Search
Close this search box.

The Rise of SOLANA | หรือว่า Solana จะกลับมา?!

Share :
FEATURED IMAGE ON WEBSITE

Table of Contents

เกริ่นนำ

Solana เป็น Layer 1 Smart Contract Blockchain ที่โด่งดังมากในช่วงตลาด 2021-2022 ซึ่งไม่ว่าใครที่อยู่ในตลาดช่วงนั้นก็ต้องรู้จัก ด้วยค่า Fee ที่ถูกมากและธุรกรรมที่ไวมาก สวนทางกับ Ethereum ในขณะนั้นที่ทุกอย่างแพงและช้าจนใช้งานยากมาก ซึ่งถึงแม้ว่ากระแสตอนนั้นจะดีมาก แต่ด้วยปัญหาหลายๆอย่าง ทำให้ Solana ตกลงไปกองอยู่ทั้งช่วงตลาดหมีที่ผ่านมา

ในวันนี้ มีข้อมูลหลายอย่างที่อาจจะบ่งบอกว่า Solana อาจจะเริ่มฟื้นฟูขึ้นมาจนน่าจับตามองอีกครั้ง บทความนี้จะพาไปดูสาเหตุที่ Solana เสียความน่าเชื่อถือไปในตลาดรอบที่แล้ว และรอบนี้มีอะไรที่น่าจับตาดูบ้าง พร้อมทั้ง Airdrop ไหนที่น่าเข้าไปล่าในเครือข่าย Solana


1. What?: เกิดอะไรขึ้นกับ Solana ใน Cycle ที่แล้ว?

แม้ Solana จะเป็นหนึ่งใน Blockchain ที่โด่งดังและได้รับความนิยมที่สุดในตลาดกระทิงช่วงที่แล้ว ด้วยความสามารถในการประมวลผล Smart Contracts ที่เร็วและมีประสิทธิภาพ จนคนมองว่า Solana เป็นคู่แข่งที่สำคัญของ Ethereum มากที่สุด ทว่า Solana ก็ประสบปัญหามากมาย ที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของผู้ใช้และนักลงทุน

Solana ได้เผชิญกับปัญหาทางเทคนิคและความล้มเหลวในเครือข่ายซ้ำแล้วซ้ำเล่า ซึ่งทำให้ราคาของมันลดลงอย่างรุนแรงถึง -97% จาก All time high

การพังทลายของ Solana ในรอบนั้น ได้รับอิทธิพลมาจากการล่มสลายของ Terra LUNA ซึ่งเป็นเหตุการณ์สำคัญที่ทำให้หลายคนเริ่มสงสัยว่านี่อาจจะเป็นจุดจบของยุครุ่งเรืองของ Solana เช่นเดียวกัน

แต่อะไรคือสาเหตุหลักที่ทำให้ผู้คนคิดว่า Solana ได้ถึงจุดจบแล้ว?

1.1 Solana Outages: หลายครั้งที่เชนหยุดชะงัก

Solana เป็นหนึ่งในเชนที่คนจับตามองมากที่สุด เนื่องจากคนสามารถทำธุรกรรมได้อย่างรวดเร็วและถูกมาก

แต่ปัญหาที่สำคัญคือการที่ Solana Blockchain หยุดชะงักไปในหลายๆครั้ง ทำให้ไม่สามารถใช้งานได้ และเกิดความเสี่ยงหลายๆอย่าง เช่น คนที่ทำ Leverage อยู่ในเวลานั้นๆจะไม่สามารถแก้ไข Position ของตัวเองได้เลย ส่งผลให้ผู้ใช้งานและนักลงทุนเริ่มไม่มั่นใจในความมั่นคงของเครือข่าย Solana

ในช่วงต้นเดือนมกราคม 2022 เครือข่าย Solana ล่มเป็นเวลานานหลายครั้งในระหว่างวันที่ 6-12 มกราคม และหากรวมระยะเวลาที่เครือข่ายหยุดทำงานไปทั้งหมดในปี 2022 จะเท่ากับ 4 วัน 12 ชั่วโมง 21 นาที จากหลายๆสาเหตุที่แตกต่างกัน

  • บางครั้งสาเหตุของการล่มคือ Distributed Denial of Service หรือที่เรียกกันว่า DDoS attacks ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อในเครือข่ายประสบกับการส่งข้อมูลที่มากจนเกินเครือข่ายจะรับไหว
  • บางครั้งสาเหตุของการล่มคือ Bug ของ Software หรือปัญหาในระบบของ Consensus ซึ่งทำให้ระบบไม่สามารถประมวลผลธุรกรรมต่างๆต่อได้
ขอบคุณภาพจาก Claude Barde (@claudebarde) on X

สิ่งนี้กลายเป็น Meme ในชุมชนคริปโตต่างๆเวลาที่ Solana หยุดทำงานอีกแล้ว และกลายเป็นหนึ่งข้อกังวลสำคัญสำหรับนักลงทุนและผู้ใช้งานต่างๆ

