Search
Close this search box.

Paradigm VC ใจป๋านักสร้าง Airdrop ขวัญใจ E-Beggars

Share :
Artboard 1

Table of Contents

ในช่วงที่ผ่านมาหลายคนคงเห็นว่าหลายโปรเจกต์คริปโต เริ่มที่จะหันมาแจก Airdrop กันจนเป็น Airdrop Season เลยทีเดียวทั้ง Dymension, Celestia, Connext, Altlayer, Jito, Jupiter, Wormhole และคาดว่าเร็วๆนี้กำลังจะแจก Starknet และ Wormhole ทำให้หลายคนในช่วงนี้ได้แห่ไปทำแอรดรอปตัวอื่นๆเพื่อเก็งกันอย่างดุเดือด แต่หนึ่งในปัจจัยที่คนมักจะใช้ดูว่าควรไปเก็งแอดรอปตัวนั้นมั้ยคือการดูว่า Backers โปรเจกต์นั้นๆว่ามี VCs ไหนบ้าง

โดย VCs ที่เป็นขวัญใจสายล่าแอรดรอปหรือ E-Beggars นั่นก็คือการมี Paradigm VC เป็น Backer ในโปรเจกต์ต่างๆ เนื่องจากคนเห็นว่าโปรเจกต์คริปโตที่แจกแอรดรอปโดยมี Paradigm เป็น VC นั้นมักจะแจกเป็นจำนวนต่อคนที่เยอะพอสมควร จนทำให้คนเชื่อตามๆกันว่าจะไปล่าแอรดรอปโปรเจกต์ไหนควรต้องดู VCs ก่อนว่ามี Paradigm ไหม

เกี่ยวกับ Paradigm

ขอบคุณภาพจาก https://www.linkedin.com/company/paradigm-xyz/

Paradigm เป็น Venture Capital หรือ VC ที่โฟกัสในอุตสาหกรรมคริปโตเป็นหลัก โดยถือว่าเป็น VC เจ้าสำคัญที่คอยขับเคลื่อนอุตสาหกรรมนี้อยู่เสมอ ปัจจุบันมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ San Francisco สหรัฐอเมริกา ถือเป็นถิ่นของ Start Up ที่เรียกกันว่า Silicon Valley เลยทีเดียว

Team

กลุ่มผู้บริหารหลักของ Paradigm

Fred Ehrsam

Co-Founder & General Partner

Since June 2018

ประวัติการทำงาน : Coinbase (11.4yrs), Goldman Sachs (2yrs)

ประวัติการศึกษา : Duke University (Computer Science and Economics)

Matt Huang

Co-Founder & Managing Partner

Since June 2018

ประวัติการทำงาน : Sequoia Capital (4.5yrs), Twitter (1.11yrs)

ประวัติการศึกษา : Massachusetts Institute of Technology (Mathematics)

Alana Palmedo

COO & Managing Partner

Since Jan 2019

ประวัติการทำงาน : Boston University Endowment (3yrs), Cascade Investment LLC  (4yrs)

ประวัติการศึกษา : Massachusetts Institute of Technology (MBA), Pacific Lutheran University (Finance)

Georgios Konstantopoulos

Research Partner & CTO

Since Nov 2021

ประวัติการทำงาน : Loom Network (1.9yrs), Smart Contract Auditor  (1.1yrs)

ประวัติการศึกษา : Aristotle University of Thessaloniki (Computer – Science)

Katie Biber

CLO

Since 2022

ประวัติการทำงาน : Protocol Labs (3.2yrs), Anchorage  (6.2yrs)

ประวัติการศึกษา : Harward Law School (Doctor of Law)

Alex Popescu

CCO

Since Dec 2022

ประวัติการทำงาน : Fortress Investment Group (14.8yrs)

