Search
Close this search box.

Cryptomind Monthly Outlook (May 2024)

Share :
monthly

Table of Contents

*ข้อมูลระหว่างวันที่ 17 เมษายน 2024 – 15 พฤษภาคม 2024

สรุปข่าวเด่น

Bitcoin ETF Flow

Bitcoin ETFs Flow ของเดือนพฤษภาคม

จากตารางทางด้านขวามือ อ้างอิงจากข้อมูลจาก Farside.co.uk ในเดือนพฤษภาคม หลังจากที่ Bitcoin มีการ Halving ในเดือนเมษายน ได้มีการอนุมัติ Crypto ETFs ของทางฮ่องกง และเริ่มการซื้อขายในวันที่ 2 พฤษภาคม โดยรวมตั้งเเต่มีการเริ่มอนุมัติให้ซื้อขาย ETFs ในฮ่องกง ตัวเลขตั้งเเต่วันที่ 2 ถึง วันที่ 13 พฤษภาคม ยังคงติดลบอยู่ เเสดงถึงความกังวลของนักลงทุนที่มีต่อสินทรัพย์ดิจิทัล ซึ่งเพิ่งผ่าน Event ใหญ่อย่าง Halving มาไม่นาน และจากประวัติฯ ของราคา Bitcoin แล้ว หลังจาก Halving ราคาของเหรียญจะลงและค่อยขึ้นต่อ

ข้อมูลจาก Farside.co.uk ในฝั่งของ ETFs BTC US  ในสัปดาห์ที่ผ่านมาจะเห็นกระแสเงินสดไหลเข้าสุทธิที่เป็นบวก แต่ในมุมมองโดยรวมแสดงถึงกระแสเงินไหลเข้า ETF BTC ที่เริ่มคงที่ ซึ่งอาจจะแสดงถึงความเริ่มไม่มั่นใจของนักลงทุนใน ETF BTC เนื่องจากราคา BTC ที่เคลื่อนตัวอยู่ในกรอบและสภาวะตลาดที่ไม่แน่นอน

จากตารางทางซ้ายมือจะเเสดงให้เห็นได้ว่าภาพรวมของ Bitcoin ETFs ของ US นั้นมีเริ่มมีเงินไหลเข้ามา และที่สำคัญเลยคือ GBTC หรือ Grayscale นั่นได้มีกระเเสเงินไหลเข้าเป็นบวกแล้ว จากที่กระเเสเงินใน GBTC นั่นติดลบมานานมาก

สาเหตุหนึ่งที่ทำให้ ETFs flow ของ US นั่นเริ่มที่คงที่อาจเป็นเพราะ Bitcoin Halving ที่ได้เกิดขึ้นและยังคงมีความกังวลในการซื้อ Bitcoin เกิดขึ้นอยู่จึงทำให้ภาพรวมในต้นเดือนพฤษภาคม นั่นกระเเสเงินยังค่อนข้างที่จะคงที่อยู่

ค่าเงินบาท: DXY SIDEWAY

ค่าเงินบาทมีแนวโน้มวิ่งในกรอบ: ค่าเงินบาทเคลื่อนที่ในกรอบ 37.5 – 36.5 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ โดย ณ ปัจจุบัน อัตราการแลกเปลี่ยนอยู่ที่ประมาณ 36.7 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ และคาดการณ์ว่าไทยบาทมีโอกาสที่จะวิ่งในกรอบนี้ โดยมี 2 ปัจจัยคอยจับตามองดังนี้ 

