เกริ่นนำ
โดยทั่วไปแล้ว ผู้ใช้งานที่เริ่มเข้ามาใหม่เพื่อท่องโลก DeFi, NFT หรือการเก็บเหรียญระยะยาว จะได้รับคำแนะนำให้เข้าไปใช้ Wallet เช่น Metamask, Trust Wallet แต่ในช่วงที่ผ่านมา มีหลากหลาย Wallet มากกว่านั้นที่มาพร้อมกับ Function ต่างๆที่ช่วยตอบโจทย์การใช้งานให้ง่ายขึ้น และมี UI ที่สวยงามทันสมัยมากขึ้น
บทความนี้จะพาไปแนะนำหลายๆ Mobile Wallet ที่มีความน่าสนใจในการเป็นทางเลือกใช้งานต่อจากนี้
0. Metamask Wallet: จุดเริ่มต้นของหลากหลายคนใน DeFi
แม้ว่า Metamask จะเป็น Wallet ที่โด่งดังที่สุดและเป็น Go-to Wallet สำหรับหลายๆคนตั้งแต่การใช้งานบนเครื่องคอมพิวเตอร์ ทำให้คนนิยมใช้งานมาจนถึงบน Mobile แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า หลายต่อหลายครั้ง Metamask ก็ยังขาดหลากหลาย Function ที่ยังไม่ได้มีการพัฒนาปรับปรุงมาเป็นเวลานานมาก หลายๆข้อที่คนรอเก้อกลายมาเป็นโอกาสที่ Wallet อื่นๆพัฒนาขึ้นมาเป็นคู่แข่งและใช้งานได้ง่ายขึ้นอีกมาก
– ข้อดีของ Metamask
- User Interface เรียบง่าย
- อิสระในการเพิ่ม Network ในการใช้งานได้ ทั้ง Mainnet ต่างๆและ Testnet (สายล่า Airdrop จะชอบใช้ Metamask เพราะเข้าถึง Testnet ของโปรเจกต์ที่ยังไม่เปิดจริงได้)
- เป็น Default ในการเชื่อมต่อกับ Dapps ทั่วไปได้แทบจะทั้งหมด
- ทีม Consensys เบื้องหลัง Metamask ได้รับ Funding สูงมาก (ดูข้อมูลได้จาก Consensys – Raised $725M Funding from 55 investors – Tracxn) ทำให้คนเข้ามาใช้งานเพื่อเก็ง Airdrop กันอีกด้วย
- สามารถกดซื้อคริปโตได้จากใน Metamask เองได้เลย ผ่านบัตรเครคิต หรือ Aplplication ที่รองรับ
– สิ่งที่ Metamask ยังขาดไป (ที่ Wallet อื่นมาเติมเต็มในจุดบอดเหล่านี้)
- มีการรองรับ Hardware Wallet แค่จากค่าย Keystone ทำให้ผู้ใช้งานส่วนมากที่ใช้ Ledger, Trezor ไม่สามารถใช้งานได้
- การ Track Wallet แบบ Watch-only : บางคนอาจจะเก็บเงินบางส่วนไว้ใน Hardware Wallet และ
- ขาดระบบการตรวจสอบ Smart Contract ต่างๆในตัว (หลาย Wallet จะทำการแสดง Smart Contract ให้อ่านง่ายขึ้นว่าจะเกิดอะไรขึ้นเมื่อกด Confirm ทำให้เราตรวจสอบความปลอดภัยในทุก Contract ได้แม้จะไม่รู้ภาษา Programming)
- แม้ว่า Metamask สามารถให้เรา Add Network ต่างๆได้อย่างอิสระ แต่การที่ไม่มี Function ให้เราเรียงลำดับ Network เองได้ หรือ Sort ด้วยวิธีต่างๆได้ บ่อยครั้งจะทำให้ Network รกเกินไปและใช้งานยาก
- ขาด Widget หรือลูกเล่นต่างๆที่ทำให้เข้าไปดูข้อมูลการใช้งานได้ง่าย เช่น Gas Fee ณ ขณะนั้นในระบบ Ethereum
- ไม่สามารถดูเงินทั้งหมดในหลายๆ Network พร้อมกันได้
สามารถอ่านบทความและ Podcast เกี่ยวกับ Metamask ของ Cryptomind ได้ที่
