บทความนี้เป็นบทความแปลจาก Xangle ซึ่งเป็นพาร์ทเนอร์ของ Cryptomind ซึ่งถูกเขียน ณ วันที่ 14 เมษายน 2023
แม้ว่าเวลาจะผ่านมาบ้างหลังจากบทความที่เขียน แต่ตำแหน่งอันดับ 1 ของ BLUR ก็ยังคงเหมือนเดิมจนปัจจุบัน การย้อนกลับมาศึกษาและทำความเข้าใจกับแพลตฟอร์ม NFT ต่างๆเพื่อมองไปถึงอนาคตของตลาด NFT นี้เป็นเรื่องสำคัญ
เกริ่นนำ
Opensea เป็นแพลตฟอร์มที่ครองตลาด NFT ทั้งในด้านการซื้อ ขาย และการเทรดมาตั้งแต่ยุคเริ่มต้นของ NFT
ในช่วงปี 2022 แพลตฟอร์ม NFT อื่นๆ ตั้งแต่ LooksRare, X2Y2, Gem.xyz, Sudoswap ก็ได้พยายามหาทางแข่งกับ Opensea ด้วยหลากหลายโปรโมชั่น
- การแจก Airdrop
- การลดค่า fee
- การใช้ Auto Market Makers (AMMs)
- การลดค่า gas
แต่สุดท้ายแล้วทั้งหมดนี้ก็ยังไม่สามารถเอาชนะ Opensea ได้
จนกระทั่งการปรากฏตัวของม้ามืดตัวใหม่ คือ Blur (Blur.io) ที่เหนือความคาดหมายของทุกคนมากๆ Blur เริ่มต้นด้วยการลิสเหรียญ $BLUR และแจก airdrop ใน Season 1 วันที่ 15 เมษายนที่ผ่านมา หลังจากนั้น Volume การซื้อขายใน Blur ก็สามารถกินส่วนแบ่งในตลาดไปได้เยอะมาก
เหตุการณ์นี้เองทำให้ผู้คนต่างพูดคุยกันถึงการเปลี่ยนแปลงต่างๆ และอนาคตของตลาด NFT หลังจากที่ Blur เข้ามามีส่วนแบ่งใหญ่ในตลาดแล้ว
1. กำเนิดของ Blur | แพลตฟอร์มที่ทำให้แม้แต่ Opensea ยังต้องขยับตาม
1-1 Volume การเทรด NFT ของ Blur พุ่งสูงกว่า Opensea
Blur คือ แพลตฟอร์มการเทรด NFT และ Aggregator ซึ่งเริ่มให้บริการครั้งแรกตั้งแต่ขณะที่ยังเป็น beta อยู่ วันที่ 19 ตุลาคม 2022 โดย Blur ได้วางตัวเองในฐานะแพลตฟอร์มการเทรด NFT สำหรับนักเทรดมืออาชีพ
บริษัทนี้ถูกนำโดย Pacman ซึ่งเป็นอดีตนักศึกษาจาก MIT และเคยเป็นสมาชิกของ Y Combinator โดยผู้คนรู้กันว่า Pacman มีความสัมพันธ์กับ Paradigm
มีข่าวลือว่ากันว่า นักลงทุนที่มีชื่อเสียงแบบ Paradigm, eGirl Capital, 0xMaki (Co-Founder ของ Sushiswap) ได้ประเมินมูลค่าของ Blur ไว้ที่ 1 พันล้านดอลลาร์ อย่างไรก็ตาม การที่ Blur ก้าวเข้าสู่สถานะยูนิคอร์นในเพียงสี่เดือนหลังจากการเปิดตัวนั้นเป็นเรื่องที่น่าเหลือเชื่อมาก
ตั้งแต่การเปิดตัว Blur มี Volume ของการเทรด NFT สูงขึ้นมากเรื่อยๆอย่างรวดเร็วจนกระทั่งแซงแม้แต่ Volume ของ Opensea อีกด้วย จุดที่น่าสนใจต่างๆมีดังนี้
- ในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา Blur มีส่วนแบ่งทางตลาดคิดเป็น 60% ของตลาด NFT ทั้งหมด
- หากเปรียบเทียบระหว่าง Volume รวมสามเดือนระหว่างตลาดต่างๆ Blur ก็ขึ้นบัลลังก์เป็นที่ 1 ด้วย Volume 1.8 พันล้านดอลลาร์
- ในด้านจำนวนธุรกรรม NFT Blur ก็ยังคงชนะ Opensea ไปด้วยจำนวน 338K ต่อ 314K


