Search
Close this search box.

“Manifold Finance” กับการสร้าง MEV Protection Product ที่จะช่วยยกระดับการใช้งานแพลตฟอร์ม Decentralized ของนักลงทุนให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

  • Siwakorn Samutthong

    Analyst/Researcher at Cryptomind. Founder at Jolden Crypto. Ethereum/L2 Enthusiast.

Share :
Manifold

Table of Contents

1) Manifold Finance คืออะไร?

รูปภาพจาก : https://medium.com/manifoldfinance/manifold-7f8af517b2e2

Manifold Finance คือแพลตฟอร์มที่มุ่งเน้นที่จะสร้าง Middleware Product ให้กับแพลตฟอร์ม DeFi ต่างๆ ซึ่งตัว Product จะเกี่ยวข้องกับการป้องกันการทำกำไรจาก MEV ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันนั่นเอง นอกจากนี้ทางแพลตฟอร์ม Manifold Finance ยังเป็นผู้สร้างบล็อก (Block Builder) ของ Etheruem 2.0 (Proof of Stake) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพสูงสุดในการใช้งาน MEV Product ต่างๆที่แพลตฟอร์มสร้างขึ้นมาอีกด้วย
.
โดยฟีเจอร์ที่เป็นไฮไลท์ของแพลตฟอร์ม Manifold Finance ก็คือ “SecureRPC” และ Product ที่สร้างขึ้นมาเพื่อป้องกัน MEV ตัวแรกของแพลตฟอร์มนั้นมีชื่อว่า YCabal ซึ่งปัจจุบันได้เปลี่ยนชื่อเป็น “OpenMEV” และในอนาคตทางแพลตฟอร์มก็มีแผนจะออก MEV Product ตัวอื่นๆอีกมากมาย ส่วนรายละเอียดเชิงลึกของ Product ในปัจจุบันของ Manifold ก็จะนำไปเล่าให้ฟังในหัวข้อถัดๆไป
.
ซึ่งสำหรับใครที่เป็นมือใหม่ในโลกคริปโต ก็อาจจะไม่เคยได้ยินคำว่า MEV กันเท่าไรนัก เนื่องจากเป็นศัพท์เชิงเทคนิคที่มีความซับซ้อนพอสมควร แต่รู้หรือไม่ว่า ทุกๆการทำธุรกรรมของเราในโลก DeFi นั้นจะเกิด MEV เข้ามาเกี่ยวข้องอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นการ Swap เหรียญ หรือจะเป็นการทำ Arbitrage ซึ่ง MEV นั้นเปรียบเสมือนเป็นไวรัส ที่จะทำให้เหรียญที่เราเข้าไป Swap ได้ราคาไม่ที่ตรงกับราคาที่เราต้องการ รวมถึงมันจะทำให้การทำ Arbitrage ของเราไม่เกิดผลกำไรได้นั่นเอง
.
สำหรับบทความนี้ ก่อนจะเข้าเรื่องอื่นๆของ Manifold Finance ผมขออนุญาตพาทุกคนเข้าไปเจาะลึกถึงเรื่องราวของ MEV ว่ามันคืออะไร? มันส่งผลเสียต่อผู้ใช้งานอย่างไร? การกระทำ MEV เหล่านี้ทำให้ใครได้ประโยชน์บ้าง? มันมีข้อดีและข้อเสียอย่างไรบ้าง?

2) MEV คืออะไร?

รูปภาพจาก : https://blog.pantherprotocol.io/miner-extractable-value-the-good-the-bad-the-ugly/

MEV แต่เดิมนั้นย่อมาจากคำว่า “Miners Extractable Value” หรือถ้าแปลเป็นภาษาไทยแบบเข้าใจง่ายคือ “การทำกำไรของ Miners จากการแทรกแซงธุรกรรมใดธุรกรรมหนึ่งก่อนที่จะถูกบันทึกลงบล็อก” ซึ่งในปัจจุบันนี้ ตัวย่อ M ของ MEV ได้ถูกเปลี่ยนให้กลายเป็น Maximal Extractable Value เนื่องจากการเปลี่ยนระบบของ Ethereum ที่กำลังมาถึงจาก Proof of Work ให้กลายเป็น Proof of Stake นั้น จึงทำให้เปลี่ยนจากคำว่า Miner เป็น Maximal แทน หรือแปลเป็นอีกความหมายได้ว่า “การทำกำไรสูงสุดจากการแทรกแซงธุรกรรมใดธุรกรรมหนึ่งก่อนที่จะถูกบันทึกลงบล็อก” หรือการทำ MEV ก็เรียกอีกชื่อนึงว่าการ Frontrunning ที่แปลว่า การตัดหน้า/แซงคิว นั่นเอง

กระบวนการการบันทึกธุรกรรมลงบนเครือข่าย
(รูปภาพจาก : https://blog.chain.link/what-is-miner-extractable-value-mev/
)

สำหรับคนทั่วไปที่ไม่ได้เป็นนักพัฒนา การจะเข้าใจเทคเชิงลึกของ MEV เป็นเรื่องที่ค่อนข้างซับซ้อน เพราะฉะนั้นในหัวข้อย่อยนี้ ผมจะอธิบายกลไกของ MEV รวมถึงข้อดี/ข้อเสีย และตัวอย่างการทำกำไรของ Miner จาก MEV ให้อ่านกันแบบเข้าใจง่ายที่สุดนะครับ
.
โดยก่อนจะเข้าเรื่อง MEV ต่อไป อยากให้ทุกคนเข้าใจขั้นตอนการบันทึกธุรกรรมลงบนบล็อกเชนก่อน โดยเริ่มแรก ธุรกรรมทั้งหมดที่เกิดขึ้นบนเครือข่าย ไม่ว่าจะเป็น การ Swap เหรียญ, การส่งเหรียญไปยังกระเป๋าอื่น หรือจะเป็นการ Mint NFT นั้น ธุรกรรมทั้งหมดเหล่านี้จะถูกส่งไปไว้ในสิ่งที่เรียกว่า “Mempool” ซึ่งมันเป็นศูนย์รวมธุรกรรมทั้งหมดที่ถูกส่งมาจากผู้ใช้งานทั้งเครือข่าย เพื่อรอการตรวจสอบและบันทึกธุรกรรมจากเหล่า Miners ดังนั้น ธุรกรรมที่อยู่ใน Mempool ทั้งหมดจะกระจัดกระจายกันอยู่เยอะมากๆเลยทีเดียว หรือถ้าพูดเป็นภาษาอังกฤษ มันคือ Pending Transaction/Unconfirmed Transaction ที่เราจะเห็นกันตลอด หลังจากกดทำธุรกรรมใน Wallet ไปเรียบร้อยแล้ว
.
โดยหน้าที่ของ Miners คือการนำธุรกรรมที่อยู่ใน Mempool เหล่านั้นไปตรวจสอบ และบันทึกลงบนบล็อกเชน ซึ่งธุรกรรมทั้งหมดใน Mempool ก็จะมีทั้งธุรกรรมขนาดใหญ่หลักสินล้านดอลลาร์ รวมถึงธุรกรรมขนาดเล็กหลักสิบหลักร้อยดอลลาร์ปะปนกันไป และแน่นอนว่า แต่ละธุรกรรมนั้นก็จะมีการจ่ายค่า Gas เพื่อเป็นผลตอบแทนให้แก่ Miners ที่ “ไม่เท่ากัน” เนื่องจากธุรกรรมที่มีขนาดใหญ่ จะมีความยาวของ Code ที่ยาวกว่า ก็จำเป็นต้องใช้พลังการคำนวณที่มากกว่า เลยต้องมีการจ่ายค่า Gas ที่แพงกว่าธุรกรรมขนาดเล็กเสมอ
.
และด้วยความที่แต่ละธุรกรรมนั้นจ่ายค่า Gas ถูกแพงไม่เท่ากัน แน่นอนอยู่แล้วว่า Miners หรือคนที่ซื้อการ์ดจอเข้ามาขุดเหรียญ Ether นั้นต่างต้องการกำไรหรือผลตอบแทนที่มากเป็นเรื่องธรรมดา ทำให้พวกเขาสามารถเรียงลำดับธุรกรรมได้เลยว่า จะทำให้ธุรกรรมอันไหนเสร็จก่อน หรือเสร็จหลัง และเป็นธรรมดาอยู่แล้วที่เหล่า Miners จะเลือกธุรกรรมที่มีการจ่ายค่า Gas ที่สูงๆให้ทำธุรกรรมเสร็จก่อน เพื่อทำให้พวกเขาได้กำไรจากการขุดที่มากที่สุดนั่นเอง

อย่างที่บอกไปว่า Miners นั้นจะสามารถเลือกธุรกรรมและนำมาเรียงลำดับได้เลยว่า ธุรกรรมอันไหนจะเสร็จก่อน หรือเสร็จหลัง ทำให้เหล่า Miners สามารถที่จะเห็นธุรกรรมทั้งหมดภายใน Mempool ได้ และรู้ว่าจะเกิดธุรกรรมอันไหนก่อนและหลัง ซึ่งนอกจาก Miners จะเห็นธุรกรรมทั้งหมดใน Mempool แล้ว บุคคลทั่วไปก็สามารถที่จะเข้าไปดูธุรกรรมต่างๆใน Mempool ได้ว่าจะเกิดธุรกรรมอันไหนก่อนหรือหลังเนื่องจาก Blockchain เป็นเครือข่ายสาธารณะ ทำให้มีบุคคลที่เชี่ยวชาญด้าน Smart Contract สามารถที่จะเขียน Code ธุรกรรมของตนเองเข้าไปแทนที่ธุรกรรมต่างๆได้ เราจะเรียกบุคคลเหล่านี้ว่า MEV Searcher หรือผู้ค้นหาโอกาสในการทำกำไรจาก MEV
.
เพราะฉะนั้น อีกความหมายหนึ่งของการทำ MEV คือการที่มี Miners คนใดคนหนึ่งที่สามารถเขียน Code ได้หรือ MEV Searcher คนใดคนหนึ่ง ทำการแทรกธุรกรรมของตนเองเข้าไปไว้ก่อนหน้าธุรกรรมแรกที่กำลังจะถูกปิดบล็อก จึงทำให้ Miners หรือ MEV Searcher สามารถทำกำไรจากการแทรกธุรกรรมตรงนี้ได้
.
คำถามต่อไปคือ ทำไม Miners สามารถทำกำไรจากการแทรกธุรกรรมได้? ผมจะขอยกตัวอย่างกรณีการทำกำไรจาก Arbitrage โดยการทำ MEV นะครับ สมมุติว่านายหาญเห็นความแตกต่างระหว่างราคา ETH ระหว่าง Uniswap และ Sushiswap โดยราคา ETH ที่ Sushiswap อยู่ที่ $2,200 และราคา ETH ที่ Uniswap อยู่ที่ $2,000 เขาจึงตัดสินใจแลกเหรียญ USDC จำนวน 10,000 USDC ให้เป็นเหรียญ ETH ใน Uniswap และจะนำ ETH ที่แลกมาใน Uniswap ไปแลกเป็น USDC ที่ Sushiswap ซึ่งนายหาญประเมินแล้วว่าตัวเองนั้นควรจะได้รับเหรียญ ETH ประมาณ 5 ETH (หากไม่นับปัจจัยของ Slippage และ Price Impact) หลังจากประเมินความเสี่ยงต่างๆและกำไรแล้ว นายหาญจึงตัดสินใจกดยืนยันธุรกรรมการแลกเปลี่ยนครั้งนี้ไป
.
หลังจากนายหาญกดยืนยันธุรกรรมบน Wallet ไปเรียบร้อยแล้ว ธุรกรรมของนายหาญก็จะเข้าไปอยู่ใน Mempool ที่มีธุรกรรมทั้งหมดของเครือข่ายปะปนกันอยู่ บังเอิญว่านายอ๊อกผู้เป็น MEV Searcher ดันไปเจอธุรกรรมของนายหาญ นายอ๊อกก็อาศัยจังหวะนี้ เขียน Code เพื่อสร้างธุรกรรมอีกหนึ่งอันเข้ามาแทรกธุรกรรมของนายหาญ ทำการก็อปปี้ Transaction Code ของนายหาญ และเปลี่ยน Address ดั้งเดิมของนายหาญ เป็น Address ของนายอ๊อกแทน แถมนายอ๊อกก็มีการเพิ่มค่า Gas ให้กับธุรกรรมของตัวเองให้มากกว่าค่า Gas ที่นายหาญเสียไปอีกด้วย

พอ Miners คนอื่นๆเห็นทั้งสองธุรกรรมใน Mempool ที่มีจำนวนเงิน Swap ที่เท่ากัน แต่มีการจ่ายค่าตอบแทนเป็น Gas ที่ไม่เท่ากัน คนนึงมากกว่า (ของนายอ๊อก) คนนึงน้อยกว่า (ของนายหาญ) แน่นอนอยู่แล้วว่าเหล่า Miners ต้องเลือกธุรกรรมของนายอ๊อกให้เป็นคิวแรกที่ถูกบันทึกลงบนบล็อกเชนก่อน เพราะฉะนั้น นายอ๊อกจะสามารถนำเหรียญที่ได้มาจาก Uniswap ไปทำการ Arbitrage ที่ Sushiswap ได้ ส่วนธุรกรรมคิวที่สองของนายหาญก็อาจไม่สามารถทำ Arbitrage ได้อีกต่อไป เนื่องจากนายอ๊อกได้ทำการ Swap ตัดหน้าไปก่อนแล้ว ราคา ETH บน Uniswap ก็อาจมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมได้ ทำให้นายหาญเกิดค่าเสียโอกาสในการทำ Arbitrage ครั้งนี้ เนื่องจากไม่สามารถนำ ETH ไปแลกเป็น USDC ที่ Sushiswap ไม่ได้เพราะนายอ๊อกทำไปก่อนเรียบร้อยแล้ว แถมยังอาจเกิดการขาดทุนจาก Price Impact ไปฟรีๆอีกด้วยนั่นเอง

รูปภาพจาก : https://mycelium.xyz/research/understanding-mev-and-flashbots/

อีกอย่างนึงที่หลายๆคนอาจคิดไม่ถึง คือ MEV Searcher นั้นไม่ได้มีแค่นายอ๊อกคนเดียวแน่นอน แต่มี MEV Searcher อีกหลายคนที่สามารถเห็นธุรกรรมใน Mempool เหมือนที่นายอ๊อกเห็นได้เช่นกัน เพราะฉะนั้นหากเกิดการโอกาสที่จะสามารถทำ MEV ได้ขึ้นมา เหล่า MEV Searcher ก็จะต้องแข่งกันแย่งชิงให้ธุรกรรมของตัวเองนั้นเสร็จก่อนเป็นคนแรก หรือเราเรียกกันว่า “Priority Gas Auctions (PGA)” หรือเรียกกันเป็นศัพท์แสลงเข้าใจง่ายคือ “Bidding War” หรือสงครามการ Bid ค่าธรรมเนียมของเหล่า MEV Searcher เพื่อทำให้ค่า Gas ของธุรกรรมตัวเองนั้นแพงที่สุด เพื่อที่จะสามารถทำกำไรจาก MEV ได้นั่นเอง ซึ่งก็เคยมีเหตุการณ์ที่ MEV Searcher บางคน ยอมจ่ายค่า Gas แพงถึงเกือบ 90% ของเงินต้นภายในธุรกรรมตัวเองเพื่อที่จะได้ทำกำไรจากการ Arbitrage เลยทีเดียว (อ้างอิงจากเว็บไซต์ ethereum.org)
.
โดยหลังจาก MEV Searcher สามารถทำธุรกรรมสำเร็จและถูกบันทึกลงบล็อกเรียบร้อยแล้ว บุคคลที่ได้ประโยชน์ไปเต็มๆ ก็คือเหล่า Miners ทั้งหลาย เพราะพวกเขาได้กินค่าธรรมเนียมไปเต็มๆจากการที่คนแย่งกัน Bid ค่า Gas ดังนั้นแล้ว การทำกำไรจาก MEV จะมีผู้ได้ประโยชน์สองฝ่ายคือ MEV Searcher ที่สามารถแทรกธุรกรรมของตนเองเพื่อทำ MEV ได้สำเร็จ และเหล่า Miners ที่จะได้รับค่าธรรมเนียมที่สูงขึ้นจากการแย่งกัน Bid ค่า Gas ของ MEV Searcher ไปเลยโดยที่ตนเองไม่ต้องทำอะไร
.
อ่านมาถึงตรงนี้แล้ว ข้อเสียของ MEV Searcher คือการที่ต้องมาคอยหานั่งหาธุรกรรมที่สามารถทำกำไรจาก MEV ได้ใน Mempool และต้องมาคอย Bid ค่า Gas แข่งกับ MEV Searcher คนอื่นอีกมากมาย จึงทำให้วิธีการ Priority Gas Auctions (PGA) เป็นวิธีการนี้ยังมีจุดบกพร่องและมีประสิทธิภาพไม่เพียงพอต่อ MEV Searcher ดังนั้น จึงมีคนเล็งเห็นปัญหาดังกล่าว จึงทำการแก้ไขโดยการสร้าง Software ตัวนึงที่มีชื่อว่า “Flashbot” นั่นเอง

2.1) Flashbot คืออะไร?

รูปภาพจาก : https://abmedia.io/flashbots-frontrunning-the-mev-crisis

ซึ่งโดยปกติแล้ว ไม่ใช่ว่าทุกๆธุรกรรมใน Mempool นั้นจะสามารถทำกำไรได้เสมอไป เนื่องจากการ Arbitrage ไม่ได้เกิดขึ้นตลอดเวลา, บางครั้งธุรกรรมส่วนมากมีขนาดเล็กเกิน รวมถึงบางธุรกรรมนั้นเสียค่า Gas ที่ไป Bid มาแพงกว่ากำไรที่จะได้อีก จึงทำให้มีคนสร้างเครื่องมือสำหรับการ Track ธุรกรรมทั้งหมดใน Mempool ที่สามารถทำกำไรจากการ MEV ได้ ก็คือ Flashbot นั่นเองครับ
.
โดยการทำงานของเครื่องมือ Flashbot ถือว่ามีประสิทธิภาพที่ดีกว่าการนั่งหาธุรกรรมของ MEV Searcher อยู่มาก เพราะแต่เดิมนั้น MEV Searcher ต้องมาคอยนั่งหาธุรกรรมที่สามารถทำกำไรได้ใน Mempool อยู่เสมอ แต่ Flashbot นั้นสามารถ Track ธุรกรรมทั้งหมดที่สามารถทำกำไรจาก MEV ได้เลย จากนั้นก็ทำการสร้าง Code และส่งธุรกรรมเหล่านั้นไปยัง Miners โดยตรงได้เลยโดยที่ไม่ต้องผ่าน Mempool
.
และ Flashbot ยังสามารถล็อค Miners ในการส่งธุรกรรมไปได้ด้วยว่าจะให้ธุรกรรมนี้ส่งไปยัง Miners คนไหน เพราะฉะนั้น ทุกวันนี้จึงมีเหล่า Miners รวมไปถึง MEV Searcher ต่างพากันใช้งาน Flashbot เพื่อค้นหาธุรกรรมที่สามารถทำ MEV ได้ และส่งเข้าไปยืนยันและบันทึกในเครื่องขุดของตัวเองได้เลย ตัว Miners เองก็จะได้รับทั้งผลตอบแทนจากค่า Gas ในธุรกรรมนั้นๆ แถมยังได้กำไรจากการทำ MEV โดย Flashbot อีกด้วย
.
นอกจากนี้ การทำกำไรจาก MEV นั้นไม่ได้มีแค่การแทรกธุรกรรมการ Arbitrage ระหว่าง Decentralized Exchange เท่านั้น แต่ยังมีการทำกำไรจากวิธีอื่นๆอีกด้วย ยกตัวอย่างเช่น การทำกำไรจาก NFT ด้วยการใช้ MEV โดยหากมีค่าเผลอตั้งราคา NFT ผิดจนทำให้ราคาต่ำกว่า Floor เป็นหลายเท่า ซึ่งในขณะที่คนทั่วไปรีบกดซื้อและอัดค่า Gas เพื่อหวังจะให้ธุรกรรมของตัวเองเสร็จก่อนนั้น MEV Searcher หรือ Flashbot ก็สามารถ Track ธุรกรรมเหล่านั้นได้ก่อน และสามารถเห็นได้เลยว่าธุรกรรมเหล่านั้นมีการจ่ายค่า Gas เท่าไร MEV Searcher ก็สามารถแทรกธุรกรรมและทำการจ่ายค่า Gas ที่แพงกว่าค่า Gas สูงสุดในธุรกรรมนั้นๆได้ และ Flashbot ก็ยังสามารถส่งคำธุรกรรมไปยัง Miners เพื่อปิดบล็อกโดยที่ไม่ให้ใครใน Mempool เห็นได้เลย ซึ่งก็เคยมีบุคคนหนึ่ง ใช้เงินจำนวนกว่า 7 ล้านดอลลาร์ในการกวาดซื้อ NFT Cryptopunks ที่ราคา Floor ทั้งหมดภายในธุรกรรมเดียวนั่นเอง (ข้อมูลจาก ethereum.org)

2.2) MEV ดูมีแต่ข้อเสีย ว่าแต่ข้อดีของมันคืออะไร ทำไม Manifold ถึงเลือกนำ MEV มาทำเป็น Product?

จากที่อ่านมาตั้งแต่ต้น เราจะมองเห็นถึงแต่ข้อเสียของการทำกำไรจาก MEV ไม่ว่าจะเป็น การแทรกธุรกรรมของเหล่า Flashbot หรือ MEV Searcher จนทำให้ผู้ใช้งานต้องมาเสียผลประโยชน์จากการแทรกแซงเหล่านี้ รวมไปถึงสงครามการ Bid ค่า Gas (Bidding War) ที่จะทำให้ค่า Gas โดยรวมของเครือข่ายสูงขึ้นจนทำให้ผู้ใช้งานที่ทำธุรกรรมอยู่ในขณะนั้นต้องมาเจอค่าธรรมเนียมที่สูงขึ้นภายในพริบตาจนทำให้ธุรกรรมล้มเหลวได้
.
จากที่เคยกล่าวไว้ด้านบนว่า การทำกำไรจาก MEV จะมีคนได้ประโยชน์แค่ 2 ฝั่งคือ Miners และ MEV Searcher แต่ความจริงแล้ว อีกหนึ่งสิ่งที่ได้ประโยชน์จากการกระทำเช่นนี้ นั่นก็คือ DApps ต่างๆที่เกิดการแทรกแซงธุรกรรมขึ้นเพื่อทำ MEV นั่นเองครับ
.
ไม่ว่าจะเป็น การแทรกธุรกรรมของการ Arbitrage ของแพลตฟอร์ม Decentralized Finance เพื่อเป็นการทดสอบว่ามันสามารถแลกเปลี่ยนโทเค็นให้ได้ราคาที่ดีที่สุดหรือไม่ หากเกิดธุรกรรมแปลกปลอมจาก MEV Searcher แทรกเข้ามา รวมไปถึงการแทรกธุรกรรมการชำระหนี้ของ Borrower ของแพลตฟอร์ม Lending ว่า Borrower สามารถชำระคืนหนี้ได้รวดเร็ว และ Lender จะได้รับเงินฝากคืนอย่างแน่นอน โดยที่จะไม่มีธุรกรรมของ MEV Searcher แทรกเข้ามา การทำ MEV ในลักษณะนี้จึงถือเป็นการตรวจสอบประสิทธิภาพและเสถียรภาพของ DApps ต่างๆในทางอ้อม เป็นต้น
.
โดยสรุปแล้ว การทำกำไรจาก MEV ก็มีทั้งข้อดีและข้อเสีย โดยผู้ที่ได้ผลประโยชน์ไปเต็มๆจากการกระทำครั้งนี้ก็คือ MEV Searcher/Flashbot รวมถึงเหล่า Miners ผู้ที่เป็นคนสร้างบล็อก ยืนยันธุรกรรม และปิดบล็อกให้กับธุรกรรมเหล่านี้ และบรรดา DApps ก็ได้รับประโยชน์จากการแทรงแซงธุรกรรมจาก MEV Searcher/Flashbot ด้วยเช่นกัน เพื่อเป็นการวัดประสิทธิภาพของแพลตฟอร์มต่างๆในทางอ้อมว่ามีเสถียรภาพหรือไม่นั่นเอง

3) MEV Product ของ Manifold Finance จะเข้ามาแก้ไขปัญหาในปัจจุบันได้อย่างไร?

รูปภาพจาก : https://medium.com/coinmonks/manifold-finance-the-best-positioned-to-corner-mev-68f4caa9ce47

การที่ Manifold จะเข้ามาพัฒนา Product ด้าน MEV โดยเฉพาะ แถมพวกเขายังเป็นคนสร้างบล็อก (Block Builder) ของ Ethereum 2.0 อีกด้วย สิ่งนี้ถือเป็นเรื่องที่น่าจับตามองเป็นอย่างมาก เนื่องจากแชมป์เก่าที่ครองตำแหน่ง The King of MEV อย่าง Flashbots นั้นมีการสร้าง Product ขึ้นมาเพื่อ Track ธุรกรรมที่สามารถทำ MEV ได้เท่านั้น แต่สำหรับแพลตฟอร์ม Manifold ที่เป็นทั้งเจ้าของ MEV Product ด้วย และเป็นผู้สร้างบล็อกด้วย จึงทำให้ Manifold สามารถนำกำไรที่ได้จากการทำ MEV เอามาแบ่งให้ผู้ที่ Stake เหรียญ FOLD ซึ่งเป็น Governance Token ของแพลตฟอร์มได้ โดยสิ่งนี้จะเรียกว่า Revenue Sharing Model นั่นเอง
.
แล้วการที่ Manifold จะกลายเป็นผู้สร้างบล็อก (Block Builder) มันมีข้อดีอย่างไร?
.
จากที่ผมได้เล่าไปในตอนต้นว่า ธุรกรรมที่เกิดขึ้นทั้งหมดในเครือข่าย จะถูกส่งไปกองรวมกันอยู่ใน Mempool ซึ่งต่อไปก็จะเป็นหน้าที่ของผู้สร้างบล็อก ที่จะเป็นคนคอยสร้างบล็อกและใส่ข้อมูลธุรกรรมต่างๆลงไป และจะเป็นหน้าที่ของ Validator Node ที่จะคอยตรวจสอบข้อมูลธุรกรรมเหล่านั้น และทำการปิดบล็อก โดยในปัจจุบันที่เป็นระบบ Proof of Work อยู่ กระบวนการสร้างบล็อก, ตรวจสอบธุรกรรม, ยืนยันธุรกรรม และทำการปิดบล็อกนั้น ยังคงเป็นหน้าที่ของ Miners ในเครือข่าย Ethereum ทั้งหมด
.
แต่หลังจากที่ Ethereum เปลี่ยนเครือข่ายเป็น Proof of Stake ซึ่งไม่มี Miners มาเกี่ยวข้องแล้ว คนที่ทำหน้าที่เป็นผู้สร้างบล็อก ก็จะกลายเป็นแพลตฟอร์ม Manifold โดยตรงเลย ผลกำไรจาก MEV ที่ Manifold ซึ่งเป็นผู้สร้างบล็อกหามาได้ รายได้ส่วนนี้ก็จะกลับเข้าสู่ Manifold โดยตรงอีกด้วย และคนที่เป็นคนตรวจสอบ รวมถึงยืนยันธุรกรรม ก็จะเป็นหน้าที่ของ Validator Node อย่าง Lido Finance และ Rocket Pool หรือบุคคลที่ทำการ Stake ETH จำนวน 32 ETH นั่นเอง
.
การที่ Manifold เป็นผู้สร้างบล็อก ก็จะทำให้ Manifold สามารถเห็นธุรกรรมทั้งหมดจาก Mempool และสามารถจัดเรียกธุรกรรมที่สามารถสร้างผลกำไรจาก MEV ได้ แต่การที่ Manifold เห็นธุรกรรมทั้งหมดจาก Mempool และนำมาจัดลำดับธุรกรรมได้นั้น ฟังดูแล้วอาจจะไม่เพียงพอสำหรับการที่จะสร้างกำไรจาก MEV ได้ตลอดเวลาใช่ไหมครับ? เนื่องจากทุกวันนี้ก็ยังมี MEV Searcher หรือ Flashbot ที่จะคอยหาการทำกำไรจาก MEV อยู่ด้วย แล้ว Manifold จะสามารถหาธุรกรรมที่ทำ MEV ได้ทันเหล่า MEV Searcher หรือ Flashbot ได้ยังไง? ความจริงแล้ว มันมีฟีเจอร์อื่นๆของ Manifold ที่สามารถทำให้มันเป็นจริงได้ครับ ซึ่งเดี๋ยวผมจะนำไปเล่าในหัวข้อถัดๆไป
.
หากในอนาคต MEV Product ตัวอื่นๆของ Manifold ที่กำลังพัฒนานั้นมีฟีเจอร์การทำงานที่เหนือกว่า Flashbots ทุกประการ ก็ยิ่งทำให้ Marketshare ไหลออกไปสู่ MEV Product ของ Manifold มากยิ่งขึ้น Manifold ซึ่งเป็นผู้สร้างบล็อก (Block Builder) ก็ได้รับรายได้ที่มากขึ้นจากการทำ MEV ก็ยิ่งทำให้ส่วนแบ่งรายได้ถูกแบ่งไปยังผู้ที่ Stake เหรียญ FOLD มากยิ่งขึ้น ส่งผลต่อการใช้งาน Product MEV ที่มากขึ้น แพลตฟอร์มเติบโตมากยิ่งขึ้น ส่งผลต่อความต้องการเหรียญ FOLD มากยิ่งขึ้นในระยะยาวนั่นเอง

รายได้จากการทำ MEV ของ Miners และ MEV Attacker
(รูปภาพจาก : https://0xminerva.substack.com/p/manifold-finance-an-in-depth-look?r=1judp8&s=w)

ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา กลุ่ม Miners ที่ได้รับส่วนแบ่งรายได้จากการทำ MEV ของทั้งเครือข่ายนั้นมีมูลค่าสูงถึงราวๆ 600 ล้านดอลลาร์ รวมไปถึงการทำกำไรของ MEV Searcher และ Flashbot ด้วยวิธีต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการทำ Sandwich Attack, การทำ Arbitrage หรือจะเป็นการทำ Liquidation นั้นทำให้พวกเขาได้รายได้ไปมากกว่า 250 ล้านดอลลาร์ หรือคิดเป็น 40% ของรายได้จาก MEV ทั้งหมดเลยทีเดียว ซึ่งมูลค่าเหล่านี้ถือเป็นค่าเสียโอกาสของผู้ใช้งานทั่วไปที่ต้องมาเสียให้กับ MEV Searcher หรือ Flashbot ทั้งๆที่เราไม่ควรจะเสียเงินส่วนนี้ไปเลย
.
เพราะฉะนั้น MEV Product ของ Manifold จะเข้ามาช่วยลดค่าเสียโอกาสของผู้ใช้งานทั่วไป ลดความเสียหายที่เกิดจาก MEV Searcher หรือ Flashbot ที่จะเข้ามาหาโอกาสในการทำกำไร และยังมีการแบ่งรายได้จากการเป็นผู้สร้างบล็อกของ Manifold แบ่งไปให้กับคนที่ Stake เหรียญ FOLD อีกด้วย โมเดลนี้จึงถือเป็นการสร้างความยั่งยืนให้กับ Manifold ในระยะยาวนั่นเอง

4) Product ต่างๆของ Manifold Finance

รูปภาพจาก : https://medium.com/manifoldfinance/introducing-openmev-297079911627

4.1) OpenMEV

จากที่ผมได้เล่าให้ฟังไปด้านบนแล้วว่า Manifold ได้สร้าง MEV Product ของตัวเองเพื่อเพิ่มโอกาสในการสร้างรายได้จาก MEV และนำรายได้เหล่านั้นกลับคืนสู่ผู้ใช้งานที่มีการ Stake เหรียญ FOLD ซึ่ง Product ตัวแรกที่ทาง Manifold ได้สร้างขึ้น นั่นก็คือ OpenMEV นั่นเองครับ
.
ชื่อเดิมของ OpenMEV คือ YCabal โดย OpenMEV จะเป็น Product ที่ทาง Manifold สร้างขึ้นมาเพื่อให้แพลตฟอร์ม Decentralized Exchange ต่างๆสามารถนำไปใช้งานได้ โดย OpenMEV ถูกสร้างขึ้นมาจากการผสมผสานระหว่าง MEV หลากหลายประเภทและชุด Smart Contract ที่ซับซ้อน ซึ่งจะเข้ามาช่วยป้องกันการทำกำไรจาก MEV โดย MEV Searcher หรือ Flashbot ให้กับผู้ใช้งานภายในแพลตฟอร์มนั้นๆ, เข้ามาช่วยลดค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรมลง รวมถึงเพิ่มความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวจากการ Swap เหรียญของผู้ใช้งานให้มากยิ่งขึ้นอีกด้วย
.
แล้วทำไมการนำ OpenMEV มาใช้ ถึงช่วยเพิ่มความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวให้กับธุรกรรมของเรา คำถามนี้ก็จะโยงไปสู่ Product ตัวที่สองของ Manifold ที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อส่งเสริมการใช้งานของ OpenMEV ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่ง Product ตัวนี้มีชื่อว่า SecureRPC นั่นเองครับ

4.2) SecureRPC

SecureRPC เป็น Private Layer ที่จะทำหน้าที่คอยส่งธุรกรรมต่างๆที่มาจากแพลตฟอร์ม Decentralized Exchange ตรงเข้าไปสู่ผู้สร้างบล็อก (Block Builder) ซึ่งเป็นของ Manifold โดยตรง โดยที่จะไม่ผ่าน Mempool เลย หรือถ้านึกภาพไม่ออก มันเปรียบเสมือนอุโมงค์ที่เชื่อมต่อระหว่างแพลตฟอร์ม DEX ที่นำ OpenMEV ไปใช้และผู้สร้างบล็อกของ Manifold จึงทำให้ธุรกรรมเหล่านี้ที่ผ่าน SecureRPC จะไม่ถูกเข้าไปอยู่ใน Mempool ซึ่งจะช่วยเพิ่มความเป็นส่วนตัวให้กับธุรกรรมของผู้ใช้งาน และเพิ่มความปลอดภัยจาก MEV Searcher และ Flashbot ที่จะเข้ามาหาโอกาสทำกำไร MEV จากใน Mempool นั่นเอง

หมายเหตุ : Flow ขั้นตอนด้านบน จะเป็นกรณีที่เครือข่าย Ethereum เปลี่ยนเป็นระบบ Proof of Stake เท่านั้น แต่ในปัจจุบันที่ Ethereum เป็น Proof of Work อยู่ ธุรกรรมของ DEX ที่ใช้งาน OpenMEV จะถูกส่งไปยัง Miners โดยตรงโดยที่ไม่ผ่าน Mempool เลยนั่นเอง ทำให้ปัจจุบัน Manifold ยังไม่สามารถทำกำไรจาก MEV ได้อย่างมีประสิทธิภาพ อาจจะมีธุรกรรมที่ปิดบล็อกสำเร็จและไม่สำเร็จปะปนกันไป แต่ถ้าหาก Manifold กลายเป็นผู้สร้างบล็อกเองแล้ว ธุรกรรมทั้งหมดจาก DEX ที่มีการใช้งาน OpenMEV จะถูกส่งไปยัง Manifold โดยตรง ทำให้ Manifold จะมีประสิทธิภาพในการทำกำไรจาก MEV ที่ดีขึ้นนั่นเอง

4.3) ขั้นตอนการทำงานของ OpenMEV/SecureRPC และหลักการทำกำไรจาก MEV ของ Manifold

โดยหากอ้างอิงจากการทำงานของ MEV Searcher/Flashbot คือพวกเขานั้นสามารถเข้าไปดูธุรกรรมใน Mempool ได้ว่าธุรกรรมไหนที่พวกเขาสามารถทำกำไรจาก MEV ได้ หลังจากนั้นเมื่อเจอธุรกรรมที่สามารถทำกำไรได้แล้ว MEV Searcher คนอื่นๆก็จะแข่งกัน Bid ค่า Gas เพื่อให้ธุรกรรมของตัวเองนั้นเสร็จเป็นคนแรก
.
ช่วงเวลาเหล่านั้นผู้ใช้งานคนอื่นๆที่กำลังใช้งาน DApps ในขณะนั้นก็อาจจะต้องเจอกับค่า Gas ในเครือข่ายที่แพงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งถ้าหากเรากำลังทำ Swap เหรียญอยู่ใน DApps ที่เหล่า MEV Searcher/Flashbot กำลังแข่งกัน Bid ค่า Gas อยู่นั้น ก็อาจจะทำให้จำนวนเงินที่เรา Swap นั้นได้รับน้อยลงไปอีกจากการเปลี่ยนแปลงของจำนวนเงินในพูลอย่างกระทันหันจากการทำ MEV จาก MEV Searcher/Flashbot
.
แต่กลับกัน หากเราเข้าไปใช้งานใน DApps ที่มีการเชื่อมต่อกับ OpenMEV และ SecureRPC เราจะเห็นตามรูปด้านบนได้เลยว่า ธุรกรรมของเราจะไม่ถูกส่งเข้าไปยัง Mempool แต่จะถูกส่งผ่าน SecureRPC ไปยัง ผู้สร้างบล็อกของ Manifold โดยตรงเลย จึงทำให้ธุรกรรมของเราไม่ได้รับผลกระทบจากการแข่งกัน Bid ค่า Gas ของเหล่า MEV Searcher เลย ถือเป็นการประกันความปลอดภัยให้กับเงินของเรา ว่าเหรียญที่เราจะได้รับหลังการ Swap จะได้รับตรงตามที่ DEX นั้นๆกำหนดไว้ในตอนแรก
.
อีกหนึ่งฟีเจอร์ของ OpenMEV คือการที่จะทำให้เราจ่ายค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมที่น้อยลงได้ เนื่องจากธุรกรรมเราไม่ได้มีส่วนร่วมใน Mempool ที่มีการแข่งกัน Bid ค่า Gas กัน และนอกจากนี้ เรายังมีโอกาสได้รับส่วนลดค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรมที่มากถึง 90% และส่วนลดตรงนี้หลังจากหักค่าใช้จ่ายให้กับแพลตฟอร์มที่นำ OpenMEV ไปใช้ ก็จะถูก Refund กลับคืนเข้า Wallet ของเราอีกด้วย
.
โดยเราจะได้รับส่วนลดค่าธรรมเนียมธุรกรรมก็ต่อเมื่อธุรกรรมการ Swap ของเราสามารถปิดบล็อกได้ภายใน 35 บล็อกของเครือข่าย ซึ่งเหตุผลที่ OpenMEV สามารถ Refund ค่าธรรมเนียมธุรกรรมคืนให้กับผู้ใช้งานได้ ก็เพราะว่า ธุรกรรมทั้งหมดที่ถูกส่งผ่าน SecureRPC จะถูกทำการสร้างโดยผู้สร้างบล็อกของ Manifold เท่านั้น ยิ่งธุรกรรมนั้นๆปิดบล็อกได้เร็วขึ้นมากเท่าไร ผู้สร้างบล็อกของ Manifold ก็จะมีเวลามากขึ้นที่จะไปหาโอกาสในการทำกำไรจาก MEV ใน Mempool ส่วนอื่นเพิ่มเติม เพื่อนำรายได้เหล่านั้นกลับคืนสู่แพลตฟอร์มและผู้ที่นำ FOLD มา Stake
.
ซึ่งการจะปิดบล็อกช้าหรือเร็วนั้นไม่ได้ขึ้นอยู่กับค่าธรรมเนียมที่เราจ่ายไป แต่จะขึ้นอยู่กับความแออัดของ SecureRPC และประสิทธิภาพของ OpenMEV ในขณะนั้นว่ามีผู้ใช้งานเข้ามาทำการ Swap มากน้อยแค่ไหนนั่นเอง

เกณฑ์ในการ Refund ค่าธรรมเนียมคืน
(รูปภาพจาก : https://medium.com/manifoldfinance/introducing-openmev-297079911627)

อ้างอิงจาก Official Medium ของ Manifold Finance หากธุรกรรมของเราสามารถปิดบล็อกได้ภายใน 35 บล็อก แพลตฟอร์มจะแจ้งเตือนกับเราเมื่อเรามีโอกาสได้รับค่าธรรมเนียมคืน และเราจะได้รับ Refund เงินคืน 90% ของค่าธรรมเนียมที่จ่ายไป แต่หากธุรกรรมของเราปิดบล็อกได้หลังจากบล็อกที่ 35 เป็นต้นไป เราจะไม่ได้รับส่วนลดค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรม แต่เงินของเราก็ยังคงประกันความปลอดภัยจาก MEV Searcher/Flashbot โดย SecureRPC เป็นต้น

Manifold Finance x SushiSwap
(รูปภาพจาก : https://mobile.twitter.com/foldfinance/status/1454810393004675075/photo/1)

จากการพัฒนา MEV Product มาตั้งแต่กลางปี 2021 จนสุดท้าย แพลตฟอร์ม Decentralized Exchange ตัวแรกที่มีการ Integrated เข้ากับตัว Product OpenMEV ของ Manifold อย่างเป็นทางการก็คือ SushiSwap นั่นเองครับ
.
โดยทาง Sushiswap ได้นำ OpenEVM เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของ Rounter ภายในแพลตฟอร์มและได้ตั้งชื่อว่า “SushiGuard” ซึ่งหากผู้ใช้งานที่เข้ามาทำการ Swap เหรียญและต้องการหลีกเลี่ยงธุรกรรมของตนเองจาก MEV Searcher/Flashbot ผู้ใช้งานก็สามารถเข้าไปที่ Setting และทำการเปิดการใช้งาน SushiGuard Protector ได้เลยนั่นเอง

ตัวเลขประมาณการกำไรของแพลตฟอร์มจากค่าธรรมเนียมที่ลดลงภายใน Sushiswap
(รูปภาพจาก : https://snapshot.org/#/sushigov.eth/proposal/bafkreigjjhjx2j2b526d3poeg23w2xan4rcgnzvcxinsssv7n37lu5p7s4)

ทาง Sushiswap Proposal ก็ได้มีการคาดการณ์กำไรจากค่าธรรมเนียมที่ลดลง โดยผลจากการ Backtesting หลังจากเปิดใช้งาน SushiGuard (OpenMEV) ทาง SushiSwap สามารถประหยัดค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมภายในแพลตฟอร์มไปได้ราวๆ $420,000 ถึง $1,840,000 ต่อเดือน หากเทียบกับทุกบล็อกเชนที่ SushiSwap และ Aave รองรับ แต่ในปัจจุบัน Product OpenMEV สามารถรองรับได้แค่ภายในเครือข่าย Ethereum เท่านั้น และกำลังมีการทดสอบระบบภายในเครือข่าย Avalanche และ LayerZero นั่นเอง
.
โดยกำไรจากค่าธรรมเนียมที่ลดลงนี้ ทาง SushiSwap ก็จะแบ่งให้กับ Manifold ซึ่งเป็นผู้ให้บริการ Product OpenMEV เป็นสัดส่วน 50% และมีการแบ่งกลับคืน SushiSwap เพื่อนำไปเพิ่มสภาพคล่องคู่เหรียญ SUSHI/USDC ใน SushiBar
.
ซึ่งถ้าเรา Assume ว่า Product OpenMEV สามารถสร้างกำไรได้ครึ่งนึงจากตัวเลขประมาณการ คือประมาณ $1,200,000 และบล็อกเชนที่ SushiSwap และ Aave มีการรองรับคือ Ethereum และ Avalanche (ในอนาคต) กำไรจากค่าธรรมเนียมที่แต่ละบล็อกเชนสามารถเก็บได้จาก SushiSwap ตกอยู่ประมาณ $600,000 ต่อบล็อกเชน ดังนั้นถ้าเทียบในปัจจุบันที่มีการใช้งาน OpenEVM ภายใน Ethereum เท่านั้น เท่ากับว่า OpenEVM สามารถสร้างกำไรจากค่าธรรมเนียมให้แก่ Manifold ได้ประมาณ $600,000 ต่อเดือนเลยทีเดียว

4.4) ประเมิน Valuation คร่าวๆของ Manifold Finance

หากเราเทียบอัตราส่วน P/S Ratio คือการนำ Fully Diluted Marketcap หารกับ Annualized Revenue หรือรายได้ต่อปี (นับเพียงแค่รายได้จาก Ethereum เท่านั้น) โดย Max Supply ของเหรียญ FOLD คือ 2,000,000 FOLD และราคาปัจจุบันอยู่ที่ $65 (ข้อมูลวันที่ 18/8/2022) จะได้ค่าอยู่ที่ (652,000,000)/(600,00012) = 18.5 ซึ่งถือว่าเป็นตัวเลขที่น่าสนใจ เนื่องจากการคำนวณครั้งนี้ เราตีความว่า OpenMEV สามารถสร้างรายได้ $600,000 ทุกเดือน และนับรายได้จากแค่ Ethereum เท่านั้น
.
โดยหากในอนาคต ทาง Manifold มีการเปิดตัว OpenMEV ในหลายบล็อกเชนมากยิ่งขึ้น สามารถเก็บกำไรจากค่าธรรมเนียมผ่าน Product OpenMEV ได้มากยิ่งขึ้น รวมถึงมีการเปิดตัว Product ใหม่ๆที่ดึงดูดผู้ใช้งานมากยิ่งขึ้น ก็จะทำให้ Valuation ของ Manifold มีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้นนั่นเอง

ตัวเลข P/S Ratio ควรจะนำไปเทียบกับแพลตฟอร์มใน Sector เดียวกัน ถึงจะให้ประสิทธิภาพในการประเมิน Valuation ที่ดีที่สุด
.
.
โดยสรุปแล้ว จากเดิมก่อนที่จะมี MEV Product จาก Manifold เกิดขึ้น ผู้ที่ได้ประโยชน์จากการทำ MEV จะมีอยู่สองฝ่าย ได้แก่ Miners ที่เป็นคนปิดบล็อกที่มาจากการ Bid ค่า Gas จากการแข่งกันแทรกธุรกรรมของตนเองที่สามารถทำ MEV ได้ และอีกฝ่ายคือ MEV Searcher/Flashbot จากการกระทำต่างๆไม่ว่าจะเป็น Arbitrage, Sandwich Attack, Liquidate ซึ่งทั้งสองฝ่ายนี้จะได้รับประโยชน์ร่วมกัน แต่จำนวนเงินที่ได้มาก็จะแยกกันต่างหาก ต่างฝ่ายต่างได้ ของใครของมัน
.
แต่หลังจากการเปิดตัว Product OpenMEV และ SecureRPC แล้ว จึงทำให้ Manifold สามารถเป็นได้ทั้งผู้ได้รับประโยชน์ทั้งสองฝ่ายและรับประโยชน์สองต่อ คือเป็นได้ทั้ง Block Builder ที่จะสร้างบล็อก และคอยจัดลำดับธุรกรรมที่มาจากแพลตฟอร์ม DEX ที่มีการนำ OpenMEV หรือ SecureRPC ไปใช้ และสามารถเป็นได้ทั้งๆ MEV Searcher/Flashbot ที่จะสามารถ Track ธุรกรรมที่สามารถทำกำไรจาก MEV ภายใน Mempool ได้
.
ซึ่งสุดท้ายแล้ว คนที่ได้รับผลประโยน์เหล่านี้ ก็คือ ตัวแพลตฟอร์ม Manifold เอง ที่ได้รับรายได้ที่มากขึ้น และคนที่เข้ามา Stake เหรียญ FOLD ภายในแพลตฟอร์ม ที่จะได้รับส่วนแบ่งรายได้ (Revenue Sharing) จากกำไร MEV ที่ผู้สร้างบล็อกของ Manifold สามารถหามาได้นั่นเอง

5) คู่แข่งรายอื่นๆของ Manifold Finance

รูปภาพจาก : https://dappradar.com/ethereum/defi/cow-swap

5.1) CoW Swap

CoW Swap เป็นหนึ่งใน Product ของ Gnosis Protocol ที่ถูกเปิดตัวในช่วงกลางปี 2021 ซึ่ง CoW Swap เรียกตัวเองว่าเป็น Meta DEX Aggregator ที่จะสามารถให้ผู้เทรดสามารถ Swap เหรียญต่างๆโดยมีการป้องกัน MEV ในขณะที่เทรดอีกด้วย ซึ่งในปัจจุบัน CoW Swap นั้นเปิดให้บริการเพียงแค่ Ethereum และ Gnosis Chain เท่านั้น
.
ซึ่ง CoW ย่อมาจากคำว่า Coincidence of Wants (CoW) หากอ้างอิงจาก Whitepaper ของแพลตฟอร์มนั้นหมายถึง กลไกทางเศรษฐศาสตร์ที่สามารถให้ผู้เทรดทั้งสองฝ่ายที่มีสินทรัพย์ตามความต้องการของอีกฝ่าย สามารถแลกเปลี่ยนกันได้โดยที่ไม่ต้องผ่านตัวกลางอย่าง AMM Liquidity Provider หรือ Market Maker ได้
.
ยกตัวอย่างเช่น หากนายอ๊อกต้องการแลก ETH เป็น USDC และนายหาญต้องการแลก USDC เป็น ETH ทางแพลตฟอร์ม CoW Swap ก็สามารถทำให้คำสั่งซื้อของทั้งสองคนจับคู่กันได้โดยไม่ต้องผ่านสภาพคล่องใน AMM Pool ได้เลย จึงทำให้ธุรกรรมเหล่านี้จะสามารถหลีกเลี่ยงเหล่าบรรดา Flashbots หรือ Miners ที่ต้องการจะหาโอกาสทำกำไรจาก MEV ได้นั่นเอง
.
โดยความแตกต่างระหว่าง CoW Swap และ Manifold Finance นั่นก็คือ การป้องกันการเกิด MEV ของ CoW Swap ถือว่าอยู่แค่ระดับภายในแพลตฟอร์มเท่านั้น เพราะฉะนั้นหากใครที่ต้องการ Swap เหรียญต่างๆที่ต้องการการป้องกันการเกิด MEV ก็จะต้องเข้าไปใช้งานใน CoW Swap เท่านั้น ซึ่งต่างจาก Manifold Finance ที่จะทำ Product เพื่อนำไปผสานรวมเข้ากับแพลตฟอร์ม DEX ต่างๆ จึงทำให้ Manifold Finance นั้นมีโอกาสที่จะได้รับส่วนแบ่งกำไรจาก MEV ได้มากกว่า และสามารถกระจายส่วนแบ่งกำไรเหล่านั้นไปยังผู้ที่ Stake เหรียญ FOLD ได้มากกว่าอีกด้วย

5.2) Hashflow

รูปภาพจาก : https://www.hashflow.com/

Hashflow เป็น Decentralized Exchange ที่มีฟีเจอร์ที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น Cross Chain Swap, Zero Slippage และ MEV Protection ซึ่งในปัจจุบันทางแพลตฟอร์มก็ได้เปิดให้บริการในเครือข่าย Ethereum, BSC, Polygon, Avalanche, Arbitrum และ Optimism
.
โดยฟีเจอร์ที่เราจะโฟกัสในบทความนี้ก็คือการป้องกัน MEV ของ Hashflow โดยต้องขอเกริ่นก่อนว่า การ Swap ของ Hashflow ก็จะเหมือนกับ DEX ทั่วๆไปที่มีการวางสภาพคล่องต่างๆเพื่อใช้ในการกำหนดราคาสินทรัพย์ที่เราต้องการจะ Swap เลย แต่ใน Hashflow นั้นจะมี Market Maker ที่จะคอยกำหนดราคาสินทรัพย์ต่างๆผ่านการคำนวณนอกเครือข่าย ผ่านโมเดลที่มีชื่อว่า Request For Quote (RFQ) ซึ่งถึงแม้จะขึ้นชื่อว่านอกเครือข่าย แต่มันก็ยังต้องใช้ Cryptographic Signature ในการยืนยันความปลอดภัยและความถูกต้องของราคาสินทรัพย์อยู่ดี ซึ่งทาง Market Maker จะมีการนำปัจจัยอื่นๆนอกเครือข่ายเข้ามาคำนวณราคาสินทรัพย์ต่างๆด้วย ไม่ว่าจะเป็น ราคาสินทรัพย์ในอดีต ความผันผวน และข้อมูลอื่นๆของสินทรัพย์นั้นๆ
.
และด้วยความที่ Hashflow ไม่ได้มีการกำหนดราคาผ่านโมเดล AMM เหมือน DEX อื่นๆทั่วไป และเหมือนกับ CoW Swap ที่ไม่ได้มีการกำหนดราคาผ่าน AMM Pool จึงทำให้ Hashflow สามารถใช้ประโยชน์ของ Cryptographic Signature ในการป้องกันการโจมตีต่างๆอย่าง MEV หรือ Sandwich Attack ได้นั่นเอง
.
โดยสรุปแล้ว ข้อเสียของทั้ง CoW Swap และ Hashflow ก็คือ ทั้งสองแพลตฟอร์มสามารถป้องกันการเกิด MEV ได้แค่ภายในแพลตฟอร์มของตัวเองเท่านั้นอย่างที่ได้กล่าวไปด้านบน จึงทำให้อนาคต ทั้งสองแพลตฟอร์มอาจจะเกิดการ Adoption ที่ช้ากว่าหากไม่สามารถเรียกผู้ใช้งานให้เข้ามาใช้งานได้และไม่สามารถบ่งบอกถึงความสำคัญของการป้องกัน MEV ต่อผู้ใช้งานได้ ซึ่งหากผู้ใช้งานไม่รับรู้ถึงความสำคัญของ MEV ผู้ใช้งานก็จะมองทั้งสองแพลตฟอร์มเป็นเสมือน DEX ตัวหนึ่งเท่านั้น

6) Tokenomics ของ Manifold Finance

รูปภาพจาก : https://cryptorank.io/ico/manifold-finance

Manifold Finance มีเหรียญประจำแพลตฟอร์มคือ FOLD (Governance Token) ซึ่งเราสามารถนำเหรียญ FOLD ไปใช้เป็นสิทธิ์ในการโหวต Proposal ต่างๆของแพลตฟอร์มได้ และสามารถนำ FOLD ไป Stake ไว้กับแพลตฟอร์ม และจะได้รับเหรียญ xFOLD ซึ่งเป็นเหรียญอ้างสิทธิ์สำหรับรับส่วนแบ่งรายได้ที่ Manifold สามารถทำกำไรจาก MEV ได้
.
FOLD มี Max/Total Supply อยู่ที่ 2,000,000 FOLD ซึ่งจะมีการแบ่งตามสัดส่วนต่างๆดังนี้

  • 50% (1,000,000 FOLD) จะไว้สำหรับขายในรอบ Private Sales โดยเสร็จสิ้นการขายรอบนี้ตั้งแต่ช่วงกลางปีที่แล้ว
  • 24.5% (490,000 FOLD) จะเป็นส่วนสำหรับพัฒนา Ecosystem ในอนาคตและเป็นผลตอบแทนสำหรับ Validator Node เช่น Lido, Rocket Pool ที่มีการผสานรวม Product ต่างๆของทาง Manifold Finance ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
  • 20% (400,000 FOLD) จะเป็นเหรียญ FOLD สำหรับทีมผู้พัฒนา ซึ่งเหรียญในสัดส่วนทั้งหมดนี้ ทางทีมก็ได้นำมา Stake เอาไว้กับแพลตฟอร์มทั้งหมดแล้ว และผลตอบแทนสำหรับคนที่นำเหรียญ FOLD มา Stake ก็จะไม่มีการถูกหักค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น มีเพียงแค่การหักส่วนแบ่งกำไรจากแพลตฟอร์มที่มีการนำ Product ของ Manifold ไปใช้เท่านั้น ยกตัวอย่างเช่น Sushiswap ก็จะมีการแบ่งกำไร 50% ที่ได้จาก OpenMEV กลับเข้าสู่สภาพคล่องคู่เหรียญ SUSHI/USDC และอีก 50% จะแบ่งให้กับ Manifold ซึ่ง 50% ตรงนี้จะกลับเข้าสู่คนที่นำเหรียญ FOLD มา Stake ทั้งหมดเลย
  • 3% (60,000 FOLD) จะเป็นสภาพคล่องหลักของทาง Manifold ซึ่งปัจจุบันเราก็สามารถไปแลกเหรียญ FOLD ได้ที่ Uniswap V2 และ SushiSwap
  • 2.5% (50,000 FOLD) จะเป็นการขายในรอบ Public Sale ซึ่งก็ได้มีการขายไปแล้วผ่าน Miso Launchpad ของแพลตฟอร์ม Sushiswap นั่นเอง
    .
    การขายในรอบ Private Sales นั้น Manifold ได้รับเงินระดมทุนมากกว่า 2,500,000 ดอลลาร์ จากการขายให้ Venture Capital ที่ราคาเหรียญละ 3 ดอลลาร์/FOLD ไม่ว่าจะเป็น GBV Capital, Magnus Capital, Ascensive Assets, Spark Digital Capital, Vendetta Capital, Rarestone Capital, Moonrock Capital และ Skynet Trading และการขายในรอบ Public Sales ผ่าน Miso Launchpad นั้นได้รับเงินระดมทุนมากกว่า 150,000 ดอลลาร์ รวมกันแล้วทาง Manifold Finance ได้รับเงินระดมทุนเป็นจำนวน 2,650,000 ดอลลาร์เลยทีเดียว

7) ความน่าสนใจและความเสี่ยงของ Manifold Finance

ความน่าสนใจอย่างแรกของแพลตฟอร์ม Manifold Finance เลยก็คือ Manifold เข้าข่ายที่จะเป็น Real Yield Protocol เป็นอย่างมาก เนื่องจากรายได้ทั้งหมดของแพลตฟอร์มหลังจากหักให้กับแพลตฟอร์มที่มีการนำเอา Product ของ Manifold ไปใช้ จะถูกนำมาแจกจ่ายให้กับคนที่ Stake เหรียญ FOLD 100% และจ่ายเป็นเหรียญ Stablecoin อีกด้วย
.
แล้วรายได้ของทีมพัฒนา/ค่าใช้จ่ายของ Manifold หละ? เนื่องจากที่ได้กล่าวไปด้านบนคือ เหรียญ FOLD ในส่วนของทีมพัฒนาทั้งหมด 20% หรือประมาณ 400,000 FOLD นั้นได้ถูกนำไป Stake เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ทีมพัฒนาจึงได้รายได้เสมือนเป็น Passive Income จากการที่ Product ของพวกเขาสามารถสร้างรายได้จาก MEV ได้นั่นเอง
.
และอีกหนึ่งความน่าสนใจคือ ในปัจจุบันเหรียญ FOLD กว่า 72% ของ Circulating Supply ได้ถูก Stake เอาไว้ในแพลตฟอร์ม และแพลตฟอร์มก็ไม่ได้มีการแจกเหรียญ FOLD ซึ่งเป็นผลตอบแทนให้แก่คนที่มา Stake เลย มีเพียงแค่การแจกผลตอบแทนเป็น Stablecoin ที่มาจากรายได้ของ Product ของ Manifold เท่านั้น ซึ่งปัจจุบันเฉลี่ย APY อยู่ที่ราวๆ 15% ต่อปี จึงทำให้เหรียญ FOLD มี Sell Pressure ที่ต่ำมาก ไม่เหมือนกับ Governance Token ของแพลตฟอร์มอื่นๆที่จะมีการแจกเป็นผลตอบแทนให้กับผู้ที่เข้ามาฝากสภาพคล่องอยู่ตลอด จึงทำให้ Governance Token ของแพลตฟอร์มเหล่านั้นถูกเทขายออกมาตลอด
.
ซึ่งสำหรับใครที่กังวลเรื่องสัดส่วนในรอบ Private Sales ที่สูงถึง 50% ของสัดส่วนทั้งหมด ว่าในอนาคตอาจจะเกิดการเทขายทำกำไรของเหล่า VC เกิดขึ้น หนึ่งสิ่งที่พอคลายกังวลได้คือ เหรียญ FOLD ในรอบนี้ถูกปลดออกมาทั้งหมดแล้วในช่วงเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา (Lock 1 ปี) จึงทำให้ลดความกังวลในการเทขายเหรียญของ VC ไปได้ระดับนึงนั่นเอง

8) สรุปแนวโน้มของ Manifold Finance ในอนาคต

การทำกำไรจาก MEV โดยกลุ่ม Miners, Flashbots และ MEV Searcher ถือเป็นสิ่งที่ผู้ใช้งาน Decentralized Exchange ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ และส่วนตัวผมเองยังเชื่อว่าผู้คนส่วนมากยังไม่เข้าใจความหมายของคำว่า MEV อย่างแท้จริงว่ามันทำให้ธุรกรรมการ Swap เหรียญของเรานั้นมีโอกาสเกิดการขาดทุนได้จากบุคคลเหล่านี้
.
ซึ่งถึงแม้จะมีแพลตฟอร์มต่างๆที่ได้สร้างฟีเจอร์สำหรับการป้องกัน MEV ออกมาไม่ว่าจะเป็น CoW Swap หรือ Hashflow แต่ในเมื่อผู้คนส่วนมากยังไม่เข้าใจความหมายของ MEV แพลตฟอร์มเหล่านี้ก็มีโอกาสการเติบโตได้ยาก รวมไปถึง Manifold Finance ก็มีโอกาสเติบโตได้ยากอีกด้วย
.
แต่มองกลับกัน หากผู้คนเริ่มให้ความสนใจกับ MEV มากขึ้นเท่าไร ส่วนตัวผู้เขียนเชื่อว่าแพลตฟอร์มต่างๆที่มีฟีเจอร์ MEV Protection รวมถึงตัว Manifold Finance เองก็จะเกิดการ Adoption ได้ง่ายมากขึ้นเท่านั้น เนื่องจากในปัจจุบัน Product ต่างๆในตลาดคริปโตที่มีฟีเจอร์ MEV Protection หรือมีการนำกำไรที่ได้จาก MEV มาแบ่งให้กับ Community นั้นยังถือว่าน้อยมากๆ ซึ่งหมายความถึงมันมีพื้นที่ที่แพลตฟอร์มต่างๆจาก Sector นี้มีโอกาสที่จะเติบโตได้อีกมาก
.
โดยหากอ้างอิงตาม Roadmap ของ Manifold Finance นั้น ทางแพลตฟอร์มก็มีแผนที่จะนำ Product ของตนเองนำไปผสานรวมกับ Decentralized Exchange และ Network อื่นๆอีกหลายเจ้า ซึ่งล่าสุดก็ได้มีไปผสานรวมเข้ากับ Uniswap V2 และกำลังจะผสานรวมเข้ากับ Eden Network ซึ่งแต่เดิมนั้นเป็นแพลตฟอร์มที่เกี่ยวข้องกับ MEV Protection อยู่แล้ว เพราะฉะนั้นการผสานรวมกันระหว่าง Product ของ Manifold และ Eden Network สามารถทำให้ทั้งสองแพลตฟอร์มเพิ่มโอกาสในการทำกำไรจาก MEV มากขึ้นอีกด้วย รวมถึงในอนาคตทาง Manifold ก็มีแผนที่จะพัฒนา Product MEV Protection ตัวอื่นๆนอกเหนือจาก OpenMEV และ SecureRPC อีกด้วย
.
ส่วนเรื่องการ Staking ก็จะเพิ่มฟีเจอร์สำหรับการ Staking ให้หลากหลายมากยิ่งขึ้น ซึ่งในปัจจุบันนี้เราสามารถนำเหรียญ FOLD ไป Staking เพื่อรับผลตอบแทนเป็น USDC ได้อย่างเดียวเท่านั้น โดยสิ่งนี้เรียกว่า Actively Managed เนื่องจากจะต้องมีนักพัฒนาคอย Moniter ตัว Product อยู่ตลอดเวลา แต่ในอนาคตทางแพลตฟอร์มก็จะเพิ่มฟีเจอร์สำหรับการ Staking แบบ Passively Managed เข้ามาเพื่อเพิ่มทางเลือกให้ผู้ใช้งานสำหรับการ Stake เหรียญ FOLD มากยิ่งขึ้น
.
ประกอบกับทาง Manifold Finance ก็ได้วางแผนที่จะเข้าไปเป็นพาร์ทเนอร์ร่วมกับ Lido และ RocketPool ซึ่งเป็นแพลตฟอร์ม Liquid Staking สำหรับการ Stake ETH ภายใน Deposit Contract ของ Ethereum 2.0 เพื่อให้ Block Builder ของ Manifold สามารถที่จะเชื่อมต่อกับ Validator Node ของแพลตฟอร์ม Liquid Staking เหล่านี้ ซึ่งจะทำให้การทำกำไรจาก MEV เกิดเสถียรภาพมากยิ่งขึ้นอีกด้วย ซึ่งถือว่าเป็นเกมที่น่าสนใจเลยทีเดียว เนื่องจากส่วนแบ่งการตลาดของการ ETH 2.0 Staking ในปัจจุบันนั้นอยู่ที่แพลตฟอร์ม Lido มากถึง 31% ของอุปทาน ETH ทั้งหมด
.
พอ MEV Product ถูกผสานรวมกับ Validator Node ที่มากยิ่งขึ้น ก็จะทำให้ Manifold สามารถหาโอกาสในการทำกำไรจาก MEV ได้มากและหลากหลายยิ่งขึ้น และ Validator Node อย่าง Lido และ Rocket Pool ก็จะเพิ่มโอกาสในการตรวจสอบและยืนยันธุรกรรมที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้ทั้งสองแพลตฟอร์มได้รับส่วนแบ่งรายได้ที่มากขึ้น เป็นผลดีต่อทั้ง Manifold Finance และบรรดาแพลตฟอร์ม Liquid Staking เหล่านี้ในอนาคต
.
อย่างไรก็ตาม แพลตฟอร์ม Manifold Finance ก็ถือว่าเป็นโปรเจคที่ยังมีมูลค่าตลาดที่ต่ำ โดยมูลค่าตลาดปัจจุบันนั้นอยู่ราวๆ $106,077,084 เท่านั้น อยู่อันดับที่ 242 ถ้าเทียบกับโปรเจคทั้งหมด (อ้างอิงจากเว็บไซต์ Coingecko) เพราะฉะนั้นการที่จะเข้าไปซื้อเหรียญ Small Cap เหรียญใดเหรียญนึง ก็ต้องคำนึงถึงความเสี่ยงในอนาคตที่ถ้าหากตัวแพลตฟอร์มไม่เกิดการเติบโตหรือมีแพลตฟอร์มอื่นที่ทำ Product ออกมาได้ดีกว่าอีกด้วย และถึงแม้ว่าเวลาราคาเหรียญ Small Cap ขึ้นครั้งนึง Upside ของมันจะสูงมาก และสูงกว่าเหรียญใหญ่ๆอย่าง BTC และ ETH อีกด้วย แต่หากสภาวะเศรษฐกิจโลกโดยรวมยังเอาแน่เอานอนไม่ได้ ตลาดคริปโตก็ได้รับผลกระทบไปด้วย ทำให้บรรดาเหรียญ Small Cap อย่าง Manifold ก็มี Downside ที่สูงมากๆอีกด้วยเช่นกัน เป็นต้น

.

.

คำเตือนความเสี่ยง : คริปโทเคอร์เรนซี่มีความเสี่ยงสูง ท่านอาจสูญเสียเงินลงทุนได้ทั้งจำนวนและสินทรัพย์ดิจิทัลมีความเสี่ยง โปรดศึกษาและลงทุนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ ผลตอบแทนของสินทรัพย์ดิจิทัลในอดีต มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลตอบแทนของสินทรัพย์ดิจิทัลในอนาคต

Author

Tags : MEV
Share :
Related
Anzen และ USDz: รูปแบบใหม่ของ Stablecoin ที่ Backed ด้วย Real-World Assets
Cryptomind Monthly Outlook - January 2025
Trump ไม่เซ็นต์ Executive Order เกี่ยวกับคริปโตฯ ในวันแรก! ตลาดจะเดินหน้าอย่างไรต่อ?
Ethena และ USDe กับยุคใหม่ของ Stablecoin