Search
Close this search box.

Cryptomind Monthly Outlook (July 2023)

Share :
monthly cover

Table of Contents

*ข้อมูลระหว่างวันที่ 16 มิถุนายน 2023 – 14 กรกฎาคม 2023

สรุปข่าวเด่น

USD/THB: 30th Thai Prime Minister

ค่าเงินบาทมีแนวโน้มผันผวน ในกรอบ 34.5 – 35  บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ โดย ณ ปัจจุบัน อัตราการแลกเปลี่ยนอยู่ที่ 34.5 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ โดยมี 3 ปัจจัยคอยจับตามองดังนี้ 


1. นักลงทุนในประเทศเทขายตราสารหนี้กว่า 500 ล้านบาท: จากภาพขวามือสุด จะเห็นได้ว่ามีตราสารหนี้ถูกเทขายสุทธิจากนักลงทุนในกลุ่ม บลจ. กว่า 500 ล้านบาท แสดงให้เห็นว่านักลงทุนในประเทศเองเริ่มปิดความเสี่ยงในการลงทุนในประเทศตัวเองในช่วงการเมืองเริ่มเข้าถึงช่วงไคล์แม็กในการเลือกตั้งนายก2. FED อาจจะไม่ขึ้นดอกเบี้ยมากกว่า 5.50% : เนื่องจากทิศทางของดอกเบี้ยเริ่มมีความชัดเจนว่าจะมีการหยุดการขึ้นดอกเบี้ย เพราะเงินเฟ้อเริ่มแสดงให้เห็นว่าเริ่มลดลง อาจจะส่งผลให้ FED หันมาใช้นโยบายคงอัตราดอกเบี้ยแทน  ทำให้ค่าเงินดอลล่าร์เริ่มผ่อนคลายลง
3. ปัจจัยทางการเมืองไทย: การเมืองในประเทศไทยยังคงเป็นเรื่องละเอียดอ่อนและกำลังเข้าสู่ช่วงเปลี่ยนผ่าน จับตามองประเด็นใหญ่ๆ โดยเฉพาะผลการเลือกตั้งนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 ว่า พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ จะสามารถผ่าด่านของ กลต. และ สมาชิกวุฒิสภา ได้หรือไม่ 

Macroeconomics: No rate cut this year

หลังจากกระทรวงแรงงานสหรัฐประกาศตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตร (Nonfarm Payrolls) ในวันที่ 7 กรกฎาคม 2566 ลดลงจากเดือนที่แล้วจากตัวเลข 3.06 แสนตำแหน่ง เหลือเพียง 2.09 แสนตำแหน่ง  แสดงให้เห็นถึงการชะลอตัวของตลาดแรงงาน ถ้ามองในมุมมองตลาดหุ้น การที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล 2 ปี (2-Year Bond Yield) ออกมาสูงถึง 5% เพราะว่ามีแรงเทขายจากนักลงทุน ที่มองตลาดว่ามีความไม่แน่นอนสูง ทั้งนี้ตัวเลขทั้งสองบ่งชี้ไปในทิศทางเดียวกันว่า ตลาดคาดการณ์ว่ามีแนวโน้มสูงที่ Fed จะมีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกอย่างน้อยหนึ่งครั้งในการประชุม FOMC ครั้งต่อไป จากระดับปัจจุบันอยู่ที่ 5.25% ไปเป็น 5.50%  จะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับนี้ไปจนถึงปลายปี ทั้งนี้เรามองเห็นว่า การที่ Fed จะขึ้นดอกเบี้ยต่ออย่างน้อยอีกหนึ่งครั้ง และคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับนี้ จะมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจมหาภาคในช่วงที่เหลือของปี 2023

