Search
Close this search box.

Cryptomind Monthly Outlook (August 2024)

Share :
monthly

Table of Contents

*ข้อมูลระหว่างวันที่ 13 กรกฎาคม 2024 – 8 สิงหาคม 2024

สรุปข่าวเด่น

Bitcoin ETF Flow  

Bitcoin ETF ในเดือนช่วงต้นเดือนสิงหาคม 2024

ในช่วงต้นเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา หลังจากการให้สัญญาณการลดดอกเบี้ยของ Federal Reserve และการรายงานตัวเลขอัตราการว่างงานของ US ออกมาแย่กว่าที่ตลาดคาดการณ์ ทำให้นักลงทุนแห่ทำการ Panic Selling ออกมาเพราะคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจของ US อาจจะเริ่มเข้าสู่ Recession แล้ว ทำให้สินทรัพย์เสี่ยงทั้งหมดปรับตัวลงอย่างรุนแรง โดย Bitcoin ได้ทำการขยับราคาจาก $60,000 สู่ $49,000 อย่างรวดเร็วในหนึ่งวัน 

แต่สิ่งที่น่าสนใจก็คือในช่วงราคาประมาณ $50,000 มีแรงซื้อเข้ามาจากสถาบันทางการเงินเข้ามาซื้อ Buy the Dip ด้วยเช่นกัน โดยทาง Blackrock ก็ยังไม่มีการเทขายออกมาเลยสัก Bitcoin เดียว
แสดงให้เห็นว่าไม่ว่าราคาจะอยู่ตรงไหน สถาบันการเงินหลายๆเจ้าก็พร้อมจะเข้าเก็บสะสม ซึ่งแสดงให้เห็น Sentiment ที่ดีต่อ Bitcoin ในระยะยาว

ค่าเงินบาท: DXY is falling

ค่าเงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่า

ค่าเงินบาทมีโอกาสที่จะเคลื่อนที่ในกรอบ 35 – 35.4  บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ แต่คาดการณ์ว่าในอนาคตไทยบาทมีโอกาสที่แข็งค่ามากขึ้น เพราะ ณ ปัจจุบันธนาคารกลางสหรัฐได้ทำการให้สัญญาณการลดดอกเบี้ยในเดือนกันยายนนี้แล้ว ทำให้ค่าเงินดอลล่าร์มีโอกาสปรับตัวอ่อนค่าลง

มี 2 ปัจจัยคอยจับตามองดังนี้ 

1.ดอลล่าร์อ่อนค่าลง: ดอลล่าร์นั้นอ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่องเป็นผลที่สอดคล้องกับการปรับตัวลงของ Bond Yield และด้วย CPI ที่มีตัวเลขออกมาที่ชะลอมากกว่าคาด ทำให้ตลาดนั้นได้คาดการณ์นั้นว่า FED จะลดดอกเบี้ยในเดือนกันยายนที่จะถึงนี้2.ปัจจัยอื่นๆ: ค่าเงินบาทยังมีแรงหนุนเพิ่มจากราคาของทองคำที่ปรับตัวขึ้นในตลาดโลก และนักลงทุนต่างประเทศที่เข้ามาซื้อพันธบัตรของไทย

Macroeconomics: August CPI 

สำหรับ Core CPI M/M และ CPI M/M ในเดือนสิงหาคม ที่จะมีประกาศตัวเลขออกมาในวันที่ 14 สิงหาคม 2024 มีการคาดการณ์ตัวเลขจากหลากหลายสถาบันว่า Core CPI M/M และ CPI M/M นั้นจะมีการขยับตัวขึ้นเล็กน้อย แสดงให้เห็นถึงการที่สินค้าและบริการนั้นมีการปรับตัวของราคาที่สูงขึ้นเล็กน้อย ซึ่งจะส่งผลต่อการตัดสินใจในการลดอัตราดอกเบี้ยของ FED ในเดือนกันยายน ที่จะถึงนี้อย่างแน่นอน

