Search
Close this search box.

Cryptomind Monthly Outlook (September 2023)

Share :
monthly cover

Table of Contents

*ข้อมูลระหว่างวันที่ 16 สิงหาคม 2023 – 14 กันยายน 2023

สรุปข่าวเด่น

ค่าเงินบาท: 36 THB/USD on Scope 

ค่าเงินบาทมีแนวโน้มผันผวน ในกรอบ 35.6 – 35.8  บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ โดย ณ ปัจจุบัน อัตราการแลกเปลี่ยนอยู่ที่ 35.4 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ แต่มีโอกาสที่กลับอ่อนค่ากลับไปที่ 36 บาทต่อดอลล่าร์ในเร็วๆนี้ โดยมี 3 ปัจจัยคอยจับตามองดังนี้ 

1. DXY ดัชนีดอลล่าร์กำลังทดสอบแนวรับที่ 104.5 : จากข้อมูลการเคลื่อนไหวของ DXY รูปทางขวามือจะเห็นได้ว่าการขยับตัวของดอลล่าร์นั้นเริ่มแข็งค่ามากขึ้นเรื่อยๆและมีแนวโน้มที่จะแข็งค่าต่อ ซึ่งจะสามารถกดดันค่าเงินอื่นได้ เนื่องจากเศรษฐกิจของอเมริกาดูดีกว่าประเทศอื่นๆ ถึงแม้จะมีปัญหาเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นเล็กน้อย

2. การเทขายหุ้นไทย และพันธบัตรไทย : ประเทศเพิ่งได้ทำการจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่พร้อมกับ ครม. สำเร็จ แต่นโยบายอาจจะไม่ค่อยมีความชัดเจนเท่าที่ควร ซึ่งส่งผลให้มีแรงเทขายของนักลงทุนต่างชาติในหุ้นไทยและพันธบัตรไทยมากขึ้น บวกกับปัจจัยหุ้นไทยบางตัวเริ่มมีการผิดนัดชำระหนี้เกิดขึ้นเนื่องจากปัญหาสภาพคล่อง3. เศรษฐกิจฝั่งเอเชียไม่สู้ดี: เนื่องจากประเทศจีนที่เป็นเหมือนพี่ใหญ่ของเศรษฐกิจภาคเอเชียนั้นมีปัญหาในด้านเศรษฐกิจหนักกว่าที่คาด ไม่ว่าจะเป็นปัญหาอสังหาริมทรัพย์ ปัญหาการตกงานของเด็กจบใหม่ ทำให้เศรษฐกิจฝั่งเอเชียนั้นไม่ได้ดูดีขนาดนั้น ส่งผลให้ไทยเองที่หวังพึ่งประเทศจีนอยู่เยอะ ก็จะได้รับผลกระทบไปด้วย 

Macroeconomics: Inflation is coming back

หลังจากตัวเลข Headline CPI ของเดือนสิงหาคมประกาศออกมา พบว่าเงินเฟ้อแบบ Month on Month อยู่ที่ 0.6% มากกว่าเดือนกรกฎาคมที่ 0.2% ซึ่งไปเป็นตามที่ตลาดคาดการณ์ ในเมื่อเงินเฟ้อแบบ m/m นั้นพุ่งสูงแล้ว ก็จะส่งผลกระทบไปที่เงินเฟ้อแบบ Year on Year เช่นกัน ซึ่งตัวเลขอยู่ที่ 3.7% ซึ่งมากกว่าเดือนก่อนที่ 3.2% ซึ่งปัจจัยหลักๆ ที่ทำให้เงินเฟ้อดีดตัวขึ้นไปสูงมากจากปัจจัยของ “พลังงาน” ที่เริ่มมีราคาที่สูงขึ้นหลังจาก รัสเซีย และ ซาอุ ตัดสินใจลดกำลังการผลิตน้ำมันลง ส่งผลให้เงินเฟ้อฝั่ง Energy พุ่งสูงขึ้นอย่างชัดเจน ถ้าสังเกตตารางทางขวามือจะเห็นได้ว่า ตัวเลขของ Gasoline (all types) และ Fuel oil มีราคาเพิ่มสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด จาก 0.2 สู่ 10.6 และ จาก 3.0 สู่ 9.1 ตามลำดับ

