Search
Close this search box.

Cryptomind Biweekly Outlook (16-30 November 2022)

Share :
16-30 NOV

Table of Contents

BTC Technical Analysis

ขอบคุณภาพจาก Tradingview

สำหรับ 2 อาทิตย์สุดท้ายของเดือนพฤศจิการยน ราคาของ Bitcoin ยังถือว่าไม่ไปไหนโดยมีการปรับตัวขึ้นมา 1.7% จากราคาเปิดของสัปดาห์สิ้นเดือน ในภาพรวมราคายังเคลื่อนที่อยู่ในแนวโน้มขาลง และยังคงทำจุดต่ำสุดใหม่อย่างต่อเนื่อง ร่วมกับราคายังไม่สามารถตัดขึ้นเหนือเส้นค่าเฉลี่ย EMA 50 วันได้ทำมองว่าราคา ทำให้นักวิเคราะห์หลายรายมองว่าราคามีโอกาสปรับตัวลงต่อสูง โดยแนวรับต่อไปที่นักลงทุนจับตามองคือที่โซนราคา $14,000 เนื่องจากเป็นแนวต้านเก่าที่สำคัญใน Time Frame รายสัปดาห์

ส่วนใน TF 4 H นั้นได้เกิดหลายสัญญาณที่น่าสนใจในสัปดาห์ที่ผ่านมา คือหลังจากที่ราคาได้หลุดจุดต่ำสุดก่อนหน้าที่ราคา $15,888 ราคาได้ปรับตัวลงทำจุดต่ำสุดใหม่ที่ราคา $15,476 และเกิดสัญญาณ Bullish Divergence ของ RSI ตามเส้น Trend line สีน้ำเงินในภาพพร้อมกับมีการทำแท่งเทียนกลับตัวในรูปแบบ Hammer จึงมองว่าราคามีโอกาสปรับตัวขึ้นได้ในระยะสั้น โดยแนวต้านสำคัญของการปรับตัวขึ้นในรอบนี้คือที่โซนราคา $17,300 และ $18,100 ตามลำดับ (เส้นแนวต้านสีเขียว) 

อย่างไรก็ตามด้วยรูปแบบการเคลื่อนที่ในภาพใหญ่ยังอยู่ในแนวโน้มขาลงจึงมองว่าการขึ้นครั้งนี้มีโอกาส เป็นการขึ้นเพื่อลงต่อสูง โดยจาก Fibo Projection จะเห็นว่าแนวรับต่อไปที่สำคัญคือโซนราคา $15,100 และ $14,100 ตามลำดับ

โดยสรุป Bitcoin ในช่วงท้ายเดือนมีการทำสัญญาณของความขัดแย้งขึ้นใน TF 4 H แต่ด้วยภาพที่ยังคงเป็นแนวโน้มขาลงทำให้นักวิเคราะห์ส่วนมากมองว่าราคามีโอกาสขึ้นไปติดแนวต้านที่ โซนราคา $17,300 หรือ  $18,100 และมีการปรับตัวลงต่อไปที่โซน $15,100 และ $14,100 ตามเส้นลูกศรสีฟ้า

ETH Technical Analysis

ขอบคุณภาพจาก Tradingview

ในส่วนของ Ethereum ยังถือว่าราคามีความแข็งแกร่งเนื่องจากราคาไม่ได้เกิดการปรับตัว ลงจนหลุด Low ก่อนหน้าในช่วงต้นเดือนที่ราคา $1,071 โดยในสัปดาห์ที่ผ่านมาราคาได้มีการปรับตัวขึ้น 3.7% อย่างไรก็ตามราคาในภาพรวมยังคงอยู่ในแนวโน้มขาลงและยังไม่สามารถปรับตัวขึ้นจนตัดเส้นค่าเฉลี่ย  EMA 20 วันได้ ทำให้ยังคงมองว่าถ้าราคามีการปรับตัวหลุดจุดราคา $1,071 จะมีโอกาสปรับตัวลงต่อสูงซึ่งแนวรับถัดไปของ $ETH จะอยู่ที่โซนราคา $1,010 และ $831 ตามลำดับ

