRV มาล็อคเอาไว้กับ Curve Finance และทำการโหวตทุกสองอาทิตย์ จะมีข้อดีมากมาย ไม่ว่าจะเป็น สภาพคล่องที่ลึกมากขึ้น รวมถึง Incentived ที่เยอะขึ้นจนสามารถดึงดูดเม็ดเงินให้มาฝากเงินใน Pool ของแพลตฟอร์มนั้นๆได้

แต่ก็ต้องแลกมากับข้อเสียที่ว่า ถ้าแพลตฟอร์มเหล่านี้ต้องการ Voting Power ที่มากที่สุด พวกเขาก็จำเป็นจะต้องล็อคเหรียญ CRV นานถึง 4 ปี ซึ่งสิ่งนี้ถือเป็นค่าเสียโอกาสครั้งใหญ่ที่แพลตฟอร์มเหล่านี้จะต้องเจอ หากในอนาคต Stablecoin ของตัวเองไม่เกิด Mass Adoption, หากในอนาคตมีแพลตฟอร์มอื่นถือสัดส่วน veCRV ที่มากกว่าจนเราโดนแย่งส่วนแบ่งการโหวตไป, หากในอนาคตตลาด DeFi กลายเป็นขาลงนานหลายปี รวมถึงหากในอนาคตพวกเขาต้องการนำเงินใน Treasury ไปพัฒนาอย่างอื่นต่อ พวกเขาก็จะไม่สามารถทำอะไรกับ CRV ที่ล็อคไปได้เลย

จนมีคนเห็น Pain Point เหล่านี้ และได้สร้างแพลตฟอร์ม Yield Aggregator มาสร้าง On Top แพลตฟอร์ม Curve Finance อีกต่อนึง แพลตฟอร์มนั้นมีชื่อว่า Convex Finance นั่นเองครับ

2) “Convex Finance” ผู้ครอบครองสถานที่อันล้ำค่าอย่าง Curve

ขอบคุณภาพจาก : https://properea.com/convex-finance-cvx-token-31-01-2022/

Convex Finance ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้ผู้ที่ต้องการจะฝากสภาพคล่องไว้ที่ Curve Finance ให้มาฝากที่ Convex แทนได้ ซึ่งทางแพลตฟอร์มก็ได้เคลมเอาไว้ว่า หากผู้ใช้งานนำสภาพคล่องมาฝากไว้ที่ Convex แทน ทาง Convex “จะให้ผลตอบแทนที่มากกว่าฝากไว้กับ Curve Finance” โดยวิธีการที่แพลตฟอร์มสามารถให้ผลตอบแทนที่มากกว่าได้ ก็คือ หลังจากที่เราฝากสภาพคล่องไว้ที่ Convex แล้ว ทาง Convex ก็จะนำสภาพคล่องของเรา เอาไปฝากที่ Curve ให้ และเราจะได้ผลตอบแทนจาก Curve เหมือนเดิม และได้รับ CVX Rewards ซึ่งเป็น Governance Token ของทาง Convex ไปอีกต่อนึงด้วย

โดยหลังจาก Convex Finance เปิดตัวในช่วงเดือนพฤษภาคม ปี 2021 ก็ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ผู้ใช้งานที่วางสภาพคล่องไว้ใน Curve ก็ต่างพากันมาฝากเอาไว้ใน Convex แทน จนทำให้ภายในระยะเวลา 7 เดือนหลังเปิดตัว Convex สามารถทำยอด TVL ได้สูงถึง 21,170 ล้านดอลลาร์เลยทีเดียว

นอกจากผู้ใช้งานสามารถเข้ามาฝากสภาพคล่องได้แล้ว ทาง Convex ยังแก้ Pain Point ที่เกิดขึ้นกับ Curve Finance ในเรื่องการ Lock เหรียญ CRV เพื่อที่จะได้รับ veCRV อีกด้วย โดยผู้ใช้งานนั้นสามารถเข้ามา Stake เหรียญ CRV ใน Convex ผู้ใช้งานจะได้รับเหรียญ cvxCRV ออกไปเป็นเสมือนตั๋วที่บ่งบอกว่าเราฝาก CRV ไว้กับ Convex

