Search
Close this search box.

Cryptomind Bi-weekly Outlook (16-31 October 2022)

Share :
16-31 OCT

Table of Contents

Bitcoin ถือว่าได้มีการพุ่งขึ้นอย่างรุนแรงหลังจากเคลื่อนที่อยู่ในกรอบ Sideway นานกว่าสองอาทิตย์​ โดยได้มีเบรคการเส้นกดสีเหลือง ขึ้นไปและทำ High ใหม่สูงกว่า High ก่อนหน้าซึ่งเป็นสัญญาณของการเคลื่อนที่แบบขาขึ้นอย่างชัดเจน

หาก Bitcoin ยังเคลื่อนที่ต่อในแนวโน้มขาขึ้น เราจะสามารถใช้ Fibo ในการวัดเป้าหมายของราคาในขาขึ้นได้ที่โซนราคา $21,900 และ $24,200 ตามลำดับ อย่างไรก็ตามที่เป้าราคา $21,900 เป็น Supply zone ที่แข็งแรงและมีนักเก็งกำไรหลายคนคาดหวังการขายทำกำไรที่ราคานี้ จึงมีโอกาสเห็นการพักตัวเมื่อถึงโซนราคานี้ได้สูง อย่างไรก็ตามกรณีนี้จะเป็นจริงเมื่อราคาไม่เคลื่อนที่หลุด Low ก่อนหน้าที่ราคา $18,100 เนื่องจากถ้าหากหลุดจะเป็นการเสียทรงขาขึ้นและมีโอกาสลงไปหาเป้าหมายขาลงที่ราคา $17,300 และ $15,900 ได้

เมื่อเราย่อยกราฟเข้ามาดูใน Subwave ของภาพใหญ่ซึ่งคือ TF 4 H จะเห็นว่าราคามีรูปแบบที่สนับสนุนการเคลื่อนตัวขึ้นสูง เนื่องจากในคลื่นย่อยตามเส้นสีเขียวมีการทำ Higher high และ Higher Low ซึ่งเป็น Dow’s theory ที่สมบูรณ์ โดยเมื่อทำการลากเป้าของราคาจากหัว Wave 1 ไปที่จุดสิ้นสุดของ Wave 2 จะเห็นว่า เป้าหมายของราคาที่โซน 261.8% และ 423.6% ของ TF 4 H นั้นอยู่ตรงกับเป้าหมายราคาของ TF Day (เส้นสีเขียว) พอดี ซึ่งการเกิดการทับซ้อนกันของหลายๆ TF ทำให้โอกาสไปถึงสูงขึ้น

ปัจจุบันราคาขึ้นไปแตะโซน 161.8 ซึ่งอาจเกิดการพักตัวได้ แต่อย่างไรก็ตามยังไม่เห็นสัญญาณการกลับตัวที่โซนนี้ จึงมองว่าราคาน่าจะเคลื่อนที่อยู่ในรูปแบบคลื่น 3 ของ Impulse wave และจะไปจบที่โซนราคา $21,900 – $22,000 ได้ก่อนพักตัวตามเส้นสีเขียว

สำหรับนักเก็งกำไร ไม่แนะนำให้ไล่ราคาเนื่องจากได้ Risk Reward ratio ที่ไม่คุ้มค่า ควรรอการย่อตัวของราคาและคำนวณ Position sizing ให้ดีก่อนเข้าเก็งกำไร

หากราคาเคลื่อนที่หลุด Low ก่อนหน้าที่โซน $18,100 จะถือเป็นโอกาสที่น่าเข้าเก็บสะสมเเละถือสำหรับผู้ที่ต้องการเก็บ Bitcoin เพิ่มที่โซนราคา 17,300 และ $15,900

สำหรับเหรียญ CAKE ที่ไ่ด้ปรับตัวลงมาจากจุดสูงสุดกว่า 90% ลงมาทำจุดต่ำสุดที่ราคา $2.4 ในช่วงกลางเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม Developer ของ Pancakeswap ได้มีการพัฒนา Product และ Platform อย่างสม่ำเสมอนอกจากนั้น Pancakeswap ยังเป็น DEX Top 5 ที่ทำรายได้มากกว่าหนึ่งล้านเหรียญดอลล่าร์สหรัฐในสัปดาห์ที่ผ่านมา ทำให้ $CAKE มีความน่าสนใจและมีโอกาสที่จะปรับตัวขึ้นในระยะยาว