1. Zerion Wallet: Wallet มาก Function พร้อม Dynamic NFT
Zerion เปิดใช้งานครั้งแรกวันที่ 26 พฤษภาคม 2022 ซึ่งเป็น Wallet ที่เน้นถึงความใช้งานง่ายและให้คนเข้าถึงโลก DeFi ได้อย่างง่าย ภายใน Zerion Wallet เอง ครอบคลุมการใช้งานใน Web3.0 ได้อย่างกว้างขวาง รวมไปถึงกิมมิค Dynamic NFT ที่จะเปลี่ยนแปลงไปตามการใช้งานบน Zerion Wallet
– ผู้ก่อตั้ง Zerion Wallet
Zerion Wallet เริ่มต้นจากผู้ก่อตั้ง 3 คน ได้แก่ Evgeny Yurtaev, Vadim Koleoshkin, Alexey Bashlykov ในปี 2016
ทั้งสามคนเจอกันที่งาน Hackathon ในเมือง Moscow จนกระทั่ง ทั้ง 3 คนเริ่มตั้ง EthereionLab ด้วยกันในปี 2015 ในขณะนั้น EtherionLab เน้นในการพัฒนาการ Tokenization, เกม Web3 และการสร้าง dApps อีกมากมาย
ในปี 2016-2019 Etherion Lab ทำการ Rebrand ใหม่เป็น Zerion และมุ่งเน้นในการสร้าง Wallet ที่ครบเครื่องใน Application เดียว เตรียมพร้อมสำหรับการใช้งานใน Mass Adoption
– หลากหลายวิธีการ Connect Wallet และการ Track Wallet
Zerion รองรับการต่อและใช้งาน Wallet ได้ในหลากหลายรูปแบบ ทั้งการสร้าง Wallet เอง, ทั้งการ Import Wallet จากภายนอก, Sync Wallet กับระบบ iCloud, ต่อ Wallet จาก Application อื่นๆ (รวมถึง Ledger ด้วย), การทำ Watch-Only Wallet (ใช้เพื่อดูอย่างเดียว)
– Portfolio Tracking
ระบบ Portfolio Tracking ใน Zerion จะสามารถดูรวมจากทุก Network ก็ได้ หรือจาก Network ใด Network หนึ่งก็ได้ และสามารถรวมดูเงินจากทุกกระเป๋าของเราหรือแยกดูก็ได้ เป็นระบบการ Track เงินที่ถูกออกแบบให้ดูง่าย
– คอนเซ็ปต์ ’Social Crypto’
Social Crypto เป็น Concept ของ Zerion ที่เน้นไปถึงการติดตามเทรนด์ต่างๆในโลก Web3.0 ได้อย่างทันท่วงที ไม่ว่าจะไป Track Wallet ที่เราอยากตาม (บางคนอาจจะมีกลวิธีในการสร้างรายได้ จากการเทรดตามวาฬ Alpha ต่างๆ) และสามารถที่จะติดตามเหรียญในเทรนด์ใหม่ๆได้อีกด้วย (ระบบนี้มีทั้งใน Mobile และในคอมพิวเตอร์
ตัวอย่างการ Track wallet เพื่อดู Activity และการดูเทรนด์ต่างๆ
– Perks ระบบติดตาม Whitelist, Airdrop ให้ Wallet เรา
ในการใช้งานใน Web3.0 บางครั้งจะมีการแจก Airdrop ให้จาก dApps หรือเชนต่างๆที่เราเคยเข้าไปใช้งาน หรือแม้แต่อาจจะมีการให้ Whitelist เราในการสามารถ Mint NFT พิเศษในโอกาสต่างๆได้
Function Perks นี้จะคอยติดตามให้ว่า Wallet ของเรา ได้รับ Airdrop ไหนบ้างที่จำเป็นต้องไป Claim และ NFT ชิ้นไหนที่สามารถไป Mint ได้บ้าง
ในโลก Web3.0 ที่มีอะไรเกิดขึ้นเยอะและรวดเร็วมาก การมี Function รูปแบบนี้ช่วยเป็นอะไรที่ดีมาก
– Zerion DNA : กิมมิค Dynamic NFT ของ Zerion