1-2 การกินส่วนแบ่งตลาดมากขึ้นเรื่อยๆของ Blur ด้วยค่าธรรมเนียม 0% และ Airdrop
Blur ดึงดูดนักเทรด NFT ด้วย Transaction fee (ค่าธุรกรรม) ที่ต่ำทำให้ Blur เติบโตอย่างต่อเนื่อง นอกเหนือจากนี้ การแจก airdrop ด้วยเหรียญ $BLUR เป็นหนึ่งในปัจจัยที่สร้างความสนใจให้กับผู้ใช้งานที่จะเข้ามาร่วมใช้งาน
นอกจากนี้ หลังจากที่แพลตฟอร์มอื่น ๆ ที่ซื้อขาย NFT เริ่มนำโมเดลคล้ายกันมาใช้ ก็ทำให้ Blur เริ่มเสียความได้เปรียบในการแข่งขันนี้ด้วย
- ค่าธุรกรรมที่ต่ำ
โดยปกติแล้ว ค่าธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับ NFT จะประกอบไปด้วยสองส่วน คือ 1) ค่าธรรมเนียมให้กับแพลตฟอร์ม และ 2) ค่า Loyalty ให้กับ Creator
ค่าธรรมเนียมรวมในการใช้งานบนแพลตฟอร์ม Blur คือ 0.5% ซึ่งประกอบด้วยค่าธรรมเนียมแพลตฟอร์ม 0% และค่า Royalty ให้กับ Creator ที่ขั้นต่ำ 0.5%
โครงสร้างค่าธรรมเนียมในรูปแบบนี้เป็นโมเดลที่ถูกที่สุดในบรรดาลแพลตฟอร์ม NFT ต่างๆ และสามารถนำไปเทียบกับแพลตฟอร์ม Decentralized NFT exchange อย่าง Sudoswap ที่มี Automated Market Maker (AMM) และได้รับความสนใจจากบรรดานักเทรด NFT เช่นกัน
หลังจากการเกิดโครงสร้างค่าธรรมเนียมในรูปแบบนี้เอง Opensea เองก็ไม่สามารถอยู่เฉยๆและต้องทำการปรับเปลี่ยนโครงสร้างบ้างเช่นกัน สิ่งนี้จะถูกนำมาอธิบายในภายหลัง

- กลไกการ Airdrop
ในช่วงต้นปี 2022 มีการใช้ ‘Vampire Attack’ ในทั้งแพลตฟอร์มซื้อ-ขาย NFT และใน DeFi เพื่อพยายามแย่งผู้ใช้งานจากแพลตฟอร์มอื่นๆ ด้วยการจาก Airdrop และการให้ผลตอบแทน APR สูงมาก เช่น LooksRare และ X2Y2
Vampire Attack มีวิธีการทำงานดังนี้:
- Airdrop เหรียญให้กับผู้ใช้งาน Opensea โดยตรงเพื่อให้ผู้ใช้งาน Opensea มาสนใจในแพลตฟอร์ม
- มีการแจกเหรียญเพิ่มเติมจากทุกการเทรดและการใช้งานในแพลตฟอร์มเพื่อให้ผู้ใช้งานมาติดการใช้งานที่แพลตฟอร์มใหม่นั้นๆ
แต่อย่างไรก็ตาม การดึงผู้ใช้งานในรูปแบบนี้ทำให้เกิดการ Wash trading อย่างหนัก (การซื้อมาขายไปเพื่อปั่นให้ยอดธุรกรรมเยอะขึ้น) ทำให้ธุรกรรมที่เกิดขึ้นไม่ได้มีเยอะเท่าจำนวนการใช้งานที่แท้จริง และสุดท้ายการใช้วิธีการนี้ก็ไม่ได้ได้ผลตามที่ต้องการทั้งหมด
การแก้ไขปัญหาจาก Vampire Attacks ของ Blur
หลังจากการเห็นปัญหาที่เกิดขึ้น Blur ได้สร้างระบบการแจกรางวัลให้กับผู้ใช้งานที่เน้นไปที่ 3 ด้านหลัก คือ
- Listing (การตั้งขาย)
- Bidding (การเสนอราคาซื้อ)
- Loyalty ในการใช้งาน โดยไม่ได้ยึดแค่เพียงปริมาณของธุรกรรมเหมือนเดิมแล้ว
