Binance (ผู้ออกเหรียญ BNB) คือ Centralized Exchange (CEX) อันดับหนึ่ง ซึ่งจากเหตุการณ์ที่ FTX ล่มสลายและได้ยื่นล้มละลายไปในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2022 ที่ผ่านมา ส่งผลให้นักลงทุนจำนวนกว่าแสนคนเสียหาย ประมาณการมูลค่าความเสียหายรวมในช่วงประมาณ 10,000-50,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งถือเป็นเหตุการณ์ Black Swan ที่ใหญ่ที่สุดในวงการ Cryptocurrency ส่วนหนึ่งเป็นเพราะ FTX เป็น Exchange อันดับสองของโลกที่มีความน่าเชื่อถือสูง โดยมีกองทุนรายใหญ่ต่างๆใช้บริการจำนวนมาก จึงไม่มีใครคาดคิดมาก่อนว่าจะเกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้น โดยจากเหตุการณ์ดังกล่าวทำให้เหรียญ FTT ที่เป็นเหรียญของ FTX Exchange ราคาร่วงกว่า 90% และราคาเหรียญ SOL ที่เป็น Blockchain Layer 1 ที่ลงทุนโดย FTX ลดลงกว่า 50% ภายในเวลาไม่กี่วัน
ด้วยเหตุนี้ ทำให้หลายๆคนก็ตั้งคำถามถึงความเสี่ยงในการลงทุนเหรียญ Exchange อื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเหรียญ BNB ของเว็บเทรด Binance ที่เป็น Exchange อันดับหนึ่ง ที่มีโมเดลธุรกิจที่คล้ายคลึงกันกับ FTX เช่น มีเหรียญ Utility Token สำหรับลดค่าธรรมเนียมการเทรดและมีการลงทุนใน Blockchain Layer 1 อย่าง BNB Chain ดังนั้นในช่วงเวลาแบบนี้จึงน่าสนใจที่จะมาเจาะลึกเหรียญ BNB กันว่ามีโอกาสและความเสี่ยงอะไรบ้าง
Binance Introduction
เหรียญ BNB เป็นเหรียญที่ออกโดย Binance ที่เป็น Exchange อันดับหนึ่งของโลกในปัจจุบัน โดยมีส่วนแบ่ง Volume ของ Spot Trading มากกว่า 50% (ข้อมูลเดือนพฤษภาคม – กรกฎาคม 2022) และมีจำนวนคู่เหรียญเทรดมากที่สุดเป็นอันดับหนึ่งเทียบกับ Exchange อื่นๆ ทำให้ Binance เป็น Exchange ที่มี Liquidity สูงที่สุด ซึ่งนอกจาก Spot Trading แล้ว ทาง Binance ยังมีให้บริการเทรด Derivatives และบริการอื่นๆที่หลากหลาย
นอกจากนี้ การ IEO บน Binance Launchpad ยังให้ผลตอบแทนแก่นักลงทุนในระดับสูงสุดเทียบกับ Exchange อื่นอย่างเช่น KuCoin, Huobi, BitMart โดยอ้างอิงข้อมูลจาก Cryptorank เผยว่าผลตอบแทนเฉลี่ยย้อนหลังสูงถึง 2000% โดย 7 อันดับของโปรเจกต์ที่เปิดตัวบน Binance Launchpad และให้ผลตอบแทนสูงสุด 7 อันดับแรกคือ Polygon, Axie Infinity, The Sandbox, MultiversX, StepN, WazirX และ Cartesi ยกตัวอย่างในกรณีของ Polygon ที่ให้ผลตอบแทนที่ราคา All-time High สูงถึง 1105 เท่า และผลตอบแทนที่อ้างอิงราคา ณ วันที่ 23 พฤศจิกายน 2022 สูงถึง 329 เท่า
โดยสำหรับเหรียญ BNB ในตอนแรก มี คือการใช้เพื่อลดค่าธรรมเนียมการเทรดบน Binance และมีการแบ่งกำไร 20% จากธุรกิจกระดานเทรดเพื่อซื้อเหรียญ BNB จากตลาดและมาเผาเพื่อลด Supply ในทุกไตรมาสด้วย เรียกว่า Quarterly Burn แต่ในภายหลังมีโมเดลการเผาที่เปลี่ยนไปซึ่งจะอธิบายในตอนหลัง
