Search
Close this search box.

Cryptomind Monthly Outlook (September 2024)

Share :
monthly

Table of Contents

*ข้อมูลระหว่างวันที่ 13 สิงหาคม 2024 – 11 กันยายน 2024

สรุปข่าวเด่น

สถานการณ์ Bitcoin ETF Flow

Bitcoin ETF ในเดือนช่วงต้นเดือนกันยายน 2024

ในช่วงต้นเดือนกันยายนที่ผ่านมา ตลาดให้ความสำคัญกับข้อมูล Macroeconomics มากขึ้น เนื่องจากกลางเดือนกันยายนจะมีประกาศสำคัญเกี่ยวกับนโยบายอัตราดอกเบี้ยของ Fed ทำให้ตลาดมีความกังวลว่าการลดอัตราดอกเบี้ยอาจจะเกิดขึ้นช้าไป และทำให้เกิดเศรษฐกิจถดถอยในที่สุด

ด้วยความกังวลดังกล่าว ทำให้นักลงทุนสถาบันพากัน Risk-off และเทขายสินทรัพย์เสี่ยงอย่าง Bitcoin แม้แต่ IBIT ที่ไม่เคยมียอดไหลออกมาก่อน ก็เริ่มมีการเทขาย ส่งผลให้ยอดเงินไหลออกจาก Spot Bitcoin ETF เป็นเวลา 8 วันติดต่อกัน บ่งบอกถึงสภาพตลาดที่นักลงทุนมีการลดความเสี่ยงอย่างเห็นได้ชัด

ค่าเงินบาท: DXY is falling 

ค่าเงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่า

ค่าเงินบาทมีโอกาสที่จะแข็งค่าขึ้น 35 – 35.4  บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ  เพราะคาดว่าธนาคารกลางสหรัฐ (FED) อาจลดอัตราดอกเบี้ยในกันยายนนี้ ทำให้ค่าเงินดอลล่าร์มีโอกาสปรับตัวอ่อนค่าลง

มี 2 ปัจจัยคอยจับตามองดังนี้ 

1.ดอลล่าร์อ่อนค่าลง: ดอลล่าร์อ่อนค่าลง สอดคล้องกับการปรับตัวลงของ Bond Yield และ CPI ที่มีตัวเลขออกมาที่ชะลอตัว ทำให้ตลาดนั้นได้คาดการณ์นั้นว่า FED จะลดดอกเบี้ยในเดือนกันยายนที่จะถึงนี้2.ปัจจัยอื่นๆ: ค่าเงินบาทยังมีแรงหนุนเพิ่มจากราคาทองคำโลกปรับตัวขึ้น และนักลงทุนต่างชาติซื้อพันธบัตรไทยมากขึ้น

Macroeconomics: August JOLTs Job Opening

สำหรับ JOLTs Job Opening (กราฟทางด้านซ้ายมือ) ที่มีประกาศตัวชี้วัดออกมาเมื่อต้นเดือนกันยายน และตัวชี้วัดได้มีการออกมาต่ำกว่าการคาดการณ์ ทำให้นักลงทุนเกิดความกังวลในการลงทุนเพิ่มมากขึ้น โดยในวันที่ประกาศตัวชี้วัดออกมามีการขยับตัวของ Bitcoin ในกรอบของ 58,000 ถึง 55,000 ในหนึ่งวัน และในอีกไม่กี่วันได้มีการขยับตัวลงของ Bitcoin ถึง ประมาณ 52,000 แสดงให้เห็นถึงความกังวลของนักลงทุนที่เพิ่มมากขึ้น

ซึ่งตลาดมีการแสดงการตอบรับโดยที่คิดว่า FED จะลดอัตราดอกเบี้ยในเดือน กันยายนอย่างแน่นอน แต่เสียงยังแยกออกเป็นลดลงเหลือ 5.00% – 5.25% ที่ 65% และลดลงเหลือ 4.75% – 5.00% ที่ 35% และตลาดยังคาดการณ์ว่าปีนี้จะมีการลดดอกถึง 3 ครั้งเลยทีเดียว แต่ด้วยอาจจะมีครั้งที่ลดดอกมากกว่า 0.25% อาจแสดงถึงตลาดนี้อ่อนตัวมาก ๆ จึงอาจทำให้ตลาดจะเข้าสู่สภาวะถดถอยหรือ Recession ได้ ในช่วงเวลาแบบนี้การลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงอย่างคริปโตฯ นักวิเคราะห์จึงยังแนะนำว่าให้ Wait and see ก่อน

