Search
Close this search box.

Cryptomind Monthly Outlook (April 2023)

  • Apinat

    Digital Asset Analyst

  • Parit Boonluean

    A guy who loves crypto like Bitcoin and Ethereum. He's not the best writer, but his love for DeFi makes up for it. He's an easygoing guy who makes learning about crypto fun and easy.

  • Sun

    Researcher and Analyst at Cryptomind, 6th year Medical student at Chulalongkorn, Always busy finding that 100x Fantasy

  • Kuljira Ittiamornkul
  • Siwakorn Samutthong

    Analyst/Researcher at Cryptomind. Founder at Jolden Crypto. Ethereum/L2 Enthusiast.

  • Principe

    Research is not Forecast. Details are important. All Works are Not Financial Advices.

  • Kantapong Wongwaen
Share :
ปก

Table of Contents

*ข้อมูลระหว่างวันที่ 16 มีนาคม 2023 – 11 เมษายน 2023

สำหรับภาพใหญ่ของ $LINK จะเห็นว่าราคาได้เคลื่อนที่อยู่ในกรอบ Sideway ขนาดใหญ่มาเป็นเวลาเกือบ 1 ปี โดยมีกรอบบนของราคาอยู่ที่โซนราคาประมาณ $9 และกรอบล่างที่โซนราคา $5 ซึ่งในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ราคาได้มีการลงไปทดสอบกรอบล่างที่ราคา $5.8 อีกครั้ง หลังจากนั้นมีการปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากกรอบนี้ราคามีแนวต้านที่สำคัญสองแนวคือที่ราคา $8 และ $9 ตามลำดับ

แม้ว่าในภาพใหญ่ $LINK มีแนวโน้มที่ดี แต่ใน Time Frame ย่อย ยังมีความน่ากังวล เนื่องจากกราฟมีการเปลี่ยนแนวโน้มจากขาขึ้นกลายเป็น Sideway และมีโอกาสกลับตัวเป็นขาลงเนื่องจากไม่สามารถทำสูงสุดใหม่ได้ และทำ Lower high ถึงสองครั้งติดต่อกัน ฉะนั้นราคามีโอกาสกลับตัวเป็นขาลง นักลงทุนจะต้องจับตาที่แนวรับที่โซนราคา $7 หากราคาปรับตัวหลุดแนวนี้ จะกลายเป็นขาลงโดยสมบูรณ์ และมีโอกาสไปทดสอบแนวรับที่ราคา $6.7 และ $6.3 ตามลำดับ ฉะนั้นสิ่งที่สำคัญสำหรับ $LINK คือต้องทำ higher high ให้ได้ถึงจะมีโอกาสไปทดสอบแนวต้านในภาพใหญ่ได้

BTC เตรียมขึ้นทดสอบแนวต้านถัดไป

BTC ได้ปรับตัวขึ้นเหนือกรอบ Sideway อย่างชัดเจน และเตรียมขึ้นไปทดสอบแนวต้านถัดไป ปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมา BTC ได้ขึ้นมาทดสอบแนวต้านสำคัญที่ราคา $28,700 หลังจากนั้นได้ลงมาพักตัวออกข้างในกรอบเป็นเวลาเกือบ 2 สัปดาห์ และสามารถปรับตัวขึ้นเบรคกรอบราคาได้ทำให้มีโอกาสขึ้นไปทดสอบแนวต้านถัดไปที่ราคา $30,800 และ $34,300 ตามลำดับ

อย่างไรก็ตามราคาอาจมีการพักตัวหลังไปทดสอบแนวรับแรกที่ราคา $30,800 ซึ่งหากพักตัวจริงมีโอกาสเป็นการพักตัวในแนวโน้มขาขึ้นมากกว่าการเปลี่ยนเป็นขาลง ฉะนั้นในภาพใหญ่สามารถพิจารณาแนวรับที่สำคัญ 2 แนวคือราคา $28,700 และ $25200 ตามลำดับ