สำหรับการเคลื่อนที่ของราคานั้น CAKE ได้เคลื่อนที่ขึ้นมาอย่างต่อเนื่องจากจุดต่ำสุดตามเส้นแนวโน้มสีน้ำเงิน โดยเมื่อใช้การวิเคราะห์ตามทฤษฎี Elliot’s wave จะพบว่าราคาได้ขึ้นมาครบ 5 คลื่นแล้วซึ่งถือเป็นการจบรอบการขึ้นครั้งนี้ โดยมองว่าการขึ้นมา 5 ขานี้เป็นคลื่นย่อยใน Impulse wave 1 ใหญ่และจะมีการปรับตัวเพื่อลงทำ Wave 2 ต่อไป 

กรณีนี้จะเป็นจริงเมื่อราคาไม่เคลื่อนที่หลุด Low ที่ $2.47 อย่างไรก็ตามเราสามารถคาดหวังเป้าหมายการพักตัวได้ที่โซนราคา $3.4 ซึ่งเป็นโซน 61.8% ของ Fibo retracement

โดยนักเก็งกำไรและนักลงทุนที่ต้องการถือยาวสามารถพิจารณาเข้าซื้อที่โซนราคานี้ได้และแนะนำให้ตัดขาดทุนหากราคาหลุด Low เดิม โดยมองเป้าขาขึ้นถัดไปจาก Fibo projection ได้ที่โซนราคา $5.8 และ $6.5 ตามลำดับ

สถานการณ์เงินบาทของไทยปัจจุบันอยู่ในอัตราการแลกเปลี่ยนอยู่ที่ประมาณ 37.7 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ ซึ่งได้ทำการย่อตัวลงมาเล็กน้อย หลังจากเกิดการย่อตัวของ DXY หรือ ดัชนีดอลล่าร์สหรัฐ ในช่วงที่ผ่านมา แต่ทว่าสิ่งที่น่าจับตามองมีอยู่ 2 สิ่ง ที่จะสามารถใช้ชี้วัดการแข็งค่า – อ่อนค่าของค่าเงินบาทได้

1. เงินทุนสำรองระหว่างประเทศของไทย หรือ Foreign Exchange Reserves ที่ลดลงอย่างมีนัยยะ จะเห็นได้ว่าในช่วงไตรมาส 3 ที่ผ่านมา โดยเฉพาะเดือน สิงหาคม ไป กันยายน เงินทุนสำรองลดลงเหลือ $199B จาก $215B ซึ่งสาเหตุที่ลดลงก็มาจากที่แบงค์ชาติเข้าไปแทรกแทรงเพื่อพยุงค่าเงินบาทไม่ให้ผันผวนไปมากเกินไป ประกอบกับการตีมูลค่าสินทรัพย์ภายในทุนสำรองฯเป็นสกุลดอลลาร์สหรัฐที่กำลังแข็งค่าอยู่ ก็ยิ่งส่งผลให้มูลค่าของสกุลเงินอิ่นที่อยู่ในทุนสำรองฯ แลดูมูลค่าลดลงเมื่อเทียบกับสกุลดอลลาห์สหรัฐ ทั้งนี้หากแบงค์ชาติไม่ปรับขึ้นดอกเบี้ยในอัตราเร่งมากกว่านี้ หรือ ไม่สามารถทำให้ค่าเงินกลับมาแข็งได้  ในปีหน้าถ้าหากเงินทุนสำรองน้อยลงมากขึ้นเรื่อยๆ เราอาจจะได้เห็นเงินบาทที่อ่อนค่ามากขึ้นอีกในอนาคต

2. ตัวเลข GDP รายไตรมาสของประเทศไทยที่น่าจับตามองหลังจากลดลงติดต่อกันสองไตรมาส จากรูปทางขวามือจะเห็นได้ว่าตัวเลข GDP ของไทยยังคงอยู่ในแดนบวกอยู่ สิ่งที่ต้องจับตามองหลังจากนี้ก็คือ ต้องลุ้นให้ตัวเลข GDP ในตัวต่อๆไป ให้ไม่อยู่ในแดนลบให้ได้ ซึ่งมีโอกาสเช่นกัน เนื่องจากปัจจุบันประเทศไทยเปิดประเทศให้เข้ามาท่องเทียวแล้ว และประเทศไทยเริ่มถูกใช้เป็นฐานการผลิตสินค้าต่างๆมากขึ้น ซึ่งเม็ดเงินตรงนี้อาจจะมีมากพอที่จะทำให้ประเทศไทยยังคงอยู่ในโซนบวกได้ และส่งผลให้ค่าเงินบาทไม่อ่อนไปมากกว่านี้ 