ซึ่งตลาดมีการแสดงการตอบรับโดยที่คิดว่า FED จะลดอัตราดอกเบี้ยในเดือน กันยายนอย่างแน่นอน แต่ที่ไม่แน่นอนคือเสียงของตลาดยังแตกออกเป็น 2 ฝั่ง ก็คือในขณะนี้ที่ FED ยังคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 5.25-5.50% มีหนึ่งฝั่งเห็นว่า FED นั้นจะลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนกันยายนเหลือ 5.00-5.25% ถึง 51.5% แต่ในอีกฝั่งหนึ่งก็คิดว่า FED จะลดอัตราดอกเบี้ยลงเหลือ 4.75-5.00% ถึง 48.5% เลยทีเดียว โดยส่วนหนึ่งนักวิเคราะห์คาดว่าตลาดได้ Priced in การลดดอกเบี้ยไปแล้ว ดังนั้นถ้า FED เกิดไม่ลดดอกเบี้ยจริงในเดือนกันยายน คาดว่าจะส่งผลลบต่อตลาดคริปโตฯแน่นอน

สภาวะตลาด DeFi โดยรวม

ภาพรวมในเดือนสิงหาคม ตลาดคริปโตฯและสินทรัพย์เสี่ยงผันผวนสูงมาก โดยมีสาเหตุหลักมาจากสถานการณ์ด้านเศรษฐกิจยังดูไม่ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งข่าวที่รัฐบาลญี่ปุ่นจะขึ้นดอกเบี้ยและตัวเลขจ้างงานของสหรัฐฯ  ถึงแม้ตลาดจะเริ่มเด้งแล้ว นักวิเคราะห์ยังมองว่าตลาดคริปโตฯ น่าจะยังผันผวนไปจนกว่าภาพเศรษฐกิจจะชัดกว่านี้ อย่างน้อยก็ในเดือนกันยายนที่คาดว่า Fed จะมีการตัดสินใจเรื่องลดดอกเบี้ยตลาด DeFi ภาพรวมในเดือนสิงหาคมมี TVL ลดลงราว 4% ซึ่งเป็นผลกระทบโดยตรงจากราคาเหรียญที่ตกลงอย่างหนัก รวมถึงการถอนออกของนักลงทุนบางส่วนเพื่อลดความเสี่ยง เชนส่วนใหญ่มี TVL ลดลง ยกเว้น Solana และ Tron ที่มี TVL เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Solana มี TVL เพิ่มขึ้นมากถึง 13% พลิกแซง BNB Chain ขึ้นมาอยู่อันดับ 3 สอดคล้องกับกิจกรรม On-chain บน Solana ที่ยังคงร้อนแรงต่อเนื่อง รวมถึงราคาเหรียญ SOL ที่ค่อนข้างแข็งแกร่งกว่าตัวอื่น 

ส่วนหนึ่งในไฮไลท์พัฒนาการ DeFi ที่น่าจับตาในเดือนนี้คือกลุ่ม Liquid Staking/Restaking ที่ถึงแม้จะได้รับผลกระทบจากตลาดคริปโตฯโดยรวม เรายังเห็นการอัปเดทของโปรเจกต์หลัก เช่น Lido ที่เปิดตัว Lido Institutional Liquid Staking สำหรับสถาบัน และการเปิดตัว L2 Mainnet ของโปรเจกต์ Zircuit

ในช่วงเดือนกันยายน นักวิเคราะห์คาดว่าเชน Solana น่าจะได้รับความนิยมต่อไป นอกจากนี้  บล็อคเชนอีกตัวที่น่าจับตามองคือ Ton Blockchain ที่นักวิเคราะห์คาดว่าเงินจะไหลเข้ามากขึ้นโดยเฉพาะจากรายย่อย ส่วนกลุ่ม Real-world Asset น่าจะสามารถดึงดูดเงินจากสถาบันและรายใหญ่ได้ ตัวหลักเช่น Ondo, Maker, Goldfinch

Black Monday กับผลกระทบในตลาดคริปโตฯ และมุมมองตลาดหลังจากนี้

เหตุการณ์ Black Monday ในวันจันทร์ที่ 5 สิงหาคมตลาดหุ้นทั่วโลกผันผวนอย่างหนักโดยเฉพาะดัชนีตลาดหุ้นญี่ปุ่นที่ร่วงมากกว่า 12% ถือเป็นการร่วงแรงสุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่คาดว่ามาจากความกังวลเรื่อง Recession ของสหรัฐฯ และการขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางญี่ปุ่นที่ทำให้มีการ Unwind ของการทำ Yen Carry Trade และต้องมีการขายสินทรัพย์ต่างๆ ทั่วโลกรวมถึงคริปโตฯ ด้วย

