Search
Close this search box.

Cryptomind Monthly Outlook (April 2024)

Share :
monthly cover

Table of Contents

*ข้อมูลระหว่างวันที่ 16 มีนาคม 2024 – 17 เมษายน 2024

สรุปข่าวเด่น

Bitcoin ETF Flow

Bitcoin ETF Flow ของเดือนเมษายน 

ข้อมูลจาก Farside ในฝั่งของ ETF BTC ในสัปดาห์ที่ผ่านมาจะเห็นกระแสเงินสดไหลเข้าสุทธิที่เป็นลบ แต่ในมุมมองโดยรวมแสดงถึงกระแสเงินไหลเข้า ETF BTC ที่เริ่มคงที่ซึ่งอาจจะแสดงถึงความเริ่มไม่มั่นใจของนักลงทุนใน ETF BTC เนื่องจากราคา BTC ที่เคลื่อนตัวอยู่ในกรอบและสภาวะตลาดที่ไม่แน่นอนเนื่องจากสภาวะสงคราม

จากกราฟทางขวามือจะเเสดงให้เห็นได้ว่าภาพรวมของ Bitcoin ETFs นั้นมีเงินไหลเข้าน้อยลงตั้งเเต่ต้นเดือนเมษายน เเละกราฟทางด้านซ้ายมือคือ Bitcoin ETFs ของเเต่ละกองทุน ในกราฟนี้จะเเสดงให้เห็นถึงกองทุนส่วนใหญ่หลายเเห่งมีเงินไหลเข้ากองทุนมีจำนวณที่คงที่มากขึ้น

สาเหตุหนึ่งอาจจะเป็นเพราะ Bitcoin Halving ที่กำลังจะเกิดขึ้นและมีความกังวลเกิดขึ้นในการซื้อ Bitcoin และหลัง Halving อาจมีความคงที่ใน ETFs Flow เพิ่มมากขึ้น

ค่าเงินบาท: DXY RISING

ค่าเงินบาทมีแนวโน้มผันผวน ยืนเหนือ 37 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ โดย ณ ปัจจุบัน อัตราการแลกเปลี่ยนอยู่ที่ประมาณ 36.751 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ และคาดการณ์ว่าไทยบาทมีโอกาสที่จะอ่อนค่าได้เรื่อยๆ โดยมี 2 ปัจจัยคอยจับตามองดังนี้ 

1. DXY ดัชนีดอลล่าร์ที่กำลังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ: จากข้อมูลการเคลื่อนไหวของ DXY รูปทางขวามือจะเห็นได้ว่าการขยับตัวของดอลล่าร์นั้น เริ่มมีการเคลื่อนที่ขึ้นเรื่อยๆและอาจจะสูงถึง 107 เนื่องด้วยนโยบายทางการเงินที่ยังรักษาอัตราดอกเบี้ยและอาจจะไม่ลดอัตราดอกเบี้ยในเร็วๆนี้ ทำให้นักลงทุนส่วนใหญ่ยังคงต้องการลงทุนในสหรัฐฯรวมถึงพันธบัตรสหรัฐด้วย2. ค่าเงินบาท: ค่าเงินบาทยังแสดงถึงแนวโน้มที่มีการอ่อนค่าของมูลค่าทางการเงินอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะเมื่อเปรียบเทียบกับมูลค่าของดอลลาร์ที่เริ่มกลับมามีความแข็งแกร่งมากขึ้น ซึ่งอาจจะทำให้นังลงทุนส่วนใหญ่หันไปลงทุนต่างประเทศมากยิ่งขึ้นโดยมุมมอง ณ ปัจจุบันหากดอลล่าร์แข็งค่าขึ้นก็จะทำให้อาจจะทำให้เงินบาทอ่อนค่าลงเรื่อยๆ รวมถึงปัจจัยที่เกี่ยวกับนโยบายเศรษฐกิจที่สร้างรายจ่ายให้ภาครัฐ(เงินดิจิทัล) ทำให้มุมมองต่อค่าเงินบาทยังคงลดลงต่อเนื่อง