และทาง Convex ก็จะนำเหรียญ CRV ที่เรานำมา Stake ไว้ เอาไปล็อคเป็น veCRV ให้ โดยข้อดีตรงนี้คือ เราสามารถถอนเหรียญ CRV ของเราออกเมื่อไรก็ได้ (โดยการนำ cvxCRV ที่ได้ไปมาแลกกลับเป็นเหรียญ CRV ใน Pool cvxCRV/CRV ของ Curve Finance) รวมไปถึงเรายังได้รับ Rewards เหมือนกับคนที่ล็อค CRV เป็น veCRV นั้นได้รับเลย แถมเรายังได้รับ CVX เป็น Rewards เพิ่มเติมจาก Convex อีกด้วย

Rewards จากการ Stake CRV ใน Convex Finance
(ขอบคุณภาพจาก : https://www.convexfinance.com/stake)

ตามรูปภาพด้านบน หากเรานำ CRV ไป Staking บน Curve Finance เราจะได้รับ Rewards เป็นเหรียญ CRV และ 3crv ซึ่งประกอบไปด้วย DAI, USDT และ USDC เท่านั้น แต่หากเรานำ CRV ไป Staking บน Convex (ได้รับ cvxCRV เข้ากระเป๋า) เราจะได้รับ Rewards เป็น CRV, 3crv และ CVX นั่นเอง

โดย cvxCRV ที่เราจะได้รับหลังจากที่ Staking CRV ใน Convex นั้น ก็สามารถนำไปจับคู่ฟาร์มกับ CRV เป็น cvxCRV/CRV ใน Curve Finance ได้อีกด้วย ถือว่าได้รับ Yield มากถึงสองต่อเลยทีเดียว

จำนวนเหรียญ CRV ที่ถูก Stake เอาไว้ใน Convex Finance (cvxCRV)
(ขอบคุณภาพจาก : https://dune.com/Marcov/Convex-Finance)
ข้อมูลในวันที่ 22 กุมภาพันธ์
2023

จากการที่ Convex Finance สามารถเข้ามาแก้ไขปัญหา Pain Point นี้ได้สำเร็จ ทำให้ผู้ใช้งานต่างพากันเข้ามา Stake เหรียญ CRV กับ Convex แทนที่จะเข้าไปล็อคเป็น veCRV ใน Curve Finance จนตอนนี้ Convex Finance ครอบครองเหรียญ veCRV เป็นจำนวนมากกว่า 290,010,811 veCRV ซึ่งหากนำไปเปรียบเทียบกับ Circulating Supply ของเหรียญ veCRV ในปัจจุบันที่ 567,688,539 veCRV จึงสรุปได้ว่า Convex นั้นถือครอง veCRV ซึ่งเป็นสิทธิ์ในการโหวตมากกว่า 51% ของอุปทานเหรียญ veCRV เลยทีเดียว และเหรียญ CRV มากกว่า 80% ที่ Convex ถือครองเอาไว้นั้นถูกนำไปล็อคเป็น veCRV เป็นที่เรียบร้อยแล้ว รวมไปถึงสภาพคล่องกว่า 85% จาก Curve Finance ก็มาจาก Convex Finance ทั้งสิ้น (ปัจจุบัน Convex มี TVL ประมาณ 4,220 ล้านดอลลาร์ และ Curve มี TVL อยู่ราวๆ 4,970 ล้านดอลลาร์)

เพราะฉะนั้นเราจะสามารถอนุมานได้เลยว่า Convex Finance ถือเป็นผู้คุม Fund Flow หลักของ Curve Finance เลยว่า จะให้ Pool ไหนได้รับผลตอบแทนที่มากที่สุด ซึ่ง Pool ที่ให้ผลตอบแทนที่มากที่สุดก็จะดึงดูดให้ผู้คนนำเงินไปฝากสภาพคล่องเอาไว้ใน Pool นั้นมากที่สุด คำถามต่อไปคือ แล้ว Convex จะเลือก Pool ไหนใน Curve ให้ได้รับผลตอบแทนที่มากที่สุดบ้าง? สิ่งนี้ก็ขึ้นอยู่กับ “คนที่ล็อคเหรียญ CVX” นั่นเอง

Dashboard การล็อคเหรียญ CVX
(ขอบคุณภาพจาก : https://www.convexfinance.com/lock-cvx)

โดยคนที่ถือเหรียญ CVX สามารถที่จะล็อค CVX ไว้ในแพลตฟอร์มเป็นเวลา 16 อาทิตย์ + 7 วัน (Cool Down Period) จากนั้นแพลตฟอร์มจะให้ vlCVX กลับเข้ากระเป๋ามา เพื่อแลกมากับการที่พวกเขาจะสามารถเข้าไปโหวต Pool ต่างๆใน Curve Finance ที่จะได้รับผลตอบแทนที่สูงที่สุดได้