ส่วน Use Case อีกอย่างที่มีชื่อเสียงของ BNB ก็คือการนำไปใช้กับ Launchpad ของเว็บเทรด Binance ซึ่งก็คือการที่ผู้ถือเหรียญสามารถนำเหรียญ BNB ไปวางเพื่อซื้อเหรียญของโปรเจกต์ต่างๆที่มาเปิดตัวและระดมทุนผ่าน Binance ที่เรียกว่า Initial Exchange Offerings (IEO) โดยตั้งแต่เปิดตัว Launchpad มาตั้งแต่ปี 2019 ก็ได้มีโปรเจกต์มากกว่า 60 โปรเจกต์ที่มาระดมทุน IEO กับทาง Binance ยกตัวอย่างโปรเจกต์ที่สร้างผลตอบแทนสูงสุดในปี 2022 คือโปรเจกต์ STEPN ที่เป็นโปรเจกต์ Move-to-Earn ซึ่งเปิดตัวไปเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา สร้างผลตอบแทนให้กับนักลงทุนที่เข้าร่วม Launchpad มากถึง 300% ภายในสี่สัปดาห์
หรือจะเป็นอีกหนึ่ง Use Case ที่เรียกว่า Binance Launchpool ที่ผู้ใช้งานสามารถนำเหรียญ BNB ไป Stake ใน Liquidity Pool เพื่อรับรางวัลเป็นเหรียญของโปรเจกต์ต่างๆ ยกตัวอย่างเช่น โปรเจกต์ Hashflow ที่เป็น Crosschain DEX ที่กำลังเปิด Lauchpool ในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2022 โดยให้ผลตอบแทนประมาณ 3.51% เป็นเหรียญ HFT สำหรับผู้ Stake เหรียญ BNB
นอกจากการใข้งานภายใน CEX ที่กล่าวไปข้างต้น ภายหลังที่จาก Binance เปิดตัว Binance Chain และ Binance Smart Chain ในเดือนเมษายน 2019 เหรียญ BNB ก็มี Use Case เพิ่มเติมขึ้นมาคือใช้เป็น Gas Fee สำหรับการทำธุรกรรมบนเชนดังกล่าว
โดย Binance Chain จะใช้สำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการ Staking และการโหวต Proposal ต่างๆ ส่วน Binance Smart Chain นั้นเป็น Blockchain Layer 1 ที่รองรับ Smart Contracts สำหรับให้นักพัฒนามาสร้าง DApps ต่างๆได้ ซึ่งตอนนั้น Binance Smart Chain ได้ถูกเปิดตัวออกมาเพื่อแก้ปัญหาของ Ethereum ที่เกิดปัญหาความแออัดและค่าทำธุรกรรมที่แพงนั่นเอง
โดยในปี 2021 เชน Binance Smart Chain ก็เรียกได้ว่าเป็นบล็อคเชนที่เป็นที่นิยมอย่างมากด้วยค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมที่ถูกกว่า Ethereum มากถึง 82 เท่า ซึ่งค่าธรรมเนียมของ Ethereum เฉลี่ยอยู่ที่ $1.67 ส่วนค่าธรรมเนียมของ Binance Smart Chain เฉลี่ยอยู่ที่ $0.02 เท่านั้น (อ้างอิงจากเว็บไซต์ BscScan), ใช้วิธีการยืนยันธุรกรรมแบบ Proof of Stake ซึ่งมีการประหยัดพลังงานและยั่งยืนต่อสิ่งแวดล้อมในระยะยาวมากกว่า และรองรับ Ethereum Virtual Machine (EVM) ซึ่งทำให้นักพัฒนาสามารถนำ DApps จากฝั่ง Ethereum เข้ามาใส่ไว้ในเครือข่าย BSC ได้เลย จากเหตุผลเหล่านี้ จึงทำให้เม็ดเงินจาก Ethereum รวมถึงเม็ดเงินจากนักลงทุนต่างๆที่กำลังเข้าสู่กระแส DeFi ต่างพากันนำเงินมาฝากไว้กับ Binance Smart Chain กันเป็นจำนวนมาก จึงทำให้ในช่วงพีคที่สุด Binance Smart Chain มียอด Active Address มากถึง 2,271,060 Address มีจำนวน Total Transaction มากที่สุดถึงวันละ 16,262,505 ธุรกรรมเลยทีเดียว
ล่าสุดเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2022 ที่ผ่านมาทาง Binance ก็ได้ทำการ Rebrand จาก Binance Chain เป็น BNB Beacon Chain และจาก Binance Smart Chain เป็น BNB Smart Chain และทั้งสองมีชื่อรวมเรียกว่า BNB Chain นอกจากนี้ยังเปลี่ยนชื่อเหรียญ BNB ที่เดิมทีมีชื่อว่า Binance Coin เปลี่ยนเป็นชื่อใหม่ว่า “Build and Build” โดยการ Rebrand ครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่ออัพเกรดให้รองรับ Multichain และ Sidechain นอกจากนี้ยังมีการเพิ่มจำนวนผู้ยืนยันธุรกรรม (Validator Nodes) จาก 21 Node เพิ่มขึ้นเป็น 41 Node เพื่อเสริมความปลอดภัย ความ Decentralize และเพิ่มประสิทธิภาพในการยืนยันธุรกรรมอีกด้วย