1. DXY ดัชนีดอลล่าร์ที่วิ่งในกรอบ: จากข้อมูลการเคลื่อนไหวของ DXY รูปทางขวามือจะเห็นได้ว่าการขยับตัวของดอลล่าร์นั้น เริ่มมีการเคลื่อนที่ในกรอบ 107.2-105.2 เนื่องด้วยความไม่แน่นอนของนโยบายทางการเงินที่ยังรักษาอัตราดอกเบี้ยและอาจจะไม่ลดอัตราดอกเบี้ยในเร็วๆนี้ แสดงถึงความลังเลของนักลงทุนที่มีมุมมองต่อค่าเงินดอลล่าร์2. ค่าเงินบาท: ค่าเงินบาทเริ่มจะมีการพักตัวเนื่องจากแนวโน้มที่มีการอ่อนค่าของมูลค่าทางการเงินอย่างต่อเนื่องในเดือนที่ผ่านมาจนทะลุ 37 บาททำให้เริ่มมีกระแสเงินจากต่างประเทศไหลเข้ามาจากการท่องเที่ยวทำให้ยังสามารถรักษาระดับค่าเงินไว้ในกรอบ 37.5 – 36.5 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ

Macroeconomics: MAR CPI & Unemployment Rate

อัตราเงินเฟ้อยังคงสูงกว่าเป้าหมายระยะยาว 2%

ดัชนี Core CPI (นอกจากอาหารและพลังงาน) สำหรับเดือนมีนาคม 2024 อยู่ที่ 0.4% ซึ่งอยู่ในระดับเดียวกับเดือนก่อนหน้า โดยอาหารและพลังงาน เพิ่มขึ้น 0.4% จากเดือนก่อนหน้าในเดือนมีนาคม เท่ากับในช่วงสองเดือนก่อนหน้าและสูงกว่าการคาดการณ์ของตลาดที่ 0.3% ราคาผู้บริโภคสูงขึ้นอย่างมากสำหรับบริการขนส่ง (1.5% เทียบกับ 1.4% ในเดือนกุมภาพันธ์) และเครื่องแต่งกาย (0.7% เทียบกับ 0.6%) ในขณะที่ราคายังคงสูงในด้านที่พัก (0.5% เทียบกับ 0.5%) และดีดตัวขึ้นสำหรับบริการทางการแพทย์ (0.6% เทียบกับ -0.1%) เมื่อเทียบเป็นรายปี อัตราเงินเฟ้อยังคงไม่เปลี่ยนแปลงที่ 3.8% 

อัตราการว่างงานในสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นเป็น 3.9% ในเดือนเมษายน 2024 จาก 3.8% ในเดือนก่อน โดยจำนวนผู้ว่างงานเพิ่มขึ้น 63,000 คนเป็น 6.492 ล้านคน ขณะที่ระดับการจ้างงานเพิ่มขึ้น 25,000 คนเป็น 161.491 ล้านคน นอกจากนี้ อัตราการมีส่วนร่วมของกำลังแรงงานไม่เปลี่ยนแปลงที่ 62.7% และอัตราส่วนการจ้างงานต่อประชากรลดลงเหลือ 60.2% จาก 60.3%ความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐเพิ่งลดลงสู่ระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2023 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคลดลงจาก 77.2 ในเดือนเมษายนเป็น 67.4 ในเดือนพฤษภาคม ซึ่งต่ำกว่าคาดมากความคาดหวังของชาวอเมริกันเกี่ยวกับเศรษฐกิจ การเงินส่วนบุคคล ธุรกิจ และเงื่อนไขการซื้อ ก็ลดลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 6 เดือนเช่นกัน ในขณะเดียวกัน ผู้บริโภคคาดว่าอัตราเงินเฟ้อปีหน้าจะเพิ่มขึ้นเป็น 3.5% ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2566 แสดงถึงความตึงเครียดจากภาวะเงินเฟ้อในมุมของผู้บริโภค

สภาวะตลาด DeFi โดยรวม

ภาพรวมตลาดคริปโตฯในเดือนพฤษภาคม ถึงแม้ว่าจะผ่อนคลายลงบ้างจากตัวเลขการจ้างงานของสหรัฐฯ แต่ยังมีความกังวลเงินเฟ้อ ดังนั้นตลาดโดยรวมยังคง Sideway เลือกทางอยู่ ซึ่งโดยรวมนักวิเคราะห์ยังมองว่าสถานการณ์เศรษฐกิจและสงครามยังคงต้องจับตาอยู่ต่อไป 