สภาวะตลาด DeFi โดยรวม

ภาพรวมตลาดคริปโตฯในช่วงเดือนที่ผ่านมายังอยู่ในช่วง Sideway หลังจากที่ปรับขึ้นมาบ้างจากข่าวดีจาก Blackrock และบริษัทอื่นๆ ที่ยื่นขอเปิด Bitcoin ETF ตามมาด้วยการชนะคดีของ Ripple  อย่างไรก็ตาม ตลาดยังขาดปัจจัยบวกภายในและยังถูกกดดันจากสภาวะเศรษฐกิจมหภาคด้วย

สำหรับตลาด DeFi ก็ถือว่าทรงๆ โดยภาพรวม DeFi TVL เพิ่มขึ้นเล็กน้อยที่ประมาณ 3% นำโดย Polygon ที่มี TVL ปรับตัวขึ้นมากสุดที่ 9% ซึ่งคาดว่าอาจเป็นเพราะการประกาศอัปเกรด Polygon 2.0 ที่กำลังใกล้จะมาถึง รวมถึงราคาเหรียญ MATIC ที่ได้ปรับตัวขึ้นแรงกว่า 49% ในเดือนที่ผ่านมา ส่วน BNB Chain เป็นเชนเดียวที่มี TVL ลดลงเล็กน้อยที่ราว 2% โดยส่วนหนึ่งคาดว่ามาจากประเด็นทางด้านกฎหมายกับทาง SEC สหรัฐฯ ที่ยังคงกดดัน Binance อยู่

อย่างไรก็ตาม ในช่วงเวลาแบบนี้ เราก็ยังได้เห็นประโยชน์ของ DeFi อยู่ ซึ่ง Narrative ที่น่าจับตามองที่จะได้ประโยชน์จากความเข้มงวดด้านกฎหมายต่อ CEX อาจทำให้เหล่า DEXs และ Perpetual DEXs ได้รับประโยชน์ได้ อย่างเช่น UniSwap, GMX, dYdX เป็นต้น โดยราคาเหรียญ DeFi หลายตัวได้พุ่งสูงในช่วงเดือนที่ผ่านมา

นอกจากนี้ DeFi Narrative อื่นๆที่น่าจับตามองที่เริ่มเป็นที่พูดถึงกันมากขึ้นก็คือ Real World Assets (RWAs) ซึ่งจะเป็นสะพานเชื่อมระหว่าง TradFi เข้ากับ DeFi ตัวอย่างเช่น Centrifuge, Maple Finance, Goldfinch, Ondo Finance เป็นต้น

รายงานของ Bank of America เรื่อง Tokenization

วันที่ 29 มิถุนายนที่ผ่านมา Bank of America หนึ่งในธนาคารที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกาได้ทำการเผยแพร่รายงานเกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิตอล เน้นถึงเรื่องการ Tokenization ในหัวข้อ Global Digital Assets Beyond Crypto: Tokenization

Tokenization คือ?
Tokenization คือ กระบวนการสร้างสินทรัพย์ทางการเงินและไม่เป็นทางการเงินให้เป็นรูปแบบดิจิตอลโดยที่สามารถนำมาแลกเปลี่ยนและติดตามได้ด้วยเทคโนโลยีจัดเก็บข้อมูลแบบกระจายศูนย์ (Distributed Ledger) หรือ บล็อกเชน

Tokenization สำคัญอย่างไร?

ในรายงานได้มีการพูดถึงการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของโครงสร้างพื้นฐานไม่ว่าจะเป็นการส่งถ่าย การชำระ รวมไปถึงการเก็บมูลค่าในทุกๆอุตสาหกรรมต่อจากนี้ และถึงแม้ว่า Tokenization จะเป็นแค่หนึ่งในวิธีการใช้งานของ DLT/BCT (Distributed Ledger หรือ Blockchain Technology) แต่แค่กรณีการใช้งานนี้ก็อาจจะเป็นการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างพื้นฐานครั้งใหญ่ ทั้งโลกการเงินและโลกที่ไม่ใช่การเงิน ทั้งตลาดการเงินสาธารณะและเอกชนใน 5-15 ปีต่อจากนี้

