
ในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมานี้ วงการ NFT Marketplace ได้มีการ “เปลี่ยนแปลงผู้นำ” ครั้งสำคัญแบบที่ไม่มีแพลตฟอร์มไหนเคยล้มล้างอันดับหนึ่งของ Opensea ได้มาก่อน “Blur” เป็น NFT Marketplace เจ้าเดียวที่เกิดมาเพียง 5 เดือนก็สามารถกิน Market Share ได้สูงสุด 80% ของตลาดทั้งหมด
ใบบทความนี้เราจะพาผู้อ่านมาเจาะลึกมหากาพย์การต่อสู้ระหว่าง Blur vs Opensea ว่ามีเบื้องลึกเบื้องหลังความสำเร็จเป็นอย่างไร อดีตที่ผ่านมามีใครมาท้าชิงแล้วพ่ายแพ้กลับไปบ้าง แต่ละฝ่ายมีกลยุทธ์อย่างไร และสุดท้ายทำไม Blur ถึงชนะและจะยั่งยืนได้แค่นานแค่ไหน เหรียญ $BLUR มีมูลค่าจริงหรือไม่ แผนการในอนาคตเป็นอย่างไร และในตอนนี้ที่ Opensea Pro เปิดตัวขึ้นมา จะส่งผลต่อตลาดอย่างไร ติดตามได้ในบทความนี้ครับ
CryptoPunks ผู้บุกเบิกวงการ NFT

ก่อนที่จะเข้าไปอธิบายเรื่อง Opensea และ Blur ขอย้อนอดีตมาที่ NFT Marketplace ตัวแรกที่เกิดขึ้นจากโปรเจกต์ CryptoPunks ซึ่งตอนนั้นยังไม่มีมาตรฐาน ERC-721 และ ERC-1155 ที่เป็น NFT ในปัจจุบันด้วยซ้ำ
CryptoPunks เป็น ERC-20 แบบเดียวกับ ETH หรือเหรียญอื่นๆที่แบ่งหน่วยย่อยได้ แต่ Larva labs ได้ประยุกต์ด้วยการออกแบบ ERC-20 ให้ “ไม่มีทศนิยม” จำนวน 10,000 เหรียญ ลำดับที่ออกมาจะมีเลขกำกับทำให้เมื่อทำไปจับคู่กับรูป Cryptopunks ขนาดใหญ่ที่มีรูปภายในเป็น Cryptopunks จำนวน 10,000 ตัว ก็จะสามารถระบุรูปที่คู่กันได้

และด้วยความที่คำว่า NFT ยังไม่เกิดขึ้นด้วยซ้ำ การซื้อขาย CryptoPunks จึงทำผ่านหน้าเว็บของ Larva labs โดยตรง และมีเพียงโปรเจกต์เดียวเท่านั้น
CryptoPunks ได้จุดประกายแนวคิดเรื่อง NFT ขึ้นมาจนกลายเป็นมีมาตรฐาน ERC-721 และ ERC-1155 ในเวลาต่อมา
*ในภายหลังมีช่องโหว่แต่แก้ไขของเดิมไม่ได้ จึงต้องออก CryptoPunks V2 ใหม่ออกมา ส่วน V1 ที่ Larva labs เลิกใช้ แต่มีคนสานต่อ จึงทำการ Wrap เป็น ERC-721 ซื้อขายใน Opensea
กำเนิด Opensea NFT Marketplace

Opensea เปิดตัวช่วงปลายปี 2017 อาจจะนับได้ว่าเป็น NFT Marketplace เจ้าแรกก็ว่าได้ที่นำเอา NFT ERC-721 และ ERC-1155 มาเปิดขาย โดยจุดเด่นที่ทำให้คนนิยมใช้ Opensea มีดังนี้
- First Mover: การเปิดตัวเป็นเจ้าแรกทำให้ลูกค้าติดแบรนด์จนไม่ไปใช้ที่อื่น
- Easy to use: User Experience ดี ใช้งานง่าย
- Lazy Minting: เป็นบริการที่ช่วยให้คนทั่วไปสามารถสร้าง NFT เพื่อ List ขายได้ง่ายและมีการ Optimize ให้ค่าแก๊สถูก
- Collections: จาก Lazy Minting ทำให้ทุก Collection วางขายที่ Opensea แทบจะทั้งหมด
- Multi-chain: Opensea รองรับ 8 เชน ทำให้ผู้ใช้งานคุ้นเคยกับเบรนด์มาก

ด้วยความที่ยุคนั้นไม่มีใครทำ NFT Marketplace ในรูปแบบที่เปิดให้คนทั่วไปมาวางขายได้ จึงเกิดการผูกขาดของตลาดอย่างมากขนาดที่ Opensea กินส่วนแบ่งตลาดได้มากถึง 94% ในช่วงหนึ่งเลยทีเดียว
ดังนั้น ข้อเสียของ Opensea จึงมีอย่างเดียวคือ Market Fee 2.5% เก็บของ Opensea ทุกการซื้อ-ขาย ก็ไม่มีใครต่อต้านได้เพราะเป็นที่ที่มีสภาพคล่องและ Collection ให้เลือกมากที่สุด
Looksrare: กำเนิดสงครามหั่นราคาและการแจกเหรียญ

Looksrare เปิดตัวช่วงมกราคม 2022 ซึ่งตลาด NFT กำลังเป็นที่นิยมอย่างสุดขีด กลยุทธ์ที่ Looksrare ใช้ในการแย่งลูกค้าจาก Opensea มากได้นั้นมีด้วยกัน 2 ท่าคือ
- ลด Market Fee: เหลือ 2% (ต่ำกว่า Opensea 0.5%)
- Incentive Program: ยิ่งซื้อ-ขายใน Looksrare มากเท่าไหร่ จะได้ $LOOKS มากขึ้นเท่านั้น