ประวัติการศึกษา : Columbia University (Economic, History), Brooklyn Law School

Paradigm Portfolio

ขอบคุณภาพจาก https://cryptorank.io/funds/paradigm/rounds

หากดู Portfolio ของ Paradigm ณ วันที่ 14 Feb 2024 นั้น จะเห็นว่าหมวดของโปรเจกต์ที่ทางสนใจค่อนข้างเอียงไปที่ Blockchain Service เป็นหลักอยู่ที่ 31% แสดงให้เห็นว่า Infrastructure ของบล็อกเชนยังต้องการการสนับสนุนและการพัฒนาอีกมาก เช่นเดียวกับ VCs เจ้าอื่นๆอย่าง a16z, Coinbase Ventures และ Binance Labs

และเมื่อดูถึงหมวดรองลงมาจะเห็นว่าทาง Paradigm ค่อนข้างให้ความสำคัญกับ DeFi ที่เป็นตัวสร้าง Adoption ให้กับบล็อกเชน เป็นแพลตฟอร์มขึ้นมาทำงานข้างบน Blockchain Service อีกที จากชาร์ทข้างต้นสามารถอนุมานได้ว่า Innovation จาก DeFi นั้นจะยังไม่หยุดเพียงเท่านี้ โปรเจกต์ใหม่ๆกำลังพัฒนาอยู่เรื่อยๆ

นอกจากนี้ CeFi ก็เป็นหมวดที่ทาง Paradigm ให้ความสำคัญเช่นกัน เนื่องจากเปรียบเหมือนประตูทางหลักที่สามารถดึงทั้งเม็ดเงินและผู้ใช้งานใหม่ๆเข้ามาสู่โลก DeFi และสร้างการใช้งานบนบล็อกเชน และยังเป็นตัวเชื่อมหลักระหว่างโลก Traditional Finance มาสู่ Decentralized Finance นั่นเอง

Paradigm’s Portfolio 2024

ข้อมูลจาก https://cryptorank.io/

ในส่วนนี้เราจะมาพูดถึงโปรเจกต์ใน Portfolio ที่น่าจับตามองในปี 2024 แบบราย Sector เริ่มจากฝั่ง Blockchain Service ที่เป็นกระดูกสันหลังเป็น Infrastructure จนเกิด Ecosystem มากมาย ในช่วงปี 2024 จะเห็นได้ว่าทั้ง Devs และ Users ต่างเริ่มพูดถึงเรื่องของบล็อกเชนแบบ Layer 2, Layer 3 และ App-chain กันอย่างหนาหู ซึ่งก็ปฎิเสธไม่ได้ว่าเทรนด์กำลังมาทางนี้จนเริ่มเกิดเจ้าต่างเข้ามาสร้าง Services ต่างๆทั้ง Altlayer ที่เป็น Roll-up as a Service (RaaS) ในการเปิดให้คนมาสร้าง Roll-up layer ได้อย่างง่ายดาย หรืออย่าง Dymension ที่เป็น Roll-app as a Service (RollApps) ที่ให้คนมาสร้าง App-chain ได้

Blockchain Service

กระดูกสันหลังของ Blockchain เป็น Infrastructure ที่สำคัญ คอยทำงานอยู่เบื้องหลังหลายโปรเจกต์ที่หลายคนไม่เคยรู้

1.Conduit (RaaS)

ทางทีมจึงมองว่า Conduit ถือว่าเป็นอีกตัวที่น่าสนใจ เพราะเข้ามาให้บริการเรื่องของ RaaS โดยมีลูกค้าเป็นทั้งเชน ZORA, Aevo, Mode, Lyra และอีกมากมาย ที่สำคัญคือ Conduit นั้นยังไม่มีเหรียญจึงคิดว่าอาจเข้าไปเก็งแอรดรอปได้ เช่น การใช้งานบนเชนที่ใช้บริการของ Conduit นั่นเอง 

2.Flashbots (MEV)

ถือเป็นโปรเจกต์ Deep Tech ที่ทำเกี่ยวกับการ Research และให้บริการด้าน MEV Software แก่ Validator Nodes เพื่อให้รายได้ของ Nodes ต่างๆนั้นเกิดความแฟร์และกระจายศูนย์มากขึ้น ถือเป็นชิ้นส่วนสำคัญที่ขาดไม่ได้ของ Ethereum และกำลังจะมี เชน Flashbots ที่ไว้สำหรับการจัดรวบรวมธุรกรรมบนเชน Layer 2 ต่างๆ เพื่อส่งให้กับ Shared Sequencer ในการตรวจสอบข้อมูลก่อนส่งลงไปบันทึกที่ Mainnet โดยได้รับการ Funding $60m และตี Valuation ที่ $1B ที่สำคัญก็ยังไม่มีเหรียญเช่นกัน