1.2 Fall of FTX: เหตุการณ์การล่มสลายของ FTX

ขอบคุณภาพจาก FTX: How a $32 Billion Empire Collapsed in 9 Days

FTX คือ Centralized Exchange ที่มีความนิยมสูงมากในช่วง 2020-2021 ก่อตั้งโดย Sam Bankman-Fried

FTX เติบโตขึ้นมาอย่างรวดเร็วจนกระทั่งมี Volume การเทรดเหรียญคริปโตต่างๆรวมเป็นอันดับ 3 ตามตารางของ Centralized Exchange ในโลก เป็นรองแค่ Binance และ Coinbase

อาณาจักรของ FTX พังทลายในช่วงพฤศจิกายน 2022 และเป็นตัวจุดประกายตลาดหมีของรอบ Cycle ที่ผ่านมา เหตุเพราะมีข้อมูลการสืบค้นออกมาว่า FTX จัดการสินทรัพย์บนแพลตฟอร์มได้ไม่ดีและมีการนำเงินของลูกค้า FTX ไปใช้อย่างผิดๆ คนเริ่มแห่ถอนเงินจาก FTX ทำให้ FTX ต้องปิดการถอนเงินอย่างกระทันหัน ผู้ใช้งานนับไม่ถ้วนได้รับผลกระทบจากการที่เงินติดอยู่ในนั้นมหาศาล

หลายคนอาจจะสงสัยว่าทำไมการล่มสลายของ FTX ถึงมีผลกระทบมากต่อ Solana?

Sam Bankman-Fried ผู้ก่อตั้งของ FTX เป็นผู้ที่สนับสนุน Solana มาโดยตลอด ทั้ง FTX และ Alameda (บริษัทเทรดในเครือข่ายของ Sam) มีการเข้าไปถือเหรียญในเครือ Solana จำนวนมากใน Balance Sheet บริษัท

Balance Sheet ของ FTX ที่ได้มีการเปิดเผยออกมา ขอบคุณภาพจาก FTX balance sheet, revealed

เมื่อ FTX ที่เคยเป็นแกนนำในการสนับสนุน Solana และถือโทเค็นไว้เยอะมากพังลง เหรียญ SOL และเหรียญอื่นๆในเครือจึงมีผลกระทบตาม รวมไปถึงความกังวลใจถ้าหาก FTX มีคดีความและจำเป็นต้องเทขาย Asset ทั้งหมด (ปัจจุบันโดนตัดสินให้ Liquidate Asset ทั้งหมดแล้ว)

การเชื่อมโยงระหว่าง Solana และ Sam Bankman-Fried นี่เอง จึงก่อให้เกิดผลกระทบที่หนักหน่วงต่อ Ecosystem ของ Solana ในเวลานั้น

1.3 Birth of Ethereum L2s: กำเนิด Layer 2 ของฝั่ง Ethereum

ช่วงตลาดกระทิง 2021-2022 นับว่าเป็นช่วงที่ DeFi และ NFT เป็นที่นิยมมากโดยเฉพาะบน Ethereum ซึ่งคนแห่เข้าไปใช้งานและเก็งกำไรกัน

ปัญหาของ Ethereum ในเวลานั้นคือ Ethereum ยังไม่ได้มี Layer 2 มาช่วยในเรื่อง Scaling ทำให้ค่าแก๊สจากการใช้งานบน Layer 1 แพงขึ้นมากจนเป็นกำแพงการเข้ามาใช้งานจากนักลงทุนรายย่อยทั่วไป

ในเวลานั้น Smart Contract Layer 1 ตัวอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น Solana (SOL), Terra (LUNA), Avalanche (AVAX), Fantom (FTM), Harmony (ONE) และอื่นๆจึงถูกเก็งกันมากขึ้น ว่าเป็น Blockchain generation ใหม่ที่มีค่าแก๊สถูกกว่า และใช้งานได้รวดเร็วกว่า Ethereum เยอะมาก มีการเปรียบเทียบและโฆษณาในเรื่องดังกล่าวกันอย่างกว้างขวาง

ตารางภาพที่คนนำมาเปรียบเทียบระหว่าง Layer 1 ต่างๆในช่วง 2021 ขอบคุณภาพจาก From the solana community on Reddit: Solana vs. Other Blockchain Platforms

แต่หลังการล่มสลายของ Terra LUNA และการพังทลายของ FTX ซึ่งนำมาถึงการเสียความเชื่อมั่นใน Solana นักลงทุนเริ่มที่จะหนีออกจาก Layer 1 ทางเลือกต่างๆเหล่านี้และกลับมาที่ Ethereum ในช่วงตลาดหมีที่ผ่านมา

