Search
Close this search box.

Cryptomind Bi-weekly Outlook (1-15 February 2023)

Share :
AW_Biweekly Report Feb 1-15_1

Table of Contents

$BTC ยังคงอยู่ในแนวโน้มขาขึ้น พร้อมมีการทำจุดสูงสุดใหม่เป็นที่เรียบร้อย หลังราคาได้มีการปรับตัวขึ้นผ่านจุดสูงสุดก่อนหน้า $BTC ได้มีการเคลื่อนที่ทำ Higher high อย่างต่อเนื่องiทำให้ปัจจุบันหากราคายังคงการเคลื่อนที่ในแนวโน้มขาขึ้นที่แข็งแรง และจะมีแนวต้านถัดไปที่ราคา $25,200 และ $26,000 ตามลำดับ ซึ่งเป็นแนวที่มีความสำคัญสูงเนื่องจากเป็นเป้าหมายราคาจาก Fibo extension และยังเป็น Supply zone ที่แข็งแกร่งอีกด้วย แต่อย่างไรก็ตามหากราคามีการปรับตัวลงจะต้องไม่หลุดโซนราคา $21,300 เนื่องจากจะมีโอกาสเสียแนวโน้มขาขึ้นได้ ซึ่งหากราคากลับตัวลงมาเป็นขาลวจะมีแนวรับที่ต้องจับตามองคือที่โซนราคา $20,400 และ $19,300 ตามลำดับ

$ETH มีการพุ่งขึ้นรุนแรงในแนวโน้มขาขึ้น และปัจจุบันราคาได้มีการขึ้นไปทดสอบโซนแนวต้านที่สำคัญเป็นที่เรียบร้อย หากสามารถผ่านโซนราคานี้ไปได้จะมีโซนแนวต้านที่สำคัญคือที่ราคา $1,875 และ $2,040 ตามลำดับ แต่หากราคาไม่สามารถยืนเหนือโซนนี้ได้จะมีแนวรับที่ต้องจับตามมองคือที่โซนราคา $1,431

“เงินบาทเริ่มผันผวนหลังจากตัวเลขเงินเฟ้อในเดือนมกราคมของ US อยู่ที่ 6.4%”

อัตราการแลกเปลี่ยนเดอลล่าร์สหรัฐกับเงินบาทอยู่ที่ 34.1 บาทต่อดอลล่าร์ หลังจากตัวเลขเงินเฟ้อของ US ประจำเดือนมกราคมออกมาอยู่ที่ 6.4% ซึ่งลดลงจากเดือนธันวาคมที่ 6.5% (นักลงทุนคาดการณ์ 6.2%) ทำให้เห็นว่าเงินเฟ้อนั้นลดลงเพียงแค่เล็กน้อย ไม่ได้ลดลงในอัตราที่มากเหมือนที่นักลงทุนคาดการณ์ ทำให้เงินไหลเข้าดอลล่าร์ DXY มากขึ้นจนอยู่ที่ 103 (ภาพทางขวา) เท่ากับว่านักลงทุนเริ่มปิดรับความเสี่ยง ทำให้สินทรัพย์เสี่ยงวิ่งออกทาง Sideway เพื่อรอตัวเลขในฝั่งภาคแรงงานซึ่งสามารถใช้พิจารณาสถานการณ์เงินเฟ้อได้ (ถ้าการจ้างงานยังแข็งแกร่งเงินเฟ้อยิ่งจะลดลงยาก) ยิ่งไปกว่านั้น นักลงทุนได้ทำการคาดการณ์ว่าในงาน Meeting FOMC ในเดือนมีนาคม FED จะทำการขึ้นดอกเบี้ยที่ 25 basis point ถึง 87.8% (ภาพทางซ้าย) ทำให้แนวโน้มการแข็งค่าของดอลล่าร์เพิ่มมากขึ้นกดดันให้เงินบาทเริ่มอ่อนค่าลงโดยผันผวนอยู่ในกรอบ 34.1 บาทต่อดอลล่าร์ถึง 34.5 บาทต่อดอลล่าร์ 