หากดูอย่างผิวเผินแล้ว ผู้ที่ล็อค CVX จะได้รับผลตอบแทน APR เพียงราวๆ 3% เท่านั้น ซึ่งฟังดูแล้วอาจจะไม่จูงใจเท่าไรและผู้อ่านคงสงสัยว่า ทำไมมันถึงมี TVL มากกว่า 330 ล้านดอลลาร์ จริงๆแล้วมันมีเรื่องราวเบื้องหลังมากกว่านี้ครับ ซึ่งเดี๋ยวผมจะนำไปเล่าให้ฟังในย่อหน้าต่อๆไป

ผลโหวตที่ผู้ถือ vlCVX เข้าไปโหวต Pool ต่างๆใน Curve Finance ที่จะได้รับผลตอบแทนมากที่สุด
(ขอบคุณภาพจาก :https://vote.convexfinance.com/#/proposal/0xe2144b24dcfd88687678cb0e38e6e15b8ef6b77c7b0bca4d4d45eee832677131)
ข้อมูลในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2023

เท่ากับว่าปัจจุบัน ไม่ว่าแพลตฟอร์มไหนจะเข้าไปเก็บเหรียญ CRV เพื่อนำไปล็อคแล้วโหวตให้ Pool ของตัวเองได้รับผลตอบแทนที่มากที่สุด สุดท้ายก็สู้ Convex Finance ที่ครอบครองมากกว่า 51% ของอุปทาน veCRV ทั้งหมดไม่ได้อยู่ดี ดังนั้น หากเปรียบเทียบว่า Convex คือพระเจ้าที่ควบคุม Fund Flow ของ Curve Finance คนที่ถือ vlCVX ก็คือ ”ผู้คุมพระเจ้า” เนื่องจากพวกเขาสามารถกำหนดทิศทางของพระเจ้าอย่าง Convex Finance ได้เลยว่า จะให้ Convex เลือก Pool ไหนให้ได้ผลตอบแทนสูงสุดนั่นเอง

ดังนั้น จากเดิมที่ Strategy ของแพลตฟอร์มต่างๆที่มี Pool ของตัวเองใน Curve Finance ที่จะต้องพยายามเก็บเหรียญ CRV ให้ได้มากที่สุดเพื่อนำไปโหวต จึงไม่สามารถใช้ได้แล้ว เพราะยังไงก็สู้ Convex Finance ไม่ได้อยู่ดี ดังนั้นพวกเขาจึงเปลี่ยน Strategy ไปเป็น “เก็บเหรียญ CVX เพื่อนำไปล็อคเป็น vlCVX ให้ได้มากที่สุด” แทน เพื่อที่พวกเขาจะได้มีส่วนร่วมในการโหวตให้ Pool ของตัวเองได้รับผลตอบแทนที่มากที่สุดนั่นเอง

รายชื่อ 15 แพลตฟอร์มที่ถือครองเหรียญ CVX มากที่สุด (ไม่นับ Terra)
(ขอบคุณภาพจาก : https://daocvx.com/leaderboard/)
ข้อมูลในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2023

จากรูปภาพด้านบน เป็นรายชื่อของ 15 แพลตฟอร์มที่มีการถือครองเหรียญ CVX มากที่สุด (ไม่นับ Terra) โดยแพลตฟอร์มเหล่านี้ล้วนแต่มี Pool เหรียญของตัวเองหรือ Stablecoin ของตัวเองใน Curve Finance ทั้งนั้น ซึ่งความเป็นจริงแล้ว การที่แต่ละแพลตฟอร์มที่เห็นด้านบนมีการถือครอง CVX ที่มากที่สุด ก็ไม่ได้เป็นการการันตีว่า Pool ของแพลตฟอร์มเหล่านั้นจะได้ผลตอบแทนที่สูงที่สุดเสมอไป

เนื่องจากในบางแพลตฟอร์มก็ไม่ได้มี Pool ของตัวเองแค่ Pool เดียวใน Curve Finance รวมถึงบางแพลตฟอร์มอาจจะมีโอกาสไปโหวตให้ Pool ของแพลตฟอร์มอื่นที่เป็น Partner กันทางอ้อม เพื่อช่วยเหลือกันในศึก Curve War ครั้งนี้ก็ได้เช่นกัน

ยกตัวอย่างเช่น Redacted Cartel ที่ยังไม่ได้มีเหรียญ Stablecoin เป็นของตัวเอง รวมถึงไม่ได้มีส่วนได้ส่วนเสียกับ Curve หรือ Convex เลย แต่เขาก็พยายามรวบรวมเหรียญ CVX ให้ได้มากที่สุด ก็เพราะเหตุผลที่มันเป็นแหล่งสร้างรายได้หลักของแพลตฟอร์ม