ใน Application Zerion Wallet เอง เมื่อเข้าไป จะสามารถให้เรา Mint Zerion DNA ได้ ในขั้นพื้นฐานที่สุด การถือ NFT ตัวนี้ไว้ใน Wallet จะทำให้ค่าธรรมเนียมในการ Swap เหรียญต่างๆถูกลง แต่ความน่าสนใจของ NFT ตัวนี้คือ เป็น Dynamic NFT
Dynamic NFT คือ NFT ในรูปแบบที่ภาพสามารถเปลี่ยนไปได้เรื่อยๆตาม Metadata (ข้อมูลที่เปลี่ยนไป) โดย Zerion DNA นี้ จะพัฒนาและปรับเปลี่ยนไปเรื่อยๆตามการใช้งานใน Wallet ของเรา เช่น อายุการใช้งานของกระเป๋าเรา, ค่า Gas ที่เราใช้ในธุรกรรม On-chain, Network ที่ใช้งานเยอะ และอื่นๆ
การทำให้ Zerion DNA ปรับเปลี่ยนไปตามการใช้งานของเรานี้เอง เป็นการสร้าง Identity ที่เป็นตัวตนของเราเอง เป็นกิมมิคที่น่าสนใจในการนำเข้ามาใช้งาน
– สรุป Zerion Wallet
Zerion เป็น Wallet ทางเลือกที่ค่อนข้างใช้งานง่าย และมี Function ครบครันอยู่ภายใน Wallet เดียว สำหรับคนที่ใช้งานจนคล่อง Wallet นี้เป็นทางเลือกที่น่าสนใจมาก แต่สำหรับผู้ใช้งานใหม่อาจจะมีข้อมูลค่อนข้างเยอะ อาจจะต้องใช้เวลาในการเรียนรู้การใช้งาน
2. Rainbow Wallet
Rainbow Wallet เป็น Wallet ที่ถูกออกแบบให้ดูง่าย ดูสนุกต่อการใช้งาน ด้วย UI ที่ทันสมัย ง่ายสำหรับการใช้งานในกลุ่มคนที่มีประสบการณ์ในโลก Web3.0 และคนที่ไม่เคยมีประสบการณ์
Rainbow Wallet ถูกใช้สำหรับ Wallet Connect ได้ในหลากหลาย Application ทำให้การใช้งานค่อนข้างสะดวก
– ผู้ก่อตั้ง Rainbow Wallet
ทีมพัฒนา Rainbow Wallet ถูกก่อตั้งขึ้นในปี 2019 ด้วยทีม 3 คนได้แก่:
- Christian Baroni: เคยทำงานกับ Microsoft และ Stripe
- Jin Chung: ทำงานทางด้าน Computer Design, การออกแบบเว็บไซต์, และเป็นวิศวกรให้กับหลากหลาย Startups
- Mike Demarais: เป็น Computer Science Engineering ซึ่งเคยออกแบบ Tools ในการเทรดและอัลกอริทึมสำหรับการแนะนำสินค้าใน eBay
ด้วยความสามารถที่แตกต่างกันของผู้ก่อตั้ง ทำให้เกิดการออกแบบที่เน้นไปที่การออกแบบให้ UI/UX ของ Rainbow Wallet ง่ายสำหรับคนที่มีประสบการณ์ในโลกคริปโตและคนที่ไม่เคยมีประสบการณ์
– Fundings
Rainbow Wallet ได้รับ Funding มาตั้งแต่ในปี 2022 รวมเป็น 19.5 ล้าน$ จนบางคนก็มีการเก็งว่า Rainbow Wallet อาจจะมีการแจก Airdrop อีกด้วย
– Portfolio
ในหน้า Portfolio ของ Rainbow Wallet จะเป็นการแสดงยอดเงินของแต่ละ Portfolio (ไม่มีการแสดงเงินรวมจากทุก Portfolio) ซึ่งในหน้านี้จะแสดงเหรียญจากทุก Network ภายใน EVM และแสดง Position ต่างๆที่เราไปวางไว้บน DeFi
แต่ละ Wallet ที่แสดง สามารถเป็น Wallet ที่ใส่ Private Key เข้าไปใช้งานอย่างเต็มรูปแบบ หรือต่อกับ Ledger Nano X หรือเป็นแบบ Watch-only ก็ได้
และจากในหน้านี้ เราสามารถที่จะ Swap เหรียญได้เลยไม่ว่าจะเป็นภายในเชนเดียวกันหรือ Cross-chain กันก็ตาม