สำหรับกราฟราคาของ $ETH ใน TF 4 H นั้นจะเห็นว่าราคามีการเคลื่อนที่อยู่ในกรอบโดยที่ไม่หลุด Low ก่อนหน้า ทำให้สามารถมองว่าเป็นสัญญาณของความแข็งแรงของราคาได้ทำให้มองว่าอาจมีการกลับตัวขึ้นเพื่อไปทดสอบจุดสูงสุดก่อนหน้าได้ ในทางกลับกันการที่ราคาเคลื่อนที่อยู่ในกรอบใกล้กับบริเวณแนวรับสำคัญแสดงให้ถึงความเปราะบางของราคาเช่นกันเนื่องจากหากราคาเคลื่อนที่หลุด Low ประกอบกับภาพใหญ่เป็นแนวโน้มขาลงทำให้ต้องมองแนวรับถัดไปทันที จึงมองว่านักวิเคราะห์ส่วนมากมองกรอบของราคาระหว่างเส้นสีส้มทั้งสอง($1,234 – $1,148)เป็นสำคัญ หากมีการ Break out น่าจะมีแรงซื้อหรือขายตามทิศทางของการเบรค โดยหากมีการเบรคขึ้นจะมีแนวต้านสำคัญที่โซนราคา $1,510 และหากเบรคลงจะมีแนวรับสำคัญที่โซนราคา $1,010 และ $831 

โดยสรุปมองว่าแม้ราคาของ Ethereum จะยังเคลื่อนที่อยู่ในแนวโน้มขาลง ราคาได้มีการแสดงถึงความแข็งแรงด้วยการไม่หลุดแนวรับสำคัญเมื่อมีการปรับตัวลงแรง ปัจจุบันราคามีการเคลื่อนที่อยู่ในกรอบของราคาที่แคบทำให้นักลงทุนส่วนมากจับตามองทิศทางของการ Breakout ของราคาและมีโอกาสเห็นการเคลื่อนที่ที่รุนแรงหากมีการ Break out เกิดขึ้นจริง จึงขอแนะนำให้นักลงทุนระมัดระวังและจัดการ Position sizing ให้เหมาะสมกับความเสี่ยงของตัวเอง

Thailand Tourism is Recovering

ปัจจุบันอัตราการแลกเปลี่ยนของค่าเงินบาทและดอลล่าร์สหรัฐอยู่ในเรทที่ 35.4 บาทต่อ 1 ดอลล่าร์สหรัฐ ซึ่งก็เงินบาทถือว่าแข็งค่ากลับมาได้ค่อนข้างดี ซึ่งปัจจัยสำคัญที่อาจจะให้นำพิจารณาก็คือ
“การท่องเที่ยว” ซึ่งเป็น sector หลักของประเทศไทยเลยทีเดียว จากภาพซ้ายมือจะเห็นได้ว่านักท่องเที่ยวเริ่มกลับเข้ามาเที่ยวในประเทศไทยมากขึ้นหลังจากสถานการณ์ Covid-19 เริ่มผ่อนคลายลง ตัวเลขเติบโตขึ้นอย่างมีนัยยะ 

ทว่า ถ้าเรา Zoom out ออกมาดูแล้วจะเห็นได้ว่าตัวเลขนี้ก็ยังไม่ถึงครึ่งของการท่องเที่ยวในช่วงก่อนจะเกิดโรคระบาดเลยด้วยซ้ำ แต่ก็ยังเป็นสัญญาณที่ดีที่แสดงให้เห็นว่า เศรษฐกิจฝั่งท่องเที่ยวของบ้านเรานั้นกำลังเริ่มฟื้นตัว  

มุมมองในช่วงนี้: เงินบาทยังสามารถรักษาระดับได้ที่โซน 35 ถึง 36 บาทได้ แต่ถ้าตัวเลขการท่องเที่ยวในปีหน้าออกมาดีขึ้น เราอาจจะได้เห็นการแข็งค่าที่มากขึ้น แต่อาจจะแข็งมากไม่ได้ เพราะต้องเข้าใจว่าค่าเงินอ่อนก็ดึงดูดนักท่องเที่ยวเช่นกัน

ตัวเลขอัตราส่วนระหว่าง ราคาบ้านและค่าเช่าของ US นั้นยังคงอยู่ในระดับสูง ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเงินเฟ้อส่วนใหญ่นั้นยังมาจากภาคอสังหาริมทรัพย์อยู่ ถ้าอัตราส่วนนี้อยู่สูงเท่ากับว่า ราคาบ้านนั้นแพงกว่าราคาเช่าค่อนข้างเยอะ อาจจะมีแรงเก็งกำไรเยอะ จนทำให้ตัวเลขของค่าเช่านั้นขึ้นตามไม่ทัน ซึ่งค่าเช่าก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ Core CPi (เงินเฟ้อแบบไม่รวมพลังงาน) นั้นกดไม่ลง