อ่านบทความเรื่อง Redacted Cartel เพิ่มเติมได้ที่ : EP.1 / EP.2

นอกจากนี้ก็ยังมีผู้ใช้งานรายย่อยทั่วไปอย่างเราๆด้วยที่มีการนำ CVX ไปล็อคเป็น vlCVX เพื่อโหวต Pool ที่ตัวเองฝากเงินเอาไว้อีกด้วย เพราะฉะนั้นการใช้ vlCVX เพื่อโหวตของรายย่อยก็จะค่อนข้างกระจัดกระจายไปตาม Pool ต่างๆ แล้ววิธีไหนหละที่จะทำให้แพลตฟอร์มเหล่านี้ได้รับผลโหวตใน Pool ของตัวเองที่มากขึ้น? คำตอบก็คือ พวกเขาก็ใช้การติดสินบน (Bribe) ให้มาโหวต Pool ของพวกเขานั่นเอง

3) “การติดสินบน (Bribe)” เงินใต้โต๊ะมูลค่าหลักล้านสำหรับเข้าสถานที่อันล้ำค่า

ขอบคุณภาพจาก : https://thedefiant.io/andre-cronje-curve-bribe-tool

Concept ง่ายๆของการติดสินบนคือ แพลตฟอร์มต่างๆที่มี Pool อยู่บน Curve Finance จะนำเงินสินบน (ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเหรียญ Governance ของแพลตฟอร์มตัวเอง) ไปฝากเอาไว้ในแพลตฟอร์มที่ให้บริการ Bribe Marketplace โดยทุกสองอาทิตย์ ผู้ถือ veCRV หรีอ vlCVX จะสามารถเข้ามาโหวต Pool ที่ตัวเองต้องการให้ได้รับ Rewards สูงสุดบน Curve Finance ได้ หลังจากโหวตเสร็จแล้วก็จะได้รับเงินสินบนของ Pool นั้นๆเข้า Wallet ไปเลย

ซึ่งสิ่งนี้ได้เพิ่มความร้อนแรงของสงครามเข้าไปอีก เนื่องจากมันเป็นเกมของทุนนิยมเลยก็ว่าได้ ถ้าแพลตฟอร์มไหนมีเงินสินบนเพื่อไปจ่ายรายย่อยเยอะเท่าไร Pool ของแพลตฟอร์มนั้นๆใน Curve Finance ก็มีโอกาสได้รับผลตอบแทนที่มากขึ้นเท่านั้น

ประกอบกับถ้าแพลตฟอร์มนั้นๆมีทั้งกำลังจ่ายเงินสินบนที่มาก รวมไปถึงมีสัดส่วน vlCVX ที่ถือครองมาก พวกเขาก็มีโอกาสที่จะมีผู้ถือ vlCVX เข้ามาเลือกโหวต Pool ของพวกเขาให้ได้ Rewards มากที่สุด และพวกเขาก็ยังสามารถนำสิทธิ์ของ vlCVX ที่ตัวเองมี ในการเข้าไปโหวต Pool อื่นๆที่มีการให้เงินสินบนที่มากอีกด้วยเช่นกัน

สัดส่วนเงินสินบนของแต่ละแพลตฟอร์มที่ติดไว้ให้กับผู้ถือ vlCVX ให้มาโหวต
(ขอบคุณภาพจาก : https://llama.airforce/#/bribes/rounds/votium/cvx-crv/32)
ข้อมูลในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2023

เพราะฉะนั้น หากอ้างอิงตามการโหวตรอบที่ 38 ที่สิ้นสุดเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา โดย 5 อันดับของ Pool ที่มีการให้สัดส่วนเงินสินบนกับผู้ถือ vlCVX มากที่สุด จะเห็นได้ว่ามี Pool เหรียญของ Frax Finance ที่มากถึง 3 อันจากทั้งหมด 5 อันเลยทีเดียว และถ้าย้อนข้อมูลกลับไปดูการโหวตของ Llama Airforce ในรอบที่ผ่านๆมา ก็จะมี Pool ของ Frax Finance ที่ติดอันดับ 1 ใน 5 อยู่เสมอ