ขอบคุณภาพจาก Layer 2

ในช่วงเวลานั้น Layer 2 ต่างๆในฝั่ง Ethereum ก็เริ่มแจก Airdrop ทำให้คนเริ่มเข้าไปใช้งานกันอย่างมากขึ้น รวมไปถึงการพัฒนาและการเติบโตของ TVL อย่างไม่หยุดหย่อน ซึ่งคนก็เริ่มค้นพบว่า Layer 2 เองก็เป็นคำตอบที่ดีมากๆสำหรับการแก้ปัญหาการกระจุกตัวที่ Layer 1 จนทำให้ค่าแก๊สแพงเกินการใช้งานได้จริง ค่าแก๊สบน Layer 2 ถูกลงมาก และใช้งานได้ไวขึ้นมาก

ในช่วงตลาดหมีที่ผ่านมานั้น คนจึงหันไปมองที่ Ethereum และ Layer 2 ต่างๆที่แก้ Pain point หลักของ Ethereum แล้วแทน Layer 1 ทางเลือกอื่นๆ

1.4 สรุปเหตุการณ์ที่ดึง Solana ลงมาใน Cycle ที่แล้ว

แม้ว่า Solana จะเป็นหนึ่งในตัวที่คนเก็งมากที่สุดใน Cycle ที่แล้ว เพราะการใช้งานที่ง่าย ถูก และรวดเร็ว แต่หลากหลายปัญหาที่รุมเร้า ตั้งแต่ปัญหาของ Solana เองที่ทำให้เชนหยุดไปหลายต่อหลายครั้ง ปัญหาจากการล่มสลายของ FTX และปัญหาที่ความเชื่อมั่นของคนย้อนกลับไปที่ Ethereum ใน Cycle ที่แล้ว Solana จึงสูญเสียความเชื่อมั่นลงไป


2. On-chain Solana ในปัจจุบัน

หลังจากช่วงตลาดหมีที่ Solana ซึมลงแบบยาวๆ Solana ได้เริ่มกลับมาแสดงพลังด้วยราคาที่ก้าวกระโดดนกลับขึ้นมาถึง 800% จาก 7.9$ มาจนถึง 71.6$ ณ เวลาที่เขียน

นอกจากนั้นแล้ว ไม่เพียงแต่ราคาของ SOLANA เท่านั้น ที่แสดงถึงความแข็งแกร่ง ข้อมูล On-chain ต่างๆได้เริ่มแสดงให้เห็นถึงการกลับมาของ Solana

3.1 Total Value Locked (TVL)

ข้อมูล TVL จาก Defillama

ช่วงตลาดหมีที่ผ่านมา Solana ตกลงไปถึงลำดับใต้ Top 10 เรียงตาม TVL บนเชน แต่ในตอนนี้ Solana ได้กลับขึ้นมาถึงลำดับที่ 6 และมี TVL ถึง $921.75ล้าน หากพิจารณาเป็นรอบรายวัน รายสัปดาห์ และรายเดือน Solana มี TVL ที่เติบโตถึง 45% ทั้งหมด

ข้อมูล TVL จาก Defillama

TVL บน Solana นับเป็น 1.82% เมื่อรวมกับทุกเชนในโลก DeFi ณ ขณะที่เขียน หากเทียบกับ Ethereum และ Binance Smart Chain แล้วยังค่อนข้างห่างอยู่ แต่ก็เริ่มเป็นทิศทางการเติบโตที่น่าสนใจ

ข้อมูล TVL จาก Defillama

ก่อนหน้าที่ Solana จะเสียความเชื่อถือไปจากเหตุการณ์ต่างๆ TVL ของ Solana เคยขึ้นไปถึงระดับ $10b หลังจากนั้นก็ได้ตกลงมาเรื่อยๆ และช่วงที่ผ่านมาจะเริ่มเห็นถึงกราฟ TVL ที่เริ่มหันหัวขึ้นอยู่เรื่อยๆ

3.2 On-Chain Data อื่นๆ

ข้อมูล TVL จาก Defillama

หลังจากในช่วงตลาดหมี Stable coin ได้ทะยอยออกไปจาก Solana แล้วยังไม่ได้กลับเข้ามามาก
จำนวน Address ก็ค่อนข้างอยู่คงที่ที่ราว 100k Address เป็นตัวบ่งบอกว่า Address ก็ไม่ได้หายไปมากแล้วเช่นกัน

ข้อมูลทั้งหมดนี้ยังค่อนข้างนิ่งอยู่ หากแต่ละ Metric เริ่มหันหัวขึ้นเมื่อไหร่ ก็อาจจะเป็นสัญญาณที่มองเป็นบวกเกี่ยวกับ Solana ได้มากขึ้นกว่านี้

3.3 NFT

ข้อมูลด้าน NFT จาก Cryptoslam

Metric หนึ่งที่ทำให้สามารถมอง Solana เป็นบวกได้มาโดยตลอดคือในเรื่องของ NFT ซึ่งแม้ในตลาดหมีทุกๆเชนค่อนข้างจะมี Volume ต่างๆน้อยลงไปตามๆกัน แต่ Solana จะยังคงอยู่ใน Top 5 มาโดยตลอด