ซึ่งถ้ามองออกมาเป็นภาพใหญ่ๆแล้วจะเห็นได้ว่าอัตราส่วนนี้จะค่อยๆขยับขึ้น ความชันของก็ไม่ได้ชันมาก แต่ตั้งแต่การอัดฉีดเม็ดเงินก้อนใหญ่เข้าระบบของ FED ในการช่วยเหลือเคสของ Covid-19 ก็จะเห็นได้ว่ากราฟได้เปลี่ยนความชันกลายเป็นพุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ดังนั้นเราก็อาจจะต้องใช้ Indicator นี้ในการดูทิศทางเงินเฟ้อของ US ได้เช่นกัน เนื่องจากตลาดอสังหาริมทรัพย์ของ US เป็นตลาดที่ใหญ่มากๆ ดังนั้นเม็ดเงินในตลาดนี้สามารถส่งผลให้เห็นถึงเศรษฐกิจภาพรวมของ US ได้เช่นกัน  

สัปดาห์ที่ผ่านมาภาพรวมตลาด Cryptocurrency ยังคงอยู่ในระดับทรงตัวจากที่ก่อนหน้านี้ได้ปรับตัวลดลงมาพอสมควรจากการล่มสลายของ FTX Exchange ซึ่งถึงแม้ว่าตลาดจะดูนิ่งๆแต่ทางเราคาดว่าอาจจะยังมีเหตุการณ์ Domino ตัวถัดไปก็ได้ ซึ่งควรต้องจับตาดูอย่างใกล้ชิดกันต่อไป นอกจากนี้ จาก Sentiment ดังกล่าวทำให้ TVL ของ DeFi ปรับตัวลดลงเล็กน้อยที่ -4.68% นำโดยเชน Avalanche ที่ TVL ลดลง -12.45% และเชน Solana ที่ปรับตัวลดลงต่อเนื่องอีก -14% จากก่อนหน้านี้ในช่วงที่เกิดเหตุการณ์ FTX ใหม่ๆได้ปรับลดลงมาแล้วถึง 66% จะมีก็เพียงแต่ BNB Chain และ Tron ที่มี TVL ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย

ถึงแม้ภาพรวม DeFi TVL ดูเหมือนจะไม่ไปไหน ก็ยังมีแพลทฟอร์ม DeFi หลายๆตัวที่น่าสนใจและมีการพัฒนา Product ใหม่ออกมาตลอด อย่างเช่น Curve ที่เพิ่งประกาศเปิดตัว Curve Stablecoin โดยใช้กลไกรูปแบบใหม่ (อ่านเพิ่มเติมหน้าถัดไป) นอกจากนี้ ยังมี DeFi Narrative ที่กำลังมาแรงและน่าจับตามองที่ราคาแข็งกว่าตลาดในช่วงที่ผ่านมาอย่างเช่น Decentralized Exchanges, Decentralized Derivatives/Options Exchanges ซึ่งได้รับผลประโยชน์จากเหตุการณ์ FTX ในช่วงนี้ และอีก Narrative ที่มาแรงไม่แพ้กันคือ Arbitrum Season จากการที่มีข่าวแว่วมาว่ากำลังจะออกเหรียญในเร็วๆนี้ โดยแพลทฟอร์มที่น่าสนใจสำหรับทั้งสอง Narrative นี้ อย่างเช่น Gains Network ที่เป็นแพลทฟอร์ม Leverage Trading คล้ายกับ GMX ที่เดิมอยู่บน Polygon แต่จะไปเปิดตัวบน Arbitrum ด้วย นอกจาก Gains Network แล้วก็ยังมีแพลทฟอร์มอื่นๆที่น่าติดตามเพื่อเกาะไปกับกระแสดังกล่าว อย่างเช่น Umami Finance, Mugen Finance, Dopex เป็นต้น 