“ถึงแม้เงินเฟ้อ Headline CPI จะลดลง 0.1% แต่ความจริงแล้วเงินเฟ้อในฝั่ง Services & Rent แทบจะไม่ได้ลดลงเลย”

สถานการณ์ของเงินเฟ้อเริ่มกลับมาน่ากังวลอีกครั้งหลังจากตัวเลข CPI ออกมาลดเพียงแค่ 0.1% โดยสิ่งสำคัญที่ FED จะใช้พิจารณาในการตัดสินใจขึ้นดอกเบี้ยนั้นอยู่ที่ Core CPI (เงินเฟ้อที่ไม่รวมอาหารและพลังงาน) ซึ่งได้แก่ฝั่งงานบริการ (Services) และ ค่าเช่าบ้าน (Rent) เพราะเป็นเงินเฟ้อจากการจับจ่ายหลักๆ (Core) จากภาพทางซ้ายที่เป็นเงินเฟ้อของฝั่ง Services ก็ไม่ได้ลดลง และภาพทางซ้ายเงินเฟ้อในฝั่ง Rent ก็ไม่ได้ลดลงเหมือนกัน แสดงให้เห็นว่าเงินเฟ้อจริงๆที่ไม่รวมอาหารและพลังงานนั้นแทบไม่ได้ลดลงเลย ซึ่งเหตุผลก็คือตลาดแรงงานที่ยังคงร้อนแรงทำให้คนยังคงมีกำลังทรัพย์มากพอที่จะต่อสู้กับการขึ้นราคาของค่าเช่าและการบริการได้ ทั้งหมดนี้เลยส่งผลให้ตลาดจับตามองเกี่ยวกับตัวเลขภาคการจ้างงานอีกครั้ง ถ้าการจ้างงานยังคงสูง FED อาจจะต้องทำการขึ้นดอกเบี้ยต่อ

ภาพรวมตลาดคริปโทฯในช่วงนี้มีความผันผวนจากข่าวเกี่ยวกับ Paxos ประกาศหยุดผลิตเหรียญ BUSD เพราะได้รับคำสั่งจาก Regulator ของสหรัฐฯ ส่วน CPI ที่ประกาศไปในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ออกมาลดลงต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้เล็กน้อย ก็ได้ทำให้ภาพรวมตลาดคริปโทฯบวกขึ้นเล็กน้อย 

ส่วนภาพรวมตลาด DeFi ลดลง 1.74% มีแค่เพียงเชน Arbitrum ที่มี TVL เพิ่มขึ้นอย่างโดดเด่นถึง 24.79% และพลิกกลับมาแซง Polygon แล้ว ทำให้กลายเป็นเชนที่มี TVL สูงสุดเป็นอันดับสี่  ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากความคาดหวังว่าอาจจะมีการเปิดตัวเหรียญ $ARB และแจก Airdrop ในเร็วๆนี้ ทำให้ในช่วงที่ผ่านมาเหรียญตัวเล็กหลายๆตัวบนเชน Arbitrum มีราคาพุ่งขึ้นไปอย่างมากจากแรงเก็งกำไรดังกล่าว โดยตัวที่โดดเด่นและเป็นที่พูดถึงอย่างมากคือ $GRAIL ของ Camelot DEX ที่ได้พุ่งขึ้นกว่า 10 เท่าในระยะเวลาไม่ถึงหนึ่งเดือน 

นอกจากนี้ ด้วยกรณีที่เกิดกับ BUSD ไป Narrative ของ DeFi ที่น่าจับตามองต่อไปคือ Decentralized stablecoin โดยเฉพาะอย่างยิ่งเหรียญ GHO ของ Aave ที่กำลังเริ่มทดสอบบน Testnet อยู่ นอกจากนี้ยังมี Curve ที่กำลังวางแผนจะออก Stablecoin ของตัวเองเช่นกัน ถือว่าน่าติดตามความเคลื่อนไหวเพราะคาดว่าน่าจะเปิดตัวในเร็วๆนี้ และอาจทำให้ตลาด DeFi กลับมาคึกคักได้