แต่สิ่งที่น่าจับตามองอีกอย่างก็คือ Core CPI เงินเฟ้อที่ไม่รวมพลังงานและอาหารที่เพิ่มขึ้นมาเป็น 0.3% จาก 0.2% แสดงให้เห็นว่าเงินเฟ้อฝั่งนี้เริ่มเอาลงยากขึ้น ซึ่งข้อมูลจาก FedwatchTool แสดงให้เห็นว่าตลาดเริ่มมองกันว่า Fed น่าจะไม่ขึ้นดอกเบี้ยอีกในงาน FOMC (อ้างอิงข้อมูลจาก CME Group) ที่เหลือก่อนจะจบปี 2023 นี้ ดังนั้นมุมมองของนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่มองว่าน่าจะเป็นจุด Peak ของดอกเบี้ยแล้ว  ดังนั้นในช่วงที่เหลือของปี 2023 น่าจะเป็นจังหวะการสะสมคริปโตฯที่ดี

สภาวะตลาด DeFi โดยรวม  

ภาพรวมตลาดคริปโตฯในช่วงเดือนที่ผ่านมาปรับตัวลงค่อนข้างมากตามสถิติที่มักจะเกิด Red September โดยปัจจัยหลักที่ทำให้ตลาดคริปโตฯ ไม่ไปไหนส่วนหนึ่งมาจากเศรษฐกิจมหภาคที่ยังถูกกดดันด้วยเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยระดับสูงที่น่าจะคงสถานการณ์แบบนี้ไปสักระยะ รวมถึงตลาดมีปัจจัยลบกดดัน อย่างเช่น การเลื่อนอนุมัติของ Spot Bitcoin ETF และข่าวการเทขายสินทรัพย์ของ FTX เป็นต้น

สำหรับตลาด DeFi ภาพรวม DeFi TVL ถือว่าทรงตัวโลยลดลงแค่ 1% เทียบกับเดือนที่ผ่านมา โดยเชน Ethereum ปรับลดลงเยอะที่สุดที่ 6.25% สอดคล้องกับบทวิเคราะห์ของทาง CryptoQnant ว่าความนิยมการใช้งานตอนนี้ไปอยู่ที่ Ethereum Layer 2 มากกว่า

ซึ่งกระแสของ Layer 2 มาแรงมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเชนที่เพิ่งเปิดตัวใหม่ไปไม่นานอย่าง Base และ Linea โดยอย่าง Base มี TVL เติบโตในช่วง 30 วันมากถึง 172% นำโดยแพลตฟอร์มหลักคือ Aerodrome และ Friend.tech ที่เป็นที่พูดถึงกันอย่างมากในช่วงที่ผ่านมา (ฟังเพิ่มเกี่ยวกับ Friend.tech ได้ที่นี่)

นอกจากนี้ ล่าสุดทางนักพัฒนา BNB Chain เพิ่งเปิดตัว Mainnet ของเชน opBNB ที่พัฒนาโดยใช้เทคโนโลยีในแบบเดียวกับ OP Stack ซึ่งเป็นภาพที่ชัดมากขึ้นว่าการใช้งาน DeFi จะ Shift ไปบน Layer 2 มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง  EIP-4844 ที่น่าจะใกล้เข้ามาเรื่อยๆ จึงน่าจับตามองกลุ่ม Layer 2 พร้อมกับ DApps ตัวหลักๆภายใน Ecosystem

Solana กลับมาเป็นที่พูดถึงอีกครั้งหลังมีข่าวดีมากมาย

ด้วยราคาเหรียญ SOL ที่ร่วงลงมามากกว่า -92% จากจุดสูงสุดในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2021 ที่ผ่านมา รวมไปถึง Back ใหญ่ของ Solana อย่าง FTX และ Alameda Research ต่างก็ล้มละลายและโดนศาลสั่งให้มีการเทขาย Asset ซึ่งประกอบด้วยเหรียญ SOL มูลค่ามากกว่า 1,160 ล้านดอลลาร์ จะต้องถูกเทขายอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลาหลายเดือน ยิ่งทำให้ Sentiment ในแง่ราคาเหรียญ SOL นั้นค่อนข้างไม่ดี และทำให้นักลงทุนสนใจ Solana น้อยลง

แต่อย่างไรก็ตามในแง่ Fundamental นั้น Solana ถือเป็นหนึ่งใน Layer 1 ไม่กี่ตัวในตลาดหมีที่เราได้เห็นการ Update ที่น่าสนใจออกมาอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง MakerDAO หนึ่งในแพลตฟอร์ม DeFi ยุคบุกเบิกจากฝั่ง Ethereum ที่ทาง Co-founder ได้ออกมาพูดถึง Endgame Roadmap ว่าทางแพลตฟอร์มจะออกมาทำ Blockchain เป็นของตัวเอง (App-chain) โดยอาจจะใช้ Code-based ของ Solana โดยได้ให้เหตุผลถึงประสิทธิภาพการทำงานที่สูงของ Solana ในการสร้างเชน

