*ข้อมูลระหว่างวันที่ 15 เมษายน 2023 – 15 พฤษภาคม 2023
ค่าเงินบาทมีแนวโน้มกลับมาแข็งค่ามากขึ้นเข้าสู่โซนอัตราการแลกเปลี่ยนที่ 33.6 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ โดยมี 3 ปัจจัยคอยสนับสนุนดังนี้
1. การเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลไทยของชาวต่างชาติ: หลังจากเปิดขายพันธบัตรรัฐบาลไทย ทำให้มีแรงเข้าซื้อจากต่างชาติมากขึ้นกว่า 5.6 พันล้านบาทเป็นปัจจัยเกื้อหนุนค่าเงินบาทและดันให้เดือนพฤษภาคมกลายเป็นเดือนที่มีการเข้าซื้อพันธบัตรมากที่สุดในไตรมาสที่ 1 2. FED อาจจะไม่ขึ้นดอกเบี้ยแล้ว: เนื่องจากทิศทางของดอกเบี้ยเริ่มมีความชัดเจนว่าจะมีการหยุดการขึ้นดอกเบี้ย ทำให้ค่าเงินดอลล่าร์เริ่มผ่อนคลายลง
3. ปัจจัยทางการเมือง: การเลือกตั้งของประเทศไทยเริ่มมีทิศทางว่าฝั่งประชาธิปไตยอาจจะสามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ ซึ่งส่งผลให้ค่าเงินบาทกลับมาแข็งค่า และตลาดหุ้นเปิดในแดนบวก แต่ทว่าหากไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลภายในหนึ่งเดือน อาจจะทำให้ตลาดเริ่มวิตกกังวลได้ และส่งผลให้ทิศทางของค่าเงินบาทอ่อนค่า
สถานการณ์เศรษฐกิจของอเมริกานั้นเริ่มกลับเข้าสู่ช่วงตึงเครียดและกดดันตลาดสินทรัพย์เสี่ยงรวมถึงคริปโทฯอีกครั้ง หลังจากรัฐสภาหาทางออกเกี่ยวกับ “การผ่านนโยบายเพิ่มเพดานหนี้”ไม่ได้ เนื่องจากสภาบนและสภาล่าง (รีพลับบลิกัน – เดโมแครต) ไม่ยอมถอยคนละก้าว ทำให้ ณ ปัจจุบันร่างดังกล่าวถูกเลื่อนออกไปเรื่อยๆ โดยล่าสุด IMF ได้ออกมาบอกให้รัฐสภาควรถอยคนละก้าวเพื่อให้ผ่านร่างนโยบายนี้ให้ได้ เพราะถ้าอเมริกาผิดชำระหนี้ครั้งนี้ผลลัพธ์อาจจะไม่ได้เกิดอยู่แค่ในประเทศอเมริกา แต่เป็น “เศรษฐกิจโลก” ดังนั้นนักลงทุนควรจับตามองการอภิปรายของรัฐสภาอเมริกาให้ดี เพราะเหลือเวลาในการอภิปรายร่างนโยบายดังกล่าวถึงแค่ต้นเดือนมิถุนายนเท่านั้น ตลาดคริปโทฯอาจจะเริ่มผ่อนคลายความกังวลถ้าได้เห็นความชัดเจนหลังการแถลงข่าวเกี่ยวกับการขยายเพดานหนี้นี้
ภาพรวมตลาดคริปโทฯในช่วงเดือนที่ผ่านมายังคงมีความผันผวนสูงถึงแม้ว่า CPI ล่าสุดจะออกมาต่ำกว่าคาดแต่ก็ดูเหมือนตลาดจะ Sell on Fact และยังมีการกังวลเรื่องเพดานหนี้ ทำให้สุดท้ายก็เกิดการ Sell in May ตามที่คาด