Kraken เป็นแพลตฟอร์ม Centralized Exchange แห่งหนึ่งที่มีบริการการให้นักลงทุนสามารถนำเหรียญที่เป็น Proof Of Stake ไป Stake ที่แพลตฟอร์ม Kraken เพื่อที่ Kraken จะนำไป stake ที่ Validator Node เพื่อหาผลตอนแทนเพิ่มเติมให้ได้

ปัจจุบัน Kraken เปิดให้ Stake เหรียญที่เป็น Proof Of Stake ได้มากมาย เช่น ETH , ATOM , ADA, DOT และอื่นๆรวมกว่า 16 เหรียญ
แต่ในช่วงเดือนที่ผ่านมามีข่าวออกมาว่า Kraken ต้องเสียค่าปรับให้กับ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ของสหรัฐฯ หรือ SEC สำหรับการไม่ได้ลงทะเบียน “โปรแกรม crypto-as-a-service” เป็นเงิน 30 ล้านดอลลาร์ และทำการปิดตัวบริการ Staking นี้ลง โดยทาง SEC สหรัฐได้ให้เหตุผลว่า “เมื่อนักลงทุนมอบโทเค็นของตนให้กับผู้ให้บริการ stake-as-a-service พวกเขาก็จะสูญเสียการควบคุมโทเค็นเหล่านั้น และต้องแบกรับความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับแพลตฟอร์มโดยแทบไม่มีการป้องกัน

ทำให้ Kraken ต้องทำการถอนเหรียญที่นำไป Stake ผ่านบริการนี้ทั้งหมดยกเว้น ETH ที่ต้องรอหลัง Shanghai Upgrade ทำให้หากเราคิดนำเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับ Kraken เป็นมาตรฐานไปเทียบกับบริการ Staking ที่เป็น Centralized ของแพลตฟอร์มอื่นๆ เช่น Binance , Coinbase ก็อาจจะทำให้มีความเสี่ยงที่แพลตฟอร์มนี้จะโดนสั่งปิดโดยหน่วยงานรัฐได้เช่นกัน

หากมาดูปริมาณ ETH ที่ถูก stake ไว้ในระบบจะพบบว่า แพลตฟอร์มที่รับ Stake ETH อันดับที่ 2-3-4 ได้แก่ Coinbase , Kraken และ Binance ล้วนเป็น Centralized Platform ทั้งสิ้น ทำให้หากโดนบังคับปิด จะมี ETH กว่า 25% จากปริมาณ ETH ทั้งหมดที่ถูก Stake ผ่าน Staking Service ถูกถอนออกมาซึ่งอาจมีผลต่อราคาของ ETH ได้

วันที่ 13 กุมภาพันธ์ ก.ล.ต. สหรัฐส่ง “จดหมายเตือนอย่างเป็นทางการ” ไปถึง Paxos บริษัทที่ทำหน้าที่สร้าง BUSD โดยเนื้อหากล่าวว่า BUSD เป็น Unregistered Security หรือหลักทรัพย์ที่ไม่ลงทะเบียนซึ่งเป็นข้อหาเดียวกันกับ XRP และ ETH ที่โดน SEC ฟ้องแล้วยังอยู่ในการต่อสู้คดี รวมถึง ETH Staking ที่ Kraken โดนกับ SEC เช่นเดียวกันการตัดสินครั้งนี้ของ ก.ล.ต.สหรัฐที่ให้ BUSD Stablecoin เข้าข่าย “หลักทรัพย์” นั้นเป็นสิ่งที่ค้านสายตาคนทั่วไปมาก เนื่องจากการอ้างอิง Howey Test ทั้ง 4 ข้อ หรือ 1933 Securities Act ที่ SEC ใช้ตัดสินว่าสินทรัพย์นั้นเข้าข่ายหลักทรัพย์ มันต้องอาศัยการตีความที่กว้างมากถึงจะทำให้ BUSD เป็นหลักทรัพย์ เพราะไม่มีใครที่ต้องการซื้อ Stablecoin เพื่อเก็งกำไร