สำหรับในตลาดคริปโตฯ​ ฝั่ง Bitcoin ปรับตัวลงไปเกือบ 16% ในวันเดียวโดยทำจุดต่ำสุดในวันดังกล่าวที่ประมาณ $49,000 ซึ่งเป็นการปรับตัวลงรวม 30% ภายใน 7 วัน แต่หลังจากเหตุการณ์ดังกล่าว Bitcoin เป็นหนึ่งในตัวที่ Rebound กลับขึ้นมาได้แข็งแรงที่สุด

ส่วนของ Altcoin ในช่วงเวลาดังกล่าวแน่นอนว่ามีความผันผวนมากกว่า Bitcoin พอสมควร โดยเฉพาะ Ethereum ที่มีการเทขายจาก Jump Trading และมีการเกิด Cascade On-chain Liquidation ร่วมด้วย ทำให้มีการปรับตัวลงไปกว่า 21% และทาง Technical Analysis ค่อนข้างเสียทรงขาขึ้นในระยะกลางเนื่องจาก Rebound ได้ไม่ดีเท่าที่ควร

ส่วนตัวที่ Rebound ได้ค่อนข้างสวยก็มี Solana (SOL), Ondo Finance (ONDO) รวมถึง Sui Blockchain (SUI) ที่ Rebound ได้มากกว่า 100% ใน 7 วันจากกระแสการเปิดตัวกอง SUI Trust ของ Grayscale ทำให้ SUI ได้รับความสนใจและถูกพูดถึงมากขึ้นในโลกคริปโตฯ

มุมมองภาพรวมของตลาดคริปโตฯ​ ในช่วงเวลานี้ ทางเรามองว่า Bitcoin น่าจะ Sideway อยู่แถวๆ ราคา $60,000 เพื่อรอเลือกทางโดยถ้าจะกลับตัวเป็นขาขึ้นได้ชัดเจนต้องปรับตัวมากกว่า $70,000 ให้ได้ และถ้า Bitcoin ประคองตัวอยู่ได้อาจได้เห็น Altcoin วิ่งได้ในระยะสั้น แต่อย่างไรก็ตามยังคงต้องระวังความผันผวนจากการประกาศตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐฯ และเรื่องของสงครามด้วย

Solana DEX Volume แซง Ethereum ในเดือนกรกฎาคม แสดงถึงความร้อนแรงต่อเนื่อง

จากข้อมูลของ DefiLlama พบว่า Solana มีปริมาณการซื้อขายบน Decentralized Exchange (DEX) และรายได้จากค่าธรรมเนียมรายเดือนที่สูงกว่า Ethereum เป็นครั้งแรกในเดือนกรกฎาคม 2024 โดย Solana มีปริมาณการซื้อขายอยู่ที่ 55,876 ล้านดอลลาร์ ในขณะที่ Ethereum มีปริมาณการซื้อขายอยู่ที่ 53,868 ล้านดอลลาร์ ส่วนค่าธรรมเนียมได้ไปราว 25 ล้านดอลล่าร์ เทียบกับ 21 ล้านดอลล่าร์ของ Ethereum

ซึ่งที่ผ่านมาปัจจัยที่ทำให้ Solana เติบโตมาจากความนิยมในการเทรด Memecoin โดยการใช้แพลตฟอร์มอย่างเช่น Pump.fun และ Moonshot ในการสร้างเหรียญ ซึ่งทำให้หลายฝ่ายมองว่าจะเป็นหนึ่งในเชนหลักที่สามารถดึงดูดรายย่อยเข้ามาใช้งาน

นอกจากรายย่อยแล้ว Solana ยังได้รับความสนใจจากนักลงทุนสถาบัน อย่างเช่น Paypal ที่ได้ขยายการใช้งานของ PYUSD มายัง Solana ด้วย นอกจากนี้ Stripe ยังบอกว่าจะรองรับ Solana ในอนาคต

ปัจจัยอื่นที่น่าจับตามองของ Solana ในอนาคต

  • Firedancer Upgrade: เป็นการอัปเกรดสำคัญในช่วงประมาณปี 2024-2025 ที่จะเพิ่มประสิทธิภาพและความเร็ว 
  • Solana Spot ETF Approval: VanEck และ 21Shares ยื่นขอไปแล้ว รอผลอนุมัติในช่วงประมาณ ไตรมาส 1 ปี 2025