ส่วนเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในช่วงเดือนที่ผ่านมาคือ Shanghai Upgrade ที่เราก็ได้เห็นแล้วว่าไม่ได้เกิดแรงขายมากขนาดนั้น แต่ได้เห็นการที่คนนำเหรียญ ETH ไป Stake ตามแพลทฟอร์ม Liquid Staking ต่างๆมากขึ้น ทำให้ถือเป็นหนึ่ง Sector ที่น่าจับตามองต่อไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้นำอย่าง Lido ที่กำลังจะอัปเกรดเป็น V2 หรือ Rocket Pool ที่มีการเติบโตของ TVL สูงต่อเนื่องหลังการเปิด Minipool หรือจะเป็น Frax Finance ที่จะมีการพาร์ทเนอร์กับทาง Curve ให้มีการนำ sfrxETH ไปสร้างเหรียญ crvUSD ได้ในอนาคต
สำหรับ TVL ของ DeFi นั้นลดลงเล็กน้อยจากเดือนที่แล้วประมาณ 7% โดยจะมีแค่เชน Arbitrum ที่มี TVL ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญภายหลังจากที่ทาง Arbitrum ได้ทำการแจกเหรียญ ARB ให้กับ DApps ที่มีสิทธิต่างๆภายใน Ecosystem แสดงให้เห็นถึงความแข็งแกร่งของเชนที่สามารถสร้างการเติบโตได้ต่อเนื่อง และยังมีปัจจัยเด่นเฉพาะตัวคืออาจมี Revenue Sharing ในอนาคต
ส่วน DeFi Narrative อื่นๆที่น่าจับตามองช่วงนี้ก็คงหนีไม่พ้น Layer 2 Ecosystem จากการที่การอัปเกรด EIP-4844 กำลังจะมาถึงในไม่ช้านี้ นอกจากนี้ยังมีกระแสอื่นๆที่น่าสนใจอย่างเช่น Curve ที่กำลังจะออก Stablecoin ของตัวเอง (ชื่อว่า crvUSD) หรือเชน Layer 1 เปิดใหม่อย่าง Sui เป็นต้น
เมื่อวันที่ 9 มีนาคมที่ผ่านมา ผู้ใช้ Twitter ชื่อ @domodata ได้ปล่อย Concept การสร้างเหรียญบน Bitcoin Network ขึ้นมาโดยใช้ชื่อว่า “BRC-20” ซึ่งเป็นการตั้งชื่อที่ล้อไปกับ ERC-20 ของ Ethereum โดย BRC-20 คือการ “Inscribe” ข้อความ JSON ลงบน Sats ของ Bitcoin และใส่ Function ต่างๆลงใน Sats เหล่านั้น ไม่ว่าจะเป็น Mint, Deploy และ Transfer เพื่อให้ Sats ที่ถูก Inscribe นั้นกลายมาเป็น “Fungible Token” หรือโทเค็นที่สามารถโอนไปมาหากันได้
โดย Idea ของการ Inscribe ข้อมูลต่างๆลงใน Sats นั้นถูกเริ่มต้นจากการสร้าง Ordinals หรือ NFT บน Bitcoin โดยผู้ใช้งานสามารถ Inscribe สิ่งต่างๆไม่ว่าจะเป็น ภาพ, วีดีโอ, ไฟล์เสียง รวมไปถึงข้อความต่างๆลงบน Sats เพื่อให้ Sats นั้นๆมี “เอกลักษณ์เฉพาะตัวที่ไม่เหมือนกัน” ซึ่ง Ordinals นั้นถูกเป็นที่พูดถึงกันอย่างมากหลังจาก Yuga Labs บริษัทผู้สร้าง BAYC ประกาศสร้าง TwelveFold ซึ่งเป็น Ordinals 300 ชิ้นบน Bitcoin และสามารถประมูลทั้ง Collection ไปได้ทั้งหมด 736 BTC หรือประมาณ 16.49 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
จากการที่คุณ domodata ได้บอกไว้ตั้งแต่แรกแล้วว่า BRC-20 เป็นเพียง Experiment เท่านั้นและใครก็ตามสามารถเข้ามาสร้าง BRC-20 ของตัวเองได้ จึงทำให้มีผู้ใช้งานต่างพากันเข้ามาสร้างเหรียญ Meme กันเป็นจำนวนมาก จึงทำให้ในปัจจุบัน มี BRC-20 ที่ถูกสร้างขึ้นมาทั้งหมด 14,307 โทเคน และมีมูลค่าตลาดรวมกันทั้งหมดราวๆ 415 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