ประกอบกับ Frax Finance นั้นมีการถือครองเหรียญ CVX มากที่สุดเป็นอันดับ 1 สิ่งนี้จึงอนุมานได้ว่า Frax Finance มีศักยภาพในการดึงเม็ดเงินให้เข้ามาฝากกับ Pool ของตัวเองมากที่สุด, เป็น Pool ที่ได้รับ Rewards จาก Curve ในสัดส่วนที่สูงอยู่เสมอ และยังได้รับเงินสินบนจากการนำ vlCVX ที่ตัวเองมีใน Treasury ไปโหวตให้กับ Pool ต่างๆเพื่อรับเงินสินบนกลับไปเป็นรายได้เพิ่มเติมอีกด้วยนั่นเอง

4) “Bribe Marketplace” ตัวกลางในการส่งส่วยมูลค่าหลักล้าน

Bribe Marketplace สองเจ้าหลักๆในตลาด
(ขอบคุณภาพจาก : https://votium.app/ และ https://llama.airforce/#/)

ในปัจจุบันมี Bribe Marketplace ที่รองรับเงินสินบนสำหรับแพลตฟอร์มที่มี Pool อยู่ใน Curve Finance หลักๆ 2 เจ้า ได้แก่ Votium และ Llama Airforce ซึ่งก่อนหน้านี้เองทาง Curve Finance ได้มีการสร้าง Bribe Marketplace ของตัวเองที่ใช้ชื่อว่า bribe.crv.finance ขึ้นมาเป็นที่แรก แต่ด้วยความที่ bribe.crv.finance นั้นมีความ Manual ที่มากเกินไป Votium และ Llama Airforce จึงนำ Source Code ของ bribe.crv.finance ไปพัฒนาต่อให้มีฟีเจอร์ที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น

4.1) Votium

ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อแก้ Pain Point ของ bribe.crv.finance ในเรื่องการโหวต โดยผู้ถือ veCRV หรีอ vlCVX สามารถที่จะ Delegate สิทธิ์การโหวตของตัวเองไปให้ Votium และทาง Votium ก็จะเข้าไปโหวต Pool ที่ให้ผลตอบแทนเงินสินบนที่ดีที่สุดให้ทุกสองอาทิตย์ ซึ่งข้อดีตรงนี้ทำให้เราไม่ต้องมาคอยนั่ง Moniter ทุกสองอาทิตย์ว่าเราควรจะโหวต Pool ไหนดี เรามีหน้าที่เพียงแค่เข้าไป Claim เงินสินบนในรูปแบบเหรียญต่างๆที่แพลตฟอร์มนั้นให้กับเรามา

4.2) Llama Airforce

ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อแก้ Pain Point ของ Votium อีกที เนื่องจากเงินสินบนที่เราได้รับมานั้นจะอยู่ในรูปแบบเหรียญ Governance Token หลากหลายประเภท เราจึงต้องมาเสียเวลานั่ง Swap เหรียญเหล่านั้นเป็นเหรียญที่เราต้องการ

ทาง Llama Airforce จึงมีฟีเจอร์ที่สามารถให้ผู้ใช้งานฝากเหรียญ CVX ไว้กับแพลตฟอร์ม ทางแพลตฟอร์มจะนำไปล็อคและโหวต Pool ต่างๆให้ทุกสองอาทิตย์ และจะนำเงินสินบนทั้งหมดที่ได้มาในรูปแบบเหรียญต่างๆ Convert ให้กลายเป็น cvxCRV และนำไป Auto-compound ให้กับเรา

ผลโหวตที่ผู้ถือ vlCVX เข้าไปโหวต Pool ต่างๆใน Curve Finance ที่จะได้รับผลตอบแทนมากที่สุด
(ขอบคุณภาพจาก :https://vote.convexfinance.com/#/proposal/0xe2144b24dcfd88687678cb0e38e6e15b8ef6b77c7b0bca4d4d45eee832677131)
ข้อมูลในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2023

ซึ่งหากอ้างอิงจากรูปภาพด้านบนที่ได้เล่าให้ฟังไปแล้วในหัวข้อ 3) ผู้ที่มีผลโหวต vlCVX มากที่สุดในรอบการโหวตที่ผ่านมา นั่นก็คือ Votium.eth หรือ Votium (กรอบแดง) สิ่งนี้แสดงให้เห็นถึงการที่ผู้ถือ vlCVX นั้นไว้ใจยอม Delegate สิทธิ์ของตัวเองให้ Votium ไปช่วยโหวตให้ ซึ่งถึงแม้ว่า Llama Airforce จะมีฟีเจอร์การนำเงินสินบนของเราไป Convert เป็น cvxCRV ให้ แต่สิ่งนี้ก็ยังไม่จูงใจให้คนเข้าไปฝากใน Llama Airforce อยู่ดี