จุดประสงค์อื่นที่น่าสนใจของการ Rebrandในครั้งนี้ คือเพื่อการพัฒนา Layer 1 Infrastructure ของ BNB Chain ให้กลายเป็นสิ่งที่เรียกว่า “MetaFi” ซึ่งเป็นความมุ่งมั่นของทาง Binance ที่จะควบรวมและพัฒนาโปรเจกต์ Metaverse, DeFi, GameFi, และ NFT ให้สามารถเข้ามาอยู่ใน Ecosystem ของ BNB Chain ได้อย่างมีศักยภาพสูงสุด สำหรับรายละเอียดอื่นๆเกี่ยวกับ Roadmap ของ BSC2022 สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่: Link
สถานการณ์ของ Binance BNB Chain
ถ้าย้อนไปดูจำนวนเม็ดเงินที่ถูกฝาก (Total Value Locked) ไว้ใน Binance Smart Chain ในช่วงที่พีคที่สุดคือเดือนพฤษภาคม 2021 อยู่ที่ราวๆ 21,750 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เทียบกับในปัจจุบันในวันที่ 17 พฤศจิกายน 2022 ที่ลดลงเหลือ 5.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ถือว่าเป็นการลดลงกว่า 76% ซึ่งถือว่าเป็นการปรับลดลงตามสภาพตลาดที่ เศรษฐกิจมหภาคทั่วโลกก็กำลังอยู่ในจุดตกต่ำ เม็ดเงินจากสินทรัพย์เสี่ยงสูงไหลไปสู่สินทรัพย์เสี่ยงต่ำ เม็ดเงินลงทุนใน DeFi ก็ลดน้อยลงอย่างมหาศาล โดยเมื่อเทียบกับเชนผู้นำอย่าง Ethereum ก็มี TVL ลดลงใกล้เคียงกันที่ 76% แต่ถ้าเทียบกับเชนอื่นๆอย่าง Avalanche, Solana, Polygon ที่ปรับลงลงระดับ 80-90% ก็ถือว่า BNB Chain มีความแข็งแกร่งและยังแสดงถึงความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่อของเครือข่าย BNB Chain เป็นอย่างมาก และโดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าดูจากปริมาณ Transaction ต่อวันและ Daily Active Address จะเห็นว่า BNB Chain มีจำนวนสูงที่สุดเมื่อเทียบกับเชนอื่นๆ เช่น Ethereum, Avalanche, Polygon, Arbitrum และ Fantom
ถ้าดูจาก Top 10 DApps บน BNB Chain จะเห็นว่า PancakeSwap เป็น DApp อันดับหนึ่งซึ่งกินส่วนแบ่ง TVL สูงถึง 52% ซึ่งอาจจะดูน่ากังวลอยู่บ้าง เพราะว่า PancakeSwap ครองอันดับหนึ่งมาโดยตลอด โดยไม่มี DApp อื่นที่จะตีตื้นมาได้เลย ทำให้ถ้าเกิดเหตุการณ์ที่ทำให้ PancakeSwap ต้องล่มสลายไป ก็จะส่งผลกระทบต่อ BNB Chain อย่างมาก อย่างไรก็ตามทาง BNB Chain ก็น่าจะทราบในปัญหาข้อนี้ จึงได้มีการพยายามสร้างพัฒนาการต่างๆอย่างต่อเนื่อง เพื่อขยายการใช้งานไปสู่ DApps อื่นๆมากขึ้น
ตัวอย่างพัฒนาการของ BNB Chain เช่น การใช้ Ecosystem Fund มูลค่า 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐที่ได้รับจาก Binance เมื่อเดือนตุลาคม 2021 เพื่อลงทุนในโปรเจกต์ที่มาพัฒนาบน BNB Chain นอกจากนี้ทาง BNB Chain ยังเปิดตัว MVB V Acceralator Program เพื่อให้ความช่วยเหลือโปรเจกต์ในการพัฒนา Product โดยใน Q3 2022 ที่ผ่านมามี 27 โปรเจกต์ได้รับการคัดเลือกจากจำนวนผู้สมัครกว่า 650 ราย
อย่างล่าสุดก็มีโปรเจกต์ DeFi เพิ่งมาเปิดตัวบน BNB Chain เมื่อช่วง Q3 2022 ที่ผ่านมาเช่น Stader, pStake Finance, Ankr ที่ให้บริการ Liquid Staking เหรียญ BNB โดย TVL บน Ankr ก็เติบโตอย่างรวดเร็วโดยในปัจจุบันมี TVL สูงถึง 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