หากมองกลับไปหานวัตกรรม Disruption ต่างๆในอดีต ต่างใช้เวลาถึง 30 ปีในการเข้าถึงการใช้งานในหมู่คนทั่วไป แต่ในรายงานนี้ได้คาดการณ์ว่าสินทรัพย์ดิจิตอลจะใช้เวลาน้อยกว่านั้นมาก

ประเด็นสำคัญต่างๆที่มีการพูดถึง

  1. Stable Coins ออกโดยสถาบันทางการเงินต่างๆ
  2. NFT ไม่ว่าจะเป็นผลงานศิลปะหรือตั๋วหรืออื่นๆ
  3. Supply Chain
  4. Carbon Credit
  5. Fractionalization ของงานศิลปะ ทำให้โปร่งใส เข้าถึงง่าย และเพิ่มสภาพคล่อง

จากรายงานทำให้เรามองต่อไปว่า โอกาสในการลงทุนคริปโตฯยังคงมีอยู่ในระยะยาว และ Tokenization อาจจะเป็น Next Narrative ต่อไปก็ได้ 

Polygon 2.0 เสนอเปลี่ยนชื่อ MATIC เป็น POL และปรับ Tokenomics ใหม่

คืนที่ผ่านมา Polygon 2.0 ได้ประกาศรายละเอียดเพิ่มขึ้นในส่วนของ Tokenomics ซึ่งเป็นส่วนที่ทุกคนจับตารอดูอย่างมากและเซอไพรส์ใครหลายคนคือการ “เปลี่ยนชื่อเหรียญจาก $MATIC เป็น $POL” โดยรายละเอียดสำคัญจะมีด้วยกัน 4 เรื่องคือ 1) รูปแบบการใช้งานที่พัฒนาขึ้น
คือการ “ตรวจสอบธุรกรรมได้ทุกเชนที่เชื่อมต่อกันบน Polygon” และสามารถ “รับงานที่แต่ละเชนยื่นเสนอเพิ่ม” ได้อีกด้วย

2) ประโยชน์ของการถือเหรียญ
การที่ Validator Node ของ Polygon สามารถตรวจสอบธุรกรรมได้หลายเชนและรับงานเพิ่มขึ้นได้ ช่วยเพิ่มประโยชน์ให้การถือเหรียญได้ดังนี้

– สามารถรับ Block reward (Protocol Reward) ได้เพิ่มมากขึ้นจากหลายเชน

– สามารถรับค่าธรรมเนียม (Transaction Fee) ได้จากหลายเชน

– อาจมีรายได้เสริมจากการรับงานเพิ่มของแต่ละเชน

– มีสิทธิ์ในการโหวตทิศทางของเชน (Governance)

การอัพเกรดในครั้งนี้จะทำให้ผู้ถือไม่ได้มอง $POL เป็นเหมือนเหรียญที่ใช้เป็นค่าแก๊สเพียงอย่างเดียว แต่ยังมี Utility อื่นๆเพิ่มขึ้นอีกมากในการใช้งาน

3) Tokenomics
– เปลี่ยน Total supply 10,000,000,000 MATIC เป็น 10,000,000,000 POL + การเฟ้อ 2% ทุกปี (Tail emission)

การปรับเปลี่ยนนี้แม้จะทำให้ Total supply ไม่มีจำกัดจนอาจเกิด Dilution effect หนักมากได้ แต่ Polygon นั้นได้ Implement EIP-1559 แบบเดียวกับ Ethereum ที่จะมีการ Burn $POL ทุกครั้งที่มีการทำธุรกรรม ดังนั้น หากมีการใช้งานเพิ่มมากขึ้น ก็อาจชดเชยการเฟ้อและทำให้เติบโตได้ในระยะยาวได้เช่นกัน4) ขั้นตอนการแปลงเหรียญ
Polygon จะเปิดให้ผู้ถือเหรียญ $MATIC เปลี่ยนเป็น $POL ได้ในอัตรา 1:1 ขั้นตอนนี้ต้องทำด้วยตัวเองด้วยคำสั่ง Swap ที่เขียนขึ้นมาโดยเฉพาะ ไม่มีระบบอัตโนมัติ สำหรับการถือ $MATIC บน CEX หรือ Custodian wallet ต่างๆ เราคาดว่าทางผู้ให้บริการจะเปลี่ยนให้ผู้ถือโดยอัตโนมัติ