โดยเฉพาะที่ผ่านมา Volume การซื้อขาย NFT บน Solana ได้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ และในบางวันมี Volume ที่แซงแม้แต่ Ethereum Mainnet อีกด้วย บ่งบอกถึงการเข้าไปใช้งานอย่างต่อเนื่องของผู้ใช้งานต่างๆ

3.4 Correlation SOL/ETH

ความสัมพันธ์ระหว่าง SOL/ETH สามารถบ่งบอกความรู้สึกของ Solana ได้เมื่อเทียบกับ Ethereum

ในช่วง 7 พฤศจิกายน 2022 ตอนที่ FTX ได้ปิดทุกอย่างลง SOL/ETH เทลงมาจากแถว 0.02 ลงมาจนต่ำกว่าระดับ 0.01 และ Sideaway อยู่ในแถบนั้นมาเป็นเวลาแทบจะ 1 ปี

จนกระทั่งหลังจากเดือนตุลาคม 2023 ที่ผ่านมา ความสัมพันธ์ก็ได้ Breakout ขึ้นไป และกลับไปในจุดที่เท่ากับความสัมพันธ์ก่อนที่ FTX จะพังทลายลง อีกทั้งโตขึ้นไปจน Outperform Ethereum มากกว่านั้น สิ่งนี้อาจจะเป็นสิ่งที่บ่งบอกได้ว่า นักลงทุนเริ่มคลายความกังวลจากการพังของ FTX แล้ว และอาจจะเริ่มส่งสัญญาณความรู้สึก Bullish กับ Solana มากกว่ากว่าเดิมอีกด้วย


3. The Return of Solana: อะไรทำให้ Solana กลับมาผงาดใน Cycle นี้

Metrics หลายๆอย่างทั้ง On-Chan และด้านราคาเริ่มส่งผลให้ Solana กลับขึ้นมาในระดับที่ดีขึ้นอีกครั้งตั้งแต่งาน Solana Breakpoint 2023 ตั้งแต่ช่วงกันยายน 2023 ที่ผ่านมาตามประเทศต่างๆ

อะไรบ้างคือสิ่งที่ทำให้ Solana ยังคงน่าสนใจ และชาว Solana กำลังรออัปเกรดอะไรอยู่บ้าง?

3.1 #OnlyPossibleOnSolana มีมหรือของจริง?

หากใครที่เคยติดตาม Solana อาจจะเคยเห็น Hashtag #OnlyPossibleOnSolana ซึ่งในทางหนึ่งก็เป็น Meme ที่เล่นกันสำหรับชาว Solana แต่ในอีกทางหนึ่งก็เป็นการพยายามตีแผ่ถึงความสามารถของ Solana ที่มีแต่ Solana เท่านั้นที่ทำได้ ตัวอย่างของสิ่งที่คนนำมาตีแผ่ใน Hashtag นี้คือ

– Compressed NFT

ขอบคุณภาพจาก X

Compressed NFT คือการบีบอัดไฟล์ NFT ให้อยู่ในรูปแบบที่เก็บภายใน Solana Blockchain ได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด ทำให้ทั้งค่าใช้จ่ายในการ Mint และการส่งนั้นถูกมากๆ

ยกตัวอย่างจากตารางด้านบน หากจะสร้าง NFT จำนวน 1,000,000 ชิ้นขึ้นมา หากใช้งานบน Ethereum จะมีค่าแก๊สถึง $33ล้าน, หากใช้งานบน Polygon จะมีค่าแก๊สถึง $328,000 หากใช้งานบน Solana แบบไม่เป็น Compressed จะมีค่าแก๊สถึง $253,000 (ซึ่งก็ยังถูกกว่า Blockchain ตัวอื่นๆ) และหากใช้งานแบบ Compressed บน Solana จะมีค่าแก๊สเพียงแค่ $227

เมื่อค่าใช้จ่ายต่ำมากๆ ย่อมทำให้เกิดการใช้งานจริงได้ง่ายขึ้นมากและมีโอกาสที่จะเกิด Use-case ต่างๆมากขึ้นเยอะในอนาคต เช่น การสร้าง NFT item บนเกมต่างๆ, การแจก NFT ที่ระลึกต่างๆ

– ระบบการ Subscription กับศิลปินต่างๆ

ภาพจาก Drip.haus

เมื่อค่าแก๊สในการ Mint NFT ต่างๆไม่ใช่อุปสรรค การใช้งานต่างๆจึงเกิดขึ้นได้มากมาย เช่น Drip.haus ซึ่งเป็นระบบที่ให้คนสามารถ Subscribe กับศิลปินแต่ละคนบนแพลตฟอร์มได้ และศิลปินจะสามารถ Airdrop งานศิลปะของตัวเองมาให้คนที่ติดตามได้อย่างต่อเนื่อง Use-Case ในแนวทางคล้ายๆแบบนี้สามารถเกิดขึ้นได้อีกมากด้วยระบบ Solana