Market Fee ที่ลดลงอาจจะดึงดูดความสนใจ Creator และลูกค้าได้ระดับหนึ่ง แต่การแจกเหรียญเมื่อมีการซื้อขายนั้นเป็น Key Factor สำคัญที่ทำให้ Looksrare เริ่มแย่งส่วนแบ่งการตลาดมาได้ เพราะมีคนลองเทียบต้นทุน Market Fee 2% + Creator Fee 5% (บาง Collection อาจไม่มี Fee) และค่าแก๊ส เทียบกับกำไรจาก $LOOKS นั้นคุ้มค่า จึงมีการแห่ไปใช้มากขึ้นจน Looksrare มี Market Share สูงสุดที่ 11.7% เลยทีเดียว

$LOOKS ไม่ได้เป็นเพียง Governance Token ที่ใช้โหวตทิศทาง Looksrare เท่านั้น Market Fee 2% ที่เก็บเข้า Looksrare นั้นจะ “แจกให้คน Stake $LOOKS ทั้งหมด” โดยครั้งหนึ่งเคยได้ผลตอบแทนเป็น ETH สูงถึง 508% ต่อปีเลยด้วยซ้ำ (ปัจจุบันเหลือ 28%) สิ่งนี้ได้ใจผู้ใช้งานอย่างมากเพราะ Opensea นั้นเก็บ Market Fee เข้าบริษัททั้งหมด แต่ Looksrare กลับเลือกแจกทั้งหมดให้ผู้ใช้งาน


อย่างไรก็ตาม Incentive Program แบบนี้ก็มีจุดอ่อน คือ การสนับสนุนให้ “Wash Trading” หรือการซื้อ-ขายแบบปลอมๆ เช่น ขายไปมาระหว่าง Wallet ของตัวเอง ในช่วงสัปดาห์แรกมีการ Wash Trading สูงถึง $4.37b ต่อสัปดาห์
ซึ่งคนที่ได้เหรียญมานั้นส่วนมากเป็นคนที่มาหาผลประโยชน์ทั้งนั้น ทำให้เปิดตัวได้ไม่นานก็มีแรงเทขายตลอดทาง ประกอบกับ Dilution Effect ทำให้ราคา $LOOKS ค่อยๆตกลงเรื่อยๆ จนในปัจจุบัน -97.89% จาก All-time-high และเมื่อกำไรหมด คนก็เลิกใช้งาน
ดังนั้น Looksrare จึงไม่สามารถ Vampire Attack (แย่ง Market Share ทั้งหมด) จาก Opensea ได้ โดย Market Share อยู่ระหว่าง 2%-10% เท่านั้น
Gem และ Genie: NFT Aggregator มาแรงแต่ไปเร็ว


ศึกถัดมาอาจจะไม่นับได้ว่าเป็นคู่แข่ง เพราะ Gem และ Genie เป็น NFT Aggregator ที่รวม NFT Marketplace ทุกที่มาแสดงราคาในที่เดียว เพราะฉะนั้นสุดท้ายแล้วการซื้อขายก็จะ Lead ไปที่ Opensea หรือ Looksrare อยู่ดี
ด้วยความที่ Function การหาราคาที่ถูกที่สุดและการ Sweep Floor (เหมา NFT จากราคาต่ำสุดขึ้นไป) นั้นเป็นไอเดียที่ดีมาก ซึ่งเห็นได้จาก Market Share ของ Gem ที่ 13.4% และ Genie ที่ 2% ก็แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของ NFT Aggrefator อย่างมาก ดังนั้นหลังเปิดตัวเพียง 4 เดือน Opensea ก็ประกาศซื้อ Gem และ Uniswap ประกาศซื้อหลังจากเปิดตัว 8 เดือน
ดังนั้น ถึงจะเห็น Gem กิน Market Share Opensea ได้มาก แต่สุดท้ายก็เป็นของ Opensea และ Volume ส่วนใหญ่ก็ Lead ไปหา Opensea อยู่ดีเช่นกัน ยังไม่มีใครล้ม Opensea ได้
X2Y2 และ SudoSwap: ดราม่าครั้งใหญ่เมื่อ NFT Marketplace ไม่เก็บ Royalty Fee ให้ NFT Creator

X2Y2 เป็น NFT Marketplace ที่เปิดตัวมาช่วงเดือนมกราคม 2022 ด้วย Market Fee ที่ลดเหลือ 0.5% และมีการเปิดให้กู้ ETH ด้วยการนำ NFT มาค้ำ, Function การซื้อ NFT จำนวนมาก และ Real-time Notification แต่สุดท้ายก็ยังไม่ได้รับความนิยมมากเท่าไหร่
จนกระทั่งไปกี่เดือนเปิดตัว $X2Y2 แจกให้คนที่ซื้อ-ขายบน X2Y2 และรายได้ทั้งหมดจะแจกให้คนที่ Stake $X2Y2 ด้วยโมเดลคล้าย Looksrare ทุกประการแต่ Market Fee ถูกมาก จึงเริ่มได้รับความนิยมจนมี Market Share ได้ถึง 6% แต่สิ่งนั้นยังไม่ใช่ทั้งหมด

Sudoswap เปิดตัวช่วงต้นเดือนกรกฎาคม 2022 ด้วยหลักสร้างสภาพคล่อง AMM ให้กับ NFT ได้แบบเดียวกับเหรียญ ERC-20 ทั่วไป พร้อมทั้ง Market Fee 0.5% และ “ไม่เก็บ Royalty Fee”
ส่วนที่ Impact ตลาดมากที่สุดของ Sudoswap คือการไม่เก็บ Royalty Fee ที่ปกติแล้วการซื้อ-ขายแต่ละครั้งจะมีการแบ่งรายได้ส่วนหนึ่งให้ Creator โดยเฉลี่ยจะตั้งอยู่ที่ 5% การตัดส่วนนี้ออกทำให้ต้นทุนการซื้อขายต่ำลงอย่างมหาศาลเหลือเพียง 0.5% จาก Market Fee เท่านั้น
*Royalty Fee ไม่ได้ถูกฝังอยู่ใน Smart Contract ของ ERC-721 หรือ ERC-1155 แต่เป็นการตกลงทำให้ของ Marketplace ดังนั้นจึงสามารถเอาออกได้


