Introduction to Chainlink
Chainlink คือหนึ่งในบรรดาโปรเจกต์ Infrastructure ที่เก่าแก่ที่เกิดขึ้นมาหลังจากการเกิดขึ้นมาของ DApps และ Smart contract ที่มาแก้ปัญหาในการส่งข้อมูลจากโลกจริงเข้าสู่โลก Blockchain ซึ่งเป็นโปรเจกต์ที่ทำด้าน Decentralized Oracle Network ตัวแรกและมีขนาดใหญ่ที่สุด โดยได้เข้ามาแก้ไขปัญหาการส่งข้อมูลแบบไม่ต้องพึ่งพาตัวกลางและมีความกระจายศูนย์ (Decentralized และ Trustless) ซึ่งได้รับการทดสอบมาอย่างยาวนานแล้ว โดย Chainlink ได้ถูกก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 2017 แต่ว่าได้ถูกเปิดตัวใช้งานจริงในปี 2019 โดยผู้ก่อตั้งชื่อว่า Sergey Nazarov ซึ่ง Chainlink มีเป้าหมายในการแก้ไขปัญหาเรื่อง Oracle อันเป็นข้อจำกัดของการใช้งานต่างๆบน Blockchain ในการเชื่อมต่อกับแหล่งข้อมูลจากภายนอก
โดยการทำงานของ Chainlink จะเป็นในลักษณะเครือข่ายของ Decentralized Nodes ที่สามารถ Feed ข้อมูลให้กับ Smart Contracts เช่น ดึงราคา Average Price Feeds ให้กับแพลตฟอร์ม DeFi, การส่งข้อมูลต่างๆแบบ Random ให้กับแพลตฟอร์ม Gaming ในการสร้าง Dynamic NFT หรือที่เรียกว่า VRF, การส่งข้อมูล Proof of Reserve ของสินทรัพย์ค้ำประกัน (Collateral) จาก Off-chain เพื่อส่งไปยังแพลตฟอร์มต่างๆที่ต้องการใช้ข้อมูล และอื่นๆอีกมากมาย เรียกได้ว่า Chainlink ถือเป็นหนึ่งในแก่นสำคัญของการทำงานของ Smart contracts, DeFi, NFT, L1/L2 หลายๆตัวเลยก็ว่าได้
ถึงแม้จะเป็นโปรเจกต์ที่สร้างคุณประโยชน์อย่างมาก โดยที่ครอง Market share 55% ของตลาด Oracle ทั้งหมด (อันดับ 2 Market Cap เพียง 22%) มีการใช้งานมากกว่า 1,600 โปรเจกต์หรือส่งผ่านข้อมูลมูลค่ากว่า 7.8 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐทั่วโลก (ข้อมูลวันที่ 27 พฤษภาคม 2023) ราคาเหรียญ LINK ก็หนีไม่พ้นการเข้าสู่ตลาดหมีในปี 2022 โดยราคาปรับตัวลดลงมากกว่า 90% จากจุดสูงสุดที่เคยไปทำไว้ที่ราคา 52 ดอลลาร์สหรัฐในช่วงตลาด Bull ในปี 2021 ซึ่งราคาเหรียญ LINK ก็ได้วิ่งอยู่ในช่วง 5-7 ดอลลาร์มาเป็นเวลากว่า 1 ปีแล้ว ทำให้น่าจะถึงเวลาที่เราจะมาศึกษาและอัพเดทโปรเจกต์ Chainlink กันอีกครั้งเพราะอาจจะเป็นโอกาสที่ดีในการสะสมโปรเจกต์คุณภาพในช่วงที่ราคา Sideway มาอย่างยาวนาน
โดยหนึ่งในสิ่งที่ได้สร้างความสนใจเป็นอย่างมากคือการที่ทาง Chainlink ได้ปล่อย Whitepaper ของ Chainlink 2.0 ในช่วงปลายปี 2022 ที่ผ่านมา โดยคร่าวๆคือมีการอัปเกรดความสามารถของ Decentralized Oracle Networks (DONs) และช่วยลดค่าแก๊สในการทำธุรกรรมที่เกิดจากการใช้งาน Oracle เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการเปิด Economics 2.0 ที่หนึ่งในการอัพเกรดสำคัญคือเพิ่ม Use case ให้กับเหรียญ LINK โดยการโดยมีให้คนทั่วไปสามารถนำ LINK ไป Stake เพื่อรับ Revenue sharing ได้ นอกจากนี้เป้าหมายหลักสำคัญอื่นของ Economics 2.0 คือการลดต้นทุนและเพิ่มรายได้เพื่อทำให้เกิดความยั่งยืนในระยะยาว เช่น การแลกบริการ Oracle กับเหรียญของโปรเจกต์ผ่าน Chainlink BUILD
อีกหนึ่งสิ่งที่หลายคนรอคอยในปี 2023 นี้ทาง Chainlink มีแผนจะเปิดตัว Chainlink Cross-Chain Interoperability Protocol (CCIP) ที่จะทำหน้าที่เป็น General messaging protocol ที่ช่วยในการสื่อสารระหว่าง Blockchain ต่างๆ ที่ทางเราคาดว่าจะเข้ามาเปลี่ยนแปลงโฉมหน้าของ Chainlink ไปพอสมควร เพราะว่าเป็นการก้าวเข้ามาสู่สนามการสื่อสาร Cross-chain ที่ถือว่าเป็นอีกเทรนด์ที่น่าจับตามองอย่างมากในปี 2023 นี้
นอกจากนี้ในปี 2023 Sergey Nazarov Co-Founder ประกาศว่าจะได้เห็นความคืบหน้าของ Data, Computation, การใช้ Low-Latency Data จาก Derivative DApps และการใช้ Chainlink’s Proof of Reserve ซึ่งจะเป็นมาตรฐานใหม่ให้ DApps ต่างๆทั้งหมด และ Chainlink (VRF) v2 ที่จะสร้าง Standard การ Random ให้มีมาตรฐานที่สุดเพื่อใช้ในวงการ GameFi และ NFT, การร่วมมือกับ Coinbase Cloud ในการส่งราคา Floor NFT ให้ดียิ่งขึ้น, Chainlink OCR 2.0 เป็น Reporting Plugin ที่ไม่ได้ส่งได้แค่ Data Feed แต่ยังส่งเป็น Expression of Logic ได้อีกด้วย
ปี 2023 นี้จึงเป็นปีที่น่าจับตามอง Chainlink อย่างมากเพราะอัปเกรดทุกอย่างเป็น Infrastructure พื้นฐานที่ DApps ต่างๆ ควรนำไปใช้เพื่อยกระดับมาตรฐานของตัวเอง อีกทั้งเริ่มมีโมเดลรายได้และลดต้นทุนที่ชัดเจนขึ้น หากถึงวันที่ตลาดกลับมา Bull market ได้อีกครั้ง เหรียญที่ได้จาก Chainlink BUILD อาจจะกำไรหลายเท่าก็เป็นได้ แต่สิ่งนี้เป็น Narrative ที่เสริมราคาเหรียญ LINK ในระยะยาว ในระยะสั้นนั้นต้องระวังเรื่อง Dilution Effect ของ LINK เพราะปัจจุบันมี Circulating Supply ที่ 500m LINK จาก Total Supply 1,000m LINK ซึ่งจะทยอยปลดครบในต้นปี 2028
โดยในบทความนี้เราจะเน้นไปที่การอัปเดทพัฒนาการใหม่ๆของโปรเจกต์ Chainlink เพื่อที่จะมาวิเคราะห์กันว่า Roadmap ที่โปรเจกต์นี้มีนั้นเพียงพอที่จะทำให้มีความน่าสนใจอยู่หรือไม่ ซึ่งก่อนที่จะไปดูการอัปเกรดต่างเราจะไปทำความรู้จัก Chainlink กันก่อนในเบื้องต้น