หลังจากตัวเลข GDP ของ USA ประกาศออกมาในสองสามวันที่ผ่านมาทำให้เห็นว่า ตัวเลข GDP ของ USA ในไตรมาสที่ 3 ออกมาอยู่ในโซนบวกที่ 2.6% จากอยู่ในโซนติดลบจากไตรมาสที่สองที่ -0.6% ซึ่งถือว่าได้ทำการลบคำว่า Technical recession ออกไปทันที 

ทำให้เห็นว่าถึงแม้ตัวเลขเงินเฟ้อจะยังอยู่ในระดับที่สูงกว่า 8% แต่ GDP นั้นยังคงแข็งแกร่ง แสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจยังคงแข็งแรงและเติบโตในสภาวะเงินเฟ้อที่สูง ซึ่งสามารถตีความได้ว่าเศรษฐกิจยังสามารถรับมือกับการขึ้นดอกเบี้ยของทาง FED ได้อยู่ ซึ่งสัดส่วนใหญ่ๆที่ทำให้ GDP พุ่งสูงมาจากการ Export Energy นั่นเอง ซึ่งมุมมองของนักลงทุนส่วนใหญ่มองว่า ทางอเมริกาก็จำเป็นต้องจับตาการแข็งค่าของดอลล่าร์เอาไว้ส่วนหนึ่ง เนื่องจากถ้าดอลล่าร์แข็งมากเกินไปอาจจะส่งผลต่อการส่งออก และส่งผลต่อ GDP ได้ และ FED เองก็อาจจะต้องทำการชะลอการขึ้นดอกเบี้ยมากขึ้น จากที่ขึ้น 0.75 อาจจะอยู่ที่ 0.5 แทน เพื่อจะเป็นการบาลานซ์ทั้งตัว GDP และ กดเงินเฟ้อไปในตัว 

ตลาด Cryptocurrency และ DeFi นั้นก็ยังคงเคลื่อนไหวแบบ Sideway ตามสภาวะ Macroeconomics ที่ยังเป็นปัจจัยกดดัน โดยจากการประกาศล่าสุดตัวเลข Core CPI ได้ทำ New High ไปแล้วที่ 6% แสดงให้เห็นว่า Fed น่าจะยังดำเนินการขึ้นดอกเบี้ยและทำ QT ต่อไปอีก ซึ่งถ้าภาพใหญ่ยังเป็นแบบนี้ ตลาด DeFi ก็น่าจะยังถูกกดดันต่อไป ซึ่งในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาราคาเหรียญก็ปรับตัวขึ้นมาบ้าง โดยมีเหรียญที่ได้รับความสนใจจากตลาดเป็นพิเศษ อย่างเช่น APTOS ที่เหรียญเพิ่งถูกเปิดตัวเมื่อวันที่ 19 ตุลาคมที่ผ่านมา ก็เปิดตัวมาด้วยมูลค่า Market Cap สูงถึง 1.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ถึงแม้จะเป็นเชนเปิดใหม่ก็ตาม ใครที่สนใจก็อาจจะลองติดตามดูพัฒนาการของเชนไปก่อน ซึ่งล่าสุดก็มีแพลทฟอร์มอย่าง PancakeSwap ประกาศว่าจะไปเปิดตัวบน Aptos แล้ว

ส่วนภาพรวม DeFi TVL บนแต่ละเชนนั้นเพิ่มขึ้นเล็กน้อย นำโดย BNB Chain ที่ปรับเพิ่มสูงที่สุดที่ 3.17% ทำให้ TVL พลิกกลับมาแซง Tron Chain อีกครั้ง ซึ่ง BNB Chain ก็ถือว่าเป็นเชนที่่น่าสนใจและมีพัฒนาการอยู่ตลอด โดยล่าสุดทาง Binance ก็เพิ่งประกาศเปิดตัว Binance Oracle ที่จะเปิดใช้งานบน BNB Chain  เพื่อเป็นการเชื่อม DApps และ Smart Contracts กับข้อมูลจากโลกภายนอก ส่วน TVL ของ Avalanche และ Solana นั้นปรับลดลงค่อนข้างมากถึง 12.9% และ 27.36% ตามลำดับ ซึ่งคาดว่าเกิดจากการที่มีนักลงทุนบางส่วนที่ย้ายไปใช้งานบนเชน Layer 2 อย่างเช่น Optimism, Arbitrum ที่ได้รับความนิยมอย่างมากในช่วงที่ผ่านมา โดยเชน Arbitrum และ Optimism  มี TVL สูงถึง 1.03 พันล้านดอลลาร์ และ 950 ล้านดอลลาร์ ตามลำดับ