3 วันหลังจาก Sudoswap เปิดตัว X2Y2 ก็ปรับให้ “เจ้าของ NFT กำหนด Royalty Fee ได้เอง” สิ่งที่ตามมาคือคนเข้ามาใช้งานและทำ Wash Trading ได้ดีที่สุดเพราะต้นทุนแค่ 0.5%+ค่าแก๊ส แต่ได้ $X2Y2 เป็นผลตอบแทน ผลคือมี Wash Trading สูงถึง 90% ของทั้งหมด

การมาของเทรนด์ไม่เก็บ Royalty Fee ถือเป็นไพ่ตายที่โจมตี Opensea จน Market Share ตกเหลือ 61.8% และมีแนวโน้มลดลงเรื่อยๆ แม้จะยังไม่ถึงขั้นโดน Vampire Attack ได้ทั้งหมด แต่บัลลังก์ผู้นำก็เริ่มสั่นคลอนมากขึ้นเรื่อยๆ
Blur: พลิกเกมด้วยการโฟกัสลูกค้าถูกกลุ่ม

Blur เป็น NFT Marketplace ที่ตั้งเป้าตัวเองเป็น “All in one app for Pro Trader” เพราะเกิดจาก Pain point ส่วนตัวของ Pacman Founder ที่ชื่นชอบการซื้อขาย NFT มาก แต่ NFT Marketplace ในตอนนี้ส่วนใหญ่เหมาะสำหรับคนทั่วไปที่ซื้อแล้วถือเท่านั้น หลังจาก Pacman ได้ทุน $11m จาก Paradigm และอื่นๆ จึงรวมทีมสร้าง Blur ขึ้นและเปิดตัวในเดือนตุลาคม 2022
คุณลักษณะเด่นของ Blur มีดังนี้
- Market Fee 0%
ต่ำที่สุดในตลาด ซึ่งทำให้หลายคนมองว่า Blur จะทำให้กลไกตลาดเสียจากการใช้เงิน VC ทุ่มตลาดเพื่อดึง Market Share
- Incentivized Optional Royalty Fee
ผู้ขายสามารถตั้ง Royalty Fee เท่าไหร่ก็ได้ ไม่มีการกำหนด (แต่ปัจจุบันมีขั้นต่ำ 0.5%) โดยยิ่งตั้ง Royalty Fee สูงเท่าไหร่ ก็จะมีโอกาสได้รับจำนวน Care Package ที่มี $BLUR อยู่ข้างในมากขึ้น
- Snipe NFT
Blur จะมีหน้าจอแสดงการซื้อขาย NFT แบบ Real time ซึ่งเราสามารถซื้อตัดหน้าคนอื่นได้จากการใส่ค่าแก๊สสูงกว่าได้ทันทีเพียงคลิ๊กเดียวเท่านั้น
- Sweep Floor เร็วกว่า Gem 10 เท่า
Function นี้จะช่วยให้กวาดซื้อ NFT ในราคา Floor จำนวนกี่ตัวก็ได้รวดเร็วกว่าคู่แข่ง และยังข้ามหลายแพลตฟอร์มได้อีกด้วย
17% Gas Cost Reduction [อดีต]
มีการ Optimize Code ให้ค่าแก๊สถูกที่สุดโดยเทียบจากคู่แข่ง ซึ่งปัจจุบันนำคำโฆษณานี้ออกไปแล้ว (Opensea และ Opensea Pro ทำได้ดีกว่า)
- Porfolio Management
มีหน้าต่างแสดงผลกำไร-ขาดทุน, Unrealized Profit และเครื่องมืออื่นๆที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการวิเคราะห์การเทรด NFT ซึ่งยังไม่มีเจ้าไหนทำได้ดีเท่านี้มาก่อน
- Bidding Pool
การซื้อ NFT ใน Blur จะต้องเติม ETH ลงใน Bidding Pool ก่อน ซึ่งหลังจากนั้นการ Buy, Bid หรือ Cancel Bid สามารถทำได้โดยไม่เสียค่าแก๊ส ช่วยอำนวยความสะดวกและประหยัดค่าใช้จ่ายให้คนที่ใช้งานบ่อยๆอย่างมาก
- Care Package ($BLUR Airdrop) 🌟
นอกจาก Market Fee 0% และ Royalty Fee ที่จะตั้งเป็น 0% ก็ได้ ทำให้น่าใช้งานมากอย่างไม่ต้องสงสัย แต่สิ่งที่ดึงดูให้ใช้งานมากกว่านั้นคือการแจก Care Package ซึ่งเมื่อถึงเวลาที่กำหนดจะเปิดออกเป็น $BLUR ให้ซื้อขายกันได้ ซึ่ง Airdrop มีด้วยกัน 3 รอบ ทำให้มีฐานผู้ใช้งาน Blur เรื่อยๆเพื่อหวังได้ Airdrop