ในวันที่ 11 พฤศจิกายนที่ผ่านมา Sam Bankman-Fried อดีต CEO ของ FTX ได้ประกาศล้มละลายตามมาตรา 11 เพื่อขอฟื้นฟูกิจการ และแต่งตั้ง John J. Ray III รับหน้าที่เป็น CEO เพื่อช่วยการฟื้นฟูนี้ให้เป็นไปอย่างราบรื่น โดยที่ตัวเขานั้นได้กล่าวขอโทษที่ทำผิดพลาดและลาออกจากการเป็น CEO มูลค่าความเสียหายและหนี้สินนั้นอยู่ระหว่าง 10,000 – 50,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และมีจำนวนผู้เสียหายมากกว่า 100,000 คน

อย่างไรก็ตามวันที่ 16 พฤศจิกายน FTX Digital Markets บริษัทลูกของ FTX ที่ตั้งอยู่ในประเทศ Bahamas ได้ประกาศยื่นล้มละลายตามมาตรา 15 ที่ศาลแขวงสหรัฐสำหรับเขตทางตอนใต้ของนิวยอร์ก 

Chapter 15 มีลักษณะคล้าย Chapter 11 แต่เป็นการยื่นเรื่องเพื่อขอฟื้นฟูกิจการข้ามชาติ โดยการฟ้องในครั้งนี้เกิดจากการรวมตัวกันของเจ้าหนี้มากกว่า 1 ล้านรายใน Bahamas

Brian Simms ทนายความผู้เป็นตัวแทนในการยื่น Chapter 15 ได้อธิบายว่า โดยสรุปว่า FTX Digital Markets เป็นบริษัทแม่ของบริษัทในเครือ FTX ทั้งหมด จึงมีความชอบธรรมในครั้งนี้ ล่าสุดวันที่ 28 พฤศจิกายน Ryan Pinder อัยการสูงสุดและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกิจการกฎหมายของ Bahamas ออกมาไลฟ์ว่าเรื่อง FTX ล้มละลายนั้นทางรัฐบาล Bahamas จะเป็นผู้จัดการเองและจะ “ไม่เปิดเผยข้อมูลการสืบสวน” ให้ทราบ พร้อมทั้งกล่าวว่า John บิดเบือนข้อเท็จจริง และอยากให้ทุกคนอย่าทำอะไรที่กระทบต่อการสืบสวน ซึ่ง Sam ได้มีท่าทีเห็นด้วยกับ Chapter 15 จากการ Retweet การไลฟ์ครั้งนี้

หลังจากเหตุการณ์ล่มสลายของ FTX Exchange ก็ทำให้นักลงทุนหลายๆคนเกิดคำถามและหันมาตื่นตัวเกี่ยวกับความโปร่งใสของ Exchange ต่างๆมากขึ้น โดยล่าสุดเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2022 ที่ผ่านมาทาง Binance ก็ได้เผยแพร่ Proof of Reserve ตาม Merkle Tree อย่างเป็นทางการ

โดย Proof of Reserve (PoR) คือการพิสูจน์ว่า CEX มีเงินทุนสำรองอยู่เท่าไหร่ มีเหรียญอะไรบ้าง และมีการใช้เหรียญของ Exchange อยู่เท่าไหร่ เพื่อใช้ข้อมูลนี้ในการเปรียบเทียบกับเงินที่นักลงทุนฝากเข้าไป ซึ่งหาก PoR มีมากกว่าหรือเท่ากับเงินผู้ใช้งาน ก็จะแสดงให้เห็นถึงความปลอดภัยและแข็งแกร่งของ CEX ที่จะไม่ล้มละลายจากเหตการณ์ Bankrun นั่นเอง สามารถอ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ PoR ได้ที่บทความบนเว็บไซต์: Proof of Reserve และ Safe CEX คืออะไร – Cryptomind Group

ซึ่งใน Batch แรกของการเผยแพร่จะเป็นเหรียญ BTC ก่อน จากข้อมูลจะเห็นว่าจำนวน On-Chain Reserve ของเหรียญ BTC มีจำนวนมากกว่า Customer Net Balance เป็นอัตราส่วนเท่ากับ 101% ซึ่งถ้าดูจากตัวเลขก็ถือว่าอยู่ในระดับปลอดภัย