Frax Finance เป็น DAO ที่ใหญ่เป็นอันดับต้นๆในโลก DeFi และมี Stable Coin เป็นของตัวเองที่มีชื่อว่า FRAX หลังจากในช่วงสภาวะตลาดหมีที่กำลังเจอ ทาง Frax Finance ได้ออก ผลิตภัณฑ์ต่างๆออกมามากมายไม่ว่าจะเป็น Frax Lend , Frax Swap ซึ่งทั้งหมดต่างก็ออกมาเพื่อพัฒนา Ecosystem ของทาง Frax Finance ที่มี Stable Coin เป็นของแพลตฟอร์มตัวเอง

และล่าสุดทาง Frax Finance ก็ได้เปิดตัว frxETH (Frax ETH) ซึ่งเป็น Staking Derivative ของ ETH ที่ถูกฝากอยู่ใน Proof of Stake (เหมือนกับ stETH ของ Lido Finance) โดยในปัจจุบันมี ETH มาฝากใช้บริการกับ Frax Finance เป็นจำนวนทั้งสิ้น 1828 ETH และมีจำนวน Validator Node ที่ Active อยู่เข้าร่วมกับแพลตฟอร์มเป็นจำนวน 40 node ซึ่งหากเทียบกับของทาง Lido ที่มีจำนวน ETH ไปใช้บริการของแพลตฟอร์มจำนวน 450,000 ETH และมีจำนวน Node ที่เข้าร่วมกับแพลตฟอร์มอยู่เกินกว่า 200 Node

เราก็ต้องมาคอยติดตามดูกันว่าการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ๆของ Frax Fianance เช่น Frax Lend , Frax Swap และล่าสุด Staking Service จะช่วยพัฒนา Ecosystem โดยรวมของ Frax ที่มี Stable Coin (FRAX) เป็นผลิตภัณฑ์หลักได้หรือเปล่า และ Staking Service fxsETH จะประสบความสำเร็จสู้ Lido หรือ Rocket Pool ที่ทำมาก่อนนานแล้วได้หรือไม่

เมื่อวันที่ 20 ตุลาคมที่ผ่านมา Celestia : บริษัท Startup ด้านการพัฒนา Blockchain ได้ประกาศปิดการระดมทุนรอบ Series A และ B รวมมูลค่าระดมทุนกว่า 55 ล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 2,000 ล้านบาท นำโดย Polychain Capital กับ Bain Capital Crypto ร่วมกับกองทุนเจ้าอื่นๆ อย่าง Spartan Group, FTX Ventures และ Jump Crypto สำหรับการพัฒนา Blockchain รูปแบบใหม่ที่มีชื่อว่า “Modular Blockchain”


Modular Blockchain คือการทำงานของ Blockchain รูปแบบใหม่ ที่จะมีการแยกส่วนหน้าที่การทำงานในพาร์ทต่างๆของ Blockchain อย่าง Data Availability, Consensus, Settlement และ Execution ออกจากกัน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของ Blockchain นั้นๆ และสามารถดึงความสามารถที่เป็นจุดเด่นของ Blockchain ตัวอื่นๆมาใช้ร่วมกันได้ ซึ่งจะต่างจาก Monolithic Blockchain อย่าง Ethereum หรือ Bitcoin ที่จะมีการทำงานในพาร์ทต่างๆของ Blockchain ภายในตัวเดียว จึงทำให้ Blockchain เหล่านี้มีความช้า และไม่สามารถ Scailing ได้อย่างเต็มที่ 