Blur ใช้หลากหลายปัจจัยในการช่วยกันคำนวณการแจก Airdrop โดยมุ่งเน้นถึงสภาพคล่องที่ผู้ใช้งานนั้นๆมาใส่ให้กับแพลตฟอร์ม วิธีการนี้เป็นวิธีการที่ช่วยดึงสภาพคล่องมาจาก Opensea จากที่ Opensea เคยเป็นผู้ครองตลาดเพียงหนึ่งเดียวด้วยข้อได้เปรียบทางด้านสภาพคล่อง
Total Value Locked หรือ จำนวนเงินที่อยู่ในพูลการเสนอซื้อ (Bidding Pool) ในวันที่ 1 มีนาคม มีจำนวนมากถึง 144 ล้านดอลลาร์ เมื่อแพลตฟอร์มมีจำนวนเงินใน Bidding Pool ในระดับนี้ ทำให้สามารถมีการซื้อขายแม้แต่คอลเลคชัน Blue-Chip ได้แทบจะทันทีและไม่มี Slippage (ดูเพิ่มเติมที่ภาพด้านล่าง)
- ตัวอย่างของข้อดีนี้คือ เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ Mando ได้ทำการขาย NFT Bored Ape Yacht Club (BAYC) ด้วยราคาตลาดโดยไม่มี Slippage
ถึงแม้ว่าจะมีการพูดถึงกันว่า Bidding Pool เป็นเพียงแค่วืธีการที่ให้วาฬ NFT เทขาย แต่ถึงอย่างนั้นก็ตาม Bidding Pool ก็มีส่วนสำคัญมากในการสร้างสภาพคล่องให้กับแพลตฟอร์ม NFT ให้ใช้งานง่ายไม่ว่าจะสำหรับใครก็ตาม

2. การตอบโต้ของ Opensea
หลังจากที่ Opensea ได้นิ่งเฉยมานานจากทุกคู่แข่งไม่ว่าจะเป็น LooksRare, X2Y2 และ Sudowap ทาง Opensea ก็ได้ออกมาพร้อมกับแผนในการตอบโต้กับการมาของ Blur นี้เอง
เหตุที่ Opensea ยังต้องออกมาขยับตัว เป็นเพราะส่วนแบ่งการตลาดของ Opensea ได้ลดลงเรื่อยๆอย่างเห็นได้ชัดจาก 99% ในปีที่แล้วมาเป็น 65% ในปีนี้
ในตลาด NFT มูลค่าของการสูญเสียผู้ใช้งาน (Customer Acquisition Costs หรือ CAC) เป็นเรื่องที่ต้องกังวลมาก เพราะการสูญเสียที่ว่านี้ยังคงสร้างภาระทางการเงินที่หนักมากให้กับ Opensea
ในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ Blur มีส่วนแบ่งทางจำนวนผู้ใช้งานต่อทั้งตลาด NFT ถึง 31% ซึ่งนับว่าเป็นแพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้งานจำนวนเยอะมาก และเติบโตได้อย่างรวดเร็วมากในเวลาอันสั้น
2-1 กลยุทธการตอบโต้ของ Opensea และความหวังในการ Airdrop(?)
วันที่ 18 กุมภาพันธ์ Opensea ได้ออกมาประกาศถึงกลยุทธครั้งใหญ่ในการดึงผู้ใช้งานกลับมาที่ Opensea ใจความคือ
- การนำค่าธรรมเนียมธุรกรรมออกชั่วคราว จาก 2.5% → 0%
- ปรับส่วนแบ่งให้ Creator เป็นทางเลือกแทน (ขั้นต่ำ 0.5%) สำหรับทุกคอลเลคชัน
- ยกเลิกการบล็อคแพลตฟอร์มอื่นที่มี Operator Filters
จากการประกาศนี้เองจะเห็นได้ว่า Opensea ได้ทำการปรับลดค่าธรรมเนียมให้เท่ากับ Blur ที่ 0.5%
Blur สามารถอยู่ได้อย่างไรด้วยค่าธรรมเนียมจำนวนเท่านี้?
Blur เริ่มดำเนินการโดยไม่มีค่าธรรมเนียมตั้งแต่ต้นโดยอยู่ได้ด้วยเงินจากนักลงทุน (11 ล้านดอลลาร์ใน Seed Round) และเงินทุนที่ทางทีมได้รับ
Opensea จะยังสามารถอยู่ได้อย่างไรจากการลดค่าธรรมเนียม?