นอกจากนี้ก็ยังมี Redacted Cartel (กรอบเขียว) และ BadgerDAO (กรอบฟ้า) แพลตฟอร์มที่ถือครอง vlCVX มากที่สุดเป็นอันดับ 4 และ 3 ตามลำดับ ยังได้เข้ามามีส่วนร่วมในการโหวตเพื่อรับสินบนในครั้งนี้อีกด้วย สำหรับ BadgerDAO นั้นมีการกระจายเสียโหวตไปยัง Pool ต่างๆทั้งที่เป็น Pool เหรียญของตัวเองใน Curve Finance และโหวตเพื่อรับสินบนจาก Pool อื่นๆ

สำหรับ Redacted Cartel ผู้ซึ่งไม่มีเหรียญของตัวเองและไม่ได้มีส่วนได้ส่วนเสียกับ Curve Finance เลย แต่ที่เขาเลือกที่จะเก็บสะสม CVX ให้ได้มากที่สุดจนติด Top 4 ก็เพราะรายได้จากค่าสินบนที่แพลตฟอร์มเก็บได้ทุกสองอาทิตย์นั้น ถือเป็นรายได้หลักที่ให้ผลตอบแทนที่สูงที่สุดของแพลตฟอร์มเลย

อ่านบทความเรื่อง Redacted Cartel เพิ่มเติมได้ที่ : EP.1 / EP.2

สิ่งนี้จึงเป็นการตอบคำถามที่ผู้เขียนให้ค้างไว้ตั้งแต่หัวข้อ 3) ว่า การล็อค CVX เป็น vlCVX นั้น ถึงแม้จะให้ผลตอบแทนแค่เฉลี่ย 3% ต่อปี แต่สาเหตุที่คนยังเข้ามาล็อคจนมี TVL สูงกว่า 330 ล้านดอลลาร์ เพราะพวกเขามองว่า ผลตอบแทนที่คาดหวัง ไม่ใช่มาจากการล็อค CVX เพื่อให้ได้ APR 3% แต่เป็นผลตอบแทนที่ได้จากเงินสินบนที่ได้ทุกสองอาทิตย์นั่นเอง

มูลค่าการติดสินบนทั้งหมดใน Votium
(ขอบคุณภาพจาก : https://dune.com/rplust/Vote-Locked-Convex-Token-(vlCVX)-Bribes)

ถึงแม้ในช่วงตลาดหมี สัดส่วนของการติดสินบนจากแพลตฟอร์มต่างๆมีน้อยลงเรื่อย แต่หากกลับไปดูที่จุดพีคของการติดสินบนนั้นมีมูลค่าสูงถึง 20 ล้านดอลลาร์ และเป็นมูลค่าสินบนเพียงรอบการโหวตรอบเดียวเท่านั้น ซึ่งหาก Assume ว่ามูลค่าสินบน 20 ล้านดอลลาร์จะเกิดขึ้นทุกๆการโหวต 2 อาทิตย์ เท่ากับว่าแพลตฟอร์มที่มี Pool ของตัวเองใน Curve นั้นมีการจ่ายเงินสินบนเฉลี่ยปีละราวๆ 520 ล้านดอลลาร์

ซึ่งทาง Votium และ Llama Airforce นั้นมีการเก็บ Maintanance Fee จากผู้ที่นำ vlCVX มา Delegate/นำ CVX มาฝากไว้กับแพลตฟอร์มอยู่ที่ 4% จึงทำให้ปีนึง ทั้งแพลตฟอร์ม Llama Airforce และ Votium นั้นได้รับค่าธรรมเนียมในอัตราที่สูงมาก และแน่นอนว่าการติดสินบนจากแพลตฟอร์มเหล่านี้จะเกิดขึ้นอยู่เรื่อยๆ รวมไปถึงมันเป็นตลาดแข่งขันสมบูรณ์ที่มีคู่แข่งรายใหม่เข้ามาแช่งชิง Liquidity ใน Curve Finance อยู่ตลอด

จึงปฏิเสธไม่ได้เลยว่า Bribe Marketplace จึงเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่น่าจับตามองอย่างมาก ซึ่งทาง Redacted Cartel ก็ได้สร้าง Bribe Marketplace สำหรับแพลตฟอร์มอื่นๆที่ใช้ veToken Model อีกด้วย

อ่านบทความเรื่อง Redacted Cartel เพิ่มเติมได้ที่ : EP.1 / EP.2

5) Curve Wars ดูมีแต่รายใหญ่ที่สู้กัน รายย่อยอย่างเราทำอะไรได้บ้างมั้ย?