ข้อเสนอการอัปเกรด Polygon 2.0 ในพาร์ท Tokenomics ในครั้งนี้ทำให้เห็นทิศทางที่ Polygon มุ่งหน้าจะไปได้อย่างชัดเจน การมีแผนระยะยาวและการยกเครื่อง Tokenomics ใหม่ในครั้งนี้จะช่วยหล่อเลี้ยงให้ Polygon ecosystem สามารถเติบโตได้อย่างแข็งแกร่งมากขึ้น 

อย่างไรก็ตามข้อเสนอดังกล่าวก็มีจุดที่ทำให้คนตั้งข้อสงสัยว่าเป็นการชี้นำการลงทุนหรือไม่ และทุกอย่างในนี้ยังเป็นเพียงข้อเสนอเท่านั้น ยังต้องมีการถกเถียงและแก้ไขเพื่อให้ Community พึ่งพอใจก่อนจะใช้งานได้จริง ซึ่งจะกินเวลามากกว่า 1 เดือนอย่างแน่นอน และอีกประมาณ 1 อาทิตย์ ทาง Polygon 2.0 จะมีการอัปเดตเรื่อง Governance อีกด้วย เพราะฉะนั้นทุกอย่างยังไม่นิ่งจนกว่าจะเริ่มเปิดโหวตและใช้งานจริง

การขึ้นราคาของเหรียญ DeFi เจ้าเก่าอย่างไม่มีใครคาดคิด

ในช่วงเดือนที่ผ่านมาเหรียญแพลตฟอร์ม DeFi OG หลายๆตัวอย่าง Curve (CRV), Compound (COMP), Aave (AAVE) และ MakerDAO (MKR) มีการปรับตัวขึ้นมาก เรียกว่า outperform เหรียญอื่นหลายๆตัว โดยตัวหลักๆที่ขึ้นแรงเลยคือ COMP ที่ขึ้นมากว่า 150% จากกลางเดือนที่แล้ว ซึ่งข่าวสารหลักๆ ของ COMP เลยก็คือ Founder/former CEO ของ Compound ชื่อ Robert Leshner ได้ประกาศลาออกไปตั้งบริษัทใหม่ชื่อ Superstate 

บริษัท Superstate นั้นเป็นบริษัทกองทุนที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับการลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ ในสหรัฐอเมริกา มีเป้าหมายที่จะสร้าง Financial product ที่เชื่อมระหว่าง Traditional กับ Blockchain ได้ ซึ่งเรื่องนี้ทำให้เกิดข่าวลืออย่างหนาหูว่า ผู้ถือเหรียญ COMP นั้นอาจจะได้รับ Airdrop จากบริษัทใหม่อย่าง superstate ทำให้ราคาพุ่งขึ้น รวมถึงมีกระเป๋าวาฬได้ทำการถอนเหรียญ COMP จาก Binance มูลค่ากว่า 10 ล้านดอลล่าร์สหรัฐอีกด้วย

ส่วนอีกตัวหนึ่งที่มีข่าวที่น่าสนใจนั่นคือตัว AAVE ที่มีข่าวว่าจะออกเหรียญ GHO ซึ่งเป็น Stablecoin ประจำ Platform ล่าสุดมีการโหวต Proposal ถึงการเปิดตัว GHO บน Mainnet แล้วซึ่งผลการโหวต ณ วันที่เขียนก็เห็นได้ชัดว่า Community เห็นไปในทิศทางเดียวกันว่าให้ Deploy ลง Mainnet เลยซึ่งนับว่าการพัฒนาครั้งสำคัญของ Platform เลยก็ว่าได้