โดยทาง Binance จะทำการประกาศเหรียญอื่นๆเพิ่มเติมอีกภายใน 2-3 สัปดาห์ข้างหน้า นอกจากนี้เพื่อเป็นการเพิ่มความมั่นใจให้แก่นักลงทุน ทาง Binance ยังประกาศว่าจะเพิ่มการตรวจสอบและ Audit ผล PoR จาก Third Party และจะใช้เทคโนโลยี ZK-SNARKS ที่จะมาช่วยเพิ่มความเป็นส่วนตัวและป้องกันการสร้างกระเป๋าหลอกของ Exchange ได้ด้วย

วันที่ 22 พฤศจิกายนที่ผ่านมา Curve แพลฟตอร์ม Stableswap ที่มี TVL อันดับหนึ่งของทั้งหมดได้เปิดตัว Whitepaper ชื่อ “Curve Stablecoin” ซึ่งอธิบายการทำงานของ crvUSD โดยมีกลไกใหม่ที่น่าสนใจคือ Lending-Liquidating AMM Algorithm (LLAMMA), PegKeeper และ Monetary Policy โดยมีรายละเอียดดังนี้

crvUSD เป็น Collateralized Debt Position (CDP) ที่ใช้สินทรัพย์วางค้ำประกันเพื่อกู้ crvUSD ในสัดส่วนน้อยกว่าหรือเกือบเท่ากับออกมา แต่รายละเอียดในเรื่องการ Liquidation นั้นจะต่างจากโมเดลปกติอย่าง DAI ของ MakerDAO เนื่องจาก LLAMMA โดยระบบจะมีการ “ค่อยๆ แปลงสินทรัพย์เป็น USD ตามช่วงราคา(Band) ที่เรากำหนด” และถ้าเลยช่วงระบบจะ “ขายเป็น USD ทั้งหมดโดยไม่ Liquidate Collateral” จนราคากลับมาก็จะแปลงกลับเป็น Collateral ให้โดยอัตโนมัติ ซึ่งต่างจากระบบทั่วไปที่จะถูกขายหรือมูลออกในราคาตลาดเลย

จุดอ่อนของโมเดลนี้คือช่วงที่ตลาด Sideways อาจจะทำให้มีการเทขายและซื้อกลับสินทรัพย์บ้างจนทำให้เกิด Loss ขึ้นมา แต่อย่างไรก็ตาม Curve มั่นใจในระบบ Oracle ที่ส่งราคาจะทำให้มีความเสียหายน้อยที่สุด โดยสถิติย้อนหลังในช่วงปีเดือนกันยายน 2017 ETH ราคาตก 50% แต่ระบบที่ตั้ง Band ไว้ 20% เสียหายเงินค้ำประกันเพียง 1% เท่านั้น

ในส่วนของ Monetary Policy และ PegKeeper จะเป็นโมเดลการรักษาราคา crvUSD ให้เท่ากับ 1 USD โดยการอัดฉีดเงินเข้าไปในระบบหากราคา crvUSD มากกว่า 1 USD และจะดึงเงินออกจากระบบหากราคาต่ำกว่า 1 USD หลักการนี้คล้ายกับที่ FED ทำเพื่อใช้คงมูลค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ

อย่างไรก็ตาม Whitepaper นี้ถูกเผยแพร่ออกมาแต่ยังไม่มีการเสนอให้ใช้งานจริง ดังนั้นอาจมีการปรับเปลี่ยนโมเดลหลังจากนี้ได้ แต่ก็นับได้ว่า crvUSD มีโมเดลที่น่าสนใจและส่งผลต่อตลาด Stablecoin ได้อย่างมากทั้งการที่เจ้าตลาด Stableswap เป็นผู้ทำ Stablecoin เองและยังมีการแก้ไขข้อเสียที่ร้ายแรงที่สุดของ Stablecoin แบบ Overcollateral ซึ่งคือการโดนบังคับขาย (Liquidation) ให้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย

ล่าสุด AAVE ที่เป็น Lending Protocol อันดับต้นๆในโลก DeFi ต้องใช้เงินจากค่าธรรมเนียมของแพลตฟอร์มกว่า 2-3 เดือน ในการชดเชยค่าที่เสียหายที่เกิดขึ้นกับการที่โดนโจมตีใน Pool CRV ของแพลตฟอร์ม