การปรับเปลี่ยนครั้งใหญ่ของ Opensea ในครั้งนี้ถูกคำนวณมาอย่างดีแล้ว ถึงแม้ว่ารายละเอียดทางการเงินของ Opensea จะไม่มีการเปิดเผยออกมาในสาธารณะ แต่ CEO ของ Opensea Devin Finzer เคยพูดไว้ในบทความของ Techcruch เมื่อเดือนกรกฎาคม 2022 ว่า Opensea ยังสามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่องไปอีกราวๆ 5 ปี

นอกเหนือจากนี้ ผู้คนก็ยังคาดหวังว่า Opensea อาจจะมีการ Airdrop เหรียญให้กับผู้ใช้งานอีกด้วย (จนถึงปัจจุบันก็ยังไม่ได้มีความเคลื่อนไหวในเรื่องนี้) ซึ่งทาง Opensea เคยพูดไว้ว่าทาง Opensea เอง “กำลังทดลองหาหลากหลายทางเพื่อสร้างผลตอบแทนให้กับผู้ใช้งานของเรา”
ก่อนหน้านี้ Opensea ได้เคยวางแผนที่จะ IPO เหรียญตัวเองตั้งแต่ก่อนการมาของ Blur หากผู้บริหารและผู้ถือหุ้นส่วนของ Opensea มองว่าการไม่เปิดตัวโทคนจะทำให้เกิดปัญหาใหญ่ ก็ไม่มีเหตุผลใดๆที่ Opensea จะไม่ใช้โมเดลการแจกเหรียญให้กับผู้ใช้งานคล้ายๆกับ Blur
ผู้เขียนบทความเองก็ยังคงเชื่อว่า หาก Opensea นำโมเดลของการลดค่าธรรมเนียมและการแจก Airdrop ให้ผู้ใช้งานมาใช้ Opensea ก็จะสามารถทวงบัลลังก์ที่ 1 กลับมาได้อีกครั้ง
2-2 Blue จะสามารถตอบโต้กับกลยุทธของ Opensea อย่างไรได้บ้าง?
เมื่อ Opensea เริ่มทำการขยับตัวครั้งใหญ่มาโต้ตอบ Blur ก็จำเป็นจะต้องขยับตามในการต่อสู้ครั้งนี้ ต่อจากนี้ การพยายามคงอยู่ในที่ 1 นั้นยากยิ่งกว่าการขึ้นไปเป็นที่ 1 ในตอนแรก
การต่อสู้ในครั้งนี้สำหรับ Blur อาจจะไม่ได้ง่ายอย่างที่คิดด้วย 2 เหตุผลต่อไปนี้
1. ความจำเป็นที่ต้องพึ่งกลุ่มวาฬ และคำถามที่ตามมาเรื่องความยั่งยืนของแพลตฟอร์ม
แม้ว่า Blur จะมีการเติบโตที่ก้าวกระโดดมาก แต่ Opensea ก็ยังคงมีส่วนแบ่งทางผู้ใช้งานอยู่สูงถึง 60%
ในด้าน Volume ของการใช้งานก็เป็นจุดสังเกตุสำคัญในการพิจารณาถึงแพลตฟอร์ม Blur
- Volume ของธุรกรรมส่วนใหญ่ของ Blur ประกอบไปด้วยวาฬใหญ่ไม่กี่ชื่อ ได้แก่ machibigbrother, franklinisbored, และ mrghostmintfun
- Volume ของนักเทรด Top 15 คนนับได้เป็น 17% ของ Volume รวม
- Volume ของนักเทรด Top 100 คนนับได้เป็น 46% ของ Volume รวม
หากพิจารณาจำนวนนี้แล้ว นับว่า Volume ของทั้งแพลตฟอร์มมีความจำเป็นต้องพึ่งพาคนจำนวนน้อยมากและเป็นที่น่ากังวลถึงความยั่งยืนของแพลตฟอร์มนี้
เราไม่สามารถรู้ได้ว่าอะไรที่เป็นจุดผลักดันให้วาฬเหล่านี้มาใช้งานในแพลตฟอร์มนี้อย่างต่อเนื่อง แต่ก็สามารถเดาได้ว่า วาฬกลุ่มนี้อาจจะทำการปั่น Volume เพื่อรอ Airdrop ใน Season 2 ซึ่งสิ่งนี้เองก็เป็นอีกข้อกังวลถึงความยั่งยืนของแพลตฟอร์มเป็นอย่างมากว่าหากมีการแจก Airdrop Season 2 เรียบร้อยแล้ว นักเทรดจะยังคงอยู่ในแพลตฟอร์ม Blur อยู่หรือไม่


2. ประสิทธิผลที่จำกัดจากการ Airdrop