แน่นอนว่าสิ่งเดียวที่รายย่อยสามารถเข้ามามีส่วนร่วมกับสงครามครั้งนี้ได้ ก็คือ การเข้ามาล็อค CVX เป็น vlCVX และเข้าไปโหวตทุกสองอาทิตย์เพื่อรับเงินสินบนนั่นเอง ต่อไปเราจะมาลองคำนวณคร่าวๆเกี่ยวกับผลตอบแทนที่คาดหวังที่เราควรจะได้รับจากเงินสินบนกันครับ

สัดส่วนเงินสินบนของแต่ละแพลตฟอร์มที่ติดไว้ให้กับผู้ถือ vlCVX ให้มาโหวต
(ขอบคุณภาพจาก : https://llama.airforce/#/bribes/rounds/votium/cvx-crv/32)
ข้อมูลในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2023

จากข้อมูลการโหวตในรอบวันที่ 21/2/2023 หากสมมุติเราถือ 1,000 vlCVX และเรานำไปโหวตให้กับ Pool FRAX+3Crv ซึ่งเป็นพูลของ Frax Finance ที่มีการให้สัดส่วนเงินสินบนทั้งหมด $0.06678 ต่อ 1 vlCVX ดังนั้น เราจะได้รับเงินสินบนมูลค่า $66.78 ในรูปแบบเหรียญ FXS ต่อการโหวตหนึ่งครั้ง (แต่ละ Pool จะให้รูปแบบเงินสินบนที่ไม่เหมือนกัน)

และหากเปรียบเทียบเป็นผลตอบแทนรายปี โดยให้ราคาเหรียญ CVX เท่ากับ $5.5 (เรามี 1000 vlCVX = $5,500) ซึ่งถ้า Assume ว่าทาง Frax Finance มีการให้สัดส่วนผลตอบแทนเท่าเดิมตลอดทั้งปี, ราคา FXS เท่าเดิมตลอดปี และเราเข้ามาโหวต Pool เดิมตลอดทั้งปี เฉลี่ยแล้วในหนึ่งปีเราจะได้รับผลตอบแทนราวๆ $1,736 หรือคิดเป็น APR = 32%

สำหรับนักลงทุนอาจจะมองว่า 32% APR มันไม่ได้มากขนาดนั้น แต่ถ้ามองในมุมมองของวาฬแล้ว สัดส่วน APR 32% ที่มีโอกาสจะได้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆหากมีการแข่งขันกันสูงขึ้นระหว่างแพลตฟอร์ม รวมไปถึง Upside ของราคาเหรียญสินบนแต่ละประเภทที่มีโอกาสดีดสูงขึ้น สิ่งนี้จึงถือเป็น Strategy หลักในการหา Cash Flow ของวาฬเลยนั่นเอง

ซึ่งการที่ผมใช้คำว่ารายย่อยก็อาจจะไม่ถูกซักทีเดียวนัก เนื่องจากการ Process ทั้งหมดนั้นเกิดขึ้นใน Ethereum ที่มีค่าธรรมเนียมที่แพงที่หลายๆคนอาจจะไม่สามารถเข้าถึงได้ สำหรับใครที่สนใจอยากเข้ามาทดลองการโหวตเพื่อรับเงินสินบน ทุกวันนี้ก็มีแพลตฟอร์ม veToken ที่มีโมเดลที่น่าสนใจเกิดขึ้นเยอะมาก ไม่ว่าจะเป็น Velodrome ของ Optimism รวมไปถึง Thena จาก BSC ผู้อ่านก็สามารถเข้าไปล็อคเหรียญ VELO หรือ THE เพื่อที่จะไปโหวต Pool ต่างๆของแพลตฟอร์มเหล่านี้ทุกสองอาทิตย์เพื่อรับเงินสินบนก็ได้เช่นกัน

6) บทสรุปปิดท้าย

“สภาพคล่อง” ถือเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดไม่ว่าจะทั้งใน TradFi หรือ DeFi ซึ่งหากมองในมุม Decentralized Exchange นั้น Stablecoin ที่มีสภาพคล่องที่สูงที่สุดจะย่อมได้เปรียบเสมอในทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเป็น Slippage รวมถึง Deep Liquidity และแน่นอนว่าทุกแพลตฟอร์มที่สร้าง Stablecoin ย่อมมีจุดหมายเดียวกันนั่นก็คือ การทำทุกวิถีทางให้เหรียญของตัวเองเกิด Mass Adoption และ Low Volatility ที่สุด และการจะไปถึงจุดหมายนั้นให้ได้เร็วที่สุด คือการเข้าร่วมกับ Curve Finance เพื่อสร้าง Pool เหรียญตัวเองขึ้นมา

