Search
Close this search box.

สรุป CoinTalk ประจำวันที่ 30/9/2022

Share :
cointalk banner 30-9 web

Table of Contents

Macro

  • จากการที่ไทยปรับขึ้นดอกเบี้ยล่าสุดที่ 0.25% ทำให้ตอนนี้ดอกเบี้ยไทยอยู่ที่ 1% ขณะที่สหรัฐฯมีอัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ 3.25% ทำให้ดอกเบี้ยไทยต่างกับสหรัฐฯอยู่ที่ 2.25% ซึ่งก็เกิดคำถามว่าทำไมประเทศไทยจึงไม่ขึ้นดอกเบี้ยให้สูงกว่านี้เพื่อแก้ปัญหาเงินบาทอ่อนค่า อย่างไรก็ตาม ถ้าดูจากประเทศอื่น เช่น นิวซีแลนด์ ฟิลิปปินส์ ที่ถึงแม้จะขึ้นดอกเบี้ยเกิน 2% ไปแล้วแต่ก็ยังแก้ปัญหาเงินอ่อนค่าไม่ได้ แบงก์ชาติเลยมีมุมมองว่าการอ่อนและแข็งของเงินบาทอาจไม่ได้ขึ้นกับการขึ้นดอกเบี้ยเพียงอย่างเดียว แต่ขึ้นกับปัจจัยอื่นๆด้วย ดังต่อไปนี้
  • ปัจจัยแรกที่มีผลต่อค่าเงินบาท อย่างเช่น Fund flow ซึ่งที่ผ่านมา Fund flow ที่เข้าตลาดหุ้นไทยยังดี จะมีส่วนที่ไหลออกก็คือ Bond และตราสารหนี้เท่านั้น โดยเป็นไปตามส่วนต่างหรือ Gap ของอัตราดอกเบี้ย แต่ภาพรวม Fund flow ยังเป็นบวกอยู่ นอกจากนี้เสถียรภาพของเงินสำรองระหว่างประเทศของไทยยังเป็นอันดับต้นๆ
  • อีกสาเหตุหนึ่งที่แบงก์ชาติขึ้นดอกเบี้ยในระดับต่ำเพราะว่า GDP ของไทยยังไม่กลับไปเทียบเท่าช่วงก่อนโควิด ในขณะที่ประเทศอื่นๆส่วนมากมี GDP เทียบเท่าช่วงก่อนโควิดกันแล้ว ถ้าไทยขึ้นดอกเบี้ยมากกว่านี้ อาจจะเป็นการซ้ำเติมเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตามเราเริ่มเห็นสัญญาณบวกต่อ GDP มากขึ้น และจากการคาดการณ์ในช่วงสิ้นปี GDP ของไทยน่าจะกลับไปใกล้เคียงกับช่วงก่อนโควิดได้ และนักท่องเที่ยวน่าจะกลับมามากขึ้นได้ในปีหน้า
  • อีกหนึ่งประเด็นที่ทำให้แบงก์ชาติเพียงแค่ขึ้นดอกเบี้ยประคองเศรษฐกิจและปล่อยให้เงินเฟ้อลดลงเอง เป็นเพราะว่าแบงก์ชาติประเมินแล้วว่าประเทศไทยไม่สามารถคุมเงินเฟ้อได้ หนึ่งในสาเหตุคือจากการที่ราคา Commodity ต่างๆส่วนใหญ่อิงราคาตลาดโลก นอกจากนี้ถ้าดูจากการปรับราคาสินค้าในระยะ 3 เดือนข้างหน้า ในกลุ่มบริการ เช่น ร้านอาหาร โรงแรม ค้าปลีก จะปรับราคาขึ้นตามการท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้น ซึ่งถ้านักท่องเที่ยวเริ่มกลับมา กลุ่มนี้จะปรับราคาขึ้นแน่นอน ซึ่งจะส่งผลให้เงินเฟ้อจะสูงขึ้นอีก ดังนั้นเงินเฟ้อบ้านเราจะน่าคงในระดับสูงที่ 7.5% ไปสักระยะในช่วงนี้
  • อีกสาเหตุหนึ่งคือโอกาสในการเกิด Wage Price Spiral ในไทยยังมีจำกัดเมื่อเทียบกับประเทศอื่น โดยประเทศอื่นๆต้องขึ้นค่าแรงเพื่อจูงใจให้คนกลับไปทำงาน แต่ในไทยในลูกจ้างนอกภาคการเกษตรน้อยกว่าต่างประเทศ ดังนั้นสำหรับไทยจะไม่มีปัญหาจาก Wage Price Spiral ที่จะส่งผลต่อเงินเฟ้อเหมือนกับสหรัฐฯและประเทศอื่นๆ
  • โดยสรุปคือค่าเงินไทยน่าจะคงในระดับ 36-39 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐจนกว่าทางสหรัฐฯจะลดอัตราดอกเบี้ย และการอ่อนค่าของเงินบาทจะรุนแรงหรือไม่นั้นจะขึ้นกับความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจไทยด้วย
  • สำหรับประเทศอังกฤษในตอนนี้กลับมาทำ QE อีกครั้งหนึ่ง ถึงแม้ว่าเงินปอนด์จะยังคงอ่อนค่า สาเหตุเป็นเพราะ Guilt Bond ซึ่งเป็นเสมือนกองทุนบำนาญของประเทศที่ในปีนี้ราคาลดลงมามากกว่า 60% แล้ว และด้วยความที่เป็นกองทุนบำนาญของคนในประเทศ ทำให้รัฐบาลต้องทำการพิมพ์เงินออกมาเพื่อซื้อกองทุนกลับแบบไม่จำกัด เพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจและดึงความเชื่อมั่นกลับมา ซึ่งทางเรามองว่าการทำ QE ของอังกฤษในเวลาแบบนี้ค่อนข้างมีความเสี่ยง จึงต้องติดตามอย่างใกล้ชิด
  • สำหรับมุมมองด้านการลงทุน ภาพรวมปัญหาเกี่ยวกับ Macro ต่างๆคาดว่าได้ Priced in ไปหมดแล้วยกเว้นปัญหาของประเทศอังกฤษที่ค่อนข้าง Surprise ตลาด ให้จับตามองอย่างใกล้ชิดเพราะอาจเป็นปัจจัยทำให้ตลาดปรับตัวลงอีกได้ อย่างไรก็ตามราคาคริปโทฯก็ลดลงมาเยอะแล้ว สามารถทยอย DCA ได้