อย่างไรก็ตาม ตลาด DeFi ภาพรวม TVL ในช่วงเดือนที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นเล็กน้อยกว่า 5.4%  ซึ่งเชน Solana ยังร้อนแรงต่อเนื่อง โดยยังคงมี TVL ที่เพิ่มขึ้นมากกว่าเพื่อนถึง 23.26% เป็นผลมาจาก TVL ของแพลตฟอร์ม Sanctum (Liquid Staking) ที่เพิ่มขึ้นกว่า 276% มาจากกระแสการเก็ง Airdrop บนแพลตฟอร์มดังกล่าวที่ได้รับความสนใจอย่างมาก 

นอกจากนี้ เชนนอก Top 5 ที่มีการเติบโตน่าสนใจคือ Mode ที่เพิ่งประกาศแจก Airdrop สำหรับผู้ใช้งานไป และยังประกาศว่าจะมีการแจก Airdrop ต่อใน Season 2 โดยมีการเพิ่ม Incentive ที่มากขึ้นกว่าเดิม

หนึ่งกระแสที่หลายๆคนจับตามองก็คือ DeFi บน Bitcoin Layer 2 ที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยเชน Merlin ในเดือนที่ผ่านมาก็เติบโตกว่า 73% นำโดย Solv Finance ที่ทำเกี่ยวกับ Yield-Bearing Bitcoin ที่มี TVL สูงสุดบนเชน

ส่วนถ้าเจาะไปดูที่แพลตฟอร์ม DeFi รายตัว จะเห็นว่าตัวที่เติบโตสูงๆคือ Zircuit, Swell, Magpie ที่ล้วนเป็นแพลตฟอร์มที่เกี่ยวข้องกับ Ethereum Restaking ที่ยังไม่ออกเหรียญ ดังนั้น Narrative ของ Restaking ยังคงถือว่าน่าจับตามอง โดยในเดือนที่ผ่านมาทาง EigenLayer ก็เพิ่งประกาศให้เคลม Airdrop ไปแล้ว ซึ่งก็ต้องมี Season 2 ตามมาแน่นอน นักวิเคราะห์จึงมองว่าน่าจะเป็นปัจจัยผลักดันให้แพลตฟอร์ม Liquid Restaking ต่างๆ เช่น Ether.fi, Puffer, Renzo, Pendle เติบโตไปอีกได้

Ethereum พื้นฐานเปลี่ยนหลัง Dencun Upgrade ?

เมื่อช่วงอาทิตย์ที่ผ่านมา ทาง CryptoQuant ได้ปล่อย Report ที่มีการพูดถึง Ethereum ที่ทำให้หลายคนเข้าใจผิดอยู่พอสมควรจนอาจมีความกังวล โดยใน Report ได้กล่าวว่า Dencun Upgrade ของ Ethereum วันที่ 13 มีนาคมที่ผ่านมา ทำให้พื้นฐานของ Ethereum เปลี่ยนไป

โดยทำให้ Ethereum จากที่มีความเป็น Deflationary การการเบิร์น ETH ทิ้งตามการใช้งานที่มากขึ้น กลับมาเป็น Inflationary เนื่องจากข้อมูลบอกว่าหลังจากการอัปเกรดดังกล่าว แม้จำนวนธุรกรรมจะมากขึ้นแต่ Ethereum ก็ไม่ได้กลับไปเบิร์นเหมือนเดิม

แต่จริงๆ แล้ว Report ดังกล่าวมีบางส่วนที่ทำให้ผู้อ่านเข้าใจผิด เนื่องจาก Dencun Upgrade ไม่ได้ส่งผลต่อ Ethereum Mainnet มากนัก เพราะหลักๆแล้วจะเป็นการอัปเกรดเพื่อลดค่าธรรมเนียมบน Layer 2 และจะส่งผลต่อ Mainnet แค่ธุรกรรมจาก Ethereum Layer 2 ที่ปิดธุรกรรมลง Mainnet ซึ่งคิดเป็นส่วนน้อย