Celestia จะรับผิดชอบในส่วนของ Data Availability และ Consensus ซึ่งเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดใน Blockchain และเป็นพาร์ทที่เป็นจุดแข็งของ Celestia มากที่สุด จึงทำให้ Blockchain ตัวอื่นๆสามารถเข้ามาสร้างบน Celestia ได้โดยไม่ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยและความ Decentralized เลย เนื่องจาก Celestia เป็นคนรับผิดชอบส่วนนี้แล้ว จึงทำให้ Blockchain นั้นๆสามารถจะไปโฟกัสในการพัฒนาในพาร์ท Execution สำหรับการ Scaling ให้ออกมาดีที่สุด 

ยกตัวอย่างเช่น Aptos และ Sui ซึ่งเป็น Blockchain ที่มีจุดเด่นในเรื่องความเร็วในการทำธุรกรรมที่สูง ในอนาคตก็สามารถเข้ามาสร้างบน Celestia โดยยืมใช้ความปลอดภัย (Data Availability และ Consensus) ซึ่งเป็นจุดเด่นของ Celestia และใช้จุดเด่นของตัวเองในด้าน Execution เพื่อทำให้ User Experience ออกมาดีที่สุด โดยที่ผู้ใช้งานไม่จำเป็นต้องรู้เลยว่า Aptos และ Sui นั้นทำงานอยู่บน Celestia อีกต่อนึงนั่นเอง  

ในช่วงกลางเดือนตุลาคมที่ผ่านมา เหรียญ APT จาก Aptos Blockchain ถือว่าเป็นเหรียญเปิดตัวใหม่ที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากในวงการ เนื่องจากผู้สร้างเป็นอดีตนักพัฒนาจากโปรเจกต์ Diem ที่ต้องการสร้างสกุลเงินดิจิทัลซึ่งมี Meta (ชื่อเก่า Facebook) เป็นผู้ริ่เริ่ม และมีขั้นตอนการประกาศขายเหรียญที่ดูเรียบร้อนจะขายมากจนถูกตั้งคำถามถึงความโปร่งใส โดยมีรายละเอียดดังนี้

Aptos Blockchain เป็น Proof-of-Stake Blockchain Layer 1 ที่ใช้ภาษา Move ซึ่งพัฒนามาจาก Rust โดยทีมจาก Meta ในการเขียน ใช้เหรียญ APT ในการทำธุรกรรม, ตั้งตัวเป็น Validator Node และใช้โหวตทิศทางของ Blockchain มีจุดเด่นคือความเร็วในการทำธุรกรรมสูงถึง 160,000 TPS แต่ปรากฎว่าพอทำจริงกลับไม่ได้เร็วอย่างที่คิด คู่แข่งอย่าง SUI ที่ใช้เทคโนโลยีเดียวกันก็ใกล้เปิดตัว จึงมีความเป็นไปได้ว่า Venture Capital (VC) ที่ลงทุนใน Aptos นั้นจะกดดันให้รีบเปิดขายเหรียญเพื่อ Exit Liquidity เงินทุนตัวเองออกมาก่อน

โดยความเชื่อมโยงนี้ค่อนข้างมีมูลเนื่องจาก APT ประกาศขายบน Binance และ FTX โดยประกาศล่วงหน้าเพียงหนึ่งวันเท่านั้น ซึ่งขณะนั้น ข้อมูลเหรียญยังไม่ออกมาจากทางช่องทาง Official ซักแห่งด้วยซ้ำ แม้แต่ในตัวเว็บไซต์ของ FTX และ Binance ก็ยังระบุว่ายังไม่ได้รับข้อมูลทั้งๆที่จะเปิดให้นักลงทุนซื้อขายแล้ว แต่เมื่อไปดู VC พบว่ามี FTX Venture และ Binance Labs ร่วมลงทุนไปด้วยจำนวนเงินที่ค่อนข้างสูงด้วย และ Pancakeswap ที่ลงทุนโดย Binance ยังรีบเปิดตัวบน Aptos อีก ทุกอย่างเลยดูประจวบเหมาะมาก