ก่อนหน้าการมาของ Blur แพลตฟอร์ม NFT อื่นๆตั้งแต่ LooksRare และ X2Y2 ได้มีการพยายาม Airdrop ให้กับผู้ใช้งาน Opensea ซึ่งก็ไม่ได้สำเร็จอย่างที่คาดคิด
แม้ว่าผู้ใช้งานอาจจะหันมาใช้งานในแพลตฟอร์มอื่นๆจาก Airdrop บ้างในช่วงแรก แต่ผลจากการดึงคนด้วย Airdrop ก็ได้หายไปอย่างรวดเร็ว และผู้ใช้งานก็ได้ทะยอยหายไปจากแพลตฟอร์ม
Looksrare และ X2Y2 ทำการเปิดตัวในช่วงต้นปี 2022 และผู้ใช้งานเป็นสัดส่วน 80% และ 50% ได้รับ Airdrop ตามลำดับ
จนช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2023 ผู้ใช้งานข้างต้นลดลงไปถึง 20% ยิ่งไปกว่านั้นผู้ที่ได้รับ Airdrop $LOOKS 60% และ $X2Y2 86% ทำการขายเหรียญทั้งหมดทันทีที่ได้รับ Airdrop
สถิติในข้างต้นเป็นตัวบ่งบอกว่า การดึงผู้ใช้งานด้วยวิธีการ Airdrop ไม่ได้ส่งผลในระยะยาว


ในขณะนี้ LooksRare และ X2Y2 กำลังประสบปัญหาการขาดทุนของแพลตฟอร์มเป็นมูลค่า 76 ล้านดอลลาร์และ 41 ล้านดอลล่าร์ตามลำดับ ซึ่งได้รับจากผู้ใช้งานที่เข้ามาในระยะเวลาอันสั้นในช่วง Airdrop ในตอนแรก

ด้วยเหตุนี้เอง Blur อาจจะสูญเสียส่วนแบ่งทางตลาดครั้งใหญ่หลังจากที่ทำการ Airdrop รอบที่ 2 ไปแล้ว นอกเหนือจากนี้สิ่งนี้ยังเป็นข้อกังวลที่ใหญ่มากสำหรับความยั่งยืนของแพลตฟอร์ม NFT ต่างๆ
3. อนาคตของแพลตฟอร์ม NFT ต่างๆและการเติบโตในอนาคต
3-1 แพลตฟอร์ม NFT ต่างๆจะสามารถมีโอกาสในการแข่งขันในตลาดได้หรือไม่?
การทำงานของแพลตฟอร์ม NFT ต่างๆไม่เหมือนกับบริษัทยักใหญ่ทางการค้าออนไลน์อย่าง Amazon Alibaba หรือ Coupang ที่แข่งขันกันในด้านความคุ้มค่าและความเร็วในการส่งสินค้าไปยังศูนย์ส่งสินค้าตามพื้นที่ต่างๆ ด้วยการที่แพลตฟอร์ม NFT ต่างๆไม่อิงถึงพื้นที่จึงไม่เกิดการแข่งขันในด้านของความ ‘ถูกและเร็ว’
- แพลตฟอร์ม NFT ต่างๆในปัจจุบัน ให้บริการด้วยค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมใกล้เคียงถึงศูนย์ผ่าน Smart Contract แบบอัตโนมัติซึ่งทำให้ไม่มีต้นทุนในเรื่องค่าแรง
- ความเร็วในการทำธุรกรรมต่างๆไม่ได้อยู่ในการควบคุมของแต่ละแพลตฟอร์ม แต่ขึ้นอยู่กับความเร็วของบล็อกเชนเอง
- ตลาดใน Web3 ไม่ได้เหมือนกับตลาดอื่นๆที่จำเป็นต้องมีการสมัครสมาชิกเพื่อใช้งานในแพลตฟอร์ม ใน Web3 ผู้ใช้งานสามารถเชื่อมต่อกับ Wallet ตัวเองและเริ่มใช้งานได้เหมือนกันทั้งหมด
- การทำการตลาดด้วยการ Airdrop ทำให้เกิดความผันผวนและการย้ายการใช้งานของผู้ใช้งานในระยะสั้นได้อีกด้วย
สิ่งเหล่านี้เองเป็นสิ่งที่ทำให้แพลตฟอร์ม NFT ต่างๆยากที่จะสร้างความได้เปรียบเพื่อนำมาแข่งขันกัน

ถึงแม้ว่าในระยะเวลาอันสั้น โมเดลแบบ Blur ที่ทำให้ค่าธรรมเนียมต่ำและมี Airdrop ซึ่งทำให้เกิดการเติบโตอย่างรวดเร็วจนเกิดการแข่งขันที่ดุเดือดในตลาด NFT แต่ความยั่งยืนในระยะยาวก็ยังเป็นข้อกังวล