– NFT Stickers บนแอพ Dialect

ภาพจาก App Dialect

App Dialect เป็นแอพพลิเคชั่นสำหรับการแชทในฝั่ง Solana โดยผู้ใช้งานสามารถเขียนข้อความหากันหากรู้ Address กันได้

สิ่งที่น่าสนใจใน App นี้คือ Stickers ต่างๆที่เราสามารถสะสมมาเพื่อส่งหาเพื่อนได้ ในบางจังหวะทาง App จะมี Sticker ออกมาแจกฟรีแบบสุ่มตามโอกาสต่างๆ ซึ่งเราสามารถนำแต่ละชิ้นไปตั้งซื้อหรือขายก็ได้

ค่าแก๊สที่ถูก ก็สามารถทำให้เกิดการใช้งาน NFT แบบนี้ได้อีกเช่นกัน

3.2 Firedancer อัปเกรดสำคัญของ Solana

ขอบคุณภาพจาก Solana Breakpoint 2023: Firedancer Update

Firedancer คือ Validator Client ที่คาดหวังว่าจะมาสร้างความมั่นคงและเพิ่มประสิทธิภาพให้กับเครือข่าย Solana โดยสิ่งนี้ถูกพัฒนาร่วมกับ Jump Crypto (ส่วนหนึ่งของ Jump Trading Group)

หนึ่งในคุณสมบัติหลักของ Firedancer คือความสามารถในการประมวลผลธุรกรรมได้ในระดับที่ไม่เคยมีมาก่อน ในระหว่างการทดสอบบน Testnet Firedancer สามารถจัดการธุรกรรมได้ถึง 600,000 ธุรกรรมต่อวินาที (TPS) ซึ่งต่างจากระดับปัจจุบันของ Solana ที่มีเพียงประมาณ 4,000 TPS

Firedancer ไม่ได้เพียงแค่เน้นที่ความเร็วในการประมวลผลเท่านั้น แต่ยังมุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาความเสถียรและการชะงักของเครือข่ายที่เคยเกิดขึ้นกับ Solana การปรับปรุงนี้อาจช่วยลดปัญหาเหล่านี้และเพิ่มความเชื่อมั่นให้กับผู้ใช้และนักลงทุน — เป็นหนึ่งในการแก้ไขจากรอบตลาดรอบก่อนอีกด้วย

Firedancer มีกำหนดการว่าจะขึ้นเป็น Mainnet ภายใน Quarter 1 ของปี 2024 ซึ่งอาจจะเป็นการช่วยสร้างกระแสครั้งใหญ่ให้กับ Solana ได้อีกครั้ง

3.3 การปรับปรุงประสิทธิภาพและความมั่นคงของเครือข่าย

การนำโปรโตคอล QUIC มาใช้, ระบบ QoS ที่พิจารณาจากสัดส่วนส่วนแบ่ง (stake-weighted), และตลาดค่าธรรมเนียมแบบ Local ได้ช่วยเพิ่มความมั่นคงของเครือข่าย Solana อย่างมาก

QUIC เสริมสร้างการสื่อสารแบบ Asynchronous Communication ที่รวดเร็วขึ้น, ในขณะที่ระบบ QoS ช่วยจัดสรร Bandwidth เครือข่ายอย่างมีประสิทธิภาพ

นอกจากนี้ ตลาดค่าธรรมเนียมแบบ Local ยังช่วยให้ผู้ใช้สามารถกำหนดความเร่งด่วนของธุรกรรมได้ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำธุรกรรมต่างๆ

3.4 การอัปเดตซอฟต์แวร์และคุณสมบัติต่างๆ

การอัปเดต v1.16 ของ Solana นำเสนอคุณสมบัติที่โดดเด่นหลายประการ รวมถึงการลดการใช้ RAM และการใช้งาน Zero-Knowledge Proofs

การลดการใช้งาน RAM ช่วยให้ validator ทำงานได้อย่างราบรื่นด้วยทรัพยากรน้อยลง, ทำให้เครือข่ายมีความยืดหยุ่นและประหยัดค่าใช้จ่ายมากขึ้น

นอกจากนี้, zero-knowledge proofs ช่วยเพิ่มความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยในการทำธุรกรรม, เสริมสร้างความมั่นใจและความน่าเชื่อถือของระบบ

3.5 สรุปอะไรบ้างที่จะทำให้ Solana กลับมา?