แต่หลังจากเกิดเหตุดราม่าไม่กี่ชั่วโมงก็มีรายละเอียดแอบหลุดออกมาจาก Exchange สัญชาติเกาหลี ทำให้ทาง Aptos ต้องเปิดเผยข้อมูลตามมา ซึ่งดราม่านี้จึงค่อยๆสงบลงได้เพราะรายละเอียดค่อนข้างยุติธรรมต่อนักลงทุน แต่สิ่งที่น่ากังวลตามมาคืออัตราการเฟ้อของเหรียญจากการ Staking นั้นอยู่ที่ 7% ต่อปี มี Supply เริ่มต้นเพียง 130 ล้าน APT ดังนั้นเมื่อคำนวณไปอีก 12 เดือนข้างหน้า Staking Reward บวกกับการปลดลอคเหรียญจะทำให้มี APT ใหม่ในระบบมากกว่า 120 ล้าน APT หรือ 92.3% และในปีถัดก็จะมีการเฟ้อมากกว่า 100% ด้วยซ้ำ ดังนั้น นักลงทุนจึงมีความเสี่ยงเรื่อง Dilution Effect สูงมากในช่วง 2 ปีแรก 

ผลตอบแทนที่ได้จากการฝากธนาคารและการฝากพันธบัตรรัฐบาลให้ผลตอบแทนเฉลี่ยปีละ 2.4% ส่วนผลตอบแทนจากการฟาร์มหรือปล่อยกู้ Stablecoin บนแพลทฟอร์มต่างๆให้ผลตอบแทนเฉลี่ยปีละ 3% ซึ่งสำหรับการฟาร์ม Stablecoin สามารถเลือกฝากกับแพลทฟอร์มที่มีความปลอดภัยสูงและเปิดมานาน เช่น Curve, UniSwap, PancakeSwap, Aave, Compound, Traderjoe และ Spookyswap หรือจะเลือกฝากบนแพลทฟอร์มที่ใหม่กว่าและผลตอบแทนสูงกว่าอย่างเช่น Velodrome ก็ได้เช่นกัน โดยผลตอบแทนเฉลี่ยระหว่างการฝากธนาคารหรือพันธบัตรเทียบกับการฟาร์ม Stablecoin ต่างกันอยู่ที่ประมาณ 1.66 เท่า

เมื่อเทียบกับเดือนก่อนๆจะพบว่าผลตอบแทนจากเงินฝากและพันธบัตรเพิ่มขึ้นจากการขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ  ส่วนผลตอบแทนในการฝาก Stablecoin กลับลดลงค่อนข้างมากจาก APR ประมาณ 8% ในช่วงไตรมาสแรกของปี ส่วนหนึ่งมาจากการที่ผลตอบแทนส่วนใหญ่มาจาก Trading Fee & Borrowing แต่เมื่อมีการทำธุรกรรมดังกล่าวลดลงจากสภาวะของตลาด ผลตอบแทนจึงลดลงตาม

สภาวะตลาด NFT ในช่วง 30 วันที่ผ่านมาพบว่าปริมาณซื้อขาย NFT บน Ethereum Blockchain นั้นมีการปรับตัวลดลงพอสมควร โดยสำหรับ Opensea นั้นมีการปรับตัวลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับ X2Y2 และเมื่อมาดูของ Solana Blockchain ที่ Magic Eden ก็พบว่ามีปริมาณการซื้อขายที่ลดลงพอสมควรเช่นกัน แต่ในทางกลับกันคือจำนวนผู้ใช้งานนั้นยังมีเพิ่มอยู่บ้างในบางแพลตฟอร์ม อย่าง X2Y2 และ Magic Eden ที่แซง Opensea

โดยสิ่งที่ควรจับตาดูในสภาวะตลาด NFT คือราคา Ethereum ที่มีการผันผวน โดยเฉพาะในช่วงนี้ที่มีการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งอาจจะทำให้มีนักลงทุนที่ต้องการสภาพคล่องเร่งด่วนขายตัด Floor Price ของโปรเจกต์ต่าง ๆ ได้ ซึ่งถ้าหากเป็น NFT Collection ที่มี Marketcap ต่ำก็อาจจะทำให้โดยผลกระทบตรงนี้และเกิด Drawdown ที่สูงได้  

เมื่อประมาณสัปดาห์ที่ผ่านมา แพลตฟอร์ม NFT Aggregator อย่าง Blur.io ได้ทำการประกาศแจก Airdrop ให้กับผู้ที่เคยซื้อขาย ​NFT บน Opensea ซึ่งเป็นแพลตฟอร์ม NFT Aggregator เจ้าแรกที่ทำการออกมาประกาศแจก Airdrop แบบนี้

ผู้ที่เคยซื้อขาย NFT ผ่าน Opensea นั้นสามารถเข้าไปรับ Airdrop ได้ที่ https://blur.io/airdrop