หลังจากที่ Opensea ได้ตอบโต้ด้วยการลดค่าธรรมเนียมไปแล้ว หาก Opensea ยังตอบโต้ต่อด้วยการ Airdrop เหรียญให่่ผู้ใช้งานอีก Opensea ก็มีโอกาสที่จะขึ้นไปสู่ที่ 1 อีกครั้งได้อย่างง่ายดาย ซึ่งเป็นอีกปัญหาที่ Blur อาจจะต้องเผชิญอีกในอนาคต (ถ้าพิจารณาจาก Tweet จาก Opensea ในวันที่ 18 กุมภาพันธ์แล้ว การ Airdrop ยังคงอยู่ในความเป็นไปได้อยู่)
ด้วยการที่ Blur อยู่ได้ด้วยการลงทุนจากนักลงทุนและ $BLUR ที่ทางทีมถืออยู่ การที่ BLUR ไม่ได้สร้างรายได้ในแพลตฟอร์มเองอาจจะส่งผลให้เกิดการเสียส่วนแบ่งของตลาดในอนาคต และยังส่งผลต่อไปยังด้านราคาของเหรียญ $BLUR เอง ซึ่งทำให้ $BLUR ที่ทีมถือมีมูลค่าลดลง และอาจจะทำงานต่อได้ยากขึ้นไปอีก
Opensea ยังมีไพ่ลับในมืออีกอย่าง คือการเข้ามาเป็นเจ้าของ Gem (แพลตฟอร์ม NFT Aggregator) ในปีก่อน ซึ่งอาจจะเป็นหนึ่งในแผนที่จะให้ Airdrop ให้กับผู้ที่มาใช้งานที่จ่าย Royalties ให้
Blur จะต้องตอบโต้การโจมตีของ OpenSea อย่างไร และตลาด NFT ควรนำกลยุทธ์อะไรมาใช้เพื่อให้คงอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรม 0% กำลังเป็นสิ่งที่เป็นเรื่องปกติ? ต่อจากพาร์ทนี้ ผู้เขียนจะนำเสนอความเป็นไปได้ที่แพลตฟอร์ม NFT จะทำการขยายธุรกิจต่อไปในอนาคต
3-2 เคสที่ 1: Coinbase และการขยายธุรกิจไปมากกว่าการเป็น Exchange
ในช่วงที่ผ่านมา Coinbase เผยถึงแผนในการเปิดตัว BASE ซึ่งเป็น Ethereum Layer 2
การเปิดตัวในครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงความพยายามในการขยายธุรกิจเข้าสู่ Defi, NFT และ Service อื่นๆที่อาจจะตามมาในอนาคต
BASE นำ Optimistic (OP) stack เพื่อนำมาพัฒนาและจะร่วมเป็นส่วนหนึ่งของ Optimistic’s Superchain ต่อไป
BASE มีแผนในการเข้า Mainnet Stage 1 ภายในปี 2023 (เพิ่งเปิดตัวไปแล้วเมื่อไม่นานมานี้) และจะเปิดตัว Stage 2 ภายในปี 2024

Coinbase ต้องการจะใช้ประโยชน์จากการเป็น Exchange เพื่อต่อยอดให้ผู้ใช้งานอีกหลายล้านคนเข้ามาสู่โลกบล็อกเชนได้อย่างแพร่หลายขึ้น
ในปัจจุบัน Coinbase มีฐานผู้ใช้งานถึง 100ล้านคนและมีสินทรัพย์ในนั้นรวมมูลค่ากว่า 80,000 ล้านดอลลาร์ ด้วยการที่มีพื้นฐานต่างๆเหล่านี้อยู่แล้ว การเชื่อมทุกอย่างเข้าไปกับ Wallet, Bridge, Dapp และอื่นๆในโลก Web3 เป็นสิ่งที่เปิดความเป็นไปได้อีกเยอะมาก
การต่อยอดในหลากหลายรูปแบบนี้เอง จะนำ Coinbase ไปมากกว่าการเป็น Exchange ทั่วไป และมีความยั่งยืนขึ้นในระยะยาว
เมื่อเข้ามาทำงานในฐานะ Layer 2 ของ Ethereum เราสามารถจะนำไปเปรียบเทียบกับ Arbitrum และ Optimism เองซึ่งเป็น Optimistic Rollups ตัวที่เด่นที่สุดในปัจจุบันได้ ซึ่งทั้งคู่สร้างรายได้ถึง 5 ล้านดอลลาร์และ 4.4 ล้านดอลลาร์ตามลำดับต่อปี