เทคโนโลยีของ Solana ที่มีค่าธรรมเนียมที่ถูกและธุรกรรมในเครือข่ายที่ไวมาก ที่ให้เกิด Use-case ต่างๆขึ้นมามากมายซึ่งมีให้เห็นและใช้งานอยู่แล้วในปัจจุบัน รวมไปถึงการพัฒนาต่างๆ เช่น Firedancer ที่ทุกคนรอคอย และการเข้ามาใช้งาน Zero-Knowledge Proofs เพื่อช่วยในเรื่องของความเป็นส่วนตัวในธุรกรรม

หลายๆอย่างเป็นตัวบ่งบอกว่า Solana ยังพัฒนาอย่างไม่หยุดหย่อนแม้จะผ่านช่วงที่แย่ที่สุดมา และเรายังสามารถที่จะรอคอยสิ่งต่างๆที่กำลังจะตามมาตาม Roadmap ได้


4. หลายคำถามคาใจทุกคนเกี่ยวกับ Solana

ตั้งแต่ Solana เป็นที่รู้จักมากขึ้นเรื่อยๆ มีหลากหลายคำพูดที่มักจะถูกนำมาพูดต่อกันอยู่เรื่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของความ Centralized ของเชน Solana​​, Dev ของ Solana สามารถปิดสวิชเชน Solana ได้กันอย่างอิสระและอื่นๆ

หลายอย่างนี้เมื่อถูกพูดต่อกันเรื่อยๆก็อาจจะสร้างความกังวลใจให้กับนักลงทุนไม่น้อย แต่ในเรื่องเหล่านี้ มีความจริงอะไรอยู่บ้าง?

4.1 Solana มีความ Centralized มาก

– Nakamoto Coefficient

Nakamoto Coefficient คือค่าการวัดความ Decentralized ที่ Balaji Srinavasan และ Leland Lee ได้เสนอขึ้นมาเพื่อการวัดประสิทธิภาพของแต่ละ Blockchain โดยตัวเลข Nakamoto Coefficient จะแสดงถึงจำนวนของ Node Operator ที่สามารถร่วมกันปิดระบบได้ หมายความว่า ตัวเลขนี้ยิ่งมีมากยิ่งเป็นตัวเลขที่ดี

ข้อมูลจาก https://nakaflow.io/

หากพิจารณาข้อมูลจาก Nakaflow ดังภาพด้านบน จะเห็นว่า Solana มี Nakamoto Coeffient ที่ 21 ซึ่งเป็นจำนวนที่ค่อนข้างเยอะเมื่อเทียบกับ Ethereum ที่ 2 หรือ Binance ที่ 8

ถึงแม้ว่าตัวเลข Nakamoto Coefficient จะบ่งบอกว่า Solana มีความ Decentralized กว่า Ethereum และอื่นๆในแง่นี้ แต่ Metric ของ Nakamoto Coefficient ก็ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันว่าเป็น Metric ซึ่งถูกเอามาใช้ได้จริงไหม เพราะแต่ละ Blockchain ก็มีระบบการใช้งานที่แตกต่างกันออกไป อาจจะนำ Metric เดียวกันนำมาใช้ด้วยกันไม่ได้ทั้งหมด

ข้อมูลจาก Validator Health Report: October 2023

จากข้อมูลที่ Solana ได้ประกาศออกมาเองใน Validator Health Report: October 2023 มีข้อมูลที่ต่างออกไปหน่อย โดย Solana มี Nakamoto Coefficient ที่ 31 และ Ethereum ที่ 25 ซึ่งมีความต่างกันน้อยลงมาก สิ่งที่น่าสนใจคือเรื่องของจำนวน Validators บน Solana ที่ 1,961 และ Ethereum ที่ 4,435 ซึ่งหากนำ Solana ไปเปรียบเทียบกับ Blockchain อื่นๆ Solana มีตัวเลขที่บ่งบอกถึงความเป็น Decentralized มากกว่าในแง่นี้

4.2 ค่าการรัน Node ใน Solana แพงมาก

Solana เป็น Blockchain ที่ต้องใช้พลังในการประมวลผลสูงมาก สมัยแรกๆค่า Hardware สำหรับการ Setup ทุกอย่างอาจจะมีค่าใช้จ่ายสูงถึง $20,000

แต่ในปัจจุบัน ค่าของ Hardware ที่จำเป็นต้องใช้ลดลงมามากแล้ว อยู่ที่ราวๆ $3-4,000 ทำให้คนเข้าถึงได้มากขึ้น และเมื่อ Firedancer เข้ามาใน Mainnet ก็จะทำให้ทุกอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และอาจจะทำให้ค่าใช้จ่ายในเรื่องของ Hardware น้อยลง

สิ่งที่จะมีราคามากหน่อยคือเรื่องของ Solana ที่จำเป็นต้องนำมาใช้เพื่อ Stake ด้วย ถึงไม่ต่างจาก Ethereum ที่จำเป็นต้องใช้ถึง 32 ETH สิ่งนี้อาจจะยังคงเป็นอุปสรรคหน่อยๆสำหรับผู้ที่อยากจะมารันโหนด

แต่ถ้าแม้ว่าจะมีอุปสรรคดังกล่าว จำนวน Validator ของ Solana ก็ยังคงพุ่งขึ้นอยู่เรื่อยๆอย่างต่อเนื่องเช่นกัน

4.3 Solana ยังคงหยุดทำงานอยู่เรื่อยๆ

ขอบคุณภาพจาก Status Solana
ขอบคุณภาพจาก https://solana.com/news/network-performance-report-july-2023