Paxos “ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง” กับ SEC ที่เรียก BUSD ว่าหลักทรัพย์ โดยจะร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ SEC ในประเด็นนี้ ซึ่ง Paxos มีเวลา 30 วันในการตอบกลับโดยใช้เป็นโอกาสในการโต้แย้งและพร้อมที่จะดำเนินคดีอย่างจริงจังหากจำเป็น

ในตอนนี้คดีของ XRP ที่โดนในข้อหาเดียวกันนั้นกินระยะเวลามานานกว่า 3 ปีแล้วโดยคาดว่าจะทราบผลการตัดสินภายในปีนี้ ดังนั้นผลลัพธ์ของคดีอาจส่งผลต่อการตัดสินคดี BUSD ด้วยเช่นกัน

ซึ่งถ้าผลลัพธ์ออกมาว่า BUSD หรือ XRP “ไม่เข้าข่ายการเป็นหลักทรัพย์” เราคาดว่านักลงทุนสถาบันรวมถึงรายย่อยจะกล้าเข้ามาลงทุนในตลาดคริปโทฯมากขึ้นและทำให้เกิด Bull Market อย่างแน่นอน ในทางกลับกันหากผลตัดสินว่า “เป็นหลักทรัพย์” Stablecoin อย่าง USDC และ USDT รวมถึงคริปโทฯทุกชนิดก็มีโอกาสไม่รอดสูงมาก ซึ่งจะกดดันตลาดอย่างหนักและทำให้ไม่ฟื้นไปอีกนาน

ดังนั้น ผลการไต่สวนคดีนี้จึงต้องติดตามอย่างใกล้ชิด

และในขณะเดียวกันที่ ก.ล.ต.สหรัฐฟ้อง Paxos ทาง New York State Department of Financial Services (NYDFS) หรือหน่วยงานภาครัฐที่คอยควบคุมผลิตภัณฑ์และการบริการทางการเงินในนิวยอร์กก็สั่งให้ Paxos หยุดสร้าง BUSD เนื่องจากความกังวลเรื่องความสัมพันธ์กับ Binance ซึ่ง Paxos ไม่สามารถขัดขืนได้ BUSD เนื่องจากถูก Regulate จาก NYDFS โดยตรง คำสั่งนี้จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ เป็นต้นไป โดยนักลงทุนสามารถนำมาแลกคืนเป็น USD หรือ USDP ได้ในอัตรา 1:1 จนถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2024 เป็นอย่างน้อยตามประกาศจาก Paxos


ข่าว ก.ล.ต.สหรัฐและ NYDFS ฟ้อง Paxos สร้างความตื่นตระหนกให้กับนักลงทุนอย่างมาก เพราะว่า BUSD มีการใช้งานเป็น 35% ของยอดการซื้อขายทั้งหมดบน Binance ซึ่งเป็น Exchange อันดับหนึ่งที่กินส่วนแบ่งตลาดมากกว่า 70% การที่ BUSD จะหายไปจากตลาดทำให้ BUSD หลุด Peg ไปชั่วระยะเวลาหนึ่งและคริปโทฯอื่นๆ ก็ร่วงหนักเช่นกัน