3.Phantom

เป็น Wallet ที่รองรับทั้ง EVM และ Non-EVM ปัจจุบันค่อนข้างเป็นที่นิยมในหมู่ของ Solana Users เนื่องจากความสะดวกสะบายและฟังกชั่นที่ครบครัน ที่สำคัญยัง Raised Fund ได้สูงถึง $118m โดยตี Valuation ที่ $1.2B ความน่าสนใจคืออาจมีการแจก Airdrop ให้กับ Users นั่นเอง

4.Argent Wallet

เป็นกระเป๋าสำหรับเชน Starknet ถือเป็น Smart Wallet ที่ทำได้หลายอย่างมีฟีเจอร์ครบครันทั้งการกู้ Address ด้วย Email และที่สำคัญยังรอบรับการทำ Account Abstraction รวมถึงระบบ 2FA ต่อกับ Email หรือ เบอร์โทร เพื่อใช้ OTP ทุกครั้งในการทำธุรกรรมผ่าน Wallet เพิ่ม Security ในแง่การใช้งานให้แก่ Users

Zero-Knowledge 

เทคโนโลยีบล็อกเชนขึ้นสูง ที่นำการประเมิลผลเชิงคณิตศาสตร์มารวมกับหลักตรรกะต่างๆอย่างการ Coding ในการประมวลผลธุรกรรมต่างๆบนบล็อกเชนด้วย Zero-Knowledge Proof

1.Mina Protocol

เป็นบล็อกเชน Proof-of-Stake (PoS) ที่ใช้เทคโนโลยี zk-SNARKs เพื่อทำให้ขนาดของบล็อกเชนทั้งหมดมีขนาดเพียง 22KB ต่างจากบล็อกเชนอื่น ๆ ที่มีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ

น่าสนใจอย่างไร? Mina Protocol เป็นบล็อกเชนที่มีขนาดเล็ก 22KB ใช้งานง่ายบนอุปกรณ์ทุกประเภท และมีจุดขายคือความยั่งยืน ใช้พลังงานน้อย เหมาะกับการใช้งานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยจำนวนเม็ดเงินในการ Raised Fund อยู่ที่ $140m ปัจจุบันมี FDV Mcap ที่ $1.4B

2.Starknet

Starknet คือโซลูชั่น Layer 2 บน Ethereum ที่ใช้เทคโนโลยี ZK-Rollup ช่วยให้การทำธุรกรรมมีความรวดเร็ว ประหยัดค่าธรรมเนียม และมีความปลอดภัยเทียบเท่า Layer 1 ของ Ethereum เปรียบเสมือนการอัปเกรด Ethereum ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

อีกส่วนสำคัญที่ทำให้ Starknet มีความแปลกใหม่นั่นคือภาษาโปรแกรม Cairo ที่ออกแบบมาเฉพาะ ให้เหมาะกับการพัฒนา DApps ต่างๆบนเชน ถือเป็นภาษาที่เหล่า Developers ชื่นชอบเป็นอย่างมาก Starknet นั้นได้ Funding อยู่ที่ $282.50m โดยตี Valuation ที่ $8b นั่นเอง ทำให้ต้นทุนของเหล่า VCs จะอยู่ที่ราว $0.8

Layer 2

ส่วนสำคัญที่ช่วยเพิ่มการใช้งานบนเชน Ethereum นั่นคือการมาของ Layer 2 เป็นเชนที่สร้างขึ้นมาต่อยอดจากพื้นฐานของ Ethereum เสมือนทางด่วนบนที่ดินของ Ethereum เพื่ออำนวยความสะดวก รวดเร็ว และถูกแก่ Users ที่สำคัญยังได้รับ Security จาก Ethereum จากการเป็นฐานโครงสร้าง