ทั้ง Opensea และ Blur สามารถที่จะหาความเป็นไปได้ใหม่ๆในการพัฒนาและขยายธุรกิจจากฐานของแพลตฟอร์มที่มีอยู่แล้ว เช่น การไปสร้าง Layer 2 สำหรับ NFT โดยตรง หรือแม้กระทั่งการสร้าง Wallet ที่ทำให้คนทั่วไปเข้ามาใช้งานได้ง่าย
สำหรับไอเดียในการสร้าง Layer 2 สำหรับ NFT โดยเฉพาะ การเข้าไปใช้ OP Stack เพื่อเชื่อมต่อกับ Superchain จะเกิดผลดีหลายอย่าง คือ
- รับประกันความปลอดภัยของ Sequencer ต้น
- การใช้ OP Stack เลย จะทำให้ไม่ต้องเสียเวลาทำ Mainnet เอง
- สามารถเข้าร่วมกับ Superchain ได้เลย
กลยุทธเหล่านี้เป็นโอกาสที่ทำให้ไม่ว่าจะเป็น Opensea หรือ Blur ก็อาจจะสร้างจุดเด่นและเติบโตได้
3-3 เคสที่ 2: กลยุทธการอยู่รอดของ Robinhood
Robinhood ซึ่งคนรู้จักกันจากข่าวเกี่ยวกับ GME และ AMC เป็นแพลตฟอร์มทางการเงินที่สำคัญในอเมริกาเหนือที่มีการเติบโตอย่างรวดเร็วในช่วง COVID-19
ชื่อของแพลตฟอร์มนี้ถูกตั้งตามตัวละคร Robin Hood ซึ่งมีเป้าหมายในการเปิดโลกลงทุนให้ทุกคน แพลตฟอร์มนี้เปิดโอกาสการลงทุนให้กับนักลงทุนทุกแบบ โดยเน้นไปที่นักลงทุนรายย่อยด้วยค่าธรรมเนียมการเทรด 0%, การเทรดหุ้นแบบแบ่งเศษได้, และ UX/UI ดูลักษณะน่าเล่นเหมือนเกม
ด้วยการพัฒนาในรูปแบบนี้เอง ปัจจุบัน Robinhood มีฐานลูกค้าราว 57% จาก 23 ล้านผู้ใช้งานเป็น Gen MZ

เหตุการณ์ที่กล่าวมาก่อนหน้านี้ สามารถดูเห็นได้ชัดเจนว่า Robinhood ได้สร้างรายได้อย่างมากถึง 1.35 พันล้านเหรียญในปี 2022 ไม่ว่าจะมีค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมหรือไม่แบบ Opensea, Blur และ Sudoswap
ถ้าพิจารณาดูโครงสร้างรายได้ของ Robinhood จะเห็นได้ว่า 60% ของรายได้ 1.35 พันล้านเหรียญมาจาก Payment for Order Flow หรือ PFOF 31% มาจากดอกเบี้ยและรายได้รวม 9% มาจากแหล่งรายได้อื่นๆ
PFOF หมายถึงรายได้ของ Robinhood จากการขายข้อมูลการทำธุรกรรมทันเวลาจริงของลูกค้าให้กับตัวเก็บเงินที่ให้สั่งให้มีเหลืออยู่ในตลาดผ่านการซื้อขายคำสั่งแบบเร็วมาก รายได้จากดอกเบี้ยแสดงถึงดอกเบี้ยที่ได้รับจากเงินฝากของลูกค้า ขณะที่รายได้อื่น ๆ ได้มาจากบริการต่างๆ เช่น บริการสมาชิก Robinhood Gold การให้ยืมหลักทรัพย์ และค่าธรรมเนียมบัตรเดบิต

เนื่องจาก NFT มีจำนวนจำกัดและการซื้อขายในส่วนใหญ่ใช้วิธีการเก็บรักษาโดยตนเอง (Self-custody) จึงไม่น่าจะมีโอกาสในการสร้างรายได้จาก Payment for Order Flow (PFOF) และดอกเบี้ย อย่างที่ Robinhood ทำได้
ดังนั้น แพลตฟอร์ม NFT จึงมีโอกาสสร้างรายได้จากแหล่งทางรายได้อื่น ๆ เช่น บริการสมาชิกและบริการให้ยืมหลักทรัพย์
แม้ว่ารายได้อื่น ๆ ของ Robinhood จะเป็นเพียง 9% ของรายได้ทั้งหมด แต่ถ้าพิจารณาจากสำนักงานการเงินของ OpenSea ในไตรมาสที่ 4 ปี 2022 มีรายได้ $24 ล้าน จำนวนรายได้ประจำปีอยู่ที่ $120 ล้านก็สามารถนำมาเปรียบเทียบเคียงกับ Robinhoodดังนี้