Chainlink 1.0
ก่อนที่จะไปดูรายละเอียดเกี่ยวกับ Chainlink 2.0 เราจะมาเกริ่นเกี่ยวกับการทำงานในเบื้องต้นของ Chainlink 1.0 กันก่อนสำหรับคนที่อาจจะยังไม่เคยศึกษามาก่อน โดยปกติแล้วอย่างที่เกริ่นไปในช่วงแรก หลักการการทำงานของ Oracle จะเป็นในรูปแบบของเครือข่ายของ Decentralized Oracle Networks หรือ DONs แทนที่การใช้ Centralized entity ในการส่งข้อมูลเข้าสู่ DApps เพราะว่าการพึ่งพิงตัวกลางเพียงที่เดียวจะมีความเสี่ยงจาก Single point of failure และความเสี่ยงเรื่องข้อมูลผิดหรือการดัดแปลงข้อมูลได้ ซึ่งการใช้ DONs จะช่วยแก้ปัญหาที่เกิดจากการใช้งาน Centralized oracle ได้เพราะจะเป็นการพึ่งพิงจากหลายๆ Oracle ภายในเครือข่ายนั่นเอง ยกตัวอย่างให้เห็นภาพเช่น ถ้ามี Node ใดที่เกิดล่มไป ก็ยังจะมี Node อื่นคอย Feed ข้อมูลได้แทน ส่วนการดึงข้อมูลก็จะใช้ค่าเฉลี่ยจากหลายแหล่งที่น่าเชื่อถือ เพื่อจะได้ข้อมูลที่เที่ยงตรงมากขึ้น
โดยผู้ที่จะเข้ามาเป็น Node operator ได้จะต้องมีการวางมัดจำเป็นเหรียญ LINK ซึ่งจำนวนของ LINK ที่แต่ละ Node วางจะส่งผลต่อความน่าเชื่อถือของ Node นั้นๆด้วยเรียกว่า “Reputation system” และถ้าเกิด Node นั้นปฏิบัติตัวให้เกิดความเสียหายหรือรายงานข้อมูลที่ผิดพลาดก็จะต้องโดนยึดเหรียญ (คล้ายกับการ Slashing ของเครือข่าย Proof of Stake) ซึ่งผู้ที่มาใช้บริการ Chainlink ที่ต้องการใช้ข้อมูลที่มีความสำคัญมากก็อาจจะมีการเลือก Node ที่มีจำนวนเหรียญ LINK ที่วางค้ำประกันไม่น้อยกว่าจำนวนขั้นต่ำที่กำหนดได้ โดยขั้นตอนคร่าวๆก็จะเป็นตามนี้
- Node นั้นสามารถ Integrate เข้ากับ DApps ต่างๆโดยการเชื่อม API ที่จะทำให้ Smart contracts สามารถรับข้อมูลจาก Chainlink ได้
- ส่วนทาง DApps ที่ใช้บริการของ Chainlink จะต้องทำการ Request ไปที่ Chainlink Network ซึ่งการ Request ข้อมูลในแต่ละครั้งจะต้องจ่ายเป็นเหรียญ LINK
- ซึ่งหลังจากส่ง Request ไปแล้ว ทาง Chainlink จะทำการคัดเลือก Oracle ที่เหมาะสมสำหรับ Request นั้นๆ และทาง Oracle ที่ได้รับคัดเลือกทั้งหมดจะส่งข้อมูลกลับไปที่ Chainlink
- หลังจากนั้นทาง Chainlink จะรวบรวมข้อมูล ตัดค่า Outlier ออก หาค่าเฉลี่ย และส่งข้อมูลกลับไปให้ DApps
ยกตัวอย่างให้เห็นภาพมากขึ้น อย่างกรณีที่คนน่าจะคุ้นเคยกันมากที่สุดคือ Price node ที่ทำหน้าที่ Feed ราคาเหรียญคริปโทฯ ซึ่ง Node จะเก็บข้อมูลจากแหล่งต่างๆหลายๆที่และรายงานข้อมูลราคาเป็นค่าเฉลี่ย ซึ่งสำหรับใครที่สนใจสามารถเข้าไปดู Node ต่างๆที่ทำหน้าที่ Feed ชุดข้อมูลต่างๆได้ที่เว็บไซต์ Data.chain.link เช่นตามภาพด้านบนจะแสดงให้เห็นถึง Node ทั้งหมดที่ทำหน้าที่ส่งข้อมูลราคาเหรียญ Ethereum, จำนวนเหรียญ LINK ทั้งหมดที่ถูกวางค้ำประกันเอาไว้สำหรับการส่งข้อมูลดังกล่าว, ราคาเหรียญ Ethereum ที่เป็นค่าเฉลี่ยจากทุก Node รวมถึงข้อมูลสำคัญอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
Chainlink Tokenomics
เหรียญ LINK ของ Chainlink ได้เปิดขาย Public ICO ไปในเดือนกันยายน 2017 เป็นจำนวนสองรอบที่ราคา $0.09 และ $0.11 โดยขายไปจำนวนทั้งหมด 350 ล้าน LINK ซึ่งเหรียญ LINK จำนวน Total supply ทั้งหมด 1,000 ล้าน LINK และถูกจัดสรรในช่วงเริ่มต้นดังนี้
- เปิดขาย ICO ให้แก่นักลงทุน 35%
- Chainlink Founder และ Chainlink Labs Company เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายการดำเนินงาน 30%
- สำหรับ Node operator และ Ecosystem 35% เช่น มีการแจกจ่าย Incentive ด้วยเหรียญ LINK หรือที่เรียกว่า Oracle rewards* และแจกให้กับ Node ที่มี Performance ดีเยี่ยม
*Oracle rewards ก็เหมือนกับ Block rewards ที่จะแจกเพิ่มเติมให้กับ Node operator ในช่วงเริ่มต้นที่ยังไม่สามารถหารายได้จากการใช้บริการให้ครอบคลุมค่าใช้จ่ายได้ โดย Oracle rewards จะถูกปรับลดลงเรื่อยๆถ้า Node operator สามารถอยู่ได้จากค่าบริการอย่างเดียว
ซึ่งจากข้อมูลในวันที่เขียนบทความ (วันที่ 16 พฤษภาคม 2023) เหรียญ LINK มี Circulating supply อยู่ที่ประมาณ 517 ล้าน LINK หรือคิดเป็นราวๆ 52% จาก Total supply
Use Case ของเหรียญ LINK (Chainlink)
LINK เป็นเหรียญที่ใช้ภายในเครือข่ายของ Chainlink โดยหลักๆจะมี Use case อยู่ 4 อย่างคือ
- จ่ายค่า Data: DApps ที่มาใช้บริการดึง Data จะต้องจ่ายเป็นเหรียญ LINK
- Collateral: บทบาทที่สำคัญที่สุดของ LINK คือการทำหน้าที่เป็นหลักประกัน เพราะจะเป็นตัวตัดสินความถูกต้องของข้อมูลที่จะถูกส่งออกไปใช้งาน โดยเหรียญ LINK ที่ถูกล็อกไว้สามารถถูกยึด (Slashing) ได้ นอกจากนี้ จำนวนเหรียญ LINK ที่ Node วางค้ำไว้จะเป็นส่วนช่วยตัดสินความน่าเชื่อถือของ Node นั้นๆได้
- Staking: โดยหลังจากเปิดตัว Economics 2.0 ก็ทำให้นักลงทุนทั่วไปสามารถนำเหรียญ LINK ไป Stake ได้ เพื่อร่วมเป็นหนึ่งในการ Secure ระบบของ DONs โดยจะได้รับ APY อยู่ที่ประมาณ 4.75%