เมื่อมาพิจารณาการเคลื่อนที่ของราคาใน TF ย่อยพบว่าใน TF 4 H ราคาอยู่ในแนวโน้มขาขึ้นชัดเจน(ตามลูกศรสีเหลือง) และเมื่อใช้การหาแนวต้านด้วย Fibo จะพบว่าปัจจุบันราคาขึ้นไปทดสอบแนว 261.8% พร้อมกับ indicator ทำสัญญาณ overbought จึงมีโอกาสเห็นการพักตัวได้ที่แนวต้าน $30,000-$30,800 โดยหากเป็นการพักตัวในแนวโน้มขาขึ้นราคาไม่ควรปรับตัวหลุดแนวรับที่ราคา $27,100 ไม่เช่นนั้นจะมีอกาสปรับตัวเป็นขาลง และหากราคาปรับตัวขึ้นต่อผ่านแนวรับแรกจะเห็นว่า Fibo ของ TF นี้สอดคล้องกับเป้าราคาใน TF day ที่ $34,300

อัตราแลกเปลี่ยนเงินดอลล่าร์กับไทยบาทนั้นปัจจุบันอยู่ที่ 34.3 บาทต่อดอลล่าร์ซึ่งอยู่ในโซนเดียวกับเดือนที่ผ่านมา (ณ วันที่ 10/4/2023) ซึ่งปัจจัยสำคัญที่ทำให้สองค่าเงินนี้มีโอกาสผันผวนมี 2 ปัจจัย

1. ดอกเบี้ยของสหรัฐเริ่มเห็นแววว่าอาจจะขึ้นได้อีกไม่มากแล้วหลังจากตัว fed dot plot ฉบับล่าสุดได้ออกมา ทำให้ค่าเฉลี่ยของดอกเบี้ยอยู่ที่ 5.1% (ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ 4.75%) เท่ากับว่าดอกเบี้ยของ Fed นั้นเริ่มเข้าสู่จุดพีคแล้วนั่นเอง แต่สิ่งที่ตลาดจับตามองไม่ใช่ดอกเบี้ยอีกต่อไปแล้ว แต่เป็นมุมมองของ Fed ที่จะออกมาใน Fed minute ในวันที่ 18 เมษายนแทน เพื่อดูว่าทิศทางของประธาน Fed นั้นจะมีการคงอัตราดอกเบี้ย หรือจะมีการลดอัตราดอกเบี้ยหรือไม่ในปีนี้ หลังจากเกิดปัญหาสภาพคล่องของธนาคารขึ้นในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา

2. ประเทศไทยช่วงนี้เริ่มมีเม็ดเงินไหลเข้ามาสู่ตลาดหุ้นกู้เอกชน หรือหุ้นกู้บริษัทต่างๆ เพราะว่าได้ดอกเบี้ยเยอะกว่าธนาคารบวกกับความเชื่อมั่นในการฝากเงินในธนาคารเริ่มลดลง ทำให้เงินบาทเริ่มแข็งสวนเงินดอลล่าร์ได้ แต่ทว่าปัจจัยใหญ่ๆของประเทศไทยก็คือการเลือกตั้งที่จะชี้ชะตานโยบายทางเศรษฐกิจและการเงินจะเป็นอย่างไรในระยะกลางและระยะยาว 


มุมมองโดยรวม = USD/THB  Sideway ในกรอบ 34 – 34.5 บาทต่อดอลล่าร์จนกว่าจะปัจจัยดังกล่าวจะชัดเจน

หลังจากเกิดปัญหาเรื่องสภาพคล่องและความน่าเชื่อถือของธนาคารในอเมริกา ทำให้ประชาชนเริ่มถอนเงินจากธนาคารเล็กไปสู่ธนาคารใหญ่ หรือย้ายเงินเข้าสู่ Money market มากขึ้น ทำให้ธนาคารขนาดเล็กนั้นเริ่มมีปัญหาสภาพคล่องมากขึ้นเนื่องจากไม่มีเงินฝากของประชาชน จนทำให้สถานการณ์ของอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ในธนาคารขนาดเล็กนั้นมีโอกาสที่จะถูกบังคับขายเพื่อสภาพคล่อง และอาจจะเป็นการเริ่มต้นของโดมิโน่ของตลาดอสังหาริมทรัพย์ขึ้น ดังนั้นนักลงทุนควรเฝ้าระวังปัจจัยนี้ให้ดี ถึงแม้ FDIC จะเข้ามาช่วยให้ธนาคารขนาดเล็กสามารถกู้เงินได้แล้วก็ตาม แต่การขึ้นดอกเบี้ยอย่างรวดเร็วของ Fed ที่ผ่านมานั้น อาจจะทำให้ธนาคารเล็กๆเหล่านี้ทนพิษบาดแผลไม่ไหว