Macroeconomics: Feb CPI & Unemployment Rate

อัตราเงินเฟ้อยังคงสูงกว่าเป้าหมายระยะยาว 2% และการเพิ่มขึ้นเดือนต่อเดือนก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน ดัชนี Core CPI (นอกจากอาหารและพลังงาน) สำหรับเดือนกุมภาพันธ์ 2024 อยู่ที่ 0.4% ซึ่งอยู่ในระดับเดียวกับในเดือนมกราคม และอยู่ในระดับที่สูงกว่าการคาดการณ์ที่ 0.3% และเพิ่มขึ้น 3.7% ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา โดยราคาที่พักอาศัย (Shelter Index) ยังเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ Core CPI ไม่ลดลงในเดือนนี้ ในส่วนของ Headline CPI ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา ปรับตัวขึ้น 0.1%จากเดือนที่ผ่านมา อยู่ในระดับ 3.2% เพราะราคาพลังงานมีการปรับตัวสูงขึ้น เดือนมกราคมถึง 3.8% รวมถึงค่าโดยสารทางอากาศที่เพิ่มขึ้น 3.6% และราคาอาหารที่ไม่ปรับลดลง จากปีที่แล้ว เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อที่สูงกว่าที่คาดการณ์และมีการลดลงในอัตราที่ต่ำ ส่งผลให้ขณะนี้ตลาดมีการคาดการณ์ว่าจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพียง 4 ครั้งในปี 2024 และค่าในระดับที่สูงจนถึงต้นปี 2025 ยังมีความเป็นไปได้สูงที่ FED จะรักษาอัตราดอกเบี้ยให้คงที่ในการประชุม FOMC 2 ครั้งถัดไปในเดือนมีนาคมและพฤษภาคม นอกจากนี้ระยะเวลาของการปรับลดอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกถูกเลื่อนออกไปไปจนถึงเดือนมิถุนายน 2024 และปรับลดของงอัตราดอกเบี้ยในอัตราที่ช้า ดังนั้นในระยะสั้นนักวิเคราะห์ยังมองว่าตลาดคริปโตฯ จึงมีโอกาสปรับฐานจากความไม่แน่นอนของเงินเฟ้อ และความกดดันทางการเงินจาก FED ซึ่งก็อาจเป็นโอกาสที่ดีในการเข้าสะสมสำหรับเพราะในระยะยาวที่นักวิเคราะห์ยังคงมุมมองบวกจากปัจจัยภายในหลายอย่างที่ยังเป็นบวก เช่น Bitcoin Halving, Bitcoin ETF Net Inflow, Bitcoin ETF approval ในประเทศอื่นๆ ตาม US เป็นต้น

สภาวะตลาด DeFi โดยรวม

ภาพรวมตลาดคริปโตฯในเดือนเมษายนจะเห็นว่าตลาดปรับตัวลดลงค่อนข้างหนักจากตัวเลขเงินเฟ้อล่าสุดและสงคราม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Altcoin ที่แม้แต่ตัวหลักหลายตัวก็ปรับลงกว่า 50% ส่วน Bitcoin ก็กำลังจะมีเหตุการณ์สำคัญอย่าง Bitcoin Halving ที่ดูแล้วนักลงทุนเหมือนจะทำการลดความเสี่ยง เห็นได้จาก Bitcoin ETF Inflow ที่เริ่มลดลงสำหรับตลาด DeFi ภาพรวม TVL ในช่วงเดือนที่ผ่านมาลดลงกว่า 17%  โดยเชน Arbitrum ปรับตัวลดลงมากที่สุดกว่า 31% ส่วนเชน Solana กลับมี TVL ที่เพิ่มขึ้นถึง 4% เป็นผลมาจาก TVL ของแพลตฟอร์ม Ondo Finance (RWA) และ Sanctum (Liquid Staking) เป็นหลัก ส่วนกระแสการแจก Airdrop บน Solana ก็ยังมีต่อเนื่อง โดยแพลตฟอร์ม Parcel (RWA) เพิ่งแจก Airdrop ไปหมาดๆ  นอกจากนี้ เชนนอก Top 5 ที่มีการเติบโตสูงมากคือ Bitcoin Layer 2 อย่างเช่น Merlin ที่มีการเติบโตสูงกว่า 2700% โดยในปัจจุบันมี TVL อยู่ที่ราว 820 ล้านดอลลาร์แล้ว