Solana Breakpoint: ที่จะจัดขึ้นในเดือนกันยายน 2024 ซึ่งอาจจะมีการประกาศสำคัญที่คล้ายกับปี 2023 ได้ (ปี 2023 ประกาศแจก Jupiter Airdrop)

เปรียบเทียบผลตอบแทนระหว่างพันธบัตรระยะสั้นและการฟาร์ม Stablecoin

ผลตอบแทนที่ได้จากพันธบัตรรัฐบาลระยะสั้นสหรัฐ (Treasury Bills) แบบระยะสั้น 3 เดือน ที่มีความเสี่ยงต่ำ แต่มีสภาพคล่องและผลตอบแทนสูง ผลตอบแทนลดลงเล็กน้อยจากเดือนที่ผ่านๆมา มีสาเหตุมาจากภาพรวมที่นักลงทุนเริ่มมกังวลในการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงทั้งตลาดหุ้นและคริปโตฯ  ตอนนี้อยู่เฉลี่ยปีละ 5.09% ส่วนผลตอบแทนจากการฟาร์มหรือปล่อยกู้ Stablecoin บนแพลตฟอร์มต่างๆให้ผลตอบแทนลดลงพอสมควรจากเดือนที่แล้วที่ 11% มาอยู่ที่ 8.2% ในเดือนนี้ 

โดยผลตอบแทนฟาร์มและปล่อยกู้ Stablecoin ในเดือนสิงหาคมลดลงพอสมควรจากสภาพตลาดคริปโตฯที่ยังไม่สู้ดีนัก ทำให้กิจกรรมการซื้อขายแลกเปลี่ยน การเก็งกำไร ราคาเหรียญที่แจกเป็น Incentive และ DeFi TVL ลดลงตามไปด้วย

เปรียบเทียบผลตอบแทน DeFi Farming บนบล็อกเชนต่างๆ 

สภาวะตลาด NFT

  • เดือนที่ผ่านมาเป็นอีกเดือนที่ค่อนข้างเงียบของตลาด NFT:
    • Volume ทุกเชนยังคงไม่มีการกลับตัว แต่กลับกัน ในช่วงเดือนที่ผ่านมา จำนวนผู้ซื้อขายบน Ethereum และ Solana เริ่มมีจำนวนที่เยอะขึ้น ในขณะที่ Bitcoin และ Polygon ยังคงลดลงต่อ
  • ข่าวต่างๆในวงการ NFT ยังไม่ได้มีการประกาศอะไรที่หวือหวาพร้อมๆกับสภาพตลาดหลักที่ยังคงไม่แน่นอน

Top 5 Volume Projects (Collectible NFT)

ABSTRACT CHAIN จากผู้สร้าง Pudgy Penguins

ABSTRACT CHAIN เป็น Layer 2 ที่เน้นการพัฒนาให้ใช้งานง่าย (Consumer-focused) ที่ถูกสร้างด้วยเทคโนโลยี Zero-Knowledge และ EigenDA และเชนนี้ถูกสร้างโดย Igloo Inc ซึ่งเป็นผู้สร้างเดียวกันกับ Pudgy Penguins

ก่อนหน้านี้ อย่าง Azuki เองก็มีการสร้าง L2 ของตัวเอง Anime Chain ขึ้นมา ซึ่ง Abstract Chain สามารถมองได้ว่าเป็นการต่อยอดในทางเดียวกัน เป็นการสร้างโครงสร้างสำหรับ Brand Building และ การเข้าถึงผู้ใช้งานต่างๆ 

ในอนาคต เราอาจจะได้เห็นอีกหลายๆ NFT Collection ใหญ่ๆ ที่ขยับมาสร้างโครงสร้างของตัวเองในรูปแบบ Layer 2 แบบนี้

Authors

Tags : xrp | Solana | grayscale | ton | pudgy | Maker | RWA | SOL | ETF | ONDO
Share :
Related
Ethena และ USDe กับยุคใหม่ของ Stablecoin
Cryptomind Research Investment Outlook 2025
Crypto AI Agent ตั้งแต่จุดเริ่มต้นจนถึงปัจจุบัน
NFT กลับมาแล้ว ?