โดยนอกจาก DeFi แล้ว ในปีนี้ทาง BNB Chain ก็ได้มีความพยายามที่จะขยายการใช้งานไปที่ GameFi, NFT และ Metaverse มากขึ้น สอดคล้องกับแผนการของ BNB Chain ที่จะพัฒนา Scaling Solution ที่รองรับจำนวนการทำธุรรมได้จำนวนมากและรวดเร็วมากขึ้น อย่างเช่น zkRollups และ Sidechain โดยใน Q3 ที่ผ่านมา GameFi บน BNB Chain มีความโดดเด่นในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งข้อมูลจาก DappRadar ใน Q3 2022 ระบุว่า BNB Chain กินส่วนแบ่ง Market Share เป็นอันดับหนึ่งใน GameFi มากถึง 36.6% ตามมาด้วยอันดับสองและอันดับสามอย่าง Ethereum และ Polygon ที่ 20.2% และ 11.8% ตามลำดับ
Tokenomics, การ Burn เหรียญ BNB และ Valuation
ในเดือนกรกฎาคม 2017 เหรียญ BNB มี Total Supply ทั้งหมด 200 ล้าน BNB โดยถูกแบ่งเข้า Binance Team 40%, Angel Investor 10%, และ ICO 50% (โดยมีราคา ICO อยู่ที่ $0.15) ซึ่งในปัจจุบันเหรียญ BNB ไม่มีส่วนที่ถูก Lock เพราะถูกปลดออกมาทั้งหมดแล้ว โดยในส่วน 40% หรือ 20 ล้าน BNB ที่ถูกแบ่งเข้า Binance Team จะนำไว้ใช้เป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินการต่างๆ เช่น เงินเดือนพนักงาน เป็นต้น
สำหรับในส่วนของ BNB Chain ถ้าดูจาก Metrics ต่างๆจะเห็นว่า BNB Chain ยังถือว่าเป็นเชนที่มีความแข็งแกร่งเสมอมา ส่วนอีกจุดเด่นสำคัญของเหรียญ BNB คือเป็นเหรียญที่มีการ Burn อย่างต่อเนื่อง จนเรียกได้ว่าเป็นเหรียญ Deflationary หรือเหรียญที่มีอัตราการเผามากกว่าอัตราผลิต ซึ่งการเผาเหรียญถือเป็นการเพิ่ม Value ให้กับผู้ถือเหรียญ BNB ได้ ถ้าเทียบกับการลงทุนในหุ้นก็เหมือนกับการที่บริษัทซื้อหุ้นคืนนั่นเอง ในพาร์ทนี้จะไปเจาะลึกกันว่า Model การเผาเหรียญ BNB เป็นอย่างไร
ระบบการ Quarterly Burn ของเหรียญ BNB ที่จากเดิมขึ้นอยู่กับรายได้ที่เกิดขึ้นบน Exchange อย่างเดียว ภายหลังก็เปลี่ยนแปลงไปในไตรมาสสุดท้ายของปี 2021 ที่ทาง Binance ได้ประกาศเปลี่ยนระบบการเผาจาก Quarterly Burn กลายเป็น Quarterly Auto Burn ตามคำเรียกร้องจาก Community ที่มีความต้องการให้ระบบการเผามีความโปร่งใสมากขึ้นและได้รับประโยชน์จากการใข้งานที่เกิดขึ้นบน BNB Chain ด้วย โดยอัตราการเผาเหรียญ BNB ตามระบบของ Auto Burn จะขึ้นมีสูตรคำนวณตายตัวที่จะขึ้นกับจำนวน Block ที่ผลิตบน BNB Chain และราคาเหรียญ BNB โดยถ้าดูจากสูตรคำนวณก็จะเห็นว่าจำนวน Block จะแปรผันตรงกับจำนวน BNB ที่จะเผาในแต่ละไตรมาส ซึ่งหมายความว่ายิ่งจำนวน Block ผลิตเยอะก็จะยิ่งทำให้เหรียญ BNB ถูกเผามากขึ้นนั่นเอง ในทางตรงข้าม จำนวนการเผาเหรียญ BNB จะแปรผกผันกับราคาเหรียญ BNB ซึ่งหมายความว่า ถ้าราคา BNB ยิ่งต่ำก็จะยิ่งทำให้มีการเผามากขึ้น โดยทาง Binance จะยกเลิก Quarterly Auto Burn เมื่อ Total Supply ของ BNB เหลือต่ำกว่า 100 ล้าน BNB
นอกจาก Quarterly Auto Burn แล้ว ยังมีการเผาเหรียญ BNB อีกอย่างที่เรียกว่า Real-time Burn ซึ่งในส่วนนี้จะเป็นการเผารายได้ (Revenue) ที่เกิดขึ้นบน BNB Chain โดยรายได้ของ BNB Chain นั้นเกิดจากการทำธุรกรรมต่างๆภายในเชนที่ค่าทำธุรกรรมต่างๆจะถูกจ่ายเป็นเหรียญ BNB ซึ่ง Revenue ดังกล่าวจะถูกนำไปจ่ายให้กับ Validator โดยแบ่ง 10% (10% เป็นตัวเลข Default เริ่มต้นเท่านั้น อัตราส่วนการ Burn สามารถเปลี่ยนแปลงได้ผ่าน Governance) เพื่อนำไป Burn เหรียญ BNB ทิ้งออกจากระบบ ซึ่งส่วนนี้เองที่เรียกว่า Real-time burn