การโจมตีเริ่มมาจากชาวรัสเซียที่ใช้ชื่อทวิตเตอร์ว่า Avi-eisen ซึ่งเป็นคนเดียวกันกับคนที่ทำการโจมตี Mango บน Solana ได้ทราบว่าทาง Founder ของ Curve ได้ทำการนำ CRV ไปค้ำประกันแล้วกู้เหรียญ Stable coin ออกไปบน AAVE Avi เลยคิดทำการโจมตีโดยอาศัยจุดนี้โดย

Avi ได้ทำการนำ USDC จำนวน 50m ไปค้ำประกันบน AAVE แล้วกู้ CRV ออกมา หลังจากนั้นได้ทำการเทขายเหรียญ CRV ที่กู้ออกมาทั้งหมด แต่ด้วย liquidity on chain ที่ค่อนข้างมีจำกัดทำให้ราคา CRV ตกลงอย่างหนักจนใกล้จุด liquidate position ของ Founder Curve

โดยระหว่างการเทขาย Avi ก็ได้ทำการเปิด Short Position บน CEX ไว้ด้วยพอถึงจุดนึงที่ Position ของ Founder Curve ใกล้ liquidate ก็มีแรงซื้อกลับ AVI ก็ได้ทำการปิด Short position ประกอบกับการที่ Founder Curve อาจจะตั้งใจปล่อยข่าวหลุดเกี่ยวกับ crvUSD ทำให้ราคาของ CRV กลับมาเล็กน้อย จังหวะนี้ทาง Avi ก็ได้ไปทำการเปิด Position Long บน CEX และเมื่อราคาดีดกลับทาง Avi ก็ปล่อยให้ Position ตัวเองบน AAVE โดน Liquidate ทำให้ AAVE ต้องเอา USDC ที่ค้ำประกันไปซื้อ CRV ทำให้ CRV ยิ่งราคาขึ้นไปอีก

จากเหตุการณ์นี้ ทำให้ AAVE ได้รับความเสียหายเป็นหนี้เสียจำนวนประมาณ 1.7 

ล้านดอลลาร์ จากการ Liquidate สินทรัพย์ของ AVI แล้วนำไปซื้อ CRV แต่ราคาของ CRV ได้ดีดกลับไปแล้วเนื่องจาก Liquidity ที่มีอย่างจำกัด

ล่าสุดเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ทาง 1inch ได้เปิดตัวฟีเจอร์ใหม่ที่มีชื่อว่า “The 1inch RabbitHole” ซึ่งเป็นฟีเจอร์ที่จะป้องกันผู้ใช้งาน Metamask ทุกคนที่เข้ามาใช้งานแพลตฟอร์มจากการถูกโจมตี Front-running อย่าง Sandwich Attack ได้ 

ซึ่งทาง 1inch ได้ระบุเอาไว้ชัดเจนว่า ฟีเจอร์นี้จะรองรับเฉพาะผู้ที่ใช้งานกระเป๋า Metamask เท่านั้น เนื่องจากเป็นเพียงกระเป๋าเดียวในปัจจุบันที่สามารถ Broadcast ธุรกรรมออกไปได้ทันทีหลังจาก Signing Transaction โดยในเบื้องต้น ทาง 1inch จะเปิดให้ผู้ใช้งานทุกคนสามารถใช้งานได้ฟรีเพื่อเป็นการทดสอบระบบเบื้องต้น และในอนาคตก็จะมีการเก็บค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม และผู้ใช้งานสามารถลดค่าใช้จ่ายส่วนนั้นได้โดยการ Staking เหรียญ 1INCH นั่นเอง

Sandwich Attack คือหนึ่งในวิธีการทำกำไรจาก MEV โดยการเขียน Bot เพื่อสร้างธุรกรรมตัดหน้าธุรกรรมที่ถูกเลือก และสร้างธุรกรรมหลังธุรกรรมที่ถูกเลือก ซึ่งธุรกรรมที่ถูกเลือกในการทำ Sandwich Attack นั้นส่วนมากเป็นธุรกรรมที่มีขนาดใหญ่ เพื่อที่คนเขียน Bot จะสามารถทำกำไรจากการ Arbitrage ได้ และผู้ใช้งานมีโอกาสจะได้รับเงินในสัดส่วนที่น้อยลงกว่า Quote Price ที่แต่ละ DEX กำหนด