– Function อื่นๆของ Rainbow Wallet
ในหน้า Discover ของ Rainbow Wallet มีการแสดงข้อมูลสำคัญๆและเทรนด์สำคัญๆโดยง่าย ตั้งแต่ ค่า Gas ของ Ethereum ณ ขณะนั้น, NFT ที่กำลังให้ Mint ที่เป็นกระแสในขณะนั้น, Offer NFT ที่เราได้รับ
และในขณะที่เขียน หน้านี้มีการแสดงถึง Promotion ในการแจกเหรียญ $OP ทุกรอบเดือนจากการ Swap หรือ Bridge เหรียญใน Optimism ผ่าน Rainbow Wallet
และในหน้าด้านขวาสุด มีสัญลักษณ์ร่มซึ่งคนกำลังเก็งกันว่า อาจจะกำลังรอการมาของ Airdrop ให้กับคนที่ใช้ Rainbow Wallet
– สรุป Rainbow Wallet
Rainbow Wallet เป็น Wallet ที่ออกแบบสวยงามดูน่าใช้ ข้อมูลที่สำคัญๆอยู่ในหน้าต่างๆให้เห็นแล้ว แม้ว่า Function จะไม่ได้เยอะเท่า Zerion แต่สำหรับคนทั่วไปเท่านี้อาจจะโล่งสบายตามากกว่า
3. Brave Wallet ใน Brave Browser
Brave Wallet เป็น Wallet ที่ถูกรวมไว้ใน Brave Browser ซึ่งกำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นในหมู่คนที่เล่นคริปโตจากการที่มีการช่วยในเรื่อง Privacy และ Security ต่างๆได้อย่างดี
– ผู้ก่อตั้ง Brave Browser และ Brave Wallet
Brave Browser และ Brave Wallet ถูกก่อตั้งในปี 2016 โดย Brendan Eich และ Brian Bondy ซึ่ง Brendan Eich เป็น Co-Founder ของ Mozilla และเป็นผู้สร้าง JavaScript ทำให้เป็นจุดแข็งจากการที่มีทีมที่น่าเชื่อถือมาก
– Fundings
Brave ได้รับ Fundings รวมกันถึง 42.3 ล้าน$ โดย Page One Ventures และ ZMT Capital และมี Valuation ระหว่าง 10-50 ล้าน$
– BAT Token
Brave Browser มีเหรียญของตัวเองอยู่แล้วคือ BAT ซึ่งผู้ใช้งานสามารถจะได้จากการยอมกดเข้าไปดูโฆษณาต่างๆของ Brave Browser และจะสามารถขายหรือบริจาคให้กับ Content Creator ต่างๆที่ใช้งานบน Brave Browser ได้เช่นกัน
แม้ว่า BAT Token จะไม่ใช่ Governance Token ในการ Vote ทิศทางการใช้งาน แต่ก็อาจจะคิดได้ว่าการที่จะออก Token ออกมาเพิ่มมากกว่านี้อาจจะเป็นเรื่องยาก
– Portfolio
ใน Mobile Brave Browser ไม่สามารถเชื่อมต่อกับ Hardware Wallet ได้ในขณะนี้ แต่เราสามารถที่จะสร้างหรือเชื่อมได้กับหลากหลาย Address
เราสามารถที่จะดูยอดรวมของแต่ละบัญชีแยกกันได้ และสามารถที่จะ Swap เหรียญได้จากภายใน Wallet เลย
– การทำ Transaction
หากผู้ใช้งานคุ้นชินกับการใช้ Wallet ต่างๆในรูปแบบ Extension บนคอมพิวเตอร์ จะใช้งาน Brave Browser และ Wallet ได้อย่างคุ้นชิน เพราะเมื่อเรากดทำ Transaction ต่างๆ Brave Wallet จะเด้งขึ้นมาให้กด Sign Transaction เหมือนกัน
ในตอนนี้ Browser ใน Mobile ไม่มี Extension เหมือนในคอมพิวเตอร์ ทำให้การควบรวมกันภายใน Brave Browser ทำให้การใช้งานใกล้เคียงมากที่สุด
– Network ที่รองรับ