สำหรับตัว CRV และ MKR แล้ว คิดว่าราคานั้นขึ้นจากกระแสการขึ้นของเหรียญ DeFi ต่างๆ ที่ส่งผลมา แต่ในทางพื้นฐานของตัว Platform DeFi เหล่านี้นั้น ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากนัก ราคาที่ขยับขึ้นอาจร่วงกลับลงมาได้ การลงทุนจึงควรระวังการผันผวนของราคาที่อาจจะเกิดขึ้นจากข่าวระยะสั้นเหล่านี้ด้วย

opBNB การอัปเกรดครั้งใหญ่ของ BNB Smart Chain (BSC)

ในวันที่ 19 มิถุนายน BNB Smart Chain (BSC) ได้เปิดตัว EVM-Layer2 ของตัวเองที่มีชื่อว่า “opBNB” บน Testnet, opBNB เป็น Scaling Solution ที่จะมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ และแก้ไขปัญหาต่างๆ บน BNB Smart Chain (BSC)

opBNB ใช้หลักการทำงานรูปแบบ Optimistic Rollup ที่ Fork มาจาก Optimism เวอร์ชั่นล่าสุดที่มีการอัพเกรด Bedrock เรียบร้อยแล้ว, ซึ่งมี Fraud proof ในการตรวจสอบธุรกรรมและสามารถรองรับ EVM-Compatible 

EVM-Compatible ที่ opBNB รองรับนั้นทำให้นักพัฒนาที่คุ้นเคยกับการเขียน Smart Contract บน Ethereum สามารถเขียนบน opBNB ได้โดยที่ไม่ต้องปรับแต่งอะไร, ทำให้นักพัฒนา สามารถสร้าง Dapp ต่างๆบน opBNB ได้อย่างรวดเร็ว

opBNB นั้นพัฒนาต่อยอดมาจาก Op Stack ของ Optimism ทำให้สามารถรองรับธุรกรรมได้สูงถึง 4,761 ธุรกรรมต่อวินาที ซึ่งมากกว่าของ Optimism ที่อยู่เพียง 2,000 ธุรกรรมต่อวินาที, อีกทั้งค่าแก๊สของ opBNB โดยเฉลี่ยจะอยู่ที่ $0.005 ถูกกว่าค่าแก๊สโดยเฉลี่ยของ BSC ที่ $0.1, ซึ่งลดลงมากถึง 95.41%
Layer1 Blockchain เช่น Ethereum และ BSC มักจะประสบปัญหาเรื่องความหนาแน่น ของธุรกรรม ในช่วงเวลาที่มีการใช้เยอะ ซึ่งทำให้ธุรกรรมช้าและค่าแก๊สแพง, เพื่อแก้ปัญหาเหล่านี้ BSC จึงทำการอัพเกรด opBNB เพื่อทำให้ผู้ใช้งาน สามารถทำธุรกรรมได้ถูกลงและรวดเร็วมากขึ้น และรองรับการใช้งานที่จะเพิ่มขึ้นอีกในอนาคต

การยื่นขอเปิด Bitcoin ETF ของ BlackRock

opBNB นั้นพัฒนาต่อยอดมาจาก Op Stack ของ Optimism ทำให้สามารถรองรับธุรกรรมได้สูงถึง 4,761 ธุรกรรมต่อวินาที ซึ่งมากกว่าของ Optimism ที่อยู่เพียง 2,000 ธุรกรรมต่อวินาที, อีกทั้งค่าแก๊สของ opBNB โดยเฉลี่ยจะอยู่ที่ $0.005 ถูกกว่าค่าแก๊สโดยเฉลี่ยของ BSC ที่ $0.1, ซึ่งลดลงมากถึง 95.41%
Layer1 Blockchain เช่น Ethereum และ BSC มักจะประสบปัญหาเรื่องความหนาแน่น ของธุรกรรม ในช่วงเวลาที่มีการใช้เยอะ ซึ่งทำให้ธุรกรรมช้าและค่าแก๊สแพง, เพื่อแก้ปัญหาเหล่านี้ BSC จึงทำการอัพเกรด opBNB เพื่อทำให้ผู้ใช้งาน สามารถทำธุรกรรมได้ถูกลงและรวดเร็วมากขึ้น และรองรับการใช้งานที่จะเพิ่มขึ้นอีกในอนาคต