หลังจากที่ Solana มี Downtime เยอะมากจนกลายเป็น Meme ในช่วง 2022 แต่มาถึงในปี 2023 Downtime ถือว่าได้ลดลงไปอย่างมาก ในปี 2023 นี้ Solana มีแค่ Outage ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์เป็นเวลา 1 วัน แต่นอกเหนือจากนั้นจนปัจจุบัน Solana มี Uptime แทบจะเรียกได้ว่าเป็น 100% ทำให้เห็นถึงการพัฒนาขึ้นอย่างมาก

และ Dev ของ Solana ก็ได้มีการพูดถึงการใช้ Client Firedancer ใหม่ที่จะมาช่วยแก้ไขปัญหาเรื่อง Downtime ทั้งหมดได้ดีขึ้นอีกด้วย


5. Solana Airdrop Hunts: ล่า Airdrop ใน SOL Ecosystem

ภาพการประกาศ Airdrop ในงาน Solana Breakpoint 2023

ในช่วงที่ผ่านมา Solana ได้เริ่มมีการแจก Airdrop เป็นพักๆ ตั้งแต่การประกาศการแจกเหรียญ $JUP จาก Jupiter Exchange (DEX), แจกเหรียญ $PYTH จาก Oracle ชื่อ Pyth Network และ $JTO จาก Liquid Staking dApp ชื่อ Jito ซึ่งแต่ละตัวมีคนที่ได้ไม่เยอะมาก เพราะห่างหายจากการใช้งานใน Solana ไปหลายคน

และเมื่อคนที่ได้รับน้อย แต่ละ Airdrop จึงมีมูลค่าที่สูงมาก ทำให้เริ่มก่อให้เกิดการ FOMO กันเข้ามาเล่นใน Ecosystem ของ Solana เพื่อล่า Airdrop กัน

ในตอนนี้ มี dApps ไหนบ้างที่เหมาะสมที่จะเข้ามาลองเล่น?

– Marginfi | Lending & Borrowing

Marginfi เป็นแพลตฟอร์มสำหรับการ Lending & Borrowing ที่ได้รับ Funding ไป $3ล้าน และปัจจุบันมี TVL ถึง $220ล้านแล้ว

Strategy: Supply เหรียญเข้าไปใน Platform และ Borrow (ยืมเหรียญ) ออกมา ทั้งหมดนี้จะถูกนับคะแนนเป็นรายวัน

ค่าของ Asset ที่นำไป Supply จะถูกคิดเป็น 1 point ต่อ 1$ ต่อวัน, ค่าของ Asset ที่ Borrow ออกมาจะคิดเป็น 4 points ต่อ 1$ ต่อวัน (ควรระมัดระวังและหมั่นเข้าไปดูค่า Health Ratio ให้ไม่ถูก Liquidate)

– Kamino Finance | Lending & Borrowing / Liquidity / Long & Short

Kamino Finance เป็นแพลตฟอร์มที่สามารถทำอะไรได้หลากหลาย ตั้งแต่การ Lending/Borrowing คล้ายคลึงกับ Marginfi และยังมีการฟาร์ม Liquidity Pool และสามารถเล่น Long/Short ได้อีกด้วย

ในส่วนของคะแนน ยังไม่ได้มีแสดงให้เห็นในเวลานี้ ยังจำเป็นต้องเดากันไปก่อนว่าจะคิดคะแนนอะไรอย่างไรบ้าง แต่ทางทีมได้มีการพูดถึงการให้ประโยชน์กับคนที่เข้ามาทำไวอีกด้วย เพราะฉะนั้นการเข้าไปทำในขณะที่ยังไม่มีการแสดงคะแนนในรูปแบบนี้ก็อาจจะเป็นสิ่งที่ดี

Strategy: Lending และ Borrowing คล้ายคลึงกับใน Marginfi, ทำการ Provide Liquidity ไว้บ้าง

– Drift Protocol | Perp Trading

Drift Protocol เป็นแพลตฟอร์มที่เน้นในเรื่องของการเทรด Perp โดยมีเหรียญให้เทรดมากมาย ซึ่ง Drift ได้รับ Funding ไปถึง $3.8ล้าน และปัจจุบันมี TVL ถึง $225ล้าน

Strategy: เข้าไปลองเทรด Perp อย่างระมัดระวังเพื่อให้เกิด Volume ภายในแพลตฟอร์ม

– Tensor | NFT แพลตฟอร์มคล้ายคลึงกับ Blur

Tensor เป็นแพลตฟอร์ม NFT Trading ที่เน้นสำหรับการเทรดคล้ายคลึงกับ Blur บนฝั่ง Ethereum ซึ่ง Tensor ได้รับเงินจากการ Raise Fund ไปถึง $3ล้าน

Strategy: คล้ายคลึงกับ Blur คือการเข้าไปตั้งซื้อ ขาย หรือแม้แต่การ Bid บนคอลเลคชั่นที่อยู่บน Top Ranking เพื่อให้ได้คะแนนมากที่สุด รวมไปถึงการส่งต่อ Referral