สภาวะตลาด DeFi โดยรวม

ในเดือนกันยายนถือเป็นเวลาที่ตลาดคริปโตฯและสินทรัพย์เสี่ยงทั่วโลกยังคงผันผวนสูงมาก ปัจจัยหลักมาจากเศรษฐกิจสหรัฐฯที่สถานการณ์ยังดูไม่ค่อยดี ซึ่งมุมมองนักวิเคราะห์ส่วนมากยังมองว่าตลาดคริปโตฯ น่าจะยังขาด Liquidity และผันผวนไปอีกสักระยะ โดยยังถือเป็นจุดที่ยังมีความเสี่ยงในการลงทุนอยู่พอสมควร 

ส่วนตลาด DeFi ภาพรวมในเดือนกันยายนมี TVL ลดลงกว่า 7% จากตัวเลขจะเห็นว่าเกือบทุกเชนมี TVL ลดลง ยกเว้น Tron ที่มี TVL เพิ่มขึ้นเล็กน้อยที่คาดว่ามาจากกระแสการเทรด Meme ที่เกิดขึ้นชั่วคราว ซึ่งความซบเซาของ DeFi เป็นผลกระทบโดยตรงจากราคาเหรียญที่ตกลงอย่างหนัก รวมถึงยังขาดปัจจัยบวกที่จะดึงดูดเม็ดเงินใหม่เข้ามาใช้งาน ทำให้ Yield ลดลงค่อนข้างเยอะ สัดส่วนรายได้ก็เป็นจุดต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2024 สำหรับเชนนอก Top 5 ที่ดูดีคือ TON ที่มีจำนวนธุรกรรม All-time High ในเดือนกันยายน

ส่วนกลุ่ม Restaking ที่เคยได้รับความนิยมกลับได้รับความนิยมลดลง โดยแพลตฟอร์มผู้นำอย่าง EigenLayer มี TVL ลดลงกว่า 50% นับจากช่วง Peak ในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา 

กลุ่ม DeFi ที่น่าจับตามองในช่วงนี้คือ กลุ่ม DeFi OG โดยเฉพาะ Aave ที่มี Revene และ Market Share ค่อนข่างมั่นคง ส่วนอีกตัวก็ Maker ที่เพิ่ง Rebrand เป็น Sky

อีกกลุ่มที่น่าสนใจช่วงนี้คงหนีไม่พ้น Prediction Market อย่างเช่น Polymarket ที่สามารถเกาะกระแสการเลือกตั้งสหรัฐฯได้เป็นอย่างดี โดย Polymarket เองมี TVL เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องในปี 2024

อัปเดทตลาดคริปโตฯ​ ในเดือนกันยายนที่มีความไม่แน่นอนสูง

จากสถิติย้อนหลังตั้งแต่ปี 2013 ในเดือนกันยายนมักเป็นเดือนที่ Bitcoin ทำผลตอบแทนได้ไม่ค่อยดีโดยติดลบ 8 ครั้งจากทั้งหมด 11 ครั้ง และเป็นเดือนที่มีผลตอบแทนเฉลี่ยติดลบเยอะที่สุด ซึ่งแนวโน้มที่เดือนกันยายนปีนี้จะเป็นเดือนที่ติดลบอีกครั้งก็อาจไม่ได้เกินความคาดหมายของใครหลายคนเนื่องจากมีหลายปัจจัยที่แสดงความไม่แน่นอน เช่น

