Search
Close this search box.
Blockchain
Blockchain

Blockchain คือ ระบบที่จัดเก็บข้อมูลและธุรกรรมที่ทุกคนสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้อย่างอิสระ โดยข้อมูลที่อยู่ในระบบเป็นรูปแบบกระจายอำนาจ (Decentralized) ไปยังทุก ๆคน ถือเป็นตัวกลางสำคัญในการบันทึกและเก็บข้อมูลเหรียญดิจิทัลต่างๆไว้ เราสามารถแบ่ง Blockchain ได้เป็น 2 คำ คือคำว่า “Block” ที่หมายถึงบล็อคเก็บข้อมูลเป็นส่วน บวกกันกับ คำว่า “Chain” ที่เป็นเหมือนโซ่ ถูกนำมาร้อยต่อกันโดยการเข้ารหัสด้วย Code ทางคอมพิวเตอร์เพื่อสร้างความปลอดภัย และเก็บรวมรวมข้อมูลต่าง ๆ ไว้ในรูปแบบของ Database (ฐานข้อมูล)
.
ทั้งนี้ข้อมูลธุรกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นนั้นจะถูกเก็บบันทึกไว้ภายในบล็อก และถูกส่งต่อกระจายเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในเครือข่ายที่เรียกว่าโหนด (Node) ข้อมูลที่ถูกเขียนลงไปแล้วจึงมีความน่าเชื่อถือเพราะทุกคนในเครือข่ายจะเห็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นไปพร้อม ๆ กัน ยกตัวอย่าง การทำงานของ Bitcoin (BTC) บิตคอยน์ที่ทำงานอยู่บน Blockchain เราสามารถทำการแลกเปลี่ยนกันได้แบบ Peer-to-Peer ระหว่างตัวผู้จ่ายและผู้รับได้โดยตรง ทุกธุรกรรมที่เกิดขึ้นไม่จำเป็นต้องผ่านคนกลางหรือหน่วยงานใด เนื่องจากว่าทุกคนในเครือข่ายสามารถตรวจสอบจำนวนเหรียญดิจิทัลได้ ว่ามีการโอนไปเท่าไหร่? ใครโอนไปที่ไหน? หรือมีการแก้ไขข้อมูลที่เกิดขึ้นภายในบล็อคหรือไม่? ทั้งนี้ผู้ใช้งานภายในเครือข่ายสามารถเข้าไปตรวจสอบการทำธุรกรรมของ Address ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้ที่เว็ปไซต์ Blockexplorer.com
.
บล็อคเชนได้ถูกนำมาใช้งานในหลายๆ อุตสาหกรรม และไม่ได้จำกัดเพียงแค่การโอนสกุลเงินดิจิทัล Bitcoin (บิตคอนต์) เท่านั้น แต่อุตสาหกรรมการเงินถือเป็นกลุ่มแรกๆ ที่ได้นำเอาเทคโนโลยีบล็อคเชนมาใช้งานเพราะมันช่วยลดขั้นตอนในการทำธุรกรรมและประหยัดต้นทุนไปได้มาก ปัจจุบันบล็อกเชนยังคงถูกพัฒนาเพื่อใช้ประโยชน์ในด้านอื่น ๆ อย่างต่อเนื่อง เช่น การทำ Smart Contract (สัญญาอัจฉริยะ), การจดสิทธิบัตร, การทำ E-Voting, การตรวจสอบข้อมูลย้อนกลับ, การทำดิจิทัล ID แทนบัตรประชาชน, เป็นต้น การใช้งานเหล่านี้เป็นเพียงบางส่วนสำหรับการใช้บล็อคเชนในแง่มุมต่าง ๆ และเป็นทางเลือกใหม่ที่น่าสนใจสำหรับการนำมาต่อยอดใช้งานในอนาคตได้

ขอบคุณเพจ Lady Crypto ที่ให้ความร่วมมือด้านเนื้อหาครับ