สภาวะตลาด NFT และความสำคัญของ NFT Infrastructure
ในปี 2022 ที่ผ่านมาถือว่าเป็นปีที่ค่อนข้างท้าทายสำหรับ NFT อันเป็นผลกระทบจากตลาดคริปโตเคอเรนซี่ที่เป็นตลาดหมีทำให้ NFT ได้รับผลกระทบอย่างหนัก โดยราคา Floor Price ของ NFT คอลเลคชั่นส่วนมากปรับลงกว่า 80%-90% พร้อมกับ Volume การเทรดที่ลดลงอย่างมาก
อย่างไรก็ตามถึงแม้ภาพรวมราคาและการเทรด NFT จะแย่ เราก็ได้เห็นการพัฒนาการต่างๆมากมาย รวมถึงการที่มีบริษัทและแบรนด์ขนาดใหญ่เข้ามาใช้ NFT ในการต่อยอดให้กับธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เราได้เห็นว่าเริ่มมีแบรนด์ระดับโลกมากมายได้โดดเข้ามายังพื้นที่ของ NFT อย่าง Tag Heuer, Tiffany and Co., Dolce & Gabbana, Starbucks ฯลฯ และสร้างให้เกิด Use case ใหม่ ๆ ให้กับอุตสาหกรรมอย่างเช่น IP Utilization, Loyalty Program และอื่น ๆ อีกมากมาย นอกจากนี้ในปี 2022 ที่ผ่านมา VCs ได้ลงทุนในกลุ่ม NFT/Gaming ในสัดส่วนที่สูงที่สุดเมื่อเทียบกับ Sector อื่นๆ เป็นสัญญาณว่า NFT ถือเป็นอีก Sector ในคริปโทฯที่น่าจับตามองในปีนี้ และใน Bull market ต่อไป
ซึ่งการลงทุนใน NFT ก็สามารถทำได้หลายวิธีตามความชอบและความเสี่ยงที่แต่ละคนรับได้ ไม่ว่าจะเป็น Direct exposure แบบการเลือกเก็บ Bluechip NFT ที่ราคา Floor ลดลงมาต่ำ หรือ Indirect exposure เช่น ลงทุนใน Blockchain infrastructure ที่เน้นออกแบบมาสำหรับ NFT, Gaming หรือ Metaverse เป็นต้น
โดยในบทความนี้เราจะเน้นพูดถึง Blockchain infrastructure ที่ออกแบบมาเพื่อรองรับการใช้งานสำหรับ NFT โดยเฉพาะ ซึ่งเรามองว่าเป็นอีก Sector ที่น่าจับตามองต่อไป สาเหตุเพราะว่า Blockchain สำหรับ NFT จะมี Requirement ที่ไม่เหมือนกับ Blockchain สำหรับการใช้งานด้านอื่นๆ เพราะโดยมากแล้ว Blockchain สำหรับ NFT นั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าคำนึงถึงการใช้งานโดนธุรกิจหรือ Mass Adoption อาจจะต้องเน้นไปที่ความเร็วและค่าทำธุรกรรมต้องมีราคาถูกมาก และยังควรมีคุณสมบัติ Interoperability ระหว่างเชน เป็นต้น
โปรเจกต์หนึ่งที่เป็น Blockchain ที่ออกแบบมาสำหรับ NFT โดยเฉพาะที่น่าสนใจตัวหนึ่งในตอนนี้ก็คือ Aura Network ซึ่งเปิดตัว Mainnet ไปเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2023 ที่ผ่านมา โดยโปรเจกต์นี้มีรายละเอียดอย่างไร เราจะไปดูกันในบทความนี้
Aura Network คืออะไร
Aura Network Aura Network คือ Blockchain Layer 1 ที่อยู่บน Cosmos Ecosystem โดย Aura Network ถูกสร้างขึ้นเพื่อส่งเสริมการใช้งาน NFTs โดยเฉพาะ ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อเข้าถึงผู้ใช้งานทั่วไปเพื่อก้าวไปสู่ Mass Adoption ซึ่งวิสัยทัศน์ของทางโปรเจกต์คือการสร้าง Internet of NFTs หรือสถานที่ที่เป็น One-stop แบบครบวงจรสำหรับการสร้างโปรเจกต์ NFT และช่วยในกระบวนการที่จะเปลี่ยนแปลงและเชื่อมโยงธุรกิจ Web 2 ที่มีอยู่ให้กลายเป็น Web3 ได้แบบง่ายๆ