  • โอกาสเข้าใกล้ภาวะ Recession จากตัวเลขตลาดแรงงานที่แย่ ที่ตอนนี้ขึ้นอยู่กับ Fed ว่าจะดำเนินแก้ไขสถานการณ์ได้ทันหรือเปล่า
  • การประชุม Fed วันที่ 18 กันยายนนี้ก็ต้องจับตาดูอีกว่าจะลดที่ 0.25% หรือ 0.5% ซึ่งทางเรามองว่าถ้าลด 0.25% ตามคาด ตลาดคงรับรู้นานแล้วและก็จะไม่ผันผวนหนักเท่าการลด 0.5% ที่จะทำให้ตลาดมองว่า Fed กลัว Recession
  • ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) เล็งที่จะขึ้นดอกเบี้ยอีกครั้งโดยต้องรอดูสถานการณ์ตลาดหลังจากการประกาศของ Fed ก่อน ซึ่งถ้า BOJ ขึ้นดอกเบี้ยอีกครั้งจริงก็มีแนวโน้มสูงที่จะมีการ Unwind Carry Trade อีกครั้ง
  • Hedge Fund ที่ทำ Cash and Carry Arbitrage โดยการถือ Spot ผ่าน Bitcoin ETF จำเป็นต้องปิด Position เนื่องจากสัญญา Futures จะหมดอายุในเดือนกันยายน ส่งให้มี Outflow ออกจาก Bitcoin ETFs มากเป็นพิเศษซึ่งเป็นอีกปัจจัยที่กดดันตลาด

นอกจากนี้ก็มีเรื่องการเลือกตั้งสหรัฐฯที่ Poll ก็มีการสลับฝั่งไปมาอยู่เรื่อยรวมถึงเรื่องสงครามที่ก็ไม่สามารถคาดเดาได้ ทำให้เดือนนี้ทางเราคาดว่าตลาดคริปโตฯ ในเดือนนี้จะมีความผันผวนมากเป็นพิเศษดังนั้นให้ระมัดระวังในการลงทุนและประเมินความเสี่ยงให้ดี โดยคาดว่าจะเริ่มเห็นทิศทางชัดเจนมากขึ้นหลังการประกาศลดดอกเบี้ยของ Fed ในวันที่ 18 กันยายนนี้

MakerDAO รีแบรนด์เป็น Sky ตามแผน Endgame

MakerDao ผู้สร้างเหรียญ DAI Stablecoin ได้ทำการรีแบรนด์เป็น Sky และเตรียมเปลี่ยนชื่อจาก DAI เป็น USDS โดยมีกำหนดเปิดตัวในวันที่ 18 กันยายน ซึ่งการรีแบรนด์ดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของแผน “Endgame”  โดยผู้ถือเหรียญเดิมสามารถ Convert ได้ตามนี้ : 1 MKR = 24,000 SKY และ 1 DAI = 1 USDS (Optional)

รายละเอียดของการรีแบรนด์

  • มี Profit Sharing สำหรับผู้ถือเหรียญ SKY และ MKR โดยสามารถเลือกฝากแบบล็อคหรือไม่ล็อคด้วยผลตอบแทนที่ต่างกันไป
  • รับฝาก USDS เพื่อรับ Rewards เป็น SKY โดยจะแจก SKY ในสัดส่วน 600M SKY ต่อปี หรือ Saving Rate จาก Spark Protocol (Fixed Yield 6% ต่อปี)

ส่วนรายละเอียดของ “Endgame” ในระยะยาวมีดังนี้

  • ลดการใช้ Stablecoin เป็น Collateral ให้มากที่สุด เพื่อลดความเสี่ยงด้าน Regulation
  • สร้าง Sky Stars (เดิมชื่อ SubDAO) ซึ่งเป็น DApps ภายใน Ecosystem ของ Sky เพื่อสนับสนุนการใช้งานของ USDS 
  • ปรับโครงสร้าง Governance ทำให้การดำเนินงานของ Ecosystem มีความ Decentralized มากที่สุด
  • ปรับ Tokenomics ของ SKY ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นในระยะยาว 

DAI ถือเป็นเหรียญ Decentralized Stablecoin ที่มี MCap ใหญ่ที่สุด ถึงแม้จะมีคู่แข่งออกมาพอสมควร แต่ถือว่าน่าจับตาจากแผนการระยะยาวที่มีออกมาต่อเนื่อง

เปรียบเทียบผลตอบแทนระหว่างพันธบัตรระยะสั้นและการฟาร์ม Stablecoin

ผลตอบแทนที่ได้จากพันธบัตรรัฐบาลระยะสั้นสหรัฐ (Treasury Bills) แบบระยะสั้น 3 เดือน ที่มีความเสี่ยงต่ำ แต่มีสภาพคล่องและผลตอบแทนสูง ผลตอบแทนลดลงเล็กน้อยจากเดือนที่ผ่านๆมา มีสาเหตุมาจากภาพรวมที่นักลงทุนเริ่มมกังวลในการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงทั้งตลาดหุ้นและคริปโตฯ  ตอนนี้อยู่เฉลี่ยปีละ 4.93% ส่วนผลตอบแทนจากการฟาร์มหรือปล่อยกู้ Stablecoin บนแพลตฟอร์มต่างๆให้ผลตอบแทนลดลงพอสมควรจากเดือนที่แล้วที่ 8% มาอยู่ที่ 6.29% ในเดือนนี้ 