- No Incentive For Wash Trading
Blur ได้เรียนรู้ข้อผิดพลาดของ Looksrare และ X2Y2 ที่แจกเหรียญให้กับคนซื้อ-ขาย ซึ่งจะทำให้เกิดปริมาณการซื้อขายลวงทั้งนั้น Blur จึงคิดต่างออกไปด้วยการออกแบบให้ Airdrop ทั้ง 3 รอบได้รับโดยการไม่ยุ่งเกี่ยวกับ Wash Trading ดังนี้
- Airdrop #1: แจกให้คนที่เคยซื้อ-ขาย NFT ในแพลตฟอร์มใดก็ได้ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา (มีการกรอง Address ที่ทำ Wash Trading ออกแล้ว) โดยมีขั้นต่ำ 1 ETH เป็นอย่างน้อย ใครที่เทรดมากก็จะได้มาก โดยการจะปลดเอา Care Package ได้จะต้อง List NFT บน Blur อย่างน้อย 1 NFT เป็นการดึง Traction ของคนนอกให้มาใช้งาน Blur นับว่าเป็นวิธีที่ฉลาดมาก เพราะ Blur ได้อธิบายกฎของ Airdrop #2 ทันที เมื่อคนได้ทดลองใช้แล้วเห็นความแตกต่าง สุดท้ายคนก็จะติดไม่ไปไหน และใช้งานต่อเพื่อหวัง Airdrop ครั้งถัดไป
- Airdrop #2: รอบนี้แจกมากกว่ารอบแรก 10 เท่า ซึ่งกฎในการแจกคือ “ยิ่ง List NFT ใน Blur มาก จะได้ Airdrop มาก” ซึ่งสังเกตว่าไม่มีการเชียร์ให้ทำ Wash Trading เลย เพียงแค่วางขายใน Blur เท่านั้น นอกจากนี้ Care Package แต่ละกล่องนั้นมีความ Rare ต่างกันแล้วแต่ดวง ซึ่งถ้าใครอยากเพิ่มดวงให้มากขึ้นจะต้องตั้งขาย NFT บน Blur ในราคาเท่ากับหรือถูกกว่า และจำนวน NFT เท่ากับหรือมากกว่า NFT Marketplace เจ้าอื่นๆ นอกจากนั้นจะมีการเชียร์ให้ใช้ทดลองใช้ Function Sweep และถ้าอยากได้กล่องมากขึ้นให้ใส่ Royalty Fee เข้าไปด้วย มีเวลาทำ 2 เดือนครึ่ง
- Airdrop #3: แจกมากกว่าเดิม 2 เท่า กฎในรอบนี้คือ “The more you List and Bid, the more you ean” ยิ่งตั้งเสนอซื้อ (Bid) ใกล้ Floor หรือตั้งขาย (List) ใกล้ Floor มากเท่าไหร่ ก็จะได้ Point สะสมไปเรื่อยๆจนครบ 2 เดือนครึ่งก็จะจบ ในรอบนี้ก็ไม่ได้สนับสนุนให้ Wash Trading เช่นกันเพราะการซื้อ-ขายสำเร็จ จะถือว่าไม่ได้ List หรือ Bid ดังนั้น รอบนี้จึงเป็นการเน้นการเพิ่มสภาพคล่องให้ NFT สามารถซื้อขายได้คล่องตัว (Liquid) มากขึ้น โดยวันที่จบ Airdrop #3 คือ วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2023 จะประกาศเปลี่ยน Care Package เป็น $BLUR ทันที
* อย่างไรก็ตามวิธีการ Incentivize Bidding/Listing ก็ยังมีจุดอ่อนคือเรื่องการเลือก Collection โดยคนจะเลือกเทรดใน NFT ที่มี Royalty Fee 0% อย่าง Cryptopunk เพื่อให้กรณีที่เผลอ Match Bid/Offer ก็สามารถตั้งขายต่อโดยที่ไม่ต้องเสียต้นทุนเรื่อง Royalty Fee แบบ Collection อื่นที่โดนบังคับให้มีอย่างน้อย 0.5%