ส่วน Ethereum Layer 2 ที่เติบโตโดดเด่นในเดือนที่ผ่านมา คือ Linea, Scroll, zkLink และ Mode ที่มีกิจกรรมเก็บแต้มสำหรับผู้ใช้งานที่ฝากเงินเข้าแพลตฟอร์ม DeFi บนเชน ส่วนอีกเชนที่ถึงแม้จะไม่ได้มีให้เก็บแต้มแต่ก็มีการเติบโตสูงคือ Base โดยแพลตฟอร์ม Aerodrome มีการเติบโตของ TVL มากกว่า 110% ในเดือนที่ผ่านมาสำหรับในเดือนพฤษภาคมที่จะถึงให้จับตาดูเชน Blast ที่มีแผนจะออกเหรียญและแจก Airdrop สำหรับผู้ใช้งาน อีกหนึ่งไฮไลท์สำคัญของเดือนเมษายนคือการเปิดตัว Mainnet ของ EigenLayer/EigenDA  ซึ่งนักวิเคราะห์มองว่าจะเป็นปัจจัยผลักดันให้แพลตฟอร์ม Liquid Restaking ต่างๆ เช่น Ether.fi, Puffer, Renzo, Pendle เติบโตไปอีกได้

วิเคราะห์สภาวะตลาดหลัง Bitcoin Halving 2024

Bitcoin Halving ที่กำลังจะเกิดขึ้นในประมาณวันที่ 20 เมษายน 2567 เป็นการ Halving ครั้งที่ 4 ที่รางวัลจากการขุด Bitcoin จะลดจาก 6.25 BTC เหลือ 3.125 BTC ต่อ Block

จากสถิติย้อนหลัง หลายคนก็น่าจะรู้ดีว่าภายหลังการ Halving มักจะตามมาด้วยการเพิ่มขึ้นของราคา Bitcoin อย่างรุนแรง แต่จากสถิติในครั้งก่อนๆ ราคาของ Bitcoin มักจะใช้เวลาหลังการ Halving อีกหลายเดือนกว่าจะสามารถกลับขึ้นไปทำ All Time High ได้ แต่ในครั้งนี้ราคา Bitcoin กลับทำ All Time High ไปได้ก่อนแล้วทำให้หลายคนเริ่มตั้งข้อสงสัยว่า Bull Run ในรอบนี้สามารถไปได้ไกลแค่ไหน จะน้อยลงหรือมากกว่าที่คาดไว้ หรือ Bull Run จบแล้ว ?

ทางเรามองว่าสาเหตุที่ราคา Bitcoin สามารถทำ All Time High ได้ก่อน Halving นั่นก็เพราะเรื่องของการยื่นขอเปิด Bitcoin Spot ETF ของ BlackRock ตั้งแต่ช่วงกลางปี 2023 และนักลงทุนคาดว่า BlackRock จะสามารถยื่นผ่านและเม็ดเงินมหาศาลจะไหลเข้ามาจึงได้เข้าไปซื้อก่อนการเข้ามาของเงินเหล่านั้น และหลังจาก Bitcoin Spot ETF ถูกอนุมัติจริงๆ ก็มีเงินไหลเข้ามาแล้วกว่า 12,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ​ในระยะเวลาประมาณ 3 เดือนครึ่ง โดยส่วนหนึ่งก็มีความคาดหวังว่าธนาคารกลางสหรัฐจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในปี 2024 ทั้งหมด 3 ครั้งรวมอยู่ด้วย

