Search
Close this search box.
Smart Contract
Smart Contract

ให้ลองจินตนาการถึงตู้กดน้ำอัตโนมัติที่เมื่อเราใส่เงินตามที่เครื่องกำหนดแล้วกดเครื่องดื่มที่เราต้องการ เครื่องก็จะปล่อยเครื่องดื่มที่เราต้องการออกมา นั่นคือตัวอย่างที่ดีของ Smart Contract แต่จุดแตกต่างสำคัญอยู่ที่ Smart Contract นั้นจะทำงานอยู่บนระบบบล็อกเชน

Smart Contract หรือ สัญญาอัจฉริยะนั้นเป็นระบบ software ที่ถูกออกแบบมาเพื่อทำสัญญาหรือข้อตกลงอะไรบางอย่างโดยอัตโนมัติบนระบบบล็อกเชน ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วจะถูกโค้ดอยู่ในรูปแบบ “If then” กล่าวคือเมื่อมีเงื่อนไขบางอย่างถูกบรรลุ ระบบ smart contract ก็จะ Take action ตามที่ได้ถูกกำหนดไว้ก่อนแล้วนั่นเอง

ด้วยประโยชน์ของเทคโนโลยีบล็อกเชนที่ทั้งความโปร่งใสตรวจสอบได้ (Transparency) และมีความปลอดภัย (Security) ทำให้ผู้ใช้งานนั้นสามารถออกแบบระบบการแลกเปลี่ยนหรือสัญญาต่างๆ ที่ไม่จำเป็นต้องมีตัวกลางในการช่วยตรวจสอบและยืนยันให้เรา เช่น มี Smart Contract เขียนไว้ว่านาย B จะขายของ 1 ชิ้นที่ราคา 10 บาท เมื่อนาย A ใส่เงินเข้าไป 10 บาทแล้วก็จะส่งเงิน 10 บาทให้นาย B และส่งของ 1 ชิ้นให้นาย A โดยกระบวนการทั้งหมดนั้นเกิดขึ้นโดยอัตโนมัตินั่นเอง 

นอกจากการใช้งานในด้านธุรกรรมทางการเงินแล้ว smart contract นั้นยังมีความสามารถในการใช้งานในด้านอื่น อาทิ

  • Decentralized Application (DApps) = Smart contract นั้นเรียกได้ว่าเป็นกระดูกสันหลังของ DApps ส่วนใหญ่เลยก็ว่าได้ ทั้งในส่วนของ platform Decentralized Finance (DeFi) ในตัวระบบการกู้ยืมเงินและการซื้อขายเหรียญคริปโต รวมถึง platform ที่เกี่ยวกับเกมและงานศิลปะที่มีการใช้งาน Non-Fungible Token (NFTs) ซึ่งก็มีการปรับใช้ smart contract ในการแลกเปลี่ยนของสินค้าและไอเทมเหล่านั้น
  • Supply Chain Management = Smart contract นั้นสามารถใช้ติดตามการเคลื่อนที่ของสินค้าใน supply chain ได้โดยมีความโปร่งใส การติดตามได้ง่าย และลดการทุจริตในการทำงาน ทั้งยังทำให้ระบบการจัดการเป็นอัตโนมัติ เช่น การชำระเงินและการจัดการออเดอร์

Smart contract นั้นมีประโยชน์หลากหลายแต่ก็ยังมีข้อเสียเช่นกัน อาทิ

  • Immutability = หลังจากที่ smart contract ถูก deploy บน blockchain แล้วจะไม่สามารถแก้ไขได้ (Immutable) ซึ่งบางคนก็จะมองว่าเป็นข้อดี แต่ในกรณีที่ในโค้ดมีบัคหรือปัญหา error ต่างๆก็จะทำให้ไม่สามารถ update หรือแก้ไขได้เช่นกัน
  • Smart Contract Risk= เนื่องจาก smart contract เขียนโดยใช้โค้ด จึงแน่นอนว่าอาจจะมีปัญหาเรื่องความผิดพลาดของโค้ดหรืออาจมีบัคต่างๆ เกิดขึ้นได้
  • Oracle = เนื่องจากบางครั้งจำเป็นต้องมีการดึงข้อมูลจากแหล่งภายนอกเรียกว่า Oracle โดยทั่วไปแล้ว smart contract นั้นไม่สามารถแก้ไขได้และมีความปลอดภัยแต่สำหรับตัว oracle นั้นมีความเสี่ยงที่จะถูกแฮ็กได้