โดยสรุปแล้ว Blur ได้ตอบโจทย์การใช้งานที่เป็นที่สุดในทุกเรื่อง ค่าธรรมเนียมในการซื้อขายก็ถูกที่สุด และปิดท้ายด้วยการมี Incentive จากการใช้งานอีก จึงไม่แปลกใจเลยว่าทำไม Blur ถึงสามารถกิน Market Share จาก Opensea ในช่วง 1 เดือนแรกได้ 23.8%, เปิดตัว 3 เดือน ได้ 44.5% และเปิดตัว 6 เดือน ได้ 71.5% พลิกกับมาชนะได้อย่างท้วมท้น
Timeline การต่อสู้ของ Opensea และ Blur
ระหว่างที่ Blur เปิดตัวจนมาถึงจุดนี้ ต้องบอกว่ามีการขับเคี่ยวกันที่สนุกและน่าติดตามมาก โดยที่ Opensea ก็ไม่เป็นคนยอมอยู่ฝ่ายเดียว เราจะเห็นได้ว่ามีบางช่วงที่ Market Share ของ Opensea พุ่งกลับมาบ้างเช่นกัน หัวข้อนี้จะเปิด Timeline การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในช่วงที่ Blur เปิดตัวจนถึงปัจจุบัน
- 19/10/22: Blur เปิดตัว, แจก Airdrop #1 และประกาศกฎการทำ Airdrop #2
- 27/10/22: Looksrare ประกาศเปลี่ยน Royalty Fee เป็นแบบ Optional
- 31/10/22: Blur พลิกชนะ Opensea ด้วย Market Share 44.4% กับ 39%
- 06/11/22: Opensea ประกาศว่าจะบังคับให้ Creator ใส่ Operator Filter Registry กับ NFT ซึ่งจะทำให้ NFT ตัวนั้นไม่สามารถขายบน NFT Marketplace ที่ไม่บังคับ Royalty Fee ได้ (Blur, Looksrare, X2Y2, Sudoswap) หากไม่ใส่ก็ยังขายบน Opensea แต่จะไม่ได้รับ Royalty Fee โดยกำหนดใช้งานภายใน 2 วันถัดไป แต่สุดท้ายก็เลื่อน Deadline ไป 2 มกราคม 2023
- 07/11/22: Opensea กลับขึ้นนำ Blur อีกรอบด้วย Market Share 55% กับ 23.4%
- 15/11/22: Blur แก้ไขระบบให้สามารถขาย NFT ที่ใส่ Registry ของ Opensea สามารถขายใน Blur ได้ แม้จะไม่เห็นด้วยกับวิธีการบังคับของ Opensea ก็ตาม
- 18/11/22: X2Y2 เห็นด้วยกับ Opensea จึงยกเลิกกฎ Optional Royalty Fee ทำให้ Opensea นำชื่อออกจาก Registry
- 01/12/22: Magic Eden กลับมาบังคับ Royalty Fee เช่นเดียวกันกับ X2Y2
- 15/12/22: Blur ประกาศจบกิจกรรม Airdrop #2 และประกาศ Airdrop #3 ทันที โดยเน้นให้คนมา List และ Bid บน Blur นอกจากนี้ยังทำ Bidding Pool ทำให้ผู้ใช้ต้องเติม ETH มาพักใน Blur ก่อน (อาจเป็นสาเหตุให้คนใช้ Opensea ลดลง)
- 19/12/22: Blur กลับมากิน Market Share 61% ขณะที่ Opensea เหลือ 27.5% เท่านั้น
- 30/12/22: Blur ปรับ Royalty Fee ขั้นต่ำจาก 0% เป็น 0.5% ทำให้ Market Share Blur เหลือ 48.8% และ Opensea มี 33.5% นอกจากนี้ยังประกาศแจก $BLUR ให้แก่ Creator อีกด้วย
- 02/01/23: Deadline วันสุดท้ายของการบังคับใช้ Operator Filter Registry ของ Opensea
- 18/01/23: Yuga Labs’ Sewer Pass NFT ที่กำลังจะเปิดขายเลือกใช้ Registry ของ Opensea ทำให้ Market Share Opensea พุ่งมาถึง 43.5% และ Blur เหลือ 47% แต่ยังไม่พลิก
- 20/01/23: Blur ประกาศเลื่อนการจบ Airdrop #3 ไปวันวาเลนไทน์ จากเดิมที่จะเปิดตัวในเดือนมกราคม โดยให้เหตุผลว่ากำลัง “สร้างอะไรบางอย่าง” อยู่
- 27/01/23: Blur ประกาศว่าได้แก้ไขให้ NFT ที่ใช้กฎ Registry ของ Opensea สามารถขายบน Blur ได้
- 14/02/23: Blur เปิดตัว $BLUR จาก Airdrop ทั้งสามรอบ และรายละเอียดต่างๆ Market Share นับจากการแก้ไขค่อยๆเทมาที่ Blur จนพลิกเป็น Blur มี 76.1% ขณะที่ Opensea เหลือ 17.5% พร้อมทั้งประกาศว่าจะมี Airdrop Season 2 ให้คนยัง List และ Bid เพื่อเก็บคะแนนเช่นเดิม
- 16/02/23: Blur ประกาศสงครามชัดเจนกับ Opensea ด้วยการเสนอทางเลือกแก่ Creator ว่าจะ 1) ไม่ใช้ Registry ที่ Block ใครเลย 2) Block Blur แบบที่ Opensea ทำ 3) Block Opensea 🔥 และ 4) ใช้ Registry ที่บังคับ Royalty Fee ขั้นต่ำ แต่ไม่ Block NFT Marketplace ไหนเลย โดยมีการแนะนำให้เลือก Block Opensea
- 18/02/23: Opensea ราวกับยอมแพ้แก่ Opensea โดยปรับ Market Fee เป็น 0% (ใน Collection ส่วนใหญ่) ปรับ Royalty Fee เป็น 0.5% และแก้ไข Registry ให้ยกเลิกการ Block Blur เป็นข้อเสนอที่ 4 ที่ Blur ได้เคยเสนอไป ทำให้ตอนนี้การใช้ Opensea ได้ค่าธรรมเนียมที่ถูกเท่ากับ Blur แล้ว ต่างกันแค่ UX/UI และไม่ได้ Token Airdrop
- 22/02/23: Blur ประกาศข้อเสนอว่า Loyalty 100% ต่อเมื่อ Delist การขาย NFT บน Marketplace อื่นท้ังหมด โดยมีปุ่มให้กดเพื่อเคลียร์ได้ในครั้งเดียว (ภายหลังยกเลิกแล้ว)
- 27/02/23: Market Share ของ Blur อยู่ที่ 77.5% 16.2%
- 28/02/23: Blur ประกาศว่าได้จัดการ Bid Spoofing หรือการตั้ง Bid เพื่อเก็บแต้มแล้วถอนออกทันทีเมื่อใกล้ถึง Transaction ตัวเอง
- Upgrade อื่นๆ: ยกเลิก Flag จาก Opensea, Blur on Mobile, แสดงรูป ราคา Floor บน Thumbnail, Partnership กับ DeGods NFT, Notification เมื่อ NFT ถูกซื้อขายไม่ว่าบน Marketplace ไหน
- 29/03/23: Blur ประกาศเลื่อนโปรเจกต์ที่จะเปิดตัววันที่ 1 เมษายนออกไปก่อน โดยจะแจก Point 2 เท่าจนถึง 1 พฤษภาคม
- 05/04/23: เปิดตัว Opensea Pro โดยใช้ทีมจาก Gem NFT Aggregator ที่ Opensea ได้เข้าซื้อกิจการ ซึ่ง Function ทุกอย่างเหมาะกับ Pro Trader จึงเป็นการแข่งชนกับ Blur อย่างชัดเจน (เล่ารายละเอียดด้านล่าง)
Opensea Pro ท่าไม้ตายที่ใช้สู้กับ Blur โดยเฉพาะ


