Search
Close this search box.

PYUSD Stablecoin น้องใหม่จาก PayPal

Reading time 10 Mins
Share :
Website

Table of Contents

ในวันที่ 7 สิงหาคม ที่ผ่านมา Paypal ได้ประกาศเปิดตัว PYUSD Stablecoin ตัวใหม่ตัวแรกของ Paypal เพื่อช่วยให้ระบบ Payments นั้นสะดวกมากขึ้นและเพิ่มแรงดึงดูดให้คนเข้าถึง Global Financial มากขึ้น โดยจากข่าวนี้เองถือว่าเป็นอีกก้าวของวงการที่จะเข้าใกล้ Mass Adoption มากขึ้นเรื่อยๆ ด้วยการมาของบริษัทใหญ่อย่าง Paypal ต่อไปจะพาไปลงรายละเอียดเกี่ยวกับเจ้าตัว PYUSD กันครับ

เกี่ยวกับ PYUSD

Paypal ได้ประกาศปล่อยเหรียญ Stablecoin ของตัวเองนั่นก็คือ PayPal USD (PYUSD) เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2023 ที่ผ่านมา โดยเป็นเหรียญที่ Backed ด้วย U.S. Dollar 100% ประกอบโดยเงินสด พันธบัตรสหรัฐระยะสั้น และสิ่งเทียบเท่าเงินสด โดยเป็นการ Pegged 1:1 มีเงินจริงอยู่ใน Treasury ในทุกการ Mint และยังสามารถ Redeem PYUSD → USD ได้นั่นเอง

ซึ่ง PYUSD นั้น ออกโดย Paxos Trust Company ซึ่งเป็นสถาบันการเงินที่ผ่านการกำกับแล้ว นั่นหมายความว่า PYUSD อยู่ภายใต้ข้อบังคับเดียวกันกับผลิตภัณฑ์ทางการเงินอื่นๆ เช่น บัญชีธนาคารและกองทุนรวมตลาดทุน ทำให้หายห่วงได้ในเรื่องของความปลอดภัยของเงิน

PYUSD มีประโยชน์และใช้ทำอะไรได้บ้าง

1.เป็นสะพานเชื่อมระหว่างระบบการเงิน Fiat และ Digital currency (Bridge Between Fiat and Digital Currencies) 

เป็นสะพานเชื่อมระหว่างเงิน Fiat กับ Digital Currencies ทำให้คนจากโลก Web3 และ Web2 สามารถที่จะ Cash in และ Cash Out ได้ง่ายผ่าน PYUSD ของ Paypal

2.การเป็นระบบ Payment ที่เสถียรและน่าเชื่อถือสูง จากแบรนดิ้งของบริษัทที่มีประสบการณ์ในการทำระบบ Payment ระดับโลกมาอย่างยาวนาน

3.ความสะดวกสะบายในการเลือกทำธุรกรรม 

เพราะเป็น Stablecoin ที่ถูกออกแบบให้ใช้งานได้หลากหลาย เช่นโอนให้กันแบบ Peer-to-Peer ได้ทั่วโลก หรือการใช้ชำระเงิน Check Out ในการซื้อของต่างๆ และยังใช้แลกเปลี่ยนเป็นเหรียญคริปโตต่างๆได้อีกด้วย

4.ใช้งานกับ WEB3 และ DeFi ได้

ขอบคุณภาพจาก Decentralizedfinance.com

ด้วยความที่เป็น ERC-20 บน Ethereum ทำให้สามารถใช้งานกับ Web3 และ Dapps ต่างๆได้อยู่แล้ว

5.น่าเชื่อถือและโปร่งใส

จากการออกเหรียญโดย Paxos และ Backed ด้วย U.S. Dollars 100% โดยจะมีการรายงานผล Treasury ตลอดทั้งแบบ Official และผ่าน Third Party ที่น่าเชื่อถือเพื่อสร้างความเชื่อมั่น