– Phantom Wallet | Wallet ตัวหลักของฝั่ง Solana

ขอบคุณภาพจาก Phantom Wallet

Phantom Wallet เป็น Wallet ตัวหลักจากฝั่ง Solana ซึ่งมีการพัฒนามาอย่างไม่หยุดทั้งบน PC และในรูปแบบ Mobile

Phantom Wallet ได้รับการ Funding มามากถึง $109ล้าน และมี Valuation ถึง $1.2พันล้าน (มี Paradigm เข้าร่วมด้วย) ซึ่งนับว่าเยอะมากเมื่อเทียบกับบรรดาโปรเจกต์คริปโตต่างๆ

นอกจากนี้ Phantom Wallet ยังได้มีการขยับขยายและมารองรับ Ethereum และ Polygon อีกด้วย

Strategy: ใน Phantom Wallet Mobile จะมีเควสให้ลองทำ เควสในการ Mint NFT และการเข้าไปใช้งานบน Drip.haus และเมื่อทำเควสจนเสร็จก็จะได้ NFT การผ่านเควสมาเก็บไว้ สามารถนำมาเพื่อเก็งได้ในอนาคต และนอกเหนือจากนั้นอาจจะเป็นการเข้าไปใช้งานทั่วไป ทั้งการ Swap ผ่าน Wallet และอื่นๆ

– Magic Eden | แพลตฟอร์ม NFT หลักของ Solana

Magic Eden เป็นแพลตฟอร์ม NFT บนฝั่ง Solana ซึ่งอยู่มานานมาก และเริ่มมา Support NFT ในฝั่ง Bitcoin Ordinal, Ethereum, Polygon ด้วย ซึ่ง Magic Eden ได้รับการ Funding มากว่า $130ล้าน และมี Valuation สูงถึง $1.6 พันล้าน

หากเรามองภาพอย่าง Opensea ซึ่งในปัจจุบันก็ยังไม่มี Airdrop เป็นโมเดล ก็อาจจะมองว่า Magic Eden ก็อาจจะแจกยากเช่นกัน แต่ไม่ได้หมายความว่าเป็นไปไม่ได้ การเข้าไปลองใช้งานไว้ก่อนก็อาจจะได้แบบเหนือความคาดหมายได้เหมือนกัน

Strategy: ซื้อและขาย NFT บนแพลตฟอร์มในต่างๆเชนกันเพื่อให้เกิด Volume และยอดของการใช้งาน

– Jupiter | DEX หลากหลายความสามารถ

Jupiter เป็น DEX ตัวใหม่ภายใน Ecosystem ของ Solana ซึ่งเป็นตัวแรกที่ประกาศการแจก Airdrop ภายในงาน Solana Breakpoint 2023

ภายในแพลตฟอร์ม มีหลากหลาย Function ให้เลือกเล่น ตั้งแต่การ Swap, Limit Order, DCA, Bridge, Perpetual

ถึงแม้ว่า Jupiter จะ Snapshot และรอจะแจกเหรียญแล้ว แต่ Jupiter ได้มี

Strategy: เข้าไปเทรดเพื่อสร้าง Volume และทดลองใช้แต่ละ Function ภายในแพลตฟอร์ม


สรุป

Solana เป็นหนึ่งใน Blockchain Layer 1 ทางเลือกที่คนจับตามองมากที่สุดในตลาดรอบที่แล้ว ซึ่งหลังจากปัญหามากมายกระแสทุกอย่างก็ได้เงียบลงและเหมือนกับว่า Solana จะได้หายไปจากกระแสหลักแล้ว อีกทั้งความสนใจยังหันไปหา Layer 2 บน Ethereum ทั้งหมด

แต่ในวันนี้หลายๆ Metrics ได้เริ่มบ่งบอกแล้วว่าความสนใจยังคงเริ่มกลับมาหา Solana อีกเช่นเคย พร้อมทั้งการพัฒนาอีกหลากหลายใน Roadmap ที่เตรียมไว้ พร้อมทั้งวิธีการดึง User ให้กลับมาสนใจด้วย Airdrop ต่างๆที่คาดกันว่าน่าจะเยอะขึ้นในช่วงต่อจากนี้ การหันกลับมามอง Layer 1 ทางเลือกต่างๆก็อาจจะเป็นความคิดที่น่าสนใจเช่นกัน

สามารถไปติดตามอ่าน Article อื่นๆของ Cryptomind พร้อมกับบทความเกี่ยวกับ Layer 1 ตัวอื่นๆในตอนนี้ได้ที่ Link นี้

Author

Tags : DEFI | Solana
Share :
Related
DeSci: เมื่อ Web3 ปฏิวัติวงการวิทยาศาสตร์และการวิจัย
Cryptomind Monthly Outlook (November 2024)
Cryptomind Monthly Outlook (October 2024)
Thailand Blockchain Landscape 2024