ในวันที่ 5 เมษายน Gem NFT Aggregator ที่ Opensea ซื้อกิจการมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น Opensea Pro หรือ Gem V2 แล้ว โดยตั้งเป้าว่าจะเป็น NFT Aggregator สำหรับ Trader ด้วยการมี Market Fee 0%, Tool ที่เหมาะสำหรับ Trader ทั้งการซื้อ, Sweep, วิเคราะห์ Portfolio, ค่าแก๊สที่ถูกที่สุด (ถูกกว่าจริงๆ) และความเร็วในการดึงข้อมูล
จากการทดลองใช้ของผู้เขียน รู้สึกว่า Opensea Pro ใช้งานได้สะดวกกว่า Blur ในด้าน User Experience เช่น การตั้งราคามีการอธิบายให้เข้าใจง่ายกว่า การสรุปข้อมูลกำไร-ขาดทุน แล้ว Analystic ก็ดูเข้าใจง่ายมาก ซึ่งแต่ละคนอาจจะถนัดต่างกันไป


สิ่งที่น่าสนใจของ Opensea Pro คือการเปิดให้ผู้ใช้งาน Gem ก่อนวันที่ 31 มีนาคม 2023 สามาถ Mint “Gemesis’ NFT” ได้ฟรี และการ Track Score ในการใช้งานแพลตฟอร์มจะมีอะไรบ้างในอนาคต ซึ่งอาจเป็นการเปิดให้ Mint NFT หรือว่า Token Airdrop ก็เป็นไปได้เช่นกัน
สิ่งที่ยังน่ากังวลของ Opensea Pro คือการที่ไม่มี Incentive อะไรให้เข้ามาเพิ่มสภาพคล่อง แบบเดียวกับ Blur ที่จะมี $BLUR ให้แน่ๆ
สงครามนี้จึงน่าติดตามมากว่าการแก้เกมครั้งนี้ของ Opensea จะพลิก Market Share ให้กลับมาได้หรือไม่
Opensea จะล่มสลายหรือไม่?

สำหรับใครที่คิดว่า Opensea จะล่มสลายเพราะโดนดึง Market Share ไปมากมายขนาดนี้ อาจจะไม่ต้องกังวลมากนัก เพราะ Blur นั้นได้เลือกเส้นทางแข่งกันลดราคาให้ต่ำที่สุด ซึ่งทำให้ตัวเองก็ไม่มีรายได้เข้าแพลตฟอร์มตัวเองเช่นกัน ทำให้เกมนี้เป็นการวัดสายป่านของ VC ว่าจะทนได้นานแค่ไหนที่จะกิน Market Share ได้ทั้งหมดจนผูกขาดการตั้งราคาในตอนสุดท้ายได้
ซึ่งเกมไม่ง่ายสำหรับ Blur ขนาดนั้น เพราะว่า
- NFT สามารถตั้งขายหลายที่พร้อมกันได้ ไม่ได้จำเป็นต้องเลือกแค่ที่ Blur
- Blur มีเงินจาก VC ประมาณ $11m-$14m และ $BLUR จาก Allocation for Core contributor ซึ่งก้อนแรกจะได้ประมาณ $35.6m ในเดือนมิถุนายน และจะมีปลดมาเรื่อยๆตลอด 4 ปี (รายละเอียดในพาร์ท Tokenomics)
- เทียบกับ Opensea ที่มีรายได้จาก Market Fee ในช่วงปีก่อนที่ได้อย่างน้อยๆ $25m ต่อสัปดาห์เป็นเวลาเกือบ 2 เดือน ทำให้ Opensea มีรายได้มากกว่า $1,000m อย่างแน่นอน และแม้ช่วงนี้ Market Share จะลดลงและ NFT Collection ส่วนใหญ่ไม่เก็บ Market Fee แต่ก็คิดแล้วก็ยังได้มากกว่า $300,000 ต่อสัปดาห์
เพราะฉะนั้น Opensea สายป่านยาวและมั่นคงกว่ามาก สามารถยื้อเกมได้นาน ซื้อกิจการมาแข่งอย่างที่เห็น Gem เป็น Opensea Pro หรือไม้ตายเป็นการแจก Aidrop ตามก็ยังได้ ในขณะที่ Blur ต้องทำแพลตฟอร์มให้ดี และสร้าง Use Case ให้ $BLUR มากที่สุดเพื่อไม่ให้เหรียญราคาตกจน $BLUR ที่จะได้รับในอนาคตไม่มีมูลค่า เกมนี้จึงเป็นการต่อสู้ที่น่าจับตามองอย่างมาก
$BLUR Tokenomics


- Total Supply: 3,000m $BLUR
- แบ่งเป็น
- 51% หรือ 1,530m $BLUR ให้ Blur community members ซึ่ง 12% (360m $BLUR) ใช้เป็น Airdrop ไปแล้ว
- 29% หรือ 867m $BLUR ให้ Core contributors โดยมี Cliff 4 เดือนแรก ทยอยปลดภายใน 4 ปี
- 19% หรือ 565m $BLUR ให้ Investors (เช่น Paradigm) โดยมี Cliff 4 เดือนแรก ทยอยปลดภายใน 4 ปี
- 1% หรือ 37.7m $BLUR ให้ Advisors โดยมี Cliff 4 เดือนแรก ทยอยปลดภายใน 5 ปี
Use Cases ของ $BLUR คือการเป็น Governance Token เป็นหลัก ซึ่ง Proposal ที่สำคัญในตอนนี้คือวันที่ 13 สิงหาคมจะมีการตัดสินใจว่าจะปรับ Market Fee ของ Blur เป็นเท่าไหร่ (ได้สูงสุด 2.5%) ใครที่อยากให้แพลตฟอร์มมีความยั่งยืนขึ้นหรืออยากให้เน้นในการสร้างฐานลูกค้ามากขึ้นไปอีก สามารถใช้ $BLUR ในการโหวตทิศทางได้ (ยังไม่เปิดให้โหวต)
Blur Idea Map