โดยการเคลมนั้นทาง Blur จะแจกเป็นกล่องที่ให้ผู้ใช้งานสามารถเปิดเพื่อ Reveal ระดับความหายากโดยเริ่มจาก Uncommon, Rare และ Legendary ตามลำดับ นอกจากนั้น Blur ยังมีแผนที่จะแจก Airdrop อีก โดยถ้าหากอ้างอิงจากแชทใน Discord คือต้องใช้ฟังก์ชั่น Sweep อย่างน้อยสามครั้งเพื่อเข้าร่วมใน Airdrop ครั้งที่สอง

สิ่งที่เราคาดหวังในอนาคตได้คือแพลตฟอร์ม NFT Aggregator พี่ใหญ่อย่าง Gem.xyz นั้นก็น่าจะมีแผนการในการออก Airdrop บ้างแน่นอน เพราะหลังจากที่ Blur ได้ประกาศการแจก Airdrop รอบที่สองนั้น ปริมาณการซื้อขาย Blur นั้นก็สามารถแซง Gem ที่เป็นอันดับหนึ่งได้ทันที เพราะฉะนั้นนี่จึงเป็นเรื่องใหญ่สำหรับ Gem ที่อาจจะต้องพิจารณาทางเลือกในการ Airdrop โทเคนให้กับผู้ใช้งานบ้างเช่นกัน 

แม้ว่าปี 2022 จะอยู่ในช่วงตลาดหมีโดยเฉพาะ Metaverse และ GameFi แต่การระดมทุนของโปรเจกต์เหล่านี้ยังมีอยู่เรื่อยๆ โดยใน Report ของทาง DappRadar ได้ชี้ให้เห็นว่าตลอด 3 ไตรมาสของปี 2022 ได้มีเงินลงทุนใน Web3 Metaverse และ GameFi รวมแล้วกว่า 7,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐหรือประมาณ 260,000 ล้านบาท ซึ่งมากกว่าปี 2021 ทั้งปีที่เป็นตลาดกระทิงด้วย และแม้ว่าในช่วง Q3/2022 จะมีตัวเลขน้อยที่สุด แต่ก็คิดเป็นถึง 30% ของปี 2021

หากพิจารณาเฉพาะไตรมาสที่ผ่านมา (Q3/2022) เงินลงทุนดังกล่าวได้แบ่งออกเป็น GameFi/ Web3 Metaverse : 38.5%, Infrastructure : 33.5%, Investment Firm : 22.9% และที่เหลืออีกประมาณ 5% เป็นส่วนของ NFT และ Media ในสัดส่วน 4% และ 1% ตามลำดับ

โดยดีลที่ได้รับความสนใจมากดีลหนึ่งคือ Hadean ที่ได้ระดมทุนในรอบ Series A เป็นจำนวนเงินถึง 30 ล้านดอลลาร์สหรัฐจาก Epic Games (เจ้าของเกม Fortnite และผู้พัฒนา Unreal Engine), Molten Ventures, 2050 Capital, Alumni Ventures, Aster Capital, Entrepreneur First และ InQTel
ซึ่งจุดที่น่าสนใจคือ Hadean จะนำ Unreal Engine ของ Epic Games มาพัฒนาต่อยอดเป็นระบบ Metaverse Infrastructure ที่มีความปลอดภัย เชื่อมต่อกันได้ง่าย (Interoperable) และมี Scalability ที่สูงที่จะสามารถรองรับผู้คนได้มากขึ้นกว่าปกติ ซึ่งจะกลายเป็นเครื่องมือสำคัญให้กับ Creator และ Developer ในการสร้าง Metaverse ในอนาคต

.

คำเตือนความเสี่ยง : คริปโทเคอร์เรนซี่มีความเสี่ยงสูง ท่านอาจสูญเสียเงินลงทุนได้ทั้งจำนวนและสินทรัพย์ดิจิทัลมีความเสี่ยง โปรดศึกษาและลงทุนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ ผลตอบแทนของสินทรัพย์ดิจิทัลในอดีต มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลตอบแทนของสินทรัพย์ดิจิทัลในอนาคต

Author

Share :
Related
DeSci: เมื่อ Web3 ปฏิวัติวงการวิทยาศาสตร์และการวิจัย
Cryptomind Monthly Outlook (November 2024)
Cryptomind Monthly Outlook (October 2024)
Thailand Blockchain Landscape 2024