- DeFi: เหรียญ LINK สามารถนำไปใช้งานบนแแพลตฟอร์ม DeFi ได้หลายที่ เช่น นำไปปล่อยกู้บนแพลตฟอร์ม Lending หรือนำไปวาง Liquidity บน DEX เป็นต้น
Chainlink 2.0 และ Ecocomics 2.0
เมื่อได้ทำความรู้จักกับข้อมูลพื้นฐานของ Chainlink กันไปแล้ว ต่อไปเราจะไปดูถึงการอัปเกรดใหม่ๆซึ่งเป็นโฟกัสหลักของบทความนี้ ซึ่งทาง Chainlink ได้ปล่อย White paper ของ Chainlink 2.0 และ Economics 2.0 ไปในช่วงกลางปี 2022 ที่ผ่านมา โดยมีแผนจะเปิดตัวในปี 2023 นี้ ซึ่งรายละเอียดการอัปเดทหลักที่น่าสนใจของ Chainlink 2.0 และ Economics 2.0 มีดังนี้
1. Hybrid Smart Contract
Hybrid smart contracts ถือเป็นไฮไลท์หลักของ Chainlink 2.0 เลยก็ว่าได้ หลักการแบบอธิบายง่ายๆคือจากเดิมที่ Chainlink ให้บริการส่ง Data อยู่แล้ว ก็สามารถใช้ความได้เปรียบตรงนี้ต่อยอดจาก Data เหล่านั้นเพื่อเพิ่มความสามารถของ Smart contracts ได้ ซึ่งทำให้เกิดการพลิกโฉมของ Smart contract แบบดั้งเดิม โดยการผสาน Off-chain data, Off-chain computation เข้ากับ On-chain smart contract ทำให้สามารถรัน Code ของ On-chain จากข้อมูลและกำลังประมวลผลจาก Off-chain ได้ ส่งผลให้เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานในส่วนของ On-chain และเปิด Use case และลูกเล่นใหม่ๆเพิ่มเติมให้กับ Smart contracts ได้อีกมาก โดยส่วนประกอบหลักของ Hybrid smart contracts คือ
- On-chain smart contract (Blockchain): เป็น Code ที่รันอยู่บน Blockchain ทำหน้าที่เหมือนกับ Blockchain ทั่วไป มีความโปร่งใส ตรวจสอบได้ ย้อนกลับธุรกรรมไม่ได้
- Off-chain Decentralized Oracle Networks (DONs): ที่ทำหน้าที่ Secure ในส่วนของบริการที่อยู่ Off-chain ในการสนับสนุนการทำงานของ Smart contract ซึ่งส่วนนี้สามารถทำหน้าที่ดังนี้ได้
- ดึงข้อมูลผ่าน External API เพื่อส่งไปยัง Smart contract บน Blockchain
- ทำการคำนวณข้อมูลในรูปแบบต่างๆเพื่อส่งไปยัง Smart contract บน Blockchain
- ทำหน้าที่เป็นตัวกลาง (Relay) ในการแปลง Output จาก Smart contract เพื่อส่งไปยัง Blockchain อื่นๆ
ซึ่ง Hybrid smart contract จะช่วยสร้าง Use case ได้หลายอย่าง ที่เพียงแค่ Smart contract หรือ Decentralized Oracle Networks (DONs) ทำไม่ได้ และยังเพิ่มคุณสมบัติอย่าง Privacy, Scalability, Interoperability และความสามารถในการคำนวณ (Computation) ที่ซับซ้อนขึ้นให้กับ Smart contracts ได้อีกด้วย ยกตัวอย่างเพื่อให้เห็นภาพมากขึ้นเช่น
- Scalable computation: ทำให้ Chainlink ทำหน้าที่คล้ายกับ Blockchain layer 2 ได้ โดยจะมีการทำงานคล้ายกับ Roll-ups ที่ทำการ Exucution บน Off-chain และส่งกลับไปบันทึกบน On-chain ซึ่งจะช่วยเพิ่ม Throughput และลดค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมได้
- Data and computation privacy: ทำให้ DApps สามารถใช้ข้อมูลที่ Sensitive หรือความปลอดภัยระดับสูงได้ โดย DONs สามารถทำการ Encrypt ข้อมูลให้ หรือจะใช้วิธีอย่าง Zero-knowledge proofs ก็ได้ เช่น ขั้นตอนการ KYC ก็สามารถทำให้ช่วยรักษาข้อมูลส่วนตัวให้มีความปลอดภัยมากขึ้น
- Keeper network: ทำให้สามารถสร้าง Bot สำหรับการทำงานในฟังก์ชั่นต่างๆบน Smart contract ในช่วงเวลาที่ต้องการได้
- Fair sequencing service: จัดเรียงลำดับของธุรกรรมบน Blockchain ตามความยุติธรรม ป้องกันการ Frontrun และ MEV
- Global industries: นอกจากนี้ Hybrid smart contract ยังมีประโยชน์ต่อธุรกิจและอุตสาหกรรมต่างๆมากมาย อย่างเช่น Marketing, Supply chain, Insurance ยกตัวอย่างกรณีของบริษัท Insurance คือสามารถใช้ DONs ในการคำนวณ Risk assessment หรือดึงข้อมูลของลูกค้าจาก Cloud เพื่อส่งไปยัง Smart contract ในการกำหนดค่า Premium และดำเนินการเคลม เป็นต้น
2. Abstracting away complexity
คือการทำให้ผู้ใช้งาน นักพัฒนาและธุรกิจสามารถใช้งานฟังก์ชั่นต่างๆบน Chainlink DONs ได้ง่ายขึ้นโดยที่ไม่จำเป็นต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้าน Blockchain เลย ซึ่งวิสัยทัศน์ระยะยาวของ Chainlink ในเรื่องการทำให้ง่ายต่อการใช้งานนั้นคือการสร้าง Layer ใหม่ขึ้นมาเรียกว่า “Decentralized metalayer” ที่จะทำให้นักพัฒนาสร้าง DApps, Decentralized services ต่างๆได้ง่ายดายและสามารถเข้าถึง Hybrid smart contract และบริการ Oracle ของ Chainlink DONs ได้แบบ Default ด้วย สิ่งนี้จะเป็นการลด Friction ในการพัฒนา DApps และสร้างการเติบโตต่อ Chainlink ในระยะยาว
3. Scaling