ซึ่งจากข้อมูลในวันที่ 17 ตุลาคม 2022 ทาง Binance ก็ได้ทำการเผาเหรียญ BNB รายไตรมาสไปทั้งหมด 21 ครั้ง เมื่อรวมกับ Real-time Burn แล้วทำให้ในปัจจุบันมีเหรียญ BNB ถูกเผาออกไปทั้งหมด 42,026,251.04 BNB จาก Total Supply ที่ 202,000,000 BNB ทำให้ตอนนี้มี Circulating Supply เหลืออยู่ที่ 159,973,748.96 BNB โดยค่าเฉลี่ยการเผา BNB ต่อไตรมาสจะอยู่ที่ประมาณ 2,000,000 BNB ดังนั้นถ้าเราตั้งสมมติฐานว่าอัตราการเผาคงที่ในทุกไตรมาส จะใช้เวลาในการเผาอีกราวๆ 30 ไตรมาสหรือ 7 ปีครึ่งในการลด BNB Supply ให้เหลือต่ำกว่า 100 ล้าน BNB ซึ่งถ้าการใช้งานบนเชนเติบโตขึ้นก็จะช่วยให้ใช้เวลาลดลงตามไปด้วย
อ้างอิงข้อมูลจาก Cryptofees.info พบว่าในปี 2022 ที่ผ่านมาตั้งแต่เดือนมกราคม-ตุลาคม 2022 เชน BNB Chain สามารถเก็บค่า Transaction Fee เฉลี่ยรายวันอยู่ที่ประมาณ 1.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐซึ่งคิดเป็นรายปีประมาณ 401 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยถ้าจะทำการประเมินราคาเหรียญ BNB เบื้องต้น เราจะตั้งสมมติฐานว่า P/S Ratio ที่เหมาะสมของเหรียญ BNB ในอนาคตของเหรียญ BNB จะใกล้เคียงกับบริษัทเทคฯที่ยังมีการเติบโตคือที่ประมาณ P/S = 100 (ปัจจุบัน P/S ของ BNB อยู่ที่ประมาณ 190) โดยจะแบ่งการประเมินมูลค่าออกเป็น 3 กรณีดังนี้
- ค่า Fee ไม่เปลี่ยนแปลงนับจากปีนี้ถึงปี 2029
- ค่า Fee เพิ่มขึ้นปีละ 5% จนถึงปี 2029
- ค่า Fee เพิ่มขึ้นปีละ 10% จนถึงปี 2029
สมมติฐานเพิ่มเติม: เหรียญ BNB จะมี Total Supply เหลือที่ 100,000,000 BNB อีก 7 ปีข้างหน้าจาก Quarterly Auto Burn และ Real-time Burn
โดยจากตารางข้างต้นจะเห็นว่าจากสมมติฐานทั้งสาม ราคาเหรียญ BNB ในปี 2029 จะมีมูลค่าเป็น $402, $565 และ $782 ตามลำดับ อย่างไรก็ตามราคาที่คำนวณออกมานั้นขึ้นอบู่กับสมมติฐานหลายอย่าง ซึ่งอาจจะคลาดเคลื่อนได้ ซึ่งถ้าอ้างอิงจากตารางสรุป Use Case ของเหรียญ BNB ด้านบนจะเห็นว่า การเผาเหรียญ BNB นั้นขึ้นกับการใช้งานบน BNB Chain เพียงอย่างเดียวเท่านั้น ส่วนการใช้งานอื่นๆเช่น ค่า Trading Fee บน Binace ก็ไม่ได้มีผลกับการเผาเหรียญ BNB ดังนั้น ถ้าอัตราการเผาลดลงจากการใช้งานที่ลดลง เพราะมีเชนคู่แข่งเกิดขึ้นในอนาคต ก็จะทำให้มีผลต่อการทำนายมูลค่าได้
ความเสี่ยงของเหรียญ BNB และ Binance
เนื่องมาจากว่าเหรียญ BNB เป็นเหรียญที่มีความเชื่อมโยงกับ Binance Exchange โดยตรง ดังนั้นความเสี่ยงหลักๆอย่างแรกที่นักลงทุนควรคำนึงถึงคือความเสี่ยงที่มาจากตัว Exchange เองที่มีความเป็น Centralized Entity อยู่ ทำให้ข้อมูลทางการเงินไม่ได้เป็นข้อมูลสาธารณะที่มีความโปร่งใสและตรวจสอบได้แบบ Blockchain ดังที่ได้เห็นกันไปแล้วแบบ Worst Case ที่เกิดกับ FTX ไป