1.Optimism

Optimism คือบล็อกเชน Layer-2 บน Ethereum โดยใช้ Optimistic Rollups เทคโนโลยีนี้ช่วยให้ Optimism ประมวลผลธุรกรรมได้เร็วกว่าและประหยัดกว่า Ethereum มาก แต่ก็ยังได้รับ Security จาก Ethereum 

ที่สำคัญกระแสการอัพเกรดของ EIP4844 ที่กำลังจะเกิดขึ้นในเดือนมีนาคม 2567 นั้นจะช่วยให้ Optimism น่าสนใจมากขึ้น จากค่าแก้สที่คาดว่าจะถูกลงอีก 10 เท่า Optimism ได้ระดมทุนไปแล้ว $175m โดยมี Valuation อยู่ที่ $1.65B

2.Blast

อีกเชนมาแรงที่ค่อนข้างเป็นกระแส เนื่องจาก Blast นั้นเป็นเชน Layer 2 ที่มีจุดขายคือการถือ ETH บนกระเป๋านั้นจะได้รับ Native Yield จากการแปลง ETH เป็น LSD token อย่างเช่น stETH และเป็นเชนที่ถูกพัฒนาโดยทีมของ Blur ทำให้คนแห่เข้าไปฝากเพื่อรับ Yield และ Airdrop กันอย่างล้นหลาม

DeFi

เมื่อบล็อกเชนมี Infrastructure ที่พร้อม ทั้งการรองรับขนาดธุรกรรมได้เยอะ เร็ว มีค่าธรรมเนียมที่ถูก และมี User Experience ที่ดีขึ้น การจะทำให้เกิดการใช้งานจริงจนมี Activities มากมายนั้นย่อมต้องพึ่งสิ่งที่เรียกว่า DeFi ถือเป็นด่านหน้าในการให้บริการแก่ Users ทั้งรายเล็กและรายใหญ่ ถือเป็นนำ Adoption มาสู่บล็อกเชนพร้อมกับแก้ปัญหาในโลกจริงให้กับ Users 

1.Synthetix

ถือเป็น DeFi OG ที่สำคัญอย่างมาก โดยเริ่มจากการให้บริการออกสินทรัพย์สังเคราะห์ (Synthetic Assets) อย่างเช่น sXAU ที่เป็นสินทรัพย์แทนของทองคำ โดยเปิดโอกาสให้คนมาซื้อขายหรือเก็งกำไรสินทรัพย์เหล่านี้ได้ 

นอกจากนี้ยังเป็น Liquidity Hub ซึ่งเป็นส่วนสำคัญมาก โดยเปิดให้แพลตฟอร์มต่างๆที่ต้องการ Liquidity ในการ Operate ระบบนั้น สามารถที่จะมาใช้ Liquidity จาก Synthetix ได้อย่างเช่นแพลตฟอร์ม Kwenta, Lyra, Polynomial, dHEDGE, Aelin และอีกมากมาย จากสิ่งนี้ทำให้เกิดเป็น Synthetix Ecosystem ขึ้นมาและทีมมีแผนที่จะขยายไปเป็นเชน Synthetix ในอนาคตนั่นเอง

Airdrop Projects Backed by Paradigm

Paradigm ถือเป็น VCs ที่คนขนานนามว่า VC ใจป้ำเนื่องจากหากเห็นว่าโปรเจกต์ไหนมี Backed ด้วย Paradigm นั้น โปรเจกต์นั้นถือว่ามีโอกาสแจก Airdrop สูง หรือหากแจกก็มีโอกาสที่จะแจกเป็นเงินจำนวนที่เยอะ ทำให้คนจึงมักมองหาโปรเจกต์ที่จะล่าว่ามี Paradigm เป็น Backer หรือไม่ จากอดีตหลายโปรเจกต์ที่แจกเป็นจำนวนเงินที่เยอะมักจะมี Paradigm เป็น Backer