หนึ่งข้อมูลที่น่าสนใจของ iShares by BlackRock ก็คือสถิติความสำเร็จของการยื่น ETF ต่อกลต. ที่ยื่นไปทั้งหมด 576 ครั้ง มีไม่ผ่านแค่ครั้งเดียว ซึ่งคิดเป็นอัตราความสำเร็จถึง 99.8% เลยทีเดียว และด้วยชื่อเสียงของ BlackRock รวมถึงอำนาจการต่อรองที่ค่อนข้างมาก ทำให้การยื่นในครั้งนี้ก็มีแนวโน้มสูงว่าจะผ่านได้ไม่ยาก

ทำให้หลายบริษัทที่เคยถูกปฏิเสธการยื่นขอเปิด Bitcoin ETF จาก กลต. มาก่อนหน้านี้อย่างเช่น BitWise, WisdomTree, Invesco, VanEck และ Grayscale ได้รีบกลับมายื่นใหม่เพราะหาก กลต. ให้ทาง BlackRock ผ่าน ก็ไม่มีเหตุผลที่จะปฏิเสธการยื่นของบริษัทอื่นๆ

สิ่งที่ยืนยันความตั้งใจของ BlackRock ก็คือการที่ Larry Fink ผู้เป็น CEO ของ BlackRock ได้ออกมายืนยันมุมมองของเขาต่อ Bitcoin ในรายการของ FOX Business เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2023 ที่ผ่านมา โดย Larry ได้กล่าวว่า Bitcoin เป็น International Asset และเป็นทางเลือกของสินทรัพย์​ป้องกันเงินเฟ้อได้ และยอมรับว่ามุมมองที่เขามองเมื่อปี 2017 ว่า Bitcoin เป็นสินทรัพย์ที่เป็นตัวชี้วัดการฟอกเงินนั้นได้เปลี่ยนไปแล้ว

นอกจากนี้ก็มีมุมมองเชิงบวกจาก Jay Clayton ที่เป็นอดีต SEC Chairman ได้ให้สัมภาษณ์กับ CNBC และมีการพูดถึงว่า SEC ยากที่จะปฏิเสธการขอเปิด Bitcoin ETF หากสามารถชี้ให้ SEC เห็นได้ว่าตลาด Spot Bitcoin ETF ก็มีประสิทธิภาพเท่าเทียมกับตลาด Futures รวมถึงการเลือกนำเสนอบทความและข่าวของ Forbes ที่มีแต่สิ่งที่ส่งผลเชิงบวกให้กับ Bitcoin ทั้งที่เมื่อก่อนบทความเกี่ยวกับ Bitcoin ในเชิงบวกจะไม่ค่อยถูกอนุมัติให้เผยแพร่เท่าไรนัก

การเคลื่อนไหวของ BlackRock ในครั้งนี้ได้แสดงถึงมุมมองของพวกเขาต่อ Bitcoin ได้อย่างดีว่าพวกเขาคิดเห็นและมอง Bitcoin อย่างไร ซึ่งแน่นอนว่าก็ต้องเป็นในทิศทางบวกเพราะ BlackRock คงไม่ยื่นขอเปิด ETF โดยไม่ได้ยอมรับและเข้าใจสินทรัพย์นั้นอย่างแท้จริง อีกทั้งพวกเขายังมีชื่อเสียงและความน่าเชื่อถือของตัวเองเป็นประกันอยู่ด้วย