รวมไปถึงเรื่องระบบ Payment ของ Solana ก็มีข่าวที่น่าสนใจไม่แพ้กัน ไม่ว่าจะเป็น Visa ที่ประกาศเปิดให้ชำระเงินเป็น USDC ผ่าน Solana ซึ่งได้รับความร่วมมือจาก Worldpay และ Nuvei โดยการร่วมมือครั้งนี้จะช่วยให้ระบบการชำระเงินแบบ Cross-border Settlement มีประสิทธิภาพมากขึ้น เร็วขึ้น และต้นทุนต่ำลง รวมไปถึงทาง Solana Pay ก็ได้ประกาศพาร์ทเนอร์ร่วมกับ Shopify ซึ่งทำให้ผู้ใช้งานสามารถชำระเงินเป็น USDC บน Solana ได้อีกด้วย

ถึงแม้การร่วมมือดังกล่าวอาจไม่ได้ส่งผลโดยตรงต่อราคาเหรียญ SOL ในปัจจุบัน แต่จากข่าวเหล่านี้เราอาจประเมินได้ว่า ความพยายามของ Solana ในการที่จะ On-board ผู้ใช้งานจาก Web 2.0 ให้เข้ามา Web 3.0 มากยิ่งขึ้น อาจช่วยให้ความน่าสนใจของ Solana กลับมาอีกครั้งในตลาดกระทิงครั้งหน้านั่นเอง

FTX เริ่มขายสินทรัพย์เพื่อชำระหนี้

Exchange FTX และ Alameda research ได้รับการอนุมัติจากศาลให้เทขายทรัพย์สินมูลค่ากว่า $3.4b ที่ยังมีค้างอยู่นับตั้งแต่ Exchange ได้ทำการเปิดตัวไป เพื่อนำไปชำระหนี้ให้แก่ลูกค้าที่โดนผลกระทบจากการล่มสลายของ FTX

ศาลจะอนุมัติให้เริ่มทยอยขายทรัพย์สิน ในวันที่ 13 กันยายน 2023 ซึ่งจะยกเว้นเหรียญ Bitcoin, Ethereum และ “โทเค็นในเครือภายในบางส่วน” โดยจะสามารถขายได้ $50m ในสัปดาห์แรกและ $100m ในสัปดาห์ต่อ ๆ ไป และสามารถเพิ่มวงเงินได้ถึง $200m
ทรัพย์สินหลักที่ FTX ถืออยู่ประกอบด้วย SOL $1.16b, BTC $560m, ETH $192m, APT $137m, USDT $120m, XRP $119m, BIT $49m, STG $46 m, WBTC $41m และ WETH $37m

ถ้าหาก FTX ได้เริ่มทยอยขายเหรียญเหล่านี้ ก็จะทำให้มีแรงเทขายจำนวนมหาศาลที่เข้ามาสู่ตลาด ยังไม่นับรวมความกังวลของนักลงทุนอื่นๆ ที่อาจจะทำการขายเหรียญที่มีอยู่ออกมาอีกด้วย เหรียญที่จะต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษที่ FTX ถือเยอะและจะส่งผลต่อราคาในตลาดคือเหรียญ SOL, APT, Doge, TRX และ Matic 

“Andrei Grachev” Ceo ของ DWF Labs และ “Justin Sun” Ceo ของ Tron จึงสนใจที่จะเข้าซื้อทรัพย์สินที่จะถูก บังคับขายของ FTX ในรูปแบบ OTC เพื่อลดผลกระทบของราคาที่อาจจะส่งผลต่อตลาด ถ้าหาก FTX เทขายทรัพย์สินเหล่านี้ลงสู่ตลาดโดยตรง