ซึ่งก่อนหน้านี้ทาง Binance ก็ได้แสดงเจตจำนงค์ที่จะแสดงความโปร่งใสโดยการแจ้งเลข Wallet ที่ทาง Binance ใช้ถือ Asset ออกมาเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2022 ที่ผ่านมา ซึ่งอ้างอิงจากข้อมูลของ Nansen จะเห็นว่าทาง Binance มีเงินในคลังทั้งหมดมูลค่า 6.43 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเงินในคลังประกอบด้วย BUSD 33.69%, USDT 21.29%, BTC 10.65%, ETH 9.45%, BNB 9.35% ซึ่งจากเงินในคลังจะเห็นว่าประกอบด้วย Stablecoin เป็น BUSD และ USDT อยู่ที่ราวๆ 55% และส่วนอื่นๆก็ประกอบด้วยเหรียญที่มีความแข็งแกร่งอย่าง BTC, ETH และ BNB เป็นหลัก แต่ถ้าเราพิจารณากันถึงความเสี่ยงแล้วจะเห็นว่าประกอบด้วยเหรียญที่ทาง Binance ออกเองอย่าง BNB และ BUSD ถึง 43% ซึ่งก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า เหรียญนี้ขึ้นกับชื่อเสียงและความน่าเชื่อถือของ Binance เป็นหลัก ถ้าเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้นมา เหรียญ BNB และ BUSD ก็คงจะสูญเสียมูลค่าไปไม่มากก็น้อยเลย
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่สำคัญไม่น้อยไปกว่า Proof of Reserve ก็คือ ข้อมูลเงินฝากของลูกค้าว่ามีจำนวนเท่าไหร่ และสัดส่วนหนี้สิน (Proof of Liability) ซึ่งจะต้องใช้พิจารณาควบคู่ประกอบกันว่า เมื่อเกิดวิกฤตที่ทำให้ลูกค้ามาแห่ถอนเงินพร้อมกัน ทาง Binance จะมีสภาพคล่องเพียงพอหรือไม่ และเนื่องจากว่าข้อมูลเหล่านี้ยังไม่ได้เปิดเผยสู่สาธารณะ เราจึงไม่สามารถประเมินความเสี่ยงที่แท้จริงได้เลย อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Proof of Reserve ได้ที่: Proof of Reserve และ Safe CEX คืออะไร – Cryptomind Group
อัพเดทล่าสุดเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2022 ที่ผ่านมาทาง Binance ก็ได้เผยแพร่ Proof of Reserve ตาม Merkle Tree อย่างเป็นทางการโดยเริ่มจากเหรียญ BTC ก่อนเป็นตัวแรก ซึ่งจากข้อมูลจะเห็นว่าจำนวน On-Chain Reserve ของเหรียญ BTC มีจำนวนมากกว่า Customer Net Balance เป็นอัตราส่วนเท่ากับ 101% ซึ่งถ้าดูจากตัวเลขก็ถือว่าอยู่ในระดับปลอดภัย โดยทาง Binance จะทำการประกาศเหรียญอื่นๆเพิ่มเติมอีกภายใน 2-3 สัปดาห์ข้างหน้า นอกจากนี้เพื่อเป็นการเพิ่มความมั่นใจให้แก่นักลงทุน ทาง Binance ยังประกาศว่าจะเพิ่มการตรวจสอบและ Audit ผล PoR จาก Third Party และจะใช้เทคโนโลยี ZK-SNARKS ที่จะมาช่วยเพิ่มความเป็นส่วนตัวและป้องกันการสร้างกระเป๋าหลอกของ Exchange ได้ด้วย ซึ่งการที่ทาง Binance ออกมาประกาศ PoR อย่างเป็นทางการได้อย่างรวดเร็วก็ถือเป็นเรื่องที่ดีและน่าจะเรียกความเชื่อมั่นได้ในระดับหนึ่ง ซึ่งก็ต้องคอยติดตามการประกาศ PoR ตัวต่อๆไปที่จะทยอยออกมาอย่างใกล้ชิด
โดยเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2022 ที่ผ่านมาก็มีข่าวว่ามีบริษัท Audit ที่ชื่อว่า Mazars ออกมาให้ความเห็นในกรณีของ POR ที่ทาง Binance ประกาศไปก่อนหน้า ว่า POR ของ Binance นั้นดูมีความน่าสงสัย และโต้แย้งว่าทาง Binance มีจำนวน On-Chain Reserve ของเหรียญ BTC ต่อจำนวน Customer Net Balance อยู่เพียง 97% ไม่ใช่ 101% ตามที่ทาง Binance ออกมาประกาศ ซึ่งตัวเลข 101% ที่แจ้งมานั้นรวม BTC ที่ถูกปล่อยกู้ให้กับ Margin Account ด้วย ซึ่งทาง Binance ก็ยังไม่ได้ออกมาตอบโต้อะไร แต่ก็ถือว่าเป็นสถานการณ์ที่ต้องจับตามอง