คือการพัฒนาบริการของ Chainlink DONs ให้สามารถรองรับ Blockchain ที่เกิดขึ้นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็น Layer 1, Layer 2 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Blockchain ใหม่ๆที่เกิดขึ้นล้วนต้องการความรวดเร็วในการประมวลผล และค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมที่ราคาถูก ดังนั้นบริการ Oracle service ของ Chainlink จะต้องพัฒนาให้ดีมากขึ้นเพื่อตอบโจทย์บรรดา Blockchain ต่างๆให้ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Layer 2 ที่เกิดใหม่จำนวนมากในช่วงปีนี้ วิธีการที่ Chainlink ใช้ในการ Scale คือจะใช้ DONs ในการประมวลผลธุรกรรม และรวบรวมธุรกรรมหลายๆธุรกรรมไปยัง Blockchain (ภาพ B) จะเห็นได้ว่าวิธีการนี้จะใช้ DONs เป็นตัวประมวลผลธุรกรรมหลัก แทนที่จะใช้ Blockchain เป็นตัวประมวลผลหลัก (ภาพ A) จึงทำให้สามารถ Scale ได้
4. DECO Confidentiality
ทาง Chainlink ได้เข้าควบรวมกับ DECO ซึ่งเป็น Privacy-preserving oracle protocol ทำให้ Oracle สามารถส่งข้อมูลที่ Sensitive หรือต้องการความเป็นส่วนตัวสูง เพราะจะไม่ต้องเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวสู่ Public หรือแม้กระทั่ง Node operator ก็ไม่สามารถดูข้อมูลได้ ในขณะเดียวกันก็ยังคงความโปร่งใสเอาไว้ด้วยด้วยวิธีการที่เรียกว่า Zero-knowledge proofs
ยกตัวอย่างประโยชน์ของ DECO Confidentiality คือการนำไปใช้กับแพลตฟอร์ม Undercollateralized lending ซึ่งถือเป็นหนึ่ง Sector ที่น่าจับตาในอนาคตต่อไปเพราะว่าจะช่วยเพิ่ม Capital efficiency ได้เป็นอย่างดี อย่างไรก็ตามการประเมินวงเกินกู้บนแพลตฟอร์ม Undercollateralized lending จะต้องพิจารณาจาก Credit และ Risk profile ที่เป็นข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้งาน ซึ่งเทคโนโลยีของ DECO ก็เข้ามาตอบโจทย์ตรงส่วนนี้ได้ เพราะทำให้ไม่มีความจำเป็นต้องเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้งานบน Blockchain หรือต่อ Node operator เลย
5. Fair Sequencing Services (FSS)
ทาง Chainlink จะสนับสนุนการจัดเรียงธุรกรรมตามลำดับอย่างยุติธรรม และป้องกันการทำ Maximal Extractavble Value (MEV) เช่น Front-running, Sandwich Attack, Back-running ที่จะทำประโยชน์เข้าสู่คนบางกลุ่มอย่าง Validator และ Miner แต่จะทำให้ผู้ใช้งานทั่วไปเสียผลประโยชน์
ขั้นตอนการทำงานผ่าน FSS คือจะนำข้อมูลธุกรรมผ่านเข้าสู่ DONs แทนที่การส่งไปที่ Smart contract โดยตรง ทำให้ DONs รับหน้าที่ในการจัดเรียงลำดับธุรกรรมอย่างยุติธรรมก่อนที่จะส่งไปที่ Smart contract ต่อไป เช่นจากรูปด้านบน ด้านซ้ายคือถ้าไม่มี FSS ทาง Miner จะสามารถจัดเรียงลำดับธุรกรรมตามใจตัวเองได้ อย่างไรก็ตาม ถ้ามี FSS แบบภาพด้านขวา DONs จะทำหน้าที่จัดเรียงตามลำดับขั้นที่ถูกต้องตามนโยบายของ FSS ก่อนส่งไปที่ Blockchain ซึ่งผลประโยชน์ที่จะได้รับนอกจากที่เกริ่นไปแล้วก่อนหน้าก็คือทำให้ค่าแก๊สบน Blockchain ถูกลงได้ด้วย เพราะผู้ใช้งานไม่จำเป็นต้องแข่งกันจ่ายทิปให้ Miner เพื่อให้ธุรกรรมของตัวเองได้รับการบันทึกก่อน
6. Incentive-based Security
Incentive-based security คือการที่ Chainlink จะพัฒนา Security และความแข็งแกร่งของ Chainlink Network ให้ยั่งยืนผ่าน Incentive ที่เกิดจากการใช้งานจริงภายใน Chainlink Ecosystem เช่น การเพิ่มรายได้ให้กับ Node operator, ลดต้นทุนด้านการดำเนินงาน (Operation cost) และเพิ่มการ Staking เหรียญ LINK เป็นต้น ซึ่งในส่วนนี้จะเชื่อมโยงกับ Chainlink Economics 2.0 นั่นเอง โดย Chainlink Economics 2.0 ประกอบด้วย Chainlink staking, SCALE และ BUILD
6.1. Chainlink Staking v0.1
Chainlink staking ถือเป็นแก่นหลักในการพัฒนา Economics 2.0 ซึ่งเป็นการ Incentivize ผู้ถือเหรียญ LINK และ Node operator ในการเข้ามามีส่วนรวมในการเพิ่ม Security ให้กับ Chainlink oracle network โดยการแจกเหรียญ LINK เป็น Reward ซึ่งการ Staking นั้นถือเป็นสิ่งที่สามารถเพิ่ม Security impact ได้มากที่สุดเมื่อเทียบกับวิธีอื่นๆ
โดยที่มาของ Staking reward จะมาจากสองช่องทางคือ
- Native token emission: จ่ายเป็นเหรียญ LINK ที่ปลดมาจาก Supply ในส่วนของ Node operator & Ecosystem โดยจะแจกเยอะในช่วงเริ่มต้น แต่ว่าจะลดลงเรื่อยๆถ้า Node operator สามารถอยู่ได้จากค่าบริการอย่างเดียว
- User service fees: มาจากส่วนแบ่งรายได้ที่เกิดจากการให้บริการของ Chainlink service
Chainlink ได้เปิดบริการ Staking v0.1 ไปในช่วงเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม 2022 ที่ผ่านมา โดยผู้ที่ Stake จะถูกแบ่งออกเป็นสองกลุ่มคือ Node operator staker และ Community staker โดยในส่วนของ Community staker จะถูกนำไป Delagate ให้กับ Node operator ต่างๆโดยอัตโนมัติ (Auto-delegation) โดยจะถูกกระจายไปตาม Node ต่างๆในจำนวนเท่าๆกัน แต่ในอนาคตระบบ Auto-delegation อาจถูกปรับเปลี่ยนโดยจำนวน Delegation ที่แต่ละ Node ได้รับอาจไม่เท่ากัน แต่อาจจะปรับเปลี่ยนตามตัวแปรต่างๆเช่น Reputation, Performance ในอดีต, จำนวน LINK ที่ Stake และ ระยะเวลาที่เข้ามาเป็น Node เป็นต้น