ซึ่งการป้องกัน Sandwich Attack ของ 1inch จะเป็นการเชื่อมต่อกับ Relayer จากที่ต่างๆ เช่น Flashbots, BloXroute, Eden และ Manifold โดย Relayers เหล่านี้จะช่วยให้ธุรกรรมที่มาจาก 1inch ไม่ผ่านเข้า Mempool แต่จะถูกส่งไปยัง Validator Node โดยตรง ซึ่งจะทำให้ธุรกรรมเหล่านี้ไม่สามารถถูกตรวจจับได้จากผู้ไม่หวังดีที่คอยทำกำไรจาก Sandwich Attack หรือการทำกำไรจาก MEV โดยวิธีอื่นๆนั่นเอง

ผลตอบแทนที่ได้จากการฝากธนาคารและการฝากพันธบัตรรัฐบาลให้ผลตอบแทนเฉลี่ยปีละ 2.38% ส่วนผลตอบแทนจากการฟาร์มหรือปล่อยกู้ Stablecoin บนแพลทฟอร์มต่างๆให้ผลตอบแทนเฉลี่ยปีละ 3.28% ซึ่งสำหรับการฟาร์ม Stablecoin สามารถเลือกฝากกับแพลทฟอร์มที่มีความปลอดภัยสูงและเปิดมานาน เช่น Curve, UniSwap, PancakeSwap, Aave, Compound, Traderjoe และ Spookyswap หรือจะเลือกฝากบนแพลทฟอร์มที่ใหม่กว่าและผลตอบแทนสูงกว่าอย่างเช่น Velodrome ก็ได้เช่นกัน โดยผลตอบแทนเฉลี่ยระหว่างการฝากธนาคารหรือพันธบัตรเทียบกับการฟาร์ม Stablecoin ต่างกันอยู่ที่ประมาณ 1.38 เท่า

เมื่อเทียบกับเดือนก่อนๆจะพบว่าผลตอบแทนจากเงินฝากและพันธบัตรเพิ่มขึ้นจากการขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ  ส่วนผลตอบแทนในการฝาก Stablecoin กลับลดลงค่อนข้างมากจาก APR ประมาณ 8% ในช่วงไตรมาสแรกของปี ส่วนหนึ่งมาจากการที่ผลตอบแทนส่วนใหญ่มาจาก Trading Fee & Borrowing แต่เมื่อมีการทำธุรกรรมดังกล่าวลดลงจากสภาวะของตลาด ผลตอบแทนจึงลดลงตาม

สภาวะตลาด NFT ในช่วง 30 วันที่ผ่านมาพบว่าปริมาณซื้อขาย NFT บน Ethereum Blockchain นั้นได้มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยอยู่ที่ระดับประมาณ 10% เนื่องจากทาง Apecoin DAO ได้มีการเปิดตัวตลาดซื้อขายสำหรับ Bored Ape Ecosystem โดยเฉพาะชื่อ Apecoin Marketplace ซึ่งสิ่งที่ต่างจากการขายคอลเลคชั่นของ Ecosystem บนแพลตฟอร์มอื่นคือจะมีการลดค่าธรรมเนียมสำหรับการซื้อขายที่เป็นโทเคน ETH เหลือ 0.5% และสำหรับโทเคน APE เหลือ 0.25% จึงทำให้ NFT ของ Bored Ape Ecosystem มีการซื้อขายสูงอย่างมากและทำให้ปริมาณการซื้อขายและจำนวนผู้ใช้งานบน Ethereum เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับบล็อกเชนอื่นที่ปริมาณการซื้อขายลดลงอย่างมาก

วันที่ 29 และ 30 ที่ผ่านมา RTFKT ได้เปิดตัวโปรเจกต์ Animus ที่ได้มีการให้ผู้ถือ Clone X ทุกคนจะได้สิืทธิเข้าร่วมในการมิ้นท์ไข่ของ Animus โดยที่ไม่มีต้องมีการแย่งกัน โดยการกระทำของ RTFKT ในครั้งนี้คาดว่าจะเป็นการขยาย Ecosystem อย่างตัวเองอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน เพราะรายละเอียดคือ Animus จะเป็นเหมือนคู่หูของ Clone X เพราะฉะนั้นจึงอาจจะคล้ายโปรเจกต์ Bored Ape Kannel Club ที่เป็นเหมือนคู่หูของ Bored Ape Yacht Club เพราะฉะนั้นจึงหมายความว่าการ Unlock Utility ในอนาคตนั้นก็อาจจะจำเป็นต้องใช้ทั้ง Clone X และ Animus อย่างที่ Yuga Labs แอร์ดร็อปโทเคน Apecoin ก็เป็นได้