- บริการสมาชิก: Robinhood Gold เป็นบริการสมาชิกรายเดือนที่มีราคา 5 เหรียญ ให้การเข้าถึงข้อมูลตลาด NASDAQ Level 2, รายงานวิจัยของ Morningstar, เพิ่มเพดานการฝากเงินโดยตรงให้สูงขึ้น, ส่วนลดการซื้อขายสินทรัพย์ต่อเพิ่มเติมและประโยชน์ที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนอื่นๆ ในทางเดียวกัน NFT Exchange สามารถทดลองการให้บริการสมาชิกที่มีประโยชน์ต่าง ๆ เช่น เครื่องมือวิเคราะห์ขั้นสูง, การป้องกัน MEV, รายงานวิจัย NFT และการเข้าร่วมใน Launchpad
- เปิดตัวบริการ DApp เกี่ยวกับ NFT: Robinhood ได้กำไรจากการให้ยืมหลักทรัพย์ หากนำมาพลิกแพลงกัน NFT Exchange ก็สามารถทำเช่นกันโดยการเปิดตัวบริการ DApp เกี่ยวกับ NFT Bridge หรือ NFTfi Dapp เช่น NFT landing, การแบ่งส่วน (Fractional Investment), Derivatives, BNPL และการวิเคราะห์ทัศนคติ เพื่อเพิ่มความหลากหลายในการสร้างรายได้และขยายธุรกิจ ปริมาณรวมของการ Landing NFT เมื่อวันที่ 6 มีนาคมมีประมาณรวม 802 ล้านเหรียญ เป็นสัญญาณที่ชัดเจนว่าตลาดมีขนาดใหญ่ อีกทั้งเราเชื่อว่ามีโอกาสในการเพิ่มประสิทธิภาพสูงสุดในธุรกิจทั้งสองด้านโดยการรวมบริการเหล่านี้ด้วยกันบน L2/wallet ที่ถูกเสนอไว้ก่อนหน้านี้

ปิดท้าย
Blur ได้ประสบความสำเร็จในการแย่งส่วนแบ่งตลาดจาก OpenSea โดยใช้ค่าธรรมเนียมต่ำและการแจก Airdrop เป็นประโยชน์ในการแข่งขัน นอกเหนือจากนั้น Blur ยังคงมีการแจก Airdrop เพิ่มเติมให้กับผู้ที่มาใช้งาน และให้สภาพคล่องกับแพลตฟอร์มอีกด้วย
แต่จากที่ได้เห็นกันมาในเคสสมัยก่อนแม้แต่ในตลาด DeFi เอง ไม่เคยมีเคสไหนที่พยายามทำ Vampire Attack และสำเร็จมาก่อน
การใช้ Airdrop ในการแจกเพื่อดึงดูดให้คนเข้ามาใช้งานมีผลระยะสั้นเกินไป ยิ่งไปกว่านั้น หากขึ้นไปอยู่บนตำแหน่งที่สูงได้ การพยายามคงให้อยู่ด้านบนไปตลอดเป็นเรื่องที่ยากมาก ซึ่งเมื่อ Blur พยายามจะหาทางคงอยู่ด้านบน Opensea ก็จะหาทางสู้ต่อไปเรื่อยๆ จนในที่สุด เราก็อาจจะได้เห็นการมาของเหรียญ $SEA ของ Opensea จริงๆซักวัน
ในขณะนี้ที่ตลาด Macro ยังคงมีความท้าทาย ในเวลาเดียวกันค่าธรรมเนียมบนแพลตฟอร์มยังพยายามสู้กันกดลงจนไปใกล้ 0% ความสวนทางกันนี้เองเป็นเรื่องที่ต้องคำนึงถึงความยั่งยืนและความอยู่รอดของ NFT Exchange เหล่านี้ การกระจายความเสี่ยงทางธุรกิจและการสร้างจุดเด่นให้ตัวเองเป็นเรื่องที่สำคัญมาก
หนึ่งในวิธีคือการสร้างระบบนิเวศน์ตัวเอง และสร้างบริการสมาชิกต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น L2, wallet, NFTfi Dapp ต่างๆ
การต่อสู้นี้เองจะกลายเป็นจุดผลักดันที่ทำให้แพลตฟอร์ม NFT ต่างๆพัฒนาและก้าวเข้าสู่ความยั่งยืนในยุคถัดไป