ความเสี่ยงที่สำคัญอีกอย่างคือ Key-man Risk เพราะก็ต้องยอมรับว่าความน่าเชื่อถือของการดำเนินธุรกิจไม่ว่าจะเป็นบน Binance CEX หรือ BNB Chain ขึ้นอยู่กับคุณ Changpeng Zhao หรือ CZ เป็นอย่างมาก เรียกได้ว่าถ้ามีเหตุการณ์อะไรก็ตามที่เกิดขึ้นแล้วลดความน่าเชื่อถือของ CZ ลง ก็จะส่งผลกระทบกับราคาเหรียญ BNB อย่างแน่นอน
อีกความเสี่ยงนั้นก็เป็นความเสี่ยงที่เกิดจาก User Adoption ที่จริงๆแล้วสามาถเปลี่ยนแปลงได้รวดเร็ว เพราะในอนาคตก็อาจจะมี Exchange เกิดใหม่มาโค่น Binance ไปก็ได้ อย่างถ้าเราย้อนไปดูอดีตในปี 2017 และ 2018 ก็ไม่มีใครคาดคิดว่าจะมีใครมาโค่น Poloniex และ Bittrex ได้ แต่แล้วในปี 2019 ที่ Binance ก็มาชิงอันดับหนึ่งของเว็บเทรดคริปโทฯไปได้ ภาพในอดีตเป็นการแสดงให้เห็นว่า User Adoption เปลี่ยนแปลงไปได้เสมอ และนักลงทุนควรคำนึงถึงความเสี่ยงตรงนี้ไว้ด้วย
ส่วนความเสี่ยงอื่นๆที่สำคัญไม่แพ้กันคือ Regulation Risk ซึ่งในปัจจุบันอุตสาหกรรม Cryptocurrency โดยรวมนั้นถือว่ายังไม่ได้ถูก Regulate รวมถึงกระดานเทรด Binance ด้วย ซึ่งถ้าเราติดตามข่าวสารที่ผ่านมาก็มีข่าวการสอบสวนเหรียญ BNB ว่าถูกออกโดยวิธีการที่ถูกต้องหรือไม่ โดยทาง SEC มองว่าเหรียญ BNB เป็นควรจะเป็น Security หรือหลักทรัพย์ ซึ่งถ้าเป็นแบบนั้นจริงก็หมายความว่าการออกเหรียญ BNB ในปี 2017 นั้นผิดกฎหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเหตุการณ์ที่เกิดกับ FTX อาจทำให้ Regulator ตื่นตัวมากขึ้นหลังจากนี้ อย่างล่าสุดที่ผ่านมาเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2022 ก็มีข่าวออกมาว่า CZ อาจจะถูกตั้งข้อหาคดีอาญาในสหรัฐฯเกี่ยวกับการฟอกเงิน ซึ่งประเด็นการฟอกเงินของ Binance นี้มีมาตั้งแต่ปี 2018 แล้ว ล่าสุดก็กำลังมีประเด็นถูกฟ้องจาก SEC US อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่
โดยที่ทาง Binance ก็อาจจะทราบความเสี่ยงในจุดนี้ดี จึงได้พยายามให้ความร่วมมือกับ Regulator ในหลายๆด้าน และเมื่อเดือนกันยายน 2022 ที่ผ่านมาทาง Binance ก็ได้ก่อตั้ง Global Advisory Board (GAB) ขึ้นมา โดยตั้งคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญด้าน Regulation จากทั่วโลกเพื่อมาเป็นที่ปรึกษาให้กับทาง Binance นอกจากนี้ยังเป็นการแสดงเจตจำนงค์ด้านความโปร่งใสและความร่วมมือทางด้านกฎหมายกับทุกฝ่าย
หรือจะเป็นความพยายามในด้านอื่นๆเช่น การเปลี่ยนชื่อจาก Binance Smart Chain ไปเป็น BNB Chain (Build and Build) เพื่อพยายามจะตัดขาดความสัมพันธ์จากเว็บเทรด Binance และเป็น Blockchain Layer 1 ที่มีความ Decentralize มากขึ้น โดยมีการเปลี่ยนแปลงกระบวนการ Quarterly Burn ให้ไม่ขึ้นกับกิจกรรมหรือรายได้บน CEX แต่เป็นการ Burn ที่ขึ้นกับกิจกรรมบน BNB Chain ที่มีความโปร่งใสมากขึ้นตามรายละเอียดที่กล่าวไปข้างต้น จึงไม่แน่ว่าวันหนึ่งในอนาคต BNB Chain จะบรรลุเป้าหมายและเหรียญ BNB จะอยู่ต่อไปได้โดยไม่ขึ้นกับความเสี่ยงของ Exchange ก็ได้