โดย BRC-20 ตัวแรกที่ถูกสร้างขึ้นมามีชื่อว่า “ordi” มี Max Supply 21 ล้านเหรียญเหมือนกับ Bitcoin รวมถึงเปิดให้คน Mint ฟรีได้คนละ 1,000 ordi/Wallet และปัจจุบันมีการซื้อขายกันอยู่ที่ $10.77/ordi เท่ากับคนที่ Mint ทันก็เสมือนได้รับเงินไปฟรีๆคนละ 10,000 กว่าดอลลาร์เลยทีเดียว
และเนื่องจาก BRC-20 นั้นสร้างอยู่บน Bitcoin Network (ไม่ได้อยู่บน Lightning Network) จึงทำให้ช่วงต้นเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา เครือข่าย Bitcoin เกิดธุรกรรมที่แออัดกันเป็นจำนวนมากจากการเข้ามาเก็งกำไรเหรียญ BRC-20 ของผู้ใช้งานที่มากขึ้น
ผู้ใช้งานที่ต้องการทำธุรกรรมต่างๆ ได้เร็วกว่าคนอื่น ไม่ว่าจะโอนปกติหรือทำอะไรเกี่ยวกับ Ordinals หรือ BRC-20 จำเป็นต้องแข่งกันจ่ายค่าธรรมเนียมเพื่อให้ธุรกรรมของตัวเองได้ถูกบันทึกก่อน
เป็นเหตุให้ค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรมแบบ High Priority ใน Bitcoin Network สูงขึ้นจนแตะที่ระดับราวๆ 30 ดอลลาร์ จากปกติที่ค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรมเฉลี่ยอยู่เพียง 1-2 ดอลลาร์เท่านั้น โดยระดับดังกล่าวนี้เป็นระดับที่ไม่ได้เกิดขึ้นกับ Bitcoin Network มากว่า 2 ปีแล้ว
นอกจากนี้ในบาง Block มีผู้ใช้งานที่แข่งกันจ่ายค่าธรรมเนียมกันจน Transaction Fees ที่ Miner ได้รับมีจำนวนมากกว่า Block Subsidy ที่ 6.25 BTC ต่อ Block เลยทีเดียว ทำให้รายได้โดยรวมของ Miner สูงขึ้นแบบก้าวกระโดดในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งโดยปกติแล้ว Miner จะได้รับสัดส่วน Transaction Fee อยู่ที่ราวๆ 2% เมื่อเทียบกับ Block Subsidy เท่านั้น
แต่สถานการณ์ลักษณะนี้ก็อยู่ได้เพียงระยะสั้นๆ เท่านั้น เพราะจริงๆ แล้ว Token เหล่านี้ไม่ได้มี Use Case อะไร และเป็นการเก็งกำไรทั้งสิ้น ซึ่งพอเมื่อกระแสเริ่มเป็นที่พูดถึงน้อยลงก็ทำให้คนค่อยๆ เลิกสนใจ โดยในขณะที่เขียนนี้ค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรมบน Bitcoin Network ก็กลับมาที่ระดับ 1-2 ดอลลาร์เรียบร้อยแล้ว
BRC-20 Token ต่างๆ ที่ถูกสร้างขึ้นมากว่า 14,000 โทเคน ทางเราคาดว่า 99.99% ก็จะหายและตายไป แต่อาจมีเหลือบางโทเคนเช่น ordi ที่อาจกลายมาเป็น meme และมีคนเทรดกันเหมือนกับ Doge หรือ Shiba ในฐานะ Meme Coin ตัวแรกบน Bitcoin Network
วันที่ 10 พฤษภาคม ที่ผ่านมา Arbitrum ประกาศนำรายได้จากค่าธรรมเนียมธุรกรรมเข้าสู่ DAO ส่งผลให้ราคาเหรียญ $ARB แข็งแกร่งอย่างมากในสัปดาห์ที่ผ่านมา