Aura Network ได้รับเงินทุนสนับสนุนจาก VCs ชื่อดังหลายเจ้า อย่างเช่น FPT Corporation, Hashed, Coin98 Ventures, Kyber Ventures เป็นต้น ซึ่งทางโปรเจกต์ยังมี Partner ระดับโลกมากมาย นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมมากมายในการขยายการเติบโตให้กับ Ecosystem อย่างเช่น การมอบ Grant ให้ Creator/Artist ที่สนใจสร้างผลงานบน Aura Network เป็นต้น
Aura Network ออกแบบมาสำหรับ NFT โดยเฉพาะ
อย่างที่ได้เกริ่นไปในช่วงต้นของบทความว่า Aura Network เป็น Blockchain Layer 1 ที่ได้รับการออกแบบมาเพื่อ NFT โดยเฉพาะ (NFT-Centric) โดยจะรองรับการใช้งานที่เกี่ยวข้องกับ NFT ในทุกรูปแบบ เช่น การสร้าง NFT, การซื้อขาย NFT, การเก็บข้อมูล เป็นต้น นอกจากนี้ยังทำระบบให้มีความ User-friendly เพื่อให้นักพัฒนาและผู้ใช้งานสามารถมาใช้งานได้ง่าย โดยหลักการเบื้องต้นของ Aura Network มีดังนี้
Soverign Blockchain
ด้วยความที่ Aura Network เป็น Soverign Blockchain หรือเป็น Blockchain ของตัวเองโดยไม่พึ่งพา Blockchain Layer 1 ตัวอื่น ทำให้ Aura Community สามารถกำหนดทิศทางของโปรเจกต์ได้อย่างอิสระ นอกจากนี้ยังแก้ปัญหาการทำธุรกรรมที่ช้าจากการแนวทางเดิมๆที่พยายามสร้าง Application ทุกอย่างลงไปบน Blockchain เดียว ที่ทำให้เกิดปัญหาคอขวดตามมา มากไปกว่านี้ การสร้าง Application-specific Blockchain ยังทำให้การ Optimize ฟังก์ชั่นให้เหมาะสมกับการใช้งานแบบเฉพาะเจาะจงทำได้ง่ายกว่า
Optimized NFT Framework and Scaling for IP Owners
Aura Network โฟกัสไปที่การช่วยเหลิอ Brand, IP Owners, Game Creators ในกระบวนการทำ NFT Tokenization ไม่ว่าจะเป็นในด้าน Technical ในรูปแบบต่างๆ เช่น การพัฒนา NFT Utility, การพัฒนา NFT-based DApps เป็นต้น นอกจากนี้ โปรเจกต์ที่มาสร้างบน Aura Network ยังสามารถ Scale และ รองรับการสื่อสารระหว่างเชนได้เพราะว่าทาง Aura ได้สร้าง Bridge ไว้รองรับแล้ว และเนื่องจากว่า Aura Network สร้างอยู่บน Cosmos ทำให้สามารถสื่อสารโดยใช้ Inter-Blockchain Communication (IBC) ได้อีกด้วย ซึ่งหมายถึงว่าจะสามารถเชื่อมต่อกับ Blockchain อื่นๆที่เป็น IBC-enabled โดยไม่ต้องใช้ Bridge
โดยทาง Aura Network ยังเป็น Middleware Service และพัฒนา Open-source Smart Contract Template เอาไว้เป็น Built-in tools เพื่อรองรับการสร้างโทเค็น NFT ตาม Standard ต่างๆ เช่น ERC-721, ERC-1155 ซึ่งจะช่วยความซับซ้อนของกระบวนการในการนำโทเค็น NFT ไปใช้ใน DApps นอกจากนี้ การมาสร้างโปรเจกต์บน Aura Network จะทำให้นักพัฒนาสามารถเข้าถึงบริการต่างๆ เช่น Payment Gateways, E-commerce Platform, Social Network และอื่นๆ
Metrics ต่างๆที่น่าสนใจของ Aura Network