ภาพรวมตลาดคริปโทฯในช่วงเดือนที่ผ่านมายังคงมีความผันผวนสูงท่ามกลางเศรษฐกิจมหภาคที่ตลาดกลับมากังวลเรื่อง Recession และยังมีหลายเหตุกาณ์ที่เกิดขึ้นภายใน อย่างเช่น การที่ CFTC ฟ้อง Binance ในข้อหาฝ่าฝืนการให้บริการ Derivative แก่ชาวสหรัฐโดยไม่ได้รับอนุญาตที่กดดันตลาด นอกจากนี้ ยังมีเหตุการณ์สำคัญอย่าง Shanghai upgrade ของ Ethereum ที่นักลงทุนควรจับตาดูอย่างใกล้ชิดว่าจะมีการเทขายเหรียญ ETH มากขนาดไหน เพราะจะส่งผลกระทบต่อ Sentiment ของตลาดคริปโทฯและ DeFi โดยรวมอย่างแน่นอน  

โดย TVL ของ DeFi เพิ่มขึ้นจากเดือนที่แล้วประมาณ 10% โดยเชนที่มี TVL เพิ่มขึ้นสูงสุดคือ Arbitrum ซึ่งเพิ่มขึ้นถึง 46.71% แม้ว่าจะทำการแจก Airdrop ให้กับผู้ใช้งานไปแล้ว แต่ TVL ก็ยังไม่มีทีท่าว่าจะลดลงเลย ซึ่งส่วนหนึ่งแสดงถึงความแข็งแกร่งของเชนและอีกส่วนหนึ่งอาจจะมาจากผู้ใช้งานที่ทำการฟาร์ม Incentive เหรียญ ARB จากบรรดา DApps ต่างๆ ที่คาดว่าจะแจกในอนาคตอันใกล้นี้

ส่วนเชนที่มี TVL เพิ่มขึ้นมากรองจาก Arbitrum ก็คือ Tron ที่ตอนนี้ได้พลิกกลับมาแซง BNB Chain มาอยู่อันดับสองแล้ว อย่างไรก็ตาม DApps บน Tron chain ยังมีจำนวนเท่าเดิมและจำนวน Daily Active User ไม่ได้เติบโตตาม  จึงยังควรระมัดระวัง

ส่วน DeFi Narrative ที่น่าจับตามองช่วงนี้ยังหนีไม่พ้น Liquid staking ที่ยังต้องจับตาดูว่าเหรียญ ETH ที่ถูกปลดออกมาจะถูกนำไปใช้บริการ Liquid staking มากขนาดไหน นอกจากนี้ Narrative อื่นๆที่มาแรงคือกลุ่มที่ได้ประโยชน์จาก UniSwap V3 License หมดอายุ เช่น Trader Joe, PancakeSwap เป็นต้น

ผ่านมากว่า 1 สัปดาห์แล้วหลังจากที่ License ของ Uniswap V3 ได้หมดอายุลง ทำให้หลังจากนี้แพลตฟอร์ม Decentralized Exchange (DEX) อื่นๆสามารถนำ Source Code ในการทำ Concentrated Liquidity ไปพัฒนาต่อได้ซึ่งทำให้มีหลายคนกลัวว่า Uniswap จะหมดจุดเด่นลงจน TVL ตกลงเหมือนกับกรณีที่ Sushiswap ทำการ Fork Uniswap V2 จนทำให้ TVL ของ Uniswap ตก 66% ภายใน 1 สัปดาห์