การยื่น Bitcoin ETF ของ BlackRock จะทำให้มุมมองของผู้คนต่อ Bitcoin เปลี่ยนแปลงไปทางที่ดีขึ้นกว่าแต่ก่อนมาก ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่เคยเข้ามาและออกจากตลาดไปด้วยความไม่เข้าใจและคนที่ไม่เคยสนใจ Bitcoin มาก่อน โดยการเคลื่อนไหวครั้งนี้มีแนวโน้มที่จะมีผลกระทบต่อ Sentiment ของตลาดมากกว่าตอน Microstrategy และ Tesla เข้าซื้อ Bitcoin เสียอีก

เปรียบเทียบผลตอบแทนระหว่างพันธบัตรระยะสั้นและการฟาร์ม Stablecoin

ผลตอบแทนที่ได้จากพันธบัตรรัฐบาลระยะสั้นสหรัฐ (Treasury Bills) แบบระยะสั้น 3 เดือน ที่มีความเสี่ยงต่ำ แต่มีสภาพคล่องและผลตอบแทนสูง ให้ผลตอบแทนเฉลี่ยปีละ 6.41% ส่วนผลตอบแทนจากการฟาร์มหรือปล่อยกู้ Stablecoin บนแพลตฟอร์มต่างๆในช่วงนี้ให้ผลตอบแทนเฉลี่ยปีละ 6.41% ซึ่งสำหรับการฟาร์ม Stablecoin สามารถเลือกฝากกับแพลตฟอร์มที่มีความปลอดภัยสูงและเปิดมานาน เช่น Curve, UniSwap, PancakeSwap, Aave, Compound, Traderjoe หรือจะเลือกฝากบนแพลตฟอร์มที่ใหม่กว่าและผลตอบแทนสูงกว่าอย่างเช่น Velodrome ก็ได้เช่นกัน โดยผลตอบแทนเฉลี่ยระหว่างพันธบัตรเทียบกับการฟาร์ม Stablecoin ต่างกันอยู่ที่ประมาณ 1.23 เท่า ซึ่งผลตอบแทนจากการฟาร์ม Stablecoin เฉลี่ยแล้วถือว่าสูงกว่า Short-term Treasury Bills เพียงเล็กน้อยเท่านั้น

โดยผลตอบแทนฟาร์มและปล่อยกู้ Stablecoin ลดลงจากเดือนก่อนๆพอสมควร เป็นเพราะว่าสภาวะตลาดคริปโตฯและ DeFi ลดความร้อนแรงลงจากการถูกกดดันจากสภาวะเศรษฐกิจมหภาคที่ยังไม่นิ่ง รวมถึงขาดปัจจัยภายในขับเคลื่อน ทำให้ธุรกรรมซื้อขายแลกเปลี่ยนและราคาเหรียญที่แจกเป็น Incentive ลดลง

เปรียบเทียบผลตอบแทน DeFi Farming บนบล็อกเชนต่างๆ

สภาวะตลาด NFT

สภาวะตลาด NFT ในช่วง 30 วันที่ผ่านมาพบว่าปริมาณซื้อขาย NFT บน Ethereum Blockchain มีการปรับตัวขึ้นเล็กน้อย ซึ่งนำมาด้วยคอลเลคชั่น Bored Ape Yacht Club และ Azuki ที่มีประมาณการซื้อขายกว่า 98,000 ETH และ 58,000 ETH ตามลำดับ แต่ถึงจะมีประมาณการซื้อขายที่เพิ่มขึ้นจาก 30 วันย้อนหลัง สภาวะตลาด NFT เมื่อสองสัปดาห์ก่อนหน้านี้ก็ถูกเทขายหนักพอสมควร จาก Whales หลายคนที่มีการเทขาย Blue Chip NFT ในราคา Floor รวมไปถึงดราม่าโปรเจกต์ใหม่ของ Azuki

เพราะฉะนั้นการลงทุน NFT ในช่วงนี้จึงควรพิจารณา NFT คอลเลคชั่นที่สามารถยืนราคาได้ในสภาวะตลาดผันผวนอย่าง The Captainz และ Pudgy Penguins ที่สามารถยืนราคาได้อย่างน่าทึ่ง

Top 5 Volume Projects (Collectible NFT)

Azuki “Dilute” ตัวเองผ่านการออก Collection ใหม่?