ข้อหนึ่งที่ดีที่สุดสำหรับ Brave Wallet คือการรองรับ Network ที่เยอะมาก และสามารถที่จะ Add Network เพิ่มเข้าไปเองได้ด้วย ทำให้สำหรับสายล่า Airdrop ก็ตาม ก็จะสามารถเชื่อมกับ Network พิเศษหรือ Testnet ต่างๆเพื่อให้เข้าไปใช้งานได้เช่นกัน
– สรุป Brave Wallet
Brave Wallet เป็น Wallet ที่ทำให้การใช้งานใกล้เคียงกับคอมพิวเตอร์มากที่สุด ความรู้สึกในการใช้งานค่อนข้างไหลลื่นดีมาก ข้อเสียในตอนนี้คือการที่ยังไม่มีการรองรับ Hardware Wallet
4. Phantom Wallet: จาก Wallet สุดฮิตฝั่ง Solana สู่เครือข่าย Ethereum และ Polygon
Phantom Wallet เดิมทีถูกออกแบบให้เป็น Wallet สำหรับ Solana โดยเฉพาะ และถูกก่อตั้งในปี 2021 จนกระทั่งในกลางปี 2023 Phantom Wallet ได้เพิ่มการรองรับ Polygon และ Ethereum เข้ามาด้วย และอาจจะเพิ่มเชนอื่นๆเข้ามาอีกในอนาคต
– Fundings
Phantom Wallet มีการ Funding ถึง 3 รอบด้วยกัน และได้รับไปถึง 118ล้าน$ ซึ่งมีผู้ลงทุนคือ Paradigm, a16z, Variant Fund, Jump Capital, DeFi Alliance, Solana Ventures โดยมี Valuation ถึง 1.2 พันล้าน$
ด้วยการ Funding ที่เยอะในระดับนี้ด้วยนักลงทุนท็อปแต่ละที่ ทำให้ Phantom ดูเป็น Wallet ที่น่าจะพัฒนาและมีอนาคตได้อีกนาน และมีการเก็งไปถึง Airdrop ของ Phantom Wallet อีกเช่นกัน
– Portfolio
Phantom Wallet รองรับทั้งการสร้าง Wallet ใหม่, การใส่ Seed Phrase หรือ Private Key เดิม และการเชื่อมต่อกับ Ledger Nano X
ในหน้า Wallet จะแสดงเงินแค่เพียงในแต่ละ Address แยกกันเพียงเท่านั้น และเราสามารถที่จะตั้งให้แสดงแค่ Solana เท่านั้น หรือแสดงรวมไปถึง Polygon และ Ethereum ก็ได้
– Security
ในการทำ Transaction ต่างๆใน Phantom Wallet จะมีการแสดงถึงการเปลี่ยนแปลงใน Wallet ด้วย ทำให้คนสามารถเข้าใจ Smart Contract นั้นๆได้โดยง่าย และป้องกันการถูกขโมยเงินจาก Smart Contract Scam ต่างๆได้
– สรุป Phantom Wallet
Phantom Wallet เป็น Wallet ที่ดูค่อนข้างง่าย แม้ว่าจะไม่มีข้อมูลต่างๆให้ดูเหมือน Wallet อื่นๆในบทความนี้ แต่จาก Fundings ก็อาจจะทำให้ Wallet นี้พัฒนาต่อได้อีก
ข้อเสียที่หลักที่สุดของ Phantom Wallet คือการที่ยังรองรับ Network น้อย และไม่สามารถเพิ่ม Network เข้าไปเองได้ แต่โดยรวมก็น่าเป็น Wallet ที่จับตามองไว้
สรุป
ในช่วงที่ผ่านมา มีทางเลือกของ Wallet เกิดขึ้นมาเยอะมากที่พร้อมจะพัฒนาและรองรับ Mass Adoption ในอนาคต แต่ละ Wallet มีความโดดเด่นเฉพาะทางแตกต่างกันไป แม้ในบทความนี้จะไม่ได้ครอบคลุมทุก Wallet ที่เกิดขึ้นมา แต่ Wallet ที่ถูกนำมาไว้ในบทความนี้เป็น Wallet ตัวหลักๆที่น่าสนใจและคิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ใช้งานใน Web3.0 ไม่ว่าจะเป็นคนเก่าหรือคนใหม่