Pancakeswap V3 เป็นแพลตฟอร์มแรกที่นำ Concentrated Liquidity ไปใช้พร้อมทำปรับแต่ง User Interface ให้ใช้งานสะดวกขึ้น พร้อมทั้งเตรียมเปิดตัว “VIP” Trading Rewards Program ซึ่งจะได้รับ 5% Trading fee rebate จากการ Lock CAKE และถือ NFT Profile นอกจากนี้ยังเตรียมเปิดตัว Position Manager Feature ช่วยให้คนเพิ่มสภาพคล่องด้วย 1-click และ Auto adjust ให้ได้ Fee ตลอด

แต่สิ่งที่เห็นในตอนนี้คือ TVL ของ Uniswap V3 ไม่ได้ลดลง กลับเพิ่มขึ้นเล็กๆน้อย ในขณะที่ Pancakeswap กลับมี TVL ที่ลดลง 3.69% ใน 1 สัปดาห์ นอกจากนี้ DEX ที่จะนำ Concentrated Liquidity มาใช้นั้นก็ไม่ได้เยอะอย่างที่คิด โดยมี Sushiswap V3 และ Maia V3 ที่กำลังอยู่ในช่วงพัฒนาเท่านั้น โดยเหตุผลอาจมาจากแพลตฟอร์มต่างๆได้มีวิธีการเพิ่มสภาพคล่องที่ดีไม่แพ้ Uniswap V3 แล้ว เช่น Liquidity Book ของ TraderJoe, Stableswap ของ Curve, Elastic ของ Kyberswap และ ve(3,3) ของ Velodrome ทำให้กระแสไม่ได้โหมมาใช้ Concentrated Liquidity อย่างที่คิด

อย่างไรก็ตามโมเดลนี้ก็นับว่าเป็นการใช้สภาพคล่องได้คุ้มค่าเป็นอย่างมาก แต่ก็มาพร้อมความซับซ้อนในการบริหารจัดการ เช่น การเลือกกรอบราคาและเลือกค่าธรรมเนียม หากอนาคตมีแพลตฟอร์มที่อำนวยความสะดวกด้านนี้ (Active Liquidity Management) มากขึ้นกว่าปัจจุบันที่มีเพียง Unipilot และ Gamma ก็อาจจะทำให้โมเดลนี้เป็นที่นิยมมากยิ่งขึ้น

เมื่อวันที่ 6 เมษายนที่ผ่านมา GMX ได้เสนอแนวทางการอัพเกรดแพลตฟอร์มเป็น V2 โดยใช้ชื่อหัวข้อว่า “Sustainable Development” ซึ่งประกอบไปด้วยการอัพเกรด Codebase และ Parameters ต่างๆไม่ว่าจะเป็น การเพิ่ม/ลด Trading Size, Price Impact, Swap Fee, Funding Fee และเสนอให้แบ่งค่าธรรมเนียมแพลตฟอร์ม 10% เข้า DAO Treasury สำหรับนำเงินไปใช้ในการ Operation/Development/Collaboration 

ซึ่งข้อเสนอหลักที่ Community ให้ความสนใจเป็นอย่างมากคือ การแบ่งค่าธรรมเนียม 1.2% ให้กับ Chainlink สำหรับการนำ “Low-Latency Oracle” ซึ่งเป็น Price Feed สำหรับ Derivatives Market โดยเฉพาะ นำมาใช้งาน ซึ่งมีจุดเด่นคือการอัพเดตราคาได้ Real Time มากขึ้น รวมไปถึงป้องกันผู้ใช้งานกรณีเกิด Front-running ในระบบและทำให้ราคาเปลี่ยนแปลงกระทันหัน

ซึ่งจากข้อเสนอดังกล่าว นอกจากจะเป็นเรื่องที่ดีสำหรับ GMX ที่ทำให้ระบบการเทรด Future ในภาพรวมดีขึ้นแล้ว ก็นับเป็น Fundamental เชิงบวกสำหรับ Chainlink อีกด้วยเช่นกัน เนื่องจาก Chainlink ได้มีการเปิดตัว Economics 2.0 โดยกล่าวถึงการมีบทบาทของผู้ถือ $LINK ที่สามารถเข้ามา Staking กับ Node Operator เพื่อรับ Revenue Sharing จาก Chainlink ได้