Changpeng Zhao (CZ) เจ้าของ Binance โพสต์ Twitter สรุปเรื่องราวในครั้งนี้ว่า BUSD จะ Market Cap ลดลงเรื่อยๆจากการหยุดผลิตของ Paxos และในส่วนของ BUSD เป็น Unregistered Security นั้นเขาไม่เห็นด้วย และคิดว่า “ถ้าคำตัดสิน BUSD เป็นจริง” จะเกิดผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อตลาดอย่างมาก ในตอนนี้ Binance มีแผนจะแทนที่ Stablecoin ตัวอื่นมาเพิ่มเป็นทางเลือก ซึ่งอาจรวมถึง Stablecoin ที่ Peg กับ “สกุลเงินอื่นนอกจาก USD” อีกด้วย

ผลกระทบจาก NYDFS ที่ปิดทาง BUSD อาจจะก่อให้เกิดการพลิกโฉมระบบการเงินในโลกคริปโทฯให้มองหาการ Peg กับสกุลอื่นๆได้ อย่างไรก็ตามเหตุการณ์ในครั้งนี้มีจุดน่าสงสัยหลายอย่างทั้งการมุ่งโจมตีแต่ BUSD เท่านั้น ทั้งๆที่ USDP ก็ออกโดย Paxos และมีโมเดลเหมือนกันทุกประการแต่ไม่โดนโจมตี

เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ทาง Optimism ได้ประกาศแจก Airdrop เหรียญ OP ให้แก่ Community เป็นครั้งที่สอง โดยแจกเป็นจำนวนทั้งหมด 11,742,277.10 OP หรือคิดเป็นมูลค่าประมาณ 25 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มีผู้ที่ได้รับ Airdrop ไปทั้งสิ้น 307,965 Address โดยกระเป๋าที่ได้รับสูงสุดได้รับไปทั้งหมด 10,462.4 OP และเฉลี่ย Airdrop ที่แจกต่อหนึ่งกระเป๋าอยู่ที่ราวๆ 38.1 OP

ซึ่งการแจก Airdrop ครั้งนี้จะมี Criteria ในการแจกที่แตกต่างจากครั้งแรกอยู่พอสมควร โดยทาง Optimism จะให้ความสำคัญไปที่ Real User ที่เข้ามาใช้งานจริงบน Optimism อยู่เป็นประจำ, การที่ User คนนั้นเข้าไปมีส่วนร่วมกับ Governance Vote ผ่านการ Delegate Voting Power ให้กับบุคคลที่เราคัดเลือกว่าคนๆนั้นจะสามารถสร้างคุณค่าให้แก่ Ecosystem ในระยะยาวได้ รวมไปถึงการให้ความสำคัญกับ User ที่เป็น Strong Holder ที่มีการถือเหรียญ OP ไว้ใน Wallet เป็นระยะเวลานานอีกด้วย

Tokenomics ของ OP นั้นมีสัดส่วนสำหรับแจก Airdrop ให้ Community อยู่ราวๆ 19% ของ Total Supply โดยการแจก Airdrop รอบแรกคิดเป็นสัดส่วน 5% ของ Total Supply (214,500,000 OP) และการแจกรอบล่าสุดคิดเป็น 0.27% ของ Total Supply (11,742,277.10 OP) รวมไปถึงทาง Optimism ก็ยังไม่ได้ประกาศชัดเจนว่าจะมีการแจก Airdrop ทั้งหมดอีกกี่ครั้ง 

จึงทำให้มี Airdrop Hunter เข้าไปเก็ง Airdrop OP รอบต่อไปกันเพิ่มมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น การเข้าไปซื้อ NFT ของ Optimism Quest, การเข้าไปใช้งาน DApps ต่างๆที่อยู่บน Ecosystem ของ Optimism รวมไปถึงการถือเหรียญ OP ใน Wallet เพื่อเข้าไปโหวต Proposal ต่างๆอีกด้วย จากข้อมูลย้อนหลัง 7 วัน จึงทำให้ Optimism มี Daily Active User เพิ่มขึ้นมากกว่า 333% และ TVL โตขึ้นมากกว่า 59%

