Search
Close this search box.
DeFi (Decentralized Finance)
DeFi (Decentralized Finance)

DeFi หรือย่อมาจาก Decentralized Finance นั้นกล่าวถึงแอปพลิเคชันทางการเงินต่างๆ ที่ถูกสร้างขึ้นอยู่บนระบบล็อกเชน โดยในปัจจุบันมี 3 อย่างหลักๆคือ

  1. ธนาคารดิจิทัล (ที่ออกเหรียญ Stablecoin)
  • Collateralized Stablecoin = Stablecoin ที่มีสินทรัพย์ค้ำประกันอยู่ในมูลค่าเทียบเท่ากับ stablecoin ที่ผลิตออกมา
  • Non-collateralized Stablecoin = Stablecoin ที่ไม่มีสินทรัพย์ค้ำประกัน อาจจะกำหนดราคาของ stablecoin ให้เทียบเท่ากับดอลลาร์ผ่านการใช้ algorithm ต่างๆ
  1. แพลตฟอร์มกู้ยืมเงิน
  • Liquidity pool lending protocol = ในระบบ DeFi แพลตฟอร์มกู้ยืมเงินจะให้ผู้กู้ยืมเงินจากสภาพคล่องที่มีผู้ฝากวางลงไปด้วยกัน แตกต่างจากการกู้แบบตัวต่อตัวในการเงินแบบเดิม ตัวอย่างของแพลตฟอร์มที่โด่งดังเช่น Aave และ Compound
  1. เครื่องมือทางการเงินต่างๆ เช่น DEX, อนุพันธ์, แพลตฟอร์มแปลงสินทรัพย์เป็นโทเคน
  • DEX = ศูนย์ซื้อขายแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัลแบบไร้ศูนย์กลาง เช่น Uniswap และ Pancakeswap
  • Derivative = แพลตฟอร์มสำหรับการเทรดอนุพันธ์แบบไม่มีตัวกลาง โดยผู้ให้สภาพคล่องจะเป็นผู้ใช้งานระบบ หรือคนที่ต้องการได้รายได้จากการเป็นผู้ให้สภาพคล่อง เช่น dYdX
  • Tokenization = แพลตฟอร์มสำหรับแปลงสินทรัพย์เป็นโทเคนดิจิทัล ตัวอย่างเช่น Synthetix protocol

ข้อดีหลักๆของ DeFi ที่เหนือกว่า Traditional Finance ก็คือการที่ระบบ DeFi นั้นทำงานบนระบบ smart contract ที่มีความปลอดภัย สามารถตรวจสอบได้ รวมทั้งยังลดความซับซ้อนในการดำเนินงานอีกด้วย นอกจากนี้การที่แพลตฟอร์ม DeFi หลายๆตัวนั้นได้ถูก deploy บนบล็อกเชนที่เป็นที่รู้จักอย่าง Ethereum ก็จะสามารถสร้างความน่าเชื่อถือให้ผู้ที่มาใช้บริการเพิ่มเติมอีกด้วย

ในทางกลับกันแล้ว เนื่องจาก DeFi นั้นเป็นนวัตกรรมใหม่ทำให้มีความเสี่ยงหลายๆอย่างในการใช้งาน เช่น smart contract risk ที่ทำให้ผู้ใช้งานสูญเงินจากการทำธุรกรรม ทั้งยังมีปัญหาด้าน oracle ที่บางครั้งการอ้างอิงราคาหลักทรัพย์ก็ผิดพลาดได้ หรือจะเป็นทั้งที่ตัว blockchain มีการทำธุรกรรมมากทำให้เกิดความล่าช้าในการส่งธุรกรรม อาจทำให้เกิดความขัดข้องหรือค่าธรรมเนียมที่สูงเกินเหตุได้ ทั้งนี้การใช้งาน DeFi ควรใช้งานอย่างระมัดระวังและศึกษารายละเอียดอย่างรอบคอบก่อนเสมอ