หลายคนตั้งข้อสงสัยว่าโมเดลธุรกิจที่ไม่ยั่งยืนของ Blur เมื่อเงินจาก VC หมดจะทำอย่างไรต่อ และ $BLUR ที่ไม่มี Use Cases อะไรนอกจากใช้โหวตทิศทางแพลตฟอร์มจะควรค่าแก่การซื้อหรือไม่ ซึ่งหากไปดูหน้าเว็บของ Blur ไจะมี Idea Map ที่ Blur “อาจจะทำ” ด้วยรหัสลับและรูป ผู้เขียนจะมาวิเคราะห์รายละเอียดจะมีดังนี้

- Loyalty Rewards: ไม่ใช่ Listing Loyalty Point ที่จะมีผลทำให้กลุ่มสุ่มได้ $BLUR เยอะขึ้น ซึ่งวิธีการได้ Loyalty 100% คือ List NFT บน Blur เท่ากับหรือมากกว่า ที่อื่น หรือ ราคา NFT บน Blur ต้องเท่ากับหรือถูกกว่า ที่อื่น
ผู้เขียนเดาว่าการรักษา Loyalty 100% หรือ List NFT เพียงแค่ที่ Blur แห่งเดียวมีโอกาสได้รับโบนัสพิเศษให้มากขึ้นกว่าเดิมเข้าไปอีก

- Redacted: แม้จะ Censor ทำให้ต้องเดาจากรูปอย่างเดียว แต่ก็น่าจะชัดเจนว่ามันคือการทำให้ Blur ใช้งานบน Mobile ได้ ซึ่งในตอนเริ่มต้นนั้น Blur ก็ใช้งานผ่านมือถือได้แล้วแต่ยังไม่ Optimize ให้ใช้งานได้สะดวก ซึ่งไม่กี่สัปดาห์ก่อน Blur ก็ได้แก้ไขให้ใช้งาน Blur บนมือถือได้ราบรื่นที่สุดแล้ว

- F-Switch: หรือ Fee Switch เป็นคำเดียวกับ Uniswap ซึ่งหมายถึงการเปิดให้แพลตฟอร์มดึงค่าธรรมเนียมส่วนหนึ่งเข้ามาในตัวแพลตฟอร์ม ดังนั้นข้อเสนอนี้จึงเป็นเรื่องการแก้ไข Market Fee 0% ในตอนนี้ว่าจะมีการปรับเปลี่ยนหรือไม่ โดยใน Documentation ของ Blur Foundation ได้ระบุไว้แล้วว่าจะเกิดขึ้นภายใน 180 วันหลังจากเปิดตัว (วาเลนทไทน์) ดังนั้นก็คือไม่เกินวันที่ 13 สิงหาคม 2023
ข้อเสนอนี้จะได้รับการโหวตเป็นอย่างไรต้องติดตามอย่างมากเพราะจะแสดงถึงทิศทางแพลตฟอร์มว่าจะยังเน้นเรื่องการตีลาดให้คนใช้งานมากที่สุดหรือว่ากลับมาเน้นเรื่องความยั่งยืนของแพลตฟอร์ม

- ??: ไม่แน่ใจตัวหนังสือ แต่ดูจากรูปที่เหมือนกับเหรียญที่วิ่งเป็นวงกลม ผู้เขียนขอคาดการณ์ว่าคือการทำให้ “$BLUR มีรายได้ทบเข้ามาในเหรียญ” ซึ่งต่อยอดจากหัวข้อ F-Switch ที่เริ่มมีรายได้เข้าแพลตฟอร์ม การที่รายได้ส่วนนั้นจะแบ่งกลับเข้ามาให้แก่ผู้ Stake เหรียญ หรือนำเงินก้อนนั้นไป Buyback & Burn $BLUR ก็เป็นตัวเลือกที่เป็นไปได้ทั้งนั้น
โดยทางออกที่น่าจะเหมาะสมที่สุดคือ Vote Escrowed แบบ Curve Finance ซึ่งจะต้อง Lock $BLUR ในแพลตฟอร์ม เพื่อได้รับ $veBLUR ใช้ในการโหวตทิศทางและรับรายได้จาก Market Fee

- Mine for ???: ผู้เขียนคาดว่า คือ “Liquidity Mining” ซึ่งเป็นการเอา $BLUR ไปฟาร์มคู่ ETH/USDC เพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้ $BLUR เพราะตอนนี้ถ้าจะซื้อขาย $BLUR จะมีที่ Uniswap เท่านั้น ถ้าอนาคตมีการเปิดให้ Farm $BLUR ได้ เราคิดว่าสภาพคล่องของเหรียญจะดีขึ้นมากกว่านี้

- 011000010111000001101001: ชุดตัวเลขนี้เมื่อแปลง Binary เป็น ASCII Text ได้ “API” ในตอนนี้เราไม่รู้เลยว่า Blur API ได้อนุญาตให้เข้าถึงระดับไหน ซึ่งอาจจะแค่ดึง Data ไปวิเคราะห์ หรือเอาไปแปะเว็บอื่นให้ดึงสภาพคล่องก็ได้ แต่ถ้าใช้เป็นการให้เช่น API ก็จะมีรายได้เข้าแพลตฟอร์ม เป็นอีกหัวข้อหนึ่งที่ Blur แยกออกมาให้ชัด ซึ่งคิดว่าจะมีความสำคัญมากในอนาคต