6.การขยายธุรกิจเดิมมาสู่ Digital Assets 

สนับสนุนการเข้ามาของ Digital Assets โดยแบรนด์ใหญ่ๆ ซึ่งเป็นกลยุทธ์ของ PayPal เพื่อเพิ่มความเข้าใจของผู้บริโภคและร้านค้าเกี่ยวกับ cryptocurrencies, stablecoins และสกุลเงินดิจิทัลของธนาคารกลาง (CBDC)

7.รองรับหลากหลายแพลตฟอร์ม

ขอบคุณภาพจาก Bitcoinaddict

PYUSD พร้อมใช้งานสำหรับผู้บริโภค ร้านค้า นักพัฒนา และยังพร้อมในการใช้งานบน Venmo (PayPal Digital Wallet) ในเร็วๆนี้ ซึ่งเป็นการขยายการเข้าถึงคนและเป็นการเพิ่ม Utility

ความแตกต่างจาก Stablecoin ตัวอื่นๆ

จากภาพเราจะเห็นความต่างคือ Stablecoins แต่ละตัวนั้นมีการถูกกำกับและออกเหรียญที่ต่างกัน ส่วน PYUSD มีการ Issued โดย Paxos ที่เป็นสถาบันที่ผ่านการรับแรงและยังเคยออกเหรียญ Stablecoins ให้กับ Binance อย่าง BUSD นั่นเอง

มีการ Backing ที่คล้ายกันแต่ Regulation ที่ต่างกัน โดย PYUSD มีข้อกังขาในเรื่องนี้น้อยกว่า USDT เพราะดูแลโดย Paxos Trust company แต่ถ้ามองอีกมุมก็มีความ Centralized ที่สูงเพราะ PayPal นั้นขึ้นชื่อเรื่องความ Centralized อยู่แล้ว ซึ่งถูกออกแบบให้เน้นใช้งานใน PayPal Ecosystem และ DeFi บ้างไม่อิสระเท่า USDT และ USDC แต่ทุกตัวก็ยังสามารถถูกควบคุมเงินได้จากส่วนกลางเหมือนกัน

รายละเอียดเชิงลึก

ด้วยความที่เป็น Stablecoin ที่ Settle ลงบน Blockchain Network อย่าง Ethereum Mainnet โดยเป็นเครือข่ายที่มีความ Decentralized และ Security สูง ทำให้ผู้คนสามารถเข้าไปดู On-chain data และ Source Code ของตัวเหรียญได้ว่ามี Function อะไรบ้าง และหลายคนที่เข้าไปดูก็ยังกังขาในเรื่องของความ Centralized ของตัว Source Code

ความ Centralized ภายใต้ Decentralized

ถ้าเราดูจากทวิตนี้จะเห็นว่าเหรียญ PYUSD นั้นสามารถโดน Frozen ได้ตลอดเวลาโดยทีม เช่นเดียวกับเหรียญ Stablecoin ตัวอื่นๆ ในการที่จะ Freeze เวลา Protocol เกิดโดนแฮ็คขึ้นมาก็จะพอช่วยกู้ความเสียหายกลับมาได้บ้างอย่างทันท่วงที

แต่ก็มีข้อเสียคือสุดท้ายแล้วนั้นเงินก็ไม่ใช่ของเราจริงๆอยู่ดี ถึงแม้เราจะเป็น Self Custody บน Blockchain แต่ก็ยังมีข้อดีคือการอยู่บน Decentralized Network นั้นทำให้เรานั้นสามารถเข้าถึงข้อมูลเชิงลึกได้เกี่ยวกับ Holders และ Activity ต่างๆ

On-chain Data

ปัจจุบันเราสามารถ Track ข้อมูล On-chain ของ $PYUSD ผ่านลิงค์นี้ etherscan.io และด้วยข้อดีของ Blockchain ที่ทุกคนเข้าถึง Data ได้ ทำให้ Users ทั่วไปสามารถนำ Data มาทำเป็น Dashboard ผ่าน Dune เช่นภาพข้างบน

โดยจะเห็นว่ามี Circulating Supply อยู่ที่ 26.9M จากการ Mint & Burn โดย Paxos Treasury จาก Dashboard นี้ Users ทั่วไปสามารถคอย Monitor เพื่อดูความเคลื่อนไหวการ Mint & Burn ได้