จากรูปจะเห็นว่า Daily Transactions ในช่วงหลังอัปเกรดดังกล่าวอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าช่วงการอัปเกรด อีกทั้งยังไม่มี Activity อะไรที่ทำให้แย่งกันใช้เหมือนตอนช่วงนั้น เนื่องจากตอนช่วงนั้นมีกระแสการใช้งาน dApps ต่างๆ อย่างเช่น Pendle, Eigenlayer, Liquid Restaking Protocol ต่างๆ ค่อนข้างมาก ทำให้มีการแย่งกันใช้งานมากกว่าในปัจจุบัน เป็นผลให้ในตอนนี้ที่ Ethereum มีการใช้งานน้อยลงพร้อมกับไม่ได้มีการแย่งกันใช้งานเหมือนตอนนั้นก็เลยทำให้ Ethereum เข้าสู่โหมด Inflationary แต่ทางเราเชื่อว่าถ้าตลาดกลับมาคึกคัก มีการใช้งาน DeFi เพิ่มขึ้น ก็จะทำให้ Ethereum กลับเข้าสู่โหมด Deflationary ได้เหมือนเดิม

อัปเดทสถานการณ์การเปิด ETF ของฮ่องกง

นับตั้งแต่ Hongkong ได้เปิดกองสินทรัพย์ดิจิทัลอย่าง Bitcoin และ Ethereum ETF ให้นักลงทุนชาว Hongkong ได้เข้าถึง ตั้งแต่วันแรกที่เปิดรวมเงินไปได้มากถึง 300 ล้านเหรียญสหรัฐ แต่อย่างไรก็ตามผลตอบรับหรือปริมาณเงินไหลเข้าและไหลออกตั้งแต่วันแรกจนถึงปัจจุบัน (2 – 13 พฤษภาคม 2567 ) โดยรวมแล้วเงินไหลออกอยู่ที่ 20.9 ล้านเหรียญสหรัฐ แบ่งออกมาเป็น

  • BTC ETF – อยู่ที่ 18.6 ล้านเหรียญสหรัฐ
  • ETH ETF – อยู่ที่ 2.3 ล้านเหรียญสหรัฐ

Hongkong ETF เปิดให้นักลงทุนเข้าถึงได้ยกเว้นจีนแผ่นดินใหญ่ ถึงผลตอบรับจะไม่ได้ดีมาก ตั้งแต่วันแรกที่เงินไหลเข้าไม่ได้เท่าที่ตลาดคาดหวังไว้ และปริมาณเงินไหลเข้าและออกติดลบ แต่นี้คือก้าวสำคัญของสินทรัพย์ดิจิทัลในฝั่งเอเชีย และจีนแผ่นดินใหญ่ เนื่องจากมีตัวอย่างแล้ว ในอนาคตอาจจะมี ETF ของประเทศอื่นๆ ตามมาอย่าง Singapore ที่เป็น Hub การเงินใหญ่ของโลก หรือการเปิดให้ทางจีนแผ่นดินใหญ่ลงทุนใน ETF ได้ เม็ดเงินปริมาณมหาศาลจะถูกโยกย้ายจากโลกการเงินแบบดั้งเดิมเข้ามาสู่โลก Web 3.0

และ Hongkong ETH ETF ยังเป็นกอง ETF ของ Etheruem ตัวแรกของโลก และเป็นตัวอย่างสำคัญสำหรับ ETH ETF ให้สำหรับหลายๆ ประเทศ ในอนาคต