DeFi/Alt Coins

ที่มา: Zolan Atom Twitter
  • จากงาน Cosmoverse ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา Cosmos ได้มีการออก Paper สำหรับ Atom 2.0 ที่มีการปรับโมเดลรายได้ของเหรียญ ATOM ไปพอสมควร ทำให้มีความน่าสนใจมากขึ้น อย่างไรก็ตามในช่วงแรก Inflation ของเหรียญ Atom จะสูงกว่าเดิม แต่ในอนาคตจะลด Inflation ลงเหลือแค่ 1% ดังนั้นในช่วงสั้นๆอาจจะมีความเสี่ยงแต่น่าสนใจในระยะยาว
  • มีข่าวว่า UniSwap อาจจะทำ Appchain เอง ซึ่งการสร้าง Appchain นี้อาจจะมาเป็น Narrative ใหม่ โดยก่อนหน้านี้ Compound, PancakeSwap ก็เคยประกาศว่าจะทำ Appchain ของตัวเอง ข้อดีของการไปทำเชนของตัวเองคือจะช่วยประหยัดค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรมได้ ลดความแออัดของธุรกรรม ลดปัญหา MEV และยังใช้เหรียญ Governance Token เป็นค่า Gas ได้ แต่ความเสี่ยงคือถ้าย้ายมาทำเชนเองอาจจะทำให้ฐานผู้ใช้งานเดิมไม่สนับสนุน อย่างเช่นกรณีที่เกิดกับ DyDx เป็นต้น
  • สำหรับ Chainlink ที่เพิ่งจัดงาน Smart Con ไป ก็ได้ประกาศว่าจะเปิดการ Staking ในช่วงประมาณเดือนธันวาคมปี 2022 นี้ และจะมีการปรับโมเดลรายได้คือจะจ่ายส่วนแบ่งที่ได้จาก Price Feed ให้คนที่ Stake เหรียญ LINK ด้วย คาดว่าน่าจะได้ Staking APR ประมาณ 4-5% นอกจากนี้ในส่วนของส่วนแบ่งทางตลาดและเทคฯของ Chainlink ก็ได้เปรียบและแข็งแกร่งเทียบกับเจ้าอื่นๆ
  • เหรียญอื่นๆที่อาจมี Story ที่น่าสนใจในการเก็งกำไรระยะสั้น เช่น CAKE ที่มี Supply น้อยลงและกระแส IFO ที่กลับมาดีขึ้น หรือเหรียญ LUNC ที่รอติดตามดูว่าการนำค่าธรรมเนียมการเทรดบน Binance มา Burn จะส่งผลต่อ Supply แค่ไหน และเหรียญอย่าง GMX ที่เป็นผู้นำของกระดานเทรด Decentralized Perpetual เป็นต้น

.

.

คำเตือนความเสี่ยง : คริปโทเคอร์เรนซี่มีความเสี่ยงสูง ท่านอาจสูญเสียเงินลงทุนได้ทั้งจำนวนและสินทรัพย์ดิจิทัลมีความเสี่ยง โปรดศึกษาและลงทุนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ ผลตอบแทนของสินทรัพย์ดิจิทัลในอดีต มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลตอบแทนของสินทรัพย์ดิจิทัลในอนาคต

Author

Share :
Related
Cryptomind Monthly Outlook (April 2024)
Technical Analysis $PENDLE, $BNB โดย Cryptomind Advisory (22 Apr 24)
CoinTalk (19/4/24):
อัปเดทสำคัญ EigenLayer Mainnet มีอะไรที่นักลงทุนควรรู้บ้าง