ข้อดีและ Utilities

1.ความเสถียร PYUSD pegged แบบ 1:1 กับ U.S. Dollar

2.ความน่าเชื่อถือสูงและโปร่งใส เพราะดูแลโดย PayPal และ Paxos ในการจัดการ Reserves และรายงานผลทุกเดือนทั้ง Official และ Third-party ที่น่าเชื่อถือ

3.PayPal Ecosystem มีระบบ Payments ที่สะดวกรวดเร็ว ใช้ได้กับแพลตฟอร์มใหญ่ๆ On-ramp และ Off-ramp ได้สะดวกสะบาย

4.มี E-commerce Utility ที่สามารถใช้ในการช็อปปิ้งออนไลน์ได้เลย

5.มี WEB3 Compatible สามารถโอนไปยัง External Wallet และใช้งานกับ DeFi ต่างๆได้บ้าง เช่นการวาง Lending และทำ Liquidity Provider

6.Accessibility ที่ทุกคนเข้าถึงง่ายเพราะ PayPal มีฐาน Users กว่า 400 ล้านทั่วโลก 

ข้อเสีย

1.ความ Centralized ที่คนอาจไม่เลือกนำมาใช้กับ DeFi

2.การจำกัดการเข้าถึง เพราะยังเปิดให้ใช้งานเฉพาะลูกค้าในประเทศสหรัฐ

3.เรื่องของค่าธรรมเนียมต่างๆที่อาจจะเก็บในทุกการทำธุรกรรมที่แพง

4.ยังไม่มั่นใจกับ PayPal Ecosystem ที่ยังจำกัดนั้น จะดึงคนมาได้มากขนาดไหน

5.ยังเป็นมือใหม่ในวงการ ที่ยังต้องเจอเหตุการณ์ Blackswan อีกมากมาย

6.ความเสี่ยงของการปรับเปลี่ยนกฎระเบียบของ Regulators อยู่ตลอด อาจทำให้เกิดปัญหาทางกฎหมายตามมาภายหลังได้

7.คู่แข่งอย่าง USDT และ USDC เป็นที่ยอมรับอย่างแพร่หลายและฐาน Users แข็งแรงมาก อาจจะลำบากในการแข่งขัน

สรุป

การเข้ามาของ PayPal นั้น ถือว่าเป็นอีกก้าวของวงการที่หลายคนอาจไม่ได้ตระหนักมากนัก เพราะ PayPal นั้นมีฐาน Users มหาศาลทั่วโลก 400 กว่าล้านคนทำให้สามารถที่จะ Onboard คนเหล่านั้นเข้าสู่ WEB3 ได้อย่างง่ายดาย และจะมี Service ที่น่าจะตอบโจทย์แก่ Users ทั้ง WEB2 และ WEB3 แต่เมื่อเทียบกับ Stablecoins ตัวอื่นๆอย่าง USDT และ USDC ก็คงยังไม่ได้หวือหวามากนักในแง่ของการนำไปใช้งานกับ DeFi Protocols ต่างๆ

แต่ก็ยังมีปัญหานึงที่ยังคงกังวลนั่นก็คือเรื่องของ Regulator ที่เราก็ยังไม่แน่ใจว่า PayPal นั้นผ่านการกำกับแล้วหรือยัง มีโอกาสจะโดนเล่นงานจาก Regulator ภายหลังหรือไม่

ซึ่งหากลองมองอีกมุมการที่ PayPal ประกาศออก Stablecoin ในช่วงที่ Gary Gensler นั้นเขี้ยวต่อตลาดคริปโตก็อาจจะเป็นสัญญานว่าทาง PayPal น่าจะเคลียหลังบ้านไปหมดแล้วก็ได้ และอาจได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลเพื่อแย่ง Dominance มาจาก USDT และ USDC นั่นเอง แต่สิ่งที่พูดมายังเป็นเพียงแค่สมมุติฐานเพียงเท่านั้น

Author

Share :
Related
Cryptomind Monthly Outlook (November 2024)
Cryptomind Monthly Outlook (October 2024)
Thailand Blockchain Landscape 2024
Technical Analysis $SUI $FTM by Cryptomind Advisory (15 Oct 24)