ผลตอบแทนที่ได้จากการฝากธนาคารและการฝากพันธบัตรรัฐบาลให้ผลตอบแทนเฉลี่ยปีละ 2.53% ส่วนผลตอบแทนจากการฟาร์มหรือปล่อยกู้ Stablecoin บนแพลทฟอร์มต่างๆให้ผลตอบแทนเฉลี่ยปีละ 5.62% ซึ่งสำหรับการฟาร์ม Stablecoin สามารถเลือกฝากกับแพลทฟอร์มที่มีความปลอดภัยสูงและเปิดมานาน เช่น Curve, UniSwap, PancakeSwap, Aave, Compound, Traderjoe หรือจะเลือกฝากบนแพลทฟอร์มที่ใหม่กว่าและผลตอบแทนสูงกว่าอย่างเช่น Velodrome ก็ได้เช่นกัน โดยผลตอบแทนเฉลี่ยระหว่างการฝากธนาคารหรือพันธบัตรเทียบกับการฟาร์ม Stablecoin ต่างกันอยู่ที่ประมาณ 2.2 เท่า 

เมื่อเทียบกับเดือนก่อนๆจะพบว่าผลตอบแทนจากเงินฝากและพันธบัตรเพิ่มขึ้นจากการขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ ประกอบกับการขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารแห่งประเทศไทยทั้งหมด 3 ครั้งในปี 2565 ที่ผ่านมา ส่วนผลตอบแทนในการฝาก Stablecoin ถึงแม้จะลดลงค่อนข้างมากจาก APR ประมาณ 8% ในช่วงต้นปี 2565 แต่ก็กระเตื้องขึ้นมาบ้างในช่วงต้นปี 2566 เมื่อเทียบกับปลายปี 2565 ที่ผ่านมา เป็นเพราะว่าผลตอบแทนส่วนใหญ่มาจาก Trading Fee & Borrowing ซึ่งในช่วงนี้ตลาดคริปโทฯกลับมาคึกคักจึงมีการทำธุรกรรมที่มากขึ้นตามไปด้วยนั่นเอง

สภาวะตลาด NFT ในช่วง 30 วันที่ผ่านมาพบว่าปริมาณซื้อขาย NFT บน Ethereum Blockchain มีการปรับตัวขึ้นพอสมควรโดยเมื่อมาดู NFT คอลเลคชั่นที่มีปริมาณการซื้อขายสูงสุด 5 อันดับแรกนั้นได้ปรับตัวขึ้นสูงกว่า 50% กว่าสูงสุด 5 อันดับแรกของสองสัปดาห์ที่แล้ว โดยเหตุผลที่คาดว่าทำให้ปริมาณการซื้อขาย NFT ขึ้นคือมาจากการที่แพลตฟอร์ม NFT Aggregator อย่าง Blur ได้ทำการแจก Airdrop โทเคนให้กับผู้ที่ซื้อขาย NFT หรือใช้งานฟังก์ชั่นต่าง ๆ บนแพลตฟอร์ม และด้วยความที่ Blur ได้มอบคะแนน (ยิ่งเยอะก็จะยิ่งมีโอกาสได้รับผลตอบแทนจากแพลตฟอร์มมาก) ให้กับผู้ใช้งานในช่วงนี้เป็นสองเท่าจากการ Listing และ Bidding เพราะฉะนั้นปริมาณการซื้อขายจึงเพิ่ม

สำหรับผู้ที่ถือ NFT และมี Ethereum สำรองก็อาจจะเข้าแพลตฟอร์ม Blur เพื่อ List NFT และ Bid NFT เพื่อรับคะแนนบนแพลตฟอร์มที่ตอนนี้กำลังแจกสองเท่า เพื่อแลกกับโอกาสในการรับ Airdrop ในอนาคต

เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์เวลา 01:30 ทาง Blur หรือแพลตฟอร์ม NFT Aggregator ได้แจก Airdrop เหรียญของแพลตฟอร์มอย่างเป็นทางการโดยมี Ticker คือ $BLUR โดยได้แจกให้กับผู้ที่เคยใช้งานแพลตฟอร์มในช่วงตลอดสามเดือนที่ผ่านมา ซึ่ง Blur เป็นแพลตฟอร์ม NFT Aggregator ตัวแรกที่ทำการแจกเหรียญให้กับผู้ใช้งาน

ซึ่งการแจก $BLUR ในครั้งนี้ได้แจกทั้งหมด 360 ล้าน $BLUR จาก Total Supply ทั้งหมด 3 พันล้าน $BLUR ซึ่งปัจจุบัน $BLUR มีราคาอยู่ที่ $0.77 และ Marketcap อยู่ที่ 280 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และ FDV ที่ประมาณ 2.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

แต่อย่างไรก็ตามจะเห็นว่าจำนวนเหรียญที่แจกออกมาครั้งนี้นั้นเป็นเพียง 12% ของจำนวนเหรียญทั้งหมด เพราะฉะนั้นการไป List NFT หรือ Bid NFT เพื่อลุ้น Airdrop ในครั้งหน้าจึงเป็นสิ่งที่น่าสนใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตอนนี้ที้ Listing กับ Bidding Point ได้รับเป็นสองเท่าจนถึงวันที่ 14 เดือนมีนาคม

Saudi Arabia Digital Government Authority และ The Sandbox ได้มีการเซ็นต์ MOU ร่วมกันในการพัฒนาโปรเจกต์ Metaverse ที่งาน Leap Tech Conference ที่ถูกจัดขึ้นที่เมืองรียาด (Riyadh) ประเทศซาอุดีอาระเบีย

โดยในขณะนี้รายละเอียดของความร่วมมือดังกล่าวยังไม่สามารถเปิดเผยออกมาได้ เนื่องจากเป็นข้อตกลงระหว่าง The Sandbox และรัฐบาลของประเทศซาอุดีอาระเบีย แต่จะมีการเปิดเผยรายละเอียดในไม่กี่อาทิตย์ข้างหน้านี้

ซึ่งการเคลื่อนไหวนี้ก็ได้แสดงให้เห็นถึงความตื่นตัวและความสนใจใน Web3 ของประเทศแถบตะวันออกกลางที่เพิ่มมากขึ้น เพราะก่อนหน้านี้สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ก็ได้ให้ความสนใจอย่างมากและพยายามทำให้ Dubai กลายเป็น Crypto Hub ของโลก

The Sandbox ร่วมมือกับ ZeptoLab ที่เป็นบริษัทผู้ผลิตเกมระดับโลกที่ได้ผลิตเกมที่มีชื่อเสียงมาแล้วมากมาย ตัวอย่างเช่น Cut the Rope, CATS: Crash Arena Turbo Stars, King of Thieves และ Bullet Echo games

โดย ZeptoLab จะนำ LAND มาสร้างเป็นคาเฟ่ที่จะมี Mini Game ให้เล่นที่จะเป็นแนวการบริการคาเฟ่ นอกจากนี้ ZeptoLab จะมีทำ Digital Collectible ร่วมกับ The Sandbox โดยใช้ Intellectual Property ของ ZeptoLab จากเกมต่างๆ ด้วย

.

คำเตือนความเสี่ยง : คริปโทเคอร์เรนซี่มีความเสี่ยงสูง ท่านอาจสูญเสียเงินลงทุนได้ทั้งจำนวนและสินทรัพย์ดิจิทัลมีความเสี่ยง โปรดศึกษาและลงทุนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ ผลตอบแทนของสินทรัพย์ดิจิทัลในอดีต มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลตอบแทนของสินทรัพย์ดิจิทัลในอนาคต

Author

Share :
Related
Cointalk (19 July 2024) - ตลาด risk off คริปโตเด้งแรง
Automated Market Maker (AMM)
Technical Analysis $TON $INJ โดย Cryptomind Advisory (17 July 24)
Cryptomind Monthly Outlook (July 2024)