แต่พอถึงในช่วงที่กำลังจะเกิด Halving กลับมีเรื่องของสงครามเข้ามาและตัวเลขเงินเฟ้อรวมถึงตัวเลขของตลาดแรงงานก็ไม่ค่อยดี ทำให้หลายคนอาจมองว่า Fed อาจไม่ได้ลดตามดอกเบี้ยตามที่คาดการณ์ไว้และสร้างความไม่แน่นอนในตลาด ซึ่งตลาดก็ตอบสนองโดยที่ราคาปรับตัวลดลงจาก All Time High มาประมาณ 18-19% และ Inflow ของ ETF ก็ลดลงเช่นกัน

อย่างไรก็ตามถ้าทุกอย่างเริ่มคลี่คลายและผ่อนคลายมากขึ้น ตลาดเริ่มกลับมาเปิดความเสี่ยง (Risk On) มากกว่านี้ ทางเราคาดว่าจะได้เห็นเงินไหลเข้ามาที่ Bitcoin ได้อีกมากไม่ว่าจะผ่าน Spot ETF หรือเข้าผ่าน Centralized Exchange โดยตรงและทำให้ราคาปรับตัวสูงขึ้นได้ในระยะยาว แต่ในระยะสั้นอาจมีการปรับตัวลงได้เนื่องจากความไม่แน่นอนต่างๆ ดังกล่าวและที่สำคัญในช่วงที่ผ่านมาราคาของ Bitcoin ก็ขึ้นมาเยอะพอสมควรแล้ว ถ้าจะมีการปรับฐานบ้างก็ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร

Ondo Finance และการเคลื่อนไหวของ BlackRock

เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2024 BlackRock มีก้าวสำคัญเข้ามาสู่โลกคริปโตโลกเปิดกอง “BUIDL” ที่เป็นเหมือน Stable Coin แต่จะมีอะไรที่พิเศษไปกว่า Stable Coin ทั่วไป ซึ่ง “BUIDL” จะจ่ายเงินปันผลเข้ากระเป๋าคนที่ถือเหรียญทุกๆ เดือน ที่ทาง BlackRock ทำแบบนี้ได้เนื่องจาก เงินทุนทุกบาทที่อยู่ในกองทุนนี้จะนำไปลงทุนในสินทรัพย์ความเสี่ยงต่ำอย่างพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ หรือสัญญาต่างๆ

การเปลี่ยนแปลงนี้ถือได้ว่าเป็นการสะเทือนวงการครั้งใหญ่ เป็นตัวเลือกการลงทุนรูปแบบใหม่ให้นักลงทุนในตลาดคริปโต เพราะป็นครั้งแรกที่ Stable Coin ที่มีการจ่ายปันผลสู่กระเป๋านักลงทุนโดยตรง โดยไม่ผ่านการฝากผ่าน Platform

นักลงทุนสามารถทำอะไรก็ได้กับเหรียญ “BUIDL” เหมือน Token บนโทเคนที่อยู่บนบล็อกเชน ที่สามารถติดตามได้ตลอดเวลาและใช้งานได้ 24/7/365 

นับตั้งแต่วันที่เปิดกองมา กอง “BUIDL” ได้ระดมทุนไปมากถึง 245 ล้านเหรียญสหรัฐภายใน 1 อาทิตย์ และ 5 ล้านเหรียญสหรัฐ ตั้งแต่วินาทีแรกที่เปิดกอง โดยในเงิน 245 ล้านเหรียญสหรัฐ และในทั้งหมดนั้น ราวๆ 95 ล้านเหรียญสหรัฐ ที่แปลงมาจากกอง OUSG ของ Ondo Finance

เปรียบเทียบผลตอบแทนระหว่างพันธบัตรระยะสั้นและการฟาร์ม Stablecoin

ผลตอบแทนที่ได้จากพันธบัตรรัฐบาลระยะสั้นสหรัฐ (Treasury Bills) แบบระยะสั้น 3 เดือน ที่มีความเสี่ยงต่ำ แต่มีสภาพคล่องและผลตอบแทนสูง ที่ผ่านมาให้ผลตอบแทนสูงขึ้นต่อเนื่องจากความกังวล Recession โดยปัจจุบันผลตอบแทนทรงๆตัว ตอนนี้อยู่เฉลี่ยปีละ 5.25% ส่วนผลตอบแทนจากการฟาร์มหรือปล่อยกู้ Stablecoin บนแพลตฟอร์มต่างๆในให้ผลตอบแทนเฉลี่ยลดลงจากเดือนมีนาคมกว่าครึ่งมาอยู่ที่ 9.56%  