Staking roadmap ของ Chainlink จะแบ่งออกเป็น 3 ช่วง (v0.1, v1 และ v2) โดยในช่วงเริ่มต้น v0.1 การ Stake จะเป็นการ Support ระบบ Price feed ของคู่เหรียญ ETH/USD บน Ethereum mainnet ก่อน และโฟกัสที่ระบบ Alerting mechanism ซึ่ง Staker สามารถทำการแจ้งเตือนเข้ามาเมื่อพบเห็นการ Feed ข้อมูลราคาที่ผิดพลาด หรือมีการว้นช่วงที่นานเกินไป โดยผู้ที่ทำการแจ้งเข้ามาจะได้รับรางวัลเพิ่มเติมด้วย โดยในอนาคตจะเปิดตัวฟีเจอร์อื่นๆเช่น Stake slashing, Insurance เป็นต้น
สำหรับ Staking v0.1 นั้น Staking pool จะถูกจำกัดไว้ที่ 25 ล้าน LINK ซึ่งตอนนี้ Staking pool ก็ได้รับความสนใจอย่างมากจนเต็มไปแล้ว โดยที่ผลตอบแทน %APY ในวันที่เขียนบทความอยู่ที่ประมาณ 5.29% (ข้อมูลวันที่ 22 พฤษภาคม 2023) อย่างไรก็ตาม ใครที่สนใจอยากจะ Stake ในอนาคตจะมีการขยายขนาด Pool เพิ่มเป็น 75 ล้าน LINK ซึ่งต้องรอประกาศจากทาง Chainlink ว่าจะเปิดเพิ่มอย่างไร
6.2. Chainlink SCALE ช่วยลด Cost
เนื่องจากว่าทุกวันนี้ Blockchain มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น โดยในปีที่ผ่านมาก็มีเชนต่างๆเกิดใหม่ ไม่ว่าจะเป็น Layer 1, Layer 2 ดังนั้นทาง Chainlink จึงต้องการสนับสนุนการเติบโตของโปรเจกต์ใหม่ๆโดยการก่อตั้งโครงการ Chainlink SCALE (ก่อนหน้านี้ชื่อว่า Blockchain gas grant) ที่จะทำให้โปรเจกต์ Layer 1 และ Layer 2 ช่วยสนับสนุนค่าใช้จ่ายในส่วนของ Transaction gas fee ในการใช้บริการ Oracle จาก DONs ในช่วงระยะเวลาหนึ่งให้กับโปรเจกต์ภายใน Ecosystem ของตัวเอง เพื่อให้โปรเจกต์เกิดใหม่สามารถไปโฟกัสที่การพัฒนาในส่วนอื่น เป็นการช่วย Kickstart ในช่วงก่อตั้งนั่นเอง โดยในช่วงเริ่มต้น ก็ได้มีเชนอย่าง Avalanche, Metis, Moonbeam และ Moonriver เข้าร่วมโครงการดังกล่าว ยกตัวอย่างเช่น การที่ Avalanche เข้าร่วมโครงการก็จะจ่ายเป็นเหรียญ AVAX ให้กับทาง Chainlink เพื่อนำมาแจกจ่ายให้กับ DONs และ Staker
นอกจากจะส่งผลประโยชน์ในการผลักดันการเติบโตให้กับ Blockchain Layer 1, Layer 2 และ DApps ต่างๆที่เข้าร่วมแล้ว ทาง Chainlink DONs ยังได้รับส่วนแบ่งรายได้ User fees จาก DApps ที่เข้าร่วม และยังช่วยขยาย Ecosystem และ Network effect ให้กับ Chainlink ด้วย
6.3. Chainlink BUILD ช่วยเพิ่ม Revenue
Chainlink BUILD (ก่อนหน้านี้ถูกเรียกว่า Partner growth program) เป็นอีกหนึ่งโครงการที่จะช่วยสนับสนุนการเติบโตให้กับโปรเจกต์เกิดใหม่ในช่วงเริ่มต้นรวมไปถึงโปรเจกต์เก่าที่เกิดมานานแล้วก็สามารถเข้าร่วมได้เช่นกัน โดยจะเป็นการแลกบริการ Oracle และ Technical support แลกกับเหรียญของโปรเจกต์ในจำนวน 3-5% หรืออาจจะเป็น Revenue sharing หรือ Incentive ในรูปแบบอื่นๆ ขึ้นอยู่กับการเจรจาของทั้งสองฝ่าย ซึ่งเหรียญของโปรเจกต์ก็จะนำมาแจกจ่ายให้กับ Node operator และ Staker ได้ ถือเป็นการหารายได้ให้กับผู้มีส่วนร่วมใน Chainlink network นอกเหนือไปจากค่าบริการ Oracle
ซึ่งก็คล้ายกับ Chainlink SCALE คือจะเป็นส่วนช่วยผลักดันการเติบโตให้กับโปรเจกต์ต่างๆที่เข้าร่วม และสร้าง Community ที่แข็งแกร่งขึ้น (เช่น ผู้ที่ Stake เหรียญ LINK และได้รับ Incentive มาก็อาจจะนำไปใช้งานบน DApps เป็นต้น) และยังช่วยสร้างการเติบโตและสร้างรายได้ที่มากขึ้นให้กับ Chainlink ด้วย โดยในปัจจุบัน โปรเจกต์ที่ยืนยันการเข้าร่วมใน Chainlink BUILD ประกอบด้วย Krypton, Interest Protocol, Mycelium, Cask Protocol, Truflation, Dolomite, Space and Time, Galaxis, bitsCrunch และ ChainML
7. Chainlink CCIP
Cross-Chain Interoperability Protocol (CCIP) คือหนึ่งในโปรเจกต์ที่ทาง Chainlink ใส่เข้ามาใน Roadmap 2.0 โดย เป้าหมายนั้นคือการสร้างมาตรฐานของ General cross-chain messaging protocol ให้ Developer สร้าง DApss ที่สามารถทำงานข้ามเชนได้ โดย CCIP นั้นมีความคล้ายกับเทคโนโลยี Cross-chain ของ LayerZero (สามารถอ่านเกี่ยวกับ LayerZero เพิ่มเติมได้ ที่นี่) ส่วนการเปิดตัวนั้นคาดว่าจะมาในช่วงประมาณ Q2-Q3 ปี 2023 นี้
ข้อดีของ CCIP ก็คือจะเข้ามาแก้ปัญหาที่เกิดจากการสื่อสารระหว่างเชนที่ในปัจจุบันนั้นมีจำนวน Blockchain จำนวนมาก ที่ยังมีข้อจำกัดในเรื่องการสื่อสารระหว่างกัน เช่น ความยุ่งยากเกี่ยวกับภาษาที่ใช้เขียน Code ที่ต้องเปลี่ยทุกครั้งที่จะไป Deploy บนอีก Blockchain, ปัญหาของ Cross-chain bridge ที่เกิดการแฮ็คอยู่บ่อยครั้ง หรือปัญหาของ Liquidity fragmentation เป็นต้น
โดยหลักการทำงานของ CCIP ก็คือทุกเชนหรือ DApps ที่ใช้งานจะต้องติดตั้ง Messaging Router Smart Contracts (MRSCs) ซึ่งทำหน้าที่เป็น Interface ที่จะส่งข้อมูลการทำธุรกรรมไปที่ Chainlink DONs (ทำหน้าที่คล้ายกับ Oracle และ Relayer บน LayerZero) เพื่อตรวจสอบความถูกต้อง และหลังจากนั้นทาง DONs ก็จะส่งข้อมูลธุรกรรมไปที่ Messaging Router Smart Contracts (MRSCs) ที่ปลายทางและยืนยันความถูกต้องอีกครั้งก่อนส่งไป Finalize ที่ Smart contract บนเชนปลายทาง