โดยผลตอบแทนฟาร์มและปล่อยกู้ Stablecoin ในเดือนสิงหาคมลดลงพอสมควรจากสภาพตลาดคริปโตฯที่ยังไม่สู้ดีนัก ทำให้กิจกรรมการซื้อขายแลกเปลี่ยน การเก็งกำไร ราคาเหรียญที่แจกเป็น Incentive และ DeFi TVL ลดลงตามไปด้วย

เปรียบเทียบผลตอบแทน DeFi Farming บนบล็อกเชนต่างๆ

สภาวะตลาด NFT

  • เดือนที่ผ่านมาเป็นอีกเดือนที่ค่อนข้างเงียบของตลาด NFT:
    • Volume ทุกเชนยังคงไม่มีการกลับตัว
    • Ethereum ยังคงเป็น Layer 1 ที่มี Volume NFT สูงที่สุด และมี Collection ที่มี Top Volume อยู่เยอะที่สุด
    • รองลงมาคือ Solana ที่แม้ว่าจะไม่ได้มี Volume เยอะเท่า แต่จำนวน User ที่ใช้งาน NFT ยังเยอะกว่า Ethereum
  • ข่าวต่างๆในวงการ NFT ยังไม่ได้มีการประกาศอะไรที่หวือหวาพร้อมๆกับสภาพตลาดหลักที่ยังคงไม่แน่นอน

สภาวะตลาด NFT

Top 5 Volume Projects (Collectible NFT)

SEC ฟ้อง OPENSEA ด้วยสาเหตุการเปิดให้ขาย NFT ที่เป็นหลักทรัพย์

SEC สหรัฐอเมริกา จนถึงช่วงก่อนหน้านี้เรียกได้ว่าเป็นหนึ่งในประเด็นสำคัญในวงการ Cryptocurrency เพราะได้มีการกล่าวหาว่าหลากหลาย Coins เป็นหลักทรัพย์ (Security) จนเกิดการฟ้องร้องกันหลายต่อหลายครั้ง

แต่ทว่าการกล่าวหาหลากหลายเหรียญและต่อสู้กันในชั้นศาลไม่ได้กลายเป็นผลดีต่อ SEC นัก จากการพ่ายแพ้หลายต่อหลายครั้ง

ล่าสุด OPENSEA (แพลตฟอร์มสำหรับการสร้างและการซื้อขาย NFT) ก็ได้รับจดหมายจาก SEC ซึ่งมีเนื้อความเรื่องการที่ SEC จะฟ้อง Opensea เพราะ Opensea เปิดโอกาสให้ขาย NFT ต่างๆที่มีความเป็นหลักทรัพย์

เรื่องนี้กลายเป็นเรื่องที่เกิดการวิพากย์วิจารณ์กันเป็นวงกว้าง ว่างานศิลปะและของสะสมไม่ควรจะถูกมองว่าเป็นหลักทรัพย์ตามที่ SEC กล่าวอ้าง 

แต่อย่างไรก็ตาม การต่อสู้กันในครั้งนี้เป็นหนึ่งในสิ่งที่จะชี้ชะตาทางกฏหมายได้เช่นกัน ว่า NFT จะถูกมองว่าเป็นหลักทรัพย์หรือไม่ และถ้าถูกมองว่าเป็นหลักทรัพย์ ศิลปินที่สร้างสรรค์ผลงานบน Blockchain อาจจะมีความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นจากการขาย Security ที่ไม่ได้จดทะเบียนได้

Authors

Share :
Related
Hyperliquid: DEX ที่อาจเปลี่ยนอนาคต DeFi ไปตลอดกาล
DeSci: เมื่อ Web3 ปฏิวัติวงการวิทยาศาสตร์และการวิจัย
Cryptomind Monthly Outlook (November 2024)
Cryptomind Monthly Outlook (October 2024)