เมื่อวันที่ 24 มิถุนายนที่ผ่านมา Azuki ได้เปิดตัว Collection ที่ 3 ของ Ecosystem โดยใช้ชื่อว่า “Azuki Elementals” ซึ่งเป็น Profile Picture NFT จำนวน 20,000 ชิ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อขยายฐานการเติบโต Community ของ Azuki ที่ใช้ชื่อเรียกว่า Garden โดย 10,000 ชิ้นจะ Airdrop ให้กับ Azuki Holder (เช่นเดียวกับ Beanz ซึ่งเป็น Collection ที่สอง) และอีก 10,000 ชิ้นจะขายผ่านวิธี Dutch Auction โดยจะเริ่มต้นประมูลที่ราคา 2 ETH ซึ่งจะแบ่งขายเป็น 3 รอบ ได้แก่ รอบ Azuki Holder 10 นาที, รอบ Azuki กับ Beanz Holder 10 นาที และรอบ Public ถ้าเหลือประมูลจากสองรอบก่อนหน้า ซึ่งทางทีม Azuki ก็สามารถกวาดรายได้ไปกว่า 20,000 ETH หรือประมาณ 1,280 ล้านบาทภายในระยะเวลาเพียง 10 นาทีเท่านั้น

สุดท้าย ภายหลังระยะเวลาการ Mint ได้ไม่ถึงวันก็มี FUD เกิดขึ้น โดยหลังจาก Elementals มีการ Reveal ออกมานั้น หน้าตาของ Elementals มีความคล้ายคลึงกับ Azuki เป็นอย่างมาก จน Community หลายๆคนได้บอกว่ามันเหมือนเป็นการ Dilute ตัว Azuki เอง ซึ่งจากสาเหตุนี้จึงทำให้ Collection Azuki และ Beanz ถูกเทขายร่วงไปถึงจุดต่ำสุดประมาณ -45% (Azuki Floor Price 8.9 ETH) และ -51% (Beanz Floor Price 0.62 ETH) ก่อนราคาจะค่อยๆฟื้นตัวขึ้นมาเล็กน้อย

ซึ่งถึงแม้ว่าทางทีมจะมีการ Clarify ผ่าน Twitter แล้วว่า Azuki จะถือว่าเป็น Collection หลักและได้รับสิทธิประโยชน์เหนือกว่า Collection อื่นๆ แต่สิ่งนี้ก็ไม่ได้ทำให้ Community อยากกลับมาถือ Azuki มากขึ้นแต่อย่างใดหากดูได้จาก Floor Price ที่ไม่ได้ดีดกลับอย่างทันทีเหมือนกับตอนที่ Zagabond เจ้าของ Azuki ออกมายอมรับผิดว่าเคยทำ Project Rug Pull แต่สุดท้าย Community ก็ยังเชื่อมั่นและทำให้ราคาของ Azuki ดีดกลับขึ้นมาแรงมาก สุดท้ายแล้วการออก Collection ใหม่ของ Azuki จะเป็นเหมือนการที่ BAYC ออก MAYC แล้วทำให้ Ecosystem ขยายใหญ่ขึ้น หรือทำให้มูลค่าลดลงไปตลอดกาล เราก็ต้องจับตาดูกัน

.

Authors

Share :
Related
CoinTalk (17/5/2024):
Injective Airdrop Guide
Solana Mobile ซื้อโทรศัพท์แล้วได้เงินมีอยู่จริง !!
CoinTalk (10/5/2024): จับตา Narrative AI