และถึงแม้แพลตฟอร์มเหล่านี้จะสามารถเข้ามา Deploy เหรียญบน Curve ได้แล้ว แต่อีกหนึ่งสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ก็คือ “Curve Wars” เพราะถ้าหากตัวแพลตฟอร์มไม่ Take Action ใดๆกับสงครามครั้งนี้ สุดท้ายก็จะเป็นไปตามกฎของธรรมชาติคือ สภาพคล่องจะไหลจากผลตอบแทนต่ำไปยังผลตอบแทนสูง ทำให้ Pool ของตัวเองไม่เกิด Deep Liquidity และหมดความน่าสนใจลงในที่สุด

ผมจึงปฎิเสธไม่ได้เลยว่า สงครามครั้งนี้เป็นเกมของทุนนิยม แน่นอนว่าอะไรที่มีเม็ดเงินเข้ามาเกี่ยวกับข้องมันมักจะดึงดูดผู้คนมาเสมอ และไม่ใช่สงครามที่เป็น Winner Takes All ในอนาคต Frax Finance อาจจะไม่ได้ครอบครอง CVX ที่เยอะที่สุดก็ได้ รวมไปถึงในอนาคต Frax Finance อาจจะไม่ได้เงินสินบนมาติดให้กับผู้ถือ vlCVX ในสัดส่วนที่สูงที่สุดก็ได้เช่นกัน

แต่อีกหนึ่งสิ่งที่น่าจับตามองและน่ากลัวที่สุดสำหรับ Curve Wars และอาจเป็นสงครามที่ Winner Takes All ได้ นั่นก็คือ การร่วมมือกันของรายใหญ่ เพราะในช่วงเดือนเมษายน 2022 ที่ผ่านมา หลายๆคนเกือบจะได้เห็น “4pool” ของ Curve Finance ซึ่งประกอบไปด้วย USDC, USDT, FRAX และ UST ซึ่งถูกดัดแปลงมาจาก 3pool แต่มีการนำ DAI ออกและแทนที่ด้วย UST/FRAX แต่ทว่า UST นั้นดันล่มสลายไปก่อน ซึ่งถ้าหาก 4pool เกิดขึ้นจริง Small Cap Stablecoin อาจจะอยู่ไม่รอดในสงครามครั้งนี้เลยก็ได้เนื่องจาก Frax Finance และ Terra ซึ่งเป็นผู้ถือ CVX มากที่สุดสองอันดับแรก รวมไปถึงมีเม็ดเงินรอสำหรับติดสินบนผู้ถือ vlCVX ให้มาโหวต 4pool อย่างมหาศาล ถ้าสิ่งนี้เกิดขึ้นจริง มันอาจทำให้ Stablecoin Pool อื่นใน Curve Finance อาจจะไม่มี Demand จากรายย่อยในการเข้าไปฟาร์มได้เลยนั่นเอง

สุดท้ายนี้ สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นหรือไม่นั้นเราก็ต้องคอยติดตาม คอย Moniter Activity จากแพลตฟอร์มต่างๆอยู่เสมอเพื่อไม่ให้พลาดโอกาสในการลงทุนและการ Take Action ต่างๆเพื่อลดความเสี่ยงครับ

.

❗️คำเตือนความเสี่ยง :

คริปโทเคอร์เรนซี่มีความเสี่ยงสูง ท่านอาจสูญเสียเงินลงทุนได้ทั้งจำนวนและสินทรัพย์ดิจิทัลมีความเสี่ยง โปรดศึกษาและลงทุนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ ผลตอบแทนของสินทรัพย์ดิจิทัลในอดีต มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลตอบแทนของสินทรัพย์ดิจิทัลในอนาคต

Author

Share :
Related
Anzen และ USDz: รูปแบบใหม่ของ Stablecoin ที่ Backed ด้วย Real-World Assets
Cryptomind Monthly Outlook - January 2025
Trump ไม่เซ็นต์ Executive Order เกี่ยวกับคริปโตฯ ในวันแรก! ตลาดจะเดินหน้าอย่างไรต่อ?
Ethena และ USDe กับยุคใหม่ของ Stablecoin