Aura Network มีการเติบโตที่น่าสนใจท่ามกลางตลาดหมีแบบนี้ โดยปัจจุบัน Aura Network ถือเป็น Blockchain Layer 1 บน Cosmos Ecosystem ที่มีจำนวน Open-source Developer Activity สูงที่สุดเป็นอันดับที่สอง เป็นรองเพียงแค่ Cosmos Hub เท่านั้น (ข้อมูลเดือนกรกฎาคม 2023 ดูข้อมูลอัปเดทได้ที่นี่) ซึ่งตั้งแต่การเปิดตัว Mainnet ในเดือนเดือนมีนาคม 2022 ทาง Aura Network ก็มีค่าเฉลี่ยของการ Commit ใน Github อยู่ที่ 617 ครั้งต่อเดือน โดยรวมมีจำนวน Commits ทั้งหมดถึง 9,867 ตลอด 16 เดือนที่ผ่านมา
นอกจากนี้ จากข้อมูลในปัจจุบัน มีผู้ใช้งาน Aura Netowork รายวัน (DAUs) รวมกันทั้งหมดกว่า 10 ล้านคนต่อวัน และผู้ใช้รายเดือน (MAUs) มากกว่า 100 ล้านคนต่อเดือน
Aura Network Ecosystem
สำหรับในส่วนของ Ecosystem ของ Aura Network ก็ถือว่ามีการพัฒนาต่อเนื่อง โดยนอกจากการพัฒนา Tool และ Application ต่างๆเพื่อการใช้งานภายใน Ecosystem ของตัวเองแล้ว ทางทีมยังมีการพัฒนา Infrastructure อื่นๆ ให้สำหรับการใช้งานแบบ Public อีกด้วย เช่น Pyxis Safe และ Horoscope ทำให่โปรเจกต์อื่นๆที่มาพัฒนาบน Cosmos ได้รับประโยชน์จาก Infrastructure เหล่านี้ได้นั่นเอง
Ecosystem ของ Aura Network สามารถแบ่งออกเป็น 4 Layer ด้วยกันดังนี้
- Infrastructure: เป็น Layer ที่เก็บรวบรวมทรัพยากรทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับ Blockchain เช่น Aurad (Aura Daemon) ที่เป็น Node Client และทรัพยากรทั้งหมดเช่น Genesis Block, Configuration fies และ Deployed Services เพื่อให้บริการภายใน Aura Network
- Currency: ใน Aura Ecosytem นั้นมี Native Currency ทั้งหมด 2 สกุล คือ Aura Coin และ Aura Token บน BNB Smart Chain นอกจากนี้ Aura ยังสนับสนุนการสร้างโทเค็นตามมาตรฐาน CW20 ที่คล้ายกับ Blockchain อื่นที่ใช้โมดูล CosmWasm
- Application (DApps): ประกอบด้วย Application หลากหลายไม่ว่าจะเป็น DeFi และ NFT โดยจำนวน Application ที่มีภายใน Ecosytem นั้นมีการเติบโตอยู่ตลอดเวลา ซึ่ง Application ที่มีในปัจจุบันมีดังนี้:
- Aurascan: คือ Blockchain Explorer ที่มีฟีเจอร์สำหรับ Governance, Staking, NFT, Notification และอื่นๆที่ออกแบบมาสำหรับผู้ถือเหรียญ AURA
- Pyxis Safe: คือ Multisig Wallet ที่คล้ายกับ Gnosis Safe
- Wallet: Coin98 Wallet เป็น Official Wallet ที่ใช้งานบน Aura Network ส่วน Wallet อื่นๆที่รองรับได้แก่ Wallet ที่ใช้กันบน Cosmos อย่าง Keplr และ Cosmostation
- Twilight Hub: เป็น One-stop Destination สำหรับ Aura Community ในการ Interact กับ NFT และ Metaverse
- Aura DEX: คือ Decentralized Exchange สำหรับการแลกเปลี่ยนโทเค็น CW-20 ที่สร้างอยู่บน Aura Network
- Bridge: Aura Bridge ใช้สำหรับการ Swap สินทรัพย์ระหว่าง EVM Blockchain อื่นๆและ Aurachain
- Launchpad: เพื่อรองรับการระดมทุนสำหรับโปรเจกต์ที่จะมาพัฒนาบน Aurachain
- Horoscope: เป็นบริการทำ Indexing เพื่อให้บน Aura Ecosystem แบบ Real time
- SeekHYPE: เป็น NFT Marketplace ที่มีการใช้ AI ในการสร้างประสบการณ์การใช้งานแบบ Personalized