โดยปกติแล้ว User จะจ่ายค่าธรรมเนียมทั้งหมด 2 ส่วน คือ ค่าธรรมเนียมสำหรับ Cost บน Ethereum และค่าธรรมเนียมสำหรับ Cost บน Layer 2 โดยหลังจากนี้ Arbitrum จะนำค่าธรรมเนียมส่วนเกินจาก L1 (L1 Surplus Fee) และ รายได้จากค่าธรรมเนียมบน Layer 2 เข้าสู่ DAO
L1 Surplus Fee คือ ค่าธรรมเนียมส่วนเกินที่เรียกเก็บจาก User เพื่อจ่ายค่าธรรมเนียมบน Layer 1 แต่เมื่อทำธุรกรรมจริงแล้วใช้ไม่ถึงที่เรียกเก็บ ค่าธรรมเนียมส่วนเกินก้อนนี้จะเป็นรายได้ของ Sequencer แต่ Arbitrum จะนำเงินก้อนนี้เข้าสู่ Arbitrum DAO โดยครั้งนี้ส่งให้กว่า 587 ETH
ค่าธรรมเนียมบน Layer 2 ซึ่งเป็นรายได้หลัก แบ่งออกเป็นสองส่วน
1. Base Fee : ค่าธรรมเนียมขั้นต่ำสำหรับทำธุรกรรม
2. L2 Surplus Fee : ค่าธรรมเนียมส่วนเกินเพื่อ Bid ให้ธุรกรรมเสร็จเร็วขึ้น
โดยปัจจุบันมีรายได้สะสมจาก Base Fee 1,316 ETH และมีรายได้สะสมจาก Surplus Fee 1,477 ETH ซึ่งจะนำรายได้เข้า Arbitrum DAO ทั้งหมด
รวมรายได้ที่นำเข้าสู่ DAO ครั้งนี้กว่า 3,380 ETH (L1 Surplus Fee + L2 Base Fee + L2 Surplus Fee)
ในอนาคตอาจมีการเปิดโหวตกระจายเงินก้อนนี้ให้สามารถนำไปใช้ประโยชน์อื่นๆเพื่อให้ Arbitrum Ecosystem เติบโต อย่างการโหวตให้รายได้ส่วนนี้กระจายสู่ผู้ถือเหรียญ และ ในอนาคตอาจเกิด Decentralized Sequencer ที่สามารถนำเหรียญ $ARB มา Staking กับ Sequencer Nodes แล้วแบ่งรายได้ให้ Staker ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นจะส่งผลดีต่อราคาเหรียญ $ARB เป็นอย่างมาก
ในช่วงต้นเดือนพฤษภามคม Curve แพลตฟอร์มแลกเปลี่ยน Stablecoin อันดับหนึ่งบน DeFi ได้ประกาศทดสอบ crvUSD Stablecoin ของ Curve ตัวแรกอย่างเป็นทางการ โดย crvUSD เป็น Over-collateral Stablecoin เช่นเดียวกับ DAI ของ MakerDAO ทำให้นักลงทุนเชื่อมั่นได้ว่ามีสินทรัพย์ค้ำประกันเกินมูลค่าเหรียญอย่างแน่นอน แต่ Michael Egorov ผู้สร้าง crvUSD ได้พัฒนาโมเดลให้ดีขึ้นกว่านั้น โดยมีลักษณะพิเศษที่แตกต่างจากโมเดลปกติ อยู่ 2 เรื่องคือ LLAMMA และ Monetary Policy ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
- Lending-liquidating AMM algorithm (LLAMMA): โมเดล Over-collateral Stablecoin ปกติจะ “บังคับขาย” สินทรัพย์ค้ำประกันทั้งหมดหากราคาต่ำกว่าจุดที่กำหนด แต่สำหรับ LLAMMA จะให้ผู้กู้ crvUSD เลือกกรอบราคา (Band) ที่เราต้องการ “ทยอยขายสินทรัพย์เป็น crvUSD” เพื่อให้เพียงพอต่อการใช้หนี้ ทำให้สถานะในตอนนี้ไม่ว่าราคาจะตกไปอีกเท่าไหร่ สินทรัพย์ค้ำประกันก็จะไม่ตกลงตาม และหากเวลาผ่านไป ราคาสินทรัพย์กลับตัวขึ้นมาใน Band ที่เรากำหนด โมเดล LLAMMA ก็จะทยอยเปลี่ยนสินทรัพย์ค้ำประกันที่ตอนนี้เป็น crvUSD กลับไปเป็นสินทรัพย์เดิมที่เราใช้ค้ำในตอนแรก