ส่วนที่เหลือก็เป็นความเสี่ยงที่มาจากของ BNB Chain อย่างเช่น การถูกแฮ็ค อย่างกรณีที่เกิดขึ้นเมื่อเดือนตุลาคม 2022 ที่ผ่านมามีการแฮ็คเกิดขึ้นบน BNB Chain Cross-chain Bridge โดยรวมความเสียหายทั้งหมดประมาณ 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (แต่โอนออกไปได้จริงแค่ 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) สาเหตุเกิดมาจาก Bug บน Smart Contract ทำให้แฮคเกอร์สามารถสร้างเหรียญ BNB ขึ้นมาได้แบบฟรีๆ ซึ่งพอเกิดเหตุดังกล่าวทาง Validator ก็หยุดเชนอย่างทันท่วงทีและทำให้จำกัดความเสียหายไว้ได้ และแทบไม่ส่งผลกระทบต่อราคาเหรียญ BNB และ TVL บน BNB Chain เลย
หรืออีกตัวอย่างกรณีการถูกแฮ็คล่าสุดที่เกิดขึ้นบน Ankr ที่เป็นหนึ่งในแพลทฟอร์มให้บริการ Liquid Staking บน BNB Chain ที่เกิดมี Bug บน Smart Contract ทำให้แฮ็คเกอร์สามารถ Mint เหรียญ aBNBc ขึ้นมาได้โดยรวมความเสียหายมูลค่ากว่า 5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งถึงแม้ว่าจะไม่ได้ส่งผลกระทบต่อราคาเหรียญ BNB อย่างเป็นนัยสำคัญ อย่างไรก็ตาม ก็เป็นไปได้ว่าอาจจะมีเหตุการณ์ลักษณะนี้ที่ทำให้เกิดความเสียหายมากกว่านี้ในอนาคตได้ ซึ่งนอกจากการถูกแฮ็คแล้วยังมีความเสี่ยงเรื่องการข่งขันระหว่าง Blockchain ที่ตอนนี้ก็มี Blockchain Layer 1, Layer 2 และ Scaling Soluion อื่นๆออกมามากมาย ซึ่งอาจจะมากินส่วนแบ่งไปจาก BNB Chain ได้ ถ้าเป็นเช่นนั้นจริงก็ย่อมส่งผลลบต่อราคาเหรียญ BNB
สรุปเกี่ยวกับ Binance และ BNB
เหรียญ BNB เป็นเหรียญที่ใช้งานได้ทั้งบนเว็บ Binance เพื่อลดค่าธรรมเนียมการเทรด ลง Launchpad, Launchpool และยังใช้เป็นค่าแก๊สในการทำธุรกรรมบน BNB Chain โดยมูลค่าของเหรียญ BNB จะถูกส่งกลับมาให้ผู้ถือเหรียญผ่านการเผาทั้งแบบ Quarterly Auto Burn และ Real time Burn ทำให้ในปัจจุบันมูลค่าของเหรียญ BNB มาจากกิจกรรมที่เกิดบน BNB Chain โดยตรง หมายความว่ามูลค่าของเหรียญ BNB ควรจะเติบโตตามการใช้งานบน BNB Chain นั่นเอง
ดังนั้นถ้าเราดูจากตัวเลขต่างๆ เช่น TVL ที่ลดลงน้อยกว่าเชนคู่แข่งอื่นๆ และจำนวน Daily Transaction, Daily Active User ที่มากกว่าเชนอื่นๆ และการพัฒนา Ecosystem ที่ยังมีอยู่อย่างต่อเนื่อง โดยพยายามลดการพึ่งพา DApp ตัวหลักอย่าง PancakeSwap ซึ่งที่ผ่านมาก็ได้มี DApp ใหม่ๆอย่างเช่น Liquid Staking ที่ก็เติบโตอย่างรวดเร็ว รวมไปถึงการพัฒนาเทคโนโลยีให้เทียบเท่าคู่แข่งอย่างเช่น Scaling Solution และ Sidechain เพื่อรองรับ NFT และ GameFi ที่ทาง BNB Chain พยายามจะพัฒนาต่อไปในอนาคต ทั้งหมดนี้แสดงถึงความแข็งแกร่งและอนาคตทำให้เหรียญ BNB น่าจะเติบโตและแข่งขันกับคู่แข่งได้
อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าเหรียญ BNB จะพยายามลดความเชื่อมโยงกับ Binance แต่ก็คงจะเป็นการยากที่จะตัดขาดออกมาได้ และความเสี่ยงก็ยังคงผูกกับ Binance และ CZ อยู่พอสมควร ซึ่งทำให้นอกจากความเสี่ยงที่จะเกิดจากความเป็น Blockchain แล้ว เรายังต้องคำนึงถึงความเสี่ยงจากความเป็น Centralized Entity ไว้ด้วยอย่างเลี่ยงไม่ได้
.
คำเตือนความเสี่ยง : คริปโทเคอร์เรนซี่มีความเสี่ยงสูง ท่านอาจสูญเสียเงินลงทุนได้ทั้งจำนวนและสินทรัพย์ดิจิทัลมีความเสี่ยง โปรดศึกษาและลงทุนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ ผลตอบแทนของสินทรัพย์ดิจิทัลในอดีต มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลตอบแทนของสินทรัพย์ดิจิทัลในอนาคต