- API: Application ที่กำลังพัฒนาบน Aura ต้องมีการให้บริการ open API ที่เป็นมาตรฐานสำหรับการให้บริการต่อ Public
AURA Tokenomics
เหรียญ AURA ทำหน้าที่เป็น Native Currency หรือสกุลเงินที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนภายใน Aura Network โดยมีจำนวน Circulating Supply ในปัจจุบันที่ 189,224,528 โทเค็น (ข้อมูลวันที่ 31 กรกฎาคม 2023) จาก Max Supply ทั้งหมด 1,000,000,000 โทเค็น ซึ่งมี Vesting Schedule และการจัดสรรตามตารางด้านล่าง
ทาง Aura Foundation จะควบคุมในส่วนที่เป็น Ecosystem Growth และ Foundation Reserves (โดยทั้งสองส่วนจะไม่นับป็น Circulating Supply) ซึ่งในส่วน Ecosystem Growth จะเก็บไว้ใช้สำหรับการสร้างการเติบโตให้กับ Ecosystem ซึ่งจะนำไปใช้สำหรับ การแจก Incentive, Airdrop, Grants เป็นต้น ส่วน Foundation Reserves จะสำรองไว้ใช้ในกรณีฉุกเฉินต่างๆ
นอกจากนี้เหรียญ AURA ยังมี Utility อื่นๆเช่น
- Staking: เนื่องจาก Aura Network เป็น Delegated Proof-of-Stake (DPoS) ผู้ถือเหรียญสามารถนำเหรียญ AURA ไป Delegate กับ Validator เพื่อรับ Staking Yield (ประกอบไปด้วย Block Reward และ Transaction Fee) ได้
- Governance: ผู้ถือเหรียญ AURA สามารถมีส่วนร่วมในการโหวตกำหนดทิศทางของ Aura Network ได้ เช่น การอัปเดตซอฟต์แวร์หรือการตัดสินใจที่สำคัญอื่น ๆ ในการพัฒนา Aura Community เป็นต้น
- Transaction fee: ใช้จ่ายค่าแก๊สในการทำธุรกรรมภายใน Aura Network
สรุป Aura Network
ปฏิเสธไม่ได้ว่าตลาด NFT ค่อนข้างซบเซาลงอย่างเห็นได้ชัดท่ามกลางตลาดหมีตั้งแต่ปี 2022 เป็นต้นมา อย่างไรก็ตามเรายังเชื่อว่า NFT ยังมีศักยภาพในการเติบโตสูง เห็นได้จากการที่มีบริษัทและแบรนด์ขนาดใหญ่เข้ามาใช้ NFT ในการต่อยอดให้กับธุรกิจ และการเกิดขึ้น Use case ใหม่ ๆ อย่างเช่น IP Utilization, Loyalty Program และอื่น ๆ อีกมากมาย
โดยหนึ่งในธีมการลงทุน NFT ที่น่าจับตาคือ NFT Infrastructure ที่ออกแบบมาเพื่อรองรับ NFT แบบเจาะจงอย่างเช่น Aura Network ซึ่งเป็น Blockchain Layer 1 ที่อยู่บน Cosmos Ecosystem โดย Aura Network ถูกสร้างขึ้นเพื่อส่งเสริมการใช้งาน NFTs โดยเฉพาะ ซึ่งตั้งแต่เปิดตัว Mainnet มาก็ได้มีการเติบโตต่อเนื่อง ทั้งในแง่จำนวนผู้ใช้งาน, จำนวน DApps, จำนวน Developer Activity เป็นต้น นอกจากนี้ทางทีมยังตั้งเป้าจะผลักดันให้มีจำนวนผู้ใช้งาน Aura Network ให้ติด Top 3 บน Cosmos Ecosystem ให้ได้ภายในปี 2023 อีกด้วย ซึ่งถือว่าเป็นที่น่าติดตามต่อไปว่าทางโปรเจกต์จะทำได้หรือไม่
อีกสิ่งที่น่าติดตามก็คือ Roadmap ของทางโปรเจกต์ที่วางไว้สำหรับ Q3-Q4 ปี 2023 ที่มีแผนจะเปิดตัวอะไรอีกหลายอย่าง เช่น Cross-chain Game, แพลตฟอร์ม Liquid Staking เป็นต้น ซึ่งถ้าแผนตาม Roadmap ทำได้สำเร็จ ก็น่าจะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยผลักดันให้มีจำนวนผู้ใช้งานเติบโตขึ้นตามเป้าหมายของโปรเจกต์ได้