เปรียบเทียบผลตอบแทนระหว่างพันธบัตรระยะสั้นและการฟาร์ม Stablecoin

ผลตอบแทนที่ได้จากพันธบัตรรัฐบาลระยะสั้นสหรัฐ (Treasury Bills) แบบระยะสั้น 3 เดือน ที่มีความเสี่ยงต่ำ แต่มีสภาพคล่องและผลตอบแทนสูง ที่ผ่านมาให้ผลตอบแทนสูงขึ้นต่อเนื่องจากความกังวล Recession โดยปัจจุบันผลตอบแทนทรงๆตัว ตอนนี้อยู่เฉลี่ยปีละ 5.25% ส่วนผลตอบแทนจากการฟาร์มหรือปล่อยกู้ Stablecoin บนแพลตฟอร์มต่างๆในให้ผลตอบแทนเฉลี่ยลดลงมาจากช่วยไตรมาสแรกของปีพอสมควรมาอยู่ที่ 8.7%  

โดยผลตอบแทนฟาร์มและปล่อยกู้ Stablecoin ในเดือนพฤษภาคมลดลงเล็กน้อย โดยถือว่าทรงตัวเทียบกับเดือนเมษายน สอดคล้องกับตลาดในช่วงนี้ที่ถือเป็นเวลา Sideway และทำให้ DeFi พักความร้อนแรงลง ทำให้ธุรกรรมซื้อขายแลกเปลี่ยนและราคาเหรียญที่แจกเป็น Incentive ลดลงตามด้วยนั่นเอง

เปรียบเทียบผลตอบแทน DeFi Farming บนบล็อกเชนต่างๆ 

สภาวะตลาด NFT

  • เดือนที่ผ่านมาเป็นอีกเดือนที่ค่อนข้างเงียบของตลาด NFT:
    • Volume เบาบางลงในทุกเชน
    • ราคา Floor Price ของทุก Collection ได้รับผลกระทบทั้งหมดไม่ว่าจะ Collection เล็กหรือใหญ่
  • Bitcoin Ordinals ยังคงครองตลาดในด้านของ Volume แต่กลับกัน Solana ยังคงครองตลาดในด้านของจำนวน User ที่เยอะมาก
  • แม้ว่าหลากหลาย Collection จะราคาลดลงตามตลาด แต่ปัจจุบันเริ่มเป็นจุดที่เริ่มน่าพิจารณา NFT หลายๆ Collection ที่มีความเป็น OG ในแต่ละเชน

สภาวะตลาด NFT

Top 5 Volume Projects (Collectible NFT)

FANTASY TOPS | Cardgame NFT ที่กำลังมาแรง

X Account @fantasy_top_

เป็นเกมการ์ดแนว Fantasy บน Blast Layer 2 ซึ่งยึดตัวละครต่างๆตาม Account บน X ซึ่งจะมีค่าพลังเพิ่มขึ้นหรือลดลงตามการใช้งาน

แต่ละการ์ดจะมีความหายากที่ต่างกันเป็นระดับ Common หรือ Rare ซึ่งคล้ายคลึงกันกับ Trading Card Game โดยทั่วไป เพียงแต่การทำให้เกิดค่าพลังที่เปลี่ยนได้ เป็นการใช้พลังของ Blockchain และ NFT ให้เกิดประโยชน์กว่า Cardgame ในรูปแบบทั่วไป
Fantasy Top มีการจัด Tournament ต่างๆ และมีผู้เข้าร่วมอย่างล้นหลาม

NFT Cardgame จึงเป็นหนึ่งตัวอย่างสำหรับการใช้ NFT ซึ่งตลาด Trading Cardgame ถือว่าเป็นตลาดที่ค่อนข้างใหญ่ และหากนำมาใช้ทั้งสำหรับการเล่นและสะสมบน Blockchain ก็จะเกิด Use Case ที่ใหญ่ขึ้นมาได้

Authors

Share :
Related
Cointalk (19 July 2024) - ตลาด risk off คริปโตเด้งแรง
Automated Market Maker (AMM)
Technical Analysis $TON $INJ โดย Cryptomind Advisory (17 July 24)
Cryptomind Monthly Outlook (July 2024)