จุดเด่นของ CCIP นั้นก็คือความปลอดภัยของการส่งข้อมูลระหว่างเชนจะถูกดูแลโดยเครือข่าย Oracle Network ขนาดใหญ่ที่กระจายศูนย์ของ Chainlink (DON) ทำให้มีความ Decentralized และคุณภาพที่สูงมาก นอกจากนี้ยังมี Anti-Fraud Network ที่ช่วยตรวจสอบความผิดปกติ Cross-chain Activity ได้ตลอดเวลาและสามารถ “หยุด” ธุรกรรมโดยอัตโนมัติเพื่อป้องกันความเสียหายได้
ส่วน Use case ของ CCIP ก็มีหลายอย่าง ยกตัวอย่างเช่น
- Cross-chain lending: ผู้ใช้งานสามารถวางสินทรัพย์ค้ำประกันบนเชน A และเลือกกู้บนเชน B ตามที่ต้องการได้เลย ตัดขั้นตอนการ Bridge และค่า Fee ที่เกี่ยวข้องออกไปได้ทั้งหมด
- Multi-chain yield aggregator: ในปัจจุบันแพลตฟอร์ม Yield aggregator ส่วนมากมักจะเป็นแพลตฟอร์มที่ทำงานอยู่บนเชนใดเชนหนึ่งเท่านั้น ซึ่งทำให้มีข้อจำกัดจากคือจะทำให้พลาดโอกาสการสร้าง Yield จากในเชนอื่นๆ แต่ CCIP ทำให้สามารถสร้าง Multi-chain yield aggregator ที่สรรหาแหล่งสร้าง Yield ที่ดีที่สุดในจากหลายๆเชนไปในเวลาเดียวกันได้
- Unified-liquidity bridge: แก้ปัญหา Liquidity fragmentation จากการที่มีเชนและ Bridge จำนวนมาก ที่มีผลต่อ Capital efficiency และประสิทธิภาพของ Bridge โดยตรง ซึ่งเทคโนโลยี CCIP จะทำให้ผู้วาง LP แทนที่จะต้องเลือกวาง Asset บนเชนใดเชนหนึ่งและได้รับค่า Fee จากเชนเดียว ก็จะสามารถได้รับค่า Fee จากทุกๆเชนที่เข้ามาเชื่อมต่อ และแก้ปัญหา Liquidity fragmentation ด้วย
ในตอนนี้ CCIP ยังไม่มีกำหนดวันที่จะใช้งานจริง แต่ SWIFT บริษัทที่ช่วยเหลือการโอนเงินข้ามประเทศที่ใหญ่ที่สุดในโลกและ DeFi อย่าง Synthetix และ Sushiswap ได้ประกาศความร่วมมือว่าจะนำ CCIP ไปใช้งานแล้ว ด้วยความที่ Chainlink เป็นอันดับหนึ่งในด้าน Oracle โปรเจกต์นี้จึงเป็นที่น่าจับตามองอย่างมากว่าจะมีการใช้งานจริงได้มีประสิทธิภาพแค่ไหน
Chainlink Ecosystem and Partnerships
อย่างที่เกริ่นไปในช่วงต้นว่า Chainlink ครอง Marketshare อันดับหนึ่งในด้านของ Oracle ถึงประมาณ 80% โดยจำนวนโปรเจกต์ภายใน Ecosystem แสดงการเติบโตมาโดยตลอด ซึ่งในปัจจุบันมีจำนวนโปรเจกต์มากกว่า 1,600 โปรเจกต์แล้ว นอกจากนี้เรามองว่าการมาถึงของ Chainlink 2.0, Economics 2.0 และ CCIP จะเป็นการผลักดันให้ Chainlink ecosystem เติบโตขึ้นไปได้อีก
โดยโปรเจกต์ภายใน Chainlink ecosystem ก็ประกอบไปด้วยหลากหลายประเภท ตั้งแต่ DeFi, NFT, Gaming, Blockchain L1/L2, Launchpad เป็นต้น ตัวอย่างของ DeFi ชื่อดังที่ใช้งาน Chainlink ประกอบด้วย Aave, Synthetix, Lido, Dodo, Liquity, Trader Joe เป็นต้น หรือตัวอย่างของ NFT, GameFi อย่างเช่น Pool together, Aavegotchi, Axie ที่ใช้บริการ Chainlink VRF ในการส่งข้อมูลตัวเลขแบบสุ่ม (Random number generator) เพื่อช่วยในการสุ่ม Trait ของ NFT และสุ่ม Event ในเกม
ซึ่งนอกจาก Web 3.0 แล้ว Chainlink ยังได้มีการร่วมมือกับบริษัทยักษ์ใหญ่ใน Web 2.0 หลายแห่ง เช่น Google Cloud, Amazon AWS, T Systems, Coinbase Cloud Swisscom หรือ Climate market อย่าง Hyphen, Floodlight, Coorest เป็นต้น โดยความร่วมมือดังกล่าวจะเน้นไปที่การช่วยเหลือบริษัทเหล่านี้ในการเข้าถึง Web 3.0 และขยายแหล่งที่มาของ Data ให้มีความหลากหลายมากขึ้น ทำให้ Chainlink เป็น Oracle ที่มีความน่าเชื่อถือและแข็งแกร่งยิ่งขึ้นไปอีก
นอกจากนี้ทาง Chainlink ยังได้ร่วมมือกับองค์กรไม่แสวงผลกำไรและ Non Government Organizations (NGOs) ต่างๆเพื่อสนับสนุนโครงการเพื่อช่วยเหลือสังคม ยกตัวอย่างเช่น UNICEF, UNESCO, dClimate เป็นต้น
Chainlink (LINK) Valuation
เรามองว่าการประเมินมูลค่าในอนาคตสำหรับเหรียญ LINK โดยอิงจากรายได้ (Revenue) นั้นน่าจะตอบโจทย์ที่สุด อย่างไรก็ตามการประเมินรายได้นั้นค่อนข้างซับซ้อน ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเราจะประเมินรายได้จากการเป็น Oracle ที่เป็นบริการหลักของ Chainlink นั้นจะทำได้ค่อนข้างยาก เพราะว่าเราไม่สามารถนำรายได้จากการให้บริการ Oracle มาคำนวณแบบตรงๆได้ เนื่องจากว่าแต่ละ Node operator นั้น ถึงแม้ว่าจะวางเหรียญ LINK เป็น Collateral ในจำนวนเท่ากัน แต่ก็มีคะแนน Reputation ไม่เท่ากัน จึงอาจมีรายได้ไม่เท่ากัน นอกจากนี้ เราปฏิเสธไม่ได้ว่าราคาของเหรียญ LINK น่าจะต้องเติบโตตามรายได้ที่ Accrue เข้าผู้ถือเหรียญ ซึ่งจะเพิ่มขึ้นตามการเติบโตของ Web3.0 และถึงแม้ว่าเราค่อนข้างจะ Bullish ในอนาคตของ Web 3.0 แต่ก็ต้องยอมรับว่ามันค่อนข้างยากที่จะประเมินการเติบโตและการ Capture มูลค่าโดย Chainlnk จาก Web 3.0 ในอนาคต
โดยเนื่องจากว่าวิสัยทัศน์ของ Chainlink ในอนาคตนั้นต้องการเป็นมากกว่า Oracle โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้า Chainlink สามารถทำ Chainlink 2.0 และ CCIP ได้สำเร็จนั้น มูลค่าของ Chainlink จะ Capture ได้ทั้งจาก Blockchain layer 0, 1, 2 ก็ทั้งหมด ดังนั้นการประเมินมูลค่าอีกวิธีหนึ่งคือการประเมินจากมูลค่าของ Blockchain เหล่านี้ กล่าวคือ