- Artblocks: เป็น NFT ที่ถูกสร้างโดยการใช้ Code สร้างภาพขึ้นมา เพราะฉะนั้นภาพที่ได้จะมีความสุ่มมีความเป็น Original ของตัวเอง โปรเจกต์ล่าสุดเลยที่ใช้หลักการนี้เช่นกันคือ TwelveFold ของ Yuga Labs ซึ่งจะสร้าง NFT 300 ชิ้นบน Bitcoin Blockchain คือให้คอมสร้างขึ้นแบบสุ่มมาเลย
เพราะฉะนั้น สิ่งนี้อาจจะเป็น OG NFT ชิ้นแรกของ Blur ก็เป็นไปได้ เพราะ Opensea Pro ก็มี NFT เป็นของตัวเองแล้วเช่นกัน

- -inomics: ผู้เขียนคาดการณ์จากรูปภาพและคำที่จะเหมาะสมที่สุด คือ “Bribinomics” จาก Bribe+Economic โดยต่อยอดจาก F-Switch และ ?? เป็นแบบ Vote Escrowed ทำให้คนถือ $veBLUR มีอำนาจในการโหวตการแจก $BLUR ในอนาคต
นำไปประยุกต์ใช้กับการแจก Bidding/Listing Point ในตอนนี้ที่ยังใช้หลักการเรียงตาม Volume Trade สูงที่สุดจะมีโอกาสได้รับ Point มากที่สุด แต่ถ้า Blur เปลี่ยนโมเดลใหม่ให้ NFT Creator สามารถใช้ $veBLUR โหวตการแจก $BLUR แต่ละสัปดาห์ได้ว่าจะ Incentive ให้ NFT โปรเจกต์ไหนมากที่สุด ก็จะเกิดโมเดล “ติดสินบน (Bribe)” แบบเดียวกับ Curve, Convex และ Velodrome กำลังทำอยู่นั่นเอง ซึ่งถ้า Blur ใช้วิธีนี้จริง จะ Disrupt แนวคิดการซื้อขาย NFT ไปมากอย่างแน่นอน

- 1155s: อาจจะเป็นการเปิดให้ Blur สามารถซื้อขาย ERC-1155 ซึ่งเป็น NFT อีกหมวดที่มีเพียง Blur ที่ยังไม่เปิดให้วางขายก็เป็นไปได้ แต่การมี “s” ต่อหลังทำให้อาจคิดได้ว่าเป็นมาตรฐานการสร้าง NFT ชนิดใหม่ก็ได้เช่นกัน แต่ในปัจจุบันเรายังไม่เห็นใครพูดถึงมาตรฐานนี้ ดังนั้นอาจจะต้องรอประกาศจาก Blur ถึงจะชัดเจนที่สุด

- Liquidity Project X: โดยปกติตัวอักษร “X” จะใช้ในการ Collaborate กับโปรเจกต์ต่างๆ ซึ่งในตอนนี้มี DeGods NFT ที่ Blur พึ่งประกาศตัวเป็น Partnership ไปไม่กี่วัน ดังนั้นอาจจะหมายถึงเรื่องนี้ก็ได้
แต่หากคิดนอกกรอบไปมากกว่านี้ และดูที่รูปกราฟ อาจจะเป็นการเพิ่มสภาพคล่องแบบ AMM อย่างที่ Sudoswap ทำอยู่ก็เป็นไปได้ โดย Sudoswap นั้นจะเปิดโอกาสให้นักลงทุนที่มี ETH และ NFT สามารถสร้าง Liquidity Pool ของตัวเองโดยสามารถกำหนด ค่าธรรมเนียมกี่เปอร์เซ็น, Curve ราคาขึ้นแบบ Linear หรือ Exponential, ค่า Delta และจำนวนได้อย่างอิสระ สาเหตุที่คิดแบบนี้เพราะมีนักลงทุนบางคนใส่ Bidding NFT ด้วย ETH และ Listing NFT บน Blur ทั้งสองฝั่งอยู่แล้ว
โดยสรุปแล้ว Blur มี Idea ที่จะสามารถต่อยอดและพัฒนาเพื่อเพิ่มความยั่งยืนของแพลตฟอร์มได้อีกหลากหลายท่ามาก ด้วยความที่ทีมของ Blur เป็น Developer ที่มีความสามารถสูงมากจากที่เห็นว่าสามารถสร้าง NFT Marketplace ที่มีความเร็วสูงสุดในตลาด และแก้ไข Registry ต่างๆ ของ Opensea ได้ เรามองเห็นศักยภาพของ Blur ค่อนข้างสูงมากว่าจะไปต่อได้อีกไกล อย่างไรก็ตามคู่แข่งหน้าใหม่อย่าง Opensea Pro ที่เกิดมาก็ถือเป็นคู่แข่งที่สมน้ำสมเนื้อกับ Blur อย่างมาก สงครามมหากาพย์ NFT Marketplace ในครั้งนี้จึงต้องติดตามอย่างใกล้ชิดว่าบทสรุปจะเป็นเช่นไร
$BLUR Technical analysis

สำหรับ $BLUR กราฟยังคงมีข้อมูลไม่มากพอในการวิเคราะห์ภาพใหญ่ แต่หากวิเคราะห์ใน TF 4 hr จะพอว่ามีประเด็นที่น่าสนใจ
- กราฟมีโอกาสกลับตัวเป็นขาขึ้นเนื่องจาก หากนำ sto มาประกอบการวิเคราะห์จะพบว่ามีการทำ higher low
- กราฟมีการเบรคและ retrace trendline พร้อมกับทำแท่งเทียนกลับตัว
โดยสรุปคือในระยะสั้นตรงนี้มีโอกาสเกิดแรงเก็งกำไรเข้ามาได้ และมีแนวต้านสำคัญที่ราคา 0.72 ในระยะสั้น
Authors
-
A guy who loves crypto like Bitcoin and Ethereum. He's not the best writer, but his love for DeFi makes up for it. He's an easygoing guy who makes learning about crypto fun and easy.
-
Researcher and Analyst at Cryptomind, 6th year Medical student at Chulalongkorn, Always busy finding that 100x Fantasy