- Monetary Policy: เป็นการรักษาราคา crvUSD ให้คงที่ 1 USD ซึ่งมี 2 โมเดลหลักที่จะใช้งานคือการเพิ่ม/ลดสภาพคล่องในระบบโดยตรง ซึ่งเลียนแบบระบบโลกการเงินปกติ อย่าง Quantitative Easing (QE) หรือ Quantitative Tapering (QT) ส่วนอีกวิธีคือการเพิ่มต้นทุนทางการเงิน
ระบบจะมีการสร้าง crvUSD โดยไม่ต้องมีสินทรัพย์ค้ำประกันหากราคา crvUSD > 1 USD เพื่อกดราคาให้เข้าใกล้ 1 USD ในทางตรงกันข้าม จะเผา crvUSD ที่สร้างแบบไม่มีการค้ำประกันออกจากระบบเมื่อ crvUSD < 1 USD เพื่อลด Supply จนราคาเข้าใกล้ 1 USD
ในกรณีที่ crvUSD ที่ไม่มีการค้ำประกันถูกเผาหมดแล้วแต่ราคายังไม่ขึ้นไปที่ 1 USD ระบบจะทำการเพิ่มต้นทุนการกู้ crvUSD เพื่อให้นักลงทุนเอา crvUSD มาคืนเพื่อลด Supply ในระบบ
แม้ว่าตอนนี้ crvUSD จะเปิดใช้งานบน Mainnet แล้วแต่ยังอยู่ในช่วงทดสอบบนสถานการณ์จริง ซึ่งในช่วงขณะที่เขียน ตลาดมีแนวโน้มตกลงมาก ทำให้ราคา sfrxETH ซึ่งเป็น Liquid Staking Derivative จาก Frax Finance ซึ่งใช้เป็นสินทรัพย์ค้ำประกันราคาตกมากกว่า 10%
หากนักลงทุนกู้ DAI ของ MakerDAO มากเกินไป อาจโดน Liquidate ได้จากสถานการณ์เช่นนี้ แต่ Michael ได้ทดสอบด้วยเงินตัวเอง พบว่ามูลค่าสินทรัพย์ค้ำประกันลดลงไปเพียง 0.5% เท่านั้น แสดงถึงระบบ LLAMMA ที่ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในช่วงตลาดตกหนัก
ดังนั้น crvUSD คงจะใกล้เปิดใช้งานจริงสำหรับคนทั่วไปในเวลาอีกไม่นานหลังจากนี้ และจะมีผลกระทบต่อตลาด Stablecoin อย่างแน่นอน เนื่องจากเป็นโมเดลที่ปิดจุดอ่อนในช่วงตลาดขาลงได้เป็นอย่างดี และ Curve เองก็เป็นแพลตฟอร์มอันดับหนึ่งด้านการแลกเปลี่ยน Stablecoin อีกด้วย
หลังจากได้เห็นผลการทดสอบที่ลุล่วงไปได้ด้วยดี เราคาดการณ์ว่าผลกระทบหลังจากนี้จะทำให้เหรียญ CRV มี Use Case เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากค่าธรรมเนียมการกู้ crvUSD จะคิดที่ 2% จากยอดเงินกู้ และรายได้ส่วนนี้จะมุ่งตรงไปที่นักลงทุนที่ Lock CRV ไว้ในแพลตฟอร์ม
ในตอนนี้ที่ DAI ของ MakerDAO มี Market Cap ที่ 4.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หาก crvUSD กินส่วนแบ่งได้ 10% ของ DAI เมื่อคิดค่าธรรมเนียมการกู้ 2% จะตีเป็นรายได้เข้าคนถือเหรียญ CRV อย่างน้อย 9.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี ซึ่งยังมีแนวโน้มเติบโตขึ้นไปในอนาคตได้อีกมาก