โดย DApps ต่างๆที่มีการใช้งาน Product ของ Chainlink ไม่ว่าจะเป็น Price Feed, VRF, Proof of Reserve รวมไปถึง CCIP (Cross Chain Swap) ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต จะต้องมีการจ่ายรายได้เป็นเหรียญ $LINK ให้กับ Chainlink สำหรับค่าใช้บริการ และ Chainlink ก็จะนำรายได้เหล่านั้นส่วนนึงนำมาจ่ายเป็น Rewards ให้แก่คนที่เข้ามา Staking นั่นเอง

ผลตอบแทนที่ได้จากพันธบัตรรัฐบาลระยะสั้นสหรัฐ (Treasury Bills) แบบระยะสั้น 3 เดือน ที่มีความเสี่ยงต่ำ แต่มีสภาพคล่องและผลตอบแทนสูง ให้ผลตอบแทนเฉลี่ยปีละ 4.77% ส่วนผลตอบแทนจากการฟาร์มหรือปล่อยกู้ Stablecoin บนแพลทฟอร์มต่างๆในช่วงนี้ให้ผลตอบแทนเฉลี่ยปีละ 5.56% ซึ่งสำหรับการฟาร์ม Stablecoin สามารถเลือกฝากกับแพลทฟอร์มที่มีความปลอดภัยสูงและเปิดมานาน เช่น Curve, UniSwap, PancakeSwap, Aave, Compound, Traderjoe หรือจะเลือกฝากบนแพลทฟอร์มที่ใหม่กว่าและผลตอบแทนสูงกว่าอย่างเช่น Velodrome ก็ได้เช่นกัน โดยผลตอบแทนเฉลี่ยระหว่างพันธบัตรเทียบกับการฟาร์ม Stablecoin ต่างกันอยู่ที่ประมาณ 1.17 เท่า 

โดยผลตอบแทนฟาร์มและปล่อยกู้ Stablecoin ลดลงจากเดือนที่แล้วค่อนข้างมาก ซึ่งก็เป็นไปตามคาดเพราะผลตอบแทนที่เพิ่มมานั้นเกิดจากเหตุการณ์ Panic ชั่วคราวจากการ Depeg ของ USDC ที่ทำให้การทำธุรกรรมซื้อขายแลกเปลี่ยนเพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงดังกล่าว อย่างไรก็ตามตอนนี้สถานการณ์ได้คลี่คลายแล้วจึงทำให้ผลตอบแทนกลับสู่สภาวะปกติ

สภาวะตลาด NFT ในช่วง 30 วันที่ผ่านมาพบว่าปริมาณซื้อขาย NFT บน Ethereum Blockchain มีการปรับตัวลงอยู่ที่ 41.22% ในขณะที่บล็อกเชนอื่นอย่าง Solana และ Polygon มีการปรับตัวขึ้นอยู่ที่ 31.35% และ 29.08% ตามลำดับ ในขณะที่สวนทางกับจำนวนผู้ใช้งานโดยเฉพาะ Ethereum Blockchain ที่มีการปรับตัวขึ้นของจำนวนผู้ใช้งานสูงถึง 111.23% ถึงสิ่งนี้คาดว่าเกิดขึ้นเพราะเนื่องจากผู้คนลด Position size ในการฟาร์ม Blur Airdrop จากการที่ Blur ประกาศจะเพิ่มระยะเวลาแต้มคูณสองของ Bidding และ Listing จากวันที่ 1 เมษายน ไปถึงวันที่ 1 พฤษภาคมแทน ถึงทำให้ผู้ใช้งานลดปริมาณเงินที่ไปฟาร์มลงจากที่ระยะเวลาขยายเพิ่มขึ้น 

แต่อย่างไรก็ตามทางคอมมูนิตี้ของ Blur ก็มีความรู้สึกไม่พอใจเล็กน้อยจากการที่วันตรงนี้ถูกเลื่อน เพราะมันอาจทำให้ดูเหมือนว่าวันจบของ Blur Airdrop Season 2 จะถูกเลื่อนตามไปด้วยนั่นเอง

เมื่อวันที่ 6 เมษายนที่ผ่านมา Opensea ได้กลับมาอีกไม้ในสงครามแย่งส่วนแบ่งตลาด NFT อีกครั้ง  โดยการรีแบรนด์ผลิตภัณฑ์ตัวเองที่เป็น NFT Aggregator หรือ Gem.xyz โดยการเปลี่ยนชื่อเป็น Opensea Pro ที่ได้มีเครื่องมือมากมายเข้ามาทำให้แพลตฟอร์มมีประสิทธิภาพมากขึ้นอย่างเช่น การรวมข้อมูลของสภาวะตลาดจาก 170 ตลาดซื้อขาย, การตั้ง advanced orders อย่างการซื้อหรือ sweep เจาะไปที่ Trait เฉพาะเจาะจงของ NFT คอลเลคชั่นนั้น ๆ และยังรวมไปถึงการ optimized gas fee และฟังก์ชั่นอื่น ๆ อีกเพียบ

และสิ่งที่ให้การแข่งขันการแย่งส่วนแบ่งตรงนี้ดุเดือดมากขึ้นก็เป็นเพราะว่าทาง Opensea ได้เปิดให้ผู้ใช้งานที่เคยใช้แพลตฟอร์ม Gem ได้มิ้นท์ NFT ที่มีชื่อว่า Gemesis ได้ฟรีถึงวันที่ 6 เมษายน 2566 ในฐานะคำขอบคุณจาก Opensea และ Gem 

แต่อย่างไรก็ตามนั้น ทางเราคาดว่า NFT Gemesis จะเป็นสิ่งที่น่าจะกลับมาสร้าง Incentive ให้กับผู้ที่มิ้นท์ในอนาคตโดยเฉพาะอย่างยิ่งการ Airdrop โทเคน เพราะช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมาเราเห็นได้อย่างชัดเจนเลยว่าเจ้าตลาดของวงการ NFT นั้นจะเป็นแพลตฟอร์มที่มีโทเคน อย่างปัจจุบันคือ Blur ที่มีการออก Airdrop มาแล้วหนึ่งรอบ และคาดว่ากำลังจะออกอีกรอบภายในไตรมาสสองนี้ เพราะนั้นเราก็อาจจะได้เห็น Opensea ออกมาเล่นท่าแบบนี้ในไม่ช้าด้วยเช่นกันเพื่อแย่งส่วนแบ่งตลาด

Fun Fact: ปัจจุบัน Blur มีปริมาณซื้อขาย NFT ย้อนหลัง 30 วันอยู่ที่ $1.15B ในขณะที่ Opensea มีปริมาณซื้อขาย NFT ย้อนหลังอยู่ที่ $356.6M แต่ถึงอย่างงั้น Opensea กลับมาจำนวนผู้ใช้งานมากกว่าเกือบ 2 แสนคน

เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2023 ที่ผ่านมา Otherside Metaverse ได้มีการจัดกิจกรรม Second Trip ที่ให้ผู้ที่ถือ Otherdeed (ที่ดินใน Otherside) เข้ามาทำกิจกรรมร่วมกัน พร้อมกับเป็นการแสดงความคืบหน้าของโปรเจกต์ไปในตัว และถือเป็น Milestone สำคัญของการพัฒนา Otherside ด้วย

กิจกรรม Second Trip ของ Otherside ครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมมากกว่า 7,200 คนซึ่งมากกว่า First Trip ที่มีผู้เข้าร่วมแค่ 4,620 คน โดยผู้เข้าร่วมจะถูกสุ่มทีมเพื่อทำกิจกรรม ซึ่งทีมจะมี 4 ทีมด้วยกันคือ Luster (เหลือง), Crimson (แดง), Veldan (เขียว) และ Glacial (ฟ้า) โดยทีมที่ทำแต้มได้เยอะที่สุดจะเป็นผู้ชนะ ซึ่งผู้ชนะจะได้รับหมวกสุดเท่ที่สามารถนำมาใส่กับ Avatar ได้ ให้กับทีมผู้ชนะ

หลังจาก Second Trip ได้จบลง ผู้ที่ได้เข้าร่วมก็ค่อนข้างเห็นตรงกันว่า Second Trip ทำออกมาได้น่าประทับใจและมีพัฒนาการมากขึ้นกว่าเดิม เช่น Avatar ที่เปลี่ยน Design ไป, Gameplay ที่ดีขึ้น, ระบบเสียงการพูดคุยในเกม และการรองรับผู้คนจำนวนมากในพื้นที่เล็กๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

และล่าสุด Yuga Labs ได้ประกาศเรื่องความร่วมมือกับ Gucci บริษัทแฟชั่นชื่อดังเพื่อนำแฟชั่นดิจิทัลสุดหรูมาสู่ Metaverse โดยความร่วมมือนี้เป็นความร่วมมือระยะยาวเพื่อทำงานร่วมกันใน Otherside ของ Yuga Labs และ 10KTF Collection โดยมีเป้าหมายเพื่อหาโอกาสร่วมกันระหว่างแฟชั่นและความบันเทิง Web3

ซึ่งโปรเจกต์ล่าสุดของทั้งสองก็เป็นการเปิดขาย KodaPendant ที่เป็นเครื่องประดับของ Koda โดยมีทั้งหมด 3,333 ชิ้น ที่ราคา 450 $APE หรือประมาณ​ 64,000 บาท ซึ่งขายหมดเป็นที่เรียบร้อย

ล่าสุด Immutable X ก็ได้ประการความร่วมมือกับ Polygon zkEVM ในวันที่ 21 มีนาคม 2023 ที่ผ่านมา ซึ่งความร่วมมือนี้เป็นการให้ Immutable สามารถนำเทคโนโลยีการสร้าง zk-rollup ที่เป็น EVM Compatible หรือ zkEVM มาใช้ในการสร้างเชนของตัวเองได้ โดยเชนของ Immutable ที่ใช้เทคโนโลยี zkEVM ของ Polygon จะถูกใช้ชื่อว่า Immutable zkEVM โดยข้อดีจากการใช้เทคโนโลยี zkEVM ก็คือการทำให้เกม Web3 ที่สร้างบน Immutable zkEVM ได้รับความรวดเร็วและปลอดภัยมากขึ้นจากการยืนยันธุรกรรมแบบ Validity Proof

และอีกหนึ่งสิ่งสำคัญจากการทำ Immutable zkEVM ก็คือการเพิ่ม Utility ให้กับ IMX token ที่จะมีบทบาทใน Ecosystem มากขึ้น โดย IMX จะถูกใช้ในการจ่ายค่าธรรมเนียมการใช้งานหรือ Gas Fee บน Immutable zkEVM เป็นหลัก มากไปกว่านั้น ค่าธรรมเนียมที่เกิดขึ้นบนแพลตฟอร์มต่างๆ ที่สร้างบน Immutable zkEVM จะจำเป็นต้องจ่ายค่าธรรมเนียมเป็น IMX ในสัดส่วน 20% อีกด้วย ซึ่งนี่จะเป็นการเพิ่ม Utility ให้กับเหรียญ IMX ได้อย่างมากหากแพลตฟอร์มต่างๆ บน Immutable zkEVM ประสบความสำเร็จ

.

คำเตือนความเสี่ยง : คริปโทเคอร์เรนซี่มีความเสี่ยงสูง ท่านอาจสูญเสียเงินลงทุนได้ทั้งจำนวนและสินทรัพย์ดิจิทัลมีความเสี่ยง โปรดศึกษาและลงทุนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ ผลตอบแทนของสินทรัพย์ดิจิทัลในอดีต มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลตอบแทนของสินทรัพย์ดิจิทัลในอนาคต

Authors

Share :
Related
DeSci: เมื่อ Web3 ปฏิวัติวงการวิทยาศาสตร์และการวิจัย
Cryptomind Monthly Outlook (November 2024)
Cryptomind Monthly Outlook (October 2024)
Thailand Blockchain Landscape 2024