อย่างไรก็ตามกำหนดการเริ่มจริงๆของโปรเจกต์ Animus นั้นคือปี 2023 เพราะฉะนั้นจนกว่าจะถึงตอนที่โปรเจกต์เริ่มจริงๆ เราก็น่าจะได้เห็นราคาลดลงมาก่อนเหมือนกล่อง MNLTH และ NFT แอร์ดร็อปอื่น ๆ ของ RTFKT

The Sandbox ได้ประกาศความร่วมมือกับ Modhaus เพื่อสร้าง Social Hub สำหรับแฟนคลับด้วยกิจกรรมต่างๆ ใน Metaverse ที่จะช่วยเสริมสร้างประสบการณ์แปลกใหม่ให้กับวงการดนตรีเกาหลีโดยจะเริ่มที่วง Girl Group น้องใหม่ที่ชื่อว่า TripleS ซึ่งเป็นวงที่อยู่ใต้สังกัด Modhaus และจากความร่วมมือครั้งนี้ Modhaus จะมีการทำ NFT ในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Avatar, ของสวมใส่ หรือของสะสมอื่นๆ ที่มาจาก License ของต้นสังกัดด้วย

Modhaus เป็นโปรเจกต์ Web3 ที่มีเป้าหมายเพื่อโปรโมท Korean Pop Culture ผ่าน Blockchain Technology ที่จะเปิดโอกาสให้แฟนคลับร่วมสร้างวงขึ้นมาผ่านการคัดเลือกสมาชิกโดยการโหวตผ่านการซื้อ NFT ที่มีชื่อว่า objekst และโหวตผ่าน Cosmo App ทั้งยังมีรายการเรียลลิตี้ฉายให้ดูสมาชิกแบบวันต่อวันผ่านทางแชนแนลยูทูปของวงในชื่อ SIGNAL

จากที่ก่อนหน้านี้ทาง The Sandbox ได้ทำ Partnership กับบริษัทและองค์กรต่างๆ จากเกาหลีมากมาย และหลายๆ โปรเจกต์ก็เริ่มเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาแล้ว ทำให้เกิดเป็น K-Verse Mini Event ที่จะจัดขึ้นเป็นเวลา 2 อาทิตย์โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 24 พฤศจิกายนที่ผ่านมานี้

ใน K-Verse Mini Event จะเป็น Experience ต่างๆ จำนวน 5 แบบที่สร้างขึ้นโดย K League, Anicube, Sandbox Network และ Cube Entertainment โดยจะมี Prize Pool จำนวน 100,000 SAND ที่จะแจกให้กับคนที่เข้ามาร่วมเล่นกิจกรรมต่างๆ ครบทุกกิจกรรมและต้องผ่านการ KYC ด้วย นอกจากนี้ยังจะมี Mascot จาก K League ในรูปแบบ NFT Collection ที่จะออกมาให้สะสมกันซึ่งจะมีสิทธิพิเศษให้กับผู้ถือ NFT ชิ้นนี้ด้วย

จากการเคลื่อนไหวทั้งสองนี้จะเห็นว่าทางเกาหลีค่อนข้างให้ความสนใจและเข้ามาพยายามหาโอกาสใน Metaverse โดยแพลตฟอร์มที่พวกเขาเลือกก็ยังคงเป็น Web3 Metaverse อันดับต้นๆ ในโลกคริปโทฯ อย่าง The Sandbox นั่นเอง

.

คำเตือนความเสี่ยง : คริปโทเคอร์เรนซี่มีความเสี่ยงสูง ท่านอาจสูญเสียเงินลงทุนได้ทั้งจำนวนและสินทรัพย์ดิจิทัลมีความเสี่ยง โปรดศึกษาและลงทุนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ ผลตอบแทนของสินทรัพย์ดิจิทัลในอดีต มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลตอบแทนของสินทรัพย์ดิจิทัลในอนาคต

Author

Share :
Related
Cointalk (19 July 2024) - ตลาด risk off คริปโตเด้งแรง
Automated Market Maker (AMM)
Technical Analysis $TON $INJ โดย Cryptomind Advisory (17 July 24)
Cryptomind Monthly Outlook (July 2024)