อย่างไรก็ตาม CRV มีอัตราการเฟ้อในปัจจุบันอยู่ที่ 8.2% และมี Circulating Supply เพียง 24% เท่านั้น จึงไม่ควรถือระยะยาว แต่ใช้เก็งกำไร
ผลตอบแทนที่ได้จากพันธบัตรรัฐบาลระยะสั้นสหรัฐ (Treasury Bills) แบบระยะสั้น 3 เดือน ที่มีความเสี่ยงต่ำ แต่มีสภาพคล่องและผลตอบแทนสูง ให้ผลตอบแทนเฉลี่ยปีละ 5.04% ส่วนผลตอบแทนจากการฟาร์มหรือปล่อยกู้ Stablecoin บนแพลทฟอร์มต่างๆในช่วงนี้ให้ผลตอบแทนลดลงเหลือเฉลี่ยปีละ 4.26% ซึ่งสำหรับการฟาร์ม Stablecoin สามารถเลือกฝากกับแพลทฟอร์มที่มีความปลอดภัยสูงและเปิดมานาน เช่น Curve, UniSwap, PancakeSwap, Aave, Compound, Traderjoe หรือจะเลือกฝากบนแพลทฟอร์มที่ใหม่กว่าและผลตอบแทนสูงกว่าอย่างเช่น Velodrome ก็ได้เช่นกัน โดยผลตอบแทนเฉลี่ยระหว่างพันธบัตรเทียบกับการฟาร์ม Stablecoin ต่างกันอยู่ที่ประมาณ 0.84 เท่า ซึ่งถือเป็นครั้งแรกในรอบหลายเดือนที่ผลตอบแทนจากการฟาร์ม Stablecoin ลดลงมาต่ำกว่า Short-term Treasury Bills
โดยผลตอบแทนฟาร์มและปล่อยกู้ Stablecoin ลดลงจากเดือนที่แล้วพอสมควร เป็นเพราะว่าสภาวะตลาดคริปโทฯและ DeFi ลดความร้อนแรงลงในเดือนพฤษภาคมจากการ Sell in May ที่ทำให้ธุรกรรมซื้อขายแลกเปลี่ยนและราคาเหรียญที่แจกเป็น Incentive ลดลงในช่วงดังกล่าว
สภาวะตลาด NFT ในช่วง 30 วันที่ผ่านมาพบว่าปริมาณซื้อขาย NFT บน Ethereum Blockchain มีการขึ้นอย่างมาก ซึ่งเป็นผลมาจากการที่ทางแพลตฟอร์ม Blur ได้ออกฟังก์ชั่นใหม่หรือ Blend ที่ทำให้คนทั่วไปสามารถเข้าถึง NFT ได้ด้วยต้นทุนที่น้อยกว่าเดิมมากๆ อย่างเช่นถ้าเมื่อก่อนผู้ซื้ออยากซื้อ Azuki ก็ต้องใช้เงินถึง 13-14 ETH ในการซื้อ Azuki หนึ่งตัว แต่ปัจจุบันนั้นมีเพียงแค่ประมาณ 0.4-0.7 ETH ก็สามารถซื้อได้แล้วจากการกู้ส่วนที่เหลือผ่านแพลตฟอร์ม ซึ่งหมายความว่าถ้าผู้ซื้อมีเงินทุนมากกว่านั้นเช่น 5 ETH 10 ETH 20 ETH ก็สามารถซื้อ Azuki ได้หลายสิบตัวเลย เพราะฉะนั้นเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมาคอลเลคชั่นที่สามารถกู้ได้ มีการขยับของ Floor Price ขึ้นสูงขึ้นอย่างมากอย่าง Azuki ที่ขึ้นจาก 13 ETH ไป 15 ETH ในระยะเวลาไม่กี่วัน และ Milady ที่ขึ้นจาก 2.5 ETH ไป 3.4 ETH ในระยะเวลาไม่กี่วันเช่นเดียวกัน
ซึ่งนี้จะเห็นว่าเป็นเหมือนการใช้ Leverage ซื้อ NFT ที่แลกมาด้วยกับผลตอบแทนที่สูงขึ้นนั่นเอง แต่อย่างไรก็ตามผลตอบแทนที่สูงขึ้นก็ตามมาด้วยความเสี่ยงที่สูงขึ้นอย่างในเคสนี้คือถ้า NFT ราคาร่วงมากๆ ก็อาจจะทำให้เกิดการโดนบังคับขายติดๆ ด้วยเช่นกัน
เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคมทางแพลตฟอร์ม Blur ได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ซึ่งก็คือ Blend ที่จะให้สามารถผู้ที่ซื้อ NFT สามารถกู้เงินซื้อ NFT ได้ ซึ่งสิ่งนี้เกิดขึ้นเพราะว่าในตลาด NFT นั้น จะพบว่า NFT ส่วนมากมีราคาแพง ซึ่งทำให้ใครหลายๆ คนไม่สามารถซื้อ NFT ได้เพราะต้องใช้เงินทุนมากในการซื้อ Blur จึงเปิดตัวแพลตฟอร์มกู้ยืมให้คนสามารถมากู้และนำไปซื้อได้คล้ายๆ กับสินทรัพย์ในโลกความเป็นจริงอย่าง รถยนต์หรือบ้าน ที่เป็นสินทรัพย์ราคาสูง ผู้คนส่วนมากจึงนิยมไปกู้กับสถาบันการเงินแทนที่จะจ่ายราคาเต็มตั้งแต่แรก
โดยแพลตฟอร์มจะทำการ Matching ระหว่างคนที่มาปล่อยกู้กับคนที่ต้องการกู้ อย่างเช่น นาย A ต้องการกู้ 80% ในการซื้อคอลเลคชั่น Azuki โดยกู้ยืมเงิน 11.12 ETH จะ Floor Price ปัจจุบัน, แพลตฟอร์มก็จะ Match กับคนที่มาปล่อยกูด้วยวงเงินเท่านี้ด้วยอัตราดอกเบี้ยที่ดีที่สุดในตลาด
และถ้านาย A ไม่จ่ายดอกเบี้ยตามระยะเวลาที่กำหนดหรือเมื่อเวลาที่ผู้ปล่อยกู้ขอเรียกคืน ระบบก็จะทำการเอา NFT ไปประมูลต่อในแพลตฟอร์มให้กับคนที่มาปล่อยเงินกู้ในช่วงราคาเท่าเดิม แต่ด้วยอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จากการที่เกิดเป็นหนี้เสียนั้นเอง
ซึ่งจะเห็นว่าการทำแบบนี้ทำให้ผู้ซื้อรายย่อยสามารถเข้าถึงตลาด NFT ได้มากขึ้นกว่าเดิม และถ้าตลาด Bullrun มาก็น่าสนใจไม่ใช่น้อยว่าการกู้ยืมน่าจะทำให้ Floor Price ของโปรเจกต์ NFT ต่างๆ ขึ้นได้เยอะมากๆ เปรียบเสมือนการใช้ Leverage
Fun Fact: ปัจจุบันมีเพียงคอลเลคชั่น Cryptopunks, Azuki, Milady และ Degods เท่านั้นที่สามารถใช้ฟังก์ชั่น Blend ได้ ซึ่งคอลเลคชั่นอื่นคงต้องติดตามกันต่อไป
.
คำเตือนความเสี่ยง : คริปโทเคอร์เรนซี่มีความเสี่ยงสูง ท่านอาจสูญเสียเงินลงทุนได้ทั้งจำนวนและสินทรัพย์ดิจิทัลมีความเสี่ยง โปรดศึกษาและลงทุนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ ผลตอบแทนของสินทรัพย์ดิจิทัลในอดีต มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลตอบแทนของสินทรัพย์ดิจิทัลในอนาคต
Authors
-
-
A guy who loves crypto like Bitcoin and Ethereum. He's not the best writer, but his love for DeFi makes up for it. He's an easygoing guy who makes learning about crypto fun and easy.
View all posts -
-
-
Research is not Forecast. Details are important. All Works are Not Financial Advices.
View all posts -
-