Airdropped

โปรเจกต์ที่เคยแจกแอรดรอปโดยมี Backed เป็น Paradigm

  • Optimism (Layer 2 : Optimistic Rollup)
  • Starknet (Layer 2 : ZK-rollup)
  • Blur (NFT Marketplace)
  • Uniswap (DEX)
  • Dydx (Perp DEX)

ทั้งหมดนี้หากดูตามกราฟข้างต้น จะเห็นว่าโปรเจกต์ต่างๆมักแจก Airdrop เป็นมูลค่าสูงสุด (Max) มากกว่า $4,000 ส่วนต่ำสุด (Min) อยู่ที่ราว $65 ถึง $334 แต่ถ้าเรามาดูค่าเฉลี่ย (Average) การแจกหากแจกทุกๆคน ในสัดส่วนที่เท่าๆกันจะได้ไม่แอรดรอปไม่ต่ำกว่า $1,000 แทบทุกโปรเจกต์

Potential Airdrop 

ยังมีอีกหลายโปรเจกต์ที่ยังไม่มีเหรียญ และมีแนวโน้มแจกเหรียญในอนาคต ยังสามารถที่จะเข้าไปเก็ง Airdrop ได้ โดยคาดว่าอาจแจกภายในปีนี้ หรือปีหน้านั่นเอง ในช่วงตลาด Bull Run พอดี

  • Blast (Layer 2)
  • Magic Eden (NFT Marketplace)
  • Phantom (Wallet)
  • Conduit (RaaS)
  • Argent (Wallet) 

สรุป 

Paradigm ถือเป็น VC ขวัญใจในหมู่ E-beggars เพราะโปรเจกต์ที่พวกเขาสนับสนุนมักแจก Airdrop เฉลี่ยกระเป๋าละ $1,000 แต่ล่าสุดดันมีโปรเจกต์ Starknet ที่ Backed by Paradigm เช่นกัน ได้สร้างชื่อเสียโดยการเลือกแจกเหรียญให้ Developers มากกว่า Users จนทำให้ E-beggars หลายคนผิดหวัง ถือเป็น Airdrop Strategy ที่ค่อนข้างแหวกกว่าโปรเจกต์อื่นๆที่เน้น Users มากกว่า Developers ทำให้เกิดคำถามว่า หากเชน Starknet นั้นเอื้อประโยชน์ให้ Developers มากกว่าก็อาจจะมีข้อดีในอีกมุม เช่นแรงจูงใจให้คนมาพัฒนา Products บน Ecosystem หรือไม่

โดยหากตามข้อมูลทั้งหมดนี้จะเห็นว่า Paradigm เน้นลงทุนใน Infrastructure มากกว่าอย่างเช่น Blockchain Services รองลงมาด้วย DeFi และ CeFi ตามลำดับ ซึ่งทีม Cryptomind Research ค่อนข้างเห็นด้วยกับ Paradigm ในการ Allocation เงินทุนดังกล่าว เนื่องจาก Blockchain ยังต้องพัฒนา Infrastructure อีกหลายจุดเพื่อแก้ปัญหาต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียมสูง ความช้า และ User Experience ที่เข้าใจยาก ทำให้ปีต่อจากนี้เราคงจะได้เห็นการพัฒนา Infrastructure มากมาย เพื่อช่วยให้ Users เก่าสะดวกขึ้น และแก้ปัญหาต่างๆให้ Users ใหม่ ตัวอย่างเช่น 2FA และ Account Abstraction บน Wallet อย่าง Argent Wallet ที่ช่วยให้ใช้งานง่ายและปลอดภัย ส่วนตัวจึงมองว่าปี 2024 – 2026 ค่อนข้างเป็นปีที่น่าสนใจต่อการเกิด Mass Adoption จากการคาดการณ์ว่าตลาดจะเข้าสู่ช่วง Bull Run

Author

Share :
Related
DeSci: เมื่อ Web3 ปฏิวัติวงการวิทยาศาสตร์และการวิจัย
Cryptomind Monthly Outlook (November 2024)
Cryptomind Monthly Outlook (October 2024)
Thailand Blockchain Landscape 2024