ตารางการปลดเหรียญที่น่าจับตามอง

เปรียบเทียบผลตอบแทนระหว่างพันธบัตรระยะสั้นและการฟาร์ม Stablecoin

ผลตอบแทนที่ได้จากพันธบัตรรัฐบาลระยะสั้นสหรัฐ (Treasury Bills) แบบระยะสั้น 3 เดือน ที่มีความเสี่ยงต่ำ แต่มีสภาพคล่องและผลตอบแทนสูง ให้ผลตอบแทนเฉลี่ยปีละ 5.32% ส่วนผลตอบแทนจากการฟาร์มหรือปล่อยกู้ Stablecoin บนแพลตฟอร์มต่างๆในช่วงนี้ให้ผลตอบแทนเฉลี่ยในอัตราที่ไม่ห่างกันเท่าไหร่นักที่ 6.26% อย่างไรก็ตามสำหรับการฟาร์ม Stablecoin สามารถเลือกฝากกับแพลตฟอร์มที่มีผลตอบแทนสูงกว่าค่าเฉลี่ยได้ อย่างเช่นในช่วงนี้ Traderjoe และ Velodrome ที่ช่วงนี้ให้ผลตอบแทนค่อนข้างสูงกว่าค่าเฉลี่ย 

โดยผลตอบแทนฟาร์มและปล่อยกู้ Stablecoin ลดลงจากเดือนก่อนๆพอสมควร เป็นเพราะว่าสภาวะตลาด คริปโตฯ และ DeFi ลดความร้อนแรงลงจากการถูกกดดันจากสภาวะเศรษฐกิจมหภาคที่ยังไม่นิ่ง รวมถึงขาดปัจจัยภายในขับเคลื่อน ทำให้ธุรกรรมซื้อขายแลกเปลี่ยนและราคาเหรียญที่แจกเป็น Incentive ลดลง

เปรียบเทียบผลตอบแทน DeFi Farming บนบล็อกเชนต่างๆ

สภาวะตลาด NFT

สภาวะตลาด NFT ในช่วง 30 วันที่ผ่านมาพบว่าปริมาณซื้อขาย รวมไปถึงจำนวนผู้ใช้งาน NFT บน  Blockchain ต่างๆ ทั้ง Ethereum, Polygon, Solana มีการปรับตัวลงต่อเนื่องจากช่วงที่ผ่านมา ตลาดยังมีปริมาณการเทขายที่เยอะขึ้น โดยสิ่งที่ชัดเจนที่สุดคือจำนวนผู้ขายในฝั่ง Polygon เพิ่มขึ้นถึง 137%
ในด้านของ Volume การซื้อขาย ทุก Collection ไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ได้รับผลกระทบและปรับตัวลงทั้งหมด ซึ่งหลายๆ collection กระทบไปถึง Floor Price ที่มีการปรับลดลงอีก ในขณะเดียวกัน Cryptopunks แม้ว่าจะมี Volume การซื้อขายที่ลดลง แต่ Floor Price ไม่ได้ลดลงมากซึ่งอาจจะเป็นผลจากการที่ Larva Labs เพิ่งเซ็นต์สัญญากับ UTA ของ Hollywood ไป

ในตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ตลาด NFT ยังคงมีการปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง และยากที่จะบอกว่าในจุดๆนี้เป็น Bottom แล้วหรือยัง แต่จะสามารถมองเห็นถึงการ Partner และ Adoption ที่มาจากฝั่ง Web2.0 มากขึ้น Collection ต่างๆที่แสดงถึงความสามารถเหล่านี้น่าจะนำมาพิจารณาในการเก็บ

Top 5 Volume Projects (Collectible NFT)

Larva Labs เซ็นต์สัญญากับ United Talent Agency (UTA) ของ Hollywood

เมื่อวันที่ 1 กันยายนที่ผ่านมา Cointelegraph เผยว่า Larva Labs ได้เซ็นต์สัญญากับ United Talent Agency (UTA) ของ Hollywood ในการนำ Cryptopunks, Meebits, Autoglyphs ไปใช้ในข้อตกลงทรัพย์สินทางปัญญาในภาคความบันเทิง

จากการเซ็นต์สัญญานี้ทำให้ Volume 1 อาทิตย์ของ Collection เหล่านี้เพิ่มขึ้นถึง 305 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ในนัยยะของสัญญาในครั้งนี้ ไม่ได้เป็นเพียงความสำเร็จของทาง Larva Labs และ Collection เหล่านี้เท่านั้น แต่ยังสื่อถึง NFT ที่เริ่มเป็นที่สนใจมากขึ้นจากฝั่ง Mainstream และหลังจากครั้งนี้เอง อาจจะขยายไปยัง Collection อื่นๆในอนาคต

Authors

Share :
Related
DeSci: เมื่อ Web3 ปฏิวัติวงการวิทยาศาสตร์และการวิจัย
Cryptomind Monthly Outlook (November 2024)
Cryptomind Monthly Outlook (October 2024)
Thailand Blockchain Landscape 2024