โดยผลตอบแทนฟาร์มและปล่อยกู้ Stablecoin ในเดือนเมษายนลดลงอย่างมีนัยสำคัญ เป็นเพราะว่าสภาวะตลาดคริปโตฯ และ DeFi พักความร้อนแรงลงค่อนข้างมาก ทำให้ธุรกรรมซื้อขายแลกเปลี่ยนและราคาเหรียญที่แจกเป็น Incentive ลดลงตามด้วยนั่นเอง

เปรียบเทียบผลตอบแทน DeFi Farming บนบล็อกเชนต่างๆ

สภาวะตลาด NFT

  • ในเดือนที่ผ่านมาเป็นช่วงที่ตลาดหลักเริ่มมีความกังวลจากภาวะสงครามและความคาดหวังในการลดดอกเบี้ยของสหรัฐอเมริกา เมื่อทุกอย่างยังคงไม่ชัดเจน ทั้งตลาดหลักและตลาด NFT ก็มีสภาวะที่แย่ลงเช่นกัน เหตุนี้ทุกเชนยกเว้น Bitcoin ได้รับผลกระทบเป็นอย่างมาก
  • เนื่องจาก Bitcoin มีกระแสของการถือ Ordinals บางโปรเจกต์เพื่อถือรอรับ Runes ของโปรเจกต์ต่างๆ จึงยังคงเรียกกระแสและ Volume การซื้อขายได้เยอะกว่าเชนอื่นๆ
  • หากพิจารณาตามกราฟด้านบน Bitcoin และ Ethereum จะมี Volume การซื้อขายที่สูงมากแต่ Unique Buyers, Seller ค่อนข้างน้อย แต่ Solana และ Polygon เป็นทางตรงกันข้าม แม้ว่า User จะเยอะกว่าแต่ Volume ค่อนข้างน้อย

Top 5 Volume Projects (Collectible NFT)

Ordinals และ Runes | เข้าสู่ยุคใหม่ของ Bitcoin

RUNES คือ Token Stadard ใหม่ภายใน Bitcoin Ecosystem ที่ถูกสร้างขึ้นและใช้งานด้วย UTXO-model ทำให้ไม่แออัดระบบเท่ากับ BRC-20 และมีคุณสมบัติเป็น Fungible Token มากกว่า โดย Runes จะถูกเปิดใช้ครั้งแรกหลัง Bitcoin Halving

Pre-Runes คือ Ordinals Collections ต่างๆที่เมื่อถือแล้ว ทางโปรเจกต์ต่างๆจะมีเหรียญ Runes ของโปรเจกต์นั้นๆให้ภายหลัง เช่น โปรเจกต์ Runers เมื่อถือแล้ว จะได้รับ $RUNIX ซึ่งเป็น Perp DEX Platform ที่รอเปิดหลัง Halving ของ Bitcoin เช่นกัน

Runes ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดได้แก่ RUNESTONE ซึ่งมีการแจกให้กับผู้ที่เป็น OG ภายใน Ecosystem ของ Ordinals และผู้ที่ถือ Runestone ต่อจากนี้ จะได้รับอีก 3 Meme-Runes อีกด้วย

การมาของ Runes เป็นการเปิดความเป็นไปได้ใหม่ๆให้กับ Ecosystem ของ Bitcoin ซึ่งเป็นที่น่าจับมองเช่นเดียวกันใน Cycle นี้

Authors

Share :
Related
Ethena และ USDe กับยุคใหม่ของ Stablecoin
Cryptomind Research Investment Outlook 2025
Crypto AI Agent ตั้งแต่จุดเริ่มต้นจนถึงปัจจุบัน
NFT กลับมาแล้ว ?