- Layer 0: Chainlink CCIP ที่เป็น Infrastructure ในการสร้าง Cross-chain DApps นั้นทำหน้าที่คล้ายกับ Blockchain layer 0 อย่าง Cosmos, Polkadot
- Layer 1: Chainlink สามารถให้บริการ Oracle ให้กับ Blockchain layer 1 จึงจะ Capture value บางส่วนมาจาก Blockchain layer 1 ได้
- Layer 2: นอกจาก Chainlink จะสามารถให้บริการ Oracle ให้กับ Blockchain layer 2 แล้ว Chainlink ยังสามารถเป็น Blockchain layer 2 ได้ เพราะตามหลัก DONs สามารถเป็น Node infrastructure เพื่อช่วยแบ่งเบาทำในส่วน Computation และส่งข้อมูลกลับไปบันทึกบน On-chain ส่วผลทำให้เพิ่มความเร็วการทำธุรกรรมและลดค่าธรรมเนียมได้ หลักการคล้ายกับ Rollups ที่เราคุ้นเคยกัน
ถัดไปเราจะมาสำรวจการประเมินมูลค่าของเหรียญ LINK ในรูปแบบอื่นๆที่ไม่ใช่การประเมินจากรายได้ เช่น การประเมินมูลค่าจากการเป็น Oracle และการประเมินจากมูลค่าของ Blockchain layer 0, 1, 2 ซึ่งแต่ละวิธีนั้นจะมีข้อจำกัดพอสมควร อย่างไรก็ตาม เราก็สามารถใช้เเป็นแนวทางในการวิเคราะห์เบื้องต้นได้
1. ประเมินมูลค่าจาก Total Value Secured (TVS)
ในบทความหนึ่งของ ChainlinkGod เคยได้นำเสนอการประเมินมูลค่าของเหรียญ LINK ด้วยการคำนวณจาก Total Value Secured (TVS) ซึ่งเขาได้บอกว่า TVS ถือเป็นตัวชี้วัดที่มีประสิทธิภาพในการวัด Adoption ของ Oracle network ได้เป็นอย่างดี เนื่องจากว่า TVS จะสะท้อนปริมาณของมูลค่าที่ได้รับการ Secure โดยตรงจากข้อมูลที่ได้รับจาก Oracle ซึ่งจะคล้ายกับการที่เราใช้ Total Value Locked (TVL) ในการประเมินมูลค่าแพลตฟอร์ม
ในปัจจุบัน TVS ของ Chainlink มีมูลค่าอยู่ที่ 19,059,280,427.97 ดอลลาร์สหรัฐ (ข้อมูล ณ วันที่ 27 พฤษภาคม 2023) โดยการประเมินมูลค่าด้วยวิธีนี้สามารถนำ Supply ของเหรียญ LINK มาหาร TVS เพื่อคำนวณออกมาเป็นค่า Value Secured Per Token (VSPT) ได้เลย ซึ่งเราสามารถคำนวณเป็นสองแบบคือ อิง Total supply และ อิง Circulating supply
- Total supply based VSPT: $19,059,280,427.97/1,000,000,000,000 Token = $19.05
- Circulating supply based VSPT = $19,059,280,427.97/517,099,971 Token = $36.8
เมื่อใช้การประเมินมูลค่าโดย TVS จะทำให้ Fair value ของเหรียญ LINK ในปัจจุบันมีค่าประมาณ 19-36 ดอลลาร์สหรัฐ เมื่อเทียบกับราคาเหรียญ LINK ตอนนี้ที่ 6.35 ดอลลาร์ก็จะพบว่ายังมีพื้นที่ให้เติบโตได้อีกพอสมควร
อย่างไรก็ตาม วิธีการนี้ถึงแม้จะค่อนข้างง่าย แต่ก็มีข้อจำกัดพอสมควร เพราะว่าการคำนวณใช้พารามิเตอร์เพียงแค่สองตัวเท่านั้นคือ TVS และ Supply ของเหรียญ ซึ่งก็ต้องยอมรับว่ายังมีปัจจัยอื่นๆอีกหลายอย่างที่จะส่งผลต่อราคาได้ เช่น Demand จากการ Stake ที่ทำให้เหรียญ LINK ถูกนำไป Lock มากขึ้น และยังเป็นการประเมินมูลค่าจากบริการ Oracle เท่านั้น เป็นต้น
2. การประเมินมูลค่าจากการเป็น Blockchain
2.1 Blockchain layer 0
อย่างที่เกริ่นไปในช่วงต้น การมาถึงของ Chainlink 2.0 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วน CCIP ที่เป็น General cross-chain messaging จะทำให้ Chainlink ถูกมองเป็น Blockchain Layer 0 แบบ Polkadot หรือ Cosmos ได้
- ถ้าเทียบกับ Polkadot: มูลค่าของ DOT เคยขึ้นไปทำจุดสูงสุดที่ 5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2021-2022
- ถ้าเทียบกับ Cosmos: มูลค่าของ ATOM เคยขึ้นไปทำจุดสูงสุดที่ 1.25 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ (FDV) ในปี 2021-2022
ถ้าเราตั้งสมมติฐานว่า LINK ในอนาคตจะสามารถมีมูลค่าเท่ากับมูลค่าสูงสุดเฉลี่ยของ DOT และ ATOM จะทำให้ LINK มีมูลค่าเท่ากับ 3.1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือมีราคาต่อเหรียญอยู่ที่ประมาณ 31 ดอลลาร์ อย่างไรก็ตาม ก็ต้องดูต่อไปว่าเมื่อ CCIP เปิดใช้งานแล้วจะมี DApps มาเปิดใช้งานมากแค่ไหน ซึ่งจะส่งผลต่อมูลค่าไม่มากก็น้อย
2.2 Blockchain layer 1
Chainlink สามารถให้บริการ Oracle ให้กับ Blockchain layer 1 จึงจะ Capture value บางส่วนมาจาก Blockchain layer 1 ได้ เช่น
- ถ้าเทียบกับ Ethereum: มูลค่าของ ETH เคยขึ้นไปทำจุดสูงสุดที่ 5 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2021
- ถ้าเทียบกับ BNB: มูลค่าของ BNB เคยขึ้นไปทำจุดสูงสุดที่ 1 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ (FDV) ในปี 2021
ถ้าเราตั้งสมมติฐานว่า LINK ในอนาคตจะสามารถมีมูลค่าเท่ากับ 20% ของมูลค่าสูงสุดเฉลี่ยของ ETH และ BNB (ที่ประมาณ 3 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ) จะทำให้ LINK มีมูลค่าเท่ากับ 6 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือมีราคาต่อเหรียญอยู่ที่ 60 ดอลลาร์
หรือถ้าเราตั้งสมมติฐานว่า LINK ในอนาคตจะสามารถมีมูลค่าเท่ากับเพียง 10% ของมูลค่าสูงสุดเฉลี่ยของ ETH และ BNB (ที่ประมาณ 3 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ) จะทำให้ LINK มีมูลค่าเท่ากับ 6 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือมีราคาต่อเหรียญอยู่ที่ 30 ดอลลาร์
2.3 Blockchain layer 2
เนื่องจากว่าตัว Chainlink สามารถเป็นเหมือน Blockchain layer 2 ได้ และถ้าเราเทียบกับ Blockchain layer 2 ชื่อดังอย่าง
- Arbitrum: ปัจจุบันมูลค่า FDV ของเหรียญ ARB อยู่ที่ 12,200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ข้อมูลวันที่ 31 พฤษภาคม 2023)
- Optimism: ปัจจุบันมูลค่า FDV ของเหรียญ OP อยู่ที่ 6,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ข้อมูลวันที่ 31 พฤษภาคม 2023)
ถ้า LINK มี FDV เท่าค่าเฉลี่ยของกับ ARB และ OP จะทำให้ LINK มีราคาต่อเหรียญอยู่ที่ 9.1 ดอลลาร์
ข้อดีของวิธีการนี้คือจะอิง Roadmap ในอนาคตของ Chainlink แต่ข้อเสียคือ Roadmap ต่างๆส่วนใหญ่ยังไม่เป็นรูปเป็นร่าง และยังต้องคอยติดตามผลงานว่าเมื่อ Chainlink 2.0 เปิดใช้งานอย่างสมบูรณ์แล้ว จะมี Adoption เกิดขึ้นจริงมากแค่ไหน ถึงตอนนั้นคงจะต้องมาประเมินสถานการณ์ใหม่กันอีกครั้ง นอกจากนี้ สิ่งสำคัญที่ต้องตระหนักกันอยู่เสมอคือ ราคาของเหรียญคริปโทฯนั้นมักจะไม่สะท้อนมูลค่าตามปัจจัยพื้นฐาน แต่ส่วนใหญ่ยังถูกหลักดันโดย Narrative และ Speculation มากกว่า
ความเสี่ยงของ Chainlink
ถึงแม้ว่า Chainlink จะดูเป็นโปรเจกต์ที่มีความแข็งแกร่งและมีศักยภาพในการเติบโตอยู่อีกมาก อย่างไรก็ตามก็ปฏิเสธไม่ได้ว่ายังมีความเสี่ยงอยู่อีกหลายอย่างที่นักลงทุนควรรู้ โดยแบ่งเป็นประเด็นสำคัญๆดังนี้
- Dilution ของเหรียญ LINK ยังอยู่ระดับสูง: ในขณะนี้ Circulatin supply ของเหรียญ LINK ยังอยู่ที่ระดับ 51.7% ดังนั้นต้องระวังเรื่อง Dilution ด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าต้องการถือในระยะยาว
- การเติบโตเป็นไปตามสภาวะตลาด: ต้องยอมรับว่าการใช้งาน Oracle จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับสภาวะตลาดพอสมควร โดยอาจจะต้องรอกระแส DeFi, GameFi, NFT กลับมาเป็นที่นิยมอีกครั้ง ดังนั้นในมุมมองหนึ่งการลงทุนใน Chainlink ในช่วงตลาดหมีอาจจะไม่ได้รับปัจจัยบวกในระยะสั้นมากนัก
- Timeline ของ Roadmap สำคัญยังไม่ชัดเจน: ไม่ว่าจะเป็น CCIP หรือ Chainlink 2.0 ที่ก็ยังไม่รู้แน่ชัดว่าจะเปิดตัวเมื่อไหร่ หรือถ้าเปิดตัวมาแล้วจะมีความสามารถในการแข่งขันมากแค่ไหน
- คู่แข่ง: ถึงแม้ Chainlink จะเป็นผู้นำในด้าน Oracle ที่กิน Market share ในระดับสูง ในอนาคตก็มีโอกาสที่จะมีคู่แข่งเกิดขึ้นมาได้ นอกจากนี้เทคโนโลยีอย่าง CCIP ก็มีคู่แข่งสำคัญอย่าง LayerZero เป็นต้น
- การ Laggard ของเหรียญกลุ่ม Infrastructure: ตามสถิติในอดีต เหรียญกลุ่ม Infrastructure รวมถึง Oracle จะค่อนข้าง Laggard มาก ราคามักขึ้นน้อยกว่าเมื่อเทียบกลับกลุ่มอื่น
สรุป Chainlink
Chainlink เป็นหนึ่งในโปรเจกต์ Infrastructure ให้บริการด้าน Oracle ที่เกิดมาเพื่อรองรับการเชื่อมต่อ Data ในโลกจริงเข้ากับ DApps และ Smart contract จึงถือเป็นเสาหลักของพัฒนาการของ Blockchain และ Web 3.0 โดยในปัจจุบัน Chainlink ถือเป็น Decentralized Oracle Network (DON) ขนาดใหญ่และมี Market share เยอะที่สุด นับเป็นโปรเจกต์ที่มี Fundamental แน่นมากตัวหนึ่ง ซึ่งถ้าเราเชื่อในอนาคตว่า Web 3.0 จะเติบโต โปรเจกต์อย่าง Chainlilnk จะต้องได้รับอานิสงส์ไปแบบเต็มๆแบบค่อนข้างจะแน่นอน
นอกจากการเป็น Oracle แล้ว ทาง Chainlink ยังมีวิสัยทัศน์ในการเป็นมากไปกว่านั้น โดยการปล่อย Whitepaper ของ Chainlink 2.0 ออกมาในปี 2022 ที่นอกจากจะเน้นการเพิ่มความแข็งแกร่งและประสิทธิภาพของ DONs แล้ว ยังจะเน้นไปที่การพัฒนาในส่วนอื่นๆอย่าง Hybrid smart contract และ CCIP ที่จะขยายความสามารถให้รองรับ Use case ได้อีกหลายอย่าง เช่น สร้าง Blockchain layer 2 หรือการสร้าง Cross-chain DApps เป็นต้น นอกจากนี้ เรายังได้เห็นการเพิ่ม Utility ให้กับเหรียญ Chainlink ผ่านการ Staking และแผนการลดต้นทุนและเพิ่มรายได้ให้กับ Chainlink ecosystem ในระยะยาวผ่าน Economics 2.0
ซึ่งแผนการส่วนใหญ่ใน Roadmap นั้นถึงแม้ว่าจะต้องรอติดตามดูกันถึงการเปิดตัวและ Adoption ที่จะเกิดขึ้นจริง แต่เรามองว่าถ้า Chainlink สามารถทำสำเร็จได้จะช่วยสร้างความแข็งแกร่งและการเติบโตให้กับ Chainlink ecosystem ได้อีกมาก และจะมีส่วนกลายไปเป็นมูลค่าสะท้อนเข้าไปที่ราคาเหรียญได้ในระยะยาว โดยเราสามารถประเมินมูลค่าเหรียญ LINK ได้ทั้งในฐานะ Oracle และ Blockchain ได้ ซึ่งในบทความนี้เราก็ได้ทดลองประเมินมูลค่าในรูปแบบต่างๆไว้เพื่อให้เป็น Reference ได้ในเบื้องต้น อย่างไรก็ตามในระยะสั้นนั้นต้องระวังเรื่อง Dilution Effect ของ LINK ซึ่งจะทยอยปลดครบในต้นปี 2028
.
คำเตือนความเสี่ยง : คริปโทเคอร์เรนซี่และโทเคนดิจิทัลมีความเสี่ยงสูง ท่านอาจสูญเสียเงินลงทุนได้ทั้งจำนวนและสินทรัพย์ดิจิทัลมีความเสี่ยง โปรดศึกษาและลงทุนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ ผลตอบแทนของสินทรัพย์ดิจิทัลในอดีต มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลตอบแทนของสินทรัพย์ดิจิทัลในอนาคต