แนวโน้มปัจจุบันแนวโน้มค่าเงินบาทนั้นยังดูไม่ค่อยสู้ดีนัก เนื่องจากทางธนาคารแห่งประเทศไทยนั้นยังไม่มีแนวโน้มในการขึ้นดอกเบี้ย ทำให้เงินไหลออกจากประเทศไทย ทั้งไหลออกทั้งการแลกเปลี่ยนเงินเพื่อหันมาถือดอลลาร์ หรือไหลออกเนื่องจากนักลงทุนเทขายหุ้นไทยและเปลี่ยนเงินบาทเป็นดอลลาร์ ในระยะนี้ให้จับตามอง “ท่าทีของธนาคารแห่งประเทศไทย” ให้ดี ว่าจะมีทิศทางอย่างไรเกี่ยวกับดอกเบี้ย เพราะปัจจุบันประเทศไทยนั้นใช้ Currency reserve ในการพยุงค่าเงินบาทกับดอลล่าร์ไปกว่า 1ล้านล้านบาทแล้ว
ในเชิงเทคนิคอลปัจจุบันแนวโน้มค่อนข้างแข็งแรงไปทางอ่อนค่ามากๆ แต่ถ้าหากประเทศไทยหันมาขึ้นดอกเบี้ยตามสหรัฐอเมริกา อาจจะทำให้กราฟได้หักลงมารีเทสที่ประมาณ 35 บาทต่อดอลล่าร์ได้ แต่ในระยะยาวมีแนวโน้มอ่อนค่าในระยะยาว
หลังจากวันที่ 13/7/2022 เวลา 19.30น. ตัวเลขเงินเฟ้อแบบ CPI Year on Year อยู่ที่ 9.1% ซึ่งสูงกว่าที่คาดที่ 8.8% ซึ่งตัวเลขนี้อยู่สูงที่สุดในรอบ 40 ปี แสดงให้เห็นว่าเงินเฟ้อในครั้งนี้ไม่ใช่ปัญหาระยะสั้นอีกต่อไป และหลังจากนี้เราคงจะได้เห็นธนาคารกลางแห่งชาติของสหรัฐ (Federal Reserve) เริ่มใช้นโยบายที่ดู Hawkish มากขึ้นเพื่อกดเงินเฟ้อให้ลงเท่าที่เขาจะทำได้
หลังจากตัวเลข CPI ที่ 9.1% ออกมานักลงทุนกลับกลายเป็นว่า Price in ตัวเลขดอกเบี้ยที่จะขึ้นในงาน FOMC ในวันที่ 27/7/2022 เดือนนี้อยู่ที่ 275 bps ซึ่งปัจจุบันดอกเบี้ยอยู่ที่ 175 bps เท่ากับว่านักลงทุนกว่า 82.1% คาดการณ์ว่า Fed จะขึ้นดอกเบี้ยกว่า 100 bps หรือ 1% เลยทีเดียวซึ่งตัวเลขนี้มีโอกาสเพิ่มสูงขึ้นเมื่อใกล้ถึงวันงานประชุม ส่วนการ Price in ของตลาดยังคงคิดว่า Fed อาจจะไม่กล้าขึ้นดอกเบี้ยถึง 1% เนื่องจากรอบที่แล้วก็ทำการขึ้นดอกเบี้ย 0.75% ในรอบหลายทศวรรษ
หลังจากตัวเลขเงินเฟ้อ CPI ประกาศออกมาที่ 9.1% ทำให้ตลาดสินทรัพย์เสี่ยงแห่กันโดนเทขาย ซึ่ง Bitcoin เองก็ถูกเทขายในช่วงแรกอย่างรุนแรง ก่อนจะกลับมารีบาวน์อยู่ในช่วงประมาณ 20,000$ ที่เป็นเหมือนแนวต้านเชิงจิตวิทยา สิ่งที่น่าจับตามองต่อไปก็คือ “ท่าทีของ Fed ในงานประชุม FOMC” ในวันที่ 27/7/2022 นี้ ว่าทิศทางแนวโน้มทางการเงินของ Jerome Powell จะไปอยู่ในทิศทางไหน ถ้าหากมาเชิงเข้มงวด (Hawkish) เราอาจจะได้เห็น Bitcoin ลงไปเทสแนวรับที่โซนประมาณ 18,000$ อีกครั้ง ถ้าหากมาเชิงผ่อนคลาย (Dovish) เราอาจจะได้เห็น Bitcoin ทำทรงทิศทาง Sideway อยู่แถวๆโซนนี้ต่อไป
จากการประกาศตัวเลขเงินเฟ้อของสหรัฐฯเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม ที่ออกมาสูงกว่าที่ตลาดคาดในระดับ 9.1% ทำให้นักลงทุนยังมีความกังวลว่า Fed จะยังคงการขึ้นดอกเบี้ยระดับสูงต่อเนื่อง ซึ่งเป็นปัจจัยกดดันสินทรัพย์เสี่ยงทั้งหุ้นและ Cryptocurrency นอกจากนี้ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ยังคงมีข่าวเกี่ยวกับปัญหาของ VCs และ Centralized Exchanges ต่างๆที่ยังเป็นปัจจัยกดดันตลาดต่อเนื่อง และล่าสุด Voyager Digital ก็ประสบปัญหาจากการผิดนัดชำระหนี้จาก Three Arrows Capital ทำให้ต้องยื่นล้มละลายไปในวันที่ 6 กรกฎาคมที่ผ่านมา ทำให้ภาพรวมตลาด Cryptocurrency ยังคงไม่สู้ดีนัก
ในช่วงสองสัปดาห์ที่ผ่านมา TVL ของ Chain ส่วนมากปรับลดลงเล็กน้อย โดย TVL ของ Ethereum ลดลง 4.67% ส่วน BNB มี TVL ที่เพิ่มขึ้น 0.17% อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่าสนใจว่า TVL ของ Tron ปรับตัวเพิ่มขึ้นมากถึง 36.74% ซึ่งสอดคล้องกับราคาของ USDD ที่สามารถยืนราคาที่เข้าใกล้ Peg มากขึ้น โดยในสองสัปดาห์ที่ผ่านมา ราคา USDD วิ่งอยู่ในช่วง $0.987-$1.01 ซึ่งอาจเป็นสาเหตุหนึ่งของการไหลกลับของ TVL โดยแพลทฟอร์ม JustLend ที่มี TVL มากถึง $3.22b เปิดให้ผู้ใช้งานสามารถปล่อยกู้เหรียญ USDD ที่ให้ผลตอบแทนมากถึง 13%
ในช่วงวันที่ 8 กรกฎาคมที่ผ่านมา AAVE แพลตฟอร์มประเภทสำหรับการกู้ยืม Cryptocurrency และสินทรัพย์จากโลกจริงที่ทำเป็นเหรียญ Cryptcurrency (Real-World Asset) บางประเภทได้ประกาศข้อเสนอการสร้าง GHO Stablecoin ขึ้นมา
การเปิดตัวของ GHO นั้นได้รับความนิยมอย่างมากโดย AAVE เป็นแพลตฟอร์มที่มี TVL 5.22b เป็นอันดับ 2 ของแพลตฟอร์ม DeFi ทั้งหมด การสร้าง Stablecoin ที่มีความกระจายศูนย์ (Decentralized), มีสินทรัพย์ค้ำประกันเกินวงเงิน (Overcollateral) และเลือกใช้สินทรัพย์ได้หลากหลายประเภทในการสร้าง (Multi-Collateral) ทำให้ GHO สามารถเป็นคู่แข่งที่เทียบเคียงกับ DAI ของ MakerDAO ที่มีลักษณะคล้ายกันอย่างมากได้
การสร้าง GHO ขึ้นมานั้นยังส่งผลดีต่อเหรียญ AAVE ที่เป็น Governance Token อีกด้วยเพราะผู้ที่ Stake AAVE ไว้ในแพลตฟอร์มจะมีส่วนลดดอกเบี้ยการกู้ให้อีกด้วย ทำให้การอัพเกรดครั้งนี้ส่งผลดีในระยะยาวต่อเหรียญ AAVE นอกจากนี้ AAVE มีแผนที่จะทำเป็น Cross-Chain Lending โดยที่เราสามารถฝากสินทรัพย์ค้ำประกันบน Ethereum Chain แล้วกู้ GHO ออกที่ Blockchain อื่นได้อีกด้วย
โดยรวมแล้ว การที่แพลตฟอร์มใหญ่หันมาสร้าง Stablecoin ของตัวเองจะส่งผลดีให้ตลาด DeFi มีสภาพคล่องที่สูงมากขึ้น เปิดโอกาสให้นักลงทุนรายใหญ่สามารถเข้ามาลงทุนได้อย่างสบายใจ การตรจสอบ Code ก่อนใข้งานจริงจะทำหลายรอบโดยรอบแรกตรวจโดย OpenZeppelin ในวันที่ 11 ที่ผ่านมา
ในวันที่ 12 กรกฎาคม Uniswap แพลตฟอร์ม Decentralized Exchange ที่มี TVL 7.49b ใหญ่เป็นอันดับ 4 ของ DeFi ทั้งหมดถูกโจมตีจาก Phishing Attack
หลักการคือคนร้ายส่ง Token ที่แนบลิ้งก์ปลอมของ Uniswap ให้กับผู้ที่เพิ่มสภาพคล่องใน Uniswap จำนวน 73,399 Address ภายในนั้นจะหลอกให้กดแลก Token เป็นเหรียญ UNI ของ Uniswap แต่แท้จริงแล้วคำสั่งเบื้องหลังจะเป็นการอนุมัติให้ผู้ร้ายสามารถถอนสภาพคล่องที่ฝากไว้ใน Uniswap V3 รวมถึง Native Token อย่าง ETH และเหรียญที่ใช้มาตรฐาน ERC20 ได้เช่นกัน ดังนั้นเหตุการณ์นี้จึงไม่ใช่ Uniswap โดนแฮคหรือมีช่องโหว่ให้โจมตี แต่เป็นการใช้ความไม่รู้ของนักลงทุนในการหลอกให้เอาเงินไป นักลงทุนใน DeFi จึงไม่ควรเปิดลิ้งก์ของเว็บที่ยังไม่ได้ประกาศอย่างเป็นทางการจาก Ofifcial
โดยเหตุการณ์ในครั้งนี้ได้รับการแจ้งเตือนอย่างรวดเร็วจาก Harry Denley Developer และ Changpeng Zhao CEO ของ Binance ทำให้ความเสียที่เกิดขึ้นนั้นอยู่ที่ประมาณ 4295 ETH หรือ 4.7 ดอลลาร์สหรัฐและมีการจับตาดูการเคลื่อนไหวของเงินที่ถูกขโมยไปอย่างใกล้ชิด
อย่างไรก็ตาม ความเสียหายในครั้งนี้เกิดจากผู้ร้ายใช้ความไม่รู้ของผู้ใช้งาน ไม่ได้เกิดจากความผิดพลาดของ Uniswap แต่อย่างใด
เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคมที่ผ่านมา ทาง MakerDAO ได้มีการตั้งข้อเสนอ Maker Improvement Proposal (MIP) #6 เกี่ยวกับการอนุมัติวงเงินกู้จำนวน 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯให้กับธนาคาร Huntingdon Valley ซึ่งเป็นธนาคารเก่าแก่ของสหรัฐฯที่เปิดมานานกว่า 150 ปี
โดยธนาคารจะมีการนำเหรียญ DAI ที่ยืมมาไปใช้เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของธนาคารที่มีการดำเนินธุรกิจหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็น สินเชื่อเฉพาะทางหรือเฉพาะกลุ่ม, การจำนองที่อยู่อาศัยและอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน, สินเชื่อเพื่อการก่อสร้าง, สินเชื่อสำหรับอีคอมเมิร์ส และการดำเนินงานอื่นๆอีกมากมาย ซึ่งการกู้ยืมของธนาคารในครั้งนี้ จะทำให้ทาง MakerDAO สามารถได้รับผลตอบแทนจากการกู้ยืมประมาณ 3% ต่อปี
ผลสรุปคือ ข้อเสนอผ่านการอนุมัติ โดยมีการโหวตเห็นด้วยกว่า 87.24% (คะแนนเสียง 117,540 MKR) และโหวตไม่เห็นด้วย 3.13% (คะแนนเสียง 4,218 MRK) ซึ่งทางคุณ Chris Blec ผู้ก่อตั้ง DeFi Watch และผู้สนับสนุนรายใหญ่ของ MakerDAO เป็นผู้โหวตคัดค้านข้อเสนอนี้เพียงคนเดียว (คะแนนเสียง 4,218 MKR เป็นของเขาทั้งหมด) ได้ให้ความเห็นถึงความกังวลเกี่ยวกับความเสี่ยงด้านกฎระเบียบที่จะเกิดขึ้นในอนาคตหากสินทรัพย์ในโลกความจริงมาเกี่ยวข้องกับ DeFi โดยหลังจากโหวตผ่านแล้ว ทาง MakerDAO จึงจะต้องเปิด Stablecoin Vault เพื่อที่จะให้ธนาคาร Huntingdon Valley สามารถนำสินทรัพย์ในโลกความจริง มาค้ำประกันเพื่อกู้ยืม DAI ออกไปได้ ซึ่งในปีแรกจะกู้ยืมได้เพียง 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และเพดานหนี้จะเพิ่มขึ้นเป็น 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯในอีก 1 ปีข้างหน้า และจะมี MakerDAO Bank Participation Trust ซึ่งเป็นบริษัททรัสต์ที่จะเข้ามาดูแลสินเชื่อในนามของ MakerDAO นั่นเอง
Ethereum Name Service (ENS) เป็น Protocol ที่สร้างขึ้นอยู่บนเครือข่าย Ethereum โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปลี่ยน Address ของ Wallet ของเราที่ยาวๆให้ เป็นชื่อที่เราสามารถจำได้ง่ายๆ ด้วยวิธีการ “จด Domain” ตัวอย่างเช่น Address Wallet เราคือ 0x2d….a563 เมื่อเรามาใช้บริการจด Domain ของ ENS แล้ว เราจะสามารถใช้ชื่อ bird.eth แทนได้ โดยหากมีใครต้องการส่งเงินมาที่ Address เราก็ไม่ต้องใช้ชื่อยาวๆแล้ว แต่สามารถใช้ชื่อ bird.eth แทนได้เลย
ซึ่งเมื่อเราทำการจด Domain ผ่าน ENS แล้วเราจะได้ NFT กลับมา ซึ่ง NFT นี้ก็เหมือนกับ NFT ทั่วๆไปที่สามารถเทรดกันได้บน Opensea ดังนั้นจึงทำให้กระแสการเก็งกำไรบนชื่อ Domain ได้เกิดขึ้น เพราะว่าแต่ละชื่อที่จด Domain ไปจะไม่สามารถซ้ำกันได้
เนื่องจากคนที่จดชื่อ Domain ผ่าน ENS จะได้รับ NFT ชื่อนั้นกลับไป ซึ่ง NFT นั้นสามารถนำไปขายต่อได้ จึงทำให้เกิดการเก็งกำไรเกิดขึ้น โดยเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาได้มีการซื้อ-ขาย NFT ของโดเมนที่ชื่อว่า 000.eth เกิดขึ้น ซึ่งเป็นมูลค่ากว่า 300 ETH หรือ ราวๆ 300,000 ดอลลาร์ และก็ทำให้เกิดกระแสคนแห่กันไปจด Domain ชื่อต่างๆมากมายเพื่อการเก็งกำไร เช่น raj.eth , 64447.eth , 9999.eth เป็นต้น เพื่อคิดว่าในอนาคตชื่อที่เราจดอาจมีคนต้องการ และจะมีมูลค่าที่สูง
เปรียบเทียบผลตอบแทนที่ได้จากการฝากธนาคารและการฝากพันธบัตรรัฐบาลที่มีความเสี่ยงต่ำที่สุดกับผลตอบแทนจากการฟาร์ม Stablecoin บน Curve, UniSwap, Compound, Aave, PancakeSwap, Traderjoe และ SpookySwap ซึ่งมี TVL มากกว่า 2 หมื่นล้านดอลลาร์ ได้รับการ Audit และเปิดทำการมานานแล้วจึงมีความปลอดภัยที่ค่อนข้างสูง พบว่าในกลุ่มแรกได้ผลตอบแทนเฉลี่ยเพียงปีละ 1.07% ต่อปี แต่ในกลุ่ม DeFi นั้นมีผลตอบแทนอยู่ที่ 2.37% ซึ่งต่างกันอยู่ที่ 2.21 เท่า แต่ผลตอบแทนที่มากกว่าส่วนหนึ่งก็จากที่การฝากใน DeFi Platform ยังถือว่ามีความเสี่ยงสูงในสายตาของคนส่วนใหญ่
แต่เมื่อเทียบกับเดือนก่อนๆจะพบว่าผลตอบแทนในการมาฝาก Stablecoin ลดลงค่อนข้างมากจาก APR ประมาณ 8% ในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ส่วนหนึ่งมาจากการที่ผลตอบแทนส่วนใหญ่มาจาก Trading Fee & Borrowing แต่เมื่อมีการทำธุรกรรมดังกล่าวลดลงจากสภาวะของตลาด ผลตอบแทนจึงลดลงตาม
สภาวะตลาด NFT ย้อนหลัง 30 วันพบว่าปริมาณการซื้อขายและจำนวนผู้ใช้งานมีจำนวนที่เพิ่มขึ้นเล็กน้อย แต่อย่างไรก็ตาม Floor Price ของ โปรเจค NFT ส่วนมากพบว่าก็ยังคงอยู่ระดับเท่าเดิมยกเว้นโปรเจค Bluechip อย่าง คอลเลคชั่น Bored Ape Yacht Club ที่ปัจจุบันมีราคาประมาณ 100 ETH ซึ่งพอ ๆ กับช่วงที่โปรเจคอยู่ในช่วง Bullrun เมื่อช่วงต้นปี แต่คาดว่าในระยะกลางถึงยาวตลาด NFT ก็ควรจับตาอย่างมองมาก
เพราะเนื่องจากปัจจุบัน Dollar Index(DXY) ได้ทำ All Time High อย่างต่อเนื่องซึ่งทำให้ผู้คน Risk off เปลี่ยนจาก NFT เป็น USD และถ้า DXY ยังขึ้นต่อไปเรื่อย ๆ ก็อาจมีแนวโน้มให้ NFT สามารถราคาลงได้อีกเช่นกัน ซึ่งการลงทุนในช่วงตลาดผันผวนเช่นนี้จึงไม่ควรถือ NFT เป็น % ที่มากของ Portfolio เกินความเสี่ยงที่รับได้ไหวเพราะเนื่องจาก NFT ลงได้ทั้งจากราคาเหรียญคริปโตและราคาของคอลเลคชั่น และคอลเลคชั่นที่ลงก็อาจจะพิจารณาโปรเจค Bluechip อย่าง Cryptopunks, BAYC/MAYC, RTFKT หรือตัวอื่น ๆ โดยพิจารณาเหตุผลเพิ่มเติมจากปัจจัยหลัก ๆ อย่างปริมาณการซื้อขาย, ทีม หรือ คอมมูนิตี้ควบคู่ไปด้วยกัน และถือได้ในระยะยาวอย่างน้อย 1-2 ปีขึ้นไป
เมื่อย้อนกลับไปประมาณเดือนกว่า ๆ ก็จะมีข่าวว่า Opensea แพลตฟอร์มซื้อขาย NFT ที่มีปริมาณการซื้อขายสูงที่สุดในโลกได้ทำการเข้าซื้อ Gem ซึ่งเป็นแพลตฟอร์ม NFT Aggregator ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นเหมือนด้านหน้าในการซื้อขาย NFT ให้ผู้ใช้สะดวกมากยิ่งขึ้น อย่างเช่น จะมีการดึงข้อมูลราคาจากหลาย Marketplace มารวมไว้ที่เดียวและหาราคา NFT ที่ถูกที่สุดให้กับผู้ซื้อ หรือการทำให้ค่าทำธุรกรรมถูกลง หรือไม่ก็การออกแบบ UX/UI ที่สามารถเข้าใจและใช้งานได้อย่างรวดเร็ว และนอกจากนั้นก็ยังมีข้อดีอีกมากจนผู้ใช้งานหันมาใช้ NFT Aggregator มาขึ้นเรื่อย ๆ ที่อย่างตอนนี้ Gem เป็นแพลตฟอร์มอันดับสามที่มีคนใช้เยอะที่สุดบน Ethereum blockchain เลยทีเดียว
แต่การแข่งขันยังไม่จบเพียงเท่านี้ เพราะไม่กี่สัปดาห์ก่อน Uniswap ก็ได้ทำการซื้อ Genie ที่เป็นแพลตฟอร์ม NFT Aggregator เช่นเดียวกับ Gem ซึ่งหมายความว่าการที่ผู้ใช้จะมา Gem หรือ Genie นั้นอาจจะมีสาเหตุหลักมาจากฟังก์ชั่นที่แพลตฟอร์มใดแพลตฟอร์มหนึ่งสามารถให้ได้มากกว่า แต่อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันนั้นพบว่าสองแพลตฟอร์มนี้มีฟังก์ชั่นที่คล้ายกันอยู่มาก ๆ จนบางทีหาข้อแตกต่างไม่ได้ และมากไปกว่านั้นคือสองแพลตฟอร์มนี้ไม่เก็บค่าธรรมเนียมในการซื้อขายเลย เพราะฉะนั้นจึงคาดการณ์ว่าในอนาคตสองแพลตฟอร์มน่าจะมีการ Airdrop เหรียญของตัวเองให้กับผู้ใช้งาน และให้ Incentives กับผู้ถือเหรียญไปอีก แต่สิ่งที่สามารถมองและคาดหวังได้ตอนนี้คือผู้ที่ซื้อ NFT ผ่านแพลตฟอร์มนี้ในตอนนี้ก็น่าจะมีโอกาสได้ Airdrop พอสมควร
อย่างไรก็ตามการแข่งขันของ NFT Aggregator ต้องบอกว่าเพิ่งเริ่มต้นเท่านั้น และสุดท้ายแล้วผู้ใช้งานจะเทไปใช้ที่ไหนมากที่สุดก็คงต้องติดตามต่อไป
ในช่วงเวลาประมาณ 1 อาทิตย์ที่ผ่านมา ทาง The Sandbox ได้ประกาศความร่วมมือกับ 3 บริษัทใหญ่ในเกาหลี ได้แก่ LOTTE WORLD ที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับสวนสนุก โรงแรม ห้างสรรพสินค้า, CJ ENM เจ้าของคอนเทนต์ของเกาหลีชื่อดังระดับโลกที่ครอบคลุมแทบทุกแขนงในวงการบันเทิง และ Hana Bank ซึ่งเป็นธนาคารใหญ่ระดับ Top 4 ของเกาหลีใต้
LOTTE WORLD เป็นเจ้าของสวนสนุกในร่มที่ใหญ่ที่สุดในโลกของเกาหลีใต้ และมีธุรกิจอื่น ๆ อีกมากมาย แต่ใน The Sandbox จะเป็นการนำ Intellectual Property ของ LOTTE WORLD เข้ามาสร้างเสริมประสบการณ์ใน The Sandbox โดยการทำ Avatar ที่เป็น NFT และจะมีการเน้นกิจกรรมที่เชื่อมระหว่างโลกจริงกับ Metaverse เช่น ผู้ที่ครอบครอง NFT และเข้าร่วมกิจกรรมบนพื้นที่ของ LOTTE WORLD ใน The Sandbox จะมีสิทธิ์ในการเข้าร่วม Private Event ต่าง ๆ ของ LOTTE WORLD ในโลกจริง เป็นต้น
CJ ENM หรือ CJ Entertainment and Media เป็นบริษัทที่ทำธุรกิจสื่อบันเทิงชั้นนำของเกาหลีใต้ที่มีชื่อเสียงทั้งในเกาหลีใต้และระดับโลก โดยในส่วนที่ร่วมมือกับ The Sandbox จะเป็นการทำ “K-content Metaverse” โดยการใช้ Intellectual Property ของซีรีย์และภาพยนตร์ชื่อดังระดับโลกที่ผลิตโดย CJ ENM และก็จะมีแผนที่จะทำรายการหรือกิจกรรมที่เชื่อมโลกจริงกับ Metaverse เช่นเดียวกับ LOTTE WORLD
Hana Bank เป็นธนาคารพาณิชย์ระดับ Top 4 ของเกาหลีใต้ที่มีอายุเก่าแก่กว่า 55 ปีและมีสาขากว่า 199 สาขาทั่วโลก ซึ่งความร่วมมือกับ The Sandbox ในครั้งนี้ทาง Hana Bank ต้องการที่จะเปิดสาขาใน The Sanbox ที่จะคอยให้บริการทางการเงินเบื้องต้นและเป็นพื้นที่ในการประชาสัมพันธ์โอกาสในการลงทุนหรือความร่วมมือกับ partner อื่น ๆ ของ The Sandbox และในขณะเดียวกันก็จะมีการสร้าง K-Verse ใน The Sandbox ที่จะเป็นพื้นที่จัดแสดงคอนเทนต์ต่าง ๆ ของเกาหลีใต้เพื่อเจาะกลุ่มลูกค้า Gen Z
ซึ่งก่อนหน้านี้ก็มี SM Entertainment และ CUBE Entertainment ของเกาหลีใต้ที่ได้มาเข้าร่วมกับ The Sandbox โดยการเคลื่อนไหวในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมาของบริษัทต่าง ๆ ในเกาหลีใต้โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับสื่อและความบันเทิงนั้น ชี้ให้เห็นว่าพวกเขาค่อนข้างให้ความสนใจ Metaverse และไม่ลังเลที่จะเข้าไปหาโอกาสในนั้น พร้อมทั้งหน่วยงานรัฐของเกาหลีใต้ก็ค่อนข้างเปิดกว้างและให้การสนับสนุนโดยไม่ได้มีการควบคุมที่เข้มงวดมากนักอย่างในหลาย ๆ ประเทศ
Yuga Labs ผู้สร้าง NFT Collection ชื่อดังอย่าง Bored Ape Yacht Club และผู้พัฒนาโปรเจ็กต์ Otherside ได้เปิดให้เจ้าของที่ดินดิจิทัลใน Otherside หรือที่เรียกว่า Otherdeed สามารถเข้าไปร่วมทดสอบระบบ (Load Test) ในวันที่ 6 และ 9 กรกฎาคมที่ผ่านมา ซึ่งแต่ละรอบจะเปิดให้เข้าไปรอบละ 25 นาที เพื่อที่จะทดสอบว่าระบบที่ทาง Improbable พัฒนาจะสามารถรองรับคนได้ดีแค่ไหน พร้อมทั้งเปิดรับ Feedback จากผู้เล่นว่าต้องปรับปรุงอะไรบ้าง เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับ “First Trip” ที่จะเป็นการเปิดให้เจ้าของ Otherdeed ได้เข้าไปใช้งานพื้นที่จริงบางส่วนใน Otherside ในวันที่ 16 กรกฎาคมนี้ โดยทั้ง Load Test ทั้ง 2 ครั้งและ First Trip จะเปิดให้เฉพาะโซนฝั่งทวีปอเมริกาเหนือและยุโรปก่อน และจะมีการสนับสนุนค่า Gas ในการทำธุรกรรมเพื่อยืนยันความเป็นเจ้าของ Otherdeed ก่อนเข้าใช้งานด้วย
หลังจากที่ได้เปิด Load Test ไปแล้ว 2 ครั้งก็ได้เห็น Feedback จากผู้ที่เข้าร่วมมากมาย ซึ่งโดนรวมออกมาค่อนข้างดีและประทับใจกับประสบการณ์ที่ได้เข้าไปร่วมทดสอบครั้งนี้ เพราะพื้นที่เล็ก ๆ นี้สามารถจุคนได้กว่า 2,500 คนโดยไม่กระตุกเลยแม้แต่น้อย สามารถแสดงกริยาท่าทางรวมถึงใช้เสียงในการพูดคุยได้อย่างราบรื่น ซึ่งทำให้หลายคนตื่นเต้นและรอคอย First Trip ในวันที่ 16 กรกฎาคมนี้อย่างใจจดใจจ่อ นั่นทำให้ Load Test 2 ครั้งนี้ถือว่าเป็นก้าวแรกที่ยอดเยี่